พระปิดตาจัมโบ้ (พระปิดตาโคตรผง) หลวงปู่ทิม อิสริโก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 25 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">พระปิดตาจัมโบ้ (พระปิดตาโคตรผง) หลวงปู่ทิม อิสริโก </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="70%" colSpan=2>เขียนโดย ชินพร สุขสถิตย์ </TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2>Friday, 12 October 2007 </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE class=contenttoc cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right><TBODY><TR><TH>ดัชนี บทความ</TH></TR><TR><TD>พระปิดตาจัมโบ้ (พระปิดตาโคตรผง) หลวงปู่ทิม อิสริโก </TD></TR><TR><TD>หน้า 2 </TD></TR></TBODY></TABLE>หน้า 1 จาก 2

    [​IMG] พระปิดตาจัมโบ้ โคตรผง๒๐๐องค์(องค์นี้บรรจุเกศา)​

    [​IMG] ด้านหลัง บรรจุชนวนชินบัญชรปี๒๕๑๗ ชิ้นใหญ่​

    พระปิดตาหรือ ภควัมบดี ของ หลวงปู่ทิมก็เหมือน กับพระเกจิอาจารย์ทั่วไปๆ ที่สร้างขึ้น ตาม ตำหรับเครื่องราง ของขลังโบราณ เพราะแต่ก่อนแต่ไรนั้น พระเครื่องที่ เป็นรูปพระพุทธรูปไม่นิยมสร้างเพื่อ เป็นของขลังสำหรับห้อยคอ หรือติดตัว เหมือนปัจจุบันนี้แม้จะมีวัตถุมงคลซึ่ง เป็นพระเครื่องเก่าแก่มีอายุการสร้าง ตั้งแต่สมัยทวาราวดีมีอายุกว่าพันสอง ร้อยปี ก็ยังไม่เคยมีหลักฐานให้ปรากฏว่า คนโบราณยุคนั้นและยุคถัดๆ มาเอา พระเครื่องเก่าแก่เช่นพระรอด, พระคง, พระเปิมหรือพระเลี่ยง มาติดตัวห้อยคอ เพื่อป้องกันภัยพิบัติ หรือป้องกันตัวเอง ในคราวรบทัพจับศึก หลักฐานมีปรากฏ เพียงมีการนำเอาพระปิดตา หรือ ภควัมบดี มาสักไว้ตามร่างกายเท่านั้น
    พระปิดตา หรือ ภควัมบดี จึงน่า จะเป็นพระเครื่องชนิดแรกที่คน โบราณนับถือเชื่อในความขลัง ความ ศักดิ์สิทธิ์ถึงกับเอามาสักไว้คุ้มครองป้องกันร่างกาย หรือป้องกันตัว พระปิดตา หรือ ภควัมบดี เป็นพระอริยสงฆ์สาวก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มี อิทธิฤทธิ์อย่างยิ่งองค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล
    หลวงปู่ทิม อิสริโก หรือ พระครู ภาวนาภิรัต อดีตเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ อำเภอบ้านค่ายจังหวัดระยองก็เป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ได้สร้างพระปิดตาหรือภควัมบดีขึ้นไว้ด้วย พระปิดตารุ่นแรกของหลวงปู่ทิม สร้างด้วยไม้มงคลต่างๆ มีจำนวนไม่มากนัก คงจะเป็นเพราะความนิยมในท้องถิ่นมีไม่มากนั้นเอง เท่าที่พบมาพระปิดตา ที่สร้างในนามหลวงปู่ทิม มีการสร้างด้วย ไม้โพธิ์ ไม้ตับเต่า และไม้รัก และไม้คูณ เมื่อผมได้รับอนุญาตจากหลวงปู่ทิมให้สร้างวัตถุมงคล เพื่อหาปัจจัยมาบูรณะ วัดละหารไร่และสร้างศาลาการเปรียญ ผมก็ได้สร้างพระปิดตาขึ้นหลายพิมพ์ด้วยกันมีทั้งเนื้อผงและเนื้อโลหะในระยะ ที่ผมเข้าไปสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล ต่างๆ ให้หลวงปู่ทิมนั้นก็มีผู้สร้างพระปิดตา ไปให้หลวงปู่ทิมปลุกเสกพระ ปิดตาของท่านจึงมีหลายแบบหลายพิมพ์ด้วยกัน เท่าที่จดจำได้มีดังนี้

    ๑. พระปิดตาบัวผุด
    ๒. พระปิดตาจัมโบ้ขนาดใหญ่สร้างด้วยเนื้อผง(ชุดโคตรผง ๒๐๐ องค์และชุด ๒๖ องค์)
    ๓. พระปิดตาโรยผงตะไบพระกริ่ง ชินบัญชร
    ๔. พระปิดตาเนื้อผงหลังยันต์เจ้าคุณนรฯ
    ๕. พระปิดตาเนื้อผงหลังยันต์ห้า (พิมพ์เล็ก)
    ๖. พระปิดตาตะกั่ว รุ่นน้ำท่วม (มี ๒ พิมพ์ พิมพ์เล็ก และ พิมพ์ใหญ่)
    ๗. พระปิดตาปั๊มหลังรูปเหมือน
    ๘. พระปิดตาปั๊มพิมพ์ข้าวตอกแตก
    ๙. พระปิดตาเนื้อผงพิมพ์ข้าวตอกแตก
    ๑๐. พระปิดตาสาลิกา
    ๑๑. พระปิดตาชินบัญชรหรือพระปิดตาปุ้มปุ้ย
    ๑๒. พระปิดตาอุดมความสุข
    ๑๓. พระปิดตาไม้รัก รุ่นอธิบดี
    ๑๔. พระปิดตาโสฬส (อาจารย์ปถม อาจสาคร)
    ๑๕. พระปิดตาอาจารย์บาง ชลบุรี (มีทั้งหมด ๒ พิมพ์)
    ๑๖. พระปิดตาวัดกุฏโง้ง
    ๑๗. พระปิดตาไม้แกะ
    ๑๘. พระปิดตายันต์ยุ่ง หรือ พระ ปิดตามหาอุตโม
    ๑๙. พระปิดตาหลวงพ่อทิพย์ วัด โพธิ์ทอง จ.บุรีรัมย์

    พระปิดตาทั้ง ๑๙ รายการ ที่ ประมวลมาจากความจำคงจะไม่ตรงกับ หนังสือประวัติและเกียรติคุณหลวงปู่ทิมที่ผมได้รวบรวมขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ทิม เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๒๖ เพราะครั้งนั้น ทำด้วยความรีบเร่งนึกอะไรและจำอะไร ได้ก็เขียนลงไปจึงไม่ครบถ้วนทุกพิมพ์ การเขียนเรื่องพระปิดตาในครั้งนี้จึง พยายามที่จะค้นคว้าและรำลึกถึงความ ทรงจำเก่าๆ เท่าที่จะจดจำได้มาบันทึกไว้ ถ้าอาจจะมีการบกพร่องหลงลืมก็ต้องขออภัยด้วยเรื่องราวของพระปิดตาพิมพ์ต่างๆ ของหลวงปู่ทิมที่จะเขียนต่อไปขอรับรองว่าจะเขียนตามความเป็นจริง เขียนกันทุกแง่ทุกมุม เพราะมาถึงปีนี้ คงไม่มีใครมีพระปิดตาหลวงปู่ทิมหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมากอีกแล้ว เรื่องที่จะเขียนขึ้นจึงไม่มีผลประโยชน์ ใดๆ มาแอบแฝงทั้งสิ้น พระปิดตาพิมพ์แรก ที่ผมสร้าง ขึ้นในนามของหลวงปู่ทิม คือ พระปิดตา จัมโบ้ ขนาดค่อนข้างใหญ่สร้างด้วย เนื้อผงพุทธคุณ และผงพรายกุมารของ หลวงปู่ทิม
    พระปิดตาจัมโบ้ ขนาดใหญ่ นี้ ถ้าจะพูดว่า สร้างก่อนพระกริ่ง ชินบัญชร ก็น่าจะได้ และก็คงไม่ผิด ก่อนที่ผมจะได้พบและรู้จักกับหลวงปู่ทิมปลายปี ๒๔๑๖ ต่อต้นปี ๒๕๑๗ ผมเป็น บรรณาธิการหนังสือ อภินิหารและ พระเครื่อง ได้ลงเรื่องและลงข่าวการ สร้างพระเครื่องของหลวงปู่แหวนพระอริยสงฆ์แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัด เชียงใหม่ ซึ่งมีคณะของคุณลุงแก้ว ศิริรัตน์, นายแพทย์สุพจน์ ศิริรัตน์, คุณเดชา ศิริรัตน์ อดีตผู้อำนวยการเขต หนองจอกและพระอาจารย์ทองเจือแห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งได้รวมกัน สร้างพระกริ่งอรหังและพระเครื่องต่างๆ ของหลวงปู่แหวน ในยุคต้นๆผมได้ขึ้นไปวัดดอยแม่ปังกับคณะของนายแพทย์สุพจน์ หลายครั้ง หลายหนจึงคิดที่จะทำพระปิดตาไว้ใช้กัน สักพิมพ์หนึ่ง เอาให้มีขนาดใหญ่และ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไม่เหมือนใคร และอยากให้มีขนาดใหญ่ คล้ายๆ กับ พระปิดตาของหลวงปู่รอด หรือ พระ ภาวนาโกศล เถระ (รอดวัดหนัง) หรือขนาดพอๆ กับพระปิดตาไม้แกะของ สมเด็จพระสังฆราชอยู่ ญาโณทัย วัดสะเกศ ผงที่จะนำมาสร้างเป็นองค์ พระก็ได้รวบรวมและแสวงหากัน มากมายมีผงหักและเศษผงพระที่เหลือ จากการแกะเศษพระสมเด็จวัดระฆังวัดใหม่ ซึ่งได้มาจากนายช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งครั้งนั้นมีผู้นำชิ้น และ เศษพระสมเด็จวัดระฆัง วัดใหม่ วัดเกศไชโย หักๆ มาให้แกะเป็นพระ สมเด็จองค์เล็กๆ เศษผงที่เหลือพวกผมก็ขอมาและเก็บรวบรวมไว้และหามาจากที่ต่างๆ อีกส่วนแม่พิมพ์พระปิดตานั้นผม ได้ขอให้คุณปราโมทย์ มาเจริญ ใน ขณะนั้นทำงานเป็นช่างศิลป์อยู่กับผมที่ กรมชลประทาน เป็นผู้ออกแบบและ ทำแม่พิมพ์คุณปราโมทย์ได้เอาดินน้ำมัน มาปั้นเป็นรูปพระปิดตาขึ้น และเอามา ให้ผมดูผมเห็นว่าสวยและชัดเจนดี และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไม่ได้ ลอกเลียนแบบของใครคุณปราโมทย์ ก็เลยเอาปูนปลาสเตอร์มาถอดพิมพ์ ให้เป็นแม่แบบไว้แล้วเอาผงพุทธคุณ ต่างๆ ที่เก็บรวบรวมไว้ผสมกับผงพระ หักๆ และชำรุดสร้างพระปิดตาได้ ๙ องค์ แล้วผมได้นำไปให้หลวงปู่แหวน ปลุกเสก เมื่อครั้งที่คณะของ คุณเดชา, หมอสุพจน์ ศิริรัตน์ ขึ้นไปเททองหล่อ พระกริ่งอรหังบนดอยแม่ปั๋งเสร็จแล้ว แบ่งกัน ไว้ใช้ระหว่างเพื่อนฝูงคนละองค์ สององค์ แล้วก็ไม่ได้สร้างพระปิดตา พิมพ์นี้อีกเพราะการจะสร้าง หรือกด พิมพ์ให้เป็นองค์พระแต่ละองค์ลำบากมาก จะทำได้ทีละองค์ต้องเสียเวลามาก จึงทำครั้งแรกเพียง ๙ องค์เท่านั้น
    <TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] พระปิดตาจัมโบ้ ๒๖ องค์


    </TD><TD>[​IMG] ด้านหลัง



    </TD><TD>[​IMG] ด้านข้าง



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อผมได้รับอนุญาตจากหลวงปู่ ทิมให้เป็นผู้สร้างพระเครื่องของท่าน เพื่อหาเงินมาสร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ ผมก็เลยคิดจะนำเอาแม่พิมพ์ พระปิดตาจัมโบ้ พิมพ์นี้มาทำอีกครั้ง โดยจะเอาไปทำก้นที่กุฏิ อาจารย์ทองเจือ ธัมมธีโร วัดปากน้ำภาษีเจริญ เพราะระยะนั้นพระอาจารย์ทองเจือเป็นแม่งานสร้าง พระผงวัดปากน้ำรุ่น๔ ของหลวงพ่อสดอยู่พอดี และท่านมีผง ต่างๆมากมายประกอบกับอาจารย์ทองเจือรับจะสร้างพระปิดตาเนื้อผงหลังยันต์ห้าฝังทับทิม ให้ผมในนาม ของหลวงปู่ทิมด้วย แต่คุณปราโมทย์ มาเจริญ บอกว่า ทำพิมพ์ใหม่ดีกว่าเพื่อขอแก้ตัว เพราะ พระปิดตา ๙ องค์ ที่ทำในนามหลวงปู่ แหวนนั้นยังไม่ถูกใจคุณปราโมทย์ จึงปั้น พิมพ์พระปิดตาด้วยดินน้ำมันลอยตัวขึ้นอีกครั้ง มีขนาดเล็กกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ทรงเดียวกัน และทำจุดตำหนิไว้องค์ พระปิดตาเป็นแบบครึ่งองค์มีผนังรองรับและบนผนังมีรัศมีออกมาเป็นเส้นๆ องค์พระอวบอ้วนสมบูรณ์มาก เรียกว่า แก้ไขแม่พิมพ์เดิมให้เด่นชัดและ สวยงามขึ้นจากนั้นก็ถอดแม่พิมพ์ด้วยปูนปลาสเตอร์อีกครั้ง ได้แม่พิมพ์ที่ดี กว่าเดิมเพราะแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เมื่อทำแม่พิมพ์เสร็จก็นำ ไปที่กุฏิพระ อาจารย์ทองเจือ วัดปากน้ำ เพื่อกดพิมพ์ ซึ่งในระยะนั้นพระอาจารย์ทองเจือ กำลังเป็นแม่งานสร้างพระวัดปากน้ำ รุ่น ๔ อยู่ พระปิดตาหลังยันต์ฝังทับทิม และปิดตาจัมโบ้ของหลวงปู่ทิมจึงสร้าง พร้อมๆ กับพระวัดปากน้ำรุ่น ๔ และ ก็สร้าง หรือกดพิมพ์กันในวัดปากน้ำภาษีเจริญนั้นเอง
    ในระยะที่หมอสุพจน์และคณะสร้างพระผงหลวงปู่แหวนอยู่นั้น เจ้าคณะ ๘ วัดสามปลื้ม ซึ่งเป็นศิษย์ ท่านเจ้ามา ผู้สร้างพระผงวัดสามปลื้ม ได้รวบรวมพระผงวัดสามปลื้มที่แตกหักเก็บไว้หลายปี๊ป และท่านก็ได้มอบผงวัด สามปลื้มเหล่านั้นให้หมอสุพจน์มาทั้งหมด เพื่อบดเป็นผงไปผสมสร้างพระผงหลวงปู่แหวน และพระผงเจ้าคุณนรฯ หมอ สุพจน์ก็ได้ยกเอาผงในปี๊ปนั้นมาให้พระ อาจารย์ทองเจือที่วัดปากน้ำ พวกผมซึ่ง มักไปหาพระอาจารย์ทองเจืออยู่เป็น ประจำก็ได้คัดเอาพระเศียรวัดสามปลื้มที่หักๆ มาด้วย คนละหลายๆ เศียรซึ่ง ภายหลังได้เอามาฝังไว้ด้านหลังพระปิดตา ก็หลายองค์ นอกจากนั้นเพื่อให้ พระปิดตาที่พวกเราทำศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น พวกเราก็มักจะเอาเนื้อพระวัดสามปลื้มหักๆ ตำผสมเข้าไปเป็นจำนวนมากเป็นพิเศษ เพราะพระปิดตาชุดนี้จะ ทำไว้ใช้กันเองไม่มีเจตนาจะนำออกไป ให้เช่าบูชาแต่ประการใด พระปิดตาชุดนี้ จึงมีมวลสารจัดมากและส่วนใหญ่ จะเป็นวัสดุที่เป็นมงคลทั้งสิ้น ไม่มีปูน เป็นส่วนผสมเลย โดยที่พระปิดตา พิมพ์นี้มีขนาดใหญ่ จึงต้องใช้ผงมาก การกดแม่พิมพ์จึงทำได้ครั้งละไม่มาก ทำได้เพียงครั้งละสิบถึงยี่สิบองค์เป็น อย่างมากในการกดพระปิดตาพิมพ์ใหญ่รุ่นนี้บนศาลาวัดปากน้ำมีหลายคนที่ ไปเห็นการกดพิมพ์และยังมีชีวิตอยู่ ทั้งนี้เพราะระยะนั้นพระอาจารย์ทองเจือ ท่านพำนักอยู่บนศาลาชั้นที่ ๔ บนหน้า มุขของศาลา และกุฏิท่านเป็นที่ให้เช่า บูชา พระผงท่านเจ้าคุณนรฯ วัดวิเวก วนาราม คุณสุวัฒน์ แพภิรมย์รัตน ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้จัดการโรงแรมพัทยาออคิด พัทยา ชลบุรี ได้ขึ้นไปเช่าบูชา พระชุดเจ้าคุณนรฯ และได้เดินไปดู พระ, เณร, แม่ชีและฆราวาสที่กำลัง พิมพ์พระวัดปากน้ำรุ่น ๔ อยู่บนศาลาชั้น ๔ ซึ่งอยู่ติดๆ กับกุฏิที่พระอาจารย์ ทองเจือ จำวัดอยู่และได้เห็นเณรและ ฆราวาส ช่วยกันตำผงและกดพิมพ์ พระปิดตาขนาดใหญ่อยู่ คุณสุวัฒน์ เล่าว่าได้เข้าไปดูอย่างใกล้ชิดและได้ หยิบขึ้นมาดูด้วย แต่ไม่ได้ไต่ถามว่า เป็นพระอะไร สร้างให้ใคร คิดว่าคง เป็นพระพิมพ์พิเศษของวัดปากน้ำ ซึ่งผู้สร้างคงทำเป็นพิเศษเอาไว้ใช้กันเอง เพราะเห็นด้านหลังพระปิดตา ขนาดใหญ่เหล่านี้ มีทั้งฝังเม็ดทับทิม ฝังเม็ดโลหะกลมๆ ฝังเศียรพระวัดสามปลื้มบ้าง และที่ฝังชนวนพระกริ่งชินบัญชรปี๒๕๑๗ก็มี จนภายหลัง อีกสิบกว่าปีต่อมา ก็เห็นพระปิดตา ชุดนี้เข้าในคอของลูกศิษย์หลวงปู่ทิม บางคน จึงทราบว่าเป็นพระปิดตาพิมพ์ พิเศษของหลวงปู่ทิมนั้นเอง คุณสุวัฒน์ แพภิรมย์รัตน มีความศรัทธาในพระ เครื่องของหลวงปู่ทิมมา และได้สะสม พระเครื่องของหลวงปู่ทิมไว้เกือบทุกชนิด ทั้งใช้พระเครื่องของหลวงปู่ทิมติดตัวเป็นประจำ เมื่อวันเกิดอายุครบรอบ ๘๓ ปีของหลวงพ่อม่น วัดเนินตามาก จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มี ชื่อเสียง ที่สุดของคนชลบุรีในยุคนี้ คุณสุวัฒน์ ยังได้สร้างพระปิดตาพิมพ์ จัมโบ้ ถวายหลวงพ่อม่น วัดเนินตามาก จังหวัดชลบุรี โดยเลียนแบบ มาจากพระปิดตาจัมโบ้ของหลวงปู่ทิม ที่คุณสุวัฒน์ไปเห็นมาเมื่อสิบกว่าปี ที่แล้วทั้งยังได้ มาขอผงพุทธคุณของ หลวงปู่ทิมจากผมไปร่วมผสมด้วย และผมยังได้มอบชนวนโลหะที่หล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริง ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในวิหารวัดละหารไร่ จ.ระยอง ให้ไปอีก ๑ แท่งด้วยเพื่อโรยเป็นผงตะไบ ผสมในเนื้อพระปิดตาพิมพ์จัมโบ้ของหลวงพ่อม่นด้วย แม่พิมพ์พระปิดตา จัมโบ้ ซึ่งคุณปราโมทย์ทำขึ้นใหม่ผมเอาไปไว้ที่กุฏิพระอาจารย์ทองเจือ วัดปากน้ำนั้น พวกผมมักจะไปหาพระอาจารย์ทองเจือที่วัดปากน้ำเป็นประจำเพื่อช่วยท่านทำพระปิดตาหลังยันต์ห้า และเราก็ได้ทำพระปิดตาจัมโบ้ขึ้นโดย ตำผงเองดัดเอาแต่ผงล้วนๆ มาตำแล้วก็ ช่วยกันกดพิมพ์จะได้พระครั้งละ ๑ ครก ก็ใช้เวลานานพอสมควร เพราะกว่าจะ กดพระได้แต่ละองค์ต้องรอให้เนื้อพระจับแข็งจึงจะถอดจากแม่พิมพ์ได้เนื้อ ผงองค์ท้ายๆ จึงแห้งต้องเอาตัว ประสาทใส้เข้าไปใหม่แล้วตำให้เข้ากัน การหดตัวของแต่ละองค์จึงไม่เท่ากันมีใหญ่บ้าง และย่อมลงเล็กน้อยบ้าง พระปิดตาจัมโบ้ที่พิมพ์เสร็จแล้วผมจะทิ้งไว้ที่กุฏิพระอาจารย์ทองเจือ เมื่อท่าน ขึ้นไปหาหลวงปู่แหวนก็เอาติดไปด้วย และหลวงปู่แหวนก็ปลุกเสกให้ และ ตอนขากลับท่านก็แวะหาหลวงพ่อสิม พุทธาจาโร ที่ถ้ำผาปล่องก็เอาให้หลวงพ่อสิมปลุกเสกอีก เมื่อแวะหาตุ๊เจ้าเสือดาว ก็เอาให้ตุ๊เจ้าเสือดาว ปลุกเสกอีก มีอยู่ครั้งหนึ่งพระอาจารย์ ทองเจือ สร้างพระกริ่งตุ๊เจ้าเสือดาว และ เหรียญขึ้น เมื่อเดือนเมษายน๒๕๑๘ ท่านก็เอาโค้ดตราดาวห้าแฉก ที่ใช้ตอก พระกริ่งตุ๊เจ้าเสือดาวมากดไว้ด้านหลัง พระปิดตาจัมโบ้ก็มีอยู่หลายองค์คราวใดที่หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ ฉิมพลี จะไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำสิงห์โต จังหวัดราชบุรี พระอาจารย์เจือ ก็เอา พระปิดตาจัมโบ้ที่ห่อผ้าขาวฝาก อาจารย์เบิ้ม หรือคุณสุวัฒน์ พบร่มเย็น ลูกศิษย์เอกหลวงปู่โต๊ะไปให้หลวงปู่โต๊ะ ปลุกเสกที่ถ้ำสิงห์โตด้วย อาจารย์เบิ้ม วัดปากน้ำเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อหลวงปู่ โต๊ะปลุกเสกให้แล้ว บางครั้งก็แกะห่อ ออกเอาพระปิดตาจัมโบ้แจกแม่ชี และ ฆราวาสไปด้วยคนละองค์สององค์ ผู้ที่ได้รับก็ถือว่าเป็นพระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะ เมื่ออาจารย์ทองเจือ สร้าง พระปิดตาผงยันต์ห้าฝังทับทิมเสร็จ ครั้งหนึ่งก็เอาพระปิดตาจัมโบ้ใส่ก้นลัง ปนไปให้หลวงปู่ทิมปลุกเสกด้วยทุกครั้ง พระปิดตาจัมโบ้จึงปลุกเสกพร้อมกับพระปิดตาฝังทับทิมยันต์ห้า บางครั้ง คุณประชา ตรีพาสัย ลงมากรุงเทพก็ ไปนั่งพิมพ์พระปิดตาจัมโบ้ที่กุฏิพระ อาจารย์ทองเจือได้พระคราวละ ๕ องค์ ๑๐ องค์แล้วก็นำกลับไปให้หลวงปู่ทิม ปลุกเสกแล้วเก็บไว้เป็นพระส่วนตัว ส่วนผมเมื่อขึ้นไปทำพระปิดตาจัมโบ้ เสร็จแล้วก็ทิ้งไว้ที่กุฏิอาจารย์ทองเจือ ท่านก็นำขึ้นไป ให้หลวงปู่แหวน หลวงพ่อ สิม หลวงตุ๊เจ้าเสือดาว ตลอดจนหลวงปู่ โต๊ะ ปลุกเสกก่อนแล้วสุดท้ายผมเอาไป ให้หลวงปู่ทิมปลุกเสก เป็นรูปสุดท้ายราว๗วัน ทำอยู่หลายครั้งด้วยกัน ได้พระปิดตา จัมโบ้ รวมแล้วประมาณ 200 องค์ เศษ มีทั้งเนื้อสีขาว สีเทา สีดำ สีน้ำตาล ด้านหลังจะฝังด้วยเม็ดทับทิมแดงก็มี ฝังด้วยเม็ดพระกริ่งชินบัญชร,แม้กระทั้งก้อนชนวนพระกริ่งชินบัญชรก็มี
    ที่มา http://www.ittiyano.com/index.php?option=com_content&task=view&id=6&Itemid=4



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. ครึ่งชีวิต

    ครึ่งชีวิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,178
    ค่าพลัง:
    +15,103
    [​IMG]สาธุ ขอรับ
     
  3. yaba150

    yaba150 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    983
    ค่าพลัง:
    +637
    ใช่รุ่นนี้หรือเปล่าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN5576.jpg
      DSCN5576.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52.3 KB
      เปิดดู:
      3,975
    • DSCN5578.jpg
      DSCN5578.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52 KB
      เปิดดู:
      2,405
  4. somchay1

    somchay1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    230
    ค่าพลัง:
    +112
    พระปิดตาจัมโบ้หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่

    พระปิดตาจัมโบ้หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่( พระโชว์ )
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...