สนทนาภาคปฏิบัติธรรมที่ควรรู้ของ "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ" สำหรับอนุชนรุ่นหลังๆ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Follower007, 15 สิงหาคม 2011.

  1. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    [FONT=&quot]tanakorn_ss :[/FONT]
    [FONT=&quot]สวัสดีครับพี่ทีมๆ งานเวปหลวงปู่ดู่ และสมาชิกทุกๆ ท่านครับ[/FONT]
    [FONT=&quot]เพิ่งได้สมัครสมาชิกวันแรก ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่านที่มีความเกี่ยวเนื่องในเว็บ luangpordu.com ทั้งหมดทั้งมวลนะครับ [/FONT]
    [FONT=&quot]และ ขออนุญาติ คัดลอกข้อความจากหัวข้อ กรรมฐานที่หลวงปู่สอน และ ประมวลคติธรรมของหลวงปู่ไปเผยแพร่ ในเว็บบอร์ดที่ได้ตั้งกระทู้แจกพระผงจักรพรรดิฟรีนะครับ[/FONT]
    [FONT=&quot]หากพี่ๆทีมงานและสมาชิกทุกท่านเห็นว่าไม่เหมาะสม หรือไม่สมควร หรือไม่อนุญาติ กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยนะครับจะได้ทำการแก้ไข[/FONT]
    [FONT=&quot]http://palungjit.org/threads/แจกฟรี-พระผงจักรพรรดิ์-แจกเรื่อยๆ-ไม่จำกัดจำนวน-แจกต่อ.265845/page-54[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]สิทธิ์ :[/FONT]
    [FONT=&quot]ขอตอบในนามคณะผู้บริหารเว็บ (Administrator) ว่ายินดีอนุญาต และอนุโมทนาต่อกุศลเจตนาครับ[/FONT]
    [FONT=&quot]ขอย้ำอีกครั้งว่าเรื่องลิขสิทธิ์นี้ เป็นเพียงเครื่องป้องกันผู้ที่ไม่สุจริตใจที่พยายามจะแอบอ้างเป็นเจ้าของ แล้วเอาไปขายกินบ้าง เอาไปแอบอ้างเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของตนก่อนที่จะไปขยายผลในทางหาผล ประโยชน์อื่น ๆ ต่อไปบ้าง[/FONT]
    [FONT=&quot]จริง ๆ แล้วที่พวกเราเหน็ดเหนื่อยจัดทำหนังสือธรรมของหลวงปู่ตั้งแต่เล่มแรก (ไตรรัตน์) กระทั่งฉบับสมบูรณ์ (ตามรอยธรรม ย้ำรอยครูฯ) ก็ด้วยหวังให้คำสอนของหลวงปู่กระจายออกไปมากที่สุดอยู่แล้ว ซึ่งเดิมก็ไม่เคยพิมพ์ชื่อผู้จัดทำ แต่เพราะมีผู้แอบอ้างความเป็นเจ้าของแล้วไปจำหน่าย จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการพิมพ์ชื่อผู้จัดทำลงไว้ด้วยเพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยว กับลิขสิทธิ์ [/FONT]
    [FONT=&quot]ไหน ๆ ก็เขียนเล่ามาซะยืดยาวแล้ว ก็ขอเลยมาถึงเรื่อง "พระผงจักรพรรดิสูตรของหลวงปู่ดู่" ที่คุณ tanakorn_ss กล่าวถึงในเอกสารแนบ[/FONT]
    [FONT=&quot]อยากจะให้ข้อมูลแก่คุณ tanakorn_ss และเพื่อนสมาชิกท่านอื่น ๆ ว่าตลอดเวลา ๖-๗ ปีทีมีโอกาสไปปฏิบัติกับหลวงปู่ ไม่เคยได้ยินคำนี้เลย พอหลวงปู่พูดถึงพระที่สร้าง ก็มักได้ยินคำว่า "พระกำนั่ง" พอท่านพูดถึงผงสำหรับสร้างพระ ท่านก็ใช้คำว่า "ผงพระ" คำว่า "จักรพรรดิ" นี้ เพิ่งมาได้ยินบ่อยครั้งเอาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง (หลวงปู่ละสังขารไปแล้ว)[/FONT]
    [FONT=&quot]ในสมัยก่อน หลวงปู่จะเอ่ยถึงคำว่า "จักรพรรดิ" ให้ฟังก็เพียงไม่กี่ครั้ง (ตลอดระยะเวลาหลาย ๆ ปี) โดยจะกล่าวถึงในนิทานธรรมเรื่องพญาชมพูบดี ที่ผมใช้คำว่านิทาน ก็เพราะว่าเรื่องนี้มิใช่เรื่องจริง เป็นเพียงเรื่องอุปมาของทางมหายานว่าถ้าเปรียบพระพุทธเจ้าเป็นกษัตริย์แล้ว ก็ต้องจัดเป็นยอดแห่งกษัตริย์ที่เรียกว่าพระเจ้าจักรพรรดิ ส่วนกษัตริย์อื่น ๆ ก็จะเป็นดุจดั่งกษัตริย์บ้านนอกผู้ที่มิอาจเปรียบเทียบศักดานุภาพกับพระ พุทธเจ้าได้เลย[/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องพญาชมพูบดีที่ลงในหนังสืองานศพ ของหลวงปู่ (หนังสือพระผู้จุดประทีปในดวงใจ) นั้น ผมเป็นผู้เรียบเรียงเอง โดยคัดลอกและตัดตอนมาจากฉบับเต็มที่เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ จึงทำให้ทราบที่มาที่ไปค่อนข้างชัดเจน[/FONT]
    [FONT=&quot]สรุปก็คือ ผมไม่อยากให้คนติดกับคำว่าจักรพรรดิ เพราะว่าไปแล้วตัวจักรพรรดิก็ยังไม่พ้นต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ยังเต็มไปด้วยโลภะที่ปรารถนาอาณาจักรไม่รู้จักอิ่มจักพอ ดังสมัยหนึ่งที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วโลภถึงขนาดไปแย่งพระอินทร์ปกครองสวรรค์ (เพราะปกครองโลกทั้งหมดได้แล้ว) สุดท้ายก็ต้องหล่นจากสวรรค์เพราะความที่จิตหนักด้วยความโลภ[/FONT]
    [FONT=&quot]ความเห็นส่วนตัว จึงอยากให้ช่วยกันรักษาความเป็นหลวงปู่องค์แท้กันให้นานที่สุด ให้คนที่มาภายหลังได้รู้จักหลวงปู่ในความเป็นหลวงปู่จริง ๆ ให้ได้รู้จักว่าหลวงปู่องค์แท้นั้นเป็นพระที่อ่อนน้อมถ่อมตนอย่างยิ่ง มิใช่สร้างความพิสดารให้กับทั้งพระที่หลวงปู่สร้าง และตัวผู้สร้าง (คือองค์หลวงปู่)[/FONT]
    [FONT=&quot]สมัยนี้เขานิยมเอาคำว่า "จักรพรรดิ" หรือคำว่า"เปิดโลก" ฯลฯ ไปเป็นเหมือนผลิตภัณฑ์ หรือเครื่องหมายรับประกันคุณภาพ ยิ่งเผยแพร่ออกไป คนที่ไม่รู้จักหลวงปู่บางคนก็อาจนึก ปรามาสท่านได้ว่าหลวงปู่องค์นี้ทำไมช่าง อวดเก่งอวดดี แถมยังดึงธรรมะไปหาโลก (พระจักรพรรดิคือเรื่องโลก ๆ) ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริง หลวงปู่ท่านมิได้กล่าวไว้ฟั่นเฝืออย่างที่คนยุคหลังบางคนกล่าวกันเลย แถมยังไม่เคยได้ยินท่านสอนให้สวดบทบูชาพระ (ที่สมัยนี้ก็ตั้งชื่อให้ท่านใหม่ว่าบทสวดจักรพรรดิ) ชนิดสวดกันเป็นชั่วโมง ๆ ตรงกันข้ามท่านกลับเตือนลูกศิษย์ที่ชอบสวดมนต์ว่า "สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน" สวดมนต์ไม่ต้องมาก แต่นั่งสมาธิภาวนาให้มาก เป็นต้น แล้วไฉนเลยหลวงปู่สิ้นไปไม่ทันไร การณ์กลับเป็นตรงกันข้าม จนหลายคนเอาแต่สวดมนต์ พอถึงตอนนั่งสมาธิภาวนา บอกไม่มีเวลาหรือนั่งไม่ได้เพราะจิตฟุ้งซ่านบ้าง ง่วงนอนบ้าง[/FONT]
    [FONT=&quot]ผมตระหนักดีว่ามีเด็กรุ่นใหม่จำนวนมาก ที่มารู้จักและศรัทธาหลวงปู่ดู่ วัดสะแก แต่ด้วยความไม่รู้ จึงตามกระแสกันไป สิ่งที่ผมและคณะฯ จะสามารถทำได้ก็คือการถ่ายทอดคำสอนและปฏิปทาหลวงปู่ในความเป็นหลวงปู่จริง ๆ เพื่อตอบแทนบุญคุณที่หลวงปู่มีต่อเราชนิดที่มิอาจทดแทนบุญคุณท่านได้หมดสิ้น ด้วยความบริสุทธิ์ใจและไม่ปรารถนาผลประโยชน์ส่วนตัวใด ๆ ที่จะทำให้เกิดเป็นแผลหรือความด่างพร้อยในประวัติชีวิตของพวกเราได้ [/FONT]
    [FONT=&quot]สุดท้ายนี้ ก็ขออนุโมทนากับคุณ tanakorn_ss อีกครั้ง และขอให้มีส่วนช่วยกันเผยแพร่ข้อธรรมและปฏิปทาอันบริสุทธิ์ของหลวงปู่เพื่อ เป็นบุญเป็นกุศลทั้งต่อตัวเราและชนรุ่นหลังตราบนานเท่านาน[/FONT]


    ที่มา : Luangpudu.com / Luangpordu.com

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  2. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303

    ความเห็นส่วนตัวลองเข้าไปศึกษาหาอ่านที่นี่ดู :

    Luangpudu.com / Luangpordu.com


    http://www.wadsakae.com
     
  3. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,370
    นานาจิตตัง สุดท้ายก็เริ่มมีดราม่าอีกจนได้
     
  4. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์:

    ข้าพเจ้าขออนุญาตเขียนเรื่องนี้ เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้มีความเข้าใจในวิธีการสอนของหลวงปู่ดู่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “ปาฏิหาริย์” ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันแต่เพียงความหมายของ “อิทธิ-ปาฏิหาริย์” และเหมารวม ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ ถูกต้อง เท่าที่ข้าพเจ้าได้ยินได้ฟังจากเพื่อนหมู่คณะและที่ประสบด้วยตนเอง จึงเชื่อเหลือเกินว่าศิษย์หลวงปู่หลายๆ ท่านเคยมีประสบการณ์และเห็นชัดด้วยตนเองมาแล้ว ในพระ

    พุทธศาสนานี้ พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องปาฏิหาริย์ไว้มี ๓ อย่าง คือ

    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์ในเรื่องการแสดงฤทธิ์ แสดงความเป็นผู้วิเศษ ดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ เหาะเหิน เดินอากาศ นิรมิตกายให้เป็นหลายคนได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น

    ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ คือ การทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความคิดของผู้ถูกสอนได้

    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ คำสอนที่แสดงความจริงให้ผู้ฟังรู้และเข้าใจ มองเห็นความเป็นจริงของโลก ให้ผู้ฟังได้ปฏิบัติตามอย่างนี้ ละเว้นการปฏิบัติอย่างนั้น และยังสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตาม จนรู้เห็นได้ผลจริงด้วยตนเอง

    ปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ ๒ อย่างแรก คือ อิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ หากแสดงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งและไม่นำไปสู่อนุสาสนีปาฏิหาริย์ซึ่งเป็น ปาฏิหาริย์ที่พระองค์ทรงสรรเสริญมากที่สุด

    ใน เกวัฏฏสูตร ได้เล่าถึงครั้งพุทธกาล มีชาวบ้านที่เมืองนาลันทาชื่อ เกวัฏฏะ ได้กราบทูลพระพุทธเจ้า ขออนุญาตให้พระภิกษุรูปหนึ่งกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ เพื่อให้ชาวเมืองนาลันทาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงตอบ

    เกวัฏฏะสรุปได้ความว่า ทรงรังเกียจปาฏิหาริย์ประเภทฤทธิ์ เนื่องจากปาฏิหาริย์ประเภทฤทธิ์ แม้จะมีฤทธิ์มากมาย แต่ก็ไม่อาจทำให้ผู้ถูกสอนรู้ความจริงในสิ่งทั้งหลาย ไม่สามารถแก้ข้อสงสัยในใจตนได้ เมื่อแสดงแล้วผู้ได้พบเห็น

    หรือได้ ยินได้ฟังก็จะงง ดูเหมือน ผู้ที่แสดงจะเก่งฝ่ายเดียว ในขณะที่ผู้ถูกสอนก็ยังมีความไม่รู้อยู่เหมือนเดิม ส่วน
    อนุสาสนีปาฏิหาริย์นั้นจะทำให้ผู้ฟังเกิดปัญญา ได้รู้ความจริง ไม่ต้องมัวพึ่งพาผู้ที่แสดงปาฏิหาริย์ แต่จะสามารถพึ่งพาตนเองได้

    เหตุผลอีกประการหนึ่ง คือหากชาวพุทธมัวแต่ยกย่องผู้มีอิทธิ-ปาฏิหาริย์แล้วอาจทำให้เสียหลักศาสนาได้ เนื่องจากพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ แต่ไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก จะไม่ได้รับการบำรุงจากชาวบ้าน แต่ผู้ที่ไม่มีคุณธรรมเป็นสาระแก่นสาร หากแต่มี อิทธิปาฏิหาริย์ จะมีผู้คนศรัทธาให้ความเคารพนับถือแทน

    อย่าง ไรก็ตามพระพุทธเจ้าก็มิได้ทรงละการทำฤทธิ์และดักทายใจ ถ้าเราได้ศึกษาพุทธประวัติในบทสวดพาหุงฯ จะพบว่าพระองค์ทรงใช้ฤทธิ์ปราบ เช่น เรื่อง พระองคุลิมาล หรือ ทรงใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์ เช่น เรื่องปราบพญานาคที่ชื่อ

    นันโทปนันทะ หรือเรื่องปราบทิฏฐิ ท้าวพกาพรหม เมื่อปราบเสร็จก็เข้าสู่อนุศาสนีปาฏิหาริย์ คือ ทรงแสดงคำสอนที่ทำให้เห็นหลักความเป็นจริงซึ่งเมื่อผู้ใดปฏิบัติตามก็ย่อมจะ พบความจริงแห่งความพ้นทุกข์

    หลวงปู่ดู่ท่านก็ได้ดำเนินตามพุทธวิธี การสอนนี้เช่นกัน ข้าพเจ้าและเพื่อนหมู่คณะหลายท่านขอเป็นประจักษ์พยาน ในระยะแรกที่ข้าพเจ้าได้มาวัดสะแกและพบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เรียกกันว่า “ปาฏิหาริย์” อันเกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ดู่นี้ ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกใจและงุนงงกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ต่อมาเมื่อได้ศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์มากขึ้น จึงเริ่มมีความเข้าใจที่ถูก และเริ่มรู้ว่าหลวงปู่ต้องการจะสอนอะไรกับเรา

    การเรียนธรรมะ การฟังธรรมะของผู้เริ่มสนใจศึกษาหลายๆ ท่านเปรียบเสมือนการกินยาขม หลวงปู่จึงได้ใช้กุศโลบายนำเอา “ปาฏิหาริย์” ทั้งสามอย่างมาใช้กับศิษย์ประกอบกันจึงสำเร็จประโยชน์ด้วยดี

    เหมือน กับท่านให้เราทานยาขมที่เคลือบด้วยขนมหวานเอาไว้ เมื่อทุกคนตระหนักและเข้าใจในคุณประโยชน์ของยาขมดีแล้ว ขนมหวานนั้นก็จะหมดความหมายไป

    ที่มา : ถอดจากหนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู
    หัว
    ข้อ 73 ; หน้า 130 -132
    จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
    พรสิทธิ์ อุดมศิลป์จินดา
    เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล
    ปฏิภัทร ปัจฉิมสวัสดิ์
    วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี
    นิศา สุวรรณสุขโรจน์
     
  5. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    เรารักษาศีล ศีลรักษาเรา

    เรารักษาศีล ศีลรักษาเรา:

    ศีลเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรมทุกอย่าง หลวงปู่มักจะเตือนเสมอว่า ในขั้นต้นให้หมั่นสมาทานรักษาศีลให้ได้ แม้จะเป็นโลกียศีล รักษาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บริสุทธิ์บ้าง ไม่บริสุทธิ์บ้าง ก็ให้เพียรระวัง รักษาไป

    สำคัญที่เจตนาที่จะรักษาศีลไว้ และปัญญาที่คอยตรวจตราแก้ไขตน

    “เจตนาหัง ภิกขเว สีลัง วะทามิ” เจตนาเป็นตัวศีล

    “เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วะทามิ” เจตนาเป็นตัวบุญ

    จึงขอให้พยายาม สั่งสมบุญนี้ไว้ โดยอบรมศีลให้ เกิดขึ้นที่จิต เรียกว่า เรารักษาศีล ส่วนจิตที่อบรมศีลดีแล้ว จนเป็นโลกุตรศีล เป็นศีลที่ก่อให้เกิดปัญญาในอริยมรรคอริยผลนี้ จะคอยรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติมิให้เสื่อมเสียหรือตกต่ำ

    ไปในทางที่ไม่ดีไม่งาม นี้แลเรียกว่า ศีลรักษาเรา


    ที่มา : ถอดจากหนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู
    หัว
    ข้อ 51 ; หน้า 85
    จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
    พรสิทธิ์ อุดมศิลป์จินดา
    เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล
    ปฏิภัทร ปัจฉิมสวัสดิ์
    วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี
    นิศา สุวรรณสุขโรจน์
     
  6. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    หลักพระพุทธศาสนา

    หลักพระพุทธศาสนา:

    เล่ากันว่า มีโยมท่านหนึ่ง ไปนมัสการพระเถระองค์หนึ่งอยู่เป็นประจำ และในวันหนึ่งได้ถามปัญหาธรรมกับท่านว่า

    “หลักของพระพุทธศาสนาคืออะไร...”

    พระเถระตอบว่า

    “ละความชั่ว ทำความดี ทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว”

    โยมท่านนั้นได้ฟังแล้ว พูดว่า

    “อย่างนี้เด็ก ๗ ขวบก็รู้”

    พระเถระยิ้มเล็กน้อยก่อนตอบว่า

    “จริงของโยม เด็ก ๗ ขวบก็รู้ แต่ผู้ใหญ่อายุ ๘๐ ก็ยังปฏิบัติไม่ได้”

    อย่างนี้กระมังที่ผู้เขียนเคยได้ยินหลวงปู่พูดเสมอว่า

    “ของจริง ต้องหมั่นทำ”

    พระพุทธศาสนานั้น ถ้าปราศจากการน้อมนำเข้าไปไว้ในใจแล้ว การ “ถือ” พุทธศาสนาก็ไม่มีความหมายแต่อย่างใด


    ที่มา : ถอดจากหนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู
    หัว
    ข้อ 36 ; หน้า 68
    จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
    พรสิทธิ์ อุดมศิลป์จินดา
    เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล
    ปฏิภัทร ปัจฉิมสวัสดิ์
    วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี
    นิศา สุวรรณสุขโรจน์
     
  7. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    “พ” พานของหลวงปู่

    “พ” พานของหลวงปู่:
    หลวงปู่เคยปรารภธรรมกับผู้เขียนว่า

    “ถ้าแกเขียนตัว พ พาน ได้เมื่อไร นั่นแหละจึงจะดี”

    ผู้เขียนถามท่านว่า “เป็นอย่างไรครับ พ พาน”

    ท่านตอบว่า “ก็ตัว พอ น่ะซี ”

    คน เราจะมีชีวิตอยู่ในโลก ไม่จำเป็นต้องร่ำรวย มีฐานะแล้วจึงจะมีความสุข มีคนที่ลำบากอีกมาก แต่เขารู้จักว่าอะไรคือสิ่งที่พอตัว ก็สามารถอยู่อย่างเป็นสุขได้

    นี่ก็อยู่ที่คนเรา รู้จักคำว่า “พอ” หรือไม่ รู้จัก “พอ” ก็จะมีแต่ความสุข

    หากไม่รู้จัก “พอ” ถึงแม้จะร่ำรวย มีเกียรติ ตำแหน่งใหญ่โต มันก็ไม่มีความสุขได้เหมือนกัน

    คนที่มีเงิน ก็ยิ่งอยากมีเงินเพิ่มขึ้นอีก คนที่ทำงาน ก็อยากกินตำแหน่งสูงขึ้น

    มีสิ่งใดก็เป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด


    ที่มา : ถอดจากหนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู
    หัว
    ข้อ 37 ; หน้า 69
    จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
    พรสิทธิ์ อุดมศิลป์จินดา
    เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล
    ปฏิภัทร ปัจฉิมสวัสดิ์
    วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี
    นิศา สุวรรณสุขโรจน์
     
  8. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ขอขอบคุณใน comment ของหนึ่งในทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ซึ่งเคยบวชเรียนมา ขอให้กุศลผลบุญช่วยุให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
     
  9. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    คนดีของหลวงปู่

    คนดีของหลวงปู่:
    ธรรมะที่หลวงปู่นำมาอบรมพวกเราเป็นธรรมที่สงบเย็นและไม่เบียดเบียนใครด้วยกรรมทั้งสามคือ ความคิด การกระทำ และคำพูด

    ครั้งหนึ่งท่านเคยอบรมศิษย์เกี่ยวกับวิธีสังเกตคนดีสั้นๆ ประโยคหนึ่งคือ

    “คนดี เขาไม่ตีใคร”

    ทุก สิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติธรรม หรือการทำงานในทางโลกนั้นย่อมมีการกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดาของโลกปุถุชน หากเรากระทำการสิ่งใดซึ่งชอบด้วยเหตุและผล คือ ได้พยายามทำอย่างดีที่สุด แล้วอย่าไปกลัวว่า

    ใครเขาจะว่าอะไรเรา ใครเขาจะโกรธเรา แต่ให้กลัว ที่เราจะไปว่าอะไรเขา กลัวที่เราจะไปโกรธเขา



    ที่มา : ถอดจากหนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู
    หัว
    ข้อ 52 ; หน้า 86
    จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
    พรสิทธิ์ อุดมศิลป์จินดา
    เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล
    ปฏิภัทร ปัจฉิมสวัสดิ์
    วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี
    นิศา สุวรรณสุขโรจน์
     
  10. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ทรรศนะต่างกัน

    ทรรศนะต่างกัน:

    เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในวงของผู้ปฏิบัติธรรม หลวงปู่ท่านได้ให้โอวาทเตือนผู้ปฏิบัติไว้ว่า

    “การมาอยู่ด้วยกัน ปฏิบัติด้วยกันมากเข้า ย่อมมี เรื่องกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา

    ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่ ทิฏฐิความเห็นย่อมต่างกัน

    ขอให้เอาแต่ส่วนดีมาสนับสนุนกัน อย่าเอาเลวมาอวดกัน

    การปรามาสพระก็ดี การพูดจาจาบจ้วงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือท่านที่มีศีลมีธรรมก็ดี จะเป็นกรรมติดตัวเราและขัดขวาง การปฏิบัติธรรมในภายหน้า

    ดังนั้น หากเห็นใครทำความดี ก็ควรอนุโมทนายินดีด้วย แม้ต่างวัดต่างสำนักหรือแบบปฏิบัติต่างกันก็ตาม

    ไม่มีใครผิดหรอก เพราะจุดมุ่งหมายต่างก็เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เช่นกัน เพียงแต่เราจะทำให้ดี ดียิ่ง ดีที่สุด

    ขอให้ถามตัวเราเองเสียก่อนว่า... แล้วเราล่ะถึงที่สุดแล้วหรือยัง



    ที่มา : ถอดจากหนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู
    หัว
    ข้อ 22 ; หน้า 52
    จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
    พรสิทธิ์ อุดมศิลป์จินดา
    เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล
    ปฏิภัทร ปัจฉิมสวัสดิ์
    วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี
    นิศา สุวรรณสุขโรจน์
     
  11. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    อะไรมีค่าที่สุด

    อะไรมีค่าที่สุด

    ถ้าเรามาลองคิดดูกันแล้ว สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตเราตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งวันตาย คืออะไร หลายคนอาจตอบว่า ทรัพย์สมบัติ สามี ภรรยา
    บุคคลที่รัก หรือบุตร หรืออะไรอื่นๆ แต่ท้ายที่สุดก็ต้องยอมรับว่า ชีวิตของเรานั้นมีค่าที่สุด เพราะถ้าเราสิ้นชีวิตแล้ว สิ่งที่กล่าวข้างต้นก็ไม่มีค่าความหมายใดๆ ชีวิตเป็นของมีค่าที่สุด ในจำนวนสิ่งที่เรามีอยู่ในโลกนี้

    พระธรรมคำ สอนของพระพุทธเจ้าก็เป็นของมีค่าที่สุดในโลก สิ่งต่างๆ ในโลกช่วยให้เราพ้นทุกข์ชนิดถาวรไม่ได้ แต่พระธรรมช่วยเราได้ ผู้มีปัญญา ทั้งหลายควรจะผนวกเอาสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดทั้งสองนี้ให้ขนานทาบทับเป็นเส้น

    เดียวกัน อย่าให้แตกแยกจากกันได้เลย ดังพระพุทธพจน์ตอนหนึ่งว่า

    กิจโฉ มนุสสะปฏิลาโภ การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก

    กิจฉัง มัจจานัง ชีวิตัง การได้มีชีวิตอยู่เป็นของยาก

    กิจฉัง สัทธัมมะสะสวนัง การได้ฟังพระสัทธรรมของ พระพุทธเจ้า เป็นของยาก

    กิจโฉ พุทธานะมุปปโท การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นของยาก

    อะไรจะมีค่าที่สุด สำหรับผู้ที่ได้มานมัสการหลวงปู่นั้น คงไม่ใช่พระพรหมผง หรือเหรียญอันมีชื่อของท่าน

    หลวงปู่เคยเตือนศิษย์เสมอว่า

    “ข้าไม่มีอะไรให้แก
    (ธรรม) ที่สอนไปนั้นแหละ
    ให้รักษาเท่าชีวิต”

    ที่มา : ถอดจากหนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู
    หัว
    ข้อ 47 ; หน้า 80 -81
    จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
    พรสิทธิ์ อุดมศิลป์จินดา
    เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล
    ปฏิภัทร ปัจฉิมสวัสดิ์
    วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี
    นิศา สุวรรณสุขโรจน์
     
  12. motana2008

    motana2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    4,929
    ค่าพลัง:
    +10,336
    กราบนมัสการหลวงปู่ดู่ครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  13. motana2008

    motana2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    4,929
    ค่าพลัง:
    +10,336

    สาธุ
    สงสัยผมคงเป็น 1 ในเด็กรุ่นใหม่ส่วนมาก
    ต้องเริ่มภาวนาบ้างแระ เอาแต่สวดมนต์

    ต้องการพระนั่งกำขอหลวงปู่มาช่วยซักองค์ครับ หาได้จากที่ไหนบ้างครับ

    ปล. สงสัยครับพระของหลวงปู่สามารถนำมานั่งกำได้ทุกองค์ไหมครับ เช่น พระพรหม หรือ รูปเหมือน หรือ เนื้อต่างๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  14. motana2008

    motana2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    4,929
    ค่าพลัง:
    +10,336
    “ข้าไม่มีอะไรให้แก
    (ธรรม) ที่สอนไปนั้นแหละ
    ให้รักษาเท่าชีวิต”



    สาธุ กราบหลวงปู่ ขอรับรู้ถึงหลังธรรม เพื่อนน้อมนำพาซึ่งการปฎิบัติ ครับ สาธุๆ
    เกือบหลงไปกับวัตถุนิยม
     
  15. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    เรื่องของพระกำนั่ง
    เมื่อพูดถึง "พระกำนั่ง" หากเป็นลูกศิษย์ที่เคยปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่ก็จะไม่นึกแปลกใจอะไร เพราะได้ยินได้ฟังจนคุ้นหู แต่ถ้าเป็นคนอื่นก็มักต้องขอให้พูดซ้ำอีกครั้งว่าคืออะไร
    พระกำนั่งนี้ หากพูดเต็ม ๆ ก็อาจพูดว่า "พระสำหรับกำนั่งสมาธิ" หรือ "สมเด็จฯ กำนั่ง" ก็เรียก เพราะพระที่หลวงปู่สร้างไว้สำหรับกำนั่งสมาธินั้นโดยมากจะใช้พิมพ์ของสมเด็จ โตฯ วัดระฆัง ซึ่งจริง ๆ แล้วก็อาจมีพิมพ์อื่น ๆ ปนบ้าง เช่น พิมพ์เหรียญยันต์ดวง และพิมพ์พระพรหมใหญ่ เป็นต้น
    พระกำนั่งนี้ หลวงปู่จะแจกให้ผู้จะปฏิบัติกรรมฐาน ใช้กำไว้ในมือข้างขวา โดยหันเศียรพระออกไปนอกตัวเรา กำเพียงเบา ๆ แล้วก็บริกรรมภาวนาไตรสรณคมณ์ (พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ)
    และพร้อม ๆ กับการบริกรรมภาวนา ท่านก็ให้ตั้งนิมิตองค์พระที่เรารู้สึกศรัทธาและจดจำได้ง่าย เช่น พระพุทธชินราช พระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร ฯลฯ หากไม่มี ก็ให้ลืมตามองสมเด็จฯ กำนั่งที่อยู่ในมือนั้นแหละ เป็นองค์นิมิต นึกให้ชัด ถ้านึกไม่ออกก็อาจลืมตามามองดูอีก จนกระทั่งชัดทั้งลืมตาและหลับตา (อย่าลืมว่าเริ่มจากการเห็นโดยความรู้สึก มิใช่เห็นอย่างลืมตาดูทีวี เพราะฉะนั้นจะหวังให้องค์นิมิตชัดแจ่มในตอนต้นนั้นไม่ควร)
    พระสมเด็จกำนั่งที่หลวงปู่สร้างขึ้นก็ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการปฏิบัติกรรมฐาน โดยพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ที่ท่านอธิษฐานจิตลงไปจะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้จิตของเรารวมเป็นสมาธิได้ ง่ายขึ้น รวมทั้งป้องกันนิมิตร้ายต่าง ๆ
    ส่วนทางด้านปัญญา ท่านว่าเมื่อจิตสงบแล้วก็ให้นึกอธิษฐานขอบารมีจากองค์พระ ให้ธรรมที่สมควรแก่จิตของเราขณะนั้นจงบังเกิดรู้ขึ้นมา (อาจเป็นข้อธรรมผุดขึ้นให้เราพิจารณา)
    พระกำนั่งนี้ก็แปลก บางคนพอได้กำในระหว่างการปฏิบัติแล้ว ก็มักรู้สึกเหมือนมีไฟฟ้าอ่อน ๆ วิ่งไหลผ่านมือที่กำพระอยู่นั้น ทำให้เกิดอาการปีติอันเป็นอาหารของใจที่ทำให้ใจเจ้าของเกิดกำลังขึ้นมา
    พระกำนั่งเป็นของไม่มีราคา (เพราะท่านแจกให้เปล่า) แต่มีคุณค่าเหลือประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ปฏิบัติ
    อย่างไรก็ดี ท่านก็มิได้สอนให้ลูกศิษย์ยึดติดในกระกำนั่ง จนกระทั่งหากไม่มีพระกำนั่ง จะนั่งปฏิบัติกรรมฐานมิได้
    ผู้ปฏิบัติควรวางใจของตนเพื่อสร้างความ ชำนาญในการเข้าสมาธิให้สม่ำเสมอทั้งในยามที่มีพระกำนั่ง และในยามที่ไม่มีพระกำนั่ง เพราะสุดท้ายแล้ว ย่อมมารวมลงที่ใจที่มีศรัทธาเชื่อมั่นในคุณพระที่มีอยู่อย่างจะนับจะประมาณ มิได้

    พระหลวงปู่นั้นนำมากำปฏิบัติได้ทุกรุ่นครับ (ท่านเคยรับรอง ซึ่งรวมถึงแหวนพระด้วย)
    เพียง แต่หากถามถึงพิมพ์ที่ท่านสร้างไว้เฉพาะทาง (คือสำหรับนำมากำนั่งโดยเฉพาะ) ก็คงต้องเป็นพระพิมพ์ต่าง ๆ ในปี๊บที่ท่านอธิษฐานให้หลวงน้าสายหยุดแจกผู้ปฏิบัติใหม่ ซึ่งเท่าที่เห็นก็มีพิมพ์พระสมเด็จเป็นหลักครับ

    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com

    ขออนุโมทนากับคุณ motana2008 และขอให้กุศลผลบุญช่วยให้คุณ motana2008 เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
    ป.ล. องย้อนดูที่หน้า 2 กระทู้ที่ #33
     
  16. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    รู้ “ความหมาย” ของอริยสัจแล้ว ก็ควรต้องรู้ “กิจหรือข้อพึงปฏิบัติ” ต่ออริยสัจด้วย

    รู้ “ความหมาย” ของอริยสัจแล้ว ก็ควรต้องรู้ “กิจหรือข้อพึงปฏิบัติ” ต่ออริยสัจด้วย
    ๑. อริยสัจข้อ “ทุกข์” ได้แก่ตัวทุกข์หรือตัวปัญหานั้น เรามีหน้าที่ต้อง “กำหนดรู้” บาลีใช้คำว่า “ปริญญา”
    ๒. อริยสัจข้อ “สมุทัย” ได้แก่ต้นตอหรือเหตุให้เกิดทุกข์นั้น เรามีหน้าที่ต้อง “ละ” บาลีใช้คำว่า “ปหานะ”
    ๓. อริยสัจข้อ “นิโรธ” ได้แก่ ความดับทุกข์อันเป็นเป้าหมายของการปฏิบัตินั้น เรามีหน้าที่ต้อง “ทำให้แจ้ง” บาลีใช้คำว่า “สัจฉิกิริยา”
    ๔. อริยสัจข้อ “มรรค” ได้แก่ หนทางให้ถึงความดับทุกข์นั้น เรามีหน้าที่ต้อง “เจริญให้เกิดให้มีขึ้น (หมายถึงให้ลงมือปฏิบัติ)” บาลีใช้คำว่า “ภาวนา”

    ๑. การ “กำหนดรู้” ทุกข์
    หลวง ปู่เน้นเป็นพิเศษ เพราะพวกเราอยู่ในสภาพที่คล้ายไส้เดือนไม่เห็นดิน ปลาไม่เห็นน้ำ นกไม่เห็นฟ้า ฯลฯ คืออยู่กับมัน เคยชินกับมัน เลยไม่เห็นหรือไม่รู้จักมันจริง ๆ เราอยู่กับทุกข์แต่ไม่เห็นทุกข์ ไปงานศพก็เห็นแต่คนอื่นตาย ไม่เกี่ยวกับเรา ไม่รู้จักการน้อมเข้ามาใส่ตัวเพื่อให้เห็นทุกข์ที่อยู่ประจำโลกคือความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ฯลฯ เรามัวร้องไห้ให้กับการตาย แต่ไม่ได้นึกเฉลียวใจว่าเราควรร้องไห้ให้กับการเกิดจึงจะถูก เพราะมีเกิดจึงมีดับมีตาย
    ข้อ กำหนดรู้ทุกข์นี้ หลวงปู่สอนเราเตือนเรา โดยแทบทุกเช้าที่หลวงปู่เปิดประตูก้าวเดินออกจากกุฏิ ท่านจะต้องอุทานให้ศิษย์ได้พึงระลึกเนือง ๆ ว่า “เอ้อ...เกิด แก่ เจ็บตาย เน้อ”
    นอกจากนี้ ท่านก็ให้เราหาโอกาศไปโรงเรียนสอนธรรมะที่ยอดเยี่ยม นั่นก็คือโรงพยาบาล เพื่อช่วยให้เราตระหนักหรือกำหนดรู้ “ทุกข์” ให้ชัดและให้ถึงใจนั่นเอง

    ๒. การ “ละ” สมุทัย
    หลวงปู่พูดสอนอยู่เสมอ ๆ ในคำว่า “ให้คอยระวังและหมั่นละโลภ โกรธ หลง เพราะมันเป็นเหมือนหนอนที่คอยกัดกินความดีของเรา” เพราะมันเป็นตัวย่ำยีหัวใจเราให้ต้องเป็นทุกข์บอบช้ำ ความโลภทำให้เราอยู่ในอาการของคนยากไร้อดอยาก ความโกรธทำให้ใจเราเดือดดาลมีนัยน์ตาที่แทบจะถลนออกมา ความหลงทำให้เราโง่ จมจ่อมอยู่กับสภาพที่ตรงกันข้ามกับ “รู้ ตื่น เบิกบาน”

    ๓. การ “ทำให้แจ้ง” ซึ่งนิโรธ
    หลวง ปู่ท่านสอนผ่านตัวอย่างแบบชาวบ้าน ๆ เช่น สอนให้กลัวนรก สอนให้เห็นว่าบนสวรรค์นั้น เทวดาก็ยังมีกิเลส ยังมีทุกข์ กลัวตาย กลัวจุติ แม้ พรหมก็เป็นที่นอนแช่เป็นความเนิ่นช้า และไม่ปลอดภัยหากเกิดมาอีกในยุคที่ไม่พบพระพุทธศาสนา ฯลฯ นิโรธคือนิพพานเท่านั้น ที่เป็นจุดหมายปลายทางที่ปลอดภัย ที่ต้องพยายามอย่างที่สุดที่จะเขยิบตัวเองให้เข้าไปใกล้ ให้ถึง “หัวตะพาน” หรือ “หนึ่งในสี่” คือ พัฒนายกตัวเราจากปุถุชนขึ้นเป็นกัลยณชน กระทั่งเป็นอริยบุคคลสูงขึ้น ๆ ไปตามลำดับ จนกว่าจะถึงที่สุดของการพัฒนาตัวเองคือความเป็นผู้หมดกิเลส เข้าถึงนิโรธตั้งแต่ยังมีลมหายใจอยู่

    ๔. การ “เจริญ” มรรค
    หลวง ปู่กล่าวสอนไว้มากที่สุดในแง่มุมต่าง ๆ รวมทั้งกระตุ้นเร้าให้เราหมั่นปฏิบัติ ปรารภความเพียร และให้มองว่าการเจริญมรรค หรือก็คือการเจริญศีล สมาธิ และปัญญา มิใช่ส่วนเกินของชีวิต ท่านจึงเรียกการไปปฏิบัติภาวนาว่า “ไปทำงาน” เพราะมันเป็นเรื่องการงานทางจิต ชนิดที่ท่านกล่าวว่า “ถ้าไม่เอา (ปฏิบัติ) เป็นเถ้าเสียดีกว่า” เพื่อจะพูดให้แคบให้ตรงจุดเข้ามาในภาคปฏิบัติการงานทางจิต หลวงปู่จะใช้คำว่า “ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต” ใช้ สติเข้าไปกำหนดดูรู้สภาวะจิต ให้รู้โลภ โกรธ หลงที่มันครอบงำจิตอยู่ แล้วก็ให้ใช้ปัญญาชำระชะล้างโลภ โกรธ หลง เพื่อการรักษาจิตให้สะอาดบริสุทธ์ นิ่ง ใส เป็นกลางอยู่เสมอ คำว่าดูจิตและรักษาจิตจึงต้องใช้ควบคู่กัน แยกจากกันไม่ได้เหมือนกับคำว่าสติและปัญญา การเจริญมรรคจึงจะครบถ้วนสมบูรณ์



    การ “เจริญ” นี้เป็นการ “ปฏิบัติ” มิใช่ไร้การปฏิบัติ หากแต่เป็นการปฏิบัติขูดกิเลสหรือสิ่งที่รกรุงรังที่ห่อหุ้มจิตใจเราออกไป หากไร้การปฏิบัติก็ไร้ผลงาน จะถึงนิโรธได้อย่างไร ไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรือนอกบ้าน ถ้าไม่มีกิริยาการเดิน หรือการใช้ความเพียรพยายามจะไปถึงได้อย่างไร

    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  17. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    อานิสงส์การภาวนา

    อานิสงส์การภาวนา:
    หลวงปู่ดู่เคยกล่าวว่า "คนทำ (ภาวนา) เป็นนี่ ใคร ๆ ก็รัก ไม่เฉพาะคนหรือสัตว์ที่รัก แม้แต่เทวดาเขาก็อนุโมทนาด้วย"
    คนทำเป็นย่อมมีความสว่างและความเย็นใจ อยู่เป็นปรกติ ยิ่งหากได้เจริญเมตตาอยู่เป็นประจำ ก็จะเป็นเสน่ห์อยู่ในตัว เป็นที่รักของคนรอบข้างรวมทั้งเทวดา
    มีลูกศิษย์หลวงปู่หลายคนยืนยันว่าเวลาจะมีภัยมา เหมือนสิ่งศักดิ์จะดลจิตดลใจให้ทราบล่วงหน้า แล้วแคล้วคลาดกันมาตลอด
    บางคนก็ขอเทวดาไปทั่วเหมือนกัน ยิ่งอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ไปไหนมาไหนหาที่จอดรถไม่ได้ ก็บอกกล่าวเทวดา เป็นอันได้ที่จอดรถทุกทีไป ชนิดคนที่ขับวนอยู่หลายรอบต้องแอบอิจฉา
    ไปติดต่อหน่วยงานหรือกับใคร ๆ ก็มักได้รับการปฏิสันฐานด้วยความมีไมตรีจิต
    มีเหตุร้ายเกิดขึ้น ก็มักมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วยผ่อนหนักเป็นเบา เช่น มีลูกศิษย์หลวงปู่คณะหนึ่งตั้งใจขับรถวัดดอยแม่ปั๋ง (วัดของหลวงปู่แหวน) อำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่ แต่ขับหลงทางไปตามเส้นทางใหม่ที่เป็นทางลูกรัง ยิ่งขับไปไกลก็ยิ่งไม่เจอใครเลย หนทางก็เป็นหุบเขา รถที่สวนทางกันก็ไม่มี สัญญาณโทรศัพท์ก็ไม่มี และแล้วรถก็มาเสียหลักตอนลงจากเนิน พอแตะเบรครถก็ไถลลื่นเสียหลัก ด้านซ้ายเป็นหน้าผา ด้านขวาเป็นเหว รถปัดไปปัดมาระหว่างผนังเขากับเหว สุดท้ายก็ชนกับผนังเขา หม้อน้ำแตก ไม่สามารถขับต่อไปได้ พอลงจากรถก็มีมอเตอร์ไซด์สวนมาพอดิบพอดี ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีรถสวนมาเลย
    คำแรกที่ชายที่ใส่เสื้อม่อฮ่อมทักคณะ นี้พร้อมกับเพ่งมองไปยังพระที่ห้อยคออยู่ก็คือ "นั่นเหรียญเปิดโลกใช่ไหม" ทำเอางงไปตาม ๆ กัน จากนั้นชายคนนั้นก็บอกว่าเขาเป็นผู้ใหญ่บ้าน มีวิทยุ (Walky Talky) ติดมาด้วย เพราะโทรศัพท์มือถือใช้ไม่ได้ในละแวกนั้น
    บนเคราะห์ร้ายก็ยังนับว่ามีบุญรักษาอยู่ ชายคนนั้นก็วิทยุเรียกรถขึ้นเขามาลากรถของคณะศิษย์หลวงปู่ลงจากเขาโดยสวัสดิภาพ
    หลาย ๆ คนก็ยังงง ๆ กับเหตุการณ์ รวมทั้งแปลกใจว่ามาไกลถึงขนาดนั้น ยังมีชาวบ้านรู้จักหลวงปู่ดู่ รวมทั้งรู้จักเหรียญเปิดโลก ซึ่งสมัยนั้นไม่น่าจะเป็นที่รู้จักเลย เพราะหลวงปู่เพิ่งละสังขารไปไม่กี่ปี
    สรุปก็คือการภาวนาและการหมั่นระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และครูบาอาจารย์มีหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่เสมอ ๆ ย่อมช่วยให้ได้รับความเมตตาจากมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย และถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับวิบากกรรมที่ทำไว้ ก็ยังมีหนทางช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาจนได้


    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  18. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,370
    ขอบคุณครับ

    ปัจจุบันนี้ผมได้ตรองดูจากหลายๆอย่างถึงสิ่งที่หลวงปู่ดู่ท่านสอน กับสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน ผมไม่ปฎิเสธเลยว่าผมได้ดีและรู้จักหลวงปู่มากขึ้นจากการไปปฎิบัติธรรม และบวชอยู่กับศิษย์ของหลวงปู่ท่านหนึ่ง ต้องยอมรับว่าเพราะท่านทำให้ผมตั้งใจประกอบกรรมดีเสมอมา แม้ว่าคำสอนหรือวิธีปฎิบัติจะแตกต่างจากสมัยที่หลวงปู่ท่านอยู่ (ค่อนข้างมาก !?) แต่ยังไงก็ถือว่าท่านเป็นครูอาจารย์เรา

    ส่วนวิธีการปฎิบัตินั้นผมน้อมรับมาใช้ทั้งสองอย่าง ทั้งจากคำสอนของบรรดาศิษย์รุ่นเก่าที่บันทึกคำสอนของหลวงปู่ไว้เป็นหนังสือก็ดี จากคำบอกเล่าก็ดี และการปฎิบัติของสำนักที่ผมไปบวชมา อย่างไรก็ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ตั้งใจปฎิบัติธรรมตามแนวปฎิบัติของหลวงปู่ดู่ทุกท่านขอให้ทุุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ ^^
     
  19. anoldman

    anoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +4,558
    สาธุๆ







    ลูกหลานขอกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่เคารพยิ่ง ขอรับ __-/|-__



    ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้มากๆ ครับ วันนี้อ่านหน้าแรกยังไม่จบเลย เริ่มมึนๆ แล้ว อ่านไปพิจารณาไป ได้ทั้งสติ ได้ทั้งปัญญาจริงๆ เดี๋ยวมีเวลาจะมาอ่านต่อครับ ของดี ของดี ^_^
    ______________________________
    hello9
    กลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติจังหวัดเพชรบูรณ์
    กลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติจังหวัดเพชรบูรณ์มาทำงานกัน<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  20. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ดูแลพระอรหันต์

    ดูแลพระอรหันต์

    เวลา ที่เห็นบรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสขวนขวายเป็นธุระในการดูแลอาการอาพาธ ของครูบาอาจารย์บางท่าน ในขณะที่พระอาวุโสบางท่านกลับอาพาธอย่างเดียวดาย ไร้คนดูแลไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุร่วมอาวาส หรือแม้แต่ญาติโยมทั้งหลาย บางรูปถึงขนาดต้องสึกออกไปให้โยมที่บ้านดูแล

    ได้ทราบเหตุผลอันหนึ่งจากหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ว่า “บาง คนมาบวชเมื่อแก่ บวชแล้วก็ยังไม่ได้ทำข้อวัตรปฏิบัติต่อครูอาจารย์ จึงไม่ได้สร้างอานิสงส์ในทางนี้ ดังนั้น ในยามที่ป่วย จึงไม่มีผู้ใดมาดูแล ต่างจากผู้ที่บวชแต่ยังเป็นพระหนุ่มเณรน้อย ได้มีโอกาสดูแลอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ มีโอกาสสั่งสมบุญกุศลด้านนี้ไว้ ยามที่ตนป่วยก็มักมีผู้ขวนขวายดูแล”

    โดย ส่วนตัว ผมเห็นว่าเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกศิษย์ขวนขวายดูแลครูบาอาจารย์ที่อาพาธ ก็คือคุณธรรมความดีที่ท่านเมตตาสงเคราะห์ศิษย์และสงเคราะห์โลก

    ดูอย่างหลวงตามหาบัวสิ ไม่รู้หมอกี่ชุดต่อกี่ชุด ลูกศิษย์ก็แน่นขนัดแย่งกันดูแล นั่นก็เพราะความดีที่หลวงตาทำไว้กับโลก

    หลวง พ่อชาเองก็เช่นกัน ท่านอาพาธเป็นอัมพาตอยู่นานถึง ๘ ปี แต่ไม่น่าเชื่อว่าคณะสงฆ์วัดหนองป่าพงสามารถจัดเวรพระอุปัฏฐากดูแลท่านตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตลอดระยะเวลาที่ท่านป่วยนานหลายปีมิได้ขาด ถ้าหลวงพ่อชาไม่มีคุณงามความดีอย่างเหลือล้น มีหรือที่จะมีสานุศิษย์จะทุ่มเทได้ถึงเพียงนี้

    ท่านพุทธทาสภิกขุ เคยกล่าวว่า "หลวงพ่อชาท่านป่วยให้ลูกศิษย์ได้บุญ"


    หากนึกทบทวนดูแล้ว ก็เห็นจริงตามที่ท่านกล่าวไว้จริง ๆ
    ทุก วันนี้ พระอุปัฏฐากของหลวงพ่อชาหลาย ๆ รูปที่ผมพอรู้จัก ต่างบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะ รวมทั้งคนอุปัฏฐากดูแล นี่เรียกว่าอานิสงส์ที่เกิดจากการประพฤติธรรมของท่านเองส่วนหนึ่ง และอานิสงส์จากการดูแลอุปัฏฐากครูอาจารย์นั่นเอง

    ที่นี้วกมาใกล้ตัว พวกเราเป็นฆราวาส แม้ไม่มีโอกาสอุปัฏฐากหลวงปู่ครูบาอาจารย์ แต่เราก็สามารถบำเพ็ญอานิสงส์ดังที่เล่ามานี้ได้ โดยการดูแลบุพการีของเราให้ดี โดยเฉพาะยามที่ท่านป่วยไข้ ทำ อย่างใส่ใจ แม้ต้องเช็ดอุจจาระปัสสาวะก็ไม่นึกรังเกียจ อย่างนี้ธรรมย่อมเจริญในเรา แถมยังรับอานิสงส์เสมือนได้อุปัฏฐากพระอรหันต์อีกด้วย ดังที่หลวงปู่ดู่ท่านว่า “ทำบุญกับพ่อแม่ก็เหมือนทำบุญกับพระอรหันต์”

    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com

     

แชร์หน้านี้

Loading...