คุณคิดเห็นอย่างไรกับแนวคิดของโอโชว่า "ศาสนาคือกรงขัง"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย นรมิตร, 18 กรกฎาคม 2011.

?
  1. ค่อนข้างเชื่อ

    0 vote(s)
    0.0%
  2. ไม่เชื่อเลย

    0 vote(s)
    0.0%
  3. กลางๆ ยังตัดสินใจไม่ได้

    0 vote(s)
    0.0%
  1. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    คุรุวิพากษ์คุรุ : OSHO
    โตมร ศุขปรีชา แปลและเรียบเรียง

    พระพุทธเจ้า (ต่อ)[FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าทรงแสวงหาความจริงอย่างต่อเนื่อง นานถึง 6 ปี ไม่มีใครเคยทำทุกสิ่งทั้งหมดอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงทำ พระองค์ใช้ทุกความพยายามเท่าที่เป็นไปได้ ทรงไปหาอาจารย์ทุกท่านที่มีอยู่ มีเพียงท่านเดียวที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ไปพบ พระองค์เข้าหาอาจารย์ทุกท่าน ไม่ว่าใครจะสอนอย่างไร พระองค์ก็ทำได้อย่างสมบูรณ์แบบเสียจนคุรุก็ยังต้องอิจฉาท่าน แต่ทุกท่านในท้ายที่สุดแล้วก็กล่าวกับพระพุทธเจ้าว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นี่คือทั้งหมดที่ข้าสามารถสอนเจ้า ถ้ายังไม่เกิดอะไรขึ้นอีก ข้าก็ไม่อาจตำหนิเจ้าได้[/FONT] [FONT=&quot]เพราะเจ้าได้ปฏิบัติทุกสิ่งอย่างสมบูรณ์แล้ว ข้าช่วยอะไรไม่ได้ เจ้าต้องไปเสาะหาอาจารย์ท่านอื่น[/FONT]”

    [FONT=&quot]เรื่องแบบนี้หาได้ยาก เพราะไม่เคยมีศิษย์ที่ทำทุกสิ่งได้อย่างสมบูรณ์ อาจารย์มักจะกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เจ้ายังปฏิบัติได้ไม่ดีนัก เลยไม่มีอะไรเกิดขึ้น[/FONT]” [FONT=&quot]แต่พระพุทธเจ้าปฏิบัติได้ดี ดีอย่างยิ่ง ดีจนไม่มีอาจารย์ท่านไหนกล่าวได้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เจ้ายังปฏิบัติไม่ดีพอ[/FONT]” [FONT=&quot]ดังนั้น เหล่าอาจารย์จึงยอมแพ้ ต้องกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นี่คือทั้งหมดที่เราสอนเจ้าได้ และเจ้าได้ปฏิบัติหมดสิ้นแล้ว แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น คงดีกว่า หากเจ้าจะไปเสาะหาอาจารย์ท่านอื่น เจ้าไม่เหมาะกับข้าหรอก[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าย้ายสำนักถึง 6 ปี ทรงปฏิบัติแม้กระทั่งเทคนิคที่แปลกประหลาดตามที่ได้รับคำสอนมา บางคนบอกให้พระองค์อดอาหารนานหลายเดือน เสวยอาหารเล็กน้อยทุกๆ 15 วัน เพียงเดือนละ 2 ครั้ง ต่อเนื่องนานถึง 6 เดือน พระองค์ทรงอ่อนแอและแทบจะเหลือแต่โครงกระดูก ร่างกายซูบซีด แลดูคล้ายกับคนตาย พระองค์อ่อนแอจนเดินไม่ได้ ในที่สุดก็โรยราจนต้องหลับตาภาวนา แทบล้มประดาตาย[/FONT]

    [FONT=&quot]วันหนึ่ง พระองค์ไปสรงในแม่น้ำเนรัญชรา ใกล้กับพุทธคยา พระองค์อ่อนแรงมากจนไม่อาจข้ามแม่น้ำได้ ทรงล้มลงในแม่น้ำ และคิดว่ากำลังจะจมน้ำตาย ในขณะสุดท้ายนั้น ความตายก็มาเยือน พระองค์อ่อนแรงจนไม่อาจว่ายน้ำ แต่ทันใดนั้น พระองค์คว้าจับกิ่งไม้ได้ และพยุงตัวอยู่ตรงนั้น และนั่นก็คือครั้งแรกที่ความคิดหนึ่งแล่นเข้ามา [/FONT]“[FONT=&quot]ถ้าหากฉันอ่อนแรงจนไม่อาจข้ามแม่น้ำเล็กๆ ธรรมดาๆ ในฤดูร้อน ในยามน้ำลด เมื่อน้ำแห้งลงจนกลายเป็นแม่น้ำสายเล็กจิ๋วราวกับลำธารเล็กๆ หากเพียงนี้ยังข้ามไม่ได้ แล้วจะข้ามมหาสมุทรใหญ่ในโลกได้อย่างไร ฉันจะเปลี่ยนแปรโลกได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้เลย ฉันกำลังทำอะไรโง่ๆ[/FONT]”

    [FONT=&quot]แล้วจะทำอย่างไร พระองค์ขึ้นจากแม่น้ำในตอนเย็น แล้วประทับอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งก็คือต้นโพธิ์ และค่ำคืนนั้น เมื่อพระจันทร์ฉายแสง อันเป็นคืนวันเพ็ญ พระองค์ทรงตระหนักว่า ทุกความพยายามล้วนสูญเปล่า ทรงตระหนักว่า ไม่มีอะไรสำเร็จลงได้ ความคิดอยากประสบความสำเร็จเป็นเรื่องไร้สาระ พระองค์ได้ลองทุกสิ่งแล้ว ทรงเสร็จสิ้นแล้วกับโลก โลกแห่งกิเลส ทรงเป็นกษัตริย์ และรู้จักแล้วกับทุกแรงปรารถนา ได้ใช้ชีวิตกับทุกความต้องการ ทรงเพียงพอแล้วกับสิ่งเหล่านั้น ไม่มีอะไรต้องให้บรรลุอีก ไม่มีอะไรมีค่ามากพอ และแล้วก็ได้ทรงทดลองบำเพ็ญทุกรกิริยา ทุกความพยายาม ภาวนาทุกรูปแบบ โยคะ ทุกสิ่ง แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น พระองค์จึงตรัส [/FONT]“[FONT=&quot]บัดนี้ ไม่มีสิ่งใดอีกยกเว้นความตาย ไม่มีสิ่งใดต้องการบรรลุ ความคิดในการประสบความสำเร็จล้วนไร้สาระ ความปรารถนาของมนุษย์เป็นเพียงสิ่งไร้ประโยชน์[/FONT]”

    [FONT=&quot]แล้วพระองค์ก็ละวางทุกความพยายามลงในค่ำคืนนั้น ประทับอยู่ใต้ต้นไม้ ผ่อนคลาย ปลอดพ้นความพยายาม ไร้เป้าหมาย ไม่มีที่แห่งใดให้ไป มิมีสิ่งใดให้บรรลุ ไม่มีอะไรทรงค่าจนต้องไขว่ขว้า หากคุณอยู่ในสภาวะจิตเยี่ยงนั้น จิตอันผ่อนคลาย ไร้อนาคต ไร้ความต้องการ ไร้เป้าหมาย ไม่มีที่ใดต้องไป แล้วอย่างไรเล่า พระองค์เพียงแต่ประทับ ทรงกลายเป็นเหมือนต้นไม้ บรรทมหลับตลอดคืน ภายหลัง พระพุทธเจ้าตรัสว่า นั่นคือครั้งแรกที่พระองค์ได้บรรทมหลับอย่างแท้จริง เพราะหากเรายังคงมีความต้องการใดๆ มันก็จะตามติดเข้าไปในการนอนหลับด้วย คนที่หาเงินและคนที่ไล่ล่าเงินยังคงทำเช่นนั้นแม้กระทั่งในฝัน คนที่แสวงหาอำนาจ เอกสิทธิ์ และการเมือง ก็ยังคงต่อสู่กับการเลือกตั้งในความฝันของตน เราล้วนรู้ว่า เมื่อเรานั่งสอบในมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน เวลาหลับ เราก็จะฝันว่ากำลังทำข้อสอบ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นความต้องการหรือความพยายามใดๆ มันจะตามติดต่อไปในนิทรารมณ์ และเราจะมีความพยายามบางอย่างอยู่เสมอ[/FONT]

    [FONT=&quot]ในคืนนั้น ไม่มีความพยายามใดๆ พระพุทธเจ้าตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ฉันได้หลับอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในนับล้านชาติภพ เป็นคืนแรกที่ฉันหลับ[/FONT]” [FONT=&quot]การบรรทมหลับเช่นนั้นก็คือสมาธิ เมื่อทรงตื่นขึ้นในยามเช้า ทรงมองเห็นดาวดวงสุดท้ายหายลับไป ทรงมอง คงเป็นครั้งแรกที่ดวงพระเนตรเป็นเสมือนกระจก ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ เพียงแต่ว่างเปล่าปลอดพ้น ไม่มีสิ่งใดให้เพ่งมอง เมื่อดาวดวงสุดท้ายเลือนลับไป พระพุทธเจ้าตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พร้อมกับดาวดวงที่เลือนลับไป ตัวฉันก็เลือนลับไปเช่นกัน ดวงดาวได้สูญไป และฉันก็สูญไปด้วย[/FONT]” [FONT=&quot]เนื่องจากตัวตนจะดำรงอยู่ได้ก็เมื่อมีความพยายามเท่านั้น หากเราต้องการอะไรบางอย่าง ก็จะเป็นการเติมเต็มตัวตน คุณกำลังทำบางสิ่ง ไปให้ถึงบางแห่ง บรรลุบางอย่าง ทว่าเมื่อปลอดพ้นความพยายามนั้น เราจะดำรงอยู่ได้อีกอย่างไร[/FONT]

    [FONT=&quot]ดาวดวงสุดท้ายสูญไป [/FONT]‘[FONT=&quot]และ[/FONT]’ [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัส [/FONT]“[FONT=&quot]ฉันก็สูญไปด้วย เมื่อฉันมอง ท้องฟ้าว่างเปล่า เมื่อฉันมองเข้าไปภายใน ก็ไม่มีอะไร อนัตตา ไร้ตัวตน ไม่มีใคร[/FONT]”

    [FONT=&quot]กล่าวกันว่า พระพุทธเจ้าทรงพระสรวลกับความไม่เป็นสาระทั้งปวง ไม่มีใครไปถึง ไม่มีใครที่จะไปถึงเป้าหมาย ไม่มีใครสามารถบรรลุถึงเสรีภาพ ไม่มีใครเลย ไม่มีสรรพสิ่ง ปลอดพ้นเทศะ เทศะอยู่ภายใน [/FONT]‘[FONT=&quot]และ[/FONT]’ [FONT=&quot]พระองค์ตรัส [/FONT]“[FONT=&quot]ในชั่วขณะที่ปลอดพ้นความพยายามใดๆ ฉันได้บรรลุ ได้ตระหนักรู้[/FONT]”

    [FONT=&quot]แต่อย่าไปนั่งผ่อนคลายใต้ต้นไม้ และอย่าตั้งหน้ารอให้ดาวดวงสุดท้ายหายสูญ ทั้งอย่าเฝ้าคิดว่า เมื่อดาวหายลับไปแล้ว ตัวตนของคุณจะหายไปด้วย เพราะ 6 ปี นั้นจะต้องเป็นรากฐานของสุญตา และนี่คือปัญหา หากปราศจากความพยายาม ไม่มีใครเคยบรรลุ แต่หากมีเพียงความพยายาม ก็ไม่มีใครเคยบรรลุ ด้วยความพยายามที่ต่อเนื่องจนถึงจุดที่ปลอดพ้นความพยายามแล้วต่างหากเล่า การตระหนักรู้จึงจะเป็นไปได้[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าได้นำโลกให้มองดูการทำสมาธิภาวนาแบบใหม่[/FONT][FONT=&quot] ก่อนหน้าพระพุทธเจ้า การภาวนาคือสิ่งที่คุณต้องทำวันละครั้งหรือสองครั้ง หนึ่งชั่วโมงในตอนเช้า หนึ่งชั่วโมงในตอนค่ำ แล้วก็แค่นั้น พระพุทธเจ้าทรงมอบการตีความใหม่ให้กับกระบวนการทำสมาธิภาวนา ทรงตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]การทำสมาธิภาวนาแบบที่ทำในยามเช้าหนึ่งชั่วโมง ยามค่ำหนึ่งชั่วโมง หรือต่อให้ทำวันละห้าหรือสี่ครั้ง ก็ไม่มีคุณค่ามากนัก การทำสมาธิภาวนาไม่อาจเป็นสิ่งที่ทำแยกขาดออกจากชีวิตได้ ไม่ว่าจะนานหนึ่งชั่วโมงหรือ 15 นาที สมาธิภาวนาต้องเป็นเนื้อนาเดียวกับชีวิตของเรา ต้องเป็นเสมือนกับการหายใจ กระทั่งเวลาหลับ ลมหายใจก็ยังต่อเนื่อง เราอาจหมดสติไป แต่ลมหายใจก็ยังต่อเนื่อง[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัสว่า สมาธิภาวนาควรเป็นเรื่องต่อเนื่อง มีเพียงเท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลงเราได้ และพระองค์ก็ได้วิวัฒนาการเทคนิคการทำสมาธิภาวนาขึ้นใหม่[/FONT]

    [FONT=&quot]สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่พระองค์มอบให้แก่โลก ก็คือวิปัสสนา[/FONT]

    [FONT=&quot]คำว่าวิปัสสนาดั้งเดิมเป็นภาษาบาลี เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ตรัส...พระองค์คุ้นเคยกับภาษาสันสกฤตอย่างดีเยี่ยม ในฐานะเจ้าชาย ทรงได้รับการศึกษาทางวรรณคดีขั้นสูงสุดของยุคนั้น ทว่าเมื่อทรงเริ่มเทศนา พระองค์ไม่เคยใช้ภาษาสันสกฤตเลย เพราะสันสกฤตเป็นภาษาของปัญญาชน ของพราหมณ์ ของพระ แต่ไม่ใช่ของปวงชน มันไม่ใช่ภาษาที่มีชีวิต เป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์ในบรรดาภาษาทั้งปวงของโลก มีการพูดกันเฉพาะคนที่ได้ศึกษา ในหมู่ผู้รู้ และเพราะไม่ใช่ภาษาที่แพร่หลาย จึงกลายเป็นภาษาที่ศักสิทธิ์สำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าแปลออกมาก็ไม่มีอะไรพิเศษ บางครั้งก็ไม่มีอะไรเลยนอกจากคำขยะ แต่มันมีท่วงทำนองเหมือนดนตรี โครงสร้างภาษานั้นสมบูรณ์แบบที่สุดในบรรดาภาษาทั้งหลายในโลก เป็นภาษาที่เรียนรู้ยาก มีตัวอักษร 52 ตัว ภาษาอังกฤษมีเพียง 26 ตัว แปลว่ายังมีอีก 26 เสียงที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ-สันสกฤตเป็นภาษาที่รุ่มรวยกว่าสองเท่า เพราะมันออกเสียงได้ทุกเสียง ด้วยอักษรทั้งหมด ไม่มีเสียงใดหลงเหลือเลย เสียงเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ค่อยมีใครใช้กันก็มีปรากฎ ทั้งเสียงที่ออกเสียงได้ยากมาก เสียงที่แทบไม่มีใครใช้เลยแต่สามารถออกเสียงได้ ล้วนรวมอยู่ทั้งหมด[/FONT]

    [FONT=&quot]ทว่าพระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยจะตรัสในภาษาของมหาชน ถือเป็นก้าวแห่งการปฏิวัติ เพราะภาษาของมหาชนนั้นไม่ถูกไวยากรณ์ ด้วยการใช้แบบคนสามัญ มีการเปลี่ยนเสียง เปลี่ยนสำเนียง ถ้อยคำเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน บาลีเป็นภาษาเรียบๆ ในด้านหนึ่งถือเป็นภาษาของคนที่ไม่รู้ประสีประสาและไร้เดียงสา วิปัสสนาเป็นคำบาลี มีความหมายตามตัวอักษรดั้งเดิมว่า [/FONT]“[FONT=&quot]มอง[/FONT]” [FONT=&quot]โดยมีความหมายเปรียบเปรยว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เฝ้าดู สังเกต[/FONT]”
    [FONT=&quot]
    พระพุทธเจ้าเลือกวิธีภาวนาที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการภาวนาขั้นพื้นฐาน สมาธิภาวนาทั้งหมดก็คือการเฝ้าสังเกตในรูปแบบต่างๆ การสังเกตการปรากฏในสมาธิภาวนาทุกรูปแบบ ถือเป็นพื้นฐานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ พระพุทธเจ้าขจัดสิ่งปลีกย่อยอื่นๆ ออก แล้วรักษาไว้เฉพาะพื้นฐานสำคัญ นั่นก็คือการสังเกต[/FONT]

    [FONT=&quot]การเฝ้าสังเกตนั้นมีสามขั้นตอน พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทรงเริ่มต้นด้วยร่างกาย เพราะเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายที่สุด เป็นเรื่องง่ายที่จะเห็นว่ามือของข้าพเจ้าเคลื่อนไหว มือของข้าพเจ้ายกขึ้น ข้าพเจ้าสังเกตเห็นตัวเองเดินอยู่บนถนน จับสังเกตแต่ละก้าวที่เดิน เฝ้ามองเวลากินอาหาร ดังนั้น ก้าวแรกของวิปัสสนา ก็คือการจับสังเกตกิริยาต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นขั้นที่ง่ายที่สุด วิธีทางวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจะเริ่มจากขั้นตอนที่ง่ายที่สุด ขณะจับสังเกตร่างกาย คุณจะทึ่งไปกับประสบการณ์ใหม่ๆ หากเคลื่อนไหวมือพร้อมกับจับสังเกต เฝ้ามอง ตื่นตัว ตื่นรู้ คุณจะรู้สึกได้ถึงความสง่างามและความเงียบบางอย่างของมือ ถ้าคุณเคลื่อนมือได้โดยไม่จับสังเกตมันจะเร็วขึ้น ทว่างดงามน้อยลง พระพุทธเจ้าเคยทรงเดินช้าอย่างยิ่ง จนหลายครั้งมีผู้ถามว่า ทำไมพระองค์เดินช้ามาก พระองค์ตรัสว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นี่คือส่วนหนึ่งของการเจริญสมาธิภาวนาของฉัน เดินราวกับกำลังเดินอยู่ในลำธารเยือกเย็นในฤดูหนาว...ช้าๆ ตื่นรู้ เพราะลำธารนั้นเย็นเฉียบ ตระหนักรู้เพราะกระแสน้ำไหลเชี่ยว เฝ้าสังเกตแต่ละก้าวของเธอ เพราะเธออาจลื่นไถลไปกับก้อนหินในลำธาร[/FONT]”

    [FONT=&quot]วิธีการยังคงเป็นเช่นเดิม เพียงแต่เป้าหมายเปลี่ยนไปในแต่ละก้าว ขั้นตอนที่สองก็คือการเฝ้าสังเกตจิต ถึงขั้นนี้ คุณก็เคลื่อนเข้าไปยังโลกภายในลึกเข้าไปอีก จับสังเกตความคิดของคุณ หากคุณประสบความสำเร็จในการจับสังเกตร่างกาย ก็ไม่ใช่เรื่องยากนัก ความคิดเป็นคลื่นอันแผ่วเบา คลื่นไฟฟ้า คลื่นวิทยุ ทว่ามันเป็นเสมือนรูปหรือวัตถุเช่นเดียวกับร่างกาย มองไม่เห็นเช่นเดียวกับอากาศที่เรามองไม่เห็น ทว่าอากาศก็เป็นรูปหรือวัตถุแบบเดียวกับก้อนหิน ความคิดของคุณก็เช่นกัน มันเป็นรูปที่มองไม่เห็น นี่คือขั้นตอนที่สอง ขั้นกลาง คุณเคลื่อนย้ายไปสู่สิ่งที่มองไม่เห็น ทว่าก็ยังเป็นรูป...เฝ้ามองความคิดของคุณภายใต้เงื่อนไขเดียวเท่านั้น นั่นคืออย่าตัดสินมัน[/FONT]

    [FONT=&quot]อย่าตัดสิน เนื่องจากชั่วขณะที่คุณเริ่มตัดสิน คุณก็จะหลงลืมการเฝ้าสังเกต หาได้มีอะไรเป็นปรปักษ์กับการตัดสินไม่ แต่เหตุผลที่ห้ามตัดสินก็เพราะในชั่วขณะที่เราเริ่มตัดสินว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]นี่เป็นความคิดที่ดี[/FONT]’ [FONT=&quot]แม้เพียงเท่านั้น คุณก็ไม่ได้เฝ้าสังเกตเสียแล้ว แต่คุณกำลังเริ่มคิด คุณเข้าไปเกี่ยวข้อง คุณไม่อาจยืนอยู่ห่างๆ ยืนอยู่ริมถนน แล้วเพียงแต่มองดูการจราจร อย่าเข้าร่วม ไม่ว่าด้วยการสรรเสริญ ให้คุณค่า หรือประณาม ไม่ควรมีทัศนคติใดๆต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามาในใจ คุณควรเฝ้ามองความคิดของคุณราวกับเป็นหมู่เมฆเคลื่อนผ่านท้องฟ้า อย่าตัดสินพวกมันว่าเมฆดำนั้นชั่วร้าย พวกมันทั้งไม่ชั่วและไม่ดี ความคิดก็เช่นเดียวกัน เป็นเพียงความยาวคลื่นเล็กๆ ที่แล่นผ่านจิตใจเท่านั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]เฝ้ามองโดยปราศจากการตัดสิน แล้วคุณก็จะได้พบความประหลาดใจอันใหญ่หลวงอีกครั้ง เมื่อการเฝ้ามองนั้นมั่นคงขึ้น ความคิดก็จะมีน้อยลงและน้อยลง สัดส่วนนั้นเป็นเช่นเดียวกัน หากคุณตั้งมั่นอยู่ในการเฝ้าสังเกตร้อยละ 50 ความคิดร้อยละ 50 ของคุณก็จะหายไป หากคุณตั้งมั่นอยู่ในการเฝ้าสังเกตร้อยละ 60 ความคิดก็จะเหลืออยู่เพียงร้อยละ 40 หากคุณเฝ้าสังเกตได้อย่างบริสุทธิ์ถึงร้อยละ 99 ก็จะมีความคิดโดดๆ ผุดขึ้นเพียงนานๆ ครั้ง ถือเป็นร้อยละ 1 ที่ผ่านมาบนถนน ถัดจากนั้นไป ก็ไม่มีการจราจรอีกแล้ว ชั่วโมงเร่งด่วนไม่เหลืออยู่อีก เมื่อคุณไม่ตัดสินสิ่งใดมากถึงร้อยละ 100 เพียงแต่เฝ้าสังเกต ก็แปลว่าคุณได้กลายเป็นเพียงกระจก กระจกไม่เคยตัดสินใคร เมื่อหญิงอัปลักษณ์ส่องกระจก กระจกก็ไม่ตัดสินว่าอัปลักษณ์ หญิงงามส่องกระจกก็ไม่ต่างกัน หากไม่มีใครส่องกระจก กระจกยังคงบริสุทธิ์เท่ากับเมื่อมีคนมาส่องสะท้อนมัน มีภาพสะท้อนหรือไม่มีภาพสะท้อน กระจกก็ไม่สั่นไหว การเฝ้าสังเกตจะกลายเป็นกระจก[/FONT]

    [FONT=&quot]นี่คือการบรรลุขั้นตอนที่ยิ่งใหญ่ในสมาธิภาวนา คุณมาถึงครึ่งทางแล้ว และต่อไปนี้คือส่วนที่ยากที่สุด บัดนี้คุณรู้ความลับแล้ว และจะประยุกต์ความลับแบบเดียวกันไปใช้กับเป้าหมายถัดไป[/FONT]

    [FONT=&quot]จากความคิด คุณต้องย้ายมาสู่ประสบการณ์ที่ลึกซึ้งลงไปอีก นั่นคือารมณ์และความรู้สึก จากจิตใจสู่หัวใจ ด้วยเงื่อนไขเดียวกัน อย่าตัดสิน เพียงเฝ้ามอง แล้วคุณจะประหลาดใจที่พบว่าอารมณ์ความรู้สึกนั้น ส่วนใหญ่แล้วครอบงำคุณ ตอนนี้ หากคุณรู้สึกเศร้า คุณก็จะเศร้า คุณถูกความเศร้าเข้าครอบงำ เมื่อคุณรู้สึกโกรธก็ไม่แตกต่าง คุณจะเต็มไปด้วยความโกรธ ทุกๆ เส้นใยในตัวคุณจะเต้นเร่าด้วยความโกรธ ทว่าการเฝ้ามองดูหัวใจของเรานั้น เราจะพบประสบการณ์ที่ไม่มีอะไรเข้าครอบงำเราได้อีก ความเศร้าเพียงมาแล้วก็ไป แต่เราไม่ได้เศร้า ความสุขมาแล้วก็ไป เราไม่ได้สุขด้วยเช่นกัน ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นลึกๆ ในหัวใจของเรา ก็ไม่ส่งผลกับเราอย่างสิ้นเชิง เป็นครั้งแรก ที่คุณจะได้ลิ้มรสของการเป็นนาย คุณไม่ใช่ทาสที่ถูกลากถูกดึงไปทางนั้นทางนี้อีกต่อไปแล้ว ทาสแบบนั้น ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความรู้สึก หรือใครต่อใคร ก็สามารถก่อกวนคุณได้แม้ด้วยเรื่องเล็กน้อย[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อคุณเป็นผู้สังเกตการณ์ในขั้นตอนที่สาม คุณจะกลายเป็นนายของตัวเองในครั้งแรก ไม่มีอะไรกวนใจคุณได้อีก ไม่มีอะไรมีอำนาจเหนือคุณ ทุกสิ่งจะคงอยู่ห่างไกล ลึกลิ่ว แต่คุณอยู่บนยอดเขา[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อคุณเฝ้าสังเกตร่างกาย จิตใจ และหัวใจของคุณได้อย่างสมบูรณ์พร้อมแล้ว คุณก็ไม่อาจทำอะไรเพิ่มได้อีก คุณต้องรอคอย เมื่อความสมบูรณ์พร้อมลุล่วงลงในสามขั้นตอนนี้แล้ว ขั้นตอนที่สี่จะเกิดขึ้นเองเสมือนเป็นรางวัล มันคือก้าวกระโดดครั้งใหญ่จากหัวใจไปสู่ตัวตน สู่ศูนย์กลางที่สุดของการดำรงอยู่ของคุณ[/FONT]

    [FONT=&quot]คุณไม่อาจทำให้เกิดการปฏิบัตินี้ขึ้นได้ ต้องระลึกไว้ว่า มันเพียงแต่เกิดขึ้น อย่าพยายามปฏิบัติ เพราะหากคุณพยายามทำ คุณจะพบความล้มเหลวอย่างแน่นอน มันเกิดขึ้นเอง คุณเตรียมสามขั้นตอน แล้วขั้นที่สี่จะเป็นรางวัลที่มาจากการดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง เป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ทันใดนั้น เรี่ยวแรงในชีวิต การสังเกตการณ์ของคุณ ก็จะผ่านเข้าสู่ศูนย์กลางแห่งการดำรงอยู่ มันจะนำความรื่นรมย์ครั้งใหญ่มาเยือนเหมือนเงา ด้วยตัวของมันเองและสิ่งที่อยู่ล้อมรอบ[/FONT]

    [FONT=&quot]มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงเดินทางจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง ตอนนั้นเป็นวันที่อากาศร้อนในฤดูร้อน ระหว่างทาง พระองค์รู้สึกกระหายน้ำ ทรงสูงวัยแล้ว พระองค์จึงขอร้องพระอานนท์ผู้เป็นสานุศิษย์ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]อานนท์ ฉันเสียใจที่ต้องขอให้เธอย้อนกลับไป สองหรือสามไมล์ที่เราผ่านมา มีลำธารสายเล็ก ฉันกระหายน้ำ เธอจงไปนำน้ำมาเถิด[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระอานนท์ตอบว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พระองค์อย่าเสียใจไปเลย ถือเป็นความรื่นรมย์ของข้าพเจ้าที่จะได้รับใช้พระองค์ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม ข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณพระองค์ ไม่ใช่พระองค์เป็นผู้ติดค้าง พระองค์ประทับพักใต้ต้นไม้นี้ แล้วข้าพเจ้าจะไป[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระอานนท์ย้อนกลับไป ท่านรู้แน่ว่าลำธารนั้นอยู่ที่ไหน มันเป็นลำธารที่ใสแจ๋ว ธารน้ำจากภูเขาจะมีความใสในแบบของมันเอง ทว่าเมื่อพระอานนท์ย้อนกลับไปนำน้ำ ก็มีเกวียนสองเล่มแล่นผ่าน ทำให้ลำธารทั้งสายขุ่นไปด้วยโคลน โคลนที่เคยตกตะกอนอยู่บนพื้นถูกกวนขึ้นมาที่ผิวน้ำ ซากใบไม้ ใบไม้เน่า ล้วนลอยขึ้นสู่ผิวหน้า พระอานนท์ไม่คิดว่าควรนำน้ำเช่นนี้ไปถวายพระพุทธเจ้า จึงกลับมาแล้วทูลพระพุทธเจ้าว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เกิดเรื่องบางอย่างขึ้น ข้าพเจ้าไม่อาจนำน้ำกลับมาถวายพระองค์ได้ แต่อย่าทรงกังวล อีกสี่ไมล์ข้างหน้าพระองค์จะได้ประทับพัก ข้าพเจ้ารู้ว่ามีแม่น้ำสายใหญ่ ที่นั่นข้าพเจ้าจะนำน้ำมาถวาย ทว่าเวลาก็ล่วงเลย และพระองค์ก็ทรงกระหาย แต่ข้าพเจ้าก็ทำอะไรไม่ได้[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัส [/FONT]“[FONT=&quot]ไม่ ฉันอยากให้เป็นน้ำจากลำธารสายนั้น เธอไม่จำเป็นต้องรอเวลาอีก เธอควรนำน้ำนั้นมา[/FONT]”

    “[FONT=&quot]แต่[/FONT]” [FONT=&quot]พระอานนท์กล่าว [/FONT]“[FONT=&quot]น้ำนั้นสกปรกขุ่นข้น ใบไม้เน่าลอยอยู่ข้างหน้า ข้าพเจ้าจะนำมาได้อย่างไร[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัส [/FONT]“[FONT=&quot]เธอไปนำมาเถิด[/FONT]”

    [FONT=&quot]เมื่อพระศาสดาตรัสเช่นนั้น...พระอานนท์ก็ย้อนกลับไปอย่างลังเลใจ แล้วก็ต้องประหลาดใจ ในเวลานั้น ใบไม้ได้ลอยไปแล้ว น้ำที่ไหลรินอย่างต่อเนื่องได้พัดพาใบไม้ไป ขุ่นข้นของโคลนเลนก็ได้ตกตะกอน เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น พระอานนท์กระจ่างแจ้ง ท่านนั่งลงริมลำธาร นี่คือความหมายของพระพุทธเจ้า [/FONT]“[FONT=&quot]จงกลับไป[/FONT]” [FONT=&quot]และได้เห็นว่าสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลง...เพียงแต่ท่านรอคอย ไม่ช้าน้ำใสแจ๋วก็จะมาอยู่ที่นั่นอีก[/FONT]

    [FONT=&quot]ท่านคอย ไม่ช้าน้ำก็ใส ท่านจึงนำกลับมา พระพุทธเจ้าตรัส [/FONT]“[FONT=&quot]อานนท์ เธอเข้าใจหรือยัง[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระอานนท์ร้องไห้ ท่านกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ใช่ ข้าพเจ้าเข้าใจแล้ว ที่จริงแล้วข้าพเจ้าไม่ได้ทูลพระองค์ว่า เมื่อข้าพเจ้าย้อนไปในครั้งแรกและเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นคือเกวียนสองเล่มแล่นผ่านไปต่อหน้าข้าพเจ้า ก่อกวนสายน้ำให้ขุ่นข้น ข้าพเจ้าลงไปในลำธาร พยายามให้ตะกอนนอนก้น ยิ่งข้าพเจ้าพยายามเท่าไหร่ มันก็ยิ่งขุ่นข้นมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งข้าพเจ้าเดินลงไปในลำธาร โคลนเลนก็ยิ่งกวนลอย มีใบไม้มากขึ้น เมื่อเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้น้ำตกตะกอน ข้าพเจ้าจึงกลับมา ข้าพเจ้าไม่ได้ทูลพระองค์เรื่องนี้ ข้าพเจ้าเสียใจ ข้าพเจ้าโง่เขลา ไม่มีทางที่จะทำให้ลำธารตกตะกอนกลับไปตามธรรมชาติได้ ข้าพเจ้าควรเพียงแต่นั่งรอ เพียงแต่เฝ้ามอง[/FONT]”

    “[FONT=&quot]สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้นเอง ใบไม้ไหลล่องไปตามลำธาร และโคลนเลนก็นอนก้น เพียงนั่งอยู่ที่นั่น มองดูสายน้ำ ข้าพเจ้าก็เข้าใจว่าสายน้ำนั้นคือสายน้ำของจิตใจข้าพเจ้าเอง อันเต็มไปด้วยความคิด เน่าเปื่อย อดีต ความตาย โคลน แล้วข้าพเจ้าก็ยังพยายามทำให้มันตกตะกอน กระโจนลงไปในนั้นก็ยิ่งทำให้มันแย่ลงกว่าเก่า ทั้งยังสร้างทัศนคติร้ายๆ ทำนองว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]บางทีในชีวิตนี้ เราคงไม่สามารถบรรลุถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสได้ ซึ่งก็คือภาวะที่ไม่มีจิตอีกต่อไป[/FONT]’ [FONT=&quot]แต่วันนี้ เมื่อได้เห็นลำธารนั้น ความหวังยิ่งใหญ่ได้ผุดขึ้นในตัวข้าพเจ้า บางทีสายน้ำแห่งจิตใจของข้าพเจ้าอาจตกตะกอนได้เองด้วยวิธีเดียวกัน เพียงนั่งอยู่ที่นั่น คอยเฝ้ามอง[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัส [/FONT]“[FONT=&quot]ฉันไม่ได้กระหายน้ำ เธอต่างหากที่กระหาย เธอไม่ได้ไปที่นั่นเพื่อนำน้ำมาให้ฉัน แต่เธอไปที่นั่นเพื่อจะเข้าใจบางสิ่ง เมื่อขามา ฉันเห็นเกวียนสองเล่มอยู่บนยอดเนิน และฉันรู้ว่า เกวียนนั้นจะมาถึงเมื่อไร ฉันจึงส่งเธอไปนำน้ำมาในเวลานั้น[/FONT]”

    [FONT=&quot]เพียงนั่งอยู่ริมลำธารแห่งจิตใจ ไม่ต้องทำสิ่งใด ไม่คาดหมายให้คุณทำสิ่งใด เพียงสงบ นิ่ง ราวกับนั่นไม่เกี่ยวข้องอะไรกับคุณ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในจิตใจคุณ คือสิ่งที่เกิดขึ้นที่ไหนสักแห่ง จิตใจนั้นไม่ใช่ของคุณ แต่เป็นของใครบางคน คุณเป็นเพียงผู้เฝ้าดูเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงเรียกปรัชญาทั้งหมดของพระองค์ว่า มัชฌิมนิกาย พระองค์ตรัสว่า ให้อยู่บนทางสายกลางเสมอ ไม่ว่าด้านไหนจะเป็นอย่างไร ก็ให้อยู่กับทางสายกลาง ด้วยการเฝ้ามอง เราก็อยู่บนทางสายกลาง ชั่วขณะที่คุณสูญเสียการเฝ้ามอง คุณจะกลายเป็นฝ่ายยึดมั่นหรือไม่ก็ผลักไส คุณก็จะไปอยู่ฟากฝั่งหนึ่งอย่างสุดขั้ว [/FONT]
    [FONT=&quot]
    หากคุณยึดมั่น คุณก็จะพยายามอยู่คงที่กับสุดขั้วอีกข้างหนึ่ง ทว่าคุณไม่ได้อยู่ตรงกลาง เพียงเป็นผู้เฝ้ามอง อย่ายึดมั่น อย่าผลักไส ถ้าปวดศรีษะ ก็ยอมรับมันเสีย มันอยู่ตรงนั้น เป็นข้อเท็จจริง เช่นเดียวกับต้นไม้อยู่ตรงนั้น บ้านอยู่ตรงนั้น ค่ำคืนอยู่ตรงนั้น อาการปวดศรีษะก็อยู่ตรงนั้น รับรู้มันแล้วหลับตาลง อย่าพยายามหนีไปจากมัน[/FONT]

    [FONT=&quot]หากคุณมีความสุข ก็จงยอมรับข้อเท็จจริงนี้ อย่ายึดติดกับมัน อย่าพยายามทำตัวให้มีความสุข อย่าพยายามใดๆ เลย หากความทุกข์มาเยือน ก็จงปล่อยมัน ถ้าความสุขเกิดขึ้น ก็ปล่อยมัน จงเป็นเพียงผู้เฝ้าดูอยู่บนเนินเขา เพียงมองเห็นสรรพสิ่ง ยามเช้ามาถึง แล้วยามค่ำก็มา จากนั้นพระอาทิตย์ก็ขึ้น แล้วพระอาทิตย์ก็ตก มีดวงดาวและความมืด แล้วพระอาทิตย์ก็ขึ้นอีกครั้ง คุณเป็นเพียงผู้เฝ้ามองอยู่บนเนินเขา คุณไม่อาจทำสิ่งใดได้ เพียงแต่มองเห็นเมื่อยามเช้ามาถึง คุณตระหนักถึงความจริงนี้ แล้วคุณก็รู้ว่ายามค่ำมาถึง เพราะยามค่ำจะตามยามเช้ามา เมื่อยามค่ำมาถึง คุณก็จะตระหนักถึงความจริงนี้ แล้วคุณก็รู้อีกว่า อีกเดี๋ยวยามเช้าก็มาถึง เพราะยามเช้าเกิดขึ้นตามยามค่ำ[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อความเจ็บปวดอยู่ที่นั่น คุณก็เพียงเป็นผู้เฝ้ามอง คุณรู้ว่า ความเจ็บปวดได้เกิดขึ้น และไม่ช้าไม่นานนัก มันก็จะจากไป ขั้วตรงข้ามจะเกิดขึ้นแทน เมื่อเกิดความสุขขึ้น คุณรู้ว่า มันจะไม่ดำรงอยู่ตลอดไป ความทุกข์ซุกซ่อนอยู่ที่ไหนสักแห่ง และมันจะมาเยือน คุณยังคงเป็นผู้เฝ้ามอง หากคุณเฝ้ามองโดยปราศจากการใฝ่หาและผลักไส คุณก็จะอยู่ตรงกลาง เมื่อใดก็ตามที่ลูกตุ้มหยุดอยู่ตรงกลาง คุณก็สามารถมองเห็นสิ่งที่โลกเป็นได้จริงๆ เป็นครั้งแรก[/FONT]

    [FONT=&quot]ขณะเคลื่อนที่ คุณไม่อาจรู้ได้ว่าโลกเป็นอย่างไร การเคลื่อนที่ทำให้ทุกสิ่งสับสน มีแต่เมื่อหยุดเคลื่อนที่ คุณจึงจะเห็นโลก เป็นครั้งแรกที่คุณรับรู้ว่าความจริงคือะไร จิตที่ไม่ขับเคลื่อนนั้นรู้ว่าความจริงคืออะไร จิตที่ขับเคลื่อนไปไม่อาจรับรู้ความจริงได้ จิตของคุณก็เหมือนกล้องถ่ายรูป เมื่อเคลื่อนที่และถ่ายรูป ภาพที่ปรากฏขึ้นล้วนแต่วูบไหวสับสนเพราะกล้องควรจะอยู่นิ่ง หากกล้องเคลื่อนที่ ภาพที่ได้ก็จะเป็นเพียงความสับสน[/FONT]

    [FONT=&quot]จิตสำนึกของคุณกำลังเคลื่อนที่จากลูกตุ้มข้างหนึ่งเหวี่ยงไปอีกข้างหนึ่ง ดังนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตามที่คุณคิดว่าเป็นความจริง จึงเป็นเพียงความสับสน เป็นฝันร้าย คุณไม่รู้ว่าอะไรคืออะไร ทุกสิ่งล้วนสับสน ผิดพลาด หากคุณยังคงอยู่ตรงกลาง และลูกตุ้มนั้นหยุดนิ่ง หากจิตสำนึกของคุณพุ่งเป้าไปตรงกลาง คุณก็รู้ว่าความจริงคืออะไร มีเพียงจิตใจที่ไม่ขับเคลื่อนเท่านั้น ที่จะรู้ว่าความจริงคืออะไร

    [/FONT][FONT=&quot](จบส่วนที่ 3)[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2011
  2. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ส่วนสุดท้ายแล้วค่ะ

    คุรุวิพากษ์คุรุ : OSHO
    โตมร ศุขปรีชา แปลและเรียบเรียง

    พระพุทธเจ้า (ต่อ)[FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]คำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า สามารถย่อลงเหลือเพียงคำเดียว[/FONT][FONT=&quot] คำนั้นก็คือ อิสรภาพ นั่นคือคำสอนพื้นฐานของพระองค์ เป็นความหอมในแบบของพระองค์โดยแท้ ไม่มีใครอีกที่ยกอิสรภาพขึ้นสูงสุดเช่นนี้ นี่คือคุณค่าเชิงปรมัตถ์ในมุมมองของพระพุทธเจ้า เป็นความดีสูงสุด หรือ ซัมมัม โบนัม ไม่มีอะไรสูงกว่านี้[/FONT]
    [FONT=&quot](ซัมมัม โบนัม เป็นภาษาละติน หมายถึงความดีสูงสุดที่ทุกคนยอมรับ)[/FONT]

    [FONT=&quot]ดูเหมือนเป็นเรื่องพื้นฐานมากในการเข้าใจว่า เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเน้นย้ำถึงอิสรภาพมากนัก ไม่ได้ทรงเน้นถึงพระเจ้า สวรรค์ หรือความรัก แต่เป็นอิสรภาพ มีเหตุผลในเรื่องนี้อยู่ประการหนึ่ง นั่นคือทุกสิ่งที่มีคุณค่านั้น จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในบรรยากาศของอิสรภาพ ความรักก็เติบโตได้เพียงในเนื้อดินแห่งอิสรภาพ หากไร้อิสรภาพ ความรักก็ไม่อาจเติบโต ไร้ซึ่งอิสรภาพ สิ่งที่เติบโตในนามของความรักไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากตัณหา หากไร้อิสรภาพ ก็จะไม่มีพระเจ้า หากไร้อิสรภาพ สิ่งที่คุณคิดว่าเป็นพระเจ้า ที่แท้แล้วก็เป็นเพียงจินตนาการ ความกลัว หรือความโลภของคุณเอง ไม่มีสวรรค์ไหนไร้อิสรภาพ อิสรภาพคือสวรรค์ และหากคุณคิดว่ามีสวรรค์แห่งไหนที่ไร้อิสรภาพ สวรรค์นั้นก็ไม่มีค่า ไม่เป็นจริง เป็นเพียงสิ่งที่คุณฝันเฟื่องขึ้นเท่านั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]คุณค่ายิ่งใหญ่ทั้งปวงเติบโตได้ในบรรยากาศของอิสรภาพ ฉะนั้น อิสรภาพจึงเป็นคุณค่าพื้นฐาน และยังเป็นยอดสูงสุดด้วย หากคุณต้องการเข้าใจพระพุทธเจ้า คุณจะต้องลิ้มรสอิสรภาพที่พระองค์ตรัสถึง[/FONT]

    [FONT=&quot]อิสรภาพของพระองค์ไม่ใช่เรื่องภายนอก ไม่ใช่สังคม ไม่ใช่การเมือง ไม่ใช่เศรษฐกิจ แต่เป็นอิสรภาพทางจิตวิญญาณ ด้วยคำว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]อิสรภาพ[/FONT]’ [FONT=&quot]พระองค์หมายถึงภาวะของจิตสำนึกที่ไม่ถูกผูกรัดด้วยกิเลสใดๆ ไม่ถูกล่ามโซ่ด้วยกิเลสใดๆ ไม่ถูกคุมขังด้วยความโลภ ด้วยตัณหาใดๆ โดยคำว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]อิสรภาพ[/FONT]’ [FONT=&quot]พระองค์ทรงหมายถึงจิตสำนึกที่ปลอดการคิด ภาวะที่ไร้จิต เป็นความว่างเปล่าสูงสุด เพราะหากมีบางสิ่งอยู่ สิ่งนั้นก็จะเหนี่ยวรั้งอิสรภาพ และขัดขวางความว่าง[/FONT]

    [FONT=&quot]คำว่าความว่างเปล่าหรือ สุญตา นั้นมีคนเข้าใจผิดอย่างมาก เนื่องจากคำนี้มีความหมายในทางลบ เมื่อไรก็ตามที่เราได้ยินคำว่า[/FONT] ‘[FONT=&quot]ว่างเปล่า[/FONT]’[FONT=&quot] เราจะคิดถึงบางสิ่งในแง่ลบ ในภาษาของพระพุทธเจ้าความว่างไม่เป็นลบ ความว่างเป็นบวกอย่างสมบูรณ์ บวกยิ่งกว่าสิ่งที่เราเรียกว่าความเต็มอิ่มเสียอีก เพราะความว่างนั้นเต็มไปด้วยอิสรภาพ สิ่งอื่นๆ หายไป เป็นความว่างไพศาล ไร้ขอบเขต ภายในพื้นที่ไร้ขอบเขตนี้เท่านั้น ที่อิสรภาพจะเป็นไปได้ ความว่างเปล่าของพระองค์ไม่ใช่ความว่างเปล่าธรรมดา ไม่ใช่การขาดหายไปของบางสิ่ง ทว่าเป็นปรากฏการณ์ของบางสิ่งที่มองไม่เห็น[/FONT]

    [FONT=&quot]ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณทำห้องให้ว่างเปล่า ขณะที่คุณย้ายเครื่องเรือน ภาพเขียน และของต่างๆ ในห้องออกไป ในด้านหนึ่ง ห้องว่างเปล่าเนื่องจากไม่มีเครื่องเรือน ไม่มีภาพเขียน ไม่มีสิ่งของ ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ภายในอีกแล้ว แต่ในอีกด้านหนึ่ง บางสิ่งที่มองไม่เห็นก็ได้เติมเต็มห้องแห่งนั้น สิ่งที่มองไม่เห็นนั้นก็คือ [/FONT]‘[FONT=&quot]ความกว้างขวาง[/FONT]’ [FONT=&quot]พื้นที่โล่ง ห้องแลดูใหญ่ขึ้น ขณะค่อยๆ ย้ายของออกไป ห้องก็จะค่อยๆ กว้างขึ้นและกว้างขึ้น เมื่อทุกสิ่งถูกย้ายออกไป แม้กระทั่งผนัง ห้องก็จะใหญ่เท่ากับท้องฟ้า[/FONT]

    [FONT=&quot]นั่นคือกระบวนการทั้งหมดของสมาธิภาวนา ย้ายทุกสิ่งออกไป ย้ายตัวตนของคุณออกไปให้หมด ไม่ให้เหลือสิ่งใดไว้ แม้กระทั่งคุณ ในความสงบงันนั้นคืออิสรภาพ ในความนิ่งนั้น ดอกบัวแห่งอิสรภาพที่มีพันกลีบได้เบ่งบาน อบอวลด้วยกลิ่นหอม เป็นกลิ่นแห่งสันติ เมตตา ความรัก และความสุข[/FONT]

    [FONT=&quot]การที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นเรื่องเมตตานั้น[/FONT][FONT=&quot] ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ใหม่มากในเวลาที่คนยังเชื่อในมนต์ขลังแบบเดิมๆ อยู่ พระพุทธเจ้าได้ขีดเส้นประวัติศาสตร์แยกจากอดีต ก่อนหน้าพระองค์ แค่ภาวนาก็เพียงพอแล้ว ไม่มีใครเน้นเรื่องความเมตตาควบคู่ไปกับการภาวนา เหตุผลก็คือการภาวนาทำให้บรรลุ เบ่งบาน เข้าถึงตัวตนสูงสุด แล้วยังจะต้องการสิ่งใดอีกเล่า ตราบเท่าที่คนสนใจแต่ปัจเจก แค่ภาวนาก็ถือว่าเพียงพอแล้ว แต่ความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้ารวมถึงการแนะนำให้มีเมตตาก่อนหน้าจะเริ่มทำสมาธิภาวนาเสียด้วยซ้ำ คุณควรมีความรัก ความเมตตา ความกรุณามากขึ้น[/FONT]

    [FONT=&quot]มีเรื่องเชิงวิทยาศาสตร์อยู่เบื้องหลังด้วย ก่อนที่คนเราจะบรรลุธรรมนั้น หากเขามีหัวใจเปี่ยมไปด้วยเมตตาก่อน ก็เป็นไปได้ว่า หลังจากปฏิบัติสมาธิภาวนาแล้ว เขาจะช่วยผู้อื่นให้บรรลุถึงความงาม และความสูงส่งเดียวกันนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงทำให้การบรรลุธรรมเป็นเรื่องที่แพร่ไปได้ เพราะหากคนคนนั้นรู้สึกว่าตนได้กลับบ้านแล้ว จะต้องไปสนใจคนอื่นอีกทำไม[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าทรงทำให้การบรรลุธรรมเป็นเรื่องไม่เห็นแก่ตัวเป็นครั้งแรก ทรงทำให้เป็นความรับผิดชอบต่อสังคม นี่คือความเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่ แต่ควรเรียนรู้ความเมตตาก่อนการบรรลุธรรมจะเกิดขึ้น เพราะหากไม่ได้เรียนรู้ไว้ก่อนแล้ว หลังการบรรลุธรรม ก็จะไม่มีอะไรให้เรียนอีก เมื่อคนคนหนึ่งเกิดปีติในตัวเองอย่างมากแล้ว กระทั่งความเมตตาก็ดูเหมือนจะขัดขวางปีตินั้นได้ กลายเป็นเรื่องรบกวนปีติไปเสีย[/FONT]

    [FONT=&quot]ที่จริงแล้ว ถือเป็นปีติที่ล้ำลึกกว่า เมื่อคุณได้เห็นคนมากมายเบ่งบานอยู่รอบตัวคุณ คุณไม่ใช่ต้นไม้โดดเดี่ยวเบ่งบานอยู่ในป่าที่ไม่มีต้นไม้อื่นผลิดอกเลย เมื่อป่าทั้งป่าเบ่งบานไปพร้อมกับคุณ ปีตินั้นยิ่งทวีคูณเป็นพันเท่า คุณได้ใช้การบรรลุธรรมนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่โลก[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าไม่เพียงบรรลุธรรมเท่านั้น ทว่ายังเป็นนักปฏิวัติที่บรรลุธรรมอีกด้วย ความห่วงใยโลกและผู้คนของพระองค์นั้นใหญ่หลวงนัก พระองค์ทรงสอนสานุศิษย์ว่า เวลาปฏิบัติสมาธิภาวนาแล้วเกิดความนิ่งสงบ ปีติอยู่ลึกๆ ภายในนั้น จงอย่ายึดมั่นกับมัน ให้มอบสิ่งนั้นแก่โลก จงอย่ากังวล เพราะยิ่งมอบให้ ก็จะยิ่งสามารถหามาเพิ่มเติมได้มากขึ้น ท่าทีแห่งการให้นั้นจะทรงความสำคัญใหญ่หลวง เมื่อคุณรู้ว่า การให้ไม่ได้พรากสิ่งใดไปจากคุณ ตรงกันข้าม มันกลับเสริมสร้างประสบการณ์ให้คุณ ทว่าคนที่ไม่เคยเมตตา จะไม่รู้ความลับของการให้ ไม่รู้ความลับของการแบ่งปัน[/FONT]

    [FONT=&quot]เรื่องนี้เกิดขึ้นกับศิษย์คนหนึ่งของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นฆราวาส เขาไม่ได้เป็นสันยาสี แต่ก็อุทิศตัวแด่พระพุทธเจ้า เขากล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าจะปฏิบัติตาม...แต่ข้าขอข้อยกเว้นอย่างหนึ่ง ข้าจะมอบความสุขและการปฏิบัติสมาธิภาวนาและสมบัติล้ำค่าภายในของข้าให้กับโลกทั้งใบ ยกเว้นเพื่อนบ้านคนหนึ่ง เพราะคนนั้นเป็นคนร้ายกาจ[/FONT]”

    [FONT=&quot]เพื่อนบ้านมักเป็นศัตรูเสมอ พระพุทธเจ้าตรัสตอบ [/FONT]“[FONT=&quot]เธอจงลืมโลกทั้งใบเสีย แล้วเพียงมอบทุกอย่างให้เพื่อนบ้านคนนั้น[/FONT]”

    [FONT=&quot]เขาพูดขึ้น [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านว่าอะไรนะ[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัส [/FONT]“[FONT=&quot]มีเพียงการมอบให้เพื่อนบ้านของเธอเท่านั้น ที่จะปลดปล่อยเธอจากความคิดเดียดฉันท์เพื่อนมนุษย์ได้[/FONT]”

    [FONT=&quot]โดยพื้นฐานแล้ว ความเมตตาหมายถึงการยอมรับข้อด้อยของคนอื่น ความอ่อนแอของพวกเขา ไม่ใช่คาดหวังให้เขาทำตัวประหนึ่งเทพเจ้า นั่นเป็นความโหดร้าย เพราะพวกเขาไม่อาจทำตัวเหมือนเทพเจ้าได้ แล้วคุณก็จะประเมินเขาตกต่ำ ทำให้เขาเคารพตัวเองน้อยลง คุณได้บดขยี้พวกเขาอย่างร้ายกาจ ทำลายศักศรีดิ์ของพวกเขา พื้นฐานอย่างหนึ่งของความเมตตาก็คือ ต้องทำให้ทุกๆ คนมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ทำให้ทุกๆ คนรู้ว่า พวกเขาก็สามารถเป็นเหมือนที่คุณเป็นได้เช่นกัน ทำให้พวกเขารู้ว่าพวกเขาไม่สิ้นหวัง มิได้ไร้ค่า และการบรรลุธรรมไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำตัวให้เลอค่าถึงสมควรจะได้รับ ทว่ามันเป็นธรรมชาติในตัวตนของเราเอง[/FONT]

    [FONT=&quot]ทว่าถ้อยคำเหล่านี้ควรมาจากผู้บรรลุธรรม เพราะมีเพียงท่านเหล่านั้นที่จะสร้างความไว้วางใจให้ได้ หากมาจากนักวิชาการที่ยังไม่บรรลุธรรม พวกเขาก็จะสร้างความไม่ไว้วางใจขึ้นมา ถ้อยคำจากผู้บรรลุธรรมจะเริ่มหายใจ เริ่มมีจังหวะหัวใจของตนเอง เริ่มมีชีวิต และดิ่งตรงเข้าสู่หัวใจของคุณ ไม่ใช่การบริหารทางปัญญา แต่กับนักวิชาการเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัวเขาเองยังไม่แน่ใจเลยว่าพูดถึงอะไรอยู่ เขียนถึงอะไรอยู่ เขาก็อยู่ในความไม่แน่นอนเดียวกันกับคุณนั่นเอง[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าถือเป็นหลักหมายหนึ่งในวิวัฒนาการของการตระหนักรู้ สิ่งที่ทรงมอบให้นั้นยิ่งใหญ่ ประเมินค่ามิได้ ในคำสอนของพระองค์นั้น ความคิดเรื่องเมตตาธรรมถือเป็นสาระสำคัญที่สุด แต่คุณพึงระลึกไว้ว่า เพียงมีเมตตาไม่ได้ทำให้คุณสูงส่งขึ้น ไม่อย่างนั้น คุณก็จะทำให้ทุกสิ่งเสียไปหมด มันจะกลายเป็นการพอกพูนตัวตน จงจำไว้ว่า อย่าทำให้คนอื่นอับอายขายหน้าด้วยเมตตาของคุณ มิฉะนั้น ก็ไม่ใช่เมตตาธรรม เบื้องหลังถ้อยคำเหล่านี้ คุณกำลังสนุกกับการทำให้คนอื่นได้อาย[/FONT]

    [FONT=&quot]ความเมตตาเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ เพราะมันคือความรักที่ต้องบ่มเพาะ[/FONT]

    [FONT=&quot]ความเมตตาไม่กล่าวถึงผู้ใด ทั้งไม่ใช่ความสัมพันธ์ แต่มันเป็นเพียงตัวตนเนื้อแท้ของคุณ คุณจะชื่นชมไปกับความเมตตาที่มีต่อต้นไม้ นก สัตว์ มนุษย์ ทุกๆคน โดยปราศจากเงื่อนไข ไม่ร้องขอสิ่งใดตอบแทน[/FONT]

    [FONT=&quot]มีเรื่องราวอันงดงามสำหรับคุณ[/FONT]
    [FONT=&quot]แพดดี้กลับมาบ้านเร็วกว่าปกติหนึ่งชั่วโมง และพบภรรยาของเขาเปลือยกายแผ่หราอยู่บนเตียง เมื่อเขาถามว่าเพราะอะไร เธออธิบายว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ฉันกำลังประท้วง เพราะฉันไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ จะใส่[/FONT]”

    [FONT=&quot]แพดดี้เปิดประตูเสื้อผ้า [/FONT]“[FONT=&quot]บ้าน่า[/FONT]” [FONT=&quot]เขาว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ดูในนี้สิ มีชุดสีเหลือง สีแดง ชุมพิมพ์ลาย ชุดสูท.....หวัดดี บิล[/FONT]!” [FONT=&quot]แล้วเขาก็พูดต่อ [/FONT]“[FONT=&quot]ชุดสีเขียว.....[/FONT]”

    [FONT=&quot]นี่คือความเมตตา[/FONT]!

    [FONT=&quot]เป็นความเมตตาต่อภรรยาของเขา เป็นความเมตตาต่อบิล ไม่หึงหวง ไม่ต่อสู้ มีเพียง...[/FONT]
    “[FONT=&quot]หวัดดี บิล สบายดีไหม[/FONT]” [FONT=&quot]แล้วเขาก็พูดต่อ เขาไม่แม้แต่จะถามว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นายมาทำอะไรในตู้เสื้อผ้าของฉัน[/FONT]”

    [FONT=&quot]ความเมตตาต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เป็นความเข้าใจที่ละเอียดอ่อนอย่างที่สุดเท่าที่คนคนหนึ่งจะทำได้[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อขับรถมาถึงทางแยก รถของชายคนหนึ่งเบรกไม่อยู่แล้ว พุ่งไปชนท้ายรถที่มีป้าย [/FONT]‘[FONT=&quot]เพิ่งแต่งงานใหม่[/FONT]’ [FONT=&quot]ติดอยู่ทั่วทั้งคัน รถเสียหายเล็กน้อย แต่ชายคนนั้นก็ขอโทษขอโพยอย่างจริงใจต่อคู่แต่งงานใหม่[/FONT]

    “[FONT=&quot]โธ่ ไม่เป็นไรหรอก[/FONT]” [FONT=&quot]เจ้าบ่าวบอก [/FONT]“[FONT=&quot]เรื่องธรรมดาๆ น่า[/FONT]”
    [FONT=&quot]ความเข้าใจ ความเข้าใจอันลึกซึ้งที่ว่าทุกสิ่งล้วนเป็นไปได้...เมื่อคนคนหนึ่งแต่งงาน เขาควรคาดหวังว่าอาจเกิดเหตุอะไรขึ้นก็ได้ เหตุการณ์ใหญ่ที่สุดเพิ่งเกิดขึ้นไป ตอนนี้ก็ไม่มีอะไรสลักสำคัญอีก[/FONT]

    [FONT=&quot]คนที่มีเมตตาไม่ควรถูกกวนใจด้วยเรื่องเล็กๆ ในชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ทุกขณะจิต ด้วยวิธีนี้เท่านั้น คุณก็ได้ช่วยสั่งสมพลังแห่งเมตตาในตัวเองทางอ้อม ให้มันตกผลึก แข็งแกร่งขึ้น และยิ่งเพิ่มพูนขึ้น ด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนา[/FONT]

    [FONT=&quot]แล้วเมื่อถึงวันที่ชั่วขณะอันสุขที่สุดมาถึง เมื่อคุณสดใสเจิดจ้า ก็ยังมีเพื่อนเหลืออยู่อย่างน้อยหนึ่งคน นั่นก็คือความเมตตา เกิดวิถีชีวิตแบบใหม่ขึ้นทันที...เนื่องเพราะบัดนี้คุณมีอะไรๆ มากเสียจนคุณสามารถมอบให้โลกทั้งใบได้แล้ว[/FONT]

    [FONT=&quot]ถ้อยคำสุดท้ายของพระพุทธเจ้าในโลกนี้ก็คือ[/FONT]“[FONT=&quot]จงเป็นผู้นำแสงสว่างมาสู่ตนเอง[/FONT]” [FONT=&quot]จงอย่าตามผู้อื่น อย่าเลียนแบบ เนื่องจากการเลียนแบบ หลงคล้อยตาม ล้วนก่อให้เกิดความเขลา คุณเกิดมาพร้อมปรีชาญาณอันใหญ่หลวง เกิดมาพร้อมกับแสงสว่างภายในตัวคุณ จงฟังเสียงเล็กๆ ที่สงบนิ่งภายใน เสียงนั้นจะนำทางคุณไป ไม่มีใครอีกที่จะนำทางคุณได้ ไม่มีใครอีกที่จะเป็นแบบอย่างของชีวิตคุณได้ เพราะคุณไม่เหมือนใคร ไม่มีใครที่เหมือนกับคุณทุกประการ และในอนาคตก็ไม่มีใครที่จะเหมือนคุณอีก นี่คือสมบัติของคุณ ความยิ่งใหญ่ของคุณ ที่คุณไม่อาจมีใครมาแทนที่ได้ คุณเป็นตัวของคุณเอง ไม่ใช่ใครอื่นอีก[/FONT]

    [FONT=&quot]คนที่เป็นสาวกผู้อื่นสุดท้ายแล้วจะล้มเหลว กลายเป็นของเทียม กลายเป็นเพียงกลไก เขาอาจเป็นนักบุญที่ยิ่งใหญ่ในสายตาผู้อื่น ทว่าลึกลงไป เขาเป็นเพียงคนไม่ฉลาด ไม่ใช่อย่างอื่น เขาอาจมีบุคลิกที่น่าเคารพยกย่อง แต่นั่นก็เป็นเพียงเปลือกภายนอก ไม่ได้ลึกลงไปใต้ผิดด้วยซ้ำ เพียงขูดเขานิดหน่อย คุณก็จะประหลาดใจที่พบว่า ภายใต้เปลือกนั้นเขาเป็นอีกคนหนึ่งเลย ตรงข้ามกับภายนอกของเขา[/FONT]

    [FONT=&quot]โดยการเป็นสาวกผู้อื่นอย่างงมงาย คุณอาจปลูกฝังบุคลิกอันงดงามขึ้นได้ ทว่าคุณจะไม่มีจิตสำนึกอันงดงาม และหากคุณไม่มีจิตสำนึกอันงดงามเสียแล้ว คุณก็ไม่อาจเป็นอิสระได้ คุณอาจจะเปลี่ยนคุกคุมขังตัวเอง เปลี่ยนเครื่องพันธนาการ เปลี่ยนการเป็นทาส คุณอาจเป็นฮินดู มุสลิม คริสต์ หรือเซน แต่นั่นก็จะไม่ช่วยอะไรคุณ การเป็นเซนหมายถึงการทำตามอย่างของท่านมหาวีระ แต่บัดนี้ไม่มีใครอีกแล้วที่เป็นเหมือนท่านมหาวีระ ทั้งไม่มีใครสามารถเป็นเช่นนั้นได้ด้วย การหลงยึดมั่นอย่างงมงายในท่านมหาวีระจะทำให้คุณล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง คุณจะไม่เห็นความจริง จะสูญเสียความจริงใจทั้งปวง คุณจะไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง คุณจะกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ ไม่เป็นธรรมชาติ และการเป็นสิ่งประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมชาติ ก็คือวิถีแห่งหายนะ โง่ และเขลา[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้านิยามปัญญาว่ามีชีวิตอยู่ในแสงสว่างของจิตของคุณเอง และความโง่ก็คือการหลงงมงายเชื่อผู้อื่น เลียนแบบผู้อื่น และกลายเป็นเงาของคนอื่น[/FONT]

    [FONT=&quot]ศาสดาที่แท้จริงจะรังสรรค์ศาสดา ไม่ใช่สาวก ศาสดาที่แท้จริงโยนคุณกลับไปสู่ตัวคุณเอง ความพยายามทั้งหมดของท่านก็คือทำให้คุณเป็นอิสระจากท่าน เนื่องเพราะคุณต้องพึ่งพิงผู้อื่นมาหลายร้อยปีแล้ว และก็ไม่ได้พาคุณไปไหนเลย คุณยังคงดิ้นรนอยู่ในค่ำคืนมืดมิดแห่งจิตวิญญาณอยู่นั่นเอง[/FONT]

    [FONT=&quot]มีเพียงแสงภายในคุณเท่านั้นที่อาจกลายเป็นพระอาทิตย์ขึ้นได้ ครูตัวปลอมจะชักชวนให้คุณทำตามเขา ลอกเลียนแบบเขา เป็นแค่กระดาษสำเนาของเขา ครูที่แท้จริงจะไม่ยอมให้คุณเป็นกระดาษสำเนา เขาต้องการให้คุณเป็นตัวเอง เขารักคุณ[/FONT]! [FONT=&quot]แล้วจะมาให้คุณลอกเลียนแบบได้อย่างไร เขามีเมตตาต่อคุณ ปรารถนาให้คุณเป็นอิสระอย่างแท้จริง อิสระจากการพึ่งพิงใครๆ[/FONT]

    [FONT=&quot]แต่มนุษย์ทั่วไปกลับไม่ต้องการจะเป็นอิสระ พวกเขาต้องการที่พึ่ง ต้องการใครสักคนมานำทาง เพราะอะไรหรือ ก็เพราะเขาจะได้โยนความรับผิดชอบไปไว้บนบ่าของคนอื่น ยิ่งโยนความรับผิดชอบไปทิ้งไว้บนบ่าคนอื่นได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีปัญญาน้อยลงเท่านั้น เพราะเป็นความรับผิดชอบ ความท้าทายของความรับผิดชอบนั้น ที่รังสรรค์ปัญญา[/FONT]

    [FONT=&quot]คนเราต้องยอมรับชีวิตที่มีปัญหา คนเราต้องผ่านชีวิตไปโดยไม่มีใครปกป้อง คนเราต้องแสวงหาเส้นทางของเราเอง ชีวิตคือโอกาส เป็นความท้าทายที่จะค้นพบตัวเอง แต่คนโง่ไม่ต้องการทำอะไรยาก คนโง่ชอบเดินทางลัด เขาจะบอกตัวเองว่า [/FONT]“[FONT=&quot]พระพุทธเจ้าบรรลุธรรมแล้วนี่ งั้นฉันก็ไม่ต้องทำอะไรแล้วสิ แค่ดูพระจริยวัตรแล้วทำตามก็พอ พระเยซูบรรลุธรรมไปแล้ว แล้วฉันจะต้องมัวไปค้นหาแสวงหาอะไรอีก เพียงแค่กลายเป็นเงาของพระเยซูก็พอ แค่ติดตามพระองค์ไปทุกหนทุกแห่งก็พอแล้ว[/FONT]”

    [FONT=&quot]แต่ในการตามใครอีกคนหนึ่งจะทำให้คุณมีปัญญาขึ้นมาได้อย่างไร คุณไม่ได้ให้โอกาสปัญญาของคุณสว่างโพลงออกมา เราต้องการชีวิตที่ท้าทายเพื่อให้เกิดปัญญาเกิดขึ้น ชีวิตที่ผจญภัย ชีวิตที่รู้ว่าจะต้องเสี่ยงอย่างไร และจะก้าวเดินไปสู่หนทางที่ไม่รู้จักได้อย่างไร มีเพียงปัญญาเท่านั้นที่ช่วยคุณได้ ไม่ใช่คนอื่น ปัญญาของคุณเอง ขอให้รู้ไว้ว่า การตระหนักรู้ของคุณเองจะกลายเป็นนิพพาน[/FONT]

    [FONT=&quot]จงเป็นผู้นำแสงสว่างมาสู่ตนเอง แล้วคุณจะชาญฉลาดขึ้น ถ้าปล่อยให้คนอื่นมาเป็นผู้นำ เป็นมัคคุเทศน์ แล้วคุณก็จะคงโง่เขลาอยู่อย่างนั้น คุณจะพลาดคุณค่าของชีวิตทุกประการ ซึ่งเป็นคุณค่าของคุณเองแท้ๆ[/FONT]!

    [FONT=&quot]ชีวิตคือการจาริกแสวงหาที่งดงามอย่างเหลือเกิน แต่สำหรับผู้พร้อมจะแสวงหาเท่านั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]-จบ-[/FONT]
     
  3. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    เรื่องถ้อยคำสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ดิฉันอยากรู้เลยหาข้อมูลดู
    ถ้าเป็นปัจฉิมโอวาทจริงๆ น่าจะเป็นอันนี้ v ซึ่งกล่าวในที่ชุมนุมของพระสงฆ์
    <small><small> </small></small>
    ปัจฉิมโอวาท
    ครั้นแล้วตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ? บัดนี้เราเตือนท่าน สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ( สมบรูณ์ ) เถิด” นี้เป็นปัจฉิมวาจาของพระตถาคต.

    แต่เท่าที่ดู มีความตอนหนึ่งที่น่าจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งที่ท่าน OSHO กล่าวมากที่สุด
    ได้แก่ตอนนี้ v ซึ่งกล่าวกับพระอานนท์
    <small><small> </small></small>
    เสด็จจำพรรษา ณ เวฬวคาม
    ต่อจากนั้นได้เสด็จไปยังเวฬวคาม ( หมู่บ้านไม้มะตูม ) และตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์จำพรรษารอบเมืองเวสาลีได้ตามอัธยาศัย . ในระหว่างพรรษาทรงประชวร แต่ทรงเห็นว่า ยังไม่ได้ลาอุปฐาก ( ผู้รับใช้ ) ยังไม่ได้ลาภิกษุสงฆ์ ยังไม่สมควรปรินิพพาน จึงทรงขับไล่อาพาธด้วยความเพียร อธิษฐานชีวิตสังขาร ( ตั้งพระหฤทัยให้ดำรงชีวิตอยู่ ). เมื่อหายประชวรแล้ว พระอานนท์เข้าเฝ้ากราบทูลความกังวลใจที่เห็นทรงประชวร ตรัสตอบว่า พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมไม่มีภายใน ไม่มีภายนอก ไม่มีกำมือของอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ( ไม่ปิดบังธรรมะ ) ไม่ได้ทรงยึดถือว่าบริหารภิกษุสงฆ์ และมิได้ทรงยึดถือว่าภิกษุสงฆ์เป็นผู้เล่าเรียนจากพระองค์. ทรงเปรียบพระองค์ซึ่งแก่เฒ่าล่วงวัย มีพระชนมายุถึง ๘๐ ปีว่า เหมือนเกวียนเก่าที่ซ่อมด้วยไม้ไผ่ ตรัสเตือนให้พึ่งตน พึ่งธรรมะ และตรัสสอนสติปัฏฐาน ๔.



    ที่มา : พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
    มหาปรินิพพานสูตร ว่าด้วยมหาปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
    http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/202.html

    ท่านอื่นๆ มีข้อแนะนำไม๊คะ?
     
  4. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    คุณ ZmarTAlkeR

    ดิฉันบรรลุภารกิจอาแส่ เอ๊ย! อาสา แล้วนะคะ :p

    หวังว่าคงได้สาระประโยชน์และความเพลิดเพลิน
     
  5. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    "คุรุวิพากษ์คุรุ" ดิฉันอ่านซ่ะหลายรอบทีเดียว อยากแนะนำให้อ่านค่ะ ดีมั่กมาก
     
  6. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    เจอทุกที ไม่ผิดหวัง ขอคารวะด้วยหัวใจจ้าาา
     
  7. Dave007

    Dave007 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +74
    อ่านแล้วเข้าใจง่ายครับ ไม่เหมือนภาษาพระ อ่านแล้วงง
    :cool::cool::cool:
     
  8. cosmiccell

    cosmiccell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +253
    [​IMG]

    ขอบคุณครับ คุณ obs2553 ที่นำมาแปะให้อ่านกัน :)

    อ่านตัวอักษรที่ถอดความจาก osho แล้ว

    อ่านตัวอักษรที่ถอดความจาก พระพุทธองค์ แล้ว

    อ่านตัวอักษรที่รจนาจาก เพื่อนๆแล้ว

    มีความคิด ความรู้สึก ผุดในใจ อย่างไรบ้างครับ

    ที่ไม่ใช่เงาของ osho ของพระพุทธองค์ ของเพื่อนๆท่านอื่นๆ



    หากท่าน มีความคิด ความรู้สึก ที่ไม่เกาะเกี่ยวกับตัวอักษร

    ท่านกำลังมีอิสระ มีความเบิกบาน จากการใช้ความคิด ความรู้สึก

    ที่คือ ความเป็นจริงสำหรับท่านเอง

    ความจริงที่ว่า ท่านกำลังอ่าน กำลังฟัง กำลังศึกษา อย่างแท้จริง

    ทุกๆสิ่งรอบตัว ที่ผ่านมาทางอายตนะทั้งหลาย จะเป็นป้ายบอกทางที่ประเสริฐสำหรับท่าน

    นั่นไม่ใช่เพราะทุกสิ่งประเสริฐ แต่เป็นจิตใจท่านต่างหากที่ประเสริฐ

     
  9. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2011
  10. Hibernate

    Hibernate สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2023
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ถ้าเรื่องนี้ทำแล้วอยู่ในมรรค ผล นิพพาน ก็คงดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...