เรื่องเด่น พระกริ่งชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่5

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Chailai65, 28 มิถุนายน 2017.

  1. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    พระกริ่ง(เล็ก)ไชยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่5 มีชื่อเรียกว่า พระชัยวัฒนมงคลวราภรณ์ (พระชัยศิริวัฒน์) เป็นเบญจภาคีพระไชยวัฒน์อันดับ1
    ฝีมือช่างสิบหมู่ สร้างครั้งที่2 ปีพ.ศ.๒๔๒๘
    โดยมีพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวรเรศ เป็นประธานการจัดสร้าง และรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานให้เชื้อพระวงศ์และเจ้านายชั้นสูงตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๒๘-๒๔๔๓

    พระไชยวัฒน์ที่มีหายากและมีความนิยมที่สุดคือ พระชัยวัฒนมงคลวราภรณ์ (พระชัยศิริวัฒน์) ที่สร้างในรัชกาลที่5

    https://www.komchadluek.net/news/knowledge/52990

    พระชัยวัฒน์ ในวงการพระที่นิยมกันสุดๆ หายากสุดๆ และแพงสุดๆ อ.เกี๊ยก ทวีทรัพย์ ผู้ชำนาญพระกริ่งพระชัยวัฒน์ บอกว่า มี ๕ องค์ คือ

    ๑.พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์
    ที่ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลขึ้น เพื่อพระราชทานแก่เชื้อพระวงศ์ พระราชโอรส พระราชธิดา เหล่าองค์มนตรี โดยสร้างครั้งแรก (พ.ศ.๒๔๒๗) และครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๒๘) ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นประธานและครั้งที่ ๓ (พ.ศ.๒๔๓๖) ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ บางปะอิน โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นประธาน
    ?temp_hash=0f2f8cb22ae630a1d4cc343ceb379872.jpg

    ๒.พระชัยวัฒน์นิรันตราย วัดบวรนิเวศวิหาร สมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ปี พ.ศ.๒๔๕๘
    ?temp_hash=7b715c234d49d5f7b61d68c1d8678546.jpg

    ๓.พระชัยวัฒน์ห่มคลุม วัดบวรนิเวศวิหาร คาดว่าสร้างหลังจาก พระกริ่งปวเรศ ไม่นานนัก ตามพระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ทรงสร้าง พระกริ่งปวเรศ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๓๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ฉะนั้น พระชัยวัฒน์ห่มคลุม จึงน่าจะสร้างหลังจากนั้นไม่นานนัก นับถึงวันนี้มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี นับว่ามีความเก่าพอสมควร
    ?temp_hash=3aa2f552c24d1c29d37c324fdd46234e.jpg

    ๔.พระชัยวัฒน์สิงหเสนี เป็นพระชัยวัฒน์ที่ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสามปลื้ม เป็นผู้ขออนุญาต ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม จัดสร้างขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกับที่ท่านเจ้ามาได้จัดสร้างพระชัยวัฒน์ พิมพ์ต่างๆ ขึ้น ประมาณปี ๒๔๔๒ นับถึงวันนี้มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี นับเป็นพระชัยวัฒน์ที่พบเห็นได้ยาก เข้าใจว่ามีจำนวนสร้างน้อย
    ?temp_hash=37f25e062de687cb69bd9840d36d11d4.jpg

    ๕.พระชัยวัฒน์เขมรน้อย สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนฯ ทรงสร้างขึ้นในช่วงที่ครองสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๖-๒๔๕๘) จำนวนประมาณ ๕๐ องค์
    screenshot_20210105_214152-jpg.jpg

    ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ พระชัย หรือ พระไชย มีลักษณะที่ต่างจากพระพุทธรูปอื่นๆ คือ เป็นพระพุทธรูปขนาดย่อม ขัดสมาธิเพชร (นั่งอย่างขัดสมาธิ แต่ให้ฝ่าเท้าทั้งสองขึ้นข้างบน) พระหัตถ์ซ้ายถือพัดยศแทนการวางพระหัตถ์บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทอดบนพระเพลาเกือบจรดพื้น เพื่อเป็นพระพุทธรูปสำหรับบูชาเพื่อใช้ประกอบในพระราชพิธีสำคัญ

    ส่วนพระไชยวัฒน์เป็นการย่อส่วนขนาดของพระไชยให้มีขนาดเล็กลงเพื่อสามารถนำพกพาติดตัวไปที่ใดก็สะดวก


    มีการสันนิษฐานว่าพระชัยน่าจะมีที่มาจากพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งหมายถึงการชนะมาร แต่พระชัยวัฒน์หมายถึงการชนะอุปสรรค ภยันตราย และมีชัยเหนืออริราชศัตรู

    แต่ปัจจุบัน พระชัยวัฒน์ หมายถึงพระพุทธรูปหล่อที่มีขนาดเล็ก สามารถพกพาติดตัวได้และมีขนาดเล็กกว่าพระกริ่ง พระชัยวัฒน์มีทั้งลักษณะแบบบางมารวิชัยและแบบบางสมาธิ
    เนื่องจากมีขนาดเล็กส่วนใหญ่จึงไม่ได้บรรจุเม็ดกริ่งที่ใต้ฐาน ส่วนน้อยมากๆที่มีบรรจุเม็ดกริ่งใต้ฐาน

    สำหรับพระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์เป็นเนื้อในเนาวะโลหะสัมฤทธิ์เดช ผิวชั้นในเป็นสัมฤทธิ์ศักดิ์ออกสีทองจำปาเทศ ผิวชั้นนอกเป็นสัมฤทธิ์ผลออกสีมันเทศ องค์พระหุ้มกะไหล่ปรอทเงิน ฐานพระบรรจุเม็ดกริ่งเหล็กไหลและก้นฐานปิดแผ่นทองคำและมีจารใต้ฐาน มะ อุ อะ

    ?temp_hash=c81ff2084320451271c117064c74a5a6.jpg

    ?temp_hash=c81ff2084320451271c117064c74a5a6.jpg

    ประวัติการหล่อพระชัยวัฒน์องค์เล็กประจำรัชกาลที่ ๕
    ประวัติการสร้างหล่อพระและพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ ๕ มีด้วยกัน 3 ครั้ง(วาระ) โดยแต่ละวาระช่างหลวงจะสร้างแกะหุ่นต้นแบบและทำบล็อคขึ้นใหม่และขนาดไม่เหมือนกัน เนื่องจากปริมาณในการสร้างพระชัยวัฒน์ในแต่ละวาระแตกต่างกัน​

    ทรงสร้างหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 1
    ทรงสร้างพระไชยวัฒน์ทองคำครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. ๒๔๒๗ (เนื้อโลหะด้านในเป็นเนื้อเนาวะโลหะหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์เดช และหุ้มผิวพระด้านนอกด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ออกสีทองจำปาเทศหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์ศักดิ์ หรือบางตำราเรียกว่าเปียกทอง) จำนวนการหล่อ ๔ องค์ * ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าพระไชยวัฒน์ที่สร้างครั้งที่ 2 จากบันทึกราชกิจจานุเบกษานี้
    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1011427.pd
    f
    ?temp_hash=01ba8090ea31cc8d9f6643ee6d1791d8.jpg

    และพระราชทานแก่
    1.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ​
    หมายเหตุ * การหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 1 เพียง ๔ องค์ เนื้อเนาวะโลหะที่เหลือคาดว่าพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงนำมาเก็บไว้สร้างพระกริ่งปวเรศในภายหลัง
    ทรงสร้างหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 2
    ในราชกิจจานุเบกษาปีกุน พ.ศ.๒๔๓๐ บันทึกการพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำในปีนั้น และมีบันทึกเหตุการณ์ย้อนหลัง พระราชพิธีสร้างพระไชยวัฒน์ ๕๐องค์เรียกว่า "พระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์" ในเดือนแปด ขึ้นเก้าค่ำ พ.ศ. ๒๔๒๘ ณ.วัดพระศรีรัตนศาสนาราม จากบันทึกราชกิจจานุเบกษานี้
    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1011427.pdf
    ?temp_hash=6260d0ac58b6a216dbd1f039826acd33.jpg

    ทำให้รู้ว่าช่วงปี ๒๔๒๘-๒๔๓๔ รัชกาลที่๕ พระราชทานเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำ (เนื้อโลหะด้านในเป็นเนื้อเนาวะโลหะหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์เดช และหุ้มผิวพระด้านนอกด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ออกสีทองจำปาเทศหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์ศักดิ์ หรือบางตำราเรียกว่าเปียกทอง) ซึ่งงานหล่อพระนี้เป็นฝีมือช่างหลวง

    โดยผู้ได้รับพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กจะต้องปฏิบัติตน ๓ ข้อ
    ๑. เป็นผู้เชื่อถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยมั่นคง
    ๒. เป็นผู้มีความรักใคร่ต่อบ้านเมืองและวงษ์ตระกูลของตน
    ๓. เป็นผู้มีความกตัญญูซื่อสัตย์จงรักภักดี ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    โดยมีพระสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นประธานการจัดสร้าง

    อีกหลักฐานในการสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ครั้งที่ 2 เอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ภาค 19 หน้า 117-120 ในจดหมายเหตุระบุจำนวนหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็ก 55 องค์ (แต่ในราชกิจจานุเบกษาปีพ.ศ.๒๔๓๐ ระบุย้อนหลังไป 2 ปีระบุจำนวนหล่อ 50 องค์) บันทึกพิธีการสร้างหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็ก มงคลวราภรณ์ เมื่อ จุลศักราช ๑๒๔๖(พศ.๒๔๒๘) ณ.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน๕๐องค์และเพิ่มอีก๕องค์ ทองคำที่ใช้หล่อผสมหนักองค์ละ ๑ เฟื้อง (ครึ่งสลึง) โดยมีอดีตสมเด็จพระสังฆราช๓องค์และพระราชาคณะในขณะนั้นเข้าร่วมพุทธาภิเษก ๔ วัน ได้แก่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (สังฆราชองค์ที่๘เป็นประธานพระราชาคณะในพระราชพิธี), สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สา(สังฆราชองค์ที่๙ขณะนั้นเป็นพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส(สังฆราชองค์ที่๑๐ขณะนั้นเป็นพระราชาคณะ) และรัชกาลที่๕ ทรงเททองลงเบ้าหลอมหล่อพระ
    http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=av_00076
    ?temp_hash=0f2f8cb22ae630a1d4cc343ceb379872.jpg
    ?temp_hash=0f2f8cb22ae630a1d4cc343ceb379872.jpg
    และทรงพระราชทานหลายครั้งมีการบันทึกในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
    ครั้งที่๑ วันอังคาร เดือนแปด แรมสามค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
    1.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
    2.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
    3.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม
    4.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัตรวรเดช​

    ครั้งที่๒ วันพฤหัสบดี เดือนแปด แรมสิบสามค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
    5.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ
    6.พระเจ้าน้องยาเธอ องค์เจ้าโสบัณฑิตย​

    ครั้งที่๓ วันศุกร์ เดือนแปด ขึ้นหกค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
    7.พระวงษเธอ พระองค์เจ้าสายสนิทธวงษ​

    ครั้งที่๔ วันศุกร์ เดือนสิบ ขึ้นสามค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
    8.สมเด็จพระเจ้าวรวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราษปรปักษ์
    9.พระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ
    10.สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์
    11.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช
    12.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ
    13.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพาสิทธิประสงค์
    14.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ
    15.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ​

    ครั้งที่๕ วันศุกร์ เดือนสิบ ขึ้นสิบค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
    16.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักรศิลปาคม
    17.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ​

    ครั้งที่๖ วันศุกร์ เดือนสิบเอ็ด ขึ้นสิบห้าค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
    18.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
    19.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ
    ครั้งที่๗ วันเสาร์ เดือนยี่ แรมสี่ค่ำ ปีระกา*(นับแบบปีไทยโบราณ) พ.ศ.๒๔๒๙(นับแบบปีสากล) พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
    20.พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ
    ครั้งที่๘ วันพุธ เดือนสี่ ขึ้นหกค่ำ ปีระกา*(นับแบบปีไทยโบราณ) พ.ศ.๒๔๒๙(นับแบบปีสากล) พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
    21.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ
    หมายเหตุ* ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อน พ.ศ.๒๔๓๒ ยังนับวันปีใหม่แบบไทยโบราณ คือวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่ และมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒ เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่แบบไทยเป็นวันที่ ๑ เมษายน ของทุกปีแทน

    ครั้งที่ ๙ วันเสาร์ เดือนหก ขึ้นเก้าค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๔๓๐ ระบุในเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๔๓๐ ภาค 23 หน้า 72-73 พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก** แก่
    22.สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช
    http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=53_0011
    ?temp_hash=b7d0cf9dc39efd272f8d46a7619de96e.jpg

    หมายเหตุ** พระราชทานครั้งที่ ๙ ไม่ได้มีระบุในราชกิจจานุเบกษาปีพ.ศ.๒๔๓๐ ที่กล่าวย้อนหลังเพียง ๙ ครั้งระหว่าง พ.ศ.๒๔๒๘-๒๔๓๐ ตกหล่นครั้งที่ ๙ไป ๑ ครั้ง แต่มีระบุในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันโดยระบุว่าเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กเนื่องจากในจดหมายเหตุฯน่าจะทรงทราบอยู่แล้วว่าเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กเปียกทอง
    ครั้งที่๑๐ วันจันทร์ เดือนสิบ แรมสามค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๔๓๐ ในเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๓๐-๒๔๓๑ ภาค 24 หน้า 70 พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก*** แก่
    แก่

    23.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงษ
    24.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร
    25.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์

    หมายเหตุ*** ในจดหมายเหตุฯไม่ได้ระบุเป็นพระไชยวัฒน์ทองคำเนื่องจากน่าจะทรงทราบอยู่แล้วว่าเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กเปียกทอง
    http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=53_0013
    ?temp_hash=7ebf3af6c83b122a3e1e3b1d8cc21efc.jpg
    แต่ในราชกิจจานุเบกษายังระบุพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) ในบันทึกราชกิจจานุเบกษาปีพ.ศ.๒๔๓๐ ระบุย้อนหลังระหว่าง พ.ศ.๒๔๒๘-๒๔๓๐ (ระบุตกหล่นครั้งที่ ๙ ไป ๑ ครั้ง)
    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1011427.pdf
    ?temp_hash=6260d0ac58b6a216dbd1f039826acd33.jpg
    ?temp_hash=6260d0ac58b6a216dbd1f039826acd33.jpg
    ?temp_hash=6260d0ac58b6a216dbd1f039826acd33.jpg

    ครั้งที่๑๑ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๔ ยังระบุ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
    27.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงษ์
    28.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล
    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1014016.pdf
    ?temp_hash=f02c41d7ecdba0a875156ae8776a230c.jpg
    สันนิษฐานว่าครั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ได้รับพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๔ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้สร้างพระกริ่งปวเรศโดยนำชนวนโลหะจากการหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 1 มาสร้าง โดยช่างสิบหมู่ช่างหลวง ทำให้เนื้อด้านในพระกริ่งปวเรศเป็นเนื้อเนาวะโลหะ(สัมฤทธิ์เดช) และผิวพระด้านในจึงมีสีทองจำปาเทศ(สัมฤทธิ์ศักดิ์)เหมือนพระไชยวัฒน์ และได้นำพระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์ที่ยังไม่พระราชทานให้ใครและพระกริ่งปวเรศนำมาหุ้มผิวพระด้วยโลหะสีออกสีมันเทศ(สัมฤทธิ์ผล)อีกชั้นในคราวเดียวกับพระกริ่งปวเรศที่วัดบวรนิเวศและเจาะฐานพระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์ บรรจุเม็ดกริ่งและปิดแผ่นฐานทองคำให้แก่พระเจ้าน้องยาเธอ ปิดแผ่นฐานเงินให้แก่เชื้อพระวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ปิดแผ่นฐานนาคให้แก่องค์มนตรีชั้นพระยา
    ?temp_hash=b66d3ae6db31a8c5bdfdf1edecc00d9c.jpg

    พระกริ่งปวเรศ ที่ประดิษฐ์สถานที่วัดบวรนิเวศ ผิวพระด้านนอกจึงเป็นโลหะสัมฤทธิ์สีมันเทศออกสีม่วงๆ(สัมฤทธิ์ผล) และที่วงสีแดงจะเห็นผิวพระด้านในเป็นโลหะสัมฤทธิ์สีทองจำปาเทศ(เปียกทองหรือสัมฤทธิ์ศักดิ์)อยู่ใต้ผิวโลหะสัมฤทธิ์สีผล และเนื้อพระด้านในสุดเป็นเนื้อเนาวะโลหะ(สัมฤทธิ์เดช)
    ?temp_hash=b66d3ae6db31a8c5bdfdf1edecc00d9c.jpg

    พระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์องค์นี้ ถูกหุ้มองค์พระส่วนบนเหนือฐานด้วยโลหะปรอทเงินเพิ่มเติมในภายหลังจากได้รับพระราชทาน ทำให้มีลักษณะโลหะ 3 กษัตริย์ ได้แก่ องค์พระเป็นสีเงิน ส่วนฐานออกสีมันเทศ และใต้ฐานปิดแผ่นทองคำเนื้อเก้า
    คลิปนี้เป็นคลิปที่ทำครั้งแรก จะปรับปรุงการพูดอธิบายให้ดีขึ้นในอนาคต


    ครั้งที่๑๒ วันที่๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๕ พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ไม่มีระบุทองคำแล้ว (เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระชั้นในเดิมสัมฤทธิ์ศักดิ์ ผิวพระชั้นนอกสัมฤทธิ์ผล) ในพระราชพิธีศรีสัจปานกาล แต่งตั้งองค์มนตรี และพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์และพระไชยวัฒน์องค์เล็ก อีก ๑๕ องค์ดังนี้
    28.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สวรรคตปีพ.ศ.๒๔๓๘)
    29.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภน (ได้รับพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2)
    30.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล​

    และผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีอีก12ท่าน
    31.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพรหมวรานุรักษ์
    32.หม่อมเจ้าขาว
    33.หม่อมเจ้าประภากร
    34.หม่อมเจ้าอลังการ
    35.หม่อมเจ้านิลวรรณ
    36.หม่อมเจ้าเพิ่ม
    37.พระยาสุรศักดิ์มนตรี
    38.พระยาวุฒิการบดี
    39.พระยาราชวรานุกูล
    40.พระยานรินทร์ราชเสนี
    41.พระยาพิพัฒโกษา
    42.พระยาบำเรอภักดิ์
    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1014625.pdf
    ?temp_hash=f02c41d7ecdba0a875156ae8776a230c.jpg
    ?temp_hash=f02c41d7ecdba0a875156ae8776a230c.jpg
    ?temp_hash=f02c41d7ecdba0a875156ae8776a230c.jpg

    ครั้งที่๑๓ วันที่๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กไม่มีระบุทองคำแล้ว (เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระชั้นในเดิมสัมฤทธิ์ศักดิ์ ผิวพระชั้นนอกสัมฤทธิ์ผลอีก ๑ องค์ดังนี้
    43.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เสด็จศึกษาต่อประเทศยุโรป
    ระหว่างพระราชพิธีหล่อพระไชยวัฒน์ครั้งที่ 3 วันที่ ๑๙ - ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ซึ่งพระไชยวัฒน์ครั้งที่(รุ่น) 3 ยังหล่อไม่เสร็จ ดังนั้นจึงน่าจะพระราชทานเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กรุ่น 2 ให้ไป
    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1015441.pdf
    ?temp_hash=f02c41d7ecdba0a875156ae8776a230c.jpg

    ครั้งที่๑๔ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๗
    พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กอีก แต่มีเพียงระบุหัวเรื่องในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่มีเอกสารระบุพระราชทานกี่องค์และให้ใครบ้าง
    ในความเห็นส่วนตัว แม้ช่วงวันเวลานี้พระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่(รุ่น) 3 ได้หล่อเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้เข้าพิธีสมโภชน์พระไชยวัฒน์ ซึ่งมีพิธีสมโภชน์เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๗ ดังนั้นจึงน่าจะพระราชทานเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กรุ่น 2 ให้ไป
    ครั้งที่๑๕ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๓ พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ไม่ระบุทองคำ แก่
    • พระวรวงษ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ
    • พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงษ์วราวัตร์
    เนื่องจากไม่ได้ระบุเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำ ดังนั้นจึงน่าจะพระราชทานเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กรุ่น 2 ให้ไป
    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1021996.pdf
    ?temp_hash=3f18e2c31c3933de7a32dca7bebffc4e.jpg
    ทรงสร้างหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ครั้งที่ 3 (รุ่น3)
    พระราชพิธีสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ๒๕ องค์และพระไชยองค์ใหญ่ ๑ องค์ และพระไชยองค์เล็ก ๑ องค์ เริ่มพิธีวันที่ ๑๙ - ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ พระองค์ได้ทรงหล่อในวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ครั้งนี้ไม่ได้สร้างโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์แล้วเพราะสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕(อายุ83 ปี) แต่เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นประธานในพิธี จึงกลับมาใช้สูตรโลหะแบบช่างหลวงเหมือนพระไชยวัฒน์ที่สร้างในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ช่วงแรก และกลับมาเรียก พระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำ อีกครั้ง (เนื้อโลหะด้านในเป็นเนื้อเนาวะโลหะหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์เดช และหุ้มผิวพระด้านนอกด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ออกสีทองจำปาเทศหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์ศักดิ์ หรือบางตำราเรียกว่าเปียกทอง)
    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1015441.pdf
    ?temp_hash=5eae2ba6ae1192d9e203df94e959692b.jpg
    ?temp_hash=5eae2ba6ae1192d9e203df94e959692b.jpg
    ?temp_hash=5eae2ba6ae1192d9e203df94e959692b.jpg

    และพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) ที่สร้างที่วัดนิเวศธรรมประวัติดังนี้​

    ครั้งที่ ๑ ทรงพระราชทานให้ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๗ ในงานสมโภชน์พระไชยวัฒน์ที่สร้างใหม่ครั้งที่ 3 ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ และพระราชทานพระไชยวัฒน์ แก่
    • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สวรรคตปีพ.ศ.๒๔๓๘) ทรงได้ทั้งพระไชยวัฒน์ที่สร้างครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3
    • พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1016202.pdf
    ?temp_hash=f02c41d7ecdba0a875156ae8776a230c.jpg
    ครั้งที่๒ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๙ พระราชทานพระไชยวัฒน์ รุ่น 3 ในเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๔๑ หน้า ๒๐ ระบุพระราชทานพระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์ แก่
    • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์
    ครั้งที่๓ วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๐ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ รุ่น 3 แก่
    • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ
    • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ

    ครั้งที่๔ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๑ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ รุ่น 3 แก่
    • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธ์

    ครั้งที่๕ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ รุ่น 3 แก่
    • พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานารถ
    • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์

    ครั้งที่๖ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๓ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ รุ่น 3 แก่
    • พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา


    นอกจากนี้ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ หรือพ.ศ. ๒๔๕๒ ว่ารัชกาลที่5 เสด็จพระราชดำเนิน เพื่อในการสมโภชพระไชยเนาวโลหองค์เล็กของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมาที่รัชกาลที่5ทรงพระราชทานให้ ซึ่งต้องเพลิงไหม้ไม่เป็นอันตราย ที่พระตำหนักสวนกุหลาบ วังสวนดุสิต ซึ่งอาจจะเป็นพระไชยวัฒน์ที่สร้างครั้งที่ 2 ที่เหลือและพระราชทานส่วนพระองค์
    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1034878.pdf
    ?temp_hash=147e86d14c9ad309bc303ad1c3817a4f.jpg

    p2190619x-jpg.jpg
    p2190616x-jpg.jpg
    p2190620x-jpg.jpg

    ผมปรับภาพรูปรอยจารใต้ฐานใช้เห็นรอยจารมียันต์ มะ อุ อะ เขียนได้ชัดเจนสวยงาม น่าจะเป็นพระราชาคณะ ส่วนตัวคาดว่าน่าจะเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นผู้จาร ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่๑๐ เพราะเป็นประธานสงฆ์ในการจุดเทียนชัยในพิธีแช่น้ำปี 2435 ซึ่งขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชันษา 32 ปี

    p2190623x-jpg.jpg

    หมายเหตุ
    ---จากข้อมูลบันทึกที่พบ มีทั้งที่กล่าวถึงการหล่อพระชัยวัฒน์องค์เล็กทองคำ และพระชัยวัฒน์เนาวโลหะ ความเป็นไปได้ พระชัยวัฒน์องค์เล็กในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่พบเป็นพระชัยวัฒน์นวโลหะชุบทอง(เปียกทอง) ดังนั้นในสมัย ร.5 ที่สร้างพระชัยวัฒน์เนาวโลหะ(นวโลหะ)ก็อาจจะมีการสร้างในลักษณะเปียกทองได้เช่นกัน
    ---พระชัยวัฒน์องค์เล็กที่สร้างในสมัย ร.5 จากบันทึกในการสร้าง 3 ครั้ง มีจำนวน 85 องค์

    ข้อมูลอ้างอิง
    http://dr-natachai.blogspot.com/2011_03_01_archive.html?m=1


    http://wrsytc6.blogspot.com/2013/01/227-5.html?m=1


    ลำดับสมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    1487740906031-jpg.jpg

    อ.เกี๊ยก ทวีทรัพย์ เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์
    ตอนที่1


    ตอนที่2
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2024 at 22:12
  2. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    สัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะผิวมันเทศ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้องไอเหงื่อ จะดำสนิท ประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับ สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ พระพุฒาจารย์มา ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยะมุนี วัดจักรวรรดิฯ และสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ครั้งยังเป็นพระเทพโมลีตามลำดับ

    เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้
    1) ชิน หนัก 1 บาท
    2) จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท
    3) เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
    4) ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท
    5) ปรอท หนัก 5 บาท
    6) สังกะสี หนัก 6 บาท
    7) บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท
    8) เงิน หนัก 8 บาท
    9) ทองคำ หนัก 9 บาท
    เนื้อทองสัมฤทธิ์เดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อเนาวะโลหะเต็มสูตร(สัมฤทธิ์เดช)รวมทั้งหมด 45 บาทเท่านั้น ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ ตามสูตรโบราณเนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก

    ส่วนผสมที่หายากที่สุดในเนื้อนวโลหะคือ จ้าวน้ำเงิน

    เจ้าน้ำเงิน
    BORNITE (Peacock Ore) แร่นกยูง หรือคนไทยเรียกว่า แร่เจ้าน้ำเงิน
    นกยูงแร่ยังเป็นที่รู้จัก BORNITE เป็นแร่ทองแดงที่ขุดได้ในประเทศเม็กซิโก จะมีเป็นสีรุ้ง แต่โดยมาจะออกไปทางโทน น้ำเงิน เขียวและม่วง ชื่อของมันมาจากการเรียกของคนงานเหมืองแร่
    บอร์ไนท์ หินแห่งความสุข ช่วยให้คุณปรับแต่งความคิดในเชิงบวกในการใช้ชีวิต และสามารถกระจายพลังงานเชิงบวกที่ให้กับผู้อื่นได้เสียด้วย มันสามารถนำมาซึ่งความสามารถในการมองเห็นและความสุขในช่วงเวลาที่คุณต้องการ ช่วยให้เราเห็นคุณค่าของชีวิตมากขึ้น
    มันสามารถพลังด้านลบและเปลี่ยน พลังในด้านลบให้กลายเป็นพลังบริสุทธิ์ แร่บอร์ไนท์นี้จึงเป็นแร่ธาตุที่มีประสิทธิภาพมาก
    เจ้าน้ำเงิน
    คำนี้ไม่มีในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่เกิดมีอยู่ในคำอธิบายคำว่า นวโลหะเป็นหนึ่งในโลหะทั้งเก้า ส่วนผสมในพระพุทธรูปโบราณ หรือพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์
    ทางภาคใต้ของไทย เรียกชื่อว่า "มิด"
    เจ้าน้ำเงิน เชื่อกันว่าเป็นโลหะเรียกเงินได้ เกิดมาจากหินชนิดหนึ่งในป่า แถวเมืองสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี
    วิธี ตรวจสอบ...ให้เอาเหรียญเงินหลายๆเหรียญโปะทับ เอาชามครอบ วางที่น้ำค้างตก...รุ่งเช้าเปิดชามดู ถ้าก้อนโลหะนั้น โผล่ไปอยู่บนกองเหรียญ สิทธิการิยะ ท่านว่า เจ้าน้ำเงินแท้
    อีกวิธีหนึ่ง...ให้ใช้ปูนแดงที่กินกับหมากพลู ป้ายแต้มลงไป ไม่เกิน 5 นาที จะแสดงปฏิกิริยาออกมาคือ ปูนแดงนั้น
    จะเปลี่ยนสีกลายเป็นสีเขียวออกน้ำเงินหรือสีคราม
    ข้อมูลอ้างอิงจาก เฟซพุทธคุณ
    https://m.facebook.com/buddhakhun/p...VTe_J7-24sxJFmpiQ&sig2=UN2a1io3ZYrRO5JSXWKd6Q

    ?temp_hash=451f399910f39826e053804276ec0f23.jpg

    พระกริ่งปวเรศของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศ(สมเด็จพระสังฆราชลำดับที่8) เป็นพระกริ่งนวโลหะมีส่วนผสมของจ้าวน้ำเงินตามสูตร ทำให้ผิวพระกริ่งปวเรศจะมีสีออกม่วงคล้ายผิวมันเทศ

    ?temp_hash=451f399910f39826e053804276ec0f23.png

    ?temp_hash=451f399910f39826e053804276ec0f23.png

    ลองศึกษาพระกริ่งปวเรศองค์ดังจากคลิป



    ประวัติวัดบวรราชนิเวศและพระกริ่งวัดบวรฯยุคต่างๆ


    ในคลิปพระกริ่งปวเรศ วัดบวรฯผิวพระกริ่งจะออกสีน้ำตาลแดงม่วง คล้ายผิวมันเทศ ส่วนเนื้อด้านในจะแก่ทองคำ เรียกว่าสีทองจำปาเทศ เป็นสูตรการสร้างพระกริ่งของพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศ ซึ่งแตกต่างจากสูตรการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ผิวพระกริ่งจะกลับดำและวัดบวรยุคหลัง เพราะมวลสารการสร้างพระกริ่งโบราณครบสูตรหายากในปัจจุบันแล้ว
    ?temp_hash=f800f6abad858496aa140fdba8c0a268.jpg
    ?temp_hash=f800f6abad858496aa140fdba8c0a268.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2023
  3. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ภาพขยายด้านหน้า จะเห็นตามซอกตามีส่วนผสมสีเขียวสดใสคล้ายแร่จ้าวน้ำเงิน (หากเป็นสนิมเขียวของทองแดงจะกัดลึกลงไปในเนื้อพระ) และรูที่ถูกเจาะด้านแขนขวาขององค์พระและมาตะไบเพิ่มเติมเพื่อดูเนื้อด้านในจากผิวด้านนอกที่เป็นสีมันเทศ จะเห็นเป็นส่วนผสมเนื้อเนาวะโลหะที่แก่เนื้อทองคำและเนื้อเงิน ที่เรียกว่าสีทองจำปาเทศ

    ?temp_hash=234ceac43c77096b9a10f98f3c969441.png

    ด้านหลังมีส่วนผสมสีเขียวสดใสเช่นกัน

    ?temp_hash=234ceac43c77096b9a10f98f3c969441.png

    สำหรับเนื้อนวโลหะเป็นแบบเต็มสูตรของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาปวเรศฯซึ่งมีวรรณะออกไปทางสีม่วงคล้ายผิวมันเทศ เช่นเดียวกับกริ่งปวเรศ และแตกต่างจากเนื้อนวโลหะของสมเด็จพระสังฆราชแพ
    ?temp_hash=234ceac43c77096b9a10f98f3c969441.png

    ?temp_hash=234ceac43c77096b9a10f98f3c969441.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2023
  4. เก่งเจษฎา

    เก่งเจษฎา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    ขออนุญาตถามถึงองค์นี้ครับว่าเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ใช่ไหมครับ 1507092692877.jpg
     
  5. เก่งเจษฎา

    เก่งเจษฎา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    ดูแล้วไม่น่าจะพลาดล่ะครับ ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ ยังไงรบกวนติชมอีกซักรอบนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. จัวน้อย

    จัวน้อย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2020
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +14
    IMG_20200220_233352285.jpg
     
  7. จัวน้อย

    จัวน้อย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2020
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +14
    ขออนุญาตน่ะครับ ขอเข้ามาแสดงความคิดเห็นส่วนตัวน่ะครับ..
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕.โปรดฯให้สร้างพระชัยวัฒน์เนื้อทองคำนามว่า พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ เพื่อพระราชทานให้แด่พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ฯ ที่จะเสด็จออกไปทรงศึกษาในต่างประเทศ ...
    โปรดฯให้สร้างขึ้นครั้งที่ ๑ ในปีพ.ศ ๒๔๒๒ และครั้งที่ ๒ ปีพ.ศ ๒๔๒๘ เป็นพระราชพิธีหลวง สร้างตามฤกษ์ยามกำลังวัน(มีรายละเอียดพระราชพิธีจัดสร้างในหนังสือตำนานพระชัยวัฒน์และพระแก้วประจำรัชกาลของ ส.พลายน้อย) รวมจำนวนการสร้างทั้งสองครั้งประมาณไม่เกิน ๖๐ องค์ มีกรมหมื่นวชิรญาณฯ เจ้าอาวาสวัดบวรฯ และกรมพระปวเรศฯ พระราชาคณะ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เมื่อพิธีสร้างพระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์เสร็จแล้ว สันนิษฐานว่า กรมพระปวเรศฯทรงเก็บก้านช่อฉนวนโลหะมวลสารไว้
    สันนิษฐานว่า ต่อมาระหว่างปีพ.ศ ๒๔๓๐--๓๒ กรมพระปวเรศฯทรงสร้างพระกริ่งเนื้อโลหะผสมตามตำราโลหะศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ก้านช่อฉนวนของพระชัยวัฒน์มงคลวรภรณ์(เนื้อทองคำ)เป็นมวลสารหลัก ผสมกับโลหะมงคลตามตำราวัดป่าแก้ว ถอดหุ่นพิมพ์จากพระกริ่งจีน สร้างตามฤกษ์ยามกำลังวัน พระกริ่งสร้างครั้งแรกเนื้อจะแก่ทองคำเหมือนเนื้อพระกริ่งจีน ทรงประทานให้บุคคลใกล้ชิด เรียกว่าพระกริ่งพระปวเรศฯ เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง สร้างครั้งแรกไม่น่าเกิน ๑๐ องค์..
    สันนิษฐานว่า ถึงปีพ.ศ ๒๔๓๔ กรมพระปวเรศฯได้รับโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาพระปวเรศวริยาลงกรณ์ (สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘) สันนิฐานว่า ในวโรกาสนี้กรมพระยาพระปวเรศฯ ได้ทรงสร้างพระกริ่งโลหะผสมขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ โดยใช้ก้านช่อฉนวนมวลสารพระกริ่งที่สร้างครั้งที่ ๑ ผสมกับโลหะฐานพระพุทธชินสีห์ และมวลสารโลหะมงคลอื่นๆตามตำรา สร้างตามฤกษ์ยามกำลังวัน พระกริ่งชุดนี้เนื้อจะแตกต่างกับพระกริ่งสร้างขึ้นชุดแรก สันนิษฐานว่า ได้ทรงประทานให้เจ้าอาวาสพระอารามหลวง(ฝ่ายธรรมยุติ)เพื่อใช้แช่ในครอบบาตรน้ำมนต์ทำพิธีน้ำพระพุทธมนต์แจกชาวบ้าน จำนวนสร้างครั้งที่สองน่าจะไม่เกิน ๕๐ องค์...
    ข้อมูลผิดพลาดคลาดเคลื่อนต้องกราบขออภัยไว้ ณ.ที่นี้ด้วยน่ะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2020
  8. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลจากรูปขาวดำในหนังสือตำนานพระชัยวัฒน์และพระแก้วประจำรัชกาลของ ส.พลายน้อยที่ส่งมา ซึ่งน่าจะเป็นพระชัยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ 6 พิมพ์นี้มีหนังสือพระเครื่องฯ และหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย ต่างเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพระชัยวัฒน์สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามรูปด้านล่าง

    ?temp_hash=0eebb6582ac2792a6e9da4d0a884d43a.jpg

    ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทความของดร.ณัฐชัย เลิศรัตนพล ตามลิงค์ด้านล่างครับ
    http://dr-natachai.blogspot.com/2011_03_01_archive.html?m=1
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1 (1).jpg
      1 (1).jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.8 KB
      เปิดดู:
      369
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2020
  9. จัวน้อย

    จัวน้อย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2020
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +14
    ผมเอาตามข้อมูลในหนังสือตำนานพระชัยวัฒน์และพระแก้วประจำรัชกาล ของ ส.พลายน้อย ที่บันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานพระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ให้แด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ(รัชกาล ๖) ลำดับที่ ๒๙ ได้พระราชทานวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ ๒๔๓๖....
    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖.ทรงสร้างพระชัยประจำรัชกาลหนึ่งองค์ หน้าตักกว้าง ๑๙ ซม.สูงถึงยอดรัสมี ๓๐ ซม.สูงจากพื้นขาดยอดฉัตร ๘๗ ซม. แต่ไม่มีกล่าวถึงการสร้างพระชัยวัฒน์เนื้อทองคำองค์เล็กเลย..
    ผมยังเข้าใจว่าองค์ที่ท่านลงคือ พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ ที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕.ครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2020
  10. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ผมยึดตามข้อมูลที่บันทึกในราชกิจจานุเบกษา
    มีบันทึก เมื่อวันที่14มีนาคม ร.ศ.127หรือพ.ศ.2451 ว่ารัชกาลที่5 เสด็จพระราชดำเนิน เพื่อในการสมโภชพระไชยเนาวโลหองค์เล็กของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมาที่รัชกาลที่5ทรงพระราชทานให้ ซึ่งต้องเพลิงไหม้ไม่เป็นอันตราย ที่พระตำหนักสวนกุหลาบ วังสวนดุสิต

    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1034878.pdf
    ?temp_hash=c72de1228e68c8dd499a9d2ceff5521a.jpg

    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมาก็คือพลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและเป็นพระอนุชาของรัชกาลที่6 เป็นพระเชษฐาของรัชกาลที่7และเป็นว่าที่รัชกาลถัดไปต่อจากรัชกาลที่6แต่ทรงสิ้นพระชนม์ก่อนรัชกาลที่6

    ดังนั้นพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่5 จึงไม่ใช่เนื้อทองคำตามที่หนังสือของส.พลายน้อยพิมพ์ไว้ แต่เป็นเนื้อนวะโลหะ และมีการหุ้มด้วยกะไหล่ทองคำเนื้อเก้าไว้ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นเนื้อทองคำ เมื่อเวลาผ่านไปผิวกะไหล่ทองที่หุ้มพระไว้น่าจะหลุดร่อนบ้างให้เห็นเป็นเนื้อเนาวะโลหะอยู่ภายใต้ผิวทองคำอีกทีครับ

    นอกจากนี้หนังสือบันทึกเรื่องเล่าชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสีที่ได้จัดพิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์ตำรวจ คุณไชย เอี่ยมประเสริฐ เจ้าของสำนักพิมพ์อักษรประเสริฐ ผู้มีศรัทธาในสมเด็จเป็นอันมากได้รับจัดพิมพ์เกียรติประวัติ ของสมเด็จเสนอแด่ประชาชน
    โดย: “ฉันทิชัย”
    เล่ม๑ ปี ๒๔๙๕
    ได้บันทึกถึงการเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่5 ปีพ.ศ.2440 ได้อาราธนาพระเครื่องติดตัวไป2องค์ คือพระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ไกเซอร์ และพระชัยวัฒน์เนาวะโลหะน้อย ประจำรัชกาลที่5 ไปในครั้งนั้นด้วย

    ?temp_hash=7a172f62dcdd170b715162be8daa8f51.jpg

    คลิป you tube ด้านล่างถอดข้อความจากหนังสือของฉันทิชัยมา ลองฟังนาทีที่ 8:04 ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2023
  11. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    จากข้อมูลของคุณจัวน้อยอธิบายลำดับเหตุการณ์ตอนพระราชพิธีพุทธภิเษกพระไชยวัฒน์ประจำรัชกาลที่5 น่าจะไม่ถูกต้องเพราะเมื่อปีพ.ศ.๒๔๒๘ เจ้าอาวาสวัดบวรราชนิเวศไม่ใช่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส แต่เจ้าอาวาสขณะนั้นเป็นพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เจ้าอาวาสลำดับที่2 (พ.ศ.2394-2435) สามารถดูลำดับเจ้าอาวาสวัดบวรได้ที่นี่ครับ
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
    ?temp_hash=ad804f66d1b0aa79d2adf3ae56365aa7.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2020
  12. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    เนื่องจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษามีการปรับปรุงทำให้ลิงค์เดิมไม่สามารถเข้าไปดูเอกสารได้ วันนี้เป็นวันปิยมหาราช ปีพ.ศ. 2566 ผมจึงได้ทำการปรับปรุงลิงค์ของราชกิจจานุเบกษาเพื่อไปยังเอกสารอ้างอิงใหม่ให้ถูกต้อง

    จากคำถามต่างๆของคุณจัวน้อยที่เคยถามเกี่ยวกับข้อมูลในหนังสือ พระชัยวัฒน์และพระแก้วประจำรัชกาล ของส.พลายน้อย ที่พิมพ์ครั้งที่ 2 ผมได้ซื้อหนังสือ พระชัยวัฒน์และพระแก้วประจำรัชกาล พิมพ์ครั้งล่าสุดครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2564 เรียบเรียงโดย ส.พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พบว่าได้แก้ไขข้อมูลบางส่วนและเปลี่ยนเป็นรูปพระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์ในบทความของผมไปลงประกอบในหนังสือแทนรูปพระชัยวัฒน์เดิมที่ใช้ในหนังสือพระชัยวัฒน์และพระแก้วประจำรัชกาล พิมพ์ครั้งที่ 1(พ.ศ.2522) และ 2 (พ.ศ.2528) ตามรูปหนังสือที่พิมพ์ครั้งที่3ด้านล่าง
    ?temp_hash=f264867d13aa99315ca37819e2b1fd7c.jpg
    ?temp_hash=1565481817835d304e12b0382e2c879c.jpg
    20231023_144646-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2024
  13. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    เปรียบเทียบพุทธศิลป์และลักษณะ พระไชยองค์ใหญ่ ประจำรัชกาล และพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ ๕ และ ประจำรัชกาลที่ ๖

    1. เปรียบเทียบพุทธศิลป์และลักษณะของพระไชยองค์ใหญ่ ประจำรัชกาล ๕ และพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ ๕ สร้างครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๒๘-๒๔๓๔ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์(สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘) เป็นประธานสร้างในพระราชพิธี
    ?temp_hash=bcc5ed719b607b38687a93a47f6f5719.jpg

    มีพระราชพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และตามจดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๕ ระบุมีจำนวนการสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก 55 องค์ และเนื้อเนาวะโลหะแบบเต็มสูตร(สัมฤทธิ์เดช)โบราณน้ำหนัก 45 บาท มีส่วนผสมทองคำน้ำหนักถึง 9 บาท เมื่อนำมาหล่อตามจำนวน 55 องค์ พระจึงมีขนาดเล็กเพียงนิ้วก้อย ฐานกว้างประมาณ 1 cm น้ำหนักทองคำที่ใช้แต่ละองค์หนัก 1 เฟื้องหรือครึ่งสลึง
    ช่างหลวงได้จำลองพุทธลักษณะพระไชยองค์ใหญ่ย่อลงมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร (นั่งอย่างขัดสมาธิ แต่ให้ฝ่าเท้าทั้งสองขึ้นข้างบน) พระหัตถ์ซ้ายแสดงท่าถือพัดยศแทนการวางพระหัตถ์บนพระเพลา (ตัก) โดยพระเกศเป็นทรงดอกบัวตูม ศิลปะคล้ายศิลปะเชียงแสน หรือ ศิลปะอู่ทองรุ่นที่ 1 และมีรายละเอียดเพียงเม็ดบัวที่ขอบฐานด้านบน เท่านั้น
    ?temp_hash=cfa0a0ccd6d4533332d9869402909fe0.jpg

    บันทึกราชกิจจานุเบกษามีระบุลักษณะภายนอก 2 ลักษณะ คือ
    • พระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำ (เปียกทอง) พระราชทานช่วงระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๓๔
    • พระไชยวัฒน์องค์เล็กไม่ระบุทองคำ คาดว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลากรณ์ทรงนำพระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำที่ยังไม่ได้พระราชทานให้ผู้ใด นำมาหุ้มผิวชั้นนอกด้วยสัมฤทธิ์ผลสีมันเทศและบรรจุเม็ดพระกริ่งเพิ่มเติม คราวเดียวกับการสร้างพระกริ่งปวเรศ ที่วัดบวรนิเวศ และพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กในช่วงระหว่างปีพ.ศ.๒๔๓๕-๒๔๓๗ และพ.ศ.๒๔๔๓
    2. เปรียบเทียบพุทธศิลป์และลักษณะของพระไชยองค์ใหญ่ ประจำรัชกาล ๕ และพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ ๕ สร้างครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๔๓๖ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส(สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐) เป็นประธานสร้างในพระราชพิธี
    ?temp_hash=bcc5ed719b607b38687a93a47f6f5719.jpg

    มีพระราชพิธีพุทธาภิเษกที่วัดนิเวศธรรมประวัติ และตามราชกิจจานุเบกษา ระบุพระไชยวัฒน์องค์เล็ก มีจำนวนการสร้างเพียง 25 องค์ พุทธศิลปะคล้ายกับพระไชยวัฒน์องค์เล็กที่สร้างครั้งที่ ๒ และใช้เนื้อเนาวะโลหะเต็มสูตร(สัมฤทธิ์เดช)น้ำหนักรวม 45 บาท เมื่อนำมาหล่อตามจำนวน 25 องค์ดังนั้นน้ำหนักและขนาดองค์พระจึงใหญ่กว่าที่สร้างครั้งที่ ๒ ขนาดฐานประมาณ 2 cm กว่าๆ
    ช่างหลวงจึงสามารถแกะแม่พิมพ์ได้ละเอียดกว่าคราวสร้างครั้งที่ ๒ มีพระเกศเป็นดอกบัวตูม คล้ายศิลปะเชียงแสน หรือ ศิลปะอู่ทองรุ่นที่ 1 และแกะฐานลายกลีบบัว ขออนุญาตเอารูปพระไชยวัฒน์องค์เล็กในคลิปของศ.ดร.รังสรรค์ อนันตกุล มาอ้างอิงครับ
    (รายชื่อผู้ได้รับพระราชทานในคลิปมีบางส่วนไม่ตรงกับที่มีบันทึกในราชกิจจานุเบกษา)



    โดยลักษณะภายนอกระบุเป็น พระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำหรือเปียกทอง พระราชทานระหว่างปีพ.ศ.๒๔๓๗-๒๔๔๓
    3. เปรียบเทียบพุทธศิลป์และลักษณะของพระไชยองค์ใหญ่ ประจำรัชกาล ๖ และพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ ๖ พ.ศ.๒๔๕๓ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส(สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐) เป็นประธานสร้างในพระราชพิธี
    ?temp_hash=b49e7889cad9f5d3c0e20a8bdce64df1.jpg
    มีพระราชพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และตามราชกิจจานุเบกษา ไม่มีระบุจำนวนการสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ลักษณะพระเกศมีลักษณะคล้ายศิลปะอู่ทองรุ่นที่ ๒
    ?temp_hash=cfa0a0ccd6d4533332d9869402909fe0.jpg

    และฐานเป็นกลีบบัวย่อส่วนและคล้ายกับพระไชยองค์ใหญ่ ประจำรัชกาลที่ ๖
    พระราชพิธีการสร้างพระไชยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ ๖ ในราชกิจจานุเบกษา และขออ้างอิงรูปจากบทความของดร.ณัฐชัย เลิศรัตนพล
    https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1039271.pdf
    ?temp_hash=bcc5ed719b607b38687a93a47f6f5719.jpg
    ?temp_hash=bcc5ed719b607b38687a93a47f6f5719.jpg
    ?temp_hash=bcc5ed719b607b38687a93a47f6f5719.jpg
    ?temp_hash=bcc5ed719b607b38687a93a47f6f5719.jpg
    ?temp_hash=bcc5ed719b607b38687a93a47f6f5719.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2024
  14. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    หากใครยังไม่เคยเห็นพระกริ่งปวเรศองค์จริงที่พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นผู้สร้าง สามารถเข้าไปสักการะพระกริ่งปวเรศองค์จริงได้ที่ พิพิธภัณฑ์ ภปร. วัดบวรฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ครับ
    จากรูปด้านล่าง เป็นรูปที่ผมถ่ายพระกริ่งปวเรศองค์จริง, พระกริ่งอุบาเก็ง และพระชัยวัฒน์นิรันตราย ที่พิพิธภัณฑ์ ภปร. วัดบวรฯ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 จะสังเกตว่าพระทั้งสามองค์มีขนาดใกล้เคียงกัน และผิวชั้นนอกพระกริ่งปวเรศองค์จริงเป็นกะไหล่โลหะผสมสีม่วงคล้ายสีมันเทศ หุ้มเนื้อเนาวะโลหะสีทองจำปาเทศ(มีสัดส่วนผสมทองคำและเงินสูง) ภายในเพื่อป้องกันไม่ให้มีการกลับดำของเนื้อเนาวะโลหะ
    oi000001-jpg.jpg

    ?temp_hash=422b73d4d1a895cd20b54d4cdbc77716.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2024 at 06:30

แชร์หน้านี้

Loading...