แผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 20 กันยายน 2008.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    การเรียนไม่มีคำว่าสายเกินไปนะเจ้าคะ
     
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    [​IMG]

    คุณสร้อยฟ้า ฯ ... กำลังมองอะไรอยู่หรือครับ ^^
     
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ทัศนาบารมี องค์จักรีนฤบดินทร์
    มหาราชปิยมินทร์ ปกแผ่ถิ่นสิ้นสากล ....


    อันโบราณ การหมอบกราบเข้าเฝ้าระหว่างขบวนเสด็จทางสถลมารค
    ห้ามมิให้ผู้ใดเงยหน้า จักได้รับโทษทัณฑ์ นะเจ้าคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2008
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    จะขับขาน กรองกาญ- จนกาพย์
    ด้วยพิลาป หลั่งเนตร เศษสวรรค์
    หลงน้ำฟ้า ล่วงมา สุธาธรรพ์
    ยากจะหวน คืนฝัน วันผ่านมา

    ดูดวงแข แล กลับ ลับกลีบเมฆ
    ช่างวิเวก หวั่นไหว ใจหนักหนา
    เดือนก็ดับ ลับแล้ว เดือนดารา
    ไม่มีแม้ แสงจันทรา ยามราตรี

    จะหันมอง ทางใด ไร้แสงฟ้า
    จะหันหา ทางใด ในถิ่นที่
    จะหันเห ทิศไหน ก็ไม่มี
    แม้เศษเดือน แสงดาวนี้ ชี้นำทาง

    คงล่องลอย ในกันยา ธารารัฐ
    มิอาจขัด ดวงชาตา ฟ้าสาปสาง
    ความอบอุ่น ที่เคยได้ ไม่เคยจาง
    แม้วันนี้ ต้องอ้างว้าง เหินห่างไกล

    ขอยอกร บังคม ก้มแทบบาท
    อภิวาท บัณฑูรมา ณ สมัย
    ถึงล่วงกว่า หมื่นราตรี ที่ครรลัย
    ยังโศกใน ฤทัยย้ำ จำมิเลือน



    กลอนสุภาพ
    สร้อยฟ้ามาลา

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • s005.jpg
      s005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13 KB
      เปิดดู:
      6,207
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  5. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    <TABLE class=tborder style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px" cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead colSpan=2>วันนี้ 01:03 PM</TD></TR><TR title="Post 1600426" vAlign=top><TD class=alt2 align=middle width=125>สร้อยฟ้ามาลา</TD><TD class=alt1>
    [​IMG]


    จะขับขาน กรองกาญ- จนกาพย์
    ด้วยพิลาป หลั่งเนตร เศษสวรรค์
    หลงน้ำฟ้า ล่วงมา สุธาธรรพ์
    ยากจะหวน คืนฝัน วันผ่านมา

    ดูดวงแข แล กลับ ลับกลีบเมฆ
    ช่างวิเวก หวั่นไหว ใจหนักหนา
    เดือนก็ดับ ลับแล้ว เดือนดารา
    ไม่มีแม้ แสงจันทรา ยามราตรี

    จะหันมอง ทางใด ไร้แสงฟ้า
    จะหันหา ทางใด ในถิ่นที่
    จะหันเห ทิศไหน ก็ไม่มี
    แม้เศษเดือน แสงดาวนี้ ชี้นำทาง

    คงล่องลอย ในกันยา ธารารัฐ
    มิอาจขัด ดวงชาตา ฟ้าสาปสาง
    ความอบอุ่น ที่เคยได้ ไม่เคยจาง
    แม้วันนี้ ต้องอ้างว้าง เหินห่างไกล

    ขอยอกร บังคม ก้มแทบบาท
    อภิวาท บัณฑูรมา ณ สมัย
    ถึงล่วงกว่า หมื่นราตรี ที่ครรลัย
    ยังโศกใน ฤทัยย้ำ จำมิเลือน

    <O:p</O:p

    กลอนสุภาพ
    สร้อยฟ้ามาลา

    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ~ ไพเราะจับใจยิ่งนัก ~

    มาเม้นจากใจ.gif

     
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๓.


    a.jpg
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ กลับออกมาถึงพระตำหนัก พระโรคไข้ป่าก็กำเริบมากขึ้น ประชวรอยู่ได้หลายวัน พอพระอาการไข้ค่อยคลาย ก็เกิดพระยอดมีพิษขึ้นที่พระศอ พระอาการกลับทรุดลงไปอีกจนถึงประชวรเพียบหนักอยู่เป็นเวลาหลายวัน พระอาการจึงค่อยคลายขึ้น แต่พระกำลังยังอ่อนเพลียมากนัก จึงต้องปกปิดมิให้ทรงทราบพระอาการของสมเด็จพระบรมชนกนาถตลอดมา จนกระทั่ง...




    ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร อาการทรุดลงโดยลำดับ ครั้นถึงวันจันทร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ เป็นวันพระราชพิธีศรีสัจปานกาล เสด็จออกไม่ได้ ข้าราชการประชุมถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วจึงพร้อมกันมาถวายบังคมที่ในท้องพระโรงพระอภิเนาวนิเวศ และในที่นั้นพระราชวงศานุวงศ์ ประชุมกันถือน้ำตามประเพณีที่ไม่เสด็จออกวัดฯ ในเวลาที่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยประชุมพร้อมกันที่พระที่นั่งอนันตสมาคมนั้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม ซึ่งเป็นหัวหน้าในข้าราชการทั้งปวง กล่าวในที่ประชุมว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระอาการมากอยู่ ไม่ควรจะประมาท แล้วจึงให้จัดการรักษาพระบรมมหาราชวังกวดขันขึ้นกว่าปกติและให้ตั้งกองล้อมวังพระตำหนักสวนกุหลาบ อันเป็นที่ประทับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ด้วย


    ไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้นที่ทรงคาดเดาว่าอะไรจะเกิดแก่บัลลังก์ และพระโอรสของพระองค์แม้แต่บรรดามุขอำมาตย์ที่จงรักภักดีต่อพระองค์และพระราชบัลลังก์ก็รู้ เพราะเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้แสดงพฤติการณ์บางอย่างให้รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

    a.jpg
    กรมหลวงเทเวศวัชรินทร์

    a.jpg
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท


    a.jpg
    เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์


    ถึงวันอังคาร เดือน ๑๑ ขึ้น ๖ ค่ำ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ โดยเจริญพระชนมายุกว่าพระองค์อื่นๆ พระองค์ ๑ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ในราชการพระองค์ ๑ พระยาศรีสุวริยวงศ์อัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม ซึ่งเป็นหัวหน้าในข้าราชการทั้งปวงคน ๑ เข้าไปเฝ้าพร้อมกันแล้ว มีพระบรมราชโองการมอบพระราชกิจในการปกครองพระราชอาณาจักรให้ท่านทั้ง ๓ ปรึกษาหารือกันบังคับบัญชาการต่างพระองค์ในเวลาทรงพระประชวรอย่าให้ราชการบ่านเมืองติดขัดผันแปรเป็นเหตุให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ความเดือดร้อน ในวันนั้น ได้รับสั่งให้ภูษามาลาเชิญพระเครื่องมาถวายแล้วทรงเลือกประคำทองสาย ๑ เป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับพระธำมรงค์เพ็ชรองค์ ๑ ให้พระราชโกษา เชิญตามเสด็จพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี ไปพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีเสด็จออกมาทูลกรมหลวงวงศาธิราชสนิท และบอกให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ซึ่งพร้อมกันอยู่ที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ทราบตามกระแสรับสั่ง กรมหลวงวงศาธิราชสนิท และเจ้าพระยาฯ ก็ไปยังพระตำหนักสวนกุหลาบ ด้วยเวลานั้นปิดความไม่ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทรงทราบว่าสมเด็จพระบรมชนกนาถประชวรพระอาการมาก เจ้าพระยาฯ จึงแนะนำพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีให้ทูลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ว่าของ ๒ สิ่งนั้น พระราชทานเป็นของขวัญ โดยทรงยินดีที่ได้ทรงทราบว่าพระอาการประชวรค่อยคลายขึ้น เมื่อพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีไปทูล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ดำรัสถามว่าของขวัญเหตุใดจึงพระราชทานประคำของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกด้วย แต่ไม่มีผู้ใดทูลตอบว่ากระไร เมื่อถวายสิ่งของแล้วต่างก็กลับมา

    a.jpg
    สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์

    a.jpg
    พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนศิริเชษฐ



    ในเวลานั้นเห็นจะเป็นด้วยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เห็นว่า พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีได้เสด็จออกไปทอดพระเนตรเห็นการที่จัดตั้งกองล้อมวังแล้ว กลับเข้าไปข้างในก็คงจะกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์กับกรมหลวงวงศาธิราชสนิทปรึกษากันว่าควรจะกราบทูลให้ทรงทราบถึงการที่จัดไว้จึงให้พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีเข้าไปกราบทูล ว่าเจ้านายและเสนาบดีปรึกษากันเห็นว่า พระอาการที่ทรงพระประชวรมากอยู่ ไม่ควรจะประมาทแก่เหตุการณ์ ได้สั่งให้จัดการปิดช่องล้อมวงรักษาพระบรมมหาราชวังให้กวดขันขึ้น และตั้งกองล้อมวงรักษาสมเด็จพรเจ้าลูกยาเธอฯ ที่พระตำหนักสวนกุหลาบด้วย เมื่อพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีกราบทูลความนี้ให้ทรงทราบ มีรับสั่งถามว่าได้เห็นผู้คนล้อมวงที่สวนกุหลาบจริงหรือ และมีผู้หลักผู้ใหญ่ใครดูแลการล้อมวงที่นั่น เมื่อได้ทรงราบแล้วจึงดำรัสสั่งให้พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีกลับออกไปทูลกรมหลวงวงศาฯ และแจ้งให้เจ้าพระยาฯ ว่า การที่จะสืบสนองพระองค์นั้น ขอให้คิดมุ่งหมายเอาแต่ความเรียบร้อยมั่นคงของพระราชอาณาจักรเป็นประมาณ พระองค์ไม่ได้ตั้งพระราชหฤทัยมักใหญ่ใฝ่สูงอย่างไรดอก ผู้ที่จะสืบราชสมบัติจะเป็นน้องยาเธอก็ได้ หลานเธอก็ได้ ขอแต่ให้ได้ร่มเย็นเป็นสุขแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ พระชันษายังทรงพระเยาว์นัก บังคับบัญชาราชการบ้านเมืองได้ละหรือขอให้คิดดูกันให้ดี


    เมื่อพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีเชิญพระกระแสออกมาทูลกรมหลวงวงศาธิราชสนิท และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ท่านทั้งสองนั้นจึงเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์มาปรึกษาอีกพระองค์หนึ่ง แล้วให้เข้าไปกราบบังคมทูลว่า ได้ปรึกษาเห็นพร้อมกันว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ สมควรจะรับราชสมบัติสืบสนองพระองค์ราชการบ้านเมืองจึงจะเรียบร้อยปกติ ข้อซึ่งทรงพระปริวิตกว่ายังทรงพระเยาว์นั้นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์รับจะสนองพระเดชพระคุณช่วยดูแลประคับประคองในส่วนพระองค์มิให้เสื่อมเสียได้ เมือพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีนำความเข้ากราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิตกอีกว่า พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีจะเชิญพระกระแสรับสั่งออกไปแจ้งไม่ถูกต้องครบถ้วนตามพระราชประสงค์


    ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๗ ค่ำ จึงดำรัสสั่งให้พระศรีสุนทรโวหาร เขียนกระแสรับสั่งพระราชทานให้พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีออกมายังที่ประชุมพระราชวงศ์ และเสนาบดี ว่าผู้ซึ่งจะครองราชสมบัติสืบพระราชวงศ์ต่อไปนั้น ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษาหารือกันแล้วแต่จะเห็นว่านายพระองค์ใด จะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอก็ดี พระเจ้าหลานเธอก็ดี สมควรจะเป็นผู้ใหญ่เมื่อพร้อมกันเห็นว่าจะเป็นพระองค์ใดจะปกครองรักษาแผ่นดินได้ ก็ให้ถวายราชสมบัติแก่พระองค์นั้นสืบสนองพระองค์ต่อไป กระแสรับสั่งซึ่งโปรดฯ ให้เขียนออกไปอ่านในที่ประชุมเสนาบดีนี้ ไม่ปรากฏว่าได้มีคำที่ประชุมตอบประการใด



    ในระหว่างนั้น เห็นจะเป็นด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิตกถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ยิ่งขึ้น ด้วยเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ประชวรพระอาการมากอยู่นั้น ไม่ได้กราบบังคมทูลฯ ให้ทรงทราบ เพราะเกรงกันว่าถ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ก็จะทรงพระปริวิตกวุ่นวาย พระอาการจะทรุดหนักไปจึงปิดความเสีย ครั้น ณ วันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ จึงโปรดฯ ให้พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีถวายปฏิญาณก่อนแล้ว จึงดำรัสถามว่า “พ่อใหญ่” นั้น สิ้นพระชนม์เสียแล้วหรือยังมีพระชนม์อยู่ขอให้กราบบังคมทูลแต่โดยสัตย์จริง ถ้าสิ้นพระชนม์แล้วก็จะได้หมดห่วง พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี กราบบังคมทูลฯ ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ นั้นเดิมประชวรไข้ ครั้นไข้ค่อยคลายเกิดพระยอดมีพิษที่พระศอพระอาการมากอยู่คราวหนึ่ง แต่เดี๋ยวนี้ค่อยคลายขึ้นแล้ว เป็นความสัตย์จริงดังนี้


    มีพระดำรัสว่า ถ้าเช่นนั้นให้ไปทูลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ว่า ถ้าพระอาการค่อยคลายพอจะมาเฝ้าได้ ให้เสด็จมาเสียก่อนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ถ้ารอจนถึงแรมค่ำ ๑ ก็จะได้แต่สรงพระบรมศพไม่ทันสั่งเสียอันใด พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีเชิญพระกระแสออกมาทูลกรมหลวงวงศาฯ และเจ้าพระยาฯ ท่านทั่งสองปรึกษากันเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ พละกำลังยังอ่อนนัก ถ้าเชิญเสด็จไปเฝ้าในเวลานั้นคงจะทรงพระโศกาดูรแรงกล้าน่ากลัวพระโรคจะกลับกำเริบขึ้น เห็นควรจะระวังรักษาอย่าให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ มีภัยอันตรายจะดีกว่า จึงพร้อมกันห้ามเสียไม่ให้ไปทูลให้ทราบพระราชประสงค์และให้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ พระอาการค่อยคลายแล้ว แต่พระกำลังยังน้อยนักเสนาบดีปรึกษากันเห็นว่ายังจะเชิญเสด็จมาเฝ้าไม่ได้


    a.jpg
    เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์


    a.jpg
    พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ




    ในวันพุธ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว จึงมีรับสั่งให้พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ จางวางมหาดเล็ก เข้าเฝ้าพร้อมพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ดำรัสถามพระสุวรวงศ์ไวยวัฒน์ ว่าพระอาการสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไรบ้าง พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์กราบบังคมทูลว่าพระอาการค่อยคลายขึ้นแล้ว ตรัสถามต่อไปว่าการแผ่นดินเดี๋ยวนี้จัดการกันอย่างไร พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์กราบบังคมทูลว่า เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ผู้บิดาเห็นว่าอาการที่ทรงประชวรมาก ได้ปรึกษากับพระราชวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่เห็นพร้อมกันว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ควรจะรับสิริราชสมบัติสืบสนองพระองค์ต่อไป เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงได้สั่งให้เจ้าพนักงานตั้งกองล้อมวงที่พระตำหนักสวนกุหลาบหลายเวลามาแล้ว มีพระราชดำรัสว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ พระชันษายังเยาว์ จะทรงบังคับบัญชาราชการแผ่นดินอย่างไร เกรงจะทำการไปไม่รอด เจ้านายผู้ใหญ่ที่ทรงพระสติปัญญาก็มีอยู่มาก พระองค์ใดควรจะว่าราชการแผ่นดินได้ จะเลือกพระองค์นั้นก็ควรอย่าให้เกิดอันตรายแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่ พระยาฯ กราบบังคมทูลว่า ถ้าไม่ยกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ขึ้นครองพระราชสมบัติ น่ากลัวจะมีเหตุร้ายไปภายหน้าด้วยคนทั้งหลายตลอดจนชาวนานาประเทศก็นิยมนับถือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตพระชานาถว่าเป็นรัชทายาท แม้สมเด็จพระเจ้านโปเลียนที่ ๑ เอมเปอเรอฝรั่งเศสก็ได้มีพระราชสาส์นทรงยินดี พระราชทานพระแสงมีจารึกยกย่องพระเกียรติยศเป็นรัชทายาทมาเป็นสำคัญถ้าไม่ยกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไปการภายหน้าเห็นจะไม่ปกติเรียบร้อยได้ มีพระราชดำรัสว่า เมื่อเห็นพร้อมกันเช่นนั้นก็ตามใจ แล้วทรงชี้แจงต่อไปถึงครั้นหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้มีรับสั่งให้หาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เข้าไปทรงฝากฝังสั่งเสียราชการแผ่นดิน รับสั่งให้แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แต่ยังเป็นจางวางมหาดเล็กเข้าไปทรงสั่ง ครั้งนี้พระองค์ทรงประพฤติตามแบบอย่างพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมิได้รับสั่งให้หาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เข้ามาสั่งเสีย ให้พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์เป็นผู้รับพระกระแส เมื่อจะขัดขวางอย่างใดก็จงปรึกษากับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ผู้เป็นบิดา ไหนๆ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ก็ได้เป็นเขย การที่ปรึกษาเห็นพร้อมกันว่าจะให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ครองราชสมบัติต่อไปนั้นขอฝากฝังให้ช่วยทำนุบำรุงให้ดี อย่าให้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นได้ การเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ถ้าไม่ระวังให้ดีอาจะเกิดรบพุ่งฆ่าฟันกัน ต้องระวังอย่าให้มีเหตุการณ์เช่นพระเสน่หามนตรี ถ้าเกิดเหตุเช่นนั้นจะอายเขา พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์กราบบังคมทูลฯ รับว่าจะไปคิดอ่านกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ผู้บิดาสนองพระเดชพระคุณมิให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นได้


    a.jpg
    เจ้าพระยาภูธราภัย



    วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลา ๕ โมงเช้า ดำรัสสั่งให้พระยาบุรุษฯ ออกไปเชิญพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหม เจ้าพระยาภูธราภัยที่สมุหนายก เข้าไปเฝ้าถึงข้างที่พระบรรทม มีพระราชดำรัสว่าเห็นจะสวรรคตในวันนั้น ท่านทั้ง ๓ กับพระองค์ได้ทำนุบำรุงประคับประคองกันมา บัดนี้กาละจะถึงพระองค์แล้วขอลาท่านทั้งหลายในวันนี้ ขอฝากพระราชโอรสพระราชธิดาอย่าให้มีภัยอันตรายหรือเป็นที่กิดขวางในการแผ่นดิน ถ้าจะมีความผิดสิ่งไรเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ให้เป็นโทษเนียรเทศ ขอให้ท่านทั้ง ๓ จงเป็นที่พึ่งแก่พระราชโอรสธิดาต่อไปด้วยเถิด
    ทรงฝากฝังกับมหาอำมาตย์ ผู้ต่อไปแผ่นดินจะต้องพึ่งพาอาศัยทั้งกำลังความคิดสติปัญญา น้ำพระเนตรของพระเจ้าน้องยาเธอ น้ำตาของเจ้าพระยาทั้ง ๒ ต่างไหลพราก สุดเหลือที่จะอาลัยพระองค์แล้ว


    จึงดำรัสห้ามว่าอย่าร้องไห้ ความตายไม่เป็นอัศจรรย์อย่างใด ย่อมมีย่อมเป็นเหมือนกันทุกรูปทุกนาม ผิดกันแต่ที่ตายก่อนและตายทีหลัง แต่ก็อยู่ในต้องตายเหมือนกันทั้งสิ้น บัดนี้เมื่อกาละมาถึงพระองค์แล้ว จึงได้ลาท่านทั้งหลาย แล้วมีพระราชดำรัสต่อไปว่า มีพระราชประสงค์จะรับสั่งด้วยราชการแผ่นดิน แต่จะทรงสมาทานเบญจศีลเสียก่อน ครั้นสมาทานศีลแล้ว ตรัสภาษาอังกฤษหลายครั้ง แล้วจึงมีพระราชดำรัสว่า ที่พูดภาษาอังกฤษนี้ เพื่อจะให้ท่านทั้งหลายเห็นว่าสติสัมปชัญญะยังเป็นปกติ ถึงภาษาอื่นที่มิใช่ภาษาของตนก็ยังทรงจำได้ด้วยสติยังดีอยู่ ท่านทั้งปวงจะได้สำคัญในข้อนี้ความที่จะสั่งว่ามิได้สั่งโดยฟั่นเฟือน เมื่อตรัสดังนี้แล้ว จึงมีพระราชดำรัสต่อไปว่า ท่านทั้ง ๓ กับพระองค์ได้ช่วยทำนุบำรุงแผ่นดินมาได้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมาจนถึงเวลาจะสิ้นพระชนมายุ ถ้าสิ้นพระองค์ล่วงไปแล้วขอให้ท่านทั้งปวงจงช่วยกันทำนุบำรุงแผ่นดินต่อไปให้เรียบร้อย ให้สมณพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์ได้พึงอยู่เย็นเป็นสุขทั่วกัน ขอให้ทูลพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ให้เอาเป็นพระธุระรับฎีกาของราษฎรอันมีทุกข์ร้อน ให้ร้องได้สะดวกเหมือนพระองค์ได้ทรงเป็นพระธุระรับฎีกามาแต่ก่อน อนึ่ง ผู้ซึ่งจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบพระบรมราชวงศ์ไปภายหน้านั้น ให้ปรึกษากันเลือกดูแต่ที่สมควร จะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอก็ตาม พระเจ้าลูกยาเธอ หรือพระเจ้าหลานเธอก็ตาม เมื่อปรึกษาเห็นพร้อมกันว่าพระองค์ใดมีปรีชาสามารถควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็จงยกย่องพระองค์นั้นขึ้นจะได้ทำนุบำรุงแผ่นดิน ให้พระราชวงศานุวงศ์ข้าราชการและอาณาประชาราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขต่อไป อย่าได้หันเหียนเอาตามเห็นว่าชอบพระราชหฤทัยเป็นประมาณเลย เอาแต่ความดี ความเจริญของบ้านเมืองเป็นประมาณเถิด มีพระราชดำรัสดังนี้แล้ว ก็มิได้ตรัสสั่งถึงราชการแผ่นดินอีกต่อไป


    เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้พระราชโกษา กรมพระภูษามาลาเข้าเฝ้า เพื่อสั่งเสียเรื่องการแต่งพระองค์และพิธีต่างๆ ทรงแสดงความประสงค์ให้เลือกเครื่องประดับที่เป็นของส่วนพระองค์ ให้แจกส่วนสำคัญของพระกายาต่อพระโอรสธิดา ทรงตรัสแก่พระราชโกษาความว่า
    “... เมื่อข้าไม่มีตัวตนแล้ว เจ้าจะทำในสรีรร่างกายของข้า สิ่งใดไม่เป็นที่ชอบใจอยู่แต่ก่อน ขออย่าได้ทำ เป็นต้นว่า แหวนที่ใส่ปากผี เอาเชือกผูกแหวนแขวนห้อยไว้ที่ปาก กลัวผีจะกลืนแหวนเข้าไป อย่างนี้จงอย่าได้ทำแก่ข้าเลย แต่อย่าให้เสียธรรมเนียม แหวนที่จะใส่ปากนั้น ให้เอาเชือกผูกแหวนที่เข็มกลัดคอเสื้อ เพชรที่ข้าได้ว่าขอไว้นานแล้ว เมื่อจะตายจะเอากลัดไปด้วย ราคาก็ไม่มากนัก เพียง ๕๐ ชั่งเศษ แล้วจะได้ทำพระฉลองพระองค์ด้วย เข็มขัดที่จะคาดนั้นอย่าให้เอาของแผ่นดิน ให้เอาของเดิมของข้า ที่สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ซื้อหลวงพิทักษ์มนตรีนั้น แหวนที่จะใส่นั้นได้จัดมอบไว้แล้ว ให้ไปถามพ่อกลางดูเถิด สังวาลเครื่องต้นเอาสายที่ข้าทำใหม่ อย่าให้เอาสายสำหรับแผ่นดิน ให้เอาของที่ข้าทำใหม่ การอื่นๆ นอกนั้นก็ให้ไปปรึกษาพ่อกลางดูเถิด แต่อย่าให้เกี่ยวข้องเป็นของแผ่นดิน ของแผ่นดินนั้นเจ้าแผ่นดินใหม่ท่านจะได้ใส่เลียบพระนคร เมื่อเอาโกศลงเปลื้องเครื่องให้ค้นดูในปาก ฟันมีก็ให้เอาไว้ให้หมด จะได้แจกลูกที่ยังไม่ได้ให้พอกัน ถ้าฟันไม่พอกัน ให้ถอดเอาเล็บมือ ถ้าเล็บมือไม่พอ ให้ถอดเอาเล็บตีน แบ่งปันกันไปกว่าจะพอ”


    เวลาเย็นวันนั้นได้ทรงพระราชนิพนธ์คำขอขมาและลาพระสงฆ์โดยภาษาบาลี แล้วทรงปริวิตกว่าพระองค์ทรงพระประชวรพระอาการมากถึงเพียงนั้นพระสติสัมปชัญญะจะฟั่นเฟือนไป จึงมีรับสั่งให้หาพระศรีสุนทรโวหาร(ฟัก) เปรียญ เข้าไปเฝ้าที่ข้างพระบรรทมทรงท่องพระราชนิพนธ์ให้ฟัง แล้วตรัสถามว่ายังทรงภาษาบาลีถูกต้องอยู่หรือประการใด พระศรีสุนทรโวหารกราบทูลว่า ยังถูกต้องจะหาวิลาศแต่แห่งใดนั้นมิได้ จึงมีรับสั่งให้พระศรีสุนทรโวหาร เขียนพระราชนิพนธ์นั้น ดังต่อไปนี้


    พระราชนิพนธ์ขมาสงฆ์

    ยกฺเฆ ภนฺเต สํงโฆ ชานาตุ มยฺหํ ภกฺขุกาเล ปุนปฺปุนํ
    เอสา วาจา ภาสิตา ยโตหํ มหาปวารณาย ชาโต
    กาลํ กุรุมาโน สเจ มหาปวารณาทิวเส พาฬฺหคิลาโน
    อุโปสถาคาเร มหาปวารณาสนฺนิปาตํ นีโต ตถารูเปน
    พเลน สมนํนาคโต ยถารูเปน พเลน สํฆํ เตวาจิกํ
    ปวาเรตวา สํฆสฺส สมฺสุขา กาลํ กเรยฺยํ
    ตํ สาธุวตสฺส ตํ เม อนุณูปิ อสฺส อิติ เอวรูปี
    วาจา ปุนปฺปุนํ ภิกฺขุกาเล ภาสิตา อิทานมฺหิ คหฏฺโฐ
    กฺยาหํ กาหามิ เตนาหํ อิเม สกฺกาเร วิหารํ ปหินามิ
    อิเมหิ สกฺกาเรหิ ปวารณากมฺมํ กโรนฺตํ สํฆํ
    ธมฺมเมว ปูเชมิ อตฺตานํ วิย กตฺวา มหาปวารณา
    เอวํ ภายามิ อชฺช กาลํ กเรยฺยํ อาปุจฺฉามหํ ภนฺเต
    สํฆํ จิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺ ตํ อภิวาเทมิ อรหนฺตํ
    สมฺมาสมฺพุทธํ ตสฺส ธมฺมํ นมสฺสามิ อริยญจ สํฆํ นมามิ
    ยมหฺ รตนตฺตยํ สรณํ คโตมฺหิ



    อจฺจโย มํ ภนฺเต อตจฺจคฺคมา ยถาพาลํ ยถามุฬหํ
    ยถาอกุสลํ โยหํ ภนฺเต อิมสฺมิ อตฺตภาเว ตถา ตถp
    ปมตโต อกุสลานิ กมฺมานิ อกาสึ ตสฺส เม ภนฺเต สํโฆ
    อจฺจยํ อจฺจยโต ปฏิคฺคณฺหตุ อายติ สํวราย



    อิทานิ มยา ปญุจสุ สีเลสุ สํวราธิฏฐานํ กตํ ตสฺส
    มยหํ เอวรูโปมนสิกาโร อนุฏฐหิยติ สิกฺขิยติ ปญฺจสุ ขนฺเธสุ
    ฉสุ อชฺฌตฺติเกสุ อายตเนสุ ฉสุ พาหิเรสฺ อายตเนสฺ ฉสุ
    วิญญาเณสุ ฉสุ สมฺผสฺเสสุ ฉสุ ฉทฺวาริเกสฺ เวทนาสุ นตฺเถติ
    โลกสฺมี ยํ อุปาทิยมานํ อนวชฺชํ อสฺส ยํ วา ปุริโส อุปทยนฺโต
    อนวชฺชวา อสฺส อนุปาทานํ สิกฺขามิ สพฺเพ สํขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ยถาปจฺจยํ ปวตฺตยฺติ เนตํ มม เนโสหมสฺมิ
    น เม โส อตฺตา อิติ ยํ ยธ มรณํ สตฺตานํ ตํ อนจฺฉริยํ ยโต
    เยตํ สพฺเพสํ มคฺโค อปฺปมตฺตา โหนฺตุ ภนฺเต อาปุจฺฉามิ
    วนฺทามิ ยธ เม ปราธํ สพฺพํ เม สํโฆ ขมตุ



    อาตุรสฺมิปิ เม กาเย จิตฺติ น เหสฺสาตาตุรํ
    เอวํ สิกขามิ พุทฺธสฺส สาสนานุคติ กรํ ฯ



    คำแปลพระราชนิพนธ์ขมาสงฆ์


    ขอเตือนสงฆ์จงรู้ เมื่อครั้งดีฉันเป็นภิกษุอยู่ ดีฉันได้กล่าววาจานี้เนืองๆ ว่า เพราะดีฉันได้เกิดแล้วในมหาปวารณา เมื่อจะทำการละถ้าในวันมหาปวารณาป่วยหนักลง ภิกษุสงฆ์สามเณรช่วยนำไปยังที่สงฆ์ประชุมทำมหาปวารณา ณ โรงอุโบสถ ประกอบไปด้วยกำลังเช่นนั้น ด้วยกำลังเช่นใดเล่า ดีฉันจะพึงปวารณากะสงฆ์ถ้วนกำหนดสามคำได้แล้ว ทำกาละ ณ ที่ฉะเพาะหน้าสงฆ์ ความที่ดีฉันทำได้ดังนี้เป็นกรรมดีเทียวหนอ ความทำได้ดังนี้จะเป็นกรรมสมควรแก่ดีฉันเทียวหนอ วาจาเช่นนี้ดีฉันได้กล่าวเนืองๆ เมื่อครั้งเป็นภิกษุ บัดนี้ฉันเป็นคฤหัสถ์เสียแล้วจักทำอะไรได้ เพราะเหตุนั้นดีฉันจึงส่งเครื่องสักการเหล่านี้ไปยังวิหารบูชาสงฆ์ ซึ่งทำปวารณากรรมกับทั้งพระธรรม ด้วยเครื่องสักการเหล่านี้ทำให้เป็นประหนึ่งตน วันมหาปวารณาวันนี้ก็เป็นวันพฤหัสบดี เช่นกับวันที่ดีฉันเกิดเหมือนกัน อาพาธของดีฉันก็เจริญกล้า ดีฉันกลัวอยู่จะทำกาลเสีย ณ เวลาวันนี้ ดีฉันขอลาสงฆ์ อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้อรหันต์สัมมาพุทธ แม้ปรินิพพานแล้วนาน นมัสการพระธรรม นอบน้อมพระอริยสงฆ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ดีฉันได้ถึงพระรัตนตรัยไรเล่าว่าเป็นที่สรณที่พึ่ง โทษล่วงเกินได้เป็นไปล่วงดีฉันผู้พาลอย่างไร ผู้หลงอย่างไร ผู้ไม่ฉลาดอย่างไร ดีฉันผู้ใดได้ประมาทไปแล้วด้วยประการนั้นๆ ทำอกุสลกรรมไว้แล้ว ณ อัตตภาพนี้ พระสงฆ์จงรับโทษที่เป็นไปล่วง โดยความเป็นโทษเป็นไปล่วงจริงของดีฉันผู้นั้น เพื่อสำรวมระวังต่อไป


    บัดนี้ดีฉันได้ทำความอธิษฐานการสำรวมในศีลห้าแล้ว มนสิการความทำในใจเช่นนี้ดีฉันได้ให้เกิดขึ้นศึกษาอยู่ ในขันธ์ทั้ง ๕ อายตนภายใน ๖ อายตน ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนาที่เป็นไปในหกทวาร ๖ สิ่งใดที่สัตว์มาถือเอามั่นจะพึงเป็นของหาโทษมิได้ อนึ่งบุรุษมายึดมั่นสิ่งไรไว้เป็นผุหาโทษมิได้สิ่งนั้นไม่มีเลยในโลก ดีฉันมาศึกษาการไม่ยึดมั่นอยู่ว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงใช่ตัวตน ย่อมเป็นไปตามปัจจัย สิ่งนั้นใช่ของเรา ส่วนนั้นไม่เป็นเรา สิ่งนั้นมิใช่ตัวตนของเรา ดังนั้น ความตายใดๆ ของสัตว์ทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วเถิด ดีฉันขอลา ดีฉันไหว้ สิ่งใดดีฉันได้ผิดพลั้งสงฆ์จงอดสิ่งทั้งปวงนั้นแก่ดีฉันเถิด


    เมื่อกายของดีฉันแม้กระสับกระส่ายอยู่ จิตต์ของดีฉันจักไม่กระสับกระส่าย
    ดีฉันมาทำความไปตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ศึกษาอยู่ด้วยประการดังนี้ ฯ


    a.jpg
    กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์)



    แล้วโปรดฯ ให้พระศรีสุนทรโวหาร เชิญพระราชนิพนธ์นี้ไปพร้อมด้วยเครื่องสักการ ไปอ่านในที่ประชุมสงฆ์ มีกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์เป็นประธาน ที่ในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ เมื่อเวลาค่ำก่อนพระสงฆ์ทำพิธีปวารณา



    ครั้นเวลา ๒ ทุ่ม ๖ บาท จึงรับสั่งเรียกพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภว่า พ่อเพ็งเอาโถมารองเบาให้พ่อที พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภจึงเข็ญเอาโถพระบังคนขึ้นไปบนพระแท่น ถวายลงพระบังคนแล้วก็พลิกพระองค์ไปข้างทิศตะวันออก รับสั่งบอกว่าจะตายเดี๋ยวนี้แล้ว แล้วพลิกพระองค์หันพระพักตร์สู่เบื้องตะวันตก ก็รับสั่งบอกอีกว่า จะตายเดี๋ยวนี้แล้ว แล้วก็ทรงภาวนาว่า อรหังสัมมา สัมพุทโธ ทรงอัดนิ่งไปแล้วผ่อนอัสสาส ปัสสาส เป็นคราวๆ ยาวแล้วผ่อนสั้นเข้าทีละน้อยๆ ทรงพระสุรเสียงมีสำเนียงดัง โธ โธ ทุกครั้ง สั้นเข้า โธ ก็เบาลงทุกที ตลอดไปจนยามหนึ่งก็ดังครอกเบาๆ พอระฆังยามหอภูวดลทัศไนย์ย่ำก่างๆ นกตุ๊ดก็ร้องขึ้นตุ๊ดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่สวรรคต ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ ตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๑๓ พระชนมายุขณะเมื่อขึ้นครองราชย์ ๔๗ พรรษา และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ตรงกับเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๓๐ ขณะพระชนมายุ ๖๔ พรรษา สิริรวมเวลาเสวยราชย์ ๑๗ ปี ๕ เดือน ๒๙ วัน




    a.jpg

    ......................................


    ส่งเสด็จสูสวรร-.......คาลัย ลับฤา
    พระจอมภพปกไทย....ไพร่ ฟ้า
    ทรงยอยกอุปถัมภ์......ค้ำศาสน์ สุขแฮ
    ผ่านพิภพอุปราชา......จุลจอมเกล้า สืบวงศ์

    โคลงสี่สุภาพ
    สร้อยฟ้ามาลา




    [​IMG]

    ควรมิแล้วแล้วแต่จะทรงพระกรุณาปกเกล้าปกกระหม่อม
    ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๑



    ......................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2021
  7. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ฝากคุณสร้อยฟ้าค่ะ
    [​IMG]
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
    พระบรมรูปสรงน้ำที่ธารเสด็จ เกาะพงัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2008
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ขอบพระคุณเจ้าค่ะ คุณครู...
     
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837


    บรมราชาภิเษกครั้งที่ ๑



    a.jpg
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว เสนาบดีผู้มีอำนาจเหนือข้าราชการทั้งหลายในแผ่นดิน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ก็เชิญเสนาบดีผู้ใหญ่ และพระบรมวงศานุวงศ์ เข้าประชุมเพื่อขอความเห็นที่จะอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ สืบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ

    ครั้งสิ้นพระอัสสาสะพระบรมราชบพิตรแล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ส่งให้เจ้าพนักงานล้อมวงรักษาพระราชมณเฑียรทั้งข้างหน้าและข้างใน แล้วสั่งให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะฐานานุกรม รวม ๒๕ รูป มีกรมหมืนบวรรังสีสุริยพันธ์ เป็นหัวหน้ามานั่งเป็นประธานในที่ประชุมพระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ ที่ประชุมกันอยู่ในพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวงศานุวงศ์ซึ่งประทับอยู่ในที่ประชุมเวลานั้นประกอบไปด้วย
    ๑. กรมหลวงเทเวศวัชรินทร์
    ๒. กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
    ๓. กรมหมื่นถาวรวรยศ
    ๔. กรมหมื่นวรศักดาพิศาล
    ๕. กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์
    ๖. กรมขุนวรจักรธรานุภาพ
    ๗. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์


    พระราชวรวงเธอ ๖ พระองค์
    ๑. กรมหมื่นภูมินทรภักดี
    ๒. กรมหมื่นอดุลยลักษณ์สมบัติ
    ๓. กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย
    ๔. กรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราธิบาล
    ๕. กรมหมื่นอักษรศาสนโสภณ
    ๖. กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์


    พระเจ้าวรวงศ์เธอ ๓ พระองค์
    ๑. กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์
    ๒. กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์
    ๓. กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ



    พระเจ้าลูกยาเธอที่เป็นชั้นใหญ่ทรงผนวชเป็นสามเณร ๗ พระองค์
    ๑. พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร
    ๒. พระองค์เจ้าคัคณางยุคล
    ๓. พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์
    ๔. พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ
    ๕. พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่
    ๖. พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์
    ๗. พระองค์เจ้ากมลาศเลอสรรค์


    ส่วนเสนาบดี ข้าราชการผู้ใหญ่ คือ
    ๑. เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
    ๒. พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์
    ๓. พระยามหินทรศักดิ์ธำรง
    ๔. เจ้าพระยาภาณุวงศ์
    ๕. พระยาศรพิพัฒน์
    ๖. พระยาประเสริฐศาสตร์ธำรง
    ๗. พระยาศรีสุนทรโวหาร




    พอเวลาเที่ยงคืนที่ประชุมพร้อมแล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ลุกขึ้นนั่งคุกเข่าประสานมือหันไปทางเจ้านายกล่าวในท่ามกลางที่ประชุมว่า ด้วยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อเวลายามหนึ่ง บัดนี้แผ่นดินว่างอยู่ การสืบพระบรมราชสันติวงศ์ตามราชประเพณีเคยมีมาแต่ก่อนนั้น เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จะเสด็จสวรรคตได้ทรงมอบราชสมบัติพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจะเสด็จสวรรคต มิได้ทรงมอบราชสมบัติแก่เจ้านายพระองค์ใด ด้วยอาการพระโรคตรัสสั่งไม่ได้ เสนาบดีจึงพร้อมใจกันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จสวรรคตมีรับสั่งคืนราชสมบัติแก่เสนาบดีตามแต่จะปรึกษากันให้เจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป พระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีปรึกษากันถวายพระราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรอยู่นี้ ได้มีรับสั่งให้หากรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ แลเจ้าพระยาภูธราภัยเข้าไปเฝ้าพระราชทานพระบรมราชานุญาตไว้ว่า ผู้ที่จะดำรงรักษาแผ่นดินต่อไปนั้น ให้พระราชวงศานุวงศ์และข้าราชการปรึกษากันหารือสุดแต่จะเห็นพร้อมกันว่าพระราชวงศ์พระองค์ใด จะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ หรือพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอพระองค์ใดจะสามารถปกครองให้อยู่เย็นเป็นสุขได้ มีพระสติปัญญารอบรู้สรรพสิ่งทั้งปวง สมควรจะปกป้องสมณชีพราหมณาจารย์ อาณาประชาราษฎร์ ก็ให้ยกพระราชวงศ์พระองค์นั้นขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์มิทรงรังเกียจ ณ บัดนี้ท่านทั้งหลายทั้งปวงบรรดาอยู่ในที่ประชุมนี้จะเห็นว่าเจ้านายพระองค์ใด สมควรที่จะเป็นที่พึ่งแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และอาณาประชาราษฎร์ ดับยุคเข็ญได้ก็ให้ว่าขึ้นในท่ามกลางที่ประชุมนี้ อย่าได้มีความหวาดหวั่นเกรงขามอันใดเลย



    ขณะนั้นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศวัชรินทร์ ซึ่งมีพระชนมายุยิ่งกว่าพระราชวงศานุวงศ์ทั้งปวง จึงเสด็จลุกขึ้นคุกพระชงฆ์หันพระพักตร์ไปข้างตะวันออก ประสานพระหัตถ์ตรัสขึ้นในท่ามกลางที่ประชุมว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระเดชพระคุณ ได้ทรงทำนุบำรุงเลี้ยงพระบรมวงศานุวงศ์และมุขมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงมาเป็นอันมาก พระคุณเหลือล้น ไม่มีสิ่งใดจะทดแทนให้ถึงพระคุณได้ ขอให้ยกพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เหมือนหนึ่งได้ทดแทนพระคุณพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



    เมื่อกรมหลวงเทเวศวัชรินทร์ตรัสดังนี้แล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงถามที่ประชุมเรียงพระองค์ และเจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เรียงตัว ส่วนพระถามเฉพาะกรมหมื่นบวรรังสีฯ พระองค์เดียว ถามตั้งแต่กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นต้นมา ทุกพระองค์ทุกท่านประสานพระหัตถ์และประสานมือยกขึ้นรับว่า “สมควร” เมื่อเห็นชอบพร้อมกันแล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงอาราธนาพระสงฆ์สวดชยันโต แลถวายอดิเรก


    เมื่อที่ประชุมเห็นพร้อมกันว่าควรถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ แล้วเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงกล่าวถามต่อไปในที่ประชุมว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรอยู่นั้น ท่านได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบว่าจะปรึกษากันจะถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่าทรงวิตกอยู่ ด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระชันษายังทรงพระเยาว์ จะไม่ทรงสามารถว่าราชการแผ่นดินให้ร่มเย็นเป็นสุขแก่พระราชวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท สมณชีพราหมณาจารย์ อาณาประชาราษฎร์ได้ดังสมควร พระกระแสที่ทรงวิตกเช่นนั้น จะคิดอ่านกันอย่างไร
    กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ตอบว่า

    “.....ขอให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าราชการแผ่นดินไปจนกว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอจะทรงผนวชพระ” (คือเมื่อพระชันษา ๒๐ ปี ในปีระกา พ.ศ.๒๔๑๖ ซึ่งเวลานี้คือนับแต่บรมราชภิเษกครั่งที่ ๑ เป็นเวลาที่จะต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นเวลานานถึง ๕ ปี)

    เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ถามคำพูดของกรมหลวงเทศวัชรินทร์ แก่ที่ประชุมทุกพระองค์และทุกคนก็อนุมัติเห็นสมควรพร้อมกัน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงว่า


    “ส่วนตัวของท่านเองนั้นจะรับสนองพระเดชพระคุณโดยเต็มสติปัญญา แต่ในเรื่องการพระราชพิธีต่างๆ ท่านไม่สู้เข้าใจ ขอให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์ช่วยในส่วนการพระราชนิเวศด้วยอีกพระองค์หนึ่ง” ที่ประชุมก็อนุมัติเห็นชอบด้วย
    ]
    อนึ่ง ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระชนมายุ ๑๕ พรรษา ๗ เดือน ๙ วัน
    เมื่อเสร็จจากการประชุมพร้อมกันถวายราชสมบัติแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ และแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็กล่าวขึ้นว่า


    “ แผ่นดินที่ล่วงแล้วมาแต่ก่อนๆ มา มีพระมหากษัตริย์ก็ต้องมีมหาอุปราชฝ่ายหน้าเป็นเยี่ยงอย่างมาทุกๆ แผ่นดิน ครั้งนี้ที่ประชุมจะเห็นควรมีพระมหาอุปราชฝ่ายหน้าด้วยหรือไม่”

    กรมหลวงเทเวศวัชรินทร์ เสด็จลุกขึ้นคุกพระชงฆ์ประสานพระหัตถ์ตรัสขึ้นอีกว่า

    “....พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระเดชพระคุณมาแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นอันมาก ควรจะคิดถึงพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกกรมหมื่นบวรวิไชยชาญพระโอรสพระองค์ใหญ่ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมหมื่นบวรวิไชยชาญก็ทรงชำนิชำนาญการต่างๆ ซึ่งได้ทรงศึกษามาตามแบบอย่างพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จะได้ทรงปกครองพวกข้าไทยฝ่ายพระราชวังบวร และคงจะเป็นความยินดีของพวกวังหน้าด้วย”

    เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ถามท่ามกลางที่ประชุมดังแต่ก่อน ทุกพระองค์ และทุกคนก็มีความเห็นเหมือนกันว่า “สมควร”

    มีแต่กรมขุนวรจักรธรานุภาพพระองค์เดียวเท่านั้น ที่ตรัสคัดค้านขึ้นว่า
    “ผู้ที่จะเป็นตำแหน่งพระราชโองการมีอยู่แล้ว ตำแหน่งพระมหาอุปราชควรแล้วแต่พระราชโองการทรงตั้ง เห็นมิใช่กิจของที่ประชุมที่จะเลือกพระมหาอุปราช”


    เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ถามกรมขุนวรจักรธรานุภาพว่า “เหตุใดจึงขัดขวาง” กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ทรงชี้แจงว่า

    “เห็นพระราชประเพณีเคยมีมาแต่ก่อนอย่างนั้น ครั้งรัชกาลที่ ๑ เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จปราบดาภิเษก ก็ตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นกรมพระราชวังบวรสถาน รัชกาลที่ ๒ ก็ตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นกรมพระราชวังบวร ถึงรัชกาลที่ ๓ ก็ตั้งกรมหมื่นศักดิ์พลเสพเป็นกรมพระราชวังบวร มาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นเคยทรงตั้งมาทุกรัชกาล จึงเห็นว่ามิใช่หน้าที่ของที่ประชุมจะมาเลือกพระมหาอุปราชา”

    คำตอบของกรมขุนวรจักรธรานุภาพ ทำให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขัดเคืองถามกรมขุนวรจักรธรานุภาพ ว่า
    “ที่ไม่ยอมนั้นอยากจะเป็นเองหรือ”


    เมื่อถูกเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินขึ้นเสียง กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จึงตอบอย่างยอมจำนนว่า
    “ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม”


    เป็นอันในที่ประชุมก็ตกลงเห็นสมควรให้พระองค์เจ้ายอดยิ่งประยูรยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงอาราธนาพระสงฆ์สวดชยันโตและอดิเรกอีกครั้ง


    เสร็จการประชุมราว ๑ นาฬิกา



    .............................................

    [​IMG]


    ..........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2021
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๔.

    a.jpg
    พระราชลัญจกร

    a.jpg


    เป็นเสร็จการประชุมเวลาราว ๑ นาฬิกา


    เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงให้อาลักษณ์จดคำปรึกษา แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้



    ศรีศุภมัสดุ พระพุทธศักราชอดีตกาล ชมัยสหัสสวัจฉร จตุสตาธฤกเอกาทศสังวัจฉร ปัตยุบันกาล มังกรสังวัจฉร อัสยุชมาศศุกรปักษ์ บรรณสิตยฤถีคุรุวาร บริเฉทอุสฤกฐ เวลา ๔ ทุ่มทุติยบาท


    กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ พระราชาคณะ พระวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ปรึกษาพร้อมกัน กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ พระสาสนโสภณ พระอมรโมลี พระราชาคณะคามวาสีและอรัญวาสี กับพระครูฐานานุกรมเปรียญฝ่ายข้างพุทธจักร และฝ่ายข้างพระราชอาณาจักร กรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท กรมหมื่นถาวรวรยศ กรมหมื่นวรศักดาพิศาล กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ เจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี กรมหมื่นอดุลลักษณ์สมบัติ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย กรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราธิบาล กรมหมื่นอักษรสารโสภณ กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์ กรมหมื่นอนันตกาลฤทธิ์ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ พระราชวงศานุวงศ์ผู้น้อยที่ยังไม่ได้กรม กับข้าทูลละอองธุลีพระบาท ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม ท่านเจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก พระยามหาอำมาตย พระยาราชภักดี พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาเพ็ชรพิชัย พระยาสีหราชเดโช พระยาสีหราชฤทธิไกร พระยาราชวรานุกูล พระยาเทพประชุม พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตชาญชัย พระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ พระยาบุรุษตนราชพัลลภ พระยาศรีเสาวราช ท่านเจ้าพระยามุขมนตรี พระยาราชมณเฑียรบาล พระยาเสนาภูเบศร์ พระยาศิริไอศวรรย์ พระยาสุรินทรราชเสนี และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารและพลเรือน ทั้งพระพุทธจักรและพระราชอาณาจักรประชุมในพระที่นั่งอนันตสมาคม ปรึกษาพร้อมกันว่า พระบาทสมเด็จพระบรมนาถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่สวรรคตแล้ว และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ทรงกอรปด้วยวัยวุฒิปรีชาญาณสุรภาพ และทรงพระสติปัญญาพระเมตตามหาปรมอันประเสริฐ สามารถเป็นบรมศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนา สมควรที่จะดำรงราชสมบัติ ปกป้องพระมหานครขอบขัณฑเสมา สมณพราหมณาประชาราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุข ได้ด้วยพระบุญญฤทธิมหาบารมีอันส่ำสมมา จะหาผู้ใดเสมอมิได้ จึงกราบทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ขึ้นผ่านพิภพมไหศวรรยาธิบัติถวัลยราชประเพณี สืบศรีสุริยสันตติวงศ์ ดำรงพิภพมณฑลสกลกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์มหินทราโยธยา มหาดิลกภพนพรัตนราษี มหานครบวรราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศนมหาสถาน อันอำพลด้วยสามนตประเทศ นานามหาไพบูลย์พิศาลราชเจ้าสีมาอาณาเขตมณฑลทั้งปวง โดยบูรพประเพณีพระมหากระษัตราธิราชเจ้าสืบๆมา

    a.jpg
    ตราแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕

    a.jpg

    โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว"



    ในกลางคืนวันนั้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สั่งให้ตั้งกองล้อมวงที่วังใหม่ เหนือพระราชวังบวร อันเป็นที่ประทับกรมหมื่นบวรวิชัยชาญอีกแห่งหนึ่ง(วังใหม่ที่กล่าวนี้ อยู่ริมคลองโรงไหมฝั่งเหนือ ตรงที่สร้างโรงพยาบาลทหารบกบัดนี้) และสั่งให้เชิญเสด็จพระองค์เจ้าเณรคัคณางยุคลกับพระองค์เจ้าเณรทวีถวัลยลาภลาผนวช เพื่อจะได้ประคองพระโกศพระบรมศพในกระบวนแห่เมื่อวันรุ่งขึ้น(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจำนงจะให้พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจตุรนตรัศมี กับเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ประคองพระโกศพระบรมศพ ได้ดำรัสสั่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้ากรมขุนพินิตประชานาถ แต่วันแรกทรงประชวร ผู้อื่นหาได้ทราบพระราชประสงค์ไม่ แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมาประชวรเสียด้วยตลอดมา การเรื่องนี้จึงมิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ในเวลานั้นพระเจ้าลูกเธอที่โสกันต์แล้ว ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ทั้ง ๗ พระองค์ ที่เลือก ๒ พระองค์นั้น เพราะพระองค์เจ้าคัคณางคยุคล(คือกรมหลวงพิชิตปรีชากร) เป็นหลานยกของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สมุหพระกลาโหม พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ(คือกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์) เป็นหลานตัวเจ้าพระยาภูธราภัยที่สมุหนายก)




    รุ่งขึ้นวันศุกร์ เดือน ๑๑แรมค่ำ ๑ ตรงกับวันที่ ๒ ตุลาคม จะทรงสักการะพระบรมศพตามราชประเพณีเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทรงอ่อนเพลียมากด้วยประชวรมากว่าเดือนและซ้ำทรงประสบโศกศัลย์สาหัสไม่สามารถจะทรงพระดำเนินได้ต้องเสด็จขึ้นพระเก้าอี้หามขึ้นไปจนบนพระที่นั่งภานุมาศจำรูญที่สรงพระบรมศพพอทอดพระเนตรเห็นพระบรมศพสมเด็จพระบรมชนกนาถได้แต่ยกพระหัตถ์ขึ้นถวายบังคมแล้วก็สลบนิ่งแน่ไปหมอประจำพระองค์แก้ไขฟื้นคืนสมปฤดีแต่พระกำลังยังอ่อนนักไม่สามารถจะเคลื่อนพระองค์จากเก้าอี้ได้จึงตรัสขอให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า กรมขุนบำราบปรปักษ์ถวายน้ำสรงพระบรมศพแทนพระองค์ เจ้านายผู้ใหญ่เห็นว่าจะให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่นั้นต่อไป เกรงพระอาการประชวรจะกลับกำเริบขึ้น จึงสั่งให้เชิญเสด็จกลับมายังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งได้จัดห้องในพระฉากข้างด้านตะวันออกไว้เป็นที่ประทับระหว่างเวลา กว่าจะได้ทำการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร(สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เวลาก่อนทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็ประทับที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเหมือนกัน แต่เมื่อในรัชกาลที่ ๕ เวลาระหว่างเฉลิมพระราชมณเฑียรถึงเดือนครึ่ง จึงปลูกพลับพลาถวายเป็นที่ประทับที่โรงพระแสงใน เพื่อให้ทรงสำราญกว่าประทับที่ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย)


    ทางโน้นเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์สรงน้ำทรงเครื่องพระบรมศพแล้วเชิญลงพระลองเงิน แห่พระบรมศพเป็นกระบวนมาออกประตูสนามราชกิจ เชิญพระโกศขึ้นตั้งบนพระยานุมาศสามลำคาน ประกอบพระโกศทองใหญ่ มีพระมหาเศวตฉัตรกั้น แห่กระบวนใหญ่ไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เชิญพระโกศพระบรมศพขึ้นประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้าทองคำในพระมหาปราสาทมุขด้านตะวันตก ตั้งเครื่องสูง เครื่องราชูปโภค ตั้งเตียงพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ๒ เตียง และมีนางร้องไห้ มีเครื่องประโคมตามอย่างพระบรมศพแต่ก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จไปถวายบังคมพระบรมศพ และบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณด้วยประการต่างๆทุกวันตั้งแต่ปีมะโรงจนถึงปีมะเส็งนั้น แล้วเลยเสด็จออกขุนนางที่พระมหาปราสาทเช้าครั้ง๑ ค่ำครั้ง ๑ ทุกวัน เจ้านายก็ต้องไปเฝ้าที่พระมหาปราสาทเจ้านายที่ยังเป็นเด็กชั้นเล็กมักไปทางข้างในกับเจ้าจอมมารดาชั้นกลางมักชอบตามเสด็จทางข้างหน้าและมีหน้าที่ทอดผ้าสดับปกรณ์รายร้อยกับถวายเทียนพระสงฆ์เมื่อเสร็จพิธีเวลาค่ำเสมอ

    ในตอนแรกเสวยราชย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพิ่งฟื้นจากอาการประชวรยังปลกเปลี้ยทรงพระดำเนินไม่ได้ไกล ต้องทรงพระราชยานและให้ทอดสะพานบนขั้นบันไดหามพระราชยานขึ้นไปจนบนพระมหาปราสาทอยู่หลายวันจึงทรงพระราชดำเนินได้สะดวก


    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยตรัสเล่าเรื่องเมื่อครั้งนั้นเรื่อง ๑ ซึ่งควรรักษาไว้มิให้สูญ คืนวันสรงน้ำพระบรมศพเมื่อพระองค์ทรงพระเก้าอี้ผ่านไปในห้องพระฉนวนพระอภิเนาวนิเวศน์อันภรรยาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยคอยเฝ้าอยู่เวลานั้นแม้ยังทรงปลกเปลี้ยมากแต่ได้พระสติแล้ว ได้ยินท่านผู้หญิงพันภรรยาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์พูดขึ้นเมื่อเสด็จผ่านพอพ้นไปว่า"พ่อคุณนี่พ่อจะได้อยู่สักกี่วัน"ตรัสเล่าเรื่องนี้ท่านผู้หญิงพันถึงอนิจกรรมในเวลาสิ้นบุญวาสนาแล้วช้านานด้วยทรงปรารภจะเสด็จไปเผาศพท่านผู้หญิงพันเหมือนอย่างทูลกระหม่อมเสด็จไปเผาศพหม่อมเจ้าทินกร(เสนีวงศ์)


    เรื่องของหม่อมเจ้าทินกรนั้นเกิดเมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๓เพราะคนมักอยากรู้กันว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือไม่หม่อมเจ้าทินกรเป็นผู้รู้ตำราหมอดูพยากรณ์ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคงไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยพระชันษาจะสั้นความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงนำพาครั้นเสด็จเสวยราชย์ก็ทรงชุบเลี้ยงหม่อมเจ้าทินกรตลอดมาจนสิ้นชีพตักษัยก็การปลงศพหม่อมเจ้านั้นแต่ก่อนมาไม่มีประเพณีที่พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพเป็นแต่ทรงจุดเทียนให้ข้าราชการเอาเพลิงกับเครื่องขมาศพไปพระราชทานวันจะปลงศพหม่อมเจ้าทินกรนั้นเจ้าพนักงานเอาศิลาหน้าเพลิงกับพานเครื่องขมาศพเข้าไปตั้งถวายสำหรับทรงสับศิลาหน้าเพลิงและทรงจบเครื่องขมาตามธรรมเนียมพอพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นกระดาษบอกนามศพหม่อมเจ้าทินกรที่พานเครื่องขมาก็ตรัสสั่งให้เรียกเรือพระที่นั่งในทันที เสด็จข้ามไปยังเมรุที่วัดอมรินทรทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแล้วเมื่อจะพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าทินกรด้วยพระหัตถ์ ตรัสว่า"เจ้าทินกร แกตายก่อนข้านะ"ดังนี้เมื่อพระราชทานเพลิงแล้วตรัสไต่ถามครอบครัวของหม่อมเจ้าทินกรได้ความว่าลูกหลานไม่มีที่พึ่งอยู่หลายคนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ลูกเข้ารับราชการ ส่วนหลานชายที่เป็นเด็กอยู่สองคนโปรดฯให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำนุบำรุง คนหนึ่งชื่อ ปลื้มต่อมาได้เป็นนายร้อยเอกหลวงวิชิตชาญศึก แต่ถึงแก่กรรมเสียแล้ว อีกคนหนึ่งชื่อ แปลกได้เป็นที่พระยาสากลกิจประมวลในกรมแผนที่

    แต่การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงพันนั้นหาสำเร็จดังพระราชประสงค์ไม่ ด้วยปลงศพในเวลาประพาสอยู่ในยุโรปเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐


    เมื่อจัดการพระบรมศพแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งฝ่ายนอกฝ่ายใน ก็ถือน้ำกระทำสัจถวายในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ ณ วันศุกร์ เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑ เป็นต้นมาจนถ้วนทั่วกัน และส่วนหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ และเมืองประเทศราชทั้งปวงนั้น เจ้ากระทรวงมหาดไทย กลาโหม กรมท่า ที่ได้บัญชาการหัวเมือง ก็มีสารตราบอกไปให้ทราบ ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ให้บรรดาข้าราชการและราษฎรทั้งชายหญิงโกนผมฉลองพระเดชพระคุณเดือนละครั้ง ไปจนกว่าจะถวายพระเพลิงพระบรมศพ(เป็นประเพณีที่บริวารชนของผู้มรณะโกนหัว โปรดให้เลิกในรัชกาลที่ ๕) เว้นแต่ลูกค้าที่มาจากนานาประเทศ และผู้ซึ่งไว้เปียไว้มวยตามคติของชาติ และเด็กที่ไว้ผมจุกอย่าให้โกน และมีท้องตราประกาศไปตามหัวเมืองให้ทราบ ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถได้เสด็จผ่านพิภพ ดำรงราชสมบัติสืบสนองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ บรรดาเจ้าประเทศราชและผู้ว่าราชการกรมการหัวเมืองทั้งปวง เมื่อได้ทราบว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอได้เสด็จผ่านพิภพโดยสวัสดิภาพ ต่างก็มีความสวามิภักดิ์พร้อมกันถือน้ำกระทำสัจถวายตามประเพณีทั่วทุกเมือง




    ................................................................................



    ทรงเสด็จผ่านพิภพ

    สู่รัชสมัย แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง


    [​IMG]

    [​IMG]


    ...................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2021
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๔.

    a.jpg


    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านพิภพแล้วประทับแรมอยู่ในพระฉากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยกว่าเดือนจึงถึงฤกษ์ทำพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียรเมื่อเดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน)รายการพระราชพิธีเป็นอย่างไรแบบแผนซึ่งมีตำราอยู่เมื่อทำพิธีบรมราชภิเษกแล้วท่านผู้ใหญ่ในราชการบ้านเมืองก็ปรึกษากันตั้งระเบียบวิธีว่าราชการแผ่นดินเพราะการที่ผู้อื่นว่าราชการแทนพระเจ้าแผ่นดินเมื่อยังทรงพระเยาว์ไม่มีแบบแผนมาแต่ก่อนจะต้องคิดขึ้นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จะปรึกษาใครบ้าง นอกจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนบำราบปรปักษ์ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนักหาปรากฎไม่


    แต่ระเบียบที่ตั้งครั้งนั้นเมื่อมาพิจารณาดูภายหลังเห็นว่าน่าสรรเสริญความคิดยิ่งนักด้วยถือเอาความข้อสำคัญตั้งเป็นหลัก ๒ อย่าง คือที่ให้การบังคับบัญชาข้าราชการบ้านเมืองเป็นไปด้วยปรึกษาหารือพร้อมเพรียงกันไม่เอาอำนาจไว้แต่ในตัวผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอย่าง ๑กับฝึกหัดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสามารถว่าราชการบ้านเมืองได้เองอย่าง ๑เลือกเอาประเพณีเก่าซึ่งคนทั้งหลายรู้กันอยู่แล้วมาปรับใช้เป็นรายการในระเบียบให้สมสมัยเป็นต้นว่าในส่วนการบังคับบัญชาราชการแผ่นดินนั้นให้บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนซึ่งแต่โบราณเรียกว่า "มุขมนตรี"ประชุมกัน ณ หอวรสภาภิรมย์ ในเวลาเช้าก่อนเสด็จออกขุนนางทุกวันเหมือนอย่างแต่โบราณเคยประชุมกัน ณ ศาลาลูกขุนในแต่ในชั้นนี้ให้เจ้านายต่างกรมผู้ใหญ่มาประทับในที่ประชุมด้วยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เข้ามานั่งเป็นประธานสั่งราชการในที่ประชุมนั้น


    a.jpg
    สะพานผ่านพิภพลีลา

    ส่วนที่เกี่ยวกับพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเอาแบบอย่างราชานุกิจครั้งรัชกาลที่ ๓ กับรัชกาลที่ ๔แก้ไขประสมกันใช้ระเบียบ (พระราชานุกิจคือกำหนดเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติพระราชกิจต่างๆประจำทุกวันต้นตำราอยู่ในมนูธรรมศาสตร์ ได้มาจากอินเดียแต่ดึกดำบรรพ์แต่แก้ไขให้เหมาะแก่ภูมิประเทศมีปรากฏอยู่ในกฎมณเฑียรบาล) ให้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงว่าราชการเองหมดทุกอย่างเว้นแต่ที่จะดำริรัฎฐาภิปาลโนบายและบังคับราชการแผ่นดิน ๒ อย่างนี้เป็นหน้าที่ของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแต่คิดอย่างไรและได้สั่งไปอย่างไรกราบทูลชี้แจงให้ทรงทราบเสมอเป็นนิจระเบียบพระราชานุกิจที่จัดเมื่อเริ่มรัชกาลที่ ๕เป็นดังกล่าวต่อไปนี้


    เวลาเช้า ๙ นาฬิกา เสด็จลงทรงบาตรพระสงฆ์ ๑๐๐ รูปถ้าเป็นวันนักขัตฤกษ์ เช่นเข้าวัสสาเป็นต้น ๑๕๐ รูปทรงบาตรแล้วเสด็จขึ้นหอสุราลัยพิมานทรงสักการบูชาพระรัตนตรัยแล้วเสด็จลงในพระที่นั่งไพศาลทักษิณให้เจ้านายพระองค์หญิงเฝ้าแล้วเสด็จไปถวายบังคมพระบรมอัฐิสมเด็จพระบุรพการี ณ หอพระธาตุมณเฑียร


    เวลา๑๐ นาฬิกา เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยถ้าเป็นวันพระมีการเลี้ยงพระในท้องพระโรงก่อนแล้วเสด็จประทับในห้องพระฉากทางด้านตะวันออก กรมหลวงวงศาธิราชสนิทหรือเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์เข้าเฝ้า(แต่ไม่เสมอทุกวัน)กราบทูลอธิบายเรื่องพงศาวดารหรือโบราณคดีและประเพณีต่างๆซึ่งทรงศึกษา

    เวลา ๑๑ นาฬิกาเสด็จออกประทับพระราชอาสน์นอกพระฉากพนักงานคลังกราบทูลรายงานจ่ายเงินพระคลังมหาสมบัติเมื่อวันก่อนให้ทรงทราบแล้วเสด็จขึ้นพระแท่นออกขุนนาง (พระแท่นออกขุนนางนั้นเป็นพระแท่นบรรทมจะประทับหรือบรรทมว่าราชการได้ตามพอพระราชหฤทัย) เจ้านายฝ่ายหน้าตั้งแต่พระมหาอุปราชเป็นต้นกับข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งฝ่ายทหารพลเรือนเข้าเฝ้าพร้อมกันราชการที่กราบทูลเมื่อเสด็จออกเวลาเช้าเป็นเรื่องฝ่ายตุลาการเป็นพื้นเช่นรายงานชำระความฎีกาเป็นต้น

    เวลา ๑๒ นาฬิกาเสด็จจากพระแท่นออกขุนนางไปประทับในพระฉากอีกครั้งหนึ่งตอนนี้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินซึ่งคอยอยู่ ณหอวรสภาภิรมย์เข้าเฝ้า(เว้นบ้างไม่เสมอทุกวัน)กราบทูลราชการแผ่นดินที่เกิดขึ้นและที่ได้บังคับบัญชาไปอย่างไรให้ทรงทราบ

    เวลา๑๓ นาฬิกา เสด็จขึ้นเสวยกลางวันข้างในแล้วว่างพระราชกิจไปจนเวลา ๑๖นาฬิกา

    เวลา ๑๖ นาฬิกาเสด็จออกข้างหน้าทอดพระเนตรช่างทำของต่างๆ(เป็นการทรงศึกษาศิลปศาสตร์)เวลาเย็นเสด็จออกรับฎีการาษฎรหรือประพาสนอกพระราชวัง (การเสด็จออกรับฎีกาและประพาสนอกพระราชวังเพิ่งเกิดเป็นพระราชานุกิจในรัชกาลที่๔)จนจวบพลบค่ำ

    เวลา ๑๗ นาฬิกาเสวยแล้วเสด็จประทับที่ท้องพระโรงในให้ท้าวนางผู้ใหญ่เฝ้ากราบทูลกิจการฝ่ายในพระราชนิเวศน์บางวันก็เสด็จไปเฝ้าสมเด็จกรมพระสุดารัตน์ฯที่พระตำหนักเดิมและเสวย ณ ที่นั้น

    เวลา ๒๐ นาฬิกาเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยประทับราชอาสน์ทรงฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์ ๑แล้วพนักงานคลังกราบทูลรายงานจ่ายสิ่งของต่างๆและมหาดเล็กกราบทูลรายงานตรวจการก่อสร้างกับทั้งรายงานพระอาการประชวรเจ้านายหรืออาการเจ็บป่วยของคนสำคัญซึ่งใคร่จะทรงทราบเมื่อทรงฟังรายงานแล้วเสด็จขึ้นพระแท่นออกขุนนางอีกครั้งหนึ่ง(ประเพณีเสด็จออกขุนนางวันละ๒ ครั้งตามแบบโบราณ การเสด็จออกเวลาเช้าเพื่อทรงพิพากษาอรรถคดีเสด็จออกเวลาค่ำสำหรับพิพากษาการเมือง เช่นการทัพศึกเป็นต้นจึงถือว่าการเสด็จออกเวลาค่ำสำคัญกว่าเสด็จออกเวลาเช้ามาจนรัชกาลที่ ๓ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ ว่างการทัพศึกและมีการเกี่ยวกับต่างประเทศซึ่งใช้การเขียนหนังสือเป็นพื้นเสด็จออกกลางคืนก็ไม่เป็นการสำคัญ)แต่เสด็จออกตอนค่ำนี้พระมหาอุปราชกับเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ที่สูงอายุไม่เข้าเฝ้ามีแต่ปลัดทูลฉลองอ่านใบบอกหัวเมืองกราบบังคมทูลเหตุการณ์ต่างๆ จนเวลา ๒๒นาฬิกาเสด็จขึ้นข้างในเป็นสิ้นพระราชานุกิจประจำวัน


    ความขัดแย้งของกรมขุนวรจักรธรานุภาพกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงเกิดขึ้นเรื่อยมาตลอดรัชสมัยของการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จนแม้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงสถาปนายศเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ท่านก็ไม่ยอมรับในครั้งแรก เนื่องเพราะความขัดแย้งระหว่างท่านกับกรมขุนวรจักรธรานุภาพ จะบานปลายเป็นเรื่องใหญ่ สู้อดออมเอาไว้มิให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นในพระราชสำนัก

    a.jpg
    กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ



    เชื่อกันว่าในการตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่งประยูรยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลนั้น มีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่มากกว่าครึ่งหนึ่งในที่ประชุมไม่เห็นด้วยซึ่งก็รวมทั้งกรมขุนวรจักรธรานุภาพ เพราะเหตุใดเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงเห็นชอบ ค้านความเห็นของคนส่วนใหญ่

    ได้มีเอกสารและหนังสือพงศาวดารบางตอนกล่าวว่า
    “ กรมพระราชวังบวรฯ นั้น อัธยาศัยสุภาพ ปรกติมักถ่อมพระองค์ เมื่อมาพบปะสมาคมกับพวกวังหลวงในรัชกาลที่ ๔ ก็พอพระหฤทัยที่จะคบหาสมาคมแต่เพียงชั้นหม่อมเจ้าที่เป็นพระโอรสผู้ใหญ่ในเจ้านายต่างกรม วางพระอัธยาศัยเป็นกันเองอย่างสนิทสนม จนคุ้นเคยชอบพอในเจ้านายชั้นเดียวกันแทบทั้งสิ้น แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงใช้สอยสนิทสนม และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์นั้นก็ปรากฎในชั้นหลังตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต กรมหมื่นบวรวิไชยชาญได้ทรงรักษากิจวัตรมั่นคงสองประการคือ เวลาเช้าคงเสด็จข้ามฟากไปหาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่บ้าน เพื่อศึกษาราชการและช่วยทำการงานให้เจ้าพระยา เช่น ตกแต่งบ้านเรือนเป็นต้น ครั้นถึงเวลาค่ำเสด็จเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ในพระบรมมหาราชวังเป็นนิตย์ ไม่ขาดเลยตลอดรัชกาลที่ ๔ และเจ้าพระยาฯ นั้นเล่าก็ได้อุปการะกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญมาตลอด ทั้งในส่วนพระองค์และในส่วนราชการแผ่นดิน เช่น ช่วยเหลือในการสร้าง “วังกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ” ที่เรียกกันว่า “วังใหม่”


    กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวไว้ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ ตอนหนึ่งว่า
    “ฯลฯ เพราะเหตุใดเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงยกกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ข้อนี้ถ้าว่าตามความเห็นของผู้รู้เหตุการณ์ครั้งนั้นโดยมากเห็นว่า เพราะท่านเกรงว่าเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญวัยขึ้น ไม่พอพระราชหฤทัยที่มีผู้ว่าราชการแผ่นดิน ก็จะทรงขวนขวายเอาท่านออกจากตำแหน่ง จึงคิดให้มีพระมหาอุปราชขึ้นสำหรับกีดกันพระราชอำนาจและเลือกกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นพระมหาอุปราช ด้วยเห็นว่าคงเข้ากับวังหลวงไม่ได้ ก็จะต้องอาศัยท่านทั้งวังหลวงและวังหน้า พาให้ตำแหน่งของท่านมั่นคง ฯลฯ”


    อีกตอนหนึ่งกล่าวว่า
    “ฯลฯ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ได้แต่คิดมาแต่รัชกาลที่ ๔ และได้กราบบังคมทูลในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบด้วย เมื่อต้นปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกประทับ ณ พระทวารมุขพระที่นั่งอนันตสมาคม เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เข้าเฝ้าเป็นที่รโหฐานมีแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคอยรับใช้อยู่ข้างพระขนองสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสสนทนากับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ด้วยเรื่องราชการต่างๆ ตอนหนึ่งตรัสถึงวังหน้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะตรัสปรารภอย่างไร สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ไม่ทรงได้ยินถี่ถ้วน ได้ยินแต่คำสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสตอบว่า ถ้าเช่นนั้น ทำกำแพงกั้นปันเขตต์กันเสียที่ท้องสนามหลวงก็แล้วกัน”


    ซึ่งไม่เป็นที่วินิจฉัยว่าได้เกิดอะไรขึ้นระหว่างวังหน้ากับวังหลวง หรือเพราะว่าเป็นความขัดแย้งลึกๆ ซึ่งเป็นที่รู้กันเพียง ๒ คน คือ ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับอีกคนคือเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์

    แล้วทำไมกรมขุนวรจักรธรานุภาพจึงต้องค้านในการตั้งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็นมหาอุปราช ประเด็นนี้อ่านได้จากพงศาวดารคงได้ความว่า

    “ การที่เลือกพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราช...ฯ...เบื้องต้นเป็นแต่การผิดประเพณี ด้วยตำแหน่งพระมหาอุปราชเป็นรัชทายาท พระเจ้าแผ่นดินสวรรคตเมื่อใด ถ้ามีพระมหาอุปราชจะเป็นพระราชโอรสก็ตามหรือพระราชอนุชาก็ตาม พระมหาอุปราชย่อมได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ ฯลฯ”

    “...เมื่อรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นพระมหาอุปราช ก็ด้วยทรงสร้างสมพระบารมีมาด้วยกันนับว่ามีเหตุการณ์บังคับ...ฯลฯ”

    “...ต่อมารัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นพระมหาอุปราช ก็เพราะได้ดำรงพระยศเป็นพระบัณฑูรน้อยมาแต่รัชกาลที่ ๑ ต้องทรงตั้งด้วยเหตุการณ์บังคับอีก ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับราชสมบัติด้วยพระราชวงศ์และเสนาบดีถวาย จึงทรงตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ ซึ่งได้บัญชาการกระทรวงกลาโหมอยู่แล้วให้เป็นพระมหาอุปราชเป็นบำเหน็จที่ได้เป็นกำลังอุดหนุนให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับราชสมบัติ ถึงรัชกาลที่ ๔ ที่ทรงแต่งตั้งพระอนุชาเป็นพระมหาอุปราชก็เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชื่อตำราพยากรณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจำต้องได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ลองคิดดูว่าถ้าหากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๔ รัชกาลนั้น พระองค์ได้เสด็จสวรรคตก่อนพระมหาอุปราช ซึ่งมิได้เป็นพระราชโอรส การสืบราชสัตติวงศ์ก็จะไขว้เขว หรือบางทีจะเกิดลำบากขึ้นในบ้านเมืองก็เป็นได้”

    ประการหนึ่ง ประเพณีการเลือกพระมหาอุปราชนั้นตามราชประเพณี เช่นกรมขุนวรจักรธรานุภาพตรัสในที่ประชุมว่า

    “พระเจ้าแผ่นดินต้องทรงเลือกเอง พระราชวงศ์แลเสนาบดีมีหน้าที่เลือกแต่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียว เพราะถ้าไม่มีพระเจ้าแผ่นดินบ้านเมืองจะเป็นจลาจล แต่ส่วนพระมหาอุปราชหามีความจำเป็นเช่นนั้นไม่ โดยจะทิ้งว่างไว้ก่อนก็ได้ เยี่ยงอย่างเช่นเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ว่างพระมหาอุปราชอยู่ตั้ง ๑๐ ปีก็เคยมี ฯลฯ”


    มีปรากฏในพงศาวดารฉบับเดียวกันตอนต่อมาซึ่งสืบเนื่องกันอ้างว่าการยกกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราชนั้นน่าจะเนื่องเพราะอีกเหตุหนึ่งคือ

    “ฯลฯ ...ถ้ากรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นพระมหาอุปราชจะได้ทรงควบคุมผู้คนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ดูเหมือนจะชวนให้เข้าใจว่ามีคนหมู่ใหญ่อีกจำพวกหนึ่งซึ่งเป็นคนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าผู้อื่นไปบังคับบัญชาคนพวกนั้นอาจจะกำเริบขึ้น แต่แท้ที่จริงมิใช่เป็นเช่นนั้น พวกข้าราชการวังหน้าก็คนร่วมสกุลกันกับข้าราชการวังหลวงนั่นเอง แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแบ่งขึ้นไปรับราชการวังหน้า ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตก็กลับลงมาสมทบกับข้าราชการวังหลวงโดยเรียบร้อยมาถึง ๓ ปี จึงสิ้นรัชกาลที่ ๔ หามีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้ควบคุมขึ้นใหม่ไม่ ฯลฯ”

    อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถ์บันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์วิจารณ์เรื่องราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราชเป็นทำนองประชดประชัน ทรงเย้ยเยาะประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในสมัยนั้นว่า

    “…ฯลฯ...ครั้นสวรรคตแล้ว ท่านเสนาบดีปรึกษาพร้อมกันเห็นว่า ศิริราชสมบัติควรจะได้ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ จึงพร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ขึ้นดำรงราชสมบัติในจุลศักราช ๑๒๓๐ ปี ทรงพระนามว่าสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเถลิงถวัลยราชสมบัติพระชนม์ได้ ๑๕ พรรษา และท่านเสนาบดีปรึกษาว่า พระองค์เจ้ายอร์ชวอชิงตัน(พระนามล้อเล่นของกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ) กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ซึ่งเป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวิชาเป็นช่างเชาว์เกลาเกลี้ยงให้เป็นกรมพระราชวัง รับพระบัณฑูรเป็นที่ ๑๖ จะได้ควบคุมข้าไทของวังหน้าต่อไป เป็นวังหน้าซึ่งมิได้เป็นพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ และพระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงเลือกเองเป็นที่ ๑ ตั้งแต่กรุงทวารวดีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ บัดนี้”

    อย่างไรก็ตาม กรมหมื่นบวรวิไชยชาญก็ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแล้ว การบาดหมางระหว่างกรมขุนวรจักรธรานุภาพกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ยังปรากฎอยู่



    .......................................

    [​IMG]


    ....................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2021
  12. gatsuja

    gatsuja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    837
    ค่าพลัง:
    +876
    หาดูยากมากครับนำมาลงอีกนะครับ
     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๔.

    [​IMG]
    สะพานมัฆวานรังสรรค์

    ที่นี่จะกล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสมัยเมื่อเริ่มรัชกาลที่ ๕ ธรรมดาเวลาเปลี่ยนรัชกาลมักเกิดความหวาดหวั่นในเหล่าประชาชน ด้วยเกรงว่าจะเกิดการแย่งชิงราชสมบัติ หรือเกิดโจรผู้ร้ายกำเริบเป็นนิสัยติดมาแต่โบราณ แม้คราวนี้ก็มีความหวาดหวั่นกันแพร่หลาย และมีเหตุชวนให้หวาดหวั่นด้วย เบื้องต้นแต่พระเจ้าแผ่นดินทรงพระเยาว์ต้องมีผู้อื่นว่าราชการแทนพระองค์ คนทั้งหลายเกรงว่าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จะชิงราชสมบัติ เหมือนพระเจ้าปราสาททองในเรื่องพงศาวดารดังกล่าวมาแล้ว

    นอกจากนั้นยังมีเหตุร้ายเกี่ยวเนื่องแวลาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังประชวรถึง ๔ เรื่อง คือ เรื่องกงสุลอังกฤษตั้งวิวาทหาว่ารัฐบาลไทยไม่ประพฤติตามหนังสือสัญญา ถึงลดธง(ตัดทางพระราชไมตรี)และเรื่องเรือรบเรื่อง ๑ ชาวตลาดตื่นด้วยเรื่องเกิด"อัฐ"(สำหรับซื้อของ)ปลอมแพร่หลายถึงกับจะปิดตลาดไม่ขายของเรื่อง ๑ เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมเรื่อง ๑ และจีนตั้วเฮีย(อั้งยี่)จะกำเริบเรื่อง ๑ จะเล่าเรื่องเหล่านี้โดยสังเขป พอให้เห็นวิธีที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ระงับด้วยอุบายอย่างใด


    [​IMG]
    Thomas George KnoK

    ๑. เรื่องกงสุลอังกฤษลดธงนั้น ตัวกงสุลเยเนอราลอังกฤษชื่อ น๊อกส์(ทอมัช ยอช น๊อกส์ (Thomas George KnoK) เป็นเชื้อผู้ดีมีสกุล เดิมได้เป็นนายร้อยเอกทหารอยู่ในอินเดีย กล่าวกันว่าเพราะเล่นพนันแข่งม้าสิ้นทรัพย์หมดตัว จึงลาออกจากตำแหน่งแล้วตามนายร้อยเอกอิปเป มาหางานทำในประเทศสยามแต่ต้นรัชกาลที่ ๔ นายร้องเอกอิปเปได้เป็นครูทหารวังหลวง ส่วนนายน๊อกส์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้เป็นครูวังหน้า ได้เข้ากองทัพกรมหลวงวงศาธิราชสนิทไปตีเมืองเชียงตุง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตามาก ถึงประทานผู้หญิงวังหน้าคนหนึ่งชื่อ ปราง ให้เป็นภรรยา มีลูกด้วยกันหลายคน เมื่อรัฐบาลอังกฤษตั้งกงสุลประจำอยู่ในกรุงเทพฯ เห็นว่านายน๊อกส์ รู้การเมืองและภาษาไทยทั้งเป็นเชื้อผู้ดี จึงชวนไปเป็นผู้ช่วยกงสุล แล้วได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นโดยลำดับจนได้เป็นกงสุลเยเนอราล เวลานั้นเป็นผู้คุ้นเคยชอบพอกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์) เวลานั้นไปยุโรปกลับมายังไม่ถึงกรุงเทพฯ ผู้รักษาการแทน ชื่อ อาลบาสเตอรที่เป็นผู้ตั้งวิวาท เกิดเหตุด้วยพวกเจ้าภาษีฝิ่นซึ่งขึ้นอยู่ในเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ไปจับฝิ่นที่โรงก๊วนพวกงิ้ว อยู่ริมวัดสัมพันธวงศ์ เกิดต่อสู้กันไฟไหม้โรงก๊วน แล้วลุกลามไปไหม้ตึกที่พวกแขกในบังคับอังกฤษตั้งร้านขายของ ทรัพย์สินเสียไปเป็นอันมาก กงสุลอังกฤษหาว่าความเสียหายเกิดเพราะพวกเจ้าภาษีเผาโรงก๊วน จะให้ลงโทษและเรียกค่าเสียหายทดแทนให้พวกแขก ฝ่ายเจ้าภาษีฝิ่นแก้ว่าไฟไหม้เพราะพวกงิ้วจุดเผาโรงก๊วนเมื่อจะหนีออกทางหลังโรง เจ้าภาษีหาได้เผาโรงก๊วนไม่ กงสุลไม่เชื่อจะให้รัฐบาลตั้งข้าหลวงไต่สวนด้วยกันกับกงสุลตามข้อสัญญาว่าด้วยคนในบังคับ ๒ ฝ่ายวิวาทกัน

    เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ไม่ยอม ว่ากรณีไม่ตรงกับข้อสัญญาเพราะเจ้าภาษีฝิ่นมิได้วิวาทกับแขกในบังคับอังกฤษ รับแต่จะให้เงินทดแทนพวกแขกเท่าทุนทรัพย์ที่ไฟไหม้ กงสุลไม่ยอมจึงเกิดวิวาทกัน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (รู้ว่านายน๊อกส์กับนายอาลบาสเตอร์ไม่ชอบกันในส่วนตัว) โต้แย้งถ่วงเวลาไว้จนนายน๊อกส์กลับมาถึง แล้วพูดจากันฉันท์มิตรให้เห็นว่าที่เอากรณีเล็กน้อยเพียงเท่านี้เป็นเหตุให้เกิดวิวาทเฉพาะในเวลาบ้านเมืองฉุกเฉิน ด้วยเปลี่ยนรัชกาลจะเสียประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย นายน๊อกส์เห็นชอบด้วยยอมถอนคดี ส่วนเรื่องลดธง นายอาลบาสเตอรชี้แจงว่าที่จริงนั้นเป็นด้วยเชือกชักธงขาด จึงมิได้ชักธงในวันที่เตรียมการต่อเชือก หาได้ลดธงในทางการเมืองไม่ แต่เมื่อแพ้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ นายอาลบาสเตอร์ก็ลาออกจากตำแหน่ง(เฮนรี อาลบาสเตอร (Henry Alabaster)เป็นนักเรียนมีความรู้มาก ภายหลังมารับราชการไทยได้ทำคุณให้แก่ประเทศนสยามหลายอย่าง รับราชการอยู่จนถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้สร้างอนุสรณ์ ณ ที่ฝั่งศพยังปรากฏอยู่ที่ป่าช้าโปรเตสตันต์จนบัดนี้ นายอาลบาสเตอร์ เป็นต้นสกุล "เศวตศิลา") กลับไปยุโรป ฝ่ายแม่ทัพเรืออังกฤษ ณ เมืองฮ่องกงได้รับหนังสือเรียกเรือรบ(สมัยนั้นประเทศสยามยังไม่มีโทรเลข ต้องเขียนหนังสือส่งไปตีโทรเลขที่สิงคโปร์) ยังไม่ทันทำอย่างไร ได้ข่าวว่าเปลี่ยนรัชกาลใหม่ในประเทศสยาม นายพลเรือเกปเปลจึงมาเองพอทันช่วยงานบรมราชาภิเษก


    [​IMG]
    เงินพดด้วงในสัมยรัชกาลที่ ๔

    ๒. เรื่องอัฐปลอมนั้น เดิมในประเทศนี้ใช้เงินตราพดด้วง ๓ ขนาด คือ บาท สลึง(๑/๔ ของบาท) และเฟื้อง(๑/๘ ของบาท) ราคาต่ำกว่านั้นลงมาใช้เบี้ย(หอย เก็บมาจากทะเลตั้งพิกัดราคา ๑/๖๔๐๐ ของบาท) ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อทำหนังสือสัญญาค้าขายกับต่างประเทศแล้ว มีเรือกำปั่นเข้ามาซื้อสินค้าในกรุงเทพฯมากขึ้น พวกชาวต่างประเทศเอาเงินเหรียญเม๊กสิโกมาซื้อสินค้า ราษฎรไม่พอใจ พวกพ่อค้าจึงต้องเอาเงินเหรียญเม๊กสิโกมาขอแลกเงินบาทที่พระคลังมหาสมบัติไปซื้อสินค้า จำนวนเงินที่มาขอแลกมากขึ้นทุกที จนโรงทำเงินที่พระคลังมหาสมบัติทำให้ไม่ทัน เพราะเงินพดด้วง "ทำด้วยมือ" ทำทั้งกลางวันกลางคืนก็ได้เพียงวันละ ๒,๔๐๐ บาทเป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้เกิดฝืดเคืองในการค้าขายด้วย

    [​IMG]
    เงินเสี้ยว ๒ อันเฟื้อง

    [​IMG]
    เงินเสี้ยว ๔ อันเฟื้อง

    [​IMG]
    เงินโสฬส

    [​IMG]
    เงินอัฐ



    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู้หัวจึงโปรดฯให้สั่งเครื่องจักรมาตั้งโรงกระษาปณ์เมื่อ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ ทำเงินตราเปลี่ยนรูปเป็นเงิน(เหรียญ)แบน คงพิกัดบาท สลึง และเฟื้อง ตามราคาเดิม ต่ำกว่านั้นลงมาให้เลิกการใช้เบี้ยเปลี่ยนเป็นเหรียญทองแดง ๒ อย่าง เรียกว่า "ซีก" (หมายความว่าครึ่งเงินเฟื้อง ราคา ๑/๑๖ ของบาท)อย่าง ๑ "เสี้ยว" (หมายความว่าส่วนสี่ของเฟื้อง ราคา ๑/๓๒ ของบาท)อย่าง ๑ ถัดนั้นลงมาให้ทำเหรียญดีบุกขึ้น ๒ อย่างเรียกว่า "อัฐ" (หมายความว่าส่วนแปดของเงินเฟื้อง ราคา ๑/๖๔ ของบาท)อย่าง ๑ เรียกว่า "โสฬศ" (หมายความว่าส่วนสิบหกของเงินเฟื้อง ราคา ๑/๑๒๘ ของบาท)อย่าง ๑ แต่ดีบุกเป็นของอ่อนหล่อง่ายและหาได้ง่ายในประเทศนี้ จึงมีผู้ทำอัฐและโสฬศปลอมขึ้นในกรุงเทพฯ ครั้นตรวจตราจับกุมกวดขันก็ย้ายลงไปทำตามหัวเมืองมลายูแล้วลอบส่งเข้ามาจำหน่ายในกรุงเทพฯ จนอัฐปลอมมีแพร่หลายในท้องตลาด ราษฎรไม่รู้ว่าไหนเป็นของจริงไหนเป็นของปลอมพากันรังเกียจไม่อยากรับอัฐและโสฬศ แต่จะไม่รับก็เกรงรัฐบาลจะเอาผิด จึงตื่นกันถึงกับคิดจะปิดร้านไม่ขายของ

    พ้องในเวลาเมื่อเปลี่ยนรัชกาล เรื่องนี้จะได้ปรึกษาหารือกันในรัฐบาลประการใดไม่ทราบ แต่ตกลงจะแก้ไขด้วยลดราคาทั้งเหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกลงทันที พอเปลี่ยนรัชกาลได้ ๑๓ วันก็ออกประกาศอนุญาตให้ราษฎรเอาเหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกของรัฐบาลมาแลกเอาเงิน จะยอมให้เต็มราคาเดิมเพียง ๑๕ วัน ต่อไปนั้นให้ลดพิกัดราคาเหรียญทองแดงซีกลงเป็นอันละอัฐ ๑ (๑/๑๖ ของบาท) ลดราคาเหรียญทองแดงเสี้ยวลงเป็นอันละโสฬศ ลดราคาเหรียญอัฐลงเป็นอันละ ๑๐ เบี้ย (๑/๖๔๐ ของบาท) และลดราคาเหรียญโสฬศลงไปเป็นอันละ ๕ เบี้ย แล้วทำเหรียณดีบุกตรารัชกาลที่ ๕ ขนาดเท่าเหรียญอัฐของเดิม ความตื่นเต้นกันด้วยเรื่องอัฐปลอมก็สงบไป



    แต่ความลำบากเรื่องเครื่องแลกในการซื้อขายยังมามีขึ้นอีก ด้วยต่อมาไม่ช้านักราคาเนื้อทองแดงและดีบุกสูงขึ้นกว่าราคาที่กำหนดให้ใช้เป็นเครื่องแลก ก็มีผู้รวบรวมเหรียญทองแดงและดีบุกส่งไปหลอมขายในประเทศอื่นเสียโดยมาก จนเกิดอัตคัดเครื่องแลกไม่พอใช้ในการซื้อขายในท้องตลาด ราษฎรจึงหันไปใช้ปี้ถ้วยที่นายอากรบ่อยเบี้ยสั่งมาจากเมืองจีน สำหรับเป็นคะแนนราคาต่างๆในการเล่นเบี้ย เอาเป็นเครื่องแลกในการซื้อขาย พวกจีนได้กำไรก็สั่งปี้เข้ามาจำหน่ายให้ราษฎรใช้กันแพร่หลาย จนเมื่อรัฐบาลสั่งให้ทำเหรียญทองแดง ซีก เสี้ยว อัฐ และโสฬศ มาจายุโรปและประกาศให้ใช้ตั้งแต่ปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ เครื่องแลกในการซื้อขายจึงเรียบร้อยแต่นั้นมา


    ๓. เรื่องเกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมนั้น ดูเหมือนเป็นนิสัยของคนพาลในประเทศนี้แต่ไรมา ถ้าเข้าใจว่าพนักงานปกครองอ่อนเมื่อใดก็กำเริบ พอเปลี่ยนรัชกาลในไม่ช้าก็เกิดโจร ๕ คนบังอาจขึ้นปล้นกุฏิพระในวัดพระเชตุพนฯ ฆ่าพระธรรมเจดีย์(อุ่น)ตาย ต่อมามีผู้ร้ายฆ่ากัปตันสมิทนำร่องอังกฤษตายในกรุงเทพฯ อีกเรื่อง ๑ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ให้สืบจับโดยกวดขัน จับได้ตัวมาประหารชีวิตภายใน ๑๕ วันทั้ง ๒ ราย โจรผู้ร้ายในกรุงเทพฯก็สงบลง แต่ไปเกิดชุกชุมทางหัวเมืองมณฑลอยุธยา ด้วยเป็นโจรมีพวกมาก ทั้งที่ช่วยปล้นสะดมและช่วยแก้ไขในโรงศาลจนราษฎรพากันเกรงกลัวไม่กล้าฟ้องร้อง หรือแม้แต่จะเบิกความเป็นพยานที่ในศาล พวกผู้ร้ายก็กำเริบได้ใจเที่ยวปล้นสะดมหนักขึ้น


    เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์รู้เค้าไม่ไว้ใจพวกเจ้าเมืองกรมการ เลือกหาข้าราชการที่ท่านไว้ใจให้เป็นข้าหลวงแยกย้ายกันไปเที่ยวสืบจับโดยลับหลายทาง เล่ากันว่าข้าหลวงคนหนึ่งไปเห็นเรือแหวดเก๋งแจวสวนทางลงมาลำหนึ่ง สำคัญว่าเป็นเรือเพื่อนข้าหลวงที่ขึ้นไปสืบจับผู้ร้ายด้วยกัน เบนเรือเข้าไปหมายไต่ถามข้อราชการ เมื่อเข้าไปใกล้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งเปิดม่านเก๋งเรือแหวดลำนั้น กวักมือเรียกและชี้มือไปในเก๋ง ก็รีบไปขึ้นเรือแหวดจับได้ตัว "อ้ายอ่วม(ชาวบ้าน)อกโรย" หัวหน้าผู้ร้ายตัวสำคัญคนหนึ่งซึ่งกำลังนอนหลับอยู่ ด้วยผู้หญิงคนหนึ่งถูกอ้ายอ่วมฉุดเอามาข่มขืนใจให้เป็นเมีย ได้ช่องจึงบอกให้ข้าหลวงจับ

    มีข้าหลวงอีกสายหนึ่งจับได้ อ้ายโพ หัวหน้าสำคัญอีกคนหนึ่งที่ตำบลบ้านสาย แต่นั้นพวกราษฎรเชื่ออำนาจรัฐบาลก็กลับเป็นใจช่วยสืบจับโจรกับพรรคพวกได้อีกเป็นอันมาก พอจับหัวหน้าโจรได้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ขึ้นไปยังพระนครศรีอยุธยาพร้อมด้วยผู้พิพากษาตุลาการ ไปตั้งศาลรับสั่งชำระพิพากษาในทันที พวกหัวหน้าโจรที่ต้องโทษถึงประหารชีวิตนั้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สั่งให้ประหารชีวิตด้วยเอาขวานตัดตัวให้ขาดเป็น ๒ ท่อนที่หน้าพะเนียดคล้องช้างแห่ง ๑ ให้ผ่าอกที่วัดชีตาเห็น(บ้านผักไห่)อีกแห่ง ๑ ป่าวร้องให้คนมาดูโดยหวังจะให้คนพาลสยดสยอง เรื่องนี้แม้ใครจะติเตียนว่าลงอาญาอย่างทารุณก็ต้องยอมว่าได้ผลตามท่านหวัง ตัวโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองเงียบสงัดลงในทันใด





    ๔. เรื่องจีนตั้วเฮีย (หรือที่เรียกกันในสมัยนี้ว่า "อั้งยี่") นั้น กลับมีขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ด้วยการค้าขายเจริญมีเรือกำปั่นบรรทุกสินค้าเข้าออกมากขึ้น ทั้งมีโรงจักรสำหรับสีข้าวและเลื่อยไม้ตั้งขึ้นในกรุงเทพฯหลายแห่ง ต้องใช้คนเป็นแรงงานมากขึ้น ไทยไม่ชอบรับจ้างเป็นกรรมกร พวกพ่อค้าต้องเที่ยวหาจ้างจีน จึงมีจีนชั้นคฤหบดีที่มีทุนรอนคิดอ่านเรียกจีนเลวจากเมืองจีนมารับจ้างเป็นแรงงานอยู่ในความควบคุมของตนเกิดขึ้นหลายราย พวก "เถ้าเก๋" ที่หากินในการเลี้ยง "กุลี" นั้น โดยปกติทำการค้าขายหรือเข้ารับทำภาษีอากรด้วย มักฝากตัวอยู่ในเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่โดยมาก แต่เมื่อกุลีมีจำนวนมากขึ้นจนต้องแย่งงานกันทำ และเกิดเบียดเบียนกันด้วยเหตุนั้น จึงเอาวิธีสมาคมลับในเมืองจีนเรียกว่า "อั้งยี่" มาตั้ง พวกร่วมน้ำสบถสำหรับช่วยกันและกันมีขึ้นเป็นหลายคณะ ฝ่ายพวกเถ้าเก๋เกรงจะบังคับบัญชากุลีของตนไม่ได้ดังแต่ก่อน ที่เข้ารับเป็นตัวหัวหน้าอั้งยี่เสียเองก็มี ที่อุดหนุนพวกอั้งยี่เอาเป็นกำลังแย่งค้าขายก็มี พวกอั้งยี่จึงกำเริบขึ้นถึงปล้นราษฎรทางเมืองนครปฐม แม้จับตัวได้ก็หวาดหวั่นกันว่าพวกจีนอั้งยี่จะกำเริบขึ้นในกรุงเทพฯ ในเวลาเปลี่ยนรัชกาลใหม่ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ให้สืบจับตัวหัวหน้าได้พวกเถ้าเก๋ที่เป็นคนฝากตัวอยู่กับท่าน เป็นหัวหน้าอั้งยี่หลายคน จึงพิพากษาเพียงให้กระทำสัตย์สาบาน และให้สัญญาว่าจะไม่ประพฤติร้ายเป็นเสี้นหนามแผ่นดินแล้วปล่อยตัวไป แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ยังไม่วางใจ คิดอ่านให้มีการฝึกซ้อมทหารบกที่ท้องสนามชัย เชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทอดพระเนตร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์เนื่องๆ บางวันให้ยิงปืนติดดินปืนทั้งปืนใหญ่ปืนน้อยทำนองประลองยุทธ บางวันก็ผูกหุ่นเป็นตัวข้าศึก แล้วเอาช้างรบเข้าไล่แทงเป็นการเอิกเกริกขู่ให้พวกจีนเกรงกลัว แต่นั้นพวกอั้งยี่ก็สงบมาช้านาน(บางทีท่านจะให้คนพวกนั้นชี้ตัว และเที่ยวชักชวนพวกหัวหน้าคนอื่นมาลุแก่โทษ แต่มีเสียงติเตียนกันว่า เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เห็นแก่คนใช้จึงไม่เอาโทษอั้งยี่อย่างแรง แต่เมื่อมาคิดว่าพวกอั้งยี่ยังมิได้ก่อการร้ายในกรุงเทพฯ และการที่รัฐบาลกระทำมีผลให้อั้งยี่สงบไว้ได้ในคราวนั้น ดูก็ไม่ควรติเตียน)



    พิเคราะห์รัฎฐาภิโนบายในเวลานั้นเมื่อมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ดูพยายามดำเนินตามทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก แต่มีความลำบากเป็นข้อสำคัญข้อ ๑ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงพระราชดำริ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้กระทำการให้สำเร็จดังพระราชดำริ เปรียบเหมือนแม้ทัพกับเสนาธิการ ครั้นสิ้นรัชกาลที่ ๔ หน้าที่ทั้ง ๒ อย่างนั้นมาตกอยู่กับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แต่คนเดียว ท่านเห็นจะรู้สึกลำบากใจในข้อนี้มาแต่แรก จึงได้ขอให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์เป็นผู้สำเร็จราชการในราชสำนัก เพื่อปลดเปลื้องภาระให้พ้นตัวท่านไปส่วนหนึ่ง แต่การที่เกี่ยวข้องกับฝรั่งตัวท่านเองไม่มีความรู้เหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะหาผู้ใดเป็นที่ปรึกษาหารือก็ไม่มีตัว ท่านจึงแก้ไขหาความรู้ด้วยอุบายคบหาสมาคมกับฝรั่งให้สนิทสนมยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

    ก็ฝรั่งที่อยู่ในกรุงเทพฯ เวลานั้น ในเหล่าที่เข้ารับราชการอยู่กับไทยมีแต่ชั้นที่เป็นครูสอนหนังสือ หรือหัดทหารและเป็นแต่คนเดินเรือหรือเป็นล่าม จะหาผู้ที่ชำนาญการเมืองหามีไม่ ฝรั่งพวกอื่นก็มีแต่คนค้าขายกับมิชชั่นนารีมาสอนศาสนา แม้กงสุลของรัฐบาลต่างประเทศก็เป็นพ่อค้าแทบทั้งนั้น มีกงสุลที่เป็นข้าราชการแต่อังกฤษฝรั่งเศสและอเมริกัน แต่ในเวลาเมื่อเปลี่ยนรัชกาลตัวกงสุลว่างอยู่ กงสุลอเมริกันเป็นนายพล(เมื่อครั้งอเมริกันรบกันเอง)ชื่อ ปาตริช ก็มิใคร่ขวนขวายในการเมืองด้วยกิจธุระของอเมริกันมีน้อย มีคนสำคัญแต่นายน๊อกส์ กงสุลเยเนอราลอังกฤษคนเดียวด้วยเป็นผู้แทนมหาประเทศที่ในอาเซียยิ่งกว่าชาติอื่นอย่าง ๑ เป็นหัวหน้าผู้แทนต่างประเทศที่ในกรุงเทพฯด้วยมียศสูงกว่าเพื่อนอย่าง ๑ ประกอบกับวุฒิในส่วนตัวที่เป็นผู้ดีได้ศึกษาวิชาชั้นสูงและมาเรียนรู้ภาษาไทย ทั้งได้เคยสมาคมกับไทยที่เป็นคนชั้นสูงมาแต่ก่อน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงทำทางไมตรีให้มีกับนายน๊อกส์สนิทสนม คล้ายกับเป็นที่ปรึกษาของท่านในสมัยนั้น

    ดูเหมือนจะได้ช่วยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาตลอดเวลาที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่เมื่อบรมราชภิเษกคราวหลังแล้ว นายน๊อกนำผู้แทนต่างประเทศให้ถือว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงว่าราชการบ้านเมืองเอง พ้นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เล่ากันว่านายน๊อกส์เริ่มใช้คำเรียกท่านว่า "Ex-Regent" ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่ออกจากตำแหน่งแล้ว ก่อนผู้อื่น จึงห่างกันแต่นั้นมา



    ..................................

    [​IMG]
    [​IMG]


    .............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  14. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130


    คุณสร้อยฟ้า ฯ มีเก็บเอาไว้เยอะไหมครับ
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    มีเจ้าค่ะ

    เป็นเหรียญโสฬส พดด้วงก็มี
    แล้วก็มีเหรียญปราบฮ่อด้วยจะบอกให้....
    เจ้าค่ะคุณเฮียปอฯ
     
  16. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    เพลงเขมรไทรโยค

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.419588/[/MUSIC]




    เพลงเขมรไทรโยค
     
  17. Pure_Heart

    Pure_Heart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2005
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +171
    อย่าลืมมาเล่าต่อนะครับ

    อยากรู้ตอนที่ รัชกาลที่ 5 มีพระราชอำนาจเต็ม โดยปราศจากเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และกรมบวรมงคลสถานอย่างไร
     
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    เรื่องกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นเรื่องวิกฤตอย่างหนึ่งของประเทศสยามในขณะนั้นเลยเจ้าค่ะ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีประเทศอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย....ถ้าวิกฤตในช่วงปัญหานี้หาทางออก หรือแก้ไขผิดพลาดอาจเป็นเหตุอ้างของอังกฤษที่เข้ามายึดดินแดนได้เช่นกัน....

    และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลองค์สุดท้ายในตำแหน่งวังหน้า.....
     
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๔.


    วันนี้ขอออกนอกเรื่อง ที่จริงเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในโครงเรื่อง แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง ที่วางไว้ แต่คิดว่าก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ก็เลยนำมาลงให้อ่าน เพราะเชื่อว่าหลายท่านคงไม่รู้จักนายทอมัส นอกซ์ กงสุลอังกฤษ ซึ่งเป็นบุคคลที่ทำความดีความงาม และทำความยากลำบากให้สยามมิใช่น้อยเช่นกัน ซึ่งอ่านแล้วก็เป็นมีคติสอนใจซ่อนอยู่....


    เซอร์ ทอมัส นอกซ์

    กงสุลอังกฤษ

    [​IMG]

    เซอร์ ทอมัส นอกซ์ แต่ก่อนเป็นนายทหารอังกฤษ รับราการในประเทศอินเดีย มีหน้าที่ฝึกทหารแขก ให้เรียนรู้ยุทธการวิชารบสมัยใหม่ จึงนับว่าเป็นครูทหารที่มีความสามารถ เมื่อได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอกได้เดินทางออกจากประเทศอินเดีย ด้นดั้นสมบุกสมบันมาถึงกรุงสยาม เสนอตนต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับอาสาฝึกทหารไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงส่งนายทอมัส นอกซ์ไปรับใช้สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับแต่งตั้งเป็นครูทหารวังหน้า

    ร้อยเอกทอมัส นอกซ์ ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างดี เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมาก ถึงกับพระราชทานภรรยาคนไทยให้ชื่อคุณปราง นายทอมัส นอกซ์จึงมีภรรยาเป็นคนไทย ได้ลูกสาว ๒ คน คนแรกตั้งชื่อว่า แฟนนี่ คนที่ ๒ แคโรไลน์ ลูกสาวคนแรกส่งไปเรียนหนังสือในประเทศอังกฤษ ส่วนน้องสาวนั้น มีหน้าลักษณะเหมือนคนไทย ผมดำ ตาคม เติบโตและมีชีวิตอยู่ในเมืองไทย

    ระหว่างที่รับราชการอยู่ภายใต้พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น นายอมัส นอกซ์ได้แสดงความจงรักภักดีกตัญญูรู้คุณ มีความชอบทางราชการ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ริเริ่มการจัดตั้งกองทัพบกไทย แต่หลังจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต และนายนอกซ์ออกจากราชการไทย มารับตำแหน่งเป็นกงสุลของประเทศอังกฤษ ท่านผู้นี้เปลี่ยนลักษณะจากหน้ามือเป็นหลังมือ แสดงความโอหังหยาบคาย แผลงฤทธิ์เบ่งอำนาจให้ไทยเราดูอยู่เสมอ

    [​IMG]
    ประตูเมืองเชียงใหม่

    [​IMG]
    เมืองเชียงใหม่



    นายนอกซ์ มีความสนใจเมืองเชียงใหม่ซึ่งอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าไม้สัก แคโรไลน์ลูกสาวคนที่สองของเขา ก็ได้แต่งงานกับนายหลุย เลียวโนเวนส์ ลูกชายของนาแอนนา ซึ่งเคยมาสอนภาษาอังกฤษในพระราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นายหลุย เลียวโนเวนส์นี้ มีอาชีพค้าขายไม้สักอยู่ทางภาคเหนือด้วย นอกจากเขาแล้ว ยังมีคนอังกฤษอีกมากมายที่ค้าไม้สักโดยจ้างนพม่าตัดไม้ในเขตแดนไทย และเสียเงินส่งส่วยให้แก่เจ้าเมืองเชียงใหม่ตามธรรมเนียม

    [​IMG]


    เชียงใหม่นั้นห่างไกลจากกรุงเทพฯ ต้องเดินทางถึง ๒ เดือนกว่าจะถึง แลจะมีเจ้านครปกครอง แต่ในเทือกเขารอบเชียงใหม่ มีโจรผู้ร้ายชุกชุม สมัยนั้นไม่มีกรมตำรวจ ได้ผู้ร้ายแผงฤทธิ์ทีไร ก็เกณฑ์ผู้คนออกติดตามไล่จับทีหนึ่ง เมื่อจับกันแล้วก็ว่าความกันเองโดยไม่มีผู้พิพากษา เวลามีข้อวิวาท ถ้าไม่แน่ใจว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด ขุนนางที่ว่าความจะสั่งให้ผู้วิวาททั้งสองดำน้ำ ใครขึ้นก่อนก็เป็นฝ่ายผิด ใครปอดดีกลั้นหายใจได้นานกว่าก็ชนะความ รวมความแล้ว สถานการณ์ในเขตเชียงใหม่เวลานั้นไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้พวกพ่อค้าอังกฤษซึ่งทำมาหากินอยู่แถบนั้น ต้องประสบความยากลำบาก เพราะสินค้ามักถูกโจรปล้นเอาไป และเวลามีเรื่องวิวาทแย่งที่ดินกับชนชาวไทย ก็มักจะไม่ได้รับการตัดสินอย่างยุติธรรม


    นายทอมัส นอกซ์ จึงถือโอกาสยึดเรื่องเชียงใหม่นี้โวยวายประท้วงต่อรัฐบาลไทย เก็บคำร้องเรียนต่างๆ ของพ่อค้าฝ่ายอังกฤษหลายเรื่อง นำขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกร้องเงินทองเป็นค่าตอบแทน ฝ่ายรัฐบาลไทยจึงมีคำสั่งให้เจ้าราชภาคินัยมาเฝ้าที่กรุงเทพฯ เพื่อพบกับนายนอกซ์ กงสุลอังกฤษ และพิจารณาตัดสินข้อคดีต่างๆ ที่นายนอกซ์ได้ยื่นไว้ ศาลที่ตั้งขึ้นมาพิจารณาคำฟ้องต่างๆ นี้มีฝรั่ง ๒ คน และคนไทย ๒ คน ฝรั่งคนหนึ่งชื่อนายรีด (READ) เป็นพ่อค้าจากเมืองสิงคโปร์ อีกคนหนึ่งเป็นข้าราชการในสถานกงสุลอังกฤษ ชื่อ นายนิวแมน(NEWMAN) ส่วนข้าราชการไทย ๒ คน ชื่ออะไรไม่ทราบ ผู้พิพากษาทั้ง ๔ ตัดสินว่า เจ้าราชภาคินัยเจ้าเมืองเชียงใหม่จะต้องรับผิดชอบใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่พ่อค้าอังกฤษ ๑๑ ราย เป็นเงินถึง ๔๖๖,๐๑๕ รูปี

    การพิจารณาข้อฟ้องต่างๆ นี้ทำกันอย่างเร่งรีบ ถึงแม้เจ้าราชภาคินัยจะขอเวลาสืบสวนข้อฟ้องต่างๆ ไปทางนครเชียงใหม่ หรือนำตัวพยานและผู้รู้เหตุการณ์ลงมาจากเชียงใหม่ นายทอมัส นอกซ์ก็ไม่ยอม บังคับให้ผู้พิพากษาตัดสินความอย่างเร่งรีบและลำเอียง เอาพยานปลอมมาโกหกเข้าข้างอังกฤษหลายคน เมื่อผู้พิพากษาตัดสินให้พ่อค้าอังกฤษต่างๆ ร่ำรวย นายนอกซ์ก็แสดงความพอใจมาก ซึ่งไม่ทราบว่าเขาได้กินสินบนส่วนแบ่งด้วยหรือเปล่า หลังจากนั้นนายทอมัส นอกซ์ ก็แสดงอำนาจขู่เข็ญให้ฝ่ายไทยจ่ายเงินทันที


    เงินสี่แสนหกหมื่นกว่ารูปีนี้ เป็นเงินจำนวนมากมาย เจ้าราชภาคินัยกราบทูลต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า เชียงใหม่ไม่มีเงินมากขนาดนี้จะมาจ่ายให้ นายนอกซ์ กงสุลอังกฤษก็เสนอว่า ควรจะบังคับให้พระญาติต่างๆ ของเจ้าราชภาคินัยร่วมกันออกเงินให้ครบถ้วน หรือมิฉะนั้นรัฐบาลกรุงสยามจะต้องออกเงินเอง ในฐานะที่เชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นของไทย ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงให้เงินเจ้าราชภาคินัยยืม ๒แสน ๓ หมื่นรูปี เพื่อจ่ายให้นายทอมัส นอกซ์ เป็นงวดแรก ส่วนอีกครึ่งหนึ่งนั้นให้ใช้ภายในเวลา ๖ เดือน


    การที่รัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายให้แก่ชาวอังกฤษที่ประสบภัยอันตรายในกรุงสยามนั้น ทำให้พ่อค้าอังกฤษเหล่านั้นมีฐานะวิเศษกว่าคนไทยเอง เพราะถ้าพ่อค้าไทยถูกโจรปล้นในภูเขาเมืองเชียงใหม่ ก็จะไม่มีใครเอาเงินทองไปชดใช้ทดแทน ที่เราจำเป็นต้องทำเช่นนี้ เพราะถูกประเทศอังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจกดขี่ข่มเหง เขาตีอินเดียแตก รบพม่าพ่ายแพ้ไปแล้ว จะมาเอาไทยเป็นเมืองขึ้นเมื่อไหร่ก็คงทำได้ไม่ยาก เพราะฉะนั้นเราจึงต้องระวังและยอมให้เขาแผลงฤทธิ์ใส่ในบางกรณี ความจริงนั้นเวลามีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่เป็นภัยต่อคนอังกฤษ เราก็ได้พยายามที่สุดที่จะจับผู้ร้ายมาลงโทษ ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๔๑๙ มีโจรกลุ่มหนึ่งปล้นและฆ่าชาวอังกฤษตายไป ๓ คน ฝ่ายไทยจับผู้ร้ายได้ทั้งกลุ่ม อ้ายพริก อ้ายบอน อ้ายจีนคอง ซึ่งเป็นผู้ฆ่าฝรั่ง ๓ คน ถูกตัดสินประหารชีวิตแต่ก่อนที่จะคอขาดนั้น แต่ละคนโดนเฆี่ยนด้วยหวาย ๙๐ ที ส่วนจีนด้วง จีนดี จีนไข่นั้น ร่วมปล้นด้วยแต่มิได้เป็นผู้ฆ่าเอง จึงถูกเฆี่ยนคนละ ๙๐ ที และถูกสักหน้าผากว่า “ผู้ร้ายปล้น” อ้ายเล็กขโมยของต่อจากอ้ายพริกและอ้ายบอดเลยโดนเฆี่ยน ๓๐ ที แม้กระทั่งข้าราชการคือขุนนาคและหมื่นวรุณ ก็ถูกจับใส่คุกเพราะปล่อยให้จีนด้วงหลบหนีไปได้พักหนึ่ง


    [​IMG]


    อีกเรื่องที่แสดงให้เห็นความลำเอียงไม่เป็นธรรมและการใช้อำนาจของเซอร์ทอมัส นอกซ์ เกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ เรือสำเภาอังกฤษชื่อ ราชนธี และเรือสำเภาไทยชื่อบางกอก ชนกันที่ปากน้ำขณะแล่นออกทะเลนำสินค้าไปขายที่สิงคโปร์ เมื่อสอบสวนได้ความว่า เรือไทยบางกอกแล่นำหน้าอยู่ดีๆ เรือราชนธีก็แซงขึ้นมา สมอของเรืออังกฤษซึ่งยื่นออกมาจากหัวเรือ แทงเรือไทยทะลุน้ำเข้า เอียงลำเอนเข้าชนเรืออังกฤษ ทั้งสองลำจึงจมลง สินค้าต่างๆ จมหายสู่ท้องทะเล นายทอมัส นอกซ์ กงสุลอังกฤษตัดสินความว่า เรือบางกอกของไทยเป็นฝ่ายผิด ทั้งๆ ที่เรือเราถูกชนก่อน และถูกสมอแทงจนทะลุ เมื่อเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศขอให้นายนอกซ์พิจารณาคดีใหม่ พร้อมกับผู้พิพากษาไทย นายทอมัส นอกซ์ก็ปฏิเสธ เราจึงนำเรื่องขึ้นสู่รัฐบาลอังกฤษ แต่ประเทศอังกฤษนั้นก็ฟังแต่กงสุลของเขาเอง ตัดสินว่าไทยเป็นฝ่ายผิดตามเดิม เราไม่มีอำนาจพอที่จะทำอะไรได้ นอกจากยอมให้ฝ่ายคนไทยจ่ายเงินค่าเสียหายไป

    อีกเรื่องหนึ่งที่แสดงความโอหังของนายทอมัส นอกซ์ เกิดขึ้นในปีต่อมา มีพ่อค้าพม่าคนหนึ่งยื่นเรื่องฟ้องว่าเขาถูกโจรปล้นในเขตแดนเชียงใหม่ เสียเงินทองไปถึง ๕๔,๔๒๐ รูปี เมื่อฟ้องเรื่องนี้ต่อกงสุลอังกฤษ นายนอกซ์ ก็เต้นแร้งเต้นกาบังคับขู่เข็ญให้รัฐบาลไทยใช้เงินต่อพ่อค้าคนนี้ทันที เมื่อฝ่ายไทยไม่ยอมจ่าย นายนอกซ์ก็แสดงอำนาจต่างๆ นาๆ จนในที่สุดเมื่อสอบสวนข้อความจากพยานทั้งหลาย รวมทั้งโจรคนหนึ่งที่จับได้ ปรากฏว่ากลุ่มโจรนั้นมิใช่คนไทยแต่เป็นชาวกะเหรี่ยง ซึ่งไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงสยาม ถึงแม้เราจะแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายไทยไม่ผิดแล้ว นายนอกซ์ก็ยังต้องการสตางค์ชดใช้อยู่ดี ร้อนถึงรัฐบาลอังกฤษต้องส่งนายพันเอกสตรีต(MAJOR STREET) มาสืบข้อความ ฝ่ายเราจึงชนะได้

    ความประพฤติของเซอร์ทอมัส นอกซ์นี้ เปรียบเหมือนคนบ้า ที่ทั้งบ้าเงินบ้าอำนาจ ปล่อยความเป็นใหญ่โตที่ตนได้มานั้นขึ้นหัวใจจนลืมตัวลืมไปว่าตนมาได้ดีมีอำนาจวาสนา ก็เพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว น่าสมเพชเวทนาที่บุคคลผู้นี้ได้สร้างชีวิตขึ้นในประเทศไทย แต่งงานมีลูกกับคนไทย แต่กลับทำตัวเป็นผู้อกตัญญู ทะเลาะเบาะแว้งกับขุนนางผู้ใหญ่อยู่เสมอ และชอบใช้ถ้อยคำหยาบคาย ถึงกับเคยด่าเจ้าพระยาภาณุวงศ์ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศว่า “ไอ้อัปรีย์”

    ข้าราชการอังกฤษคนหนึ่งเขียนบันทึกไว้เกี่ยวกับกงสุลผู้นี้ว่า
    “ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในหมู่ชาวสยาม จะได้ยินคนด่าและดูถูกนายนอกซ์ กงสุลอังกฤษในกรุงสยามมีอำนาจเสียจนนับวั่นจะแผลงฤทธิ์ขึ้นทุกทีและเมื่อใดถูกขัดใจ ก็เกิดโทษะร้ายกาจ”

    เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ อัครมหาเสนาบดีแห่งกรุงสยามเคยบอกแก่ขุนนางอังกฤษเออล์ ออฟ แกรนวิล(Earl of Granville) ว่า

    “การสนทนาเจรจากับท่านกงสุลใหญ่อังกฤษนั้น ก่อให้เกิดความรู้สึกสะอิดสะเอียนขยะแขยง เพราะกิริยามารยาทแปลกปลาดของบุรุษผู้นี้ ถ้าเขาไม่มีความเคารพต่อคำพูดของเรา เราก็ไม่มีทางที่เจรจากับเขาได้ ความโอหังของเขานั้น เกินกว่าที่รัฐบาลไทยจะทนได้”

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบันทึกความรู้สึกไว้ว่าเป็นเรื่องสมเพชเวทนาที่นายทอมัส นอกซ์นี้ เมื่อก่อนเป็นคนธรรมดารับใช้รัฐบาลสยาม ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากฝ่ายไทย กลับมาปฏิบัติตนในทำนองดูหมิ่นผู้มีพระคุณต่อเขาได้เช่นนี้

    ใน พ.ศ.๒๔๒๒ ประเทศอังกฤษจึงรู้สึกตัวว่า กงสุลใหญ่ของเขานี้ทำให้ประเทศอังกฤษเสียผลประโยชน์มากกว่าได้ จึงเรียกตัวกลับประเทศอังกฤษ และส่งนายพัลเกรว(PALGRAVE) มาเป็นกงสุลใหญ่ประจำกรุงสยามแทนนายทอมัส นอกซ์ เมื่อต้องกลับคืนบ้านเกิดเมืองนอนของเขา ก็ทิ้งลูกทิ้งภรรยาไว้ในเมืองไทย คุณปราง ภรรยาไปอยู่กับลูกสาวคนที่สองคือแคโรไลน์ และสามีของเธอที่เชียงใหม่ ส่วนแฟนนี่นั้นแต่งงานกับพระปรีชากลการ ขุนนางไทยซึ่งภายหลังถูกประหารชีวิตขณะที่เป็นเจ้าเมืองปราจีนบุรี

    เมื่อนายทอมัส นอกซ์ออกจากประเทศไทย พ้นตำแหน่งกงสุลผู้ยิ่งใหญ่ไปแล้ว ก็ไปรับงานใหม่เป็น MASTER OF HOUNDS BIARRITZ City ซึ่งหมายความว่าเป็นหัวหน้าคนเลี้ยงสุนัขนั่นเอง เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมกับมนุษย์เช่นเขาเป็นที่สุด

    ใน พ.ศ. ๒๔๓๐ เซอร์ทอมัส นอกซ์ตายคนเดียวในเมืองนอก เมื่ออายุได้ ๖๓ ปี ห่างไกลจากคุณปราง และแคโรไลน์และห่างไกลจากกรุงสยามที่มีบุญคุณต่อชีวิตเขา



    .........................................


    [​IMG]


    ........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๔.
    เรื่องการเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะนำมาลงให้อ่านในครั้งนี้ คัดมาจากเรื่องเล่าของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เจ้าค่ะ



    [​IMG]
    กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


    เสด็จประพาสไปต่างประเทศครั้งแรก

    การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรต่างประเทศถึงเมืองสิงคโปร์ของอังกฤษและเมืองบะเตเวีย เมืองสมารังของฮอลันดา ที่เรียกกันภายหลังแต่โดยย่อว่า "เสด็จสิงคโปร์" เมื่อปลายปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ นั้น มูลเหตุมีมาแต่ในรัชกาลที่ ๔ จำเดิมแต่ทำหนังสือสัญญาเปิดบ้านเมืองให้ฝรั่งมาค้าขาย มีกงสุลและพวกฝรั่งต่างชาติเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯมากขึ้นทุกที พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริจะทะนุบำรุงพระนครมิให้พวกฝรั่งดูหมิ่น จึงให้เริ่มจัดการต่างๆ คือ ให้สร้างถนน(เจริญกรุง) สำหรับให้ใช้รถเป็นต้น ได้โปรดฯให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ กับพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ไปดูลักษณะการที่อังกฤษบำรุงเมืองสิงคโปร์เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ด้วยเมืองสิงคโปร์อยู่ใกล้ไปมาได้สะดวกกว่าที่อื่น

    ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภจะเสด็จไปเองให้ถึงเมืองสิงคโปร์ ชะรอยจะใคร่ทรงสืบสวนถึงวิธีฝรั่งปกครองบ้านเมืองด้วย แต่พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน จะเสด็จไปถึงต่างประเทศเป็นการใหญ่ จึงต้องรอหาโอกาสมาจนถึงปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อเสด็จลงไปทอดพระเนตรสุริยอุปราคาที่หว้ากอ ครั้งนั้น เซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ กับภรรยาขึ้นมาเฝ้า เพื่อจะดูสุริยอุปราคาหมดดวงด้วย เซอร์แฮรี ออด ทูลเชิญเสด็จไปประพาสเมืองสิงคโปร์ จึงตรัสว่าจะเสด็จไปเยี่ยมตอบ แล้วทรงปรึกษาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ๆก็เห็นชอบด้วย แต่กราบบังคมทูลขอให้มีเวลาตระเตรียมก่อน(สันนิษฐานว่า คงกำหนดว่าจะเสด็จไปเมื่อสิ้นฤดูมรสุมในเดือนมีนาคม ปีมะโรงนั้น) แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากหว้ากอ ก็มาประชวรเสด็จสู่สวรรคตเสีย การที่จะเสด็จไปสิงคโปร์จึงเป็นอันค้างอยู่

    (ความที่จะกล่าวต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเล่าให้ฉันฟัง)

    ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แรกได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พวกกงสุลต่างประเทศมี มิสเตอร์น็อกส์ กงสุลเยเนอราลอังกฤษเป็นต้น ถามท่านว่าจะคิดอ่านให้พระเจ้าแผ่นดินทรงศึกษาวิธีปกครองบ้านเมืองด้วยประการใด ท่าน (ระลึกถึงพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ยังค้างอยู่) ตอบว่า คิดจะให้เสด็จทอดพระเนตรวิธีปกครองบ้านเมืองของต่างประเทศที่เมืองสิงคโปร์และเมืองบะเตเวีย พวกกงสุลก็พากันซ้องสาธุการและรับจะบอกไปถึงรัฐบาลของตน ให้รับเสด็จให้สมพระเกียรติยศ ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงทราบว่าจะได้เสด็จไปทอดพระเนตรต่างประเทศก็ทรงยินดีเต็มพระราชหฤทัย ครั้นได้รับเชิญของรัฐบาลอังกฤษ กับรัฐบาลฮอลันดาก็ลงมือเตรียมการตั้งแต่ต้นปีมะเมียมา

    ครั้งนั้น มีการต้องแก้ไขขนบธรรมเนียมเดิมให้สะดวกแก่ที่เสด็จไปต่างประเทศหลายอย่าง เป็นต้นว่า


    [​IMG]
    เรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช


    (๑) เรือพระที่นั่งที่จะเสด็จไป จะใช้เรือพระที่นั่งอัครราชวรเดช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยทรง ก็ไม่ไว้ใจ ด้วยทางที่จะเสด็จไปต้องผ่านท้องทะเลใหญ่ เผอิญในเวลานั้นซื้อเรือรบอย่างคอเวตต่อด้วยเหล็กมาจากสก๊อตแลนด์เพิ่งมาถึงใหม่ลำ ๑ ขนานนามว่า "เรือพิทยัมรณยุทธ" จัดเรือรบลำนั้นให้เป็นเรือพระที่นั่งทรง ให้มีเรือรบซึ่งต่อในกรุงเทพฯเป็นเรือตามเสด็จลำ ๑ เป็นเรือล่วงหน้าลำ ๑ รวมเป็นเรือกระบวนเสด็จ ๓ ลำด้วยกัน

    (๒) ราชบริพารที่ตามเสด็จ ซึ่งประเพณีเดิมเวลาเสด็จไปไหนในพระราชอาณาเขต ต้องมีพนักงานต่างๆตามเสด็จด้วยมากมาย ก็ให้ลดจำนวนคงแต่ ๒๗ คน ทั้งเจ้านายที่โปรดฯให้ไปตามเสด็จด้วย คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์(สมเด็จพระราชปิตุลาฯ)พระองค์ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์(กรมหลวงอดิศรอุดมเดช)เป็นนายร้อยมหาดเล็กอยู่แล้ว โปรดฯให้เป็นราชองครักษ์พระองค์ ๑ ขุนนางผู้ใหญ่ที่ไปตามเสด็จครั้งนั้นมีเจ้าพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ อัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม ๑ เจ้าพระยาภาณุวงศ์โกษาธิบดี เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ๑ พระยาสุรศักดิ์มนตรี(แสง ชูโต) จางวางมหาดเล็กได้บังคับทหารมหาดเล็กอยู่แล้ว โปรดฯให้เป็นราชองครักษ์ ๑ สมัยนั้นเครื่องแต่งตัวที่ใช้ในราชสำนักยังไม่ใช้ถุงเท้ารองเท้า และยังใส่เสื้อแพรหรือเสื้อกระบอกผ้าขาวเข้าเฝ้า จึงต้องคิดแบบเครื่องแต่งตัวสำหรับบรรดาผู้ที่จะตามเสด็จเข้าสมาคมและการพิธีต่างๆ ให้ใส่ถุงเท้ารองเท้า และแต่งเครื่องแบบทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฝ่ายทหารมีเครื่องแบบทั้งเต็มยศและเวลาปกติ ฝ่ายพลเรือนมีเครื่องแบบแต่เต็มยศ เป็นเสื้อแพรสีกรมท่าปักทองที่คอและข้อมือ เวลาปกติใช้เสื้อคอเปิดผูกผ้าผูกคออย่างฝรั่ง แต่เครื่องแบบครั้งนั้นใช้นุ่งผ้าม่วงสีกรมท่าไม่นุ่งกางเกง ทั้งทหารและพลเรือน ผ้าม่วงสีกรมท่าขึ้นใช้เป็นเครื่องแบบและนุ่งในเวลามีการงาน แต่ครั้งนั้นสืบมา



    [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]

    ผมทรงมหาดไทย กับ ผมปีก
    การไว้ทรงผมและการแต่งกายของคนไทยสมัยก่อน




    เนื่องแต่จัดระเบียบการแต่ตัวเมื่อครั้งเสด็จไปสิงคโปร์คราวปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ นั้น เลยเกิดการเปลี่ยนแปลงประเพณีทั่วประเทศสยามอย่าง ๑ ซึ่งควรกล่าวไว้ด้วยในสมัยนั้นไทยยังไว้ผมตามประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยา เด็กไว้ผมจุกเหมือนกันทั้งชายหญิง ผู้ใหญ่ชายไว้ "ผมมหาดไทย" คือโกนผมรอบศรีษะไว้ผมยาวสัก ๕ เซ็นต์บนกลางกบาลหัว แล้วหวีแต่งเรือนผมนั้นตามเห็นงาม ส่วนผู้หญิงไว้ "ผมปีก" มีเรือนผมแต่บนกบาลหัวทำนองเดียวกับชาย รอบหัวเดิมไว้ผมยาวลงมาจนประบ่า ชั้นหลังเปลี่ยนเป็นตัดเกรียนรอบศรีษะ และไว้ผมเป็นพู่ที่ริมหูสำหรับเกี่ยวดอกไม้เครื่องประดับ เรียกว่า "ผมทัด" ทั้งสองข้าง ประเพณีไว้ผมเช่นว่ามา ไทยเราไว้อย่างเดียวกันทั้งบ้านทั้งเมืองจนเคยตามาหลายร้อยปี ก็เห็นงามตามวิสัยมนุษย์ อันสุดแต่ทำอะไรให้เหมือนกันมากๆก็(เกิดเป็นแฟชั่น)เห็นว่างามตามกันไป เป็นเช่นเดียวกันทุกชาติทุกภาษา ยกตัวอย่างเช่นพวกจีนเดิมไว้ผมยาว ครั้นพวกเม่งจูมาครอบครองบังคับไว้ผมเปีย นานเข้าก็นิยมว่าผมเปียสวยงาม หรือจะว่าข้างฝรั่ง ยกตัวอย่างดังเครื่องแต่งตัวผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหยุด ก็เป็นเหตุเช่นเดียวกัน แต่การไว้ผมของไทยอย่างว่ามา เมื่อไปยังต่างประเทศ พวกชาวเมืองเห็นเป็นวิปริตแปลกตามักพากันยิ้มเยาะ เมื่อครั้งทูตไทยไปยุโรปในรัชกาลที่ ๔ จึงให้ไว้ผมทั้งศีรษะและตัดยาวอย่างฝรั่ง แต่เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพฯก็กลับตัดผมมหาดไทยไปอย่างเดิม



    [​IMG]
    ผมทรงทัด

    เมื่อจะเสด็จสิงคโปร์คราวนี้ ก็โปรดฯให้ผู้ที่จะตามเสด็จเริ่มไว้ผมยาวตั้งแต่เวลาตระเตรียม เว้นแต่สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯให้ตามเสด็จทั้งไว้พระเกศาจุก ครั้นเมื่อเสด็จกลับคืนพระนครทรงปรารภกับท่านผู้ใหญ่ในราชการว่า การไปมาและคบหาสมาคมในระหว่างไทยกับฝรั่งจะมีมากขึ้นทุกที ประเพณีไว้ผมมหาดไทยช่วยให้ชาวต่างประเทศดูหมิ่นควรจะเปลี่ยนเป็นไว้ผมตัดยาวทั้งศรีษะ ท่านผู้ใหญ่ในราชการก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงดำรัสสั่งให้เลิกตักผมมหาดไทยในราชสำนักตั้งแต่ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นต้นมา แต่มิได้บังคับถึงราษฎร ใครจะไว้อย่างไรก็ไว้ไปตามใจชอบ แต่เมื่อคนทั้งหลายเห็นบุคคลชั้นสูงไว้ผมยาว ก็พากันตามอย่างมากขึ้นโดยลำดับ หลายปีประเพณีไว้ผมมหาดไทยจึงหมดไป

    ถึงกระนั้นเมื่อแรกเลิกตัดผมมหาดไทยนั้น คนชั้นผู้ใหญ่สูงอายุก็ยังไม่สิ้นนิยมผมมหาดไทย แม้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มักให้ช่างตัดผมรอบศีรษะให้สั้น และไว้ผมข้างบนยาวคล้ายกับเรือนผมมหาดไทย เรียกกันว่า "ผมรองทรง ทางฝ่ายผู้หญิงนั้นก็โปรดฯให้เลิกผมปีก เปลี่ยนเป็นไว้ผมตัดยาวแต่ในราชสำนักก่อน แล้วผู้หญิงพวกอื่นก็เอาอย่างต่อๆกันไปทั่วทั้งเมือง

    นอกเรื่องตัดผม ยังมีการอื่นๆที่จัดเป็นอย่างใหม่ในกระบวนเสด็จอีกหลายอย่าง เช่นให้ยืนเฝ้าและถวายคำนับเป็นต้น แต่การรักษาพระนครในเวลาเสด็จไม่อยู่ ซึ่งเคยถือกันมาว่าเป็นการสำคัญ แม้เพียงเสด็จไปหัวเมืองในพระราชอาณาเขตเมื่อรัชกาลก่อนๆ แต่ครั้งนี้ไม่ลำบากด้วยพระเจ้าอยู่หัวยังไม่ได้ทรงว่าราชการแผ่นดิน มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ประจำอยู่แล้ว

    เสด็จออกจากกรุงเทพฯเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีมะเมีย ไปหยุดพักที่เมืองสงขลาทอดพระเนตรบ้านเมืองวัน ๑ แล้วแล่นเรือต่อไปจนถึงเมืองสิงคโปร์เมื่อ เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ รัฐบาลและพวกอังกฤษชาวเมืองสิงคโปร์จัดการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าเคยรับแขกเมืองมาแต่ก่อน ด้วยเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปถึงเมืองสิงคโปร์ รับเสด็จขึ้นเมืองเป็นการเต็มยศ ผู้รั้งราชการเมืองสิงคโปร์กับข้าราชการทั้งปวงพร้อมกันมารับเสด็จที่ท่าเรือ เชิญเสด็จตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ แล้วทรงรถแห่ไปยังศาลานคราทร ซึ่งพวกพ่อค้าพาณิชย์ทั้งปวงคอยเฝ้าอยู่พร้อมกัน เชิญเสด็จประทับราชอาสน์ แล้วผู้เป็นนายกสภาพาณิชย์เมืองสิงคโปร์อ่านคำถวายชัยมงคล กล่าวความท้าวถึงสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงปกครองพระราชอาณาจักรด้วยพระปรีชาญาณ ทรงทะนุบำรุงให้ประเทศสยามมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นที่นับถือของนานาประเทศ และที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประพฤติตามแบบอย่างต่อมาจนถึงทรงพระราชอุตสาหะเสด็จไปทอดพระเนตรเมืองต่างประเทศ ก็สมควรเป็นเยี่ยงอย่างแก่พระเจ้าแผ่นดินประเทศอื่นๆ พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ และเสด็จกลับขึ้นทรงรถแห่ไปยังจวนเจ้าเมือง ซึ่งจัดถวายเป็นที่ประทับแรมตลอดเวลาเสด็จอยู่เมืองสิงคโปร์

    ในเวลาเสด็จประทับอยู่ที่เมืองสิงคโปร์ ๗ วันนั้น มีการสโมสรต่างๆที่จัดขึ้นรับเสด็จ และเชิญเสด็จไปทอดพระเนตรกิจการและสถานที่ต่างๆ สำหรับบ้านเมืองมากมายหลายอย่างทุกๆวัน ตามรายการในจดหมายเหตุดูเกือบไม่มีเวลาที่จะได้เสด็จพัก การสโมสรนั้น นายทหารบกมีประชุมเต้นรำ(Ball)ที่โรงทหารคืน ๑ พวกฝรั่งชาวเมืองสิงคโปร์มีการประชุมแต่งตัวต่างๆเต้นรำ(Fancy Dress Ball)ที่ศาลานคราทรคืน ๑ ต่อมามีละครสมัครเล่นถวายทอดพระเนตรที่ศาลานคราทรคืน ๑ ผู้รั้งราชการเมืองมีการเลี้ยงอย่างเต็มยศ(Banquet)คืน ๑ พวกชาวสิงคโปร์มีการประกวดต้นไม้ดอกไม้ถวายทอดพระเนตรที่สวนสำหรับเมืองคืน ๑ ส่วนกิจการและสถานที่ๆเชิญเสด็จทอดพระเนตรนั้น คือ โรงทหารบก เรือรบ อู่เรือ ศาลชำระความ เรือนจำโรงพยาบาล โรงเรียน อาคารไปรษณีย์ สถานีโทรเลข สถานีเครื่องดับไฟ โรงกลั่นไอประทีป(Gas-work) ห้างและตลาดขายของ ทั้งทรงรถเที่ยวทอดพระเนตรถนนหนทางที่บำรุงบ้านเมืองด้วย เสด็จประทับอยู่ในเมืองสิงคโปร์จนเดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีมะแม เสด็จกลับลงเรือพระที่นั่งมีการส่งเสด็จอย่างเต็มยศเหมืองเมื่อเสด็จไปถึง ออกเรือในค่ำวันนั้น

    ไปถึงท่าเมืองบะเตเวียที่เกาะชวา ณ วันอาทิตย์เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ รัฐบาลฮอลันดาก็จัดการต่างๆรับเสด็จเป็นอย่างใหญ่ ทำนองเดียวกับอังกฤษรับเสด็จที่เมืองสิงคโปร์ มีรายการแปลกออกไปแต่มีการสวนสนามทหารบกอย่าง ๑ พวกมาลายูกับพวกจีนมีการแห่ประทีบอย่าง ๑ และพวกฝรั่งมีการจุดดอกไม้ไฟถวายทอดพระเนตร มีแปลกที่ทอดพระเนตรโรงทำปืนอย่าง ๑ กับทอดพระเนตรพิพิธภัณฑสถานอีกอย่าง ๑ ซึ่งในเมืองสิงคโปร์ยังไม่มีในสมัยนั้นเสด็จประทับอยู่เมืองบะเตเวีย ๗ วัน ถึงวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เสด็จลงเรือพระที่นั่งแล้วออกเรือในเช้าวันนั้น

    รุ่งขึ้นก็ถึงเมืองสมารัง แต่เสด็จไปถึงต่อในเวลาบ่าย จึงประทับแรมอยู่ในเรือพระที่นั่งคืน ๑ ถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เวลาเช้าเรสิเดนต์(สมุหเทศาภิบาล)หัวหน้ารัฐบาลเมืองสมารังลงมารับเสด็จขึ้นเมืองเป็นการเต็มยศ และมีพิธีรับเสด็จคล้ายกับที่เมืองบะเตเวีย มีสิ่งซึ่งได้ทอดพระเนตร ณ เมืองสมารังครั้งนั้นแปลกจากที่อื่นคือทรงรถไฟ ซึ่งกำลังสร้างไปจนถึงสุกปลายรางอย่าง ๑ ทอดพระเนตรโรงทำดินปืนอย่าง ๑ กับเจ้ามังกุนคโรเมืองโสโลพาละครชวามาเล่นถวายทอดพระเนตรอย่าง ๑ เสด็จประทับอยู่เมืองสมารัง ๓ วัน ถึงวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๕ ก็เสด็จลงเรือพระที่นั่งออกเรือในวันนั้นกลับมาถึงเมืองสิงคโปร์เมื่อแรม ๕ ค่ำ มีพระราชดำรัสขออย่าให้มีการรับรองอย่างยศศักดิ์ให้ซ้ำซากลำบากแก่เขาอีก ผู้รั้งราชการลงมารับเสด็จเป็นการไปรเวตเชิญเสด็จประทับร้อนที่จวนเจ้าเมือง เชิญเสด็จเสวยกลางวันแล้วเสด็จประพาสตามพระราชอัธยาศัย ครั้นเวลาค่ำเชิญเสด็จเสวยอีกเวลา ๑ และเสด็จทอดพระเนตรละครม้าแล้วจึงเสด็จกลับลงเรือพระที่นั่ง รุ่งขึ้นวันอังคาร เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ออกเรือพระที่นั่งจากเมืองสิงคโปร์ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๑๑ ค่ำ รวมเวลาที่เสด็จไปครั้งนั้น ๓๗ วัน เมื่อเสด็จกลับมาถึงแล้วมีงานรื่นเริงเฉลิมพระเกียรติ และแต่งประทีปทั่วทั้งพระนคร ๕ วัน

    พิเคราะห์ราบการที่เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์เมืองบะเตเวียและเมืองสมารัง เห็นได้ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรขนบธรรมเนียมฝรั่งมาก ทั้งในส่วนการสมาคมและกิจการต่างๆ ซึ่งเนื่องในการปกครองทะนุบำรุงบ้านเมือง การที่เสด็จไปต่างประเทศครั้งนั้น ความเข้าใจของคนทั้งหลายทั้งไทยและฝรั่งเป็นอย่างเดียวกันว่า เสด็จไปทรงศึกษาหาแบบอย่าง มาจัดการทะนุบำรุงประเทศสยาม หากว่าเสด็จกลับมาไม่ทำอะไรเลย ก็คงถูกติเตียนว่าเสด็จไปเที่ยวเล่นให้สิ้นเปลืองเวลาเปล่าๆ หรือถึงหมิ่นพระปัญญาว่าไร้ความสามารถ ก็แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมิได้ว่าราชการบ้านเมือง จึงเริ่มทรงจัดการแก้ขนบธรรมเนียมแต่ในราชสำนัก ด้วยความเห็นชอบของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

    ในเวลานั้นอายุฉันได้ ๑๐ ขวบและอยู่ในราชสำนัก ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่จัด เมื่อเสด็จกลับจากสิงคโปร์จำได้อยู่หลายอย่าง เป็นต้นว่าโปรดฯให้กั้นฉากในพระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็น ๑ ห้อง ห้องทางตะวันตกตั้งโต๊ะเก้าอี้เป็นห้องรับแขก ห้องตอนกลางคงเป็นทางเสด็จออกท้องพระโรงหน้า ห้องทางตะวันออกจัดเป็นห้องเสวยตั้งโต๊ะเก้าอี้เลี้ยงแขกได้ราว ๒๐ คน เวลาเช้าเสด็จออกท้องพระโรง เจ้านายขุนนางยังหมอบเฝ้าและคงแต่งตัวเหมือนอย่างเดิม แต่ตอนกลางวันเมื่อเสด็จขึ้นจากท้องพระโรงหรือตอนตอนบ่ายและตอนค่ำก่อนเสวยเย็น เสด็จประทับที่ห้องรับแขกในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ให้ผู้ที่เข้าเฝ้าแต่งตัวสวมถุงเท้ารองเท้า ใส่เสื้อเปิดคอแบบฝรั่ง นุ่งผ้าม่วงสีกรมท่า ยืนเฝ้าอย่างฝรั่ง ถึงเวลาเสวยเย็นโปรดฯให้เจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักนั่งโต๊ะเสวยด้วย ต้องแต่ตัวใส่เสื้อแย้กเก๊ตขาวเปิดคอ เวลาบ่ายๆถ้าเสด็จทรงเที่ยวประพาสก็แต่งตัวใส่ถุงเท้ารองเท้า เสื้อปิดคอและยืนเฝ้าเหมือนกัน การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมา ถ้าว่าตามความเห็นในสมัยนี้ก็ดูเป็นการเล็กน้อย แต่คนในสมัยนั้นเห็นแปลกประหลาด ถึงจมื่นเก่งศิลปคน ๑ เขียนลงเป็นจดหมายเหตุใน "ปูม" เมื่อวันเสาร์ เดือน ๗ ขึ้น ๒ ค่ำ (ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๔) ว่า "ในข้างขึ้นเดือนนี้ข้าราชการแต่งคอเสื้อผ้าผูกคอ ด้วยธรรมเนียมฝรั่งธรรมเนียมนอก" ดังนี้ พอเป็นเค้าให้เห็นได้ว่าคนในสมัยนั้นเห็นเป็นการสำคัญเพียงใด

    [​IMG]
    ฉายพระรูปที่เมืองสิงคโปร์

    มีการอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งทรงพระราชดำริเมื่อเสด็จกลับจากเมืองสิงคโปร์ คือจะจัดการศึกษาของลูกผู้ดีซึ่งได้โปรดฯให้ตั้งโรงเรียนภาษาไทยขึ้นแต่ก่อนเสด็จไปสิงคโปร์แล้ว เมื่อเสด็จกลับมีพระราชประสงค์จะให้มีโรงเรียนภาษาอังกฤษด้วย แต่ขัดข้องด้วยหาครูไม่ได้ เพราะมิชชันนารีที่สอนภาษาอังกฤษแก่ไทยในเวลานั้น สอนแต่สำหรับชักชวนคนให้เข้ารีตเป็นข้อรังเกียจอยู่ จึงโปรดฯให้เลือกหม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ที่ยังเยาว์วัยส่งไปเรียนที่โรงเรียนแรฟเฟล ณ เมืองสิงคโปร์ในปีมะแมนั้นประมาณ ๒๐ คน นักเรียนที่ส่งไปครั้งนั้นยังมีตัวอยู่ในเวลาเมื่อแต่งหนังสือนี้แต่ ๓ คน คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์พระองค์ ๑ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์พระองค์ ๑ หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ องค์ ๑ เดี๋ยวนี้ทรงพระชราแล้วทุกพระองค์ แต่นักเรียนชุดนี้ไปเรียนอยู่ที่เมืองสิงคโปร์เพียงปีเศษถึงปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ เมื่อเสด็จกลับจากอินเดียหาครูอังกฤษได้ โปรดฯให้ตั้งโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษขึ้นแล้ว ก็โปรดฯให้กลับมาเรียนในกรุงเทพฯเว้นแต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์ กับพระยาชัยสุรินทร(ม.ร.ว.เทวหนึ่ง สิริวงศ์) ทั้ง ๓ นี้เรียนรู้มากถึงชั้นสูงกว่าเพื่อน จึงโปรดฯให้ส่งไปเรียนที่ประเทศอังกฤษต่อไป เป็นแรกที่ส่งนักเรียนหลวงไปเรียนถึงยุโรป


    [​IMG]
    ทหารมหาดเล็ก

    กรมที่ทรงจัดมากเมื่อเสด็จกลับจากสิงคโปร์นั้น คือทหารมหาดเล็ก ถึงตอนนี้ทรงจัดแก้ไขเพิ่มเติมขยายการออกไปหลายอย่าง คือให้ชักชวนพวกเชื้อสายราชสกุลและลูกมหาดเล็กเข้าเป็นทหาร เพิ่มจำนวนคนขึ้น จัดเป็น ๖ กองร้อย ให้สร้างตึกแถว ๒ ชั้นขึ้น ๒ ข้างประตูพิมานชัยศรีเป็นที่อยู่ของทหารมหาดเล็ก และสร้างตึก ๒ ชั้นขึ้นอีกหลัง ๑ ที่ริมกำแพงด้านหน้าพระราชวัง สำหรับเป็นที่อยู่ของนายทหารมหาดเล็ก ตามแบบ ตังลินบาแร้ก ณ เมืองสิงคโปร์ แต่ตึกหลังนี้เมื่อกำลังสร้างอยู่ประจวบเวลาเริ่มแก้ไขการพระคลังมหาสมบัติ(ซึ่งจะเล่าเรื่องต่อไปข้างหน้า)ไม่มีสถานที่จะทำการพระคลังฯจึงโปรดฯให้โอนไปเป็นสถานที่ทำการพระคลังฯขนานนามว่า "หอรัษฎากรพิพัฒน" (แต่ตัวตึกเดี๋ยวนี้แก้ไขต่อเติมผิดกับขอเดิมเสียมากแล้ว) และในครั้งนั้นให้สร้างตึกใหญ่สำหรับเป็นที่สโมสรของทหารมหาดเล็กตามแบบสโมสรคองคอเดียที่เมืองบะเตเวียอีกหลัง ๑ (ซึ่งแก้ไขเป็นศาลาสหทัยสมาคมบัดนี้) เรียกชื่อภาษาฝรั่งว่า "หอคองคอเดีย"

    ภายนอกพระราชวังก็มีการก่อสร้างซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเสด็จกลับจากสิงคโปร์ครั้งนั้นอีกหลายอย่าง ว่าแต่ตามที่ฉันจำได้ คือทำถนนริมกำแพงรอบพระนครอย่าง ๑ สร้างสวนสราญรมย์อย่าง ๑ แต่งคลองตลาดตอนระหว่างสะพานช้างโรงสีกับสะพานมอญ ทำเขื่อนอิฐมีถนนรถ(ซึ่งภายหลังขนานนามว่า ถนนราชินี และ ถนนอัษฎางค์)ทั้ง ๒ ฟาก และมีสะพานหกสำหรับรถข้ามคลอง เหมือนอย่างเมืองบะเตเวียด้วย นอกจากที่พรรณนามามีการอื่นๆที่เกิดขึ้นแต่สมัยนั้นก็หลายอย่าง เป็นต้นว่าหารถมาใช้ในกรุงเทพฯแพร่หลายมาแต่นั้น ซื้อมาจากเมืองสิงคโปร์บ้าง เมืองบะเตเวียบ้าง แต่ในไม่ช้าก็มีช่างตั้งโรงรับสร้างและซ่อมแซมรถขึ้นในกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับการที่แต่งตัวใส่เสื้ออย่างฝรั่งและใช้เกือกถุงตีน ในไม่ช้าก็มีโรงรับจ้างตัดเสื้อและขายสิ่งของที่ต้องการใช้ หาได้ในกรุงเทพฯนี้เองไม่ต้องลำบาก หรือว่าโดยย่อ การที่เสด็จสิงคโปร์ครั้งนั้นนอกจากเจริญการสมาคมในระหว่างไทยกับชาวต่างประเทศเป็นปัจจัยให้ชาวต่างประเทศนิยมเข้ามาค้าขายในประเทศนี้ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก



    .............................................


    [​IMG]
    [​IMG]

    .........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...