แผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 20 กันยายน 2008.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]
    พระราชนิพนธ์
    ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช


    เรื่อง เสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง





    วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๑๒๕ ออกจากสวนดุสิต ๒ ทุ่ม ไปในวังแล้วไปบ้านบุรฉัตร พอสวดมนต์จบเลี้ยงพระแล้วตัดสินโต๊ะ เฉพาะชิ้นปักกิ่ง ๔ ทุ่มครึ่ง รดน้ำแล้วเข้ามาในวัง ทูลลา แล้วลงเรือ ถึงตำหนักแพวังหน้า ๕ ทุ่ม ถึงวัดเขมา ๕ ทุ่มครึ่ง

    วันที่ ๒๘ เช้าโมงครึ่ง ถ่ายรูป รับพวกกรมการผู้ใหญ่บ้านและพระวินัยรักขิต ถวายเงินชั่ง ๑ แล้วลงเรือไปตลาดบางเขนถ่ายรูปที่ด้านภาษีกลับขึ้นเรือชื่นใจ ผ่านหน้าวัดเขมาเวลา ๓ โมง ๑๕ มินิต แต่หน้าวัดเขมาถึงวัดปากอ่าว ๗๐ มินิต จากวัดปากอ่าวถึงวัดเทียวถวาย ๔๐ มินิต ขึ้นวัดถ่ายรูป ถวายเงินสมภาร ๒๐ บาท ออกจากวัดเทียนถวายถึงบางหลวงเชียงรากเที่ยง ๑๕ ถึงดงตาลเที่ยง ๒๐ มีคนมาก ถ่ายรูปแล้วทำกับข้าว กินข้าวแล้วมีสะบ้ามอญ ฝนตกประปราย บ่าย ๓ โมง ๑๕ มินิตมาด้วยเรือมาด มีนตกตลอดทางถึงวัดท้ายเกาะใหญ่ที่จอดเรือเวลาบ่าย ๕ โมง จัดที่พักที่ศาลา ๒ หลังต่อกัน มีพิณพาทย์มอญ



    ....................................................................................................................................
    บ้านบุรฉัตร – เสด็จไปในการพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตร ไชยากร(กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน) ขึ้นวังใหม่
    ตัดสินโต๊ะ – สมัยนั้นมีผู้สะสมเครื่องลายครามกันหลายท่าน นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงมา ในเวลามีงานใหญ่ๆ มักมีการตั้งโต๊ะเครื่องลายครามประกวดกัน และมีกรรมการตัดสิน
    ทูลลา – ถ้าจะเสด็จพระราชดำเนินจากพระนครหลายๆ วันเมื่อใด ย่อมเสด็จไปกราบถวายบังคมลาพระบรมอัฐิในพระบรมมหาราชวัง
    พระวินัยรักขิต – พระวินัยรักขิต(คง) เจ้าอาวาสวัดเขมาฯ
    เรือชื่นใจ – เรือพระที่นั่งยนต์ ซึ่งบริษัทบอเนียวถวาย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เรือลบแหล่งรัตน<!-- google_ad_section_end --> ​


    ....................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5878_1.jpg
      IMG_5878_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      118.8 KB
      เปิดดู:
      1,865
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๒๘ เช้า ขึ้นไปบนวัดถ่ายรูป วัดนี้เรียกตามตำบลชื่อเวียงจามเป็นพระรามัญ เป็นวัดที่สุดเขตประทุม พระรามัญมุนีเจ้าคณะเมือง กับพระครูเจ้าคณะรอง เจ้าคณะแขวง เจ้าอธิการและอันดับวัดอื่นในแขวงประทุมมารับถวายวัตถุปัจจัยทั่วกัน แล้วกลับมาลงเรือออกจากท้ายเกาะ ๓ โมงครึ่ง มาแวะคลองตะเคียนซื้อผ้า เวลาล่าไปฝนก็ตก ลืมดูนาฬิกาจนหิวจึงรู้สึก จึงจอดทำกับข้าวที่แพซุงใกล้คลองตะเคียน เป็นกับข้าวปัจจุบันมีปลาแห้งผัดไข่เจียวแกงกะทิ สำเร็จอาหารกิจอย่างอร่อย เพราะมอยอมอแกอยู่บ้าง แล้วออกเรือหมายว่าจะแวะวัดพนัญเชิงแต่ฝนไม่หยุดจึงเลยขึ้นมาเกาะลอย พอถึงที่ฝนก็หาย อาบน้ำแล้วลงเรือเล็ก ขึ้นไปทางคลองเพนียดซื้อของตามร้านตามแพแล้วกลับมาเข้าในคลองเมือง ไปจนแพช่างทองนอกตำหนักแพแล้วจึงได้กลับค่ำไม่ได้ขึ้นอยู่บนเรือน เขาถอยแพมาจอดให้อยู่ที่หน้าเรือนกรมมุรพงศ์


    [​IMG]
    พระรามัญมุนีเจ้าคณะเมืองปทุมธานี



    วันที่ ๓๐เช้า ขึ้นไปถ่ายรูปบนสะพานและบ้านกรมมรุพงศ์ แล้วลงเรือไปขึ้นสะพานวังจันทร์ เดินดูตลาด เลิกบ่อน เสียอยู่ข้างจะซัวไปสักหน่อย ลงเรือจากตลาดแวะซื้อของที่ตลาดเรือสี่แยก แล้วขึ้นมาตามแควป่าสัก แวะกินข้าวกลางวันที่พระนครหลวง ถ่ายรูปและทำกับข้าว กำลังกินฝนตก วันนี้มาก มีฟ้าร้อง ตามพื้นที่รก แต่ที่สร้างขึ้นใหม่สำหรับพระจันทร์ลอยแล้วสำเร็จ ถ้ามีสมภารที่ขยันจริง ๆ จะรักษาไปได้หลายปีแม้ว่าเช่นนี้น่าจะไม่อยู่ได้นาน ลงเรือกำลังฝน ออก ๒ โมงครึ่ง ฝนมาหายเกือบถึงศาลาลอยถึงเวลา ๔ โมงเศษ ศาลาลอยนั้นไม่มีพื้น ถ่ายรูปแล้วจึงได้อาบน้ำ ​


    ....................................................................................................................................
    เรือนกรมมรุพงศ์ – ตำหนักสะพานเกลือ ซึ่งกรมขุนมรุพงศ์เคยประทับเมื่อเป็นสมุหเทศาภิบาล แต่เวลานั้นย้ายไปสำเร็จราชการมณฑลปราจีนฯ แล้ว
    เลิกบ่อน – แต่ก่อนนี้มีบ่อนสำหรับเล่นการพนัน เช่น ถั่ว โป ประจำทุกตลาด โปรดเกล้าฯ ให้เลิกไปทีละแห่งสองแห่งจนหมดสิ้นในรัชกาลที่ ๕

    พระนครหลวง – ซากวัดเก่าซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง นัยว่าสร้างตามแบบพระสถูปแห่งหนึ่งในพระนครหลวงแห่งประเทศกัมพูชา จึงเรียกว่าพระนครหลวงด้วย
    <!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 25201_11.JPG
      25201_11.JPG
      ขนาดไฟล์:
      145.8 KB
      เปิดดู:
      2,443
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๓๑ เช้า ๓ โมงออกเรือ แวะที่ท่าเจ้าสนุก เขาถางเห็นรากกำแพงและพระที่นั่ง คงจะเป็นหลังยาวตามแบบ มีบ่ออยู่แห่งหนึ่งลึกมากก่ออิฐถือปูนลงไปจนตลอด แต่มีรอยชักอิฐอยู่ในระวางกลาง กุกันว่าเป็นกำแพงข้ามบ่อ บ่อนั้นใช้ได้ทั้งข้างหน้าและข้างใน ดูยังไม่เห็นจริง เพราะพึ่งจะค้นพบชิ้นยังไม่ได้ตรวจให้ละเอียด ตรงท่าเจ้าสนุกช้ามเรียกว่าท่าเกยคือเป็นที่เกยประทับช้าง เวลาจะเสด็จพระบาทต้องลงเรือข้ามไปท่าเกย แวะถ่ายรูปบางแห่ง มีสะพานจักรีเป็นต้น กรมนรา มาคอยที่อยู่ที่ ท.จ.ก.แล้ว แวะพูดกันหน่อยหนึ่งขึ้นมาปลดเรือไฟที่วัดสดาง มีคนมาคอยเข็นเรือตามเคยแต่ไม่ต้องเข็นเพราะฝน ๓ วันนี้พอที่จะให้น้ำขึ้นได้กินข้าวกลางวันที่วัดท่างามซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกกันว่า ท่าหลวง ซึ่งเรียกว่าท่าหลวงนั้นเกิดขึ้นใหม่ เพราะพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จพระบาท ๒ ครั้ง ขึ้นที่ท่างามทั้ง ๒ ครั้ง เดิมจะแรมที่นี้แต่ตกลงข้ามเสีย เพราะใกล้จะให้ได้วันมาก ขึ้นมาจวนจะถึงเสาไห้ฝนตกมืดมาข้างหลัง ยังเชื่อว่าหนีทัน แต่เพราะจอดเรืออยู่ถึงวัดสมุหประดิษฐ์จึงหนีไม่ทัน ฝนตกหนักตั้งแต่ก่อนย่ำค่ำ ๑๕ มินิต ตกหนักจนเวลา ๔ ทุ่มจึงได้เลยพรำต่อไปอยู่ข้างจะกันดารที่




    วันที่ ๑ สิงหาคม เมื่อคืนนี้ที่ว่าฝนหยุด ๔ ทุ่มนั้นเป็นคำเท็จ กลับตกใหม่หนักอย่างเดียวกันไปจน ๒ ยาม จึงพรำไปจน ๗ ทุ่ม น้ำท่วมสะพานหาดค่อย ๆ หายไปจนลบ น้ำขึ้นศอกเศษ ตวงน้ำฝนที่ที่ว่าการเมืองสระบุรีได้ ๘ เซนต์ เช้ายังพรำอยู่อีกจนสายจึงได้หายสนิท ลงเรือมาดเรือโมเตอร์อมรโอสถลากขึ้นไปตามลำน้ำ แวะถ่ายรูปเป็นตอน ๆ จนถึงแก่งม่วง ถ่ายเรือลงแก่งขึ้นแก่ง ขึ้นไปถ่ายบนบกที่แก่งเพรียว แต่แก่งนี้น้ำขึ้นลบศิลาเสียมาก ล่องกลับลงมาขึ้นบกที่บ้านพระยาสระบุรี ตั้งแต่เสาไห้ไปจนถึงแก่งเพรียวหย่อน ๓ ชั่วโมง ขึ้นดูที่ว่าการแลดูตลาดที่พอจะเป็นเมืองขึ้นในภายหน้า มีถนนลงมาเสาไห้ทาง ๒๐๐ เส้น กินข้าวที่บ้านพระยาสระบุรีแล้วลงเรือล่องมาเสาไห้ชั่วโมงเศษ อาบน้ำแล้วออกเรือกระบวนใหญ่เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ ล่องลงมาถึงท่าเรือทุ่มครึ่ง อยู่ใน ๔ ชั่วโมงเต็ม กรมนราแต่งโคมญี่ปุ่นหรู แต่พอถึงก็ฝนตกต้องสั่งให้เก็บ แต่เห็นจะไม่ตกมาก


    ....................................................................................................................................
    ท่าเจ้าสนุก – ตำหนักท่าเจ้าสนุกสร้างแต่ครั้งกรุงเก่า พระยาโบราณฯ พึ่งค้นพบก่อนเสด็จไม่ช้านัก
    กุ – เป็นคำแผลง หมายความว่ากล่าวเกินจริงไป
    กรมนรา – พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ในรัชกาลที่ ๖ เป็นกรมพระ ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างทางรถไฟเล็กเดินระหว่างท่าเรือกบพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๒ สามโมงเช้าขึ้นรถไฟกรมนราไปพระบาท ทางเรียบร้อยดีกว่าแต่ก่อน ถมบาลัศเต็มไป จวนถึงฝนตกเรื่อยไปจนกระทั่งเดินขึ้นพระบาททั้งฝน มีเหตุสำหรับเป็นสวัสดิมงคล ในการต้องขลึก ๒ อย่าง คือม่านที่กั้นกลางรถราวหลุดไปประการหนึ่ง อีกสักเส้นหนึ่งจะถึงรถหลังตกราง เลยต้องลงไม่ถึงสะเตชั่น มณฑปพระบาทรื้อเครื่องบนลงหมด มุงสังกะสีไว้เหมือนสวมหมวกแฮลเม็ดน่าเกลียด ข้อที่แปลกนั้นคือเห็นต้นไม้ที่พระบาทใบเขียวและต้นเล็กน้อยขึ้นรกผิดกับเทศกาลที่เคยโกร๋นเกร๋น มีศาลาเมรุหลวงธุระการ ปลูกอยู่ต้นทางเข้าไปหน้าหมู่กุฏิ ซึ่งเขาจัดเป็นที่พักกินข้าวแปลกขึ้นมาใหม่หลังเดียว นอกนั้นคงเดิมถ่ายรูปออกจะทั้งฝนเกือบทั้งนั้น แล้วกลับมากินข้าวที่ศาลาที่ว่าแล้ว กรมนราแจกแพรแถบพม่ากับตีน ผู้ชายมีมีดเงี้ยว ผู้หญิงมีอับเงี้ยว รถขึ้นชั่วโมง ๑ พักอยู่เกือบ ๓ ชั่วโมง กลับมาลงเรือไม่ถึงบ่าย ๓ โมง ฝนหยุดหน่อยหนึ่งแล้วกลับตกอีก น้ำขึ้นแต่คืนนี้น้ำท่วมร้านที่จอดเรือต้องยกพื้นอีกชั้นหนึ่ง ค่ำยาม ๑ มีละครนฤมิต ในสะเตชั่นรถไฟจัดโรงหรูแต่โปรแกรมเรื่องล้นเวลา ตอนต้นเล่นหนุมานส่งวานริน นางซึ่งเจ้าจอมมารดาเขียน ตื่นพะเน้าพะนึงอยู่นานจนเกือบ ๒ ยามจึงได้ลงมือเล่นตอนของกรมนรา เรียกชื่ออิสระแก่ตัว ไม่ทันถึงม่านต้องตัดป่นตัดบี้ แต่กระนั้นก็ ๒ ยามเลยมาก จนง่วงเต็มที ความคิดเห็นตอนแรกตั้งใจจะอวดรำงามร้องเพราะ แต่มันเบื่อที่เป็นลิงกับคนและยืดยาด ตอนหลังตั้งใจจะมีเกร็ดเข้าไปหรูในเรื่องมาก จึงชักให้ช้า แต่ท้องเรื่องหลวมถ้าเล่นแต่ลำพัง เห็นจะดูไม่สู้ช้านัก

    ....................................................................................................................................
    สวัสดิมงคล – ตั้งแต่เสด็จโดยรถรางพระพุทธบาท เผอิญมีเหตุขัดข้องมาทุกคราว จึงดำรัสว่าเป็นสวัสดิมงคล

    ขลึก – ขัดข้อง
    เมรุหลวงธุระการ – เมรุสร้างเผาศพหลวงธุระการกำจัด(เทียม อัศวรักษ์) ที่วัดจักวรรดิ ทำด้วยเครื่องไม้จริงแล้วอุทิศถวายให้ไปสร้างที่พระพุทธบาท
    แพรแถบพม่ากับตีน – บริษัทรถรางพระพุทธบาท ทำเป็นรูปพระพุทธบาทด้วยอะลูมิเนียม สำหรับขายคนขึ้นพระบาทซื้อไปแขวนนาฬิกาเป็นที่ระลึกมักเรียกกันว่า “ตีน”
    ละครนฤมิต – ละครของกรมพระนราธิปฯ ทรงจัดการให้ฝึกหัดขึ้นในสมัยนั้น โรงสำหรับเล่นอยู่ในวังของพระองค์ท่านที่ถนนแพร่งนรา เรียกว่า ปรีดาลัย
    นางซึ่งเจ้าจอมมารดาเขียน – นาง เป็นนางละครชื่อช้อย ต่อมาเป็นตัวเอกของละครปรีดาลัยเวลาเมื่อเสด็จพึ่งหัด
    เจ้าจอมมารดาเขียน – เจ้าจอมมารดาของกรมพระนราธิปฯ ท่านเคยเป็นละครหลวงตัวเอกในรัชกาลที่ ๔ มีความสนใจในนาฏศิลป์เป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ฝึกละครของคณะละครนฤมิต และละครอื่นๆ อีกมาก<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๓ เช้า ๒ โมง ล่องด้วยเรือใหญ่นอนไม่ตื่นจน ๔ โมงจึงลุกขึ้นทำกับข้าว พอถึงเวลากินก็ถึงกรุงเก่า แล้วไปสเตชั่นบ่าย ๑ โมง ๔๐ เศษ ลงมาบางกอก เสนาบดีกระทรวงโยธา(๑๕)ไปรับ ถึงสเตชั่นบ่าย ๓ โมงเศษ ผู้รักษาพระนครและเสนาบดีรับไปส่งเจ้าสาย(๑๖)ที่บ้านชาย แล้วกลับเข้าในวัง แขกเมืองพร้อมแล้ว กลับเข้าไปอาบน้ำแต่งตัวครึ่งยศ เสื้อสักหลาดออกรับต้นไม้เงินทองเมืองไทร เมืองปริศ เมืองสตูล แล้วกลับเข้ามาดูห้องในพระที่นั่ง นอนเหนื่อยๆกินของว่าง หมายว่าจะออกประชุม ๕ โมงเศษ(๑๗) ได้โทรเลขพระยาบำเรอภักดิ์(๑๘)ว่ารถพิเศษจะถึงปากน้ำย่ำค่ำเศษ จึงนัดเลื่อนกันใหม่ ไปรับส่งแล้วจึงจะกลับมาประชุม จนเวลา ๒ ทุ่มพอจะขึ้นรถได้โทรเลขมาใหม่ว่าติดรถธรรมดา

    จนถึงต่อทุ่ม ๔๐ จึงได้พากันขึ้นหอประชุมมีเวลาชั่วโมง ๑ เศษเล็กน้อย มีเรื่องสำคัญหลายเรื่องต้องรีบรัด และได้สั่งการให้สำเร็จจนอีก ๑๕ มินิตจะถึงกำหนด จึงได้ไปสเตชั่นเลยไม่ทันลูก(๑๙)มาถึงเสียก่อน ๔ - ๕ นาที แล้วยังต่อคอยพวกในที่ประชุมซึ่งไปภายหลังจนพร้อมกันแล้วจึงได้มาบ้าน เลี้ยงกัน ๒ ทุ่ม ยามเศษออกไปสเตชั่นสามเสน ขึ้นรถไฟกลับมาบางปะอิน ชายมาด้วยแต่สุริยง(๒๐)อยู่บางกอก ถึงเกือบ ๕ ทุ่ม จอดเรือที่แพพระยาสุรสีห์(๒๑)ซึ่งเลื่อนขึ้นมาไว้ใต้สะพาน แล้วยังมีพวกสหายหลวง(๒๒)มาเลี้ยงขนมจีนเลี้ยงหมี่แต่ดึกเสียเต็มที่อิ่มด้วย แจกหีบเงินและผ้าห่ม วันนี้นอนดึก

    ...............................................................

    (๑๕) พระยาสุขุมนัยวินิต คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

    (๑๖) พระวิมาดาเธอ ฯ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ตามเสด็จลงมารับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ จะเสด็จกลับจากยุโรปในวันนั้น

    (๑๗) ประชุมเสนาบดี

    (๑๘) พระยาบำเรอภักดิ์(เจิม อมาตยกุล) ภายหลังเป็นพระยาเพชรพิไชย

    (๑๙) คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า ฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์

    (๒๐) พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาศ เสด็จกลับมาจากยุโรป

    (๒๑) แพหลังนี้เดิมเจ้าพระยาสุรสีห์ สร้างเป็นที่อยู่เมื่อเป็นเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก รับซื้อมาเป็นของหลวง

    (๒๒) พวกสหายหลวงนี้ มักดำรัสเรียกว่าเพื่อนต้น คือ พวกชาวบ้านที่ทรงคุ้นเคย

     
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๔ นอนดึกตื่นสาย และท้องไม่สู้ปกติ กินข้าวกลางวันแล้วล่องลงมาเลี้ยวเข้าแควสีกุก ทำหนังสือไปบางกอก ฝนตกเรื่อยมาจนเวลาเย็นมีพายุ หางเสือเรือไม่กินน้ำ ปั่นจะไปต่อก็เห็นว่าฝนตกไม่หยุดและจะมืดค่ำ จึงจอดนอนที่วัดสีกุก เวลาบ่ายกินข้าวต้มเวลาหนึ่ง วันนี้จันทรุปราคา เห็นไม่ได้เพราะฝนตกจนหมดเวลา ที่วัดนี้มีมณฑปอยู่ตรงเรือจอดแต่ยังไม่รู้ว่าอะไรอยู่ในนั้น น้ำขึ้นมาก น้ำท่วมจะขึ้นบกต้องใช้เรือ

     
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๕ เช้าโมงหนึ่ง น้ำลดสะพานเดินได้ขึ้นไปถ่ายรูป ในมณฑปที่พูดเมื่อวานนี้มีพระป่าเลไลย และรูปเจ้าอธิการวัดบางปลาหมอที่เข้าเรียกในคำจารึกแต่ว่า พระอาจารย์วัดหมอ(๒๓) รูปร่างหน้าตางามขนาดเท่าตัว ท่านอาจารย์คนนี้เป็นหมอรักษาบ้า ว่าเป็นพระญาติสมเด็จพระปวเรศ เพราะเดินขึ้นไปไม่มีใครได้พระเจริญพร(โดยไม่รู้จัก) ออกเรือ ๒ โมงเช้า วันนี้ได้เทศา(๒๔)ลงเรือมาด้วยรู้ตำบลมาก

    ๕ โมงเช้าถึงบ้านตาช้าง(๒๕)หมื่นปฏิพัทธภูวนาถ ทั้งผัวทั้งเมียและลูกลงมาเต้นอยู่ที่ท่าน้ำ ดาดปะรำแต่สะพานไปจนถึงบันไดเรือน ปูพรมทางบนเรือนนั้น ปลูกหอใหม่สำหรับรับเสด็จแต่งหรูอย่างกุฏิพระ คือติดนาฬิกาทุกเสา ๑๒ เรือน ติดรูปมีพระรูป และรูปสมเด็จพระวันรัตน์เป็นต้น เขากวาง ตู้ถ้วย กระจกเงาเป็นต้น มีถ้วยชา หีบหมากเงิน เชี่ยนหมาก ชาก็พอกินหมากก็กินได้ ผู้คนญาติแน่นหนา ลูกแต่งตัวเต็มยศปุกปุยเต็มที่ ที่จริงทำให้เรือนนั้นสบายขึ้นมา แต่ร้อนจัดสู้โรงที่เคยทำครัวแต่ก่อนซึ่งแกย้ายไปปลูกห่างเรือนออกไปนั้นไม่ได้ คราวนี้พื้นเต็มเรียบร้อย แต่โรงนั้นก็โรงเก่านั่นเอง มีปลูกขึ้นใหม่หว่างเรือนและโรงที่ทำครัวหลังหนึ่งมุงกระเบื้องรอดปิดกระดาษเสา ว่าเป็นโรงพิธีฉลองตรา มีหนังสือถวายพระราชกุศลหรือใบอุทิศถวายเรือนฉบับหนึ่ง ว่าได้ลงทุนฉลองตราสิ้นเงิน ๔๐๐๐ บาท ฉลองพระไล(๒๖)ลูกด้วย มีงาน ๗ วันคนแน่นหลามไปหมด จนเขาพากันว่าจะเกิดเหตุ แต่ก็ไม่มีอะไรจนตลอดงาน มียี่เกมีเพลงและอะไรอีกอย่างหนึ่ง เรือนที่ทำถวายนี้ลงทุน ๑๕๐๐ บาท

    เสร็จการปราศรัยแล้วลงไปทำครัว นางลูกสาวแกงไก่ ยายพลับแกงบะฉ่อแก้ซึ่งมีผู้ใส่น้ำปลาครั้งก่อน แต่เสียงยายพลับเบาไปไม่จ้าเหมือนครั้งก่อน ตาช้างว่าคราวนี้สนุกกว่าคราวก่อน แต่ยายพลับว่าคราวก่อนสนุกกว่าคราวนี้ ได้ให้หีบเงินตรา จ.ป.ร.ยายพลับ นายช้างลูกดุมเงินลงยาใหญ่ นางลูกสาว ๒ คนผ้าห่ม มีหนังสือชื่อ เจ๊กขันซองบุหรี่เงิน พาลูกเจ๊กขันมาขอชื่อ เป็นผู้ชายน่าเอ็นดูดี ให้ชื่อ เจอ ถ่ายรูปเรือนและทั้งครัว บ่าย ๒ โมงเศษได้ออกเรือ ตาช้างตามส่งไปถึงป่าโมกข์ สะพานป่าโมกข์ทำสูงน้ำมาก เดิมคิดว่าจะไปให้ถึงอ่างทองเสียทีเดียว แต่เห็นเวลาบ่าย ๔ โมงแล้ว ถ้าจะไปถึงคงย่ำค่ำเลยจึงหยุดที่ป่าโมกข์ หม่อมอมรวงศ์(๒๗)มาคอยอยู่ มีราษฎรมามากเหมือนเทศกาลไหว้พระ แต่ถามดูก็ได้ความว่านัดกันมารับเสด็จเท่านั้น ขึ้นถ่ายรูปนมัสการพระตามเคย

    มีเรื่องแปลก ที่มาได้พบตัวจริงของผู้ที่ว่าได้เคยพูดกับพระนอน ซึ่งเจ้าคณะได้บอกลงไปหลายเดือนมาแล้ว เรื่องราวนั้นคืออำแดงคนหนึ่ง เป็นหลานพระครูป่าโมกข์ มารักษาอุโบสถอยู่ที่วัดนี้ในกาลปักษ์ใดปักษ์หนึ่ง เวลานั้นสัปบุรุษรับเพลตามภาษาที่เขาเรียกอยู่ที่วิหารเขียน แต่นางหลานพระครูคนนี้ไม่รับเพลด้วยมีความวิตกว่าลุงเจ็บ จึงไปบอกหลวงพ่อ คือ พระนอน ขอให้ช่วยรักษา นางนั้นตกใจมาก ที่ได้ยินเสียงพระนอนนั้นพูดตอบออกมา แต่มิได้ตอบทางพระโอษฐ์ เสียงก้องออกมาจากพระอุระดังได้ยินจนนอกโบสถ์ บอกตำรายา ถามนางนั้นก็อิดเอื้อนไปว่าจำไม่ได้หมด จำได้แต่ใบเงิน ใบทอง พระครูรับว่าจะให้เพราะได้จดไว้ ยานั้นรักษาลุงหาย ได้แจ้งความให้พระครูทราบ พระครูไม่เชื่อ

    พอประจวบเกิดพระสงฆ์เป็นอหิวาตกโรค จึงได้ไปลองพูดดูบ้างก็ได้รับคำตอบทักทายปราศรัยเป็นอันดี จนถึงว่าอยากพูดกับพระครูมานานแล้วเป็นต้น แต่นั้นมาพระครูได้รักษาไข้เจ็บด้วยยานั้น เป็นอะไรๆก็หาย ห้าให้เรียกขวัญข้าวค่ายานอกจากหมากคำเดียว และไม่ใช่พูดแต่สองครั้งเท่านั้น พูดเนืองๆมา พระครูจึงได้บอกลงไปยังเจ้าคณะและกระทรวง ผู้ที่ได้ฟังพระพูดนั้นไม่ต้องเฉพาะว่าคนเดียว พระฟังพร้อมกัน ๑๕ รูปก็ได้ ให้นางคนนั้นลองพูดกับพระ ก็เห็นจะขาดกรมประจักษ์จึงไม่ได้ตอบ กลับลงมามีเด็กมากอดได้ให้เสมา ตกค่ำจึงมีพายุและฝนตกพรำไม่มาก พระครูส่งจดหมายที่เตรียมไว้จะให้มกุฎราชกุมาร เรื่องพระพูดและตำรายา ในเนื้อความที่พระครูกล่าวนั้น ไม่ยืนยันว่า พระพุทธองค์พูดเป็นคิดเห็นว่าผีสางเทวดาที่สิงพูดอยู่ ยานั้นก็เป็น ๒ ขนาน ขนานหนึ่งเข้าใบส้มใบมะกาเป็นยาปัด ขนานหนึ่งเข้าใบมะตูมเป็นยาคุม

    ..................................................................................................


    (๒๓) อาจารย์วัดบางปลาหมอองค์นี้ ชื่ออาจารย์สุ่น

    (๒๔) เทศา คือ พระยาโบราณราชธานินทร์(พร เดชะคุปต์) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า

    (๒๕) นายช้างคนนี้ ได้ทรงคุ้นเคยในคราวเสด็จประพาสครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เสด็จไปแวะที่บ้าน นายช้างกับนางพลับภรรยาไม่รู้จัก แต่ต้อนรับเสด็จให้ทรงสำราญพระราชหฤทัย ประพฤติตัวเหมือนฉันท์มิตรสหายที่เสมอกัน ต่อเสด็จกลับมาแล้วนายช้างนางพลับจึงได้รู้ ทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งเป็นหมื่นปฏิพัทธภูวนาถ เป็นคนโปรดมาแต่ครั้งนั้น เรื่องพิสดารของนายช้างปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุประพาสต้นครั้งแรก

    (๒๖) พระไล บุตรนายช้างนางพลับ ได้ลงมาบวชอยู่วัดเบญจมบพิตรแล้วได้เป็นเปรียญ

    (๒๗) หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว. ปฐม คเนจร ณ อยุธยา) ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ต่อมาได้ไปเป็นปลัดมณฑลอีสาน ไปป่วยถึงอนิจกรรมในราชการ
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ลิขิตของพระครูปาโมกขมุนี


    (ลิขิตฉบับนี้ พระครูปาโมกขมุนีเตรียมไว้ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อคราวเสด็จกลับจากมณฑลพายัพ แต่เผอิญหาได้เสด็จประทับที่วัดป่าโมกข์ไม่ ลิขิตฉบับนี้จึงยังตกค้าง)


    ที่วัดปาโมกข์
    วันที่ ๓๐ มกราคม ร.ศ. ๑๒๔

    ลิขิตพระครูปาโมกขมุนี วัดปาโมกข์ เมืองอ่างทอง ขอถวายพระพรยังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงทราบ

    ๑. เดิมวันที ๑๐ ธันวาคม ศก ๑๒๔ ปีนี้ เวลาประมาณบ่าย ๖ โมงเย็น พระโตอยู่ในวัดปาโมกข์ป่วยเป็นไข้อหิวาตกโรค หมอรักษาก็ไม่บรรเทา ขณะนั้นอุบาสิกาเหลียน อยู่บ้านเอกราชแขวงปาโมกข์ เมืองอ่างทอง จึงมาขอยา ตั้งความสัตยาธิษฐานต่อพระพุทธไสยาสน์ แล้วก็เอาใบไม้ที่สมมติว่าเป็นยานั้นเอามาต้มให้พระโตที่ป่วยนั้นฉัน พระโตก็ฉันเข้าไป โรคของพระโตก็หายสมประสงค์ พระโตที่ป่วยกับอุบาสิกาเหลียนนั้นเป็นลุงหลานกัน

    ๒. อุบาสิกาเหลียนมาแจ้งความต่ออาตมาภาพกับพระภิกษุสงฆ์ในวัดปาโมกข์ ว่าพระพุทธไสยาสน์นี้ ท่านเป็นหลวงพ่อฉัน ฉันจะธุระนึกเอาอันใดใปหาท่าน มีเสียงออกจากพระอุระมาเสมอๆ ท่านไม่ขัดฉัน อาตมาภาพถามอุบาสิกาเหลียนว่า เสียงพูดออกมาจากพระอุระพระพุทธไสยาสน์ได้จริงหรือ อุบาสิกาเหลียนตอบว่าจริงเจ้าข้า

    ๓. วันที่ ๑๔ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๔ เพลา ๖ ทุ่ม ๒ทุ่มเลิกประชุม อาตมาภาพจัดให้พระสงฆ์ในวัดปาโมกข์ประมาณ ๑๐ รูป คฤหัสถ์ ๕ คน ศิษย์วัดด้วย รวมพระสงฆ์ คฤหัสถ์ ศิษย์วัดประมาณ ๓๐ คน พากันไปที่พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ อุบาสิกาเหลียนก็ไปด้วย ขณะนั้นอาตมาภาพจึงให้พระสงฆ์จุดโคมไฟให้แสงสว่างทั่วไปในวิหารนั้น อาตมาภาพได้ให้พระสงฆ์ตรวจดูว่าเป็นผู้ใดทำกลมารยาเร้นซ่อนเข้ามาพูดกับอุบาสิกาเหลียน กลัวว่าอุบาสิกาเหลียนจะเป็นคนเท็จทุจริต พระสงฆ์ก็ตรวจดูตามทาง คือ พระวิหารและฝาผนังองค์พระทั่วไป ก็ไม่เห็นมีคนที่จะเข้ามาแอบแฝงอยู่ในที่นั้นได้ แล้วอาตมาภาพจึงให้พระสงฆ์ปิดประตูพระวิหาร และให้รักษาคอยสอดแนมดูอยู่ในพระวิหารทั่วไป เป็นเหตุที่ไม่เชื่อคำอุบาสิกาเหลียน หวังใจจะจับเท็จอุบาสิกาเหลียน

    ๔. อุบาสิกาเหลียน ๑ อาตมาภาพและพระสงฆ์ ๑๐ รูป คฤหัสถ์ชาวบ้านศิษย์วัดรวม ๓๐ คน พากันเข้าไปในวิหารพร้อมกัน มีแสงไฟสว่างทั่วไป ไปนั่งอยู่ตรงพระพักตร์พระพุทธไสยาสน์ ห่าประมาณ ๔ ศอก อุบาสิกาเหลียนจุดธูปเทียนเอาใบพลู ๑ ใบ ทาปูนพับ ๔ เหลี่ยม หมาก ๑ ซีก ยาสูบใส่พานบูชา แล้วออกอุทานวาจาตั้งอธิษฐานว่าดังๆพยานที่ไปก็ได้ยิน ในคำอธิษฐานนั้นว่า นิมนต์หลวงพ่อเอาเภสัชในพานนี้ไปฉันให้พระครูปาโมกขมุนีดู ประมาณ ๒ มินิตหมากในพานก็หายไป อาตมาภาพกับพยานได้เห็นอัศจรรย์ชั้นแรก แต่จิตนั้นไม่เชื่อ แล้วอาตมาภาพถามอุบาสิกาเหลียนว่า นี่ฉันจะพูดด้วยจะได้หรือไม่ได้ อุบาสิกาเหลียนก็ร้องขึ้นว่า นิมนต์หลวงพ่อพูดกับท่านพระครูจะได้หรือไม่ได้ ขณะนั้นได้ยินเสียงปรากฏอยู่ที่พระอุระ สำเนียงกระแสเสียงตอบว่า ได้

    ๕. ขณะนั้น อาตมาภาพก็ยกมือขึ้นนมัสการร้องเรียกหลวงพ่อคำรบ ๓ มีเสียงปรากฏออกจากพระอุระตอบว่า เรียกทำไม อาตมาภาพไต่สวนต่อไป ถามว่า หลวงพ่อในสมัยนี้ หลวงพ่อมีความสุขสบายดีหรือ ตอบออกมาว่าสบาย แล้วอาตมาภาพถามว่า หลวงพ่อสบายแล้ว หลวงพ่อให้ความสุขแก่ผมบ้างไม่ได้หรือ เสียงตอบว่า พระครูก็เป็นสุขสบายอยู่แล้ว อาตมาภาพถามว่า จะให้เป็นสุขสบายยิ่งไปกว่านี้จะได้หรือไม่ได้ ตอบว่าไม่ได้ อาตมาภาพถามว่าเหตุใดจึงไม่ได้ ตอบออกมาว่า เดือนยี่กับเดือน ๕ จะเกิดอหิวาตกโรค แล้วอาตมาภาพถามว่า ส่วนที่จะเกิดอหิวาตกโรคทำไมจึงทราบได้ หยูกยาจะไม่ทราบบ้างหรือ ถ้าทราบยาได้แล้วบอกให้เป็นทานแก่มหาชนทั้งหลายทั้งปวงสืบไป ตอบว่าไม่ต้องรับประทานยา อาตมาถามว่าไม่รับประทานยาจะรับประทานอะไรจึงจะหาย ตอบว่ารับประทานน้ำมนต์ก็หาย อาตมาภาพถามว่าเดือนยี่กับเดือน ๕ ยังอยู่อีกหลายราตรี จะคิดเวียนเทียนถวายจะชอบหรือไม่ชอบ ตอบว่าชอบ ถามว่าจะทำข้างขึ้นหรือข้างแรม ตอบว่าข้างแรม ถามว่าเครื่องดนตรีนั้นจะต้องใช้หรือไม่ต้องใช้ ไม่ตอบ อาตมาภาพถามว่า หรือจะไม่ชอบ ชอบแต่ดอกไม้ธูปเทียนเวียนเทียนเท่านั้น ตอบว่าฮือ แล้วอาตมาภาพไต่สวนต่อไปว่า ที่มหาชนมาเวียนเทียนและที่จะมาขอน้ำมนต์ไปรับประทาน ตั้งแต่เดือนอ้ายไปถึงเดือนยี่ และเดือน ๕ ที่จะเกิดอหิวาตกโรคนั้น ถ้ากินหนเดียวครั้งเดียวจะคุ้มไปถึงได้หรือไม่ได้ ตอบว่าได้ พยานพระและคฤหัสถ์ก็ได้ยิน ที่มานั่งประชุมฟังเสียงพูดเป็นอัศจรรย์ ได้ยินทั้งพระภิกษุสงฆ์และคฤหัสถ์ ได้ยินทุกๆคนเป็นอัศจรรย์ชั้นปฐม ถึงได้ยินเสียงปรากฏดังนี้อาตมาภาพยังไม่เชื่อแท้ยังมีความสงสัยอยู่ ว่าจะเป็นเสียงภูตปีศาจหรือเทวาดาหรืออารักษ์เทวาและอมนษย์พูดแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง อาตมาภาพไม่เห็นตัวได้ยินแต่เสียงอัศจรรย์จากพระอุระพระพุทธไสยาสน์ดังนี้ สิ้นเวลาวันปฐม

    ๖. ต่อมาวันที่ ๑๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๔ เพลา ๔ ทุ่ม อาตมาภาพ พระสงฆ์ ๑๕ รูป คฤหัสถ์ ๒๐ คน อุบาสิกาเหลียนด้วย พากันเข้าไปในพระวิหารตรวจดูในพระวิหาร มีแสงไฟสว่างตามที่ตรวจดูมาแต่เดิมก็ไม่เห็นผู้คนผู้หนึ่งผู้ใด ที่จะเข้ามาแอบแฝงเร้นซ่อนบังกายอยู่ในพระวิหาร และองค์พระพุทธไสยาสน์ ตรวจทั่วไปพร้อมด้วยพระสงฆ์คฤหัสถ์ พากันจุดธูปเทียนนมัสการบูชา ปิดประตูรายกันอยู่ทั่วไปในพระวิหารคอยดูคนทุจริต อาตมาภาพนั่งอยู่ที่พระพักตร์พระพุทธไสยาสน์ อุบาสิกาเหลียนก็ร้องขึ้นดังๆว่า หลวงพ่อ เสียงดังออกมาจากพระอุระบอกว่าฮือ คำตอบก็ดังปรากฏออกมาว่า อยากจะพูดกับพระครูปาโมกขมุนีอีก ขณะนั้นอาตมาภาพก็ถามว่า ผมจะทำรั้วสังกะสีตาข่าย ทำเป็นรั้วกั้นให้รอบองค์หลวงพ่อ หลวงพ่อจะชอบหรือไม่ คำตอบว่าชอบ คำถามก็รับว่าจะทำถวาย อาตมาภาพถามว่าเดิมหลวงพ่ออยู่วิหารเก่าที่ฝั่งมรรคา อยู่เคียงศาลาโรงธรรมหรือเหนือกุฏิกระผมขึ้นไป เพราะเจ้านายเสด็จไปมา ตรัสถามว่าวิหารเก่าอยู่ที่ไหน กระผมเพ็ดทูลข้องขัด ถ้าจะถามเดิมตอบว่าอยู่เมืองลาว อาตมาภาพถามว่า เมืองลาวที่อยู่นั้นสมมติเรียกว่าเมืองอะไร คำตอบก็ไม่มีปรากฏออกมา อาตมาภาพถามเหตุใดจึงได้มาอยู่วัดปาโมกข์ได้ ตอบว่าลอยน้ำมา ถามว่าลอยน้ำมาพะปะอยู่ที่ไหน ตอบว่าถ้าอยากจะรู้แล้วให้เข้าไปแต่พระครูองค์เดียว จะเล่าของเก่าแก่ให้ฟังทั้งสิ้น ตอบว่าพระพูดเสียงดังจะไม่ให้กลัวด้วย อาตมาภาพไต่สวนต่อไปถามว่า กระผมจะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ปิดทองให้เป็นของงามขึ้นกว่าแต่ก่อนดังนี้ หลวงพ่อจะชอบหรือไม่ชอบ คำตอบว่าชอบคล้ายจะหัวเราะด้วย อาตมาภาพกับพยานพระสงฆ์และคฤหัสถ์มีชื่อที่ได้ยินได้ฟัง ได้ทราบเหตุที่เป็นอัศจรรย์บังเกิดขึ้นในวัดดังนี้ อาตมาภาพได้ทำรายงานไว้ลอกคัดถวายพระเดชพระคุณ สมเด็จพระบรมทรงทราบ ขอบุญบารมีพระเดชพระคุณเป็นที่พึ่ง เพราะเป็นการอัศจรรย์ จะเป็นเสียงภูตปีศาจ หรือเทพารักษ์ อมนุษย์อย่างใด ก็ยังไม่เชื่อแท้ เป็นเสียงเลื่อนลอยไม่เห็นตน มีเสียงพูดดังออกมาจากพระอุระพระพุทธไสยาสน์ดังนี้


    ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรด
    </O:p

    ขอถวายพระพร

    พระครูปาโมกขมุนี




    ใบส้มโอ ๑ ใบคนทีสอ ๑ ใบมะกรูด ๑ ใบเงิน ๑ ใบทอง ๑ ใบมะภู่ ๑ ใบมะกา ๑ ใบมะนาว ๑ รวม ๘ สิ่งนี้ต้มเป็นยา
    ต้องลงคุณพระ ลงด้วยพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณและสักกัตตวาจนจบบท พุทธคุณห้องต้นนั้นลงกระดาษปิดปากหม้อ และธรรมคุณ สังฆคุณ สักกัตตวานี้ลงใส่กระดาษไว้ก้นหม้อ ต้มแล้วรับประทานครั้งหนึ่ง รุ่งราตรีหน้าแล้วเอากระดาษที่ปิดปากหม้อใส่ลงในหม้อ ต้มเคี่ยวไปกับยา

    เมื่อเวลาจะประกอบยานี้ จุดดอกไม้ธูปเทียนแล้วระลึกถึงเจ้าของยา เมื่อรับยาบอกว่าเป็นโรคสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้วจึงรับ

    ขวัญข้าวหมาก ๑ คำ หาคล้ายกับเมี่ยงลาวพันสำลีสามเปลาะใส่พานแขวนไว้สูงๆ

    ถ้าหายโรคแล้ว หมากคำนั้นต้องส่งขวัญข้าวเภสัชนั้นแห้งเสียแล้วหาอื่นแทนก็ได้ แต่ต้องหาเหมือนกับยังที่ตั้งขวัญข้าวไว้

    เมื่อพระอาพาธเป็นไข้อหิวาตกโรคนั้น ได้ยาขนานนี้ริบโภคหาย ใบขนุน ๑ ใบเข็ม ๑ ใบบานไม่รู้โรยขาว ๑ ใบมะตูม ๑ รวม ๔ สิ่งเป็นยาต้ม

    ยา ๒ ขนานนี้ปรุงเสมอภาค

    <O:p</O:p

    ..........................................................................


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๖ เช้า ๒ โมงออกเรือ ช้า ๔ โมงถึงอ่างทอง แวะที่ตลาดถ่ายรูปและซื้อของบ้าง เลิกบ่อนเสียตลาดโรยไป ๑ ใน ๑๐ ไม่มากนัก ออกจากตลาดลงเรือมาดมาที่ที่ว่าการเมือง ซึ่งย้ายมาตั้งข้างเหนือน้ำ โรงเลื่อยซึ่งอยู่ตรงข้ามฟากอันเริ่มทำเมื่อขึ้นไปเมืองเหนือน้ำบัดนี้สำเร็จแล้ว ที่ว่าการเก่าเปลี่ยนเป็นที่พำนักสำหรับข้าหลวงตรวจราชการ ที่ว่าการใหม่ทำห่างแม่น้ำเข้าไปเป็นตึกงดงามแน่นหนาดี แต่ศาลายังคงเป็นไม้อยู่ ตรวจดูออฟฟิศและศาล ๒ แห่ง ทั้งถ่ายรูป เสร็จแล้วจึงได้ลงเรือขึ้นไปบ้านข้าหลวงซึ่งอยู่คนละฟากไกลขึ้นไป บ้านนี้คือที่พลับพลาเมื่อครั้งไปเหนือ ซึ่งทำเป็นสวนบนฝั่งหลังที่จอดเรือ มีข่อยมากเป็นที่อาศัยร่มได้ เรือนทำขึ้นใหม่เป็นเรือนไม้สบายดี กลับลงมาที่พักแพทำครัวกินข้าวกลางวัน แพนี้เป็นแพคราวพิษณุโลก บ่าง ๒ โมงออกเรือ บ่าย ๔ โมงเศษจอดที่ไชโย ขึ้นไปนมัสการพระและถ่ายรูป มีคนมาก ทั้งตาเกดมหาพุทธพิมพาและมหาอิ่ม(๒๘)ซึ่งมาเป็นนายบ้านก็อยู่ด้วย เวลาพลบฝนตก

    ..........................................................................................


    (๒๘) นาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]เกด เปรียญ</st1:personName> เมื่อบวชได้เป็นพระราชาคณะที่พระมหาพุทธพิมพาภิบาล เจ้าอาวาสวัดไชโย มหาอิ่มเดิมนั้นบวชเป็นเปรียญอยู่วัดบุรณสิริ ฯ

     
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๗ เวลาเช้า ๒ โมงออกเรือจากไชโย ๔ โมง ถึงวัดชลอนพรหมเทพาวาสของท่านพิมล(อ้น) ขึ้นถ่ายรูปมีพี่น้องท่านพิมลมารับมาก ต้นโพธิ์กิ่งตอนวัดนิเวศน์ใหญ่โตงามดีมาก แต่เอนไปข้างหนึ่งเพราะหลบต้นมะม่วง อยู่ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงออกจากวัดชลอนขึ้นตลาด หมื่นหาญสนุกครึกครื้นกว่าคราวก่อน ตลาดนี้ติดได้เพราะเป็นท่าเกวียนมาแต่เมืองลพบุรี ทางแต่ท่านี้ไปถึงวัดไลโดยม้าชั่วโมงหนึ่ง มีผักสดปลาสดมาขายจากลพบุรี แล้วเดินตั้งแต่ตลาดมาที่ว่าการอำเภอ หยุดทำกับข้าวกินที่ตลิ่งหน้าออฟฟิศโทรเลข ยังไม่ทันถึง ๒ โมงลงเรือมาด ขึ้นมาเข้าปากน้ำบางพุทรา ซึ่งเดี๋ยวนี้เรือเมล์เดินได้แล้ว แวะที่ไร่พริกแล้วกลับขึ้นมาจอดที่เมืองสิงห์ใหม่ ขึ้นเดินบกถ่ายรูปจนถึงวัดสุดตลาด ที่ตลาดก็ดูครึกครื้น แต่สู้อ่างทองไม่ได้ ที่ว่าการต่างๆทำขึ้นใหม่บ้างแต่เป็นไม้เล็กๆ แต่จวนผู้ว่าราชการยังเป็นจวนพังโทรมเต็มที ทำใหม่ยังไม่แล้ว ถนนดีแต่สำหรับไม่มีฝน ถ้าจะมีฝนทีจะเป็นโคลน (ที่ข้างวัดใต้เมือง) มีพระแก่เบาๆอยู่องค์หนึ่ง กรมประจักษ์(๒๙)ตั้งให้เป็นพระครู คุยพล่ามว่าได้เป็นผู้บังคับการพระบาทมงคลทิพยมงคลเทพก็รู้จัก มีเครื่องอยู่คงมาแจกทหารมาก เมื่อไปพบหมดเสียแล้ว พักทำครัวที่แพชุดพิษณุโลกเหมือนกัน วันนี้กับข้าวดีมาก และฝนไม่ตก เป็นวันแรกตั้งแต่มา

    ................................................................................


    (๒๙) พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

     
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๘ เช้า ๒ โมงออกเรือ เขาเตรียมจะให้พักกลางวันวัดเวฬุวันวัตยาราม แต่เห็นยังเช้านักจึงได้เลยขึ้นมาจนถึงที่ว่าการเมืองอินทร์ แวะจอดที่นั่นถ่ายรูป ให้พระยาโบราณมาตรวจดูหน้าวัดปลาสุก ว่าจอดได้ เลื่อนเรือมาจอดวัดสุก ๕ โมงเศษ วัดนี้เป็นที่พระครูอินทมุนีอยู่ ชื่อใหม่เรียกวัดสนามไชย ดูเป็นวัดโบราณมากต้นไม้ใหญ่แต่ฝีมือเลวๆ เอาโบสถ์เข้าไปไว้ในหมู่ไม้ลึกห่างน้ำมาก เดิมเข้าใจว่าหลังข้างในที่สุดซึ่งเป็นผนังตึกจะเป็นโบสถ์ แต่ไม่ใช่กลายเป็นวิหารไป พระอุโบสถนั้นเสาไม้รูปร่างเหมือนการเปรียญ ตั้งต่อออกมาข้างหน้ามีหน้าเมืองสวรรค์งามอยู่หน้าหนึ่ง ปั้นพระองค์เป็นปูนต่อขึ้นไว้ ถามได้ความว่าไปเอามาแต่วัดตรงข้ามฟาก ได้บอกให้พระยาโบราณมาทำพระเศียร ทำกับข้าวในหมู่ต้นไม้ลานวัดข้างกุฏิ พระครูอินทมุนีนี้เป็นหมอ แต่เป็นหมอยามากว่าหมอเสกเป่า ขาวบ้านนับถือ ฟังตาผู้ใหญ่บ้านมาลือต่างๆ แกชื่อบุญเติม เลยให้เป็นเป็นชื่อบุญลือ

    เรื่องลือที่ ๑ นั้นคือว่าโหรถวายฎีกาว่าจะได้ผู้มีบุญ จึงได้เสด็จออกไปเมืองตะวันออกได้ลูกเงาะ(๓๐)มาคนหนึ่งโปรดมาก ถึงจะทำอย่างไรๆต่อหน้าขุนนาง ก็รับสั่งไม่ให้ใครว่ากล่าวห้ามปราม การที่เสด็จมาครั้งนี้ เมืองพิชัยบอกลงมาไปว่าเกิดต้นโพธิ์ขึ้นต้นหนึ่งใบขาวเป็นเงิน จึงได้เสด็จขึ้นมาทอดพระเนตรต้นโพธิเงิน อีกนัยหนึ่งว่าจะตรวจสุขทุกข์ของราษฎร ห้ามไม่ให้กะเกณฑ์และอื่นๆ กลับลงมาจากวัดบ่าย ๒ โมง ๔๐ ออกเรือมาถึงอำเภอสรรพยาเวลาบ่าย ๕ โมงเกินเล็กน้อย ท้าวเวสสุวรรณคือพระยาอมรินทร(๓๑)ลงมาคอยอยู่แล้ว ที่นี่หรูขึ้นกว่าที่อื่นด้วยอดไม่ได้ถึงตีรั้วแทนที่ฉนวนกั้นและตามไฟ ขึ้นเดินไปประมาณ ๒๐ เส้นไม่มีอะไรที่จะพึงดู กลับมาดูทหารชัยนาทซึ่งเจ้าคำรบ(๓๒) พากันลงมาเป็นน่าดูกว่าอื่นๆหมด เอาลงมารักษาการ ๕๐ คน เวลาคำนับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเรียบร้อย ได้ไปลองทักทายตั้งแต่นายสิบจนลูกแถวพูดจาคล่อง พิจะค่ะขอรับ เป็นทุกคนหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนคนคุ้นเคย เป็นคนหนุ่มๆทั้งสิ้น

    ...................................................................


    (๓๐) ลูกเงาะคนนี้ คือ นายคนัง เป็นลูกเงาะชาวเมืองพัทลุง ทรงเลี้ยงไว้ในพระบรมมหาราชวัง และตามเสด็จประพาสด้วยเป็นนิจ

    (๓๑) คือพระพระยารัตนกุลอดุลยภักดี (จำรัศ รัตนกุล) เวลานั้นเป็นสมุหเทศาภิบาลนครสวรรค์ ซึ่งดำรัสเรียกว่า ท้าวเวสสุวรรณ นั้น เพราะเมื่อครั้งเตรียมการรับเจ้าต่างประเทศที่พระราชวังบางปะอินครั้งที่ ๑ พระยารัตนกุลฯ ยังเป็นผู้ว่าเมืองอ่างทอง พระยาพิสุทธิธรรมธาดา(สว่าง)ผู้ว่าราชการเมืองลพบุรี พระยาวจีสัตยรักษ์(ดิส นามสนธิ)ครั้งยังเป็นผู้ว่าเมืองสระบุรี กับพระยาศรีสัชนาลัย(เจิม บุนนาค) เมื่อยังเป็นผู้ว่าราชการเมืองสิงบุรี ทั้ง ๔ คนนี้ได้เป็นนาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]ด่าน ทำการแต่งพระราชวัง</st1:personName> มีพระราชดำรัสเรียกว่า "จตุโลกบาลทั้ง ๔" พระยารัตนกุลได้รับสมบัติเป็นท้าวเวสสุวรรณ

    (๓๒) พระองค์เจ้าคำรบ เวลานั้นยังเป็นหม่อมเจ้า ตำแหน่งนายพลผู้บัญชาการทหารบกมณฑลนครสวรรค์

     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๙ ระยะทางมากกว่าวันก่อน เป็นอันจะไปได้เพียงเมืองกำแพงเพชร(๓๓)จึงคิดร่นตอนต้นนี้ที่เคยเห็นให้น้อยเข้า ออกเวลา ๒ โมงเช้าถึงวัดพระธาตุเวลา ๔ โมงเศษ พระครูอินทโมลี(๓๔)จัดรับแข็งแรง ถึงทำปะรำเป็นฉนวนผูกฉัตรและต้นกล้วย แต่ที่เก๋งนั้นพระครูเดินเองออกไปบอกร้องวันทยาหัตถ์ให้ผู้ใหญ่บ้านและนักเรียนคำนับ ได้ถ่ายรูปและบูชาตามเคย พระไชยนฤนาท(๓๕)ออกความเห็นใหม่ว่า ที่พระธาตุนี้ไม่ใช่เมืองชัยนาทเพราะเมืองใกล้เมืองสวรรค์นัก ระยะทาง ๔๐๐ เส้น ได้ไปค้นพบใหม่แห่งอื่นแล้ว กำลังยังตรวจตราให้แน่กันอยู่(๓๖) ที่วัดพระธาตุนี้เป็นทำนบกั้นน้ำห้วยกรด ซึ่งอยู่ใกล้วัดให้ไปลงน้ำแพรก ของเขาชอบกลดีอยู่ เจ้าครองเมืองเหล่านี้คงตั้งประจำแม่น้ำละองค์ คือน้ำสุพรรณองค์หนึ่ง น้ำแพรกองค์หนึ่ง น้ำชัยนาทองค์หนึ่ง พระธาตุเห็นจะได้สร้างภายหลัง เมื่อชักตระกูลสุโขทัยลงมาเป็นเมืองชั่วคราว

    ๕ โมงครึ่งออกจากวัดพระธาตุไปจอดที่ที่จัดไว้ให้แรม ตรงที่ว่าการข้ามเพราะฟากตะวันออกร้อนนัก เขาเลื่อนแพมาจอดไว้ด้วย ขึ้นทำกับข้าวและอาบน้ำ บ่าย ๒ โมงครึ่งได้ออกเรือแวะที่โรงทหาร ขึ้นตรวจแถวและตรวจโรงซึ่งแล้วใหม่ ดูคนซึ่งเข้าใหม่ คนชั้นเกณฑ์คราวหลังนี้มีเล็กๆมาก อายุ ๑๙ ยังดูเด็ก กลับจากโรงทหารขึ้นมาถึงหน้าเขาธรรมามูล ๔ โมงครึ่งข้ามไปถ่ายรูปที่หาดตรงข้ามจนเย็นจึงได้ขึ้น เขาเรี่ยรายปฏิสังขรณ์ศาลาและวิหารขึ้นใหม่ แต่โบสถ์และพระเจดีย์ยังไม่ได้จัดการ ได้เข้าเรี่ยรายด้วย เทศกาลไหว้พระมี ๓ คาราวคือ กลางเดือน ๖ กลางเดือน ๑๒ กลางเดือน ๓ กลางเดือน ๑๒ เป็นเวลาประชุมใหญ่ ฝนไม่ตกมาหลายวัน ชาวบ้านนี้บ่นวันนี้ฟ้าแลบแต่ไม่ตก

    ................................................................


    (๓๓) มีพระราชประสงค์จะเสด็จประพาสหัวเมืองทางลำน้ำปิงคราวนี้ และเวลาปราศจากความเจ็บไข้ จึงได้รอมาจนคราวนี้

    (๓๔) พระครูอินทโมลี(ช้าง) ต่อมาได้เป็นพระราชาคณะที่พระอินทโมลี คงอยู่วัดนั้น

    (๓๕) พระไชยนฤนาท(ม.ล.อั้น เสนีวงศ์ ณ อยุธยา)ผู้ว่าราชการเมืองชัยนาท ต่อมาเป็นพระยอดเมืองขวาง

    (๓๖) เมืองชัยนาทเก่าที่ว่านี้ ตรวจพบอยู่ใต้วัดมหาธาตุลงมา คราวหลังได้เสด็จไปประพาส


     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๑๐ ออกเรือ ๒ โมงเช้า มาถึงหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมโนรมย์ ๔ โมงเศษ เขาเอาแพเล็กๆมาจอดเรียงกัน ๓ หลัง แล้วทำนอกชานจนดูเป็นแพใหญ่ดี ๕ โมงเช้าลงเรือมาไปเข้าคลองสะแกกรัง ชั่วโมงเศษถึง เขายืมแพวัดไปจอดที่ที่เคยจอดแต่ก่อน ทำกับข้าวกินข้าวแล้ว บ่าย ๒ โมงเศษลงเรือขึ้นไปเหนือน้ำ หยุดถ่ายรูปแล้วขึ้นตลาด คราวนี้ถนนแห้งเดินดูได้ทั่วถึง ดูครึกครื้นกว่าตลาดกรุงเก่ามาก กลับมาลงเรือแวะที่หน้าวัดโบสถ์พบพระครูจัน(๓๗) ครู่หนึ่ง แล้วกลับมามโนรมย์ขึ้นเดินบกครึกครื้นดีกว่าที่คาดเป็นอันมาก ที่ติดได้เพราะด้วยหน้าแล้ง พวกสะแกกรังต้องเดินมาซื้อในที่นี้เพระปากคลองปิด เข้าได้แต่เรือพายม้า ๒ แจว

    ............................................................................


    (๓๗) พระครูสุนทรมุนี(จัน) เจ้าคณะใหญ่เมืองอุทัยธานี

     
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    [​IMG]

    วันที่ ๑๑ มาถึงวัดพระปรางค์เหลืองเที่ยง พระครู(๓๘)ลงมาคอยอยู่ที่แพ ขึ้นบกทำกับข้าวแล้วดูเหยียบฉ่า(๓๙) กรมหลวงประจักษ์ให้เหยียบถ่ายรูป พบเจ้าพระยาเทเวศรซึ่งมารักษาตัวอยู่ที่นี้ ดูเดินคล่องขึ้น ถามพระหมอ แรกบอกว่าเป็นอำมพาต แต่เป็นมานานเสียถึง ๓๕ ปี ครั้นเถียงว่าอำมพาตทำไมถึงช้าเพียงนั้น ก็รับว่าอ้ายนั่นว่าที่เป็นใหม่นี่หายแล้ว ยังจะรักษาที่เก่าต่อไปอีก เดินดูกุฏิและโบสถ์ที่ทำใหม่ไม่มีสาระอไร กลับลงมาร้อนอาบน้ำเลยให้พระครูรดน้ำมนต์ อยู่ข้างจะเหว สบายมาก(๔๐) มาชั่วโมงเศษถึงอำเภอเมืองพยุหคีรี มีพายุฝนตกประปราย ต่อฝนหายจึงได้ขึ้น จะไปพระบาทที่เขาสร้างขึ้นไว้ใหม่บนเขาเมือง ๒๐ ปีนี้ กลัวจะมืดจึงเดินไปแต่ที่ต้นทาง ทางที่จะไปเขานี้เป็นทางไปขึ้นรถไฟตำบนเนินมะกอก ๑๒๐ เส้น มีคนขึ้นลงเสมอ แต่ไม่มีสินค้านอกจากหมากพลู วันนี้รับหนังสือบางกอก


    [​IMG]

    [​IMG]

    เหยียบฉ่า
    ลายพระหัตถ์สมเด็จหญิงน้อย


    [​IMG]


    [​IMG]
    ...........................................................................................


    (๓๘) พระครูพยุหานุสาสก์(เงิน) เจ้าคณะเมืองพยุหคีรี

    (๓๙) เวลานั้นมีพระหมอมาแต่เมืองเขมรรูป ๑ มาพักอยู่ที่วัดพระปรางค์เหลือง รับรักษาโรคเมื่อยขัดต่างๆด้วยวิธีเอายาทาฝ่าเท้าพระนั้นเอง แล้วเอาเท้าลนไฟถ่านให้ร้อนจัด เวลาเอามาเหยียบตนไข้ตรงที่เมื่อยขบดังฉ่า กรมหลวงประจักษ์ฯรับอาสาจะลองให้เหยียบ

    (๔๐) พระครูพยุหานุสาสก์(เงิน) มีเกียติคุณในทางวิปัสสนา พวกชาวเมืองนับถือว่ารดน้ำมนต์ดีนัก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pra03180852p.jpg
      pra03180852p.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.3 KB
      เปิดดู:
      1,774
    • Untitled13.jpg
      Untitled13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.3 KB
      เปิดดู:
      1,524
    • Untitled12.jpg
      Untitled12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.8 KB
      เปิดดู:
      1,511
    • Untitled.jpg
      Untitled.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.3 KB
      เปิดดู:
      1,583
    • Untitled11.jpg
      Untitled11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46 KB
      เปิดดู:
      1,656
    • Untitled112.jpg
      Untitled112.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52 KB
      เปิดดู:
      1,537
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วันที่ ๑๒ เวลาเที่ยงถึงวัดบ้านเกาะ หยุดสำหรับกินข้าวได้ทำมาตามทางแล้ว ขึ้นบกพบสมภารอายุ ๘๗ ปี เคี้ยวจัดเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์(๔๑) ตาบอดข้างหนึ่ง แต่รูปร่างเปล่งปลั่งดี วัดใหญ่รักษาสะอาด มีตึกอย่างเก่า ๒ หลัง ในโบสถ์จารึกว่า สร้างเมื่อศักราช ๑๑๕๕ มีของประหลาดแต่พระกระจายยืนรูปร่างดี ได้ขอพระแล้วให้เงินไว้ให้สร้างเปลี่ยนใหม่ ต่อมาอีกชั่วโมงเศษถึงนครสวรรค์ จอดแพที่หน้าว่าการพบพระยาสุรสีห์ลงมาแต่เชียงใหม่ พระยาศรี(๔๒)ขึ้นมาแต่กรุงเทพฯ นึกจะไปดูเรือแม่ปะแต่เรียกเรือไม่ได้ ขึ้นบกถ่ายรูปที่ว่าการ ไปบ้านเทศาดูคุกและศาล วันนี้นอนบนแพร้อนจัด เพราะมืดฝนแต่ยังไม่ตก น้ำลด ๒ ศอกเพราะฝนตกขาด

    [​IMG]

    [​IMG]

    ......................................................................


    (๔๑) สมเด็จพระพุฒาจารย์(เขียว) วัดราชาธิวาส

    (๔๒) พระยาศรีสหเทพ ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ต่อมาเป็นพระยามหาอำมาตย์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Untitled14.jpg
      Untitled14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.6 KB
      เปิดดู:
      1,554
    • Untitled15.jpg
      Untitled15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.5 KB
      เปิดดู:
      1,524
    • Untitled17.jpg
      Untitled17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.4 KB
      เปิดดู:
      1,568
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    [​IMG]

    วันที่ ๑๓ ไปตลาดปากน้ำโพ ขึ้นริมห้างจีนสมบุญ(๔๓) ถ่ายรูปและซื้อของไปจนถึงบ้านยายจู ซึ่งเป็นที่สุดของเลยตลาด เมื่อมาคราวที่แล้วมานี้เวลาไม่พอ ขึ้นแห่งนี้ไปลงท่าหน้าวัดโพธิ์ เพราะฉะนั้นได้เห็นครึ่งตลาดเท่านั้น คราวนี้ได้เห็นตลอด ของขายเป็นของกรุงเทพฯ ของที่เงี้ยวเอามาขายถ้าเป็นผ้าก็แมนเชสเตอร์ทั้งนั้น ไม่ใคร่จะมีอะไรที่จะซื้อได้ ยายจูมาเชิญเสด็จถึงกลางตลาด ด้วยความประสงค์จะให้ดูเห็ด ซึ่งขึ้นเมื่อเวลากำหนดว่าจะเสด็จ ข้างจีนเขานับถือกันว่าเป็นมงคล ที่จริงไม่เคยเห็นโตอย่างนี้ พอเต็มอ่างเขียวขนาดใหญ่ กลับมาเที่ยง บ่าย ๕ โมงไปดูโรงทหาร ตั้งอยู่ต่อค่ายพม่าเก่า


    [​IMG]

    ปีนี้เป็นปีที่ ๔ คนสำรับแรกได้ออกไปบ้างแล้ว จึงเป็นการสงบเรียบร้อยไม่มีการตื่นเต้นอันใด การปลูกสร้างก็ร่วมเข้ามาก แต่ยังไม่พอคนอยู่ คนประจำมณฑล ๑๒๐๐ เต็มอัตรา ปลูกต้นสักแล้วตรวจโรง เลี้ยงน้ำชาที่ที่ว่าการ แล้วกลับดูเรือแม่ปะที่จะเป็นเรือพระที่นั่ง เป็นเรือของลูกโตได้มาจากพระยาสุรสีห์(๔๔)ทำเก๋งเดินได้ตลอดลำอย่างโก้ เจ้าของขอให้ตั้งชื่อ จึงตั้งชื่อว่า "สุวรรณวิจิก" มีเรือเก๋ง ๓ ลำ ของกรมดำรงลำ ๑ พระยาสุจริต(๔๕)ลำ ๑ พระวิเชียร(๔๖)ลำ ๑ เป็นเรือข้างใน แต่เรือที่นั่งจัดประทุนไว้ด้วยลำ ๑ เวลาค่ำฝนตกไม่สู้มาก มีลมจัด

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    ...................................................................................


    (๔๓) จีนสมบุญ เป็นพ่อค้าใหญ่อยู่ที่ปากน้ำโพ ต่อมาเป็นที่ขุนพัฒนวานิช

    (๔๔) เรือลำนี้ถวายสมเด็จพระบรมโอรสา ครั้งเสด็จเชียงใหม่

    (๔๕) พระยาสุจริตรักษา (เชื้อ กัลยาณมิตร) ผู้ว่าราชการเมืองตาก

    (๔๖) พระวิเชียรปราการ(ฉาย อัมพเศวต) ผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นพระยาไชยนฤนาท ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Untitled18.jpg
      Untitled18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      29.2 KB
      เปิดดู:
      1,505
    • Untitled19.jpg
      Untitled19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.5 KB
      เปิดดู:
      1,428
    • Untitled199.jpg
      Untitled199.jpg
      ขนาดไฟล์:
      122.5 KB
      เปิดดู:
      1,722
    • Untitled21.jpg
      Untitled21.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.6 KB
      เปิดดู:
      1,473
    • Untitled30.jpg
      Untitled30.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45 KB
      เปิดดู:
      1,411
    • Untitled31.jpg
      Untitled31.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.8 KB
      เปิดดู:
      1,476
    • Untitled32.jpg
      Untitled32.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.6 KB
      เปิดดู:
      1,556
    • Untitled33.jpg
      Untitled33.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.4 KB
      เปิดดู:
      1,405
    • Untitled35.jpg
      Untitled35.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.3 KB
      เปิดดู:
      1,419
    • Untitled43.jpg
      Untitled43.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.1 KB
      เปิดดู:
      1,445
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๑๔ เมื่อคืนนี้ฝนตกพรำต่อไปอีกยังรุ่ง พวกทหารเขาถือว่าเป็นฤกษ์ปลูกต้นสักที่โรงทหาร เพราะเมื่อเวลาปลูกนั้นยอดพับ ครั้นถูกฝนคืนนี้ตลอด ยอดกลับตั้ง เวลาเช้าไป(ดู)เขาบวชนาค หน้าแล้งแปลกกว่าหน้าน้ำมาก ใช่แต่สะพานไม่ถึงน้ำ ยังมีหาดขึ้นขวางหน้าร่องน้ำต้องไปเข้าทางเหนือ แต่มิใช่เรืออะไรไปได้ต้องเข็นและลุย ให้แต่ผู้หญิงขึ้นถ่ายรูปอยู่ตามสะพานและศาลา พบกองพรานที่เขาเกณฑ์มา จะให้ตามขึ้นไป มีช้าง ๕ เชือก เขากระโจมไฟและตั้งยามล้อมกันอยู่ ได้ถ่ายรูปพวกหัวหน้า ขออย่าให้ต้องตามไป (หัวหน้ากองพราน)อนุญาตให้ปล่อย(สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) แจกให้คนละกึ่งตำลึง แล้วกลับมาจัดเรือ เวลาบ่ายลงเรือไปเที่ยวตลาดแพในแควใหญ่ มีแพห้างจีนของฝรั่งแพ ๑ เหมือนกับร้านแควน้อย เขาช่างเลือกของซึ่งจำเพาะจะใช้เดินทาง เจ้าของร้านดูเป็นคนฉลาด ว่ามีทางรถไฟแล้วนำของขึ้นมาได้ง่าย มีกำไรดีกว่าแต่ก่อน

     
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๑๕ สองโมงเช้า ติดแผ่นเงินชื่อเรือสุวรรณวิจิกแล้วออกเรือ เรือไฟลากขึ้นมาจนพ้นตลาดแล้วจึงได้ถ่อ อันลักษณะถ่อนี้เล่าไม่เข้าใจชัด จนเวลาได้เห็นเอง เรือลำนี้ใช้คนถ่อ ๕ นายร้อยถือท้าย ๑ ที่แท้ได้ถ่อคราวละ ๔ ถ่อ ผลักกันนั่งเสียคน ๑ ถ้าร่องน้ำไปขวาถ่อซ้าย ถ้าร่องน้ำไปซ้ายถ่อขวา ถ่อที่ขึ้นพ้นน้ำยกลอยข้ามศีรษะคนกำลังถ่อ เมื่อยังไม่เคยมาในเรือเช่นนี้ นึกว่านายร้อยที่ถือท้ายจะเกะกะกีดอยู่ข้างท้ายมาก แต่ที่จริงดีกว่ากะลาสีถือท้ายเรือกรรเชียง ซึ่งขึ้นมานั่งข่มอยู่ข้างหลังเรามาก ที่ยืนอยู่ข้างหลังเรามาก ที่ยืนอยู่นอกเก๋งไม่เกี่ยวข้องอันใดเลย เรือลำนี้เดินเร็วมาก ลงเรืองชล่า(๔๗)ขึ้นไปถ่ายรูปที่หาดทราบงาม ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครสวรรค์ไม่ถึง ๒ เลี้ยว แล้วเปลี่ยนไปขึ้นเรือแม่ปะประทุน เอากรมดำรงกับพระยาโบราณซึ่งไปพบกันที่หาดนั้น ลงเรือไปด้วย ลงมือทำกับข้าวไปพลาง ไปอีกหน่อยทันเรือชายยุคล(๔๘)เอาตัวลงมาด้วย พวกที่ไปจากเรือ ๓ คนคือชายอุรุพงศ์(๔๙) พระยาบุรุษ หลวงนายศักดิ์(๕๐)มหาดเล็กประจำเรือ ๔ คนตั้งใจจะให้หลงลำแต่ไม่สำเร็จ

    จนถึงที่พักร้อนเพราะเหตุที่เทศาพาเรือประพาสมาตาม ประเดี๋ยวผู้ใหญ่ถ่อเรือชล่าตาม ต้องไล่เทศาไปลงเรือสุวรรณวิจิก ให้จอดคอยกระบวนหลัง ซึ่งยังล่าอยู่มากและถอดเสื้อกางเกง คนถ่อนุ่งกางเกงขาก๊วย ผ่านเรือพวกบางกอกขึ้นมาเสียอีกหลายลำ มารู้ว่าสำเร็จได้ เมื่อผ่านเรือนายทหารมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งขึ้นมาตามเสด็จไม่รู้จัก จึงลงมือเสาะหาที่หยุด ได้ฝั่งขวาเป็นบ้านนายพันอำแดงอิ่ม มีลูกหลานว่านเครือมาก เป็นเจ้าของนาโท เพราะแกเล่าว่าแกเสียค่านา ๓ สลึง เป็นเจ้าของที่ไร่ยาสูบ ซึ่งเป็นที่ดี (สมมติให้)พระยาโบราณเป็นเจ้าตัวผู้ใหญ่ในการเที่ยวครั้งนี้ ในหน้าที่เทศากรุงเก่า ทำท่าทางและพูดจาไต่ถามดีมาก

    ข้อความที่สนทนาว่าโดยย่อ แปลกใจที่ค่านาทำไมขึ้นไปกว่าแต่ก่อน ยอมรับว่าหาเงินเดี๋ยวนี้ได้โดยง่าย แต่ใช้ก็มากเหมือนกัน เมื่อก่อนข้าวเคยขายเกวียนละ ๔ ตำลึงเท่านั้น ปล้นตีชิงไม่มี แต่ถ้าเจ้าของไม่ระวังรักษาเช่นควายเป็นต้น ถูกขโมย ถ้าระวังรักษาอยู่แล้ว ขโมยไม่กล้า เคยลงไปเฝ้าในหลวงที่ปากน้ำโพ ได้เฝ้าใกล้จำได้ หลานได้เสมามา ๒ คน เสมานั้นเป็นเครื่องคุ้มกันอันตรายดีอย่างยิ่ง เพราะเวลาท่านประทานท่านให้พร หลานได้มาตรั้งนั้น ๒ คน เดี๋ยวนี้ต้องแบ่งไปให้หลานบ้านอื่น เพราะขี้โรค ที่อยู่บ้านเดี๋ยวนี้ต้องผลัดกันผูก ใครขี้โรคคนนั้นได้ผูก ท่านแจกก็มากจะหาซื้อสักอันหนึ่งไม่ได้เลย ไม่มีใครเขาขาย อยากเฝ้าในหลวง พระยาโบราณรับว่าจะพาเฝ้านัดหมายกันมั่นคงว่าจะลงไปกรุงเก่า แต่จะรอขายข้าวให้ได้เป็นทุนเสียก่อน แสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินเป็นอันมาก เพราะได้อยู่เย็นเป็นสุขเพราะท่าน เป็นใจความเช่นนี้

    กินข้าวใต้ต้นไม้ริมตลิ่ง ไม่รับเชิญขึ้นไปกินบนเรือน เมื่อกินอิ่มแล้ว ชาวบ้านลงมาสนทนากันต่อไป(๕๑) ได้ออกเรือจวนบ่าย ๒ โมง มาถึงที่ประทับแรมยางเอนยังไม่ทันจะบ่าย ๓ โมง เดินขึ้นบก มีพวกชาวบ้านมาคอยอยู่บนฝั่งมาก มีร้านมาขายของกิน นักเรียนพวกหนึ่งเดินขึ้นมาจากวัด เหนือตำบลพังม่วงที่บ้านยายอิ่มอยู่หน่อยหนึ่ง เพื่อจะมาร้องสรรเสริญพระบารมี อันจำจะต้องร้องผิดทุกแห่ง แต่วัดนี้ผิดมากสุ้มเสียงกวัดแกว่งเหลือเกิน แต่เดินเป็นทหารทีเดียว ได้ถามดู บอกว่าเหนื่อยมาก แจกเงินคนละสลึง ชาวบ้านมามาก แจกเสมา ถ่ายรูปเรือและลำน้ำแล้วกลับลงมาที่จอดเรือ ซึ่งทำพื้นแตะฝาใบพลู ๕ ห้อง เฉลียงด้านเดียว ลงมือทำกับข้าวแต่เย็น ได้กินพอพลบ

    ..............................................................................................


    (๔๗) เรือชล่าลำนี้ เป็นเรือเก๋ง เรียกว่าเรือประพาส

    (๔๘) พลโท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๕ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์

    (๔๙) พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๕ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช

    (๕๐) หลวงศักดิ์นายเวร(อ้น นรพัลลภ) ต่อมาเป็นพระยาพิพัทธราชกิจ

    (๕๑) นางอิ่มคนนี้ ต่อมาลงมาเฝ้าเป็นคนโปรดอีกคน ๑
     
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๑๖ สองโมงเช้า ออกเรือมาถึงวัดบ้านเกาะ ลงเรือประพาสไปขึ้นที่วัดหมายจะถ่ายรูปกระบวน แต่เวลาอยู่ข้างกระชั้น คนคอยเฝ้ามากนักตั้งปล้องไม่ใคร่จะได้เกะกะไปหมด เลยไม่ได้รูปดี วัดนั้นก็เป็นแต่ลานใหญ่ๆมีอะไรตามเคยของวัด แต่ต้นเต็มที เวลาจะกลับแจกเสมา แย่งกันลงมาเกือบสะพานหัก ครั้นถ่อขึ้นมาได้หน่อยหนึ่ง ได้ยินเสียงตะโกนร้อง "กินกิน" รู้ว่าเป็นบริษัทดุ๊ก(๕๒) แวะเข้าไปเจอกรมดำรง รพี(๕๓) ชายยุคล พระยาโบราณ ร้องกันอยู่บนเรือ ดุ๊กเป็นผู้ถูกเรียกกินมาแล้ว เขาจะเรียกให้เป็นยุติธรรม ไม่เลือกว่าใคร เว้นแต่เรือเจ้าสาย(๕๔) ถ้าเรียกกลัวจะเอาสำรับไปให้ด้วย หมายจะกิน เมื่อกินและแจกกันแล้วเสร็จ พากันลงเรือประพาสนั้นขึ้นมาจนถึงที่พักร้อน

    พากันขึ้นเรือเหลืองออกต่อไป ทำครัวมากลางทาง พอทำสำเร็จถึงบ้านเก้าเลี้ยวแวะกินข้าว ดุ๊กรับหน้าที่เป็นพระราชา แต่ทำท่าไม่สนิท เพราะแกกลัวอับปลีช(๕๕) ทักทายปราศรัยก็ต้องสอนกันมาก ข้อที่เกิดความนั้นเห็นจะเป็นด้วยเมียตากำนันเป็นผู้รับฉันทามัติของพวกจีนแคะ เจ้าของไร่อ้อยหลายเถ้าแก่ด้วยกัน มาเชิญเสด็จไปที่เรือนเขาทำไว้ถวาย ตกลงยอมไป เรากลับเป็นพระราชาตามเดิม มีผู้คนมาก มีพิณพาทย์ไทยพิณพาทย์จีน และม้าล่อเป็นอันมาก มีธูปเทียนมาเชิญให้ขึ้นบก ได้ขึ้นไปบนเรือนตั้งโต๊ะเครื่องบูชา มีโต๊ะเครื่องบูชา มีโต๊ะเก้าอี้หุ้มแพร เตียงนอนมุ้งแพรอย่างจีนทั้งนั้น อุทิศถวายไว้ให้ที่สำหรับพักข้าราชการไปมาต่อไป จีนเม่งกุ่ยเป็นหัวหน้า เมื่อได้รับอนุโมทนาเสร็จแล้ว ลงเรือโมเตอร์แล่นต่อมาอีก มาเกยที่ตื้น ๒ - ๓ คราวเลยทราบเข้าอุดท่อน้ำ ต้องมาหยุดแก้อยู่นาน จนกระบวนมาถึงจึงต้องลงเรือเหลืองมาขึ้นที่บ้านท่าวัว ถ่ายรูปกระบวนเรือแล้วเดินต่อมาทางบก มาเจอพวกเดินบกหลายคนเลยเป็นกองโตเดินแจกเสมาระมา ที่นี่เป็นหมู่บ้านใหญ่ผู้คนหนาแน่นมาก จนถึงซึ่งวัดจะจอดแรม เขาเรียกในระยะทางว่าบ้านหัวดง มีคนมาประชุมอยู่แน่นในลานวัด ต้องไปยืนให้กราบตีนตามความต้องการเป็นอันมาก แถบนั้นแตงไทยอร่อย กินทั้งวานและวันนี้

    ........................................................................................


    (๕๒) ดุ๊ก คือกรมหลวงสรรพศาสตรศุภกิจ

    (๕๓) พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๕ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

    (๕๔) คือพระวิมาดาเธอ ฯ กรมพระสุทธาสินีนาฎ

    (๕๕) คำว่าอับปลีช เป็นภาษาของนายคนังเงาะ หมายความว่าอับปรีย์ แต่พูดไม่ชัด

     
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๑๗ ออกเรือเวลาเช้า ๒ โมง จนใกล้บ้านหูกวางเวลา ๔ โมงเช้า ลงเรือชล่าประพาสจะไปขึ้นบ้านหูกวาง พระยาอมรินทรบอกว่า บ้านกำนันใยเป็นที่ใกล้บึงที่สุด แต่ที่แท้แกเข้าใจผิด เป็นในท้องที่กำนันใยไปไม่ใช่บ้านกำนันใย ที่ซึ่งใกล้ที่สุดอยู่ใต้บ้านกำนันใยลงไปครึ่งเลี้ยว สิ้นความพยายามที่จะถอยหลังกลับลงไปอีก สังเกตดูตามคำเล่าบึงนั้นเห็นจะเป็นลำแม่น้ำเก่า ยาวเหลือเกิน ในลำบึงเป็นพงขึ้น ว่ามีคันดินกว้างประมาณ ๓ วา ยื่นลงไปในบึงนั้น แต่ไม่ข้ามตลอดพอตกลึกก็จม

    เห็นว่าเป็นที่ซึ่งล้อมช้างแผ่นดินพระพุทธเจ้าเสือเป็นแน่ แต่ป่ายางกองทองไม่ได้ความ เพราะเหล่านี้แกไม่ข้ามบึง เมื่อมาตามทางพบกรมหลวงประจักษ์แต่ไม่ได้จับตัว เพราะกลัวจะไม่พบดุ๊ก ครั้นขึ้นมาอีกหน่อยพบเรือรพีก็รู้ว่าดุ๊กอยู่ ได้ตัวทั้งกรมดำรงแลพระยาโบราณด้วย ให้เอาเรือโมเตอร์ลงไปรับกรมหลวงประจักษ์ พากันไปขึ้นบ้านกำนันใย ได้ความว่าเดิมเป็นเลขของขุนกำแหงล้อมวัง แต่ให้พระยาโบราณขึ้นไป หรือว่าพระยาศักดามาเสียก่อนแล้ว จึงกลับไม่ได้ ต้องให้ขุนกำแหงอยู่ในบังคับพระยาศักดา ตาอ้นเป็นพระยาศักดาถูกนุ่งผ้าคนเดียว ทำท่าอุ้ยอ้ายดีมาก กินข้าวในร่มไม้ที่บ้านกำนันใยสบายดี แต่ตากำนันใยเองอยู่ข้างจะพะวักพะวนมาก ดูเหมือนจะได้รับคำสั่งให้เตรียมตัว เพื่อจะเสด็จขึ้นทอดพระเนตรบึง สงสัยพวกเราที่ไปก็สงสัย ประเดี๋ยวเรือกระบวนไป พากันวิ่งตึงตังลงไปริมน้ำ แบกจอบไปคอยฟันดิน สักครู่หนึ่งหน้าเล่อล่ากลับขึ้นมาว่า เจ้าคุณเทศาไล่ให้กลับขึ้นมาว่าไม่เสด็จแวะ ทำกับข้าววันนี้อร่อยมาก แต่เวลาที่ทำนั้นน้อย ยังต้องไปรออยูที่หน้าบ้านกำนันใยหน่อยหนึ่ง จึงได้ถ่ายรูปพงศาวดารเวลาเจ้าฟ้าเพชร เจ้าฟ้าพร สั่งให้นายผลไปเชิญเสด็จเจ้าแม่ผู้เฒ่า(๕๖)

    แล้วลงเรือต่อมา คิดกันว่าจะข้ามระยะหยุดเอาวันไปใช้ที่กำแพงเพชรอีกสักวันหนึ่ง จึงสั่งหลวงอนุชิต(๕๗)ไว้ให้บอกกระบวนใหญ่เลยข้ามอำเภอบรรพตขึ้นมา ที่อำเภอบรรพตนี้มีคนแน่นหนา มีวัดหลังคาซ้อน ๓ ชั้น ช่อฟ้าปิดทองทำใหม่ๆ ทรวดทรงก็ทีจะดี แต่ช่อฟ้านั้นชวนฟ้าชำเลืองอยู่บ้าง(๕๘)ไม่ได้แวะ ถัดขึ้นมาอีกหน่อยหนึ่งมีวัดรูปพรรณอย่างเดียวกัน แต่หลังคา ๒ ชั้น ด้วยเห็นพระพุทธรูปเก่าตั้งอยู่ที่หัวสะพานจึงได้แวะขึ้นดู เป็นพระเก่าจริง แต่ชำรุดมากไม่สู้งาม โบสถ์ที่หรูอยู่นั้นเป็นโบสถ์ทำใหม่ ไม่มีฝา หน้าบันเป็นอามมีมงกุฎและราชสีห์ คชสีห์โซดทำใหม่ที่เดียว แต่พระเก่ามีหลายองค์ไม่สู้งามทั้งนั้น แจกเสมาทั้งที่บ้านกำนันใยและที่วัด ดูเป็นลือล่วงหน้ากันมาเสียมากเรื่องเสมา ถึงที่ไหนแวะแห่งไรมีแต่อุ้มเด็กเต็มไปทั้งนั้น จะไม่ให้ก็สงสาร เพราะต้องการจริงๆ

    ที่วัดนี้มีเด็กน่าเอ็นดูหลายคน แต่ชื่อวัดยาวจนพระหนุ่มๆในวัดก็จำไม่ได้ตลอด คือช่องลมวารินศรัทธาราม เป็นเช่นนี้ไปทั้งนั้น ออกจากวัดขึ้นมาจนตาคนถ่อเหนื่อย จึงหยุดที่น้ำพักกินข้าว และถ่ายรูปอีกครั้งหนึ่ง เย็นแล้วก็ไม่ถึง เห็นกระบวนใหญ่แล้วกลับหาย จนออกเคลือบแคลงต้องสั่งซาวข้าวถึง ๒ ครั้ง แต่ดีที่ตานายร้อยยืนยันว่า คงจะถึงในเวลาพลบเกือบจะถวายชีวิตได้ ก็เป็นความจริงของแก มาถึงที่พักบ้านแดนอีก ๓ มินิตจะย่ำค่ำ บ้านคนตั้งแต่บรรพตขึ้นมาระยะห่างไป และมีแต่ฝั่งตะวันตก ตะวันออกมีน้อยเป็นป่ามาก เขาว่าฝังตะวันตกลุ่มทำนาดี มีไร่กล้วยไร่อ้อยเป็นพื้น ไร่เหล่านั้นนายร้อยเรือก็ว่าพึ่งตั้งได้สัก ๗ ปีนี้ แต่ก่อนมาเรือเป็ดค้าขายขึ้นมาเพียงบรรพต แต่มาวันนี้เห็นเรือเป็ดจอดที่บ้านแดนมาหลายลำ ผู้เดินทางแถบนี้ ไล่เลียงถึงข้างบกไม่ใคร่ได้ความ เป็นแต่ถ่อขึ้นล่อง

    ............................................................................................

    (๕๖) เรื่องพงศาวดาร ตอนพระเจ้าเสือให้เจ้าฟ้า ๒ พระองค์ทำสะพานข้ามบึงหูกวาง ไม่สำเร็จทันพระทัยให้ลงพระราชอาญา ที่ทรงถ่ายรูปทรงสมมติให้กรมหลวงประจักษ์ฯเป็นเจ้าฟ้าเพชร กรมหลวงสรรพสาตรฯเป็นเจ้าฟ้าพร พระยาโบราณฯเป็นนายผล

    (๕๗) หลวงอนุชิตพิทักษ์(ชาย สุนทรารชุน) เดี๋ยวนี้เป็นพระยาสฤษดิ์พจกร

    (๕๘) คำว่า "ช่อฟ้าชวนฟ้าชำเลือง" นี้ เป็นฉันท์ของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯเรื่อง ๑ ทรงยกมาติโบสถ์ที่ทำช่อฟ้ายาวเกินขนาด

     

แชร์หน้านี้

Loading...