"เด็กไทใหญ่" น่าสงสารมาก...ขอเชิญร่วมบริจาคเงินซื้อหนังสือเรียนให้เด็กไทใหญ่

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย ง้วนดิน, 15 มีนาคม 2007.

  1. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,048
    นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว (เอียด)
    เพื่อนนักเขียนคนนึงของ "ง้วนดิน"
    ส่งอีเมลมาชวนเพื่อน ๆ
    ร่วมบริจาคเงินซื้อหนังสือเรียนให้เด็กชาวไทใหญ่


    "ง้วนดิน" เลยขอมาบอกบุญเพื่อน ๆ พี่น้องพลังจิตต่อ
    ลองอ่านรายละเอียดดูนะคะ...น่าสงสารมาก

    เรื่องที่นิพัทธ์พรเล่ามายาวมาก
    แต่ก้อขอให้ช่วยอ่านกันหน่อยนะคะ
    เป็นเรื่องจริงจากประสบการณ์การทำงานเขียนสารคดีของนิพัทธ์พร

    "ไทใหญ่" ก้อไม่ใช่อื่นไกล พี่น้องเราหละขะ

    ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน
    ถึงจะไม่ร่วมบริจาคก้อไม่เป็นไรนะคะ...ฝากบอกต่อ ๆ กันไปก้อแล้วกันขะ

    [bw-cry][bw-cry][bw-cry]



    จาก เอียด (นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว)
    เรื่อง ขอบริจาคเงินซื้อหนังสือเรียนให้เด็กไทใหญ่
    ถึง เพื่อน ๆ ที่รัก

    ตลอดเวลา ๒ ปีกว่ามาแล้ว ที่เอียดได้ขึ้นไปทำงานเขียนสารคดีในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า มาหลายครั้ง โดยได้เข้า-ออกข้ามชายแดนไปในพื้นที่ของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ (Shan State Army) ซึ่งอยู่บนสันเขา รอยต่อระหว่างอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน กับรัฐฉาน ประเทศพม่า แต่ละครั้งที่เข้าไปนอกจากจะสัมภาษณ์ผู้นำทางทหาร เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองและการสู้รบแล้ว งานสำคัญที่เป็นงานหลักอีกส่วนหนึ่งก็คือการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ สภาพของชาวบ้าน ชาวนา ผู้หญิง เด็ก ประชาชนไทใหญ่ที่ถูกทหารพม่ากดขี่ข่มเหง ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา

    บนดอยไตแลงแม้จะเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการสูงสุดทางด้านการทหาร แต่ประชาชนส่วนใหญ่บนดอย ที่อยู่กันหมื่นกว่าคนนั้น คือประชาชนชาวนาชาวไร่ในรัฐฉาน ที่อพยพหนีภัยสงคราม เข้ามาอยู่รอบ ๆ ค่ายทหาร เพื่ออาศัยทหารไทใหญ่ให้ช่วยป้องกันภัยคุกคามจากทหารพม่า และบนดอยเต็มไปด้วยเด็กกำพร้าที่ถูกส่งมาให้อยู่ที่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าบนดอยไตแลง เด็กเหล่านี้มาจากทั่วรัฐฉาน ขณะนี้มีอยู่ ๒๐๐ กว่าคน และยังมีเด็กลูกประชาชนที่เกิดบนค่ายทหารอีก ๕๐๐ กว่าคน รวมแล้ว ๗๐๐ กว่าคน และในปีการศึกษา ๒๕๕๐ ซึ่งจะเปิดเทอมในเดือนพฤษภาคมนี้ เด็กยังไม่มีหนังสือเรียน

    เอียดได้เคยขอหนังสือจากทางพี่ป๋อ มูลนิธิสานแสงอรุณ ไปให้เด็กในเดือนมีนาคม และได้หนังสือมา ๓-๔ กล่อง ได้ส่งขึ้นดอยไตแลงเรียบร้อยแล้ว แต่หนังสือยังไม่พอ และหนังสือคละกันไป มีไม่ครบทุกวิชา ทางกองทัพไทใหญ่ที่ดูแลเด็กอยู่ขณะนี้ จึงติดต่อเอียดมา ขอเงินบริจาคซื้อหนังสือเรียนให้เด็ก เพราะกองทัพไทใหญ่เองก็ยากจนมาก เขาไม่มีเงินเพียงพอ เพราะเด็กมีมากขึ้นทุกวัน แม้มีNGO ช่วยอยู่บ้าง แต่เงินก็ไม่พอ เนื่องจากต้องใช้จ่ายเป็นค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้าของเด็ก

    และเงื่อนไขหนึ่งก็เพราะโรงเรียนดอยไตแลงอยู่นอกเขตประเทศไทย และไม่ใช่ศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยทางการเมือง (รัฐบาลไทยไม่เปิดให้มีการก่อตั้งศูนย์อพยพคนไทใหญ่ลี้ภัยทางการเมืองในชายแดนไทย ทำให้ NGO เข้าไปช่วยเหลือไม่ได้ เพราะขัดกับหลักการดำเนินงานของ NGO ต่างชาติ และติดขัดในเรื่องข้อกฎหมาย) NGO จึงไม่อาจเข้าไปช่วยได้เต็มที่ มีแต่บางNGO ที่ดำเนินงานในพื้นที่ระหว่างพรมแดนเท่านั้นที่ข้ามชายแดนไทยไปทำงานช่วยเหลือผู้คนบนดอยไตแลงได้

    ทางกองทัพจึงติดต่อเอียดมา เพราะปีนี้เด็กบนดอยยังไม่มีหนังสือเรียน เพราะนอกจากทางสภาพื้นฟูกอบกู้รัฐฉาน (RCSS- Restoration Council the of Shan State) จะผลิตตำราเรียนภาษาไทใหญ่สอนภาษาและวัฒนธรรมไทใหญ่ให้เด็กแล้ว ทางไทใหญ่จะซื้อหนังสือไทยและหนังสือจากฝั่งไทยหลายวิชา ที่เขายังไม่ได้ทำหนังสือขึ้นมา อย่างเช่นวิชาเลข วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย เอาขึ้นไปให้เด็กบนดอยได้เรียนกัน ในช่วงเปิดภาคเรียนนี้


    [bw-cry][bw-cry][bw-cry]



    เด็กกำพร้าบนดอยไตแลง ที่เอียดได้คุยด้วยนั้น พ่อแม่เด็ก ๆ เป็นประชาชนธรรมดา ชาวนาชาวไร่ พ่อของเด็กถูกจับไปเป็นลูกหาบให้แบกกระสุนปืนของทหารพม่า และให้เดินนำหน้ากองทหารเพื่อเคลียร์ทุ่นระเบิด ประชาชนไทใหญ่ และชนกลุ่มน้อย ทั้งมอญ กะเหรี่ยง กะเรนนี ปะหล่อง ทุกเผ่าในแผ่นดินพม่า ต่างถูกทหารพม่าไปจับตัวมาใช้แบกของ และเดินนำหน้ากองทหารเวลาลาดตระเวน เพื่อให้เหยียบกับระเบิด ซึ่งฝังอยู่ทั่วไปในพื้นที่ป่า และพื้นที่สู้รบถ้าชนกลุ่มน้อยเหยียบกับขาขาดหรือตายไปแล้ว ทหารพม่าที่เดินตามหลังจะได้ปลอดภัย

    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา หลังจากขุนส่า ผู้นำกองทัพเมิงไต (Mong Tai Army) วางอาวุธ ยอมแพ้รัฐบาลทหารพม่า ทหารพม่าได้เข้าไปทั่วพื้นที่รัฐฉาน ขณะนี้มีจำนวนถึง ๑๑๐,๐๐๐ คน (ได้ข้อมูลจากเอกสารทางทหารของไทย) คิดเป็น ๑ ใน ๔ ของจำนวนทหารในกองทัพพม่า ทหารพม่าได้เข้าไปฆ่าฟันประชาชนไทใหญ่ใจกลางรัฐฉานอย่างหนัก เผาหมู่บ้านทิ้งถึงประมาณ ๑,๔๐๐ หมู่บ้าน มีคนไทใหญ่ไร้ที่อยู่ถึง ๓๐๐,๐๐๐ กว่าคน มีผู้หญิงจำนวนนับพันคนที่ถูกข่มขืนหมู่และถูกฆ่าข่มขืน

    ระหว่างปี ๒๕๓๙-๒๕๔๒ มีเด็กไทใหญ่ที่พ่อแม่ตาย ไม่มีครอบครัวดูแล หนีซุกซ่อนอยู่ตามป่า ไปขออาศัยทหารไทใหญ่ที่ไม่ยอมวางอาวุธ ซึ่งขณะนั้นผู้นำทหารไทใหญ่คือเจ้ายอดศึก ได้ข้ามแม่น้ำสาละวินกลับไปในป่ากลางรัฐฉานกับเพื่อนทหารประมาณ ๗๐๐ คน ช่วยกันรวบรวมอาวุธ รวบรวมกำลังพลขึ้นมาใหม่ ผู้นำไทใหญ่เล่าให้ฟังว่า เจอเด็กกำพร้าไม่มีทางไปเต็มไปหมด กองทหารจึงต้องรับเลี้ยงรวบรวมเด็กกำพร้ามาไว้ด้วย เจ้าแตกทหารทั้งหมดเป็นหน่วยเล็ก ๆ กระจายกำลังกัน ไม่งั้นจะสู้รบและดูแลเด็กไม่ได้ เด็กมีตั้งแต่อายุ ๒-๓ ขวบ จนถึง ๗-๘ ขวบ พวกเขาหนีการล้อมปราบของทหารพม่า ที่ไล่ล่าอยู่ตลอด ๒ ปีกว่า ทหารพม่า ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ คน รุมล้อมปราบ ตามฆ่าทั้งทหารทั้งเด็ก บางครั้งจวนตัวทหารไทใหญ่เล่าให้ฟังว่า เด็ก ๆ ต้องช่วยจับปืนยิงสู้ทหารพม่าก็มี

    [bw-cry][bw-cry][bw-cry]​



    จายตา เด็กวัยรุ่นชายอายุ ๑๗ ปี ซึ่งขณะนี้เป็นหนึ่งในเด็กกำพร้า ๒๒๙ คน บนดอยไตแลงเล่าให้ฟังถึงความทรงจำเมื่อ ๑๐ ปีก่อนว่า

    “ผมอยู่ที่บ้านหนองแดง เมืองนาย รัฐฉาน ปี ๒๕๓๙ ผมยังเด็กมากอายุ ๖-๗ ขวบ พี่สาวผมเพิ่งอายุ ๑๔ ปี ถูกทหารพม่า ๔-๕ คนมาเอาตัวจากที่บ้านไปรุมข่มขืน พ่อผมถูกจับไปเป็นลูกหาบให้หาบอาวุธให้ทหารพม่า หายไปนาน พ่อกลับมาแผลเต็มตัว แต่พ่อเด็กอื่นไปตายไม่ได้กลับ

    หลังจากนั้นทหารพม่าเข้ามาในหมู่บ้านสั่งให้ทุกคนย้ายออกใน ๗ วัน ใครไม่ไปถูกยิง เขาเข้ามาเผาหมู่บ้าน ชาวบ้านหนีออกหมด บางคนย้ายไม่ทัน ลูกเล็กถูกเผาตายในกองไฟ เสียงร้องไห้ดังทั่ว พ่อแม่ผมร้องไห้ หมดตัวไม่รู้จะไปไหน พ่อแม่ผมกับครอบครัวลุงอ่องหนีไปอยู่ในป่า ไม่มีอะไรกิน ไม่มีที่อยู่ หลบอยู่ตามป่าขุดหาเผือกมันกินอยู่กัน ๖-๗ เดือน

    วันหนึ่งผมไปดักนกได้ยินเสียงปืน ผมแอบในป่าจนค่ำกลับมาดูเห็นพ่อแม่โดนยิงตายเลือดเต็มหน้า ลุงอ่องถูกฆ่าตัดหัวเสียบไว้กลางป่า เหลือผมคนเดียวไม่รู้ไปไหน เดินร้องไห้ไปเรื่อย ๆ ป่ารกก็บุกไป ไม่ได้กินอะไรวันหนึ่งเต็ม ๆ สัตว์ป่าร้องทั้งคืนผมกลัวมาก เดินไปจนไปเจอชาวบ้านที่หลบอยู่ในป่า เขาเลยพาผมไปส่งไว้กับทหารไทใหญ่ในป่าเมืองโขหลำ”

    [bw-cry][bw-cry][bw-cry]​




    นอกจากจายตาแล้ว ยังมีเด็กไทใหญ่อายุตั้งแต่เพิ่งเดินได้ ไปจนประมาณ ๑๐ ขวบ ที่พ่อแม่ตาย ถูกทิ้ง อดอยาก ไร้ที่พึ่งอยู่ทั่วไป ครูเคอแสนเลขาธิการอันดับ ๒ ของสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน RCSS (Restoration Council Of Shan State) หน่วยงานทางการเมืองของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่เล่าว่า

    ถ้าเป็นเด็กผู้หญิงชาวบ้านไทใหญ่จะช่วยดูกันเอง แต่เด็กชายเขาไม่กล้าเลี้ยงไว้ เพราะโตขึ้นมาทหารพม่าจะมาจับไปเป็นลูกหาบ อีกอย่างทหารพม่าจะคิดว่าชาวบ้านเลี้ยงเด็กชายไว้เพื่อเตรียมให้เป็นทหารกู้ชาติไทใหญ่ ช่วงสิบปีก่อนเด็กกำพร้าผู้ชายลำบากมากไม่มีใครกล้าเลี้ยง ไม่มีใครเอา ไม่มีคนให้พึ่งพา เพราะพม่ามาเจอจะอันตราย

    ชาวบ้านพบเด็กที่ไหนก็พามาส่งไว้กับเจ้ายอดศึก เจ้ารับไว้หมด เพราะเด็กไม่มีที่ไป รวมๆแล้วราว ๔๐–๕๐ คน ตอนนั้นเจ้ายอดศึกก็ลำบากมาก ไม่มีที่อยู่ไม่มีที่ตั้ง ร่อนเร่อยู่ในป่าประมาณ ๒ ปี ไปไหนต้องพาเด็กตามกองทหารไทใหญ่ไปด้วย เจ้ากระจายทหารเป็นชุดเล็กชุดน้อย รบแบบกองโจร แบ่งเด็กไปกับทหารชุดต่าง ๆ ช่วยกันดูแล หลบอยู่ในป่า กินอยู่เดินทางไปกับทหาร เด็กเล็กลำบากมาก ทหารต้องดูแลเหมือนพาลูกไปด้วย

    จนปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เจ้าเห็นว่าพาเด็กไปมาตามป่าอย่างนี้อันตรายกับเด็กมาก เด็กไม่มีอนาคต จะทำแบบนี้อยู่ตลอดไม่ได้ เจ้ายอดศึกเลยติดต่อกลุ่มคริสต์ของทางสาธุคุณจอห์น โปรฟิลด์ ชาวนอรเวย์ที่เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ฝากให้ช่วยดูแลเด็ก แล้วเจ้าก็พาเด็กทั้งหมดมาที่ชายแดนไทย เอาแต่หน่วยรักษาความปลอดภัยของเจ้ามาด้วยกันช่วยคุ้มครองเด็ก ทหารพม่ารู้ข่าว พากำลัง ๖ ทัพ ๒๐๐๐ กว่าคนตามฆ่าเจ้า ล้อมปราบ ยิงกันหลายครั้ง เด็กต้องหยิบปืนยิงกับทหารพม่าป้องกันชีวิตตัวเอง รอดมาได้จนถึงชายแดนไทย

    พอปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เจ้าตั้งกองบัญชาการที่ดอยไตแลงพออยู่ได้แล้ว ก็ไปเอาเด็ก ๗๐ กว่าคนมาไว้บนดอย เปิดโรงเรียนสอนภาษาไทใหญ่ พม่า อังกฤษ ไทย และสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ธรรมชาติศึกษา สอนวัฒนธรรมไทใหญ่ทั้งหมด หลักสูตรมีถึงชั้นม. ๖ รวมลูกชาวบ้านที่หนีมาจากในรัฐฉานด้วยตอนนี้มีนักเรียนอยู่ ๗๐๐ กว่าคน”

    พันเอกเจ้ายอดศึกผู้นำสูงสุดของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ กล่าวถึงการเปิดโรงเรียนสอนเด็กไทใหญ่บนยอดดอย และการพยายามพัฒนาดอยไตแลงให้เป็นศูนย์กลางในการฟื้นฟูภาษา วัฒนธรรม และจิตวิญญาณรักชาติของเยาวชนไทใหญ่ว่า
    “วัฒนธรรมไทใหญ่เป็นสายเลือดของประชาชนเรา
    หากกู้ชาติได้แต่แผ่นดินกลับคืนมา
    แต่คนไทใหญ่ไม่รู้จัก ไม่มีวัฒนธรรมของตนเอง
    ก็ไม่มีประโยชน์อะไร”

    [bw-cry][bw-cry][bw-cry]​




    อีกคนหนึ่งที่ได้ไปสัมภาษณ์มาเป็นเด็กผู้หญิงตัวเล็กมาก ถูกทหารพม่าข่มขืนและหนีมาอยู่บนดอยไตแลง เพิ่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ผ่านมานี้ เด็กหญิงจ๋ามเฮือง อายุ ๗ ขวบ ตัวเล็กผอมบาง อยู่บ้านคานมน จังหวัดหัวเมือง ตรงข้ามจังหวัดแม่ฮ่องสอน นั่งเล่นกับน้องชายอายุ ๓ ขวบอยู่ใต้ถุนบ้าน วันนั้นพ่อแม่ของเธอออกไปทำงาน จ๋ามเฮืองเล่าว่า เธอไม่ทันรู้ตัวเมื่อผู้ชายตัวดำ ๆ ใหญ่ ๆ นุ่งโสร่งใส่เสื้อทหารพม่าเข้าประชิดตัว เอาแตงกวายัดปากเธอไม่ให้เสียงร้องดังออกมา เขามัดมือเธอไว้ข้างหลัง อุ้มเธอตัวปลิวขึ้นไปบนบ้าน ดึงผ้าถุงเธอออกและข่มขืนเธอ

    จ๋ามเฮืองบอกว่า เธอไม่รู้ทหารพม่าทำอะไร แต่เจ็บมากและเลือดไหลเต็มไปหมด หลังจากนั้นทหารพม่าแก้มัดหันหลังเดินออกไป จ๋ามเฮืองเดินไม่ไหว ได้แต่ร้องไห้คลานลงบันไดบ้าน ไปหลบอยู่ข้างกอไม้ ขณะที่เลือดไหลไม่หยุด สักพักพ่อแม่กลับมาบ้าน เห็นสภาพจ๋ามเฮืองก็รู้ว่าลูกโดนข่มขืน พ่อแม่รีบพาจ๋ามเฮืองไปหาหมอ หมอถามว่าโดนอะไรมา แม่ไม่กล้าบอก หมอถามว่าใครทำ ฉีดยาให้แล้วบอกให้ไปแจ้งความ หลังจากนั้นตำรวจพม่าไปเอาคนมา ๕ คนให้ชี้ตัว จ๋ามเฮืองชี้ไม่ได้เพราะไม่เห็นหน้า ตำรวจพม่าก็ไม่ทำอะไรอีก

    ๑๕ วันแรกที่นอนป่วยจ๋ามเฮืองลุกไม่ได้ เพราะแผลอักเสบมาก เธอป่วยหนักอยู่เดือนหนึ่งเต็ม ๆ หลังจากนั้นพ่อแม่กลัวทหารพม่าจะตามมาทำร้าย พอจ๋ามเฮืองเริ่มเดินได้ ญาติพี่น้องจึงไปชวนทั้งครอบครัวให้หนีมาอยู่ที่ดอยไตแลง เพราะเป็นที่เดียวที่ทหารพม่าจะเข้ามาทำร้ายประชาชนไทใหญ่ไม่ได้

    [bw-cry][bw-cry][bw-cry]​




    ส่วนบัวหอมเด็กหญิงกำพร้าอายุ ๑๕ ปีซึ่งอยู่ที่ดอยไตแลงมา ๗ ปีแล้วนั้น แม้ตัวเองจะไม่โดนข่มขืน แต่พอถามถึงเรื่องราวชีวิตในวัยเด็ก บัวหอมก็ร้องไห้สะอึกสะอื้นเล่าให้ฟังว่า ตอนเธออายุ ๘ ขวบ แม่ของเธอถูกทหารพม่า ๑๕ คนข่มขืน และลากออกมาเอามีดรุมกระหน่ำเสียบอกตายต่อหน้าเธอ

    บัวหอมหนีออกมาพร้อมเด็ก ๆ รุ่นเดียวกัน ๓-๔ คน ในหมู่บ้านเดียวกัน เด็ก ๆ ต่างอายุไม่ถึง ๑๐ ขวบ พากันหลบซ่อนในป่า กระเซอะกระเซิงเดินลงมาตามลำน้ำสาละวิน อาศัยเก็บกินยอดไม้เป็นอาหารอยู่หลายเดือน ได้ข้าวสุกจากคนไทใหญ่ที่ผ่านทางมาแบ่งให้กินบ้าง และมีคนชี้ทางให้ข้ามแม่น้ำไปหากองทัพของเจ้ายอดศึก เพราะเป็นที่เดียวที่ดูแลเด็กไทใหญ่ไร้ที่พึ่ง บนดอยไตแลงมีข้าวกิน มีที่พัก และมีโรงเรียนให้เรียนหนังสือ

    [bw-cry][bw-cry][bw-cry]​




    ตอนหลังนี้เอียดไม่ได้ถามประวัติเด็กอีกแล้ว เพราะจะขึ้นดอยไปทำงานในช่วงมีเทศกาลงานฉลอง เด็กกำลังหัวเราะมีความสุข แต่พอมานั่งคุยกัน ในวันปีใหม่ของพวกเขา เด็กกลับต้องมานั่งร้องไห้ทุกครั้งที่บอกเล่าถึงชีวิตที่ผ่านมา เอียดหดหู่ใจและเสียใจที่ไปถามเขาในวันรื่นเริงของพวกเขา ซึ่งทั้งปีบนดอยจะมีงานให้เด็กได้สนุกกันปีหนึ่ง ๒-๓ ครั้งเท่านั้น

    ทางกองทัพต้องใช้เงินประมาณ ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ บาทในการซื้อหนังสือเรียนและอุปกรณ์การเรียน สมุด ดินสอ ปากกา ให้เด็ก

    เอียดบอกเจ้าหน้าที่ที่ติดต่อขอเงินมาว่า เอียดคงหาเงินเยอะขนาดนั้นให้ไม่ไหว แต่ถ้าประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท เอียดจะพยายามลองหาเงินบริจาคจากเพื่อน ๆ ดู แต่ได้แค่ไหน ยังไม่รู้ เพราะเอียดเองก็มีแต่เพื่อนในแวดวงหนังสือ และเอียดเองก็เป็นนักเขียนอิสระ ไม่ได้มีเงินเยอะ แต่เชื่อว่าเพื่อนทุกคนจะพยายามช่วยกัน หากเงินไม่พอขอให้ทางโรงเรียนดอยไตแลง และทางทหารไทใหญ่ ลองพยายามหาด้วยตัวเองจากทางอื่นดูด้วย

    เอียดได้เปิดบัญชีธนาคารไว้ เป็นบัญชีรับเงินบริจาค ไปติดต่อทางธนาคารไทยพาณิชย์ เขาบอกว่าไม่อาจใช้ชื่อบัญชีเป็นนามแฝงของกองทุนใด ๆ ได้ จึงต้องเปิดบัญชีในนามของตัวเอง แต่เอียดได้แยกเป็นสมุดบัญชีสำหรับเงินบริจาคให้นักเรียนไทใหญ่โดยเฉพาะ

    และเมื่อได้รับเงินรวบรวมเงินเรียบร้อย จะทำรายการส่งอีเมล์มาให้เพื่อน ๆ ดูอีกครั้ง และจะนำจดหมายตอบรับจากทางโรงเรียนดอยไตแลง ส่งให้เพื่อน ๆ ดู เพื่อยืนยันว่าเอียดได้ดูแลเงินของเพื่อน ๆ ให้ไปถึงเด็ก ๆ ได้อย่างเต็มที่ และอย่างแท้จริง

    [b-wai][b-wai][b-wai] ​



    ..............................................................................

    หากเพื่อน ๆ ต้องการช่วยบริจาคเงินซื้อหนังสือเรียนให้เด็กไทใหญ่
    กรุณาบริจาคเงินได้ที่

    คุณอัจ (อัจฉราวดี สต็อคมันน์) บก. ELLE
    หรือ
    คุณจิ๋ว (วุฐิศานติ์ จันทร์วิบูล) ที่มูลนิธิสานแสงอรุณ
    ซึ่งจะรวบรวมเงินมาให้เอียด

    หรือฝากเข้าบัญชีธนาคารที่เอียดเปิดไว้รับเงินบริจาคโดยตรงที่

    นางสาวนิพัทธ์พร เพ็งแก้ว
    บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยคลองจั่น
    เลขที่บัญชี 113-2-11910-3

    อีเมล nipatporn@yahoo.com
    ..............................................................................


    ขอขอบคุณมาก ๆ
    ในการช่วยกันประกอบกุศลกรรมครั้งนี้

    ด้วยความนับถือ
    นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว


    [b-wai][b-wai][b-wai]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2007
  2. pong-sit

    pong-sit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,626
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,781
    น่าสงสารมาก อ่านแล้วผมจะร้องไห้........ตอนนี้ด้านปัจจัยผมยังไม่ค่อยมีครับป้า ยังช่วยไม่ได้ แต่จะขออนุญาติทำเป็นลายเซ็นครับ เพื่อประกาศบุญให้ผู้อื่นครับ
     
  3. phumiput

    phumiput เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,927
    ค่าพลัง:
    +16,590
    ผมอ่านแล้วพูดไม่ออกครับ นึกถึงเด็กวัยรุ่นบ้านเรากินเที่ยว เผาผลาญเงินพ่อแม่ไม่เรียนหนังสือ ฟุ้งเฟ้อไร้สาระ กินเหล้า ตั้งแก๊ง ทำเรื่องชั่ว เฮ้อ...ปลง
     
  4. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,048


    ป้าอ่านแล้วก้ออึ้งซึมอยู่เหมือนกัน
    ทำไมคนเรามันโหดร้ายกันอย่างนี้ก้อไม่รู้
    เลยอยากช่วยเท่าที่จะช่วยได้
    ก้อเลยต้องมาตั้งกระทู้ไว้ที่นี่หละจะ

    ขอบคุณมากจ้า "น้องกานต์" ที่ช่วยทำเป็นลายเซ็นให้
    ขอบคุณแทนเด็ก ๆ ไทใหญ่และชาวไทใหญ่ทุกคน

    โมทนาในจิตอันเป็นกุศลของ "น้องกานต์" จ้า

    [b-wai][b-wai][b-wai]
     
  5. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,048
    เคยได้ยินวลีที่ว่า "โลกทั้งผองพี่น้องกัน"
    ไม่คิดว่า "คน" จะทำกับ "คน" ได้ถึงขนาดนี้

    "ง้วนดิน" ขอโทษ...
    ถ้าเรื่องนี้ทำให้คนที่เข้ามาอ่าน "จิตตก"


    และขอขอบคุณทุกคน...
    ที่เข้ามาอ่าน...เข้ามาโมทนา...เข้ามาแสดงความเห็นใจ

    ท่านที่พอจะช่วยเด็ก ๆ ไทใหญ่ได้...
    "ง้วนดิน" ก้อขอขอบคุณแทนเด็ก ๆ ไทใหญ่และชาวไทใหญ่ทุกคนด้วยขะ


    [b-wai][b-wai][b-wai]
     
  6. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,087
    สังคมไหน ขาดซึ่งความรักและเมตตากันและกัน
    สังคมนั้น ย่อมขาดซึ่งความสุข..................

    ขอเบิกบุญและโอนส่งบุญ ไปให้ชาวไทใหญ่
    และทุกจิตวิญญาณที่ต้องทนทุกข์ทรมาณ
    ให้ได้พบสันติสุขในเร็ววัน
    ความเมตตา ขอให้ไหลหลั่ง สู่ชุมชนคนกลุ่มน้อยนี้


    ขอโมทนากับคุณง้วนดิน ที่นำมาเผยแพร่
     
  7. pattarawat

    pattarawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,671
    ค่าพลัง:
    +7,982
    เลียนแบบพี่เม้า

    ขอเบิกบุญและโอนส่งบุญ ไปให้ชาวไทใหญ่
    และทุกจิตวิญญาณที่ต้องทนทุกข์ทรมาณ
    ให้ได้พบสันติสุขในเร็ววัน
    ความเมตตา ขอให้ไหลหลั่ง สู่ชุมชนคนกลุ่มน้อยนี้

    ขอให้ฟื้นคืนกลับมาสงบสุขเสียทีนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ

    ขอโมทนากับป้าง้วนนะครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2007
  8. ท่าข้าม

    ท่าข้าม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2006
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +2,513
    ขอให้เด็กๆมีความสุขพ้นทุกข์ไวๆด้วยเถิด ขออนุญาติเบิกบุญเหมือนคุณเม้าด้วยจ้า
     
  9. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,182
    รับเข้ามาเป็นคนไทยก็หมดเรื่อง
     
  10. lepus

    lepus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,881
    เคยอ่านเรื่องเกี่ยวกับไทใหญ่และบทสัมภาษณ์เจ้ายอดศึกมาก่อนหน้านี้นานแล้วเหมือนกันอ่านแล้วน้ำตาซึมเลยทีเดียว ทำให้รู้ว่าพี่น้องชาวไทใหญ่น่าสงสารมากครับ ความจริงแล้วถ้าจะสืบสาวถึงบรรพบุรุษกันจริงๆแล้วไทใหญ่กับไทยเราก็ถือว่ามีบรรพบุรุษเดียวกันนั่นเองเพิ่งมาแยกกันในภายหลัง ในสมัยเสียกรุงครั้งที่หนึ่งเจ้าฟ้าไทยใหญ่ก็ถูกพม่านำตัวไปเป็นเฉลยเช่นเดียวกับพระนเรศวรของเราและก็ได้ร่วมกับไทยรบกับพม่ามาตลอด เป็นที่น่าสลดใจว่าปัจจุบันนี้ประเทศไทยของเราสงบร่มเย็นเป็นสุข แต่พี่น้องชาวไทใหญ่ยังคงทุกข์ยากลำบากแสนเข็ญจากไฟสงครามต้องถูกทหารพม่ากดขี่ข่มเหงสารพัด
    ที่ผมได้รับรู้มาชาวไทใหญ่มีความเคารพรักในพระราชวงศ์ของไทยเป็นอย่างสูงทีเดียวนะครับ เคยเห็นในรูปในพิธีสวนสนามของทหารหรือพิธีอะไรซักอย่างของเขานี่แหละมีพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงของเราตั้งเด่นอยุ่เหนือปรัมพิธีด้วยแหละ ทหารชาวไทใหญ่จะมีเหรียญสมเด็จพระนเรศวรห้อยคอกันแทบทุกคน แม้จะออกรบก็จะมีการบวงสรวงดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรทุกครั้ง..ไงถ้าอยากอ่านเรื่องราวความเคาพรศรัทธาของชาวไทใหญ่ที่มีต่อสมเด็จพระนเรศวรก็ลองดูที่นี่ก็ได้นะครับ http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=74741
    ผมเองก็ได้แต่ภาวนาส่งกำลังใจให้พี่น้องชาวไทใหญ่ทุกคนมีกำลังใจสามารถกอบกู้ชาติกู้แผ่นดินของตนเองได้สำเร็จพบความสงบสุขสันติในเร็ววันนี้ด้วยเทอญ
     
  11. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,048

    "ง้วนดิน" ขอลากมาไว้ที่นี่ด้วยนะคะ
    ไม่เคยอ่านมาก่อนเลยขะ
    ขอบคุณมากค่ะ


    <TABLE class=tborder id=post522012 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"><!-- status icon and date -->[​IMG] 16-03-2007, 06:43 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>lepus<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_522012", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 12:31 AM
    วันที่สมัคร: Sep 2005
    อายุ: 31 ปี
    ข้อความ: 46 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 15 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 265 ครั้ง ใน 40 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_522012 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->
     
  12. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,048
    อีเมลจากนิพัทธ์พร...เรื่อง "ไทใหญ่"...ฝึกไก่ตัวผู้ไม่ให้ขัน...ทำไม...อย่างไร ???

    "ง้วนดิน" ที่คิดถึง

    สภาพบนดอยไตแลงเดี๋ยวนี้ ก็ยังเป็นเหมือนเดิมคือ คนบนดอยขาดแคลนทุกอย่าง น้ำกินต้องเดินลงเขาไปตักขึ้นมา หาบขึ้นมาจากลำห้วยทุกวัน สูงราวตึก ๗-๘ ชั้น เสื้อผ้าได้จากคนไทยบริจาค เขาหนีสงครามเอามาแต่ตัวกับลูก

    เราได้เห็นเจ้ายอดศึกผู้นำไทใหญ่ดูแลพวกเขาดีมาก ๆ เดินพลิกหัวหูเด็กมีเหาหรือเปล่า ดูเล็บดูมือ สั่งแม่เด็กให้ตัดเล็บให้ลูก ขัดขี้ไคลให้ลูก เด็กกำพร้านั้นเจ้าจัดอบรมทั้งเด็กทั้งครูทุกเดือน เจ้าสั่งว่า เสื้อผ้าเก่าปุปะไม่เป็นไร ซ่อมแซมให้เรียบร้อย ให้อุ่นมาก ๆ (บนดอยหนาวมาก หน้าหนาวตอนเช้าประมาณ ๒ องศา กลางวัน ๗ องศา) ส่วนปกติที่เราขึ้นไปกลางวันราว ๑๒-๑๓ องศา)

    เจ้าบอกพวกเด็กและแม่เด็กกับครูที่ดูแลเด็กกำพร้าว่า เสื้อเก่าซ่อมได้ แต่ต้องสะอาด ต้องซักผ้า อาบน้ำให้สะอาด จนและขาดแคลนไม่เป็นไร แต่เนื้อตัวต้องสะอาด จะได้ไม่เป็นโรค และมีนิสัยส่วนตัวที่ดีเจ้าสอนให้เด็กกำพร้าต้องเป็นพี่น้องกัน คนใหญ่ดูแลคนเล็ก เพราะไม่มีญาติที่ไหนอีกแล้ว ดังนั้น เราต้องเป็นญาติกันเอง

    ที่ดีมากคือเด็กกำพร้าผู้ชายตั้งแต่ ๒-๓ ขวบจนถึงวัยรุ่นอยู่กัน ๑๐๐ กว่าคน ไม่มีใครทะเลาะกันเลย เขารักกันดูแลกันเอง คิดแต่อยากไปยิงพม่าอย่างเดียว ที่จะมาทะเลาะกันไม่มี

    อีกเรื่องที่ประหลาดมาก ชาวบ้านไทใหญ่ที่อพยพมาเล่าให้เราฟัง เขาบอกเดี๋ยวนี้ทุกหมู่บ้าน ตามบ้านนอกในรัฐฉาน คนต้องเอาตัวรอดทุกทาง เขาต้องฝึกไก่ตัวผู้ไม่ให้มันขัน พอเริ่มเป็นลูกเจี๊ยบ โตพอดูรู้ว่าวัยรุ่นกำลังจะเป็นไก่ตัวผู้ ต้องฝึกให้มันขันไม่เป็น


    ไก่เวลาจะขันมันจะกระดกหัวโก่งคอขึ้นเพื่อขัน คนไทใหญ่จะเอาถุงก๊อบแก๊บมาใส่ไก่ ผูกปากถุงไว้ พอไก่โก่งคอขึ้น ก็จะติดปากถุงจนโก่งคอไม่ได้ ต้องหุบคอลง ทำอย่างนี้ตลอดจนไก่ตัวผู้ขันไม่เป็น โก่งคอขันไม่เป็น ไก่จะอยู่กันเงียบ ๆ

    เวลาทหารพม่าเข้ามาในหมู่บ้าน ถ้าได้ยินเสียงไก่ มันจะตามไปรื้อค้นเอาไก่ไปหมด เขาเลยต้องฝึกไม่ให้ไก่ส่งเสียงดัง

    และไก่ประเทศอื่นจะนอนบนคอน แต่ไก่ไทใหญ่ถูกฝึกให้นอนใน "ก๋วย" (ตะกร้าสาน) ก้นตะกร้าเอาใบไม้รองไว้ เจ้าของบ้านต้องเอาตะกร้าไปเทใบไม้ที่เปื้อนขี้ไก่ออกทิ้งทุกวัน แล้วเปลี่ยนใบไม้ให้ไก่ใหม่ทุกวัน

    ที่ให้ไก่นอนในก๋วย ก็เพราะถ้าไก่จับคอนนอน ไก่จะขี้ลงพื้น ทหารพม่าเข้ามาในหมู่บ้าน เห็นขี้ไก่ จะตามไปเอาไก่ หาให้มันไม่ได้ มันยิงเจ้าของไก่ทิ้ง ถ้าไก่นอนในก๋วยเงียบ ๆ ไม่ส่งเสียง เวลาทหารพม่าเข้ามาในหมู่บ้าน ผู้ชายเจ้าของบ้านกับลูกชายลูกสาวจะอุ้มก๋วยไก่วิ่งหนีเข้าป่า เหลือแต่เมียแก่ ๆ เฝ้าบ้าน เพราะเมียแก่ ๆ พม่าเอาไปเป็นลูกหาบไม่ได้ และมันไม่ค่อยอยากข่มขืนคนแก่ มีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าคนอื่น ๆ ในบ้าน

    ส่วนวัวไทใหญ่ก็กลัวทหารพม่าเช่นกัน คนไทใหญ่ไปเลี้ยงวัวชายป่าชายนา จะไม่ผูกวัวกับหลัก วัวจะหูดี ฟังเสียงได้ไกล เวลาวัวได้ยินภาษาพม่าแว่วลอยมาตามลม วัวจะเบิ่งตาหูชันดิกฟังเสียง แล้ววิ่งเข้าป่า หนีเลย เหมือนหนีเสือ เจ้าของวัวก็คอยสังเกตวัว พอวัววิ่ง เจ้าของก็วิ่งเข้าป่า เตลิดเปิดเปิงตามวัวไป เพราะวัวมันรู้ว่าวิ่งทางไหนไม่มีทหารพม่า วัวมันเห็นเพื่อนมัน ถูกทหารพม่าจับฆ่ากินติดกันหลายปี บางทียืนเชือดเนื้อออกจากตัววัวทั้งเป็น ๆ เพราะไม่มีตู้เย็น เก็บเนื้อไม่ได้ มันไม่ฆ่าวัว แต่เชือดไปกินทีละส่วน ปล่อยวัวเจ็บ ๆ นอนร้องครวญครางอยู่อย่างนั้น เพื่อนวัวด้วยกันได้เห็น จนวัวมันกลัวและรู้วิธีเอาตัวรอดแล้ว


    หมาไทใหญ่กับแมวไทใหญ่เหมือนกัน ไม่เคยเห่าทหารพม่า ได้ยินภาษาพม่ามันรู้เลย วิ่งเข้าป่าหางจุกตูดทั้งหมาทั้งแมว เพราะถ้าทหารพม่าเจอ มันจะบอกเจ้าของบ้าน แมวตัวนี้น่ารักดีนะ แล้วอุ้มเอาไป ไม่ใช่ไปเลี้ยง แต่ไปเชือดกิน

    คนไทใหญ่ในรัฐฉานแต่ละหมู่บ้านจะมีเวรยามเฝ้าประจำ ถ้าทหารพม่าเข้าหมู่บ้านไหน คนไทใหญ่จะรู้ก่อนบ้างจากการสังเกตสัตว์เลี้ยง หมา แมว วัว เพราะสัตว์มันจะออกอาการก่อน เพราะมันฟังรู้ว่าภาษาพม่าเข้ามาเมื่อไหร่ มันตายแน่ มันเห็นเพื่อนมันโดนมา และคนไทใหญ่จะจัดกันเป็นเวรยาม พม่ามา เขาสังเกตอาการสัตว์รู้ปุ๊บ เขาจะวิ่งบอกทั่วหมู่บ้านใครหนีทันก็โชคดีไป หนีไม่ทันก็ตายบ้าง โดนจับตัว โดนข่มขืน และเขาจะวิ่งไปบอกหมู่บ้านถัดไปด้วย เขาช่วยกันทุกหมู่บ้าน ไม่งั้นมันอยู่ไม่ได้จริงๆ

    เราฟังแล้ว หัวเราะไม่ออก ทั้งที่ถ้าเป็นชีวิตปกติคงหัวเราะกลิ้งกับการฝึกไก่ไม่ให้ขัน หมาไม่เห่า วัวหูตั้งวิ่งหนีพม่าเข้าป่า แต่ไปฟังท่ามกลางคนทุกข์ยากที่เล่าไปน้ำตาไหลไป แต่เขาเห็นเป็นธรรมดาของชีวิต เพราะเขาเจอกันมาตั้งแต่เกิด เขายังหัวเราะอยู่กับบางตอน บางเรื่องที่เล่าให้เราฟังได้ หัวเราะกับการพยายามหนีพม่า เอาตัวรอดด้วยวิธีการแปลกประหลาด สารพัดจะทำ และการถ่ายทอด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2007
  13. undeath13

    undeath13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    1,479
    ค่าพลัง:
    +1,830
    อยากบริจาคให้สัก100ล้านเลยนะเนี่ยจะได้เอาไปสู้กะพม่าให้จบๆไป พม่า นี่อะไรนักหนา ฆ่า ข่มจืน เผาเมือง ชาวไท มาตั้งแต่กรุงศรีปัจจุบัน ก้อยังทำอยู่ ถึงว่าบ้านเมืองมันไม่เจริญ ถุด
     
  14. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,048
    นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว

    [​IMG] ชื่อจริง นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว

    ประวัติการศึกษา
    เกิดที่เพชรบุรี จบชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และปริญญาโทจากภาควิชาภาคตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

    ประวัติการทำงาน / ผลงาน
    เริ่มเขียนหนังสือทั้งเรื่องสั้น บทความ บทวิจารณ์ในหลายนามปากกาตั้งแต่เรียนอยู่มหาวิทยาลัย พร้อมๆ กับทำงานประจำกองบรรณาธิการวารสารปาจารยสาร หลังจบการศึกษาได้ทำงานช่วงสั้นๆ กับองค์กร NGOs ร่อนเร่เก็บเมล็ดพันธุ์พืชพื้นเมืองอยู่ที่หมู่บ้านชาวเขาในจังหวัดพะเยา เชียงราย น่าน ต่อมา เป็นเจ้าหน้าที่โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ผู้ช่วยบรรณาธิการนิตยสาร THE EARTH 2000 นักวิชาการ ประจำมูลนิธิประไพ วิริยะพันธุ์ กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์สารคดี ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ มี บทความ เรื่องสั้น และงานเขียนสารคดีเชิงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้านไทย ตีพิมพ์ในนิตยสาร ต่างๆ อาทิ GENERATION ดีเคด สารคดี เมืองโบราณ ศิลปวัฒนธรรม แพรว ELLE ฯลฯ ในชื่อ จริงและนามปากกาที่เปิดเผยแล้วและใช้อยู่ถึงปัจจุบันคือ "เดคาเมรอน"

    ผลงานที่ผ่านมา
    <TABLE style="PADDING-TOP: 15px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><!-- row --><!-- book --><TBODY><TR style="PADDING-BOTTOM: 10px"><TD vAlign=top width=90>[​IMG]



    [​IMG]
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px" vAlign=top width=160>รอยทางแห่งเวลา

    ประเภท : สารคดี / บทความ / ท่องเที่ยวเดินทาง




    ประติมา

    รื่องสั้น
    </TD><TD vAlign=top width=90>[​IMG]



    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px" vAlign=top width=160>บันทายฉมาร์ เดียงพลาโต และหลวงพระบาง

    ประเภท : สารคดี / บทความ / ท่องเที่ยวเดินทาง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2007
  15. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,048
    <TABLE class=tborder id=post521985 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>pattarawat<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_521985", true); </SCRIPT>
    สมาชิก GOLD
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: เมื่อวานนี้ 07:54 PM
    วันที่สมัคร: Jul 2006
    ข้อความ: 1,608 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 10,441 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 6,694 ครั้ง ใน 1,408 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 832 [​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_521985 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->เลียนแบบพี่เม้า

    ขอเบิกบุญและโอนส่งบุญ ไปให้ชาวไทใหญ่
    และทุกจิตวิญญาณที่ต้องทนทุกข์ทรมาณ
    ให้ได้พบสันติสุขในเร็ววัน
    ความเมตตา ขอให้ไหลหลั่ง สู่ชุมชนคนกลุ่มน้อยนี้

    ขอให้ฟื้นคืนกลับมาสงบสุขเสียทีนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ

    ขอโมทนากับป้าง้วนนะครับ สาธุ
    <!-- / message --><!-- sig -->
    ____________________________________________________________
    "เด็กไทใหญ่" น่าสงสารมาก ลองอ่านดูครับ .. ขอเชิญร่วมบริจาคช่วยเด็กไทใหญ่
    <!-- / sig --><!-- edit note --><HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1>แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pattarawat : เมื่อวานนี้ เมื่อ 07:29 AM.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ขอบคุณจ้าเอ็ม
    ที่ช่วยทำลายเซ็นให้อิกคน

    ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน...มาเป็นกำลังใจให้ชาวไทใหญ่
     
  16. lepus

    lepus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,881
    <TABLE cellSpacing=0 width="80%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top><CENTER>เจ้ายอดศึกผู้กล้าแห่งรัฐฉาน

    </CENTER>
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]พิมุข ชาญธนะวัฒน์[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ร.ร.บ้านห้วยแห้ง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ๕๘๑๕๐[/FONT]



    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]เจ้ายอดศึก ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๔) อายุ ๔๓ ปี เป็นชาวไทยใหญ่โดยกำเนิด เกิดที่บ้านกุงยุม ตำบลเมืองยาย อำเภอเมืองหนอง จังหวัดตองยี พ่อชื่อนายส่างหลู่ แม่ชื่อนางคำ มีพี่น้อง ๕ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๒ คน ผู้ชายเป็นพระ ๑ รูป เป็นทหาร ๒ คน คือ ตัวเจ้ายอดศึก และน้องชายที่เป็นทหารสื่อสาร สังกัดกองทัพกู้ชาติรัฐฉาน เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ในโรงเรียนละแวกบ้านเกิด[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]อายุ ๑๗ ปี สมัครเข้าเป็นทหารในกลุ่ม SURA (Shan United Revolutionary Army) ซึ่งมีเจ้ากอนเจิง เป็นผู้บัญชาการสูงสุด โดยมี พ.ต.ขุนกู่ ผบ.กองทัพภาคที่ ๓ เป็นผู้ดูแล และได้รับการฝึกทหารกับเจ้าฮักเมือง เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวประจำพม่าและเมืองไต (รัฐฉาน)[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ปี ค.ศ. ๑๙๗๙-๑๙๘๐ เข้ารับการฝึกด้านการปกครองจาก เจ้าคำอู และฝึกด้านการเมืองการทหารจากเจ้ากอนเจิง และเจ้าคืนใส ปี ค.ศ. ๑๙๘๑-๑๙๘๒ ขึ้นเป็น ผบ.ร้อยที่ ๑ เคลื่อนไหวพื้นที่เมืองไต (รัฐฉาน) ภาคใต้ และต่อมาเป็น ผบ.พัน คุมพื้นที่ น้ำจ๋าง, เมืองนาย, ลางเคอ, โขหลำ และเกงตอง[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ต่อมา ปี ค.ศ. ๑๙๘๔ เจ้าจ๋ามใหม่ ซึ่งคุมกองทัพภาคที่ ๒ SSA ภาคใต้ ได้ส่งเจ้าฟ้ามุ่ง และเจ้าอุงแหล่ง มาประชุมร่วมกัน มีมติให้รวมกันกับเจ้ากอนเจิง ซึ่งคุมกำลัง SURA (Shan United Revolutionary Army) จัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ Tailand Revolutionary Council หรือ TRC และใช้ชื่อกองทัพว่า Tailand Revolutionary Army หรือ TRA[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ในปี ค.ศ. ๑๙๘๕ ขุนส่า หรือจางซีฟู ได้นำกองทัพ SUA (Shan United Army) เข้ารวมกับกองทัพไทยใหญ่ทั้งหมด เนื่องจากผู้นำกองทัพไทยใหญ่ (เจ้ากอนเจิง) ขาดงบประมาณสนับสนุนกองทัพแล้วจัดตั้ง MTA (Mong Tai Army) หรือกองทัพเมืองไต (ไทยใหญ่) เปลี่ยนชื่อพรรคการเมืองเป็น Shan State Restoration Council มีขุนส่าเป็นผู้นำสูงสุด ซึ่งพันเอกยอดศึกได้รับหน้าที่ฝ่ายยุทธการเคลื่อนไหวทางภาคใต้และภาคกลาง[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ปลายปี ค.ศ. ๑๙๙๕ เกิดยุทธการสู้รบกับพม่าที่ดอยหินกอง นานถึง ๔๕ วัน นับเป็นวีรกรรมที่ห้าวหาญครั้งสำคัญของพันเอกยอดศึก[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ต้นปี ค.ศ. ๑๙๙๖ ขุนส่า (ซึ่งทนแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกา ไทย และนานาชาติ เกี่ยวกับปัญหายาเสพย์ติดไม่ได้) ตัดสินใจมอบ "หัวเมือง" ฐานที่มั่นสำคัญฝั่งตรงข้ามอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนให้พม่า ประกาศยุติการต่อสู้กับพม่า สลายกองกำลัง MTA ขอลี้ภัยกับทหารพม่า แลกกับการถูกจับกุมตัวไปขึ้นศาลที่อเมริกา ในฐานะอาชญากรโลก พันเอกยอดศึกตัดสินใจนำทหารที่รักเชื้อชาติไทยใหญ่ภายใต้การบังคับบัญชาของเขาประมาณ ๘๐๐ นาย ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าข้ามลำน้ำสาละวิน มุ่งหน้าไปทางตะวันตก และตั้งเป็นกองกำลังกู้ชาติขึ้นมา ในนามของกองทัพสหปฎิวัติแห่งรัฐฉาน หรือ Shan United Revolutionary Army (SURA) ในเวลาไล่เลี่ยกันนายทหารไทยใหญ่คนอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับขุนส่า ได้แอบพาทหารใต้บังคับบัญชา นำอาวุธหลบเข้าไปสร้างค่ายในป่าลึก หลบหนีการตามล่าจากทหารพม่า และต่างกลุ่มก็ได้วางแผนการต่อสู้กับพม่า มีการเรียกชื่อกลุ่มของตนแตกต่างกันไป[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ต่อมาวันที่ ๑๓ กันยายน ค.ศ. ๑๙๙๖ จึงได้จัดประชุมร่วมกัน และมีมติให้รวมกองทัพไทยใหญ่ ๓ กลุ่ม คือ SSA, SSNA และ SURA ใช้เพียงชื่อเดียวเพื่อความเป็นเอกภาพว่า กองทัพแห่งรัฐฉาน หรือ Shan State Army (SSA) มีพันเอกเจ้ายอดศึกเป็นผู้บัญชาการสูงสุด[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ตามประวัติแล้วเจ้ายอดศึก ไม่ใช่บุคคลที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเจ้าฟ้าแห่งเมืองไทยใหญ่ เข้าเป็นทหารไทยใหญ่ที่มีความสามารถในการต่อสู้ กล้าหาญ นำกำลังพลใต้บังคับบัญชาออกศึกสู้รบกับพม่า ในลักษณะร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ จนเป็นที่รักเคารพและยอมรับของทหารทั่วไป แต่ถูกเรียกว่า "เจ้า" นำหน้าชื่อนั้น เพื่อเป็นการให้เกียรติ หรือเป็นการแสดงความเคารพยกย่อง บางครั้งชาวไทยใหญ่ หรือทหารไทยใหญ่จะเรียกเขาว่า "พ่อเฒ่าหลวง" (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือ "เจ้าป๋องกาน" (เจ้าผู้บัญชาการ) ชื่อเหล่านี้เป็นการเรียกแบบให้เกียรติ แสดงความเคารพยกย่องผู้กล้าหาญแห่งรัฐฉานนั่นเอง[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ต่อมาวันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๐๐ ถึงวันที่ ๓ มกราคม ค.ศ. ๒๐๐๑ ได้มีการประชุมผู้นำคนสำคัญของไทยใหญ่ ณ ฐานที่มั่น ดอยไตแลง (ไต หมายถึง ไทยใหญ่, แลง หมายถึง แสงสว่าง) บางครั้งเรียก "ฐานที่มั่นน้ำเพียงดิน" ซึ่งเริ่มก่อตั้งในปี ค.ศ. ๑๙๙๙ ฝั่งตรงข้ามอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ประชุมมีมติให้แต่งตั้ง พันโทเคือเงิน ผบ.กองพลน้อยที่ ๗๕๗ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพรัฐฉาน-SSA แทนเจ้ายอดศึก[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ส่วนเจ้ายอดศึกดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน หรือ Restoration Council of the Shan State (RCSS)[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]ข้อมูลอ้างอิง[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]๑. Shan State Army News, vol. 1, No. 11, November 1999[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]๒. Freedom News, vol. 1, No. 1, January, February 2001[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, DB ThaiText Extra]๓. สัมภาษณ์เจ้ายอดศึก ณ ดอยไตแลง [/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    .........................................


    สำนักข่าวอิสระไทใหญ่ (S.H.A.N.) รายงานวันที่ 10 มี.ค. 50 ว่า ช่วงระหว่างการบุกโจมตีกองกำลังกะเหรี่ยง KNU ของทหารพม่าเมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมา ทหารพม่าได้มีการสับเปลี่ยนและเสริมกำลังพลในพื้นที่ภาคตะวันออกของรัฐฉานและตามแนวชายแดนไทย โดยเฉพาะในพื้นที่เคลื่อนไหวของกองกำลังไทใหญ่ SSA ด้านจังหวัดเชียงใหม่อย่างผิดสังเกต ffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    โดยเมื่อวันที่ 6 มี.ค. กองกำลังทหารพม่าได้มีการสับเปลี่ยนกำลังพลที่ประจำอยู่ตามแนวชายแดนไทยใกล้กับฐานดอยดำของกำลังไทใหญ่ SSA ตรงข้ามบ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยถอนกำลังพลที่ประจำการอยู่เดิมคือกองพันทหารราบที่ 226 ออกและแทนที่ด้วยกำลังพลจากกองพันทหารราบที่ 43 นอกนั้น กองทัพพม่าได้เสริมกำลังพลรวมสองกองพันมายังบ้านหัวเมือง (อดีตที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพเมืองไต MTA ของขุนส่า) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากดอยไตแลง บก.กองกำลังไทใหญ่ SSA อีกด้วย โดยกองพันที่ถูกส่งมานี้ได้แก่ เป็นกองพันทหารราบเบาที่ 296 และ 422 <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    และเมื่อวันที่ 9 มี.ค. หลังการโจมตีกองกำลังกะเหรี่ยง KNU เพียงหนึ่งวัน ได้เสริมกำลังพลของทหารพม่ามายังเมืองจ๊อด ตรงข้ามอำเภอเวียงแหง และอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ด้วยรถบรรทุกจำนวน 10 คัน ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีทราบสังกัดและวัตถุประสงค์ของกำลังพลที่ถูกส่งมาในครั้งนี้ ส่วนเมืองจ๊อตเป็นประตูสู่ฐานสำคัญของกองกำลังไทใหญ่สองแห่ง ได้แก่ฐานดอยไตแลง ตรงข้ามอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน และฐานดอยดำ ตรงข้ามอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ทางด้าน พ.อ.เจ้ายอดศึก ผู้นำกองกำลังไทใหญ่ SSA เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวของทหารพม่าในครั้งนี้คาดว่า เพื่อต้องการข่มขู่กองกำลังไทใหญ่ SSA ไม่ให้ไปช่วยเหลือกะเหรี่ยง KNU ที่เป็นพันธมิตรกันมากกว่า <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    กองกำลังไทใหญ่ SSA กับกองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังคะเรนนี (คะยา) เป็นกองกำลังพันธมิตรโดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกทหารพม่าโจมตีก็จะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเมื่อครั้งที่ทหารพม่ายกพลบุกโจมตีกองกำลังคะเรนนี ที่ดอยย่ามู ตรงข้ามอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนเมื่อปี 2548 ซึ่งเกิดการสู้รบกันอย่างดุเดือดนั้น กองกำลังไทใหญ่ SSA ได้ส่งกำลังไปช่วยตีตลบหลังจนทำให้ทหารพม่าต้องล่าถอยมาแล้วครั้งหนึ่ง<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    อย่างไรก็ตาม ด้านสำนักข่าวสำนักข่าวกันตาระวดีไทม์ รายงานอ้างคำเปิดเผยของพล.ต.บีทู เสนาธิการกองกำลังคะเรนนีว่า นายทหารชั้นประทวนของพม่านายหนึ่งที่หลบหนีมาเข้าร่วมกับกองกำลังคะเรนนีเปิดเผยว่า กองทัพพม่ามีแผนเปิดศึกกวาดล้างกองกำลังไทใหญ่ SSA และกองกำลังคะยา ในช่วงเดือนเมษายนนี้ ซึ่งขณะนี้กองทัพพม่ากำลังเตรียมเสบียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์อยู่ พร้อมกับเปิดเผยอีกว่า มีทหารพม่าชั้นผู้น้อยพากันหนีทัพเป็นจำนวนมาก เหตุเนื่องจากถูกเอารัดเอาเปรียบจากการแบ่งชั้นแบ่งชนชาติ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
    ---------------------------------------------------------------<O:p></O:p>
    ข่าวทั้งหมดแปลและสรุปความโดยสำนักข่าวเชื่อม เป็นหน่วยงานข่าวภาคภาษาไทยของสำนักข่าว S.H.A.N (Shan Herald Agency for News) ซึ่งเป็นเครือข่ายของศูนย์ข่าวสาละวิน (Salween News Network) ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ chuem@cm.ksc.co.th และ snn_news@cm.ksc.co.th พร้อมติดตามอ่านข่าวสารย้อนหลังรวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศพม่าภาคภาษาไทยได้ที่ www.salweennews.org ภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org และภาคภาษาไทยใหญ่ได้ที่ www.mongloi.org<O:p></O:p>
     
  17. lepus

    lepus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,881
    ชาวไทยใหญ่ เผ่าพันธุ์ใกล้ชิดที่สุดของ "ไทยน้อย" หรือพี่น้องคนไทยในอาณาจักรสยามวันนี้ พวกเขามีประวัติการต่อสู้มายาวนาน

    เริ่มจาก "เจ้าเสือข่านฟ้า" ผู้นำไพร่พลรบทหารจีนทางตอนใต้ หรือยูนนานปัจจุบัน ในยุคเคลื่อนอพยพมาจากดินแดนมองโกเลีย "ขุนส้าต้นฮุ่ง" ขุนศึกผู้กล้า สามารถนำกำลังรบชนะพม่าตั้งแต่สู้อยู่เมืองแสนหวี เมืองต้อ เมืองเกา กระทั่งถึงยุคสมัยของ "เจ้ากอนเจิง" หรือ "โมเฮง" หัวหน้ากองทัพไทใหญ่ ผู้ต่อสู้จนแขนขาดในสนามรบเมืองหาง และเคยร่วมกับกองกำลัง "ขุนส่า" ตีตัดเมืองเปียหลวงของพม่า

    ครั้นขุนส่าขึ้นเป็นผู้นำ และต่อมาสนใจแต่เรื่องเศรษฐกิจ มุ่งเน้นขายยาเสพย์ติด กระทั่งยอมวางอาวุธ "เจ้ายอดศึก" อดีตทหารสื่อสารของเจ้ากอนเจิง และเคยรบเคียงบ่ามากับขุนส่า ได้นำพลรบ 1,500 นาย ตีฝ่าการปิดล้อมไล่ล่าของพม่า ข้ามแม่สาละวินมาตั้งมั่นยังฝั่งตะวันออก เฝ้าฟูมฟักพลพรรคขึ้นต่อสู้อีกครั้ง

    ระบุตามพงศาวดาร ว่า พ.ศ.1830 รัฐฉานมีอิทธิพลเหนือรัฐต่างๆ ในประวัติศาสตร์โบราณของพม่า ผู้ปกครองไทใหญ่มีบทบาทในการจรรโลงศิลปะวัฒนธรรมและการศาสนา โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ

    กลุ่มคนรัฐฉานปกครองโดยระบบ "รัฐเจ้าฟ้า" รัฐต่างๆ มีอิสระในการปกครองตนเอง แต่หลายครั้งที่พม่าและจีนใช้กำลังรุกราน ก็ไม่สามารถครอบครองได้

    กระทั่งพม่าตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ โดยเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินเดีย ส่วนรัฐฉานนั้น อังกฤษแยกปกครองโดยให้เจ้าฟ้าคงอำนาจปกครองตามขนบเดิม ชาวไทใหญ่จึงยังพอใจกับวิถีชีวิต แม้จะมีข้าหลวงอังกฤษคอยควบคุมอำนาจทางเศรษฐกิจ ทางศาล และทางการเมือง

    แต่หลังจากพ.ศ.2491 เมื่อพม่าได้รับอิสรภาพ นับวันสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทใหญ่ ยิ่งย่ำแย่ เพราะวันคืนนั้นรัฐฉานเสมือนตกเป็นอาณานิคมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยพม่า

    ภายใต้แรงกดดันทั้งปวง การต่อสู้ในด้านสภาของเจ้าฟ้าและผู้นำรัฐต่างๆไม่ประสพผล ไม่เพียงขาดแคลนงบประมาณ พม่ายังละเลยการมอบเอกราชให้แก่รัฐฉาน ดังนั้น เมล็ดพันธุ์แห่งการต่อสู้ จึงก่อกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2501 มีผู้กล้ารวมกลุ่มกันขึ้นในนาม "หนุ่มศึกหาญ" หรือนักรบรุ่นเยาว์ พวกเขามีกำลังเพียง 31 คน มีอาวุธปืนทำมือ 17 กระบอก

    นี่คือวันกำเนิดกองทัพรัฐฉาน (Shan State Army - S.S.R.) และวันที่ 21 พฤษภาคมของทุกปี นักรบไทยใหญ่จักเข้าร่วมชุมนุมใหญ่ บูชาผีบ้านผีเมือง บูชาบรรพบุรุษ และให้สัตย์ปฏิญาณต่อวีรชนผู้พลีชีพในทุกสมรภูมิแห่งการต่อสู้กู้เอกราช

    จากการต่อสู้ที่ดำเนินมากว่า 30 ปี เมื่อถึงจุดไร้ทิศผิดทาง โดยเฉพาะภาพลักษณ์ขุนส่าคือนักค้ายาเสพย์ติด จนขุนส่านำกำลังร่วม 3 หมื่นคนไปอยู่กับพม่า สร้างความเสียหายให้แก่ขบวนการเป็นที่สุด

    "เจ้ายอดศึก" และมิตรร่วมรบส่วนหนึ่ง ประชุมกำหนดอนาคตของตน แต่แล้วถูกกำลังพม่าบุกเข้าบดขยี้ และนั่นเป็นบทสรุปให้เจ้ายอดศึกกับกำลังพล 1,500 นาย หันปากกระบอกปืนเข้ารบพุ่งกับพม่าทันที ทั้งๆ ที่ยังไม่มีเข็มมุ่ง นโยบาย หรือแม้แต่สัญลักษณ์ใดๆ ของกองกำลังที่รวบรวมขึ้นมาใหม่

    เวลาเพียง 4 ปี นับแต่เจ้ายอดศึกเชิญธงผืนใหม่สู่ยอดเสา เพื่อประกาศสงครามเอกราช เพื่อประชาชนหลุดพ้นการกดขี่ขูดรีด และเพื่อพิทักษ์ทรัพยากรของมาตุภูมิ วันนี้ชาวไทใหญ่มีที่มั่นบ่มเพาะเยาวชน ฝึกอบรมนายทหารและผู้นำทางการเมือง มีกำลังรบนับหมื่นกว่าคน ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากยิ่งขึ้น

    ความสำเร็จเบื้องต้นนี้ ได้มาจากการทบทวนและสรุปบทเรียนของการต่อสู้ที่ผ่านมา ได้แก่ ขาดประสบการณ์ทางการทหาร, การเห็นแก่ประโยชน์ตน, ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย, ไม่ติดต่อแนะนำตนเองกับต่างประเทศ, ยุทธศาสตร์-นโยบายทั้งภายในและภายนอกไม่ถูกต้อง ฯลฯ

    ขณะเดียวกัน มีการกำหนดนโยบายเร่งด่วน 6 ข้อ คือ

    1.สามัคคีชาวไทใหญ่ 2.ทำสงครามเอกราช 3.ปกครองระบอบประชาธิปไตย 4.พัฒนาประชาชน 5.ร่วมมือทุกฝ่ายต้านยาเสพย์ติด และ 6.สร้างความสงบร่มเย็นขึ้นในรัฐฉาน

    เข็มมุ่งคือ สร้างกองทัพให้เข้มแข็ง ระดมชาวไทยใหญ่เข้าร่วมสงครามเพื่อเอกราช

    สำหรับรูปแบบการปกครองในสถานการณ์สู้รบ มีเจ้ายอดศึกเป็นผู้นำสูงสุด มีสภากอบกู้รัฐฉาน (Restoration Council of the Shan State) ประกอบด้วยฝ่ายการศึกษา, ฝ่ายต่างประเทศ, ฝ่ายทหาร, ฝ่ายติดต่อประสานงาน, ฝ่ายเศรษฐกิจ และฝ่ายปกครอง ฯลฯ ร่วมบริหารงาน
     
  18. lepus

    lepus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,881
    บทกวีกลางไฟสงคราม

    ความรู้สึกผูกพัน ของคนหนุ่มสาว ปานประหนึ่งเรื่องรักระหว่างรบ ไม่ได้ปรากฏอยู่ ในนวนิยายตามจินตนาการ
    ของนักเขียนเท่านั้น แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้น บนสมรภูมิสงครามทั่วทุกมุมโลก ตัวละครที่โลดแล่น
    ล้วนแต่มีตัวตน เลือดเนื้อ และชีวิตจริง

    เช่นเดียวกันกับความเป็นไปของผู้คนรอบดอยไตแลง รัฐฉาน ในวันนี้
    เสียงปืนของศัตรูผู้รุกรานไม่อาจทำลายความรู้สึกอันงดงามอ่อนโยนของผู้คนกลุ่มนี้ลงได้ นวลแก้ว บูรพวัฒน์
    รายงาน

    1.
    เสียงปืนบนฐานทัพไทใหญ่ รอบดอยไตแลง รัฐฉาน ตรงข้าม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
    ระเบิดขึ้นอย่างรุนแรงตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา

    การสู้รบดุเดือดเต็มรูปแบบระหว่างไทยใหญ่กับกองทัพว้าแดงของเหว่ยเซียะกังผ่านไปหลายครั้ง
    ในชีวิตกรำศึกของนักรบกู้ชาติไทใหญ่ เฝ้าประจำอยู่บนฐานทัพ แต่ละวันของการสู้รบ ขุดสนามเพลาะ
    สร้างบังเกอร์ หาบน้ำ ต้มชา รวมกลุ่มกันกินข้าว ความรื่นรมย์ที่สุดของพวกเขาอยู่ตรงที่
    เมื่อเปิดห่อข้าวสุกที่อัดแน่นมาในถุงพลาสติก กระดาษชิ้นเล็กสอดมาในห่อข้าว คือ
    สิ่งแรกที่หนุ่มทหารทุกคนควานหา หยิบออกมาแบ่งกันดู ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่
    และเฝ้าสงสัยว่าเจ้าของลายมือที่ร่ายบทกวีหวานสะท้านใจ.หน้าตาเธอเป็นอย่างไร

    " ทำศึกเสร็จแล้วเรามาเป็นแฟนกันนะ"

    " ใช่ หนูคิดไม่ผิด พี่ต้องต่อสู้กับพม่า" ฯลฯ

    หลากหลายถ้อยคำที่เต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นและให้กำลังใจ จากแนวหลังฝากถึงนักรบแนวหน้า ส่งผ่านมากับ
    ' ปลาร้าฉ่อง ' น้ำพริกปลาแห้งปรุงรสคั่วกับพริกกระเทียมทอด แกล้มผักจิ้ม เมนูอาหารเดิมแทบทุกวัน
    ที่ความน่าเบื่อหายไปหมดสิ้น พาให้เกิดกำลังใจกระปรี้กระเปร่ากินข้าวได้ลงคอกันถ้วนทั่ว
    ยามหนุ่มทหารหยิบบทกวีของสาวๆ บนดอยไตแลงขึ้นมาละเลียดอ่านแกล้มข้าว ด้วยความปลื้ม.

    " ผมชอบกลอนมากที่สุด."

    ขุนศึกโหลง (ร้อยเอก) จายกอน วัย 37 ปี นายทหารหน้าคมเข้ม ดวงตาอ่อนโยนแจ่มใสผู้ควบคุมดูแลฐานป่าไม้
    อยู่ห่างจากดอยไตแลงประมาณ 3 กิโลเมตรหัวเราะอายๆ เมื่อถูกถามถึง ' บทกวี ' จากสาวไทยใหญ่
    ที่ทำให้นักรบแนวหน้าตื่นเต้นกันนัก และเป็นที่สุดของบทสนทนาแห่งความชื่นบาน.สำหรับเหล่านักรบในแต่ละวัน


    " ช่วงสู้รบ มีข้าวจากดอยไตแลงมาส่งวันละ 2 ครั้ง"
    อ้ายจายกอนบอกเล่ารายละเอียดให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

    " ในห่อข้าวมีกลอนใส่มา เวลาได้ห่อข้าวหนุ่มๆ ลูกน้องผมจะรีบเปิดดูกลอนก่อนเลย
    เจอกลอนอ่านแล้วมาแบ่งกันดู ได้อ่านหัวเราะเบิกบานมาก เราล้อกันเล่นสนุก เย้ากัน เอาจดหมายมาคุยกัน
    อ่านแล้วชื่นบาน มีกำลังใจขึ้นมาก สาวๆ เขียนกลอนมาเป็นภาษาไต ( ไทยใหญ่) , ภาษาไทยก็มี
    เพราะมีคนอ่านภาษาไทยได้ พวกทหารสงสัยมากว่าคนแต้ม(เขียน) เป็นใครกันหนอ อยากรู้ว่าเป็นใคร
    อยากเห็นหน้าเห็นตา อยากรู้จักกัน ได้เห็นกลอนแล้วอยากเห็นหน้าที่สุด ได้เห็นหน้าคงดี
    บางคนเขียนคำกลอนหวานๆ เจอหน้าจริงจะเป็นอย่างไรหนอ.เราไม่เคยได้เจอกันเลย.แต่ผมไม่ค่อยได้อ่านนะ
    พวกลูกน้องเขาอ่านกัน"

    อ้ายจายกอนปฏิเสธพัลวัน หัวเราะเขินๆ เมื่อถูกขอให้หยิบ ' บทกวี ' ตัวอย่างจากแนวหลังมาให้ดู

    " ที่ผมจำได้ก็มี ' กลอนฝากถึงสนามรบ ให้รบปลอดภัย น้องอยู่ข้างหลังขอให้กำลังใจ '
    ลูกน้องผมอ่านแล้วมีความสุขมาก เราเริ่มได้กลอนมาตั้งแต่เปิดหน้าศึก (เริ่มสู้รบ) พวกทหารหนุ่มๆ อายุ
    18-19 ยังไม่มีเมีย จะตื่นเต้นมาก แล้วเขาจะชอบเขียนกลอนกันด้วย คนมีเมียแล้วไม่ค่อยเขียน
    ลูกน้องแต่ละคน ถ้าเขาเขียนหนังสือได้ เขาจะมีสมุดกับปากกาติดตัวมา มีกันทุกคน เอาไว้พักผ่อน เขียนกลอน
    เขียนจดหมายถึงสาว เวลาว่างจากการรบก็นั่งแต้ม บางคนเขียนในที่นอน.ว่างๆ
    เห็นนั่งเขียนกันทั้งนั้นเลย"

    เรื่องสาวๆ เขียนกวีปลอบประโลมใจทหารแนวหน้าก็น่ารักน่าตื่นเต้นมากแล้ว ส่วนหนุ่มน้อยทหารไทยใหญ่นั้น
    ยามอยู่กลางความเป็นความตายในสนามรบ สิ่งเดียวที่ปลอบใจให้คลายเหงา
    และปลดปล่อยความอัดอั้นใจจากสภาพบีบคั้นรอบด้าน
    บทกวีที่กลั่นกรองจากชีวิตในแต่ละวันดูจะเป็นการระบายออกทางจิตใจที่ดีที่สุดในเวลานั้น

    2.

    " ใช่ค่ะ พวกทหารแนวหน้าเขียนกลอนกันมากจริงๆ" แสงคำ สาวน้อยไทยใหญ่วัย 18
    ปีจากเมืองล่าเสี้ยวยืนยันให้ฟัง

    " ยิ่งรบยิ่งเขียนกันมาก ช่วงรบกันมีบทกวีเป็นร้อยชิ้น พวกทหารอยู่ในรูดินรบไปเขียนบทกวีไป
    เขียนแล้วก็ฝากบทกวีจากหน้าศึก (จุดสู้รบ) มาให้อ่านออกอากาศที่โฮงปล่อยเสียง
    (สถานีวิทยุไทยใหญ่บนดอยไตแลง) แล้วเขาก็คอยฟังกันทุกเย็น หนูจำได้ว่ามีจดหมายจากแนวหน้า
    จากทหารไทยใหญ่ถามทหารว้าว่า ' ทำไมมารบกัน เราเชื้อชาติเดียวกัน ' บางคนเขียนบอก '
    เมื่อก่อนเรากับว้าที่รบกัน ไปหาผัก เจอกัน ให้ผักแลกกัน ว้าไม่มีข้าวกิน ไทยใหญ่ก็เอาข้าวให้
    มีอะไรแบ่งปันกันกิน อยู่เหมือนพี่เหมือนน้อง ตอนนี้พม่ามายุแหย่ให้เราพี่น้องต้องมารบกันเอง '
    พวกทหารว้าเขาก็พูดภาษาไทยใหญ่ เขาก็คอยฟังวิทยุของเราอยู่เหมือนกัน"

    และสำหรับตัวแสงคำเองนั้น เธอเล่าว่า "หนูก็เขียนกลอนให้กำลังใจศึกไต ( ทหารไทยใหญ่) ตอนรบกันแรกๆ
    พวกผู้หญิงไทยใหญ่ ครู พยาบาล นักเรียนสาวๆ มาช่วยกันเขียนกลอนเขียนจดหมายใส่ห่อข้าวส่งไปหน้าศึก
    ที่เขียนไปมีบอกว่า ' ตอนนี้พี่กินน้ำพริกก่อนนะคะ ถ้าการศึกเสร็จแล้วจะทำผักกาดแกงหอมๆ ให้กิน ,
    กลับจากแนวหน้ามาค่อยมาเจอกันใหม่ ' หนูเขียนไปวันหนึ่งยี่สิบกว่าห่อ แสงเฮิน
    เขาเขียนวันหนึ่งห้าสิบกว่าห่อ สาวๆ ไต (ไทยใหญ่) ต่างคนต่างเขียนใส่ห่อข้าวไปวันหนึ่งหลายร้อยห่อ
    นักเรียนทั้งโรงเรียนที่เป็นผู้หญิง มาเขียนกลอนกันทุกวัน คนแนวหลังเขียนกลอนฝากขึ้นไป
    เรามาช่วยกันให้กำลังใจทหารของเรา"

    แล้วอยากเจอกับทหารแนวหน้าบ้างไหม ?

    " โอ๊ย.อายค่ะ" แสงคำหัวเราะร่วน."ไม่เอาค่ะ ไม่ให้เจอ อาย หนูไม่ได้ใส่ชื่อจริง ใช้ชื่อ
    แลงแลง แลงแก้ว ตอนกำลังทำศึก ทหารของเราต้องการกำลังใจ เราต้องให้กำลังใจเขา
    เพราะเขาช่วยป้องกันเรา"

    แสงคำหยิบบทกวีลายมือหวัดๆ เขียนด้วยปากกาสีน้ำเงิน บนกระดาษสมุดเรียนออกมาให้ดู " ชิ้นนี้ดีนะคะ
    หนูจะอ่านให้ฟัง

    " เพื่อกอบกู้ประเทศไทยใหญ่

    ไม่มีเมียเลยต้องนอนกล่อมกระบอกปืนแทนสาว

    เพื่อนบางคนสนุกกับการรบ ไม่คิดกลับบ้าน

    เราต้องคลานลัดป่าเข้าสู่สนามรบ

    เอาปืนแหย่ผ่านพุ่มไม้ ตะแคงตัวเข้าไป

    เสียงปืนดังรอบทิศ ลากเพื่อนกันลงห้วย

    ยังนึกไม่ออกว่ารบกันเพื่ออะไร

    พม่าเข้ามายุแหย่ ให้เอาว้าคนเชื้อชาติเดียวกับเรา มารบกันเอง

    อย่าเห็นผิดอีก อย่าให้หลั่งเลือดของคนเชื้อชาติเดียวกันอีก

    อย่ายอมตนให้พม่าชั่วๆ

    บ้านเมืองเราจะไม่สงบสุข เพราะพม่าเป็นศัตรูกับเรา

    เลือดตกทาแผ่นดิน.ไม่มีประโยชน์อะไร"

    3.

    " จดหมายกับกวีที่ผู้หญิงเขียนใส่ห่อข้าวไปให้ทหาร เริ่มทำกันในรุ่นผม" พันเอกเจ้ายอดศึก
    ผู้นำกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ ( SSA) เล่าให้ฟังขณะนั่งอ่านบทกวีภาษาไทยใหญ่หลายบท
    ที่เขียนขึ้นในการสู้รบครั้งนี้

    " สมัย MTA ของขุนส่ายังไม่มี.ตอนปี พ.ศ. 2544 รบที่ปาคี มีผู้หญิงอายุเยอะเขียนกลอนใส่ห่อข้าวไป
    ทหารอ่านแล้วตื่นเต้นมาก เสร็จศึกพากันลงมาตามหาคนเขียน ลงมาหลายคน ไปเจอป้าแก่ๆ เป็นคนเขียน
    โอย.ผิดหวัง

    " พอปี 2546 รบที่ปางใหม่สูง เปียงหลวง ก็มีคนเขียนกลอนหวานๆ ใส่ห่อข้าวไปอีก
    ทหารอยู่หน้าศึกอ่านแล้วชื่นใจ ปีนี้ผมขอให้พวกสาวๆ เขามาเขียนกวีใส่ห่อข้าวให้แนวหน้า
    เขามารวมกลุ่มตั้งใจเขียนกันมาก ทหารได้อ่านสนุกทุกวัน มีกำลังใจขึ้นมาก"

    บทกวีที่อ่านออกอากาศใน ' โฮงปล่อยเสียง ' บนดอยไตแลงนั้น มีผลงานของ ' หมอกกอนคำ ' หรือ '
    ดอกเชอรี่ป่า ' ปรากฏอยู่เป็นระยะ ' หมอกกอนคำ ' เขียนบทกวีมาหลายสิบปี
    ตีพิมพ์อยู่ในวารสารภาษาไทยใหญ่อยู่เสมอ และเพิ่งมีคนเปิดเผยให้รู้กันเมื่อไม่กี่ปีก่อนว่า
    บทกวีไพเราะในนาม ' หมอกกอนคำ ' นั้น คือ ผลงานของ ' พันเอกเจ้ายอดศึก ' ผู้นำกองทัพกู้ชาติไทยใหญ่
    ที่บันทึกเรื่องราวแต่ละช่วงของการตรากตรำในสนามรบ บนเส้นด้ายของความเป็นและความตาย ไว้ในภาษากวี

    " ผมชอบเขียนหนังสือ" เจ้ายอดศึก บอกเล่าถึงบางแง่มุมของชีวิต ที่ไม่ค่อยมีใครได้รับรู้นัก
    "ผมเขียนบทกวีมาตั้งแต่อายุ 19 ปี อยู่กลางสนามรบ ไม่มีอะไรทำ กลางป่าเงียบๆ เย็นๆ หมอกลงรอบๆ
    ค่อยๆ นั่งเขียนไป เมื่อก่อนวันไหนกินเหล้าเข้าไปด้วย ยิ่งเขียนได้ลื่นเป็นพิเศษเลย"

    เจ้ายอดศึก เล่าว่า บทกวีที่เจ้าเขียนมีทั้งเรื่องชีวิตในแง่มุมต่างๆ เรื่องการรบในแต่ละห้วงเวลา
    เรื่องของพี่น้องประชาชนไทยใหญ่ ที่ลำบากยากเข็ญกับการเป็นทาสพม่า.

    " ช่วงสงกรานต์ที่เกิดสงครามคราวนี้ ผมเขียนบทกวีไว้หลายชิ้น นั่งวางแผนการรบไปเขียนบทกวีไป
    พอเสียงปืนเงียบลง ก็หันมาเขียนทีละประโยคสองประโยค มีเรื่องเร่งด่วนก็แก้ปัญหาไป สลับกันอยู่แบบนี้
    การเขียนบทกวีช่วยผ่อนคลายได้มาก เดี๋ยวนี้ผมก็ยังเขียนอยู่ตลอด เขียนไว้เป็นเล่มๆ
    การเขียนกวีเป็นการพักผ่อนของผม"

    เจ้ายอดศึกหยิบตัวอย่างงานเขียนมาให้ดู บทกวี สงกรานต์ปีใหม่ 16-04-2005 ของ ' หมอกกอนคำ '
    บันทึกไว้เป็นภาษาไทยใหญ่ ท่วงทำนองไพเราะบอกเล่าเรื่องราวการสู้รบรุนแรง และความหวัง
    ความฝันของประชาชนไทยใหญ่ ได้เป็นอย่างดี ดังใจความที่ว่า

    " เดือนห้าเป็นช่วงเวลาชื่นบานสดใส

    พี่น้องรักใคร่ได้ไปมาหาสู่

    คนเฒ่าให้พรความสุขร่มเย็น

    แต่ผมกลับต้องจับปืนต่อสู้ศัตรูที่มาทำร้ายญาติพี่น้องเรา

    ไม่มีโอกาสได้รื่นรมย์กับคนรัก

    เสียงนกกาเหว่าหวานเศร้ากังวานจากยอดภูผา

    ผสานเสียงปืนกลางสนามรบ

    เสียดลึกถึงกลางใจ

    วันนี้.ขณะคนอื่นรดน้ำสะอาดใสให้แก่กัน

    ผมกำลังหลั่งเลือดลงแผ่นดิน

    เพื่อให้ชนชาติไทยใหญ่รุ่งโรจน์ในวันข้างหน้า

    สำหรับผม.หน้าที่-ความรับผิดชอบ

    คือสิ่งแรกของชีวิต

    ส่วนความสนุกรื่นรมย์ใจ.เหมือนรอยฝันแสนไกล

    เพราะนรกบนดิน คือความจริงของพี่น้องเราในวันนี้

    หากไม่จับปืน เราคงไม่อาจไปพ้นจากนรกขุมนี้ได้

    หากผมได้บรรลุจุดหมาย

    บ้านเมืองไทยใหญ่ได้พบความสงบร่มเย็น

    สักวันหนึ่ง เมื่อรุ่งอรุณมาถึง

    ผมคงได้กลับไปมีความสุขกับเธอ-ผู้เป็นที่รัก

    ' หมอกกอนคำ '

    ดอยไตแลง , รัฐฉาน

    16 เมษายน 2548

    ในท่ามกลางไฟสงครามที่ปรากฏเป็นข่าวผ่านตา เรารู้จักนักรบไทยใหญ่ แต่เพียงเรื่องของขบวนการกู้ชาติ
    มีชีวิตกรำศึก อยู่กับอาวุธและการสู้รบ ข่าวสารต่างๆ ไม่เคยเปิดเผยถึงแง่มุมชีวิตส่วนอื่นของพวกเขา

    ในอนาคตข้างหน้า งานเขียนกลางสงครามเหล่านี้จะมีค่าอย่างที่สุด เพราะบทกวีหลายร้อยบทจากสนามรบ
    ที่นักรบไทยใหญ่ตั้งแต่ผู้นำจนถึงประชาชนพลทหารเขียนและอ่านกันอยู่ในช่วงลำเค็ญของการกู้ชาติ ณ เวลานี้
    คือ บันทึกแห่งการต่อสู้ที่ดีที่สุดอีกหน้าหนึ่ง ที่คนไทยใหญ่ได้สร้างสรรค์ เก็บรักษา
    และส่งต่อความฝันไปยังคนรุ่นหลัง

    เช่นเดียวกับที่บทกวีของนักรบกู้ชาติบนแผ่นดินอื่นได้เคยทำหน้าที่ส่งต่อ ' ประกายไฟแห่งศรัทธา '
    เช่นนี้มาแล้ว.ไม่ว่าจะเป็นบทกวีของนักรบเวียดนาม จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย คิวบา.ฯลฯ
    ที่ผู้นำทางการทหารในอดีตทั่วทุกภูมิภาค ต่างล้วนเป็น ' กวีนักรบ '
    กลั่นเอาเลือดเนื้อออกมาเป็นบทกวีมีค่า เปี่ยมด้วยพลังความมุ่งมั่น

    และยังตราตรึงอยู่ในประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ของมนุษยชาติ.. มาถึงทุกวันนี้
     
  19. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,048
    ขอบคุณคุณ lepus มาก
    ที่ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลดีดีให้ค่ะ

    [b-wai][b-wai][b-wai]




    "ง้วนดิน" ขอเพิ่มเติมจากที่คุณ lepus นำมาลงนิดนึงนะค่ะ
    เรื่อง "บทกวีกลางไฟสงคราม"
    เป็นผลงานเขียนของนวลแก้ว บูรพวัฒน์
    เคยลงตีพิมพ์ครั้งแรกใน "จุดประกาย" กรุงเทพธุรกิจ
    ฉบับวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘



    <TABLE class=tborder id=post523794 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>lepus<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_523794", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: เมื่อวานนี้ 08:41 PM
    วันที่สมัคร: Sep 2005
    อายุ: 31 ปี
    ข้อความ: 53 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 19 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 284 ครั้ง ใน 46 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 52 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]







    </TD><TD class=alt1 id=td_post_523794 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->บทกวีกลางไฟสงคราม

    นวลแก้ว บูรพวัฒน์...เรื่อง
    ............................................



    ความรู้สึกผูกพัน ของคนหนุ่มสาว ปานประหนึ่งเรื่องรักระหว่างรบ ไม่ได้ปรากฏอยู่ ในนวนิยายตามจินตนาการ
    ของนักเขียนเท่านั้น แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้น บนสมรภูมิสงครามทั่วทุกมุมโลก ตัวละครที่โลดแล่น ล้วนแต่มีตัวตน เลือดเนื้อ และชีวิตจริง

    เช่นเดียวกันกับความเป็นไปของผู้คนรอบดอยไตแลง รัฐฉาน ในวันนี้

    เสียงปืนของศัตรูผู้รุกรานไม่อาจทำลายความรู้สึกอันงดงามอ่อนโยนของผู้คนกลุ่มนี้ลงได้



    1...

    เสียงปืนบนฐานทัพไทใหญ่ รอบดอยไตแลง รัฐฉาน ตรงข้าม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ระเบิดขึ้นอย่างรุนแรงตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา การสู้รบดุเดือดเต็มรูปแบบระหว่างไทยใหญ่กับกองทัพว้าแดงของเหว่ยเซียะกังผ่านไปหลายครั้ง

    ในชีวิตกรำศึกของนักรบกู้ชาติไทใหญ่ เฝ้าประจำอยู่บนฐานทัพ แต่ละวันของการสู้รบ ขุดสนามเพลาะ สร้างบังเกอร์ หาบน้ำ ต้มชา รวมกลุ่มกันกินข้าว ความรื่นรมย์ที่สุดของพวกเขาอยู่ตรงที่เมื่อเปิดห่อข้าวสุกที่อัดแน่นมาในถุงพลาสติก กระดาษชิ้นเล็กสอดมาในห่อข้าวคือสิ่งแรกที่หนุ่มทหารทุกคนควานหา หยิบออกมาแบ่งกันดู ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ และเฝ้าสงสัยว่าเจ้าของลายมือที่ร่ายบทกวีหวานสะท้านใจ...หน้าตาเธอเป็นอย่างไร

    " ทำศึกเสร็จแล้วเรามาเป็นแฟนกันนะ"

    " ใช่ หนูคิดไม่ผิด พี่ต้องต่อสู้กับพม่า" ฯลฯ

    หลากหลายถ้อยคำที่เต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นและให้กำลังใจ จากแนวหลังฝากถึงนักรบแนวหน้า ส่งผ่านมากับ 'ปลาร้าฉ่อง' น้ำพริกปลาแห้งปรุงรสคั่วกับพริกกระเทียมทอดแกล้มผักจิ้ม เมนูอาหารเดิมแทบทุกวัน ที่ความน่าเบื่อหายไปหมดสิ้น พาให้เกิดกำลังใจกระปรี้กระเปร่ากินข้าวได้ลงคอกันถ้วนทั่ว ยามหนุ่มทหารหยิบบทกวีของสาว ๆ บนดอยไตแลงขึ้นมาละเลียดอ่านแกล้มข้าว ด้วยความปลื้ม...

    " ผมชอบกลอนมากที่สุด...."

    ขุนศึกโหลง (ร้อยเอก) จายกอน วัย 37 ปี นายทหารหน้าคมเข้ม ดวงตาอ่อนโยนแจ่มใสผู้ควบคุมดูแลฐานป่าไม้ อยู่ห่างจากดอยไตแลงประมาณ 3 กิโลเมตรหัวเราะอาย ๆ เมื่อถูกถามถึง 'บทกวี' จากสาวไทยใหญ่ ที่ทำให้นักรบแนวหน้าตื่นเต้นกันนัก และเป็นที่สุดของบทสนทนาแห่งความชื่นบาน...สำหรับเหล่านักรบในแต่ละวัน

    " ช่วงสู้รบ มีข้าวจากดอยไตแลงมาส่งวันละ 2 ครั้ง" อ้ายจายกอนบอกเล่ารายละเอียดให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น "ในห่อข้าวมีกลอนใส่มา เวลาได้ห่อข้าวหนุ่ม ๆ ลูกน้องผมจะรีบเปิดดูกลอนก่อนเลย เจอกลอน อ่านแล้วมาแบ่งกันดู ได้อ่านหัวเราะเบิกบานมาก เราล้อกันเล่นสนุก เย้ากัน เอาจดหมายมาคุยกัน อ่านแล้วชื่นบาน มีกำลังใจขึ้นมาก สาว ๆ เขียนกลอนมาเป็นภาษาไต (ไทยใหญ่), ภาษาไทยก็มี เพราะมีคนอ่านภาษาไทยได้ พวกทหารสงสัยมากว่าคนแต้ม (เขียน) เป็นใครกันหนอ อยากรู้ว่าเป็นใคร อยากเห็นหน้าเห็นตา อยากรู้จักกัน ได้เห็นกลอนแล้วอยากเห็นหน้าที่สุด ได้เห็นหน้าคงดี บางคนเขียนคำกลอนหวานๆ เจอหน้าจริงจะเป็นอย่างไรหนอ...เราไม่เคยได้เจอกันเลย...แต่ผมไม่ค่อยได้อ่านนะ พวกลูกน้องเขาอ่านกัน"

    อ้ายจายกอนปฏิเสธพัลวัน หัวเราะเขิน ๆ เมื่อถูกขอให้หยิบ 'บทกวี' ตัวอย่างจากแนวหลังมาให้ดู

    "ที่ผมจำได้ก็มี 'กลอนฝากถึงสนามรบ ให้รบปลอดภัย น้องอยู่ข้างหลังขอให้กำลังใจ' ลูกน้องผมอ่านแล้วมีความสุขมาก เราเริ่มได้กลอนมาตั้งแต่เปิดหน้าศึก (เริ่มสู้รบ) พวกทหารหนุ่ม ๆ อายุ 18-19 ยังไม่มีเมีย จะตื่นเต้นมาก แล้วเขาจะชอบเขียนกลอนกันด้วย คนมีเมียแล้วไม่ค่อยเขียน ลูกน้องแต่ละคน ถ้าเขาเขียนหนังสือได้ เขาจะมีสมุดกับปากกาติดตัวมา มีกันทุกคน เอาไว้พักผ่อน เขียนกลอน เขียนจดหมายถึงสาว เวลาว่างจากการรบก็นั่งแต้ม บางคนเขียนในที่นอน...ว่าง ๆ เห็นนั่งเขียนกันทั้งนั้นเลย"

    เรื่องสาว ๆ เขียนกวีปลอบประโลมใจทหารแนวหน้าก็น่ารักน่าตื่นเต้นมากแล้ว ส่วนหนุ่มน้อยทหารไทยใหญ่นั้น ยามอยู่กลางความเป็นความตายในสนามรบ สิ่งเดียวที่ปลอบใจให้คลายเหงา และปลดปล่อยความอัดอั้นใจจากสภาพบีบคั้นรอบด้าน บทกวีที่กลั่นกรองจากชีวิตในแต่ละวันดูจะเป็นการระบายออกทางจิตใจที่ดีที่สุดในเวลานั้น



    2...

    " ใช่ค่ะ พวกทหารแนวหน้าเขียนกลอนกันมากจริง ๆ" แสงคำ สาวน้อยไทยใหญ่วัย 18 ปีจากเมืองล่าเสี้ยวยืนยันให้ฟัง

    " ยิ่งรบยิ่งเขียนกันมาก ช่วงรบกันมีบทกวีเป็นร้อยชิ้น พวกทหารอยู่ในรูดินรบไปเขียนบทกวีไป เขียนแล้วก็ฝากบทกวีจากหน้าศึก(จุดสู้รบ) มาให้อ่านออกอากาศที่โฮงปล่อยเสียง (สถานีวิทยุไทยใหญ่บนดอยไตแลง) แล้วเขาก็คอยฟังกันทุกเย็น หนูจำได้ว่ามีจดหมายจากแนวหน้า จากทหารไทยใหญ่ถามทหารว้าว่า 'ทำไมมารบกัน เราเชื้อชาติเดียวกัน' บางคนเขียนบอก 'เมื่อก่อนเรากับว้าที่รบกัน ไปหาผัก เจอกัน ให้ผักแลกกัน ว้าไม่มีข้าวกิน ไทยใหญ่ก็เอาข้าวให้ มีอะไรแบ่งปันกันกิน อยู่เหมือนพี่เหมือนน้อง ตอนนี้พม่ามายุแหย่ให้เราพี่น้องต้องมารบกันเอง' พวกทหารว้าเขาก็พูดภาษาไทยใหญ่ เขาก็คอยฟังวิทยุของเราอยู่เหมือนกัน"

    และสำหรับตัวแสงคำเองนั้น เธอเล่าว่า "หนูก็เขียนกลอนให้กำลังใจศึกไต (ทหารไทใหญ่) ตอนรบกันแรก ๆ พวกผู้หญิงไทยใหญ่ ครู พยาบาล นักเรียนสาว ๆ มาช่วยกันเขียนกลอนเขียนจดหมายใส่ห่อข้าวส่งไปหน้าศึก
    ที่เขียนไปมีบอกว่า 'ตอนนี้พี่กินน้ำพริกก่อนนะคะ ถ้าการศึกเสร็จแล้วจะทำผักกาดแกงหอม ๆ ให้กิน, กลับจากแนวหน้ามาค่อยมาเจอกันใหม่' หนูเขียนไปวันหนึ่งยี่สิบกว่าห่อ แสงเฮิน
    เขาเขียนวันหนึ่งห้าสิบกว่าห่อ สาว ๆ ไต (ไทยใหญ่) ต่างคนต่างเขียนใส่ห่อข้าวไปวันหนึ่งหลายร้อยห่อ นักเรียนทั้งโรงเรียนที่เป็นผู้หญิง มาเขียนกลอนกันทุกวัน คนแนวหลังเขียนกลอนฝากขึ้นไป เรามาช่วยกันให้กำลังใจทหารของเรา"

    แล้วอยากเจอกับทหารแนวหน้าบ้างไหม ?

    " โอ๊ย...อายค่ะ" แสงคำหัวเราะร่วน..."ไม่เอาค่ะ ไม่ให้เจอ อาย หนูไม่ได้ใส่ชื่อจริง ใช้ชื่อ แลงแลง แลงแก้ว ตอนกำลังทำศึก ทหารของเราต้องการกำลังใจ เราต้องให้กำลังใจเขา เพราะเขาช่วยป้องกันเรา"

    แสงคำหยิบบทกวีลายมือหวัด ๆ เขียนด้วยปากกาสีน้ำเงิน บนกระดาษสมุดเรียนออกมาให้ดู " ชิ้นนี้ดีนะคะ หนูจะอ่านให้ฟัง

    "เพื่อกอบกู้ประเทศไทยใหญ่
    ไม่มีเมียเลยต้องนอนกล่อมกระบอกปืนแทนสาว
    เพื่อนบางคนสนุกกับการรบ ไม่คิดกลับบ้าน
    เราต้องคลานลัดป่าเข้าสู่สนามรบ
    เอาปืนแหย่ผ่านพุ่มไม้ ตะแคงตัวเข้าไป
    เสียงปืนดังรอบทิศ ลากเพื่อนกันลงห้วย
    ยังนึกไม่ออกว่ารบกันเพื่ออะไร
    พม่าเข้ามายุแหย่ ให้เอาว้าคนเชื้อชาติเดียวกับเรา มารบกันเอง
    อย่าเห็นผิดอีก อย่าให้หลั่งเลือดของคนเชื้อชาติเดียวกันอีก
    อย่ายอมตนให้พม่าชั่ว ๆ
    บ้านเมืองเราจะไม่สงบสุข เพราะพม่าเป็นศัตรูกับเรา
    เลือดตกทาแผ่นดิน.ไม่มีประโยชน์อะไร"



    3...

    "จดหมายกับบทกวีที่ผู้หญิงเขียนใส่ห่อข้าวไปให้ทหาร เริ่มทำกันในรุ่นผม" พันเอกเจ้ายอดศึก ผู้นำกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ (SSA) เล่าให้ฟังขณะนั่งอ่านบทกวีภาษาไทยใหญ่หลายบท ที่เขียนขึ้นในการสู้รบครั้งนี้

    "สมัย MTA ของขุนส่ายังไม่มี...ตอนปี พ.ศ. 2544 รบที่ปาคี มีผู้หญิงอายุเยอะเขียนกลอนใส่ห่อข้าวไป ทหารอ่านแล้วตื่นเต้นมาก เสร็จศึกพากันลงมาตามหาคนเขียน ลงมาหลายคน ไปเจอป้าแก่ ๆ เป็นคนเขียน โอย...ผิดหวัง

    "พอปี 2546 รบที่ปางใหม่สูง เปียงหลวง ก็มีคนเขียนกลอนหวาน ๆ ใส่ห่อข้าวไปอีก ทหารอยู่หน้าศึกอ่านแล้วชื่นใจ ปีนี้ผมขอให้พวกสาว ๆ เขามาเขียนกวีใส่ห่อข้าวให้แนวหน้า เขามารวมกลุ่มตั้งใจเขียนกันมาก ทหารได้อ่านสนุกทุกวัน มีกำลังใจขึ้นมาก"

    บทกวีที่อ่านออกอากาศใน 'โฮงปล่อยเสียง' บนดอยไตแลงนั้น มีผลงานของ 'หมอกกอนคำ' หรือ 'ดอกเชอรี่ป่า' ปรากฏอยู่เป็นระยะ 'หมอกกอนคำ' เขียนบทกวีมาหลายสิบปี ตีพิมพ์อยู่ในวารสารภาษาไทยใหญ่อยู่เสมอ และเพิ่งมีคนเปิดเผยให้รู้กันเมื่อไม่กี่ปีก่อนว่า บทกวีไพเราะในนาม 'หมอกกอนคำ' นั้น คือ ผลงานของ 'พันเอกเจ้ายอดศึก' ผู้นำกองทัพกู้ชาติไทยใหญ่ ที่บันทึกเรื่องราวแต่ละช่วงของการตรากตรำในสนามรบ บนเส้นด้ายของความเป็นและความตาย ไว้ในภาษากวี

    "ผมชอบเขียนหนังสือ" เจ้ายอดศึกบอกเล่าถึงบางแง่มุมของชีวิต ที่ไม่ค่อยมีใครได้รับรู้นัก "ผมเขียนบทกวีมาตั้งแต่อายุ 19 ปี อยู่กลางสนามรบ ไม่มีอะไรทำ กลางป่าเงียบ ๆ เย็น ๆ หมอกลงรอบ ๆ ค่อย ๆ นั่งเขียนไป เมื่อก่อนวันไหนกินเหล้าเข้าไปด้วย ยิ่งเขียนได้ลื่นเป็นพิเศษเลย"

    เจ้ายอดศึกเล่าว่า บทกวีที่เจ้าเขียนมีทั้งเรื่องชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ เรื่องการรบในแต่ละห้วงเวลา เรื่องของพี่น้องประชาชนไทยใหญ่ ที่ลำบากยากเข็ญกับการเป็นทาสพม่า...

    "ช่วงสงกรานต์ที่เกิดสงครามคราวนี้ ผมเขียนบทกวีไว้หลายชิ้น นั่งวางแผนการรบไปเขียนบทกวีไป พอเสียงปืนเงียบลง ก็หันมาเขียนทีละประโยคสองประโยค มีเรื่องเร่งด่วนก็แก้ปัญหาไป สลับกันอยู่แบบนี้ การเขียนบทกวีช่วยผ่อนคลายได้มาก เดี๋ยวนี้ผมก็ยังเขียนอยู่ตลอด เขียนไว้เป็นเล่ม ๆ การเขียนกวีเป็นการพักผ่อนของผม"

    เจ้ายอดศึกหยิบตัวอย่างงานเขียนมาให้ดู บทกวี สงกรานต์ปีใหม่ 16-04-2005 ของ 'หมอกกอนคำ' บันทึกไว้เป็นภาษาไทยใหญ่ ท่วงทำนองไพเราะบอกเล่าเรื่องราวการสู้รบรุนแรง และความหวัง ความฝันของประชาชนไทยใหญ่ ได้เป็นอย่างดี ดังใจความที่ว่า

    "เดือนห้าเป็นช่วงเวลาชื่นบานสดใส
    พี่น้องรักใคร่ได้ไปมาหาสู่
    คนเฒ่าให้พรความสุขร่มเย็น
    แต่ผมกลับต้องจับปืนต่อสู้ศัตรูที่มาทำร้ายญาติพี่น้องเรา
    ไม่มีโอกาสได้รื่นรมย์กับคนรัก
    เสียงนกกาเหว่าหวานเศร้ากังวานจากยอดภูผา
    ผสานเสียงปืนกลางสนามรบ
    เสียดลึกถึงกลางใจ
    วันนี้...ขณะคนอื่นรดน้ำสะอาดใสให้แก่กัน
    ผมกำลังหลั่งเลือดลงแผ่นดิน
    เพื่อให้ชนชาติไทยใหญ่รุ่งโรจน์ในวันข้างหน้า
    สำหรับผม...หน้าที่-ความรับผิดชอบ
    คือสิ่งแรกของชีวิต
    ส่วนความสนุกรื่นรมย์ใจ...เหมือนรอยฝันแสนไกล
    เพราะนรกบนดิน คือความจริงของพี่น้องเราในวันนี้
    หากไม่จับปืน เราคงไม่อาจไปพ้นจากนรกขุมนี้ได้
    หากผมได้บรรลุจุดหมาย
    บ้านเมืองไทยใหญ่ได้พบความสงบร่มเย็น
    สักวันหนึ่ง เมื่อรุ่งอรุณมาถึง
    ผมคงได้กลับไปมีความสุขกับเธอ-ผู้เป็นที่รัก

    ' หมอกกอนคำ '
    ดอยไตแลง , รัฐฉาน
    16 เมษายน 2548


    ในท่ามกลางไฟสงครามที่ปรากฏเป็นข่าวผ่านตา เรารู้จักนักรบไทยใหญ่ แต่เพียงเรื่องของขบวนการกู้ชาติ มีชีวิตกรำศึก อยู่กับอาวุธและการสู้รบ ข่าวสารต่างๆ ไม่เคยเปิดเผยถึงแง่มุมชีวิตส่วนอื่นของพวกเขา

    ในอนาคตข้างหน้า งานเขียนกลางสงครามเหล่านี้จะมีค่าอย่างที่สุด เพราะบทกวีหลายร้อยบทจากสนามรบ ที่นักรบไทยใหญ่ตั้งแต่ผู้นำจนถึงประชาชนพลทหารเขียนและอ่านกันอยู่ในช่วงลำเค็ญของการกู้ชาติ ณ เวลานี้ คือ บันทึกแห่งการต่อสู้ที่ดีที่สุดอีกหน้าหนึ่ง ที่คนไทยใหญ่ได้สร้างสรรค์ เก็บรักษา และส่งต่อความฝันไปยังคนรุ่นหลัง

    เช่นเดียวกับที่บทกวีของนักรบกู้ชาติบนแผ่นดินอื่นได้เคยทำหน้าที่ส่งต่อ 'ประกายไฟแห่งศรัทธา' เช่นนี้มาแล้ว...ไม่ว่าจะเป็นบทกวีของนักรบเวียดนาม จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย คิวบา.ฯลฯ ที่ผู้นำทางการทหารในอดีตทั่วทุกภูมิภาค ต่างล้วนเป็น 'กวีนักรบ' กลั่นเอาเลือดเนื้อออกมาเป็นบทกวีมีค่า เปี่ยมด้วยพลังความมุ่งมั่น

    และยังตราตรึงอยู่ในประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ของมนุษยชาติ.. มาถึงทุกวันนี้



    ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "จุดประกาย" กรุงเทพธุรกิจ
    ฉบับวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
    <!-- / message -->




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2007
  20. คุณ 4

    คุณ 4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +5,159
    เห็นได้ชัด ...
    การเกิดเป็นทุกข์จริง ๆ ...
    แม้จะสู้เท่าไร พอตายไปก็ไม่ได้อะไรมา ...
    เกิดอีก ก็ต้องสู้อีก มีแต่คำว่าไม่จบ ไม่สิ้น ...

    ขอกราบคุณพระที่เมตตาสอนทางพ้นจากวัฏฏะอันน่าสงสารอย่างนี้

    _/|\_ _/|\_ _/|\_
     

แชร์หน้านี้

Loading...