เว็บพลังจิต นโม ตัสส ภควโตฯ มหาพลานุภาพ มหานมัสการที่คาดไม่ถึง

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 25 ตุลาคม 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]

    นโม ตัสส ภควโตฯ มหาพลานุภาพ มหานมัสการที่คาดไม่ถึง

    ความนอบน้อม อันถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ ต่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมศาสดาแห่งมวลมนุษย์และทวยเทพ มีอานิสงส์ โดยข้อปฏิบัติที่ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา คือ การเจริญพระพุทธคุณด้วยบทว่า "นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" ซึ่งโบราณาจารย์เรียกว่า "มหานมัสการ"

    "มหานมัสการ" คือ บทน้อมนอบที่สำคัญยิ่ง ในพระไตรปิฏก มีปรากฏบุคคลผู้สาธยายบทนี้ เป็นคำอุทานที่ไม่ใช่พุทธภาษิต กล่าวคือ พระพุทธเจ้ามิได้ทรงตรัสเป็นพุทธภาษิตด้วยพระองค์เอง แต่เป็นข้อความและเรื่องราวที่มีปรากฏในพระบาลีหลายแห่งทั้งความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน คือ บางท่านได้รับกิตติศัพท์อันสูงส่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็เปล่งอุทานขึ้นด้วยความเลื่อมใส บางท่านเปล่งด้วยความพลั่งปาก แต่ทวาเป็นไปในทางที่ดี บางท่านก็เปล่งขึ้นด้วยตั้งใจจะเทิดทูนพระพุทธคุณเพื่อยึดเหนี่ยวเอาพระพุทธคุณมาเป็นอารมณ์ป้องกันภยันตรายที่จะมาเบียดเบียน อาทิ ท่านท้าวสักกะ , พรหมายุพราหมณ์ , ชาณุสโสณิพราหมณ์ , นางธนัญชานี , ลูกชายของนายทารุสากฏิกะ เป็นต้น


    ภายหลังพุทธปรินิพพาน พระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ได้ยกบทนี้ขึ้นสู่สังคายนาไว้ในพระสูตรต่างๆ และใช้เป็นคำนมัสการขึ้นต้น เป็นแบบอย่างของชาวพุทธสืบต่อมา เช่น ใช้เป็นคำนอบน้อมเริ่มต้นก่อนรจนาคัมภีร์ เป็นต้น ฉะนั้น ชาวพุทธจึงนิยมสวดบทนมัสการนี้นำ ก่อนที่จะสวดบริกรรมมนต์บทอื่น และนิยมเขียนไว้เป็นเบื้องแรกของคัมภีร์

    บท "มหานมัสการ" นี้ มีความสั้นกะทัดรัด แต่สามารถรวบยอดพรรณนาความสำคัญ ๓ อย่าง คือ พระมหากรุณาธิคุณ(ภควโต) ,พระวิสุทธิคุณ(อรหโต) , และ พระปัญญาธิคุณ(สัมมาสัมพุทธัสสะ) ของพระพุทธองค์ตามลำดับได้อย่างน่าอัศจรรย์

    พระพุทธคุณทั้ง ๓ บทนี้ เป็นรากเหง้าเค้ามูลให้บังเกิดพุทธคุณทั้งปวงนับประมาณมิได้ มีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เพียบพร้อมด้วยศัพท์และอรรถ มีความวิจิตรพิสดารด้วยนัยะหลากหลาย

    พระพุทธคุณทั้ง ๓ บทนี้ ประเสริฐยิ่งนัก เพราะทำให้เวไนยสัตว์ตลอดกว่า ๒,๕๐๐ ปี ตราบจนถึงกาลบัดนี้ ได้มีโอกาสศึกษา ปฏิบัติพระธรรมตามความตรัสรู้ ได้รักษาชีวิตให้ดำเนินอยู่ในกุศล และมีโอกาสยกระดับจิตใจ สติปัญญาให้สูงยิ่งๆ ขึ้น ลดละทุกข์ได้ตามลำดับ จนถึงความสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงได้ ฉะนั้น การสาธยายบท "มหานมัสการ" นี้ ด้วยความนอบน้อม จึงถือว่าเป็นการเจริญ "พุทธานุสสติกรรมฐาน"

    การน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณเป็นสิ่งสำคัญ ผู้สวดบริกรรมหรือสาธยาย ไม่ควรสวดหรือสาธยายนอบน้อมถึงพระพุทธคุณเฉพาะเวลากราบไหว้พระสวดมนต์ หรือประกอบพิธีกรรมการกุศลเท่านั้น แต่ ควรระลึกนอบน้อมทุกเวลาที่มีโอกาส ดังเช่น นางธนัญชานีไม่ว่านางจะไอ จาม หรือแม้สะดุดลื่น หกล้ม ก็จะระลึกถึงพระพุทธคุณ แล้วเปล่งอุทานนอบน้อมว่า "นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" ทุกครั้ง

    การบำเพ็ญบุญด้วยการเจริญพระพุทธคุณ ด้วยจิตศรัทธาเลื่อมใส จนเกิดความปิติปราโมทย์ด้วยความดื่มด่ำในพระพุทธคุณ จัดเป็นกระแสห้วงบุญอันใหญ่หลวง ที่ยังกิริยาการนอบน้อมให้สำเร็จเป็นไปทุก ๆ (ชวนจิต) ๗ ขณะ ตลอดหลายแสนโกฎิครั้ง กระแสบุญนั้นเป็นบุญไพศาล มีอานุภาพมาก มีอานิสงส์มาก เพราะเจริญในเนื้อนาบุญอันสูงสุด คือ พระพุทธเจ้า ย่อมส่งผลให้ผู้นอบน้อมบูชานั้น ได้รับผลทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งที่เป็น "โลกิยะ" และ "โลกุตตระ"

    ผลที่เป็นโลกิยะ ได้แก่ ทำให้แคล้วคลาดจากอุปสรรคอันตราย , ทำให้ขจัดภัยและความหวาดกลัว , ความตกใจ , ความขนพองสยองเกล้า , ประสบความสวัสดี , ความเจริญรุ่งเรือง , ได้รับชัยชนะ , มีสุขภาพอนามัยดี , มีอายุยืน , สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ , ชักนำให้เกิดในสุคติภพ

    ผลที่เป็นโลกุตตระ ได้แก่ อริยผล ๔ ประการคือ โสตาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล เพราะผู้ระลึกถึงพระพุทธคุณด้วยความนอบน้อมอยู่เนื่อง ๆ ย่อมก่อให้เกิดศรัทธาที่ตั้งมั่นอันเป็นเหตุให้เกิดความปิติปราโมทย์ที่มีกำลังมากในขณะนั้น ครั้นเจริญสติตามรู้ความปิติปราโมทย์นั้นเป็นอารมณ์ ก็สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลได้โดยพลัน ดังเช่น พระปุสสเทวเถระผู้อยู่ที่กัฏฐอันธการวิหาร บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และพระนางอสันธิมิตตา อัครมเหสีของพระเจ้าอโศกมหาราชบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน

    อานุภาพของบทมหานมัสการ "นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" อันประกอบด้วยพระพุทธคุณ ๓ ประการ ที่บุคคลผู้สวดบริกรรม หรือสาธยายด้วยจิตที่มีสมาธิแน่วแน่ น้อมระลึกพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ด้วยทวารทั้ง ๓ จะแผ่ไปถึงแสนโกฏจักรวาฬ ทำให้ผู้สวดหรือผู้สาธยายได้รับอานิสงส์มหาศาลประมาณมิได้ เฉกเช่นคนที่ไม่ได้รับประทานอาหาร ย่อมไม่อาจรับรู้รสอาหารและผลของการรับประทานอาหารได้ พุทธบริษัทควรหมั่นสวดสาธยายบทมหานมัสการ หรือบทสวดมนต์อื่นๆ ด้วยการน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณอยู่เนื่องๆ เถิด บุญราศีโกฏฐานอันนั้น ย่อมมีผลานิสงส์อันยิ่งใหญ่ ฉะนี้แล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 21.jpg
      21.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.4 KB
      เปิดดู:
      4,267
    • 69.jpg
      69.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.5 KB
      เปิดดู:
      8,236
    • นโมตัสสะฯ.mp3
      ขนาดไฟล์:
      607.2 KB
      เปิดดู:
      5,126
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 เมษายน 2010
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    บุญญสิกขา พิมพ์เป็นมหาธรรมทาน น้อมเกล้าฯ อัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัยสุงสุด อภิบาลเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลเจริญญาณพระบารมีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน และทรงมีพระสุขภาพพลามัยสมบูรณ์แข็งแรง โดยประการทั้งปวง พระพุทธเจ้าค่ะ


    ที่มาข้อมูล : หนังสือ "มหานมัสการ ฯ : มหาพลานุภาพที่คาดไม่ถึง" เรียบเรียงโดยครูบาอาจารย์ที่เคารพ ; ท่านมหาวัดแจ้ง ( พระศรีศาสนวงศ์ , มีชัย วีระปัญโญ ป.. M.P.A.) วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ


    ภาพประกอบ : ภาพจิตรกรรมคุรุศิลปิน ; ท่านเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์




    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.730768/[/MUSIC]​
     
  3. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>7 มิถุนายน 2545 14:02 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>
    ตำนานพระปริตร​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ขอเชิญบรรดาเทพเจ้า ผู้สถิตในสรวงสวรรค์ ชั้นกามาวจร รูปภพ และเป็นผู้สถิตเหนือยอดเขาและหุบเขา และวิมานอันมีอยู่ในอากาศ ทั้งที่สถิตบนเกาะในแว่นแคว้น ที่แดนบ้าน และบนต้นไม้ ในป่าโปร่ง และป่าทึบ ที่เรือน ที่เรือกสวนไร่นา อีกทั้งบรรดายักษ์ คนธรรพ์ และนาคผู้เป็นมิตร เป็นกัลยาณชน ที่สถิตอยู่ในน้ำ และบนบก ในที่ลุ่ม ที่ดอน

    ขอจงมาประชุมกันในที่นี้ เพื่อฟังคำของพระมุนีอันประเสริฐ ซึ่งข้าพเจ้าจักสวดต่อไป ณ บัดนี้

    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว

    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว

    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว

    มีเรื่องเล่าว่า ณ แดนหิมวันต์ประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์ มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับ พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า "นะโม" หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง

    กล่าวฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระเกียรติศัพท์ ของพระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนา ที่จะได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลน พระบรมศาสดา ว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอนานวันเข้า พระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไปทั้งสามโลก จนทำให้อสุรินทราหูอดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศ ตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอฟังธรรม แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้าง ของอสุรินทราหู ให้มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า ตัสสะ แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ

    เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก มีชื่อเรียกว่า ชั้น กามาวจร มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ พร้อมบริวาร ได้พากันเข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วทูลถามปัญหา พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมตอบปัญหา แก่มหาราชทั้งสี่พร้อมบริวาร จนยังให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้งสี่ และบริวาร ท่านทั้ง ๔ นั้น จึงเปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า ภะคะวะโต แปลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

    อะระหะโต เป็นคำกล่าวสรรเสริญ ของท้าวสักกะเทวราช เจ้าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ท่านสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะเทวราช ได้ทูลถามปัญหา แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยายธรรม และ ทรงตอบปัญหา จนทำให้ท้าวสักกะเทวราช ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล จึงเปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า "อะระหะโต" แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง

    สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นคำกล่าวยกย่องสรรเสริญ ของท้าวมหาพรหม หลังจากได้ฟังธรรม จนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ "สัมมาสัมพุทธัสสะ" หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด

    รวมเป็นบทเดียวว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ชุมนุมเทวดา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ขอเชิญบรรดาเทพเจ้า ผู้สถิตในสรวงสวรรค์ ชั้นกามาวจร รูปภพ และเป็นผู้สถิตเหนือยอดเขาและหุบเขา และวิมานอันมีอยู่ในอากาศ ทั้งที่สถิตบนเกาะในแว่นแคว้น ที่แดนบ้าน และบนต้นไม้ ในป่าโปร่ง และป่าทึบ ที่เรือน ที่เรือกสวนไร่นา อีกทั้งบรรดายักษ์ คนธรรพ์ และนาคผู้เป็นมิตร เป็นกัลยาณชน ที่สถิตอยู่ในน้ำ และบนบก ในที่ลุ่ม ที่ดอน

    ขอจงมาประชุมกันในที่นี้ เพื่อฟังคำของพระมุนีอันประเสริฐ ซึ่งข้าพเจ้าจักสวดต่อไป ณ บัดนี้

    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว

    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว

    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลบัดนี้ถึงกาลฟังธรรมแล้ว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ที่มาของคำบูชาพระบรมศาสดา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>มีเรื่องเล่าว่า ณ แดนหิมวันต์ประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์ มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับ พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า "นะโม" หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง

    กล่าวฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระเกียรติศัพท์ ของพระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนา ที่จะได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลน พระบรมศาสดา ว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอนานวันเข้า พระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไปทั้งสามโลก จนทำให้อสุรินทราหูอดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศ ตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอฟังธรรม แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้าง ของอสุรินทราหู ให้มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า ตัสสะ แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ

    เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก มีชื่อเรียกว่า ชั้น กามาวจร มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ พร้อมบริวาร ได้พากันเข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วทูลถามปัญหา พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมตอบปัญหา แก่มหาราชทั้งสี่พร้อมบริวาร จนยังให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้งสี่ และบริวาร ท่านทั้ง ๔ นั้น จึงเปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า ภะคะวะโต แปลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

    อะระหะโต เป็นคำกล่าวสรรเสริญ ของท้าวสักกะเทวราช เจ้าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ท่านสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะเทวราช ได้ทูลถามปัญหา แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยายธรรม และ ทรงตอบปัญหา จนทำให้ท้าวสักกะเทวราช ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล จึงเปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า "อะระหะโต" แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง

    สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นคำกล่าวยกย่องสรรเสริญ ของท้าวมหาพรหม หลังจากได้ฟังธรรม จนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ "สัมมาสัมพุทธัสสะ" หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด

    รวมเป็นบทเดียวว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>
    [​IMG] [​IMG]----------------------------------------------------------------[​IMG]


    </TD></TR><TR><TD></B>
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>


    1.สาตาคิรียักษ์ : ได้เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า "นะโม"
    หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง

    2.อสุรินทราหู : ได้กล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า "ตัสสะ"
    แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ

    3.ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ : ได้เปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า "ภะคะวะโต"
    แปลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

    4.ท้าวสักกะเทวราช : ได้เปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า "อะระหะโต"
    แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง

    5.ท้าวมหาพรหม : ได้เปล่งคำสาธุการ "สัมมาสัมพุทธัสสะ"
    หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด


    รวมเป็นบทเดียวว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"
    แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2009
  5. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สาธุ อนุโมทนาด้วยครับ ( อสุรินทราหู ท่านนี้เป็นมหาโพธิสัตว์ จะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ นับจากพระศรีอาริย์ )สาธุ.......
     
  6. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
    - พระนารทะ(พระยาอสุรินทราหู)
     
  7. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    - พระนารทะ(พระยาอสุรินทราหู)
    __________________
    วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ........................สาธุ น่ารักมากเลยครับ
     
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ข้อมูลจากหนังสือ “ มหานมัสการฯ พลานุภาพที่คาดไม่ถึงหน้าที่ ๖ -๗ ท่านมหาวัดแจ้ง (พระศรีศาสนวงศ์) ได้เรียบเรียงว่า
    <O:p</O:p
    “ เทพและอสูร ๕ องค์ คือ สาตาคิริยักษ์ อสุรินทราหู ท้าวจาตุมมหาราช ท้าวสักกเทวราช และท้าวมหาพรหม พากันมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใสในพุทธองค์อย่างจับจิตจับใจ แต่ละท่านจึงได้เปล่งวาจาตามลำดับองค์ละบทดังนี้
    <O:p</O:p
    สาตาคิริยักษ์ เปล่งวาจาว่า นโม<O:p</O:p
    อสุรินทราหู เปล่งวาจาว่า ตัสสะ<O:p</O:p
    ท้าวจาตุมมหาราชา เปล่งวาจาว่า ภควาโต<O:p</O:p
    ท้าวสักกเทวราช เปล่งวาจาว่า อรหโต<O:p</O:p
    ท้าวมหาพรหม เปล่งวาจาว่า สัมมาสัมพุทธัสสะ
    <O:p</O:p
    พร้อมนี้ ได้มีปรากฏหลักฐานอ้างอิงในพระบาลีและอรรถกถาว่า เป็นคำอุทานที่บุคคลเปล่งออกมาด้วยความซาบซึ้งในพระพุทธคุณ ดังจะได้คัดลอกตัวอย่าง ดังนี้ค่ะ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2011
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พรหมายุพราหมณ์
    <O:p</O:p
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ พรหมายุพรหมณ์ เป็นพราหมณ์ผู้ใหญ่ในนครมิถิลา แคว้นวิเทหะ เป็นพราหมณ์ผู้เฒ่าอยู่ในวัยชรา มีอายุถึง ๑๒๐ ปี รอบรู้ไตรเพทเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ ทางคติโลกช่ำชองในมหาปุริสลักษณะ ได้ยินกิตติศัพท์อันดีงามของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ส่งมาณพชื่ออุตตระ ผู้เป็นศิษย์ที่รอบรู้ในไตรเภทเชี่ยวชาญในคัมภีร์ศาสตร์ และช่ำชองในมหาปุริสลักษณะ ให้มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และสอบสวนดูว่า เป็นจริงตามกิติติศัพท์ที่เล่าลือหรือไม่<O:p</O:p
    <O:p
    ฝ่ายอุตตรมาณพรับคำของอาจารย์แล้ว ก็ติดตามไปจนได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เฝ้าสังเกตตรวจตราพระวรกายทุกส่วน บางส่วนที่เห็นยาก พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงอิทธาภิสังขาร (แสดงโดยฤทธิ์) ให้เห็นและบางอย่างก็ไม่ต้องแสดงฤทธ์ เพียงแต่เปิดโอกาสให้เห็นอย่างธรรมดา ในขณะเดียวกันก็ได้สอบสวนมหาปุริสลักษณะที่ปรากฏในพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าจนครบ ๓๒ ประการ<O:p</O:p
    <O:p
    นอกจากนั้น อุตตรมาณพ ยังเฝ้าติดตามดูพระอิริยาบถต่างๆ ของเสด็จดำเนิน ประทับยืน ประทับนั่ง บรรทม เสวยพระกระยาหาร พระอาการที่ประทับอยู่ทามกลางบริษัทและตรัสพระธรรมเทศนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อุตตรมาณพตรวจตราติดตามดูพระพุทธเจ้า โดยละเอียดเกี่ยวกับมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และพระวรกายตลอดจนพระอิริยาบถน้อยใหญ่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ท่านพราหมณ์ ผู้เป็นอาจารย์ได้ทราบสิ้นทุกประการ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พออุตตรมาณพรายงานจบ ท่านพราหมายุพราหมณ์ซึ่งนั่งฟังอยู่ ก็ลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่แล้วเปล่งอุทานนอบน้อม ๓ ครั้งว่า
    <O:p</O:p

    นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ<O:p</O:p


    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ชาณุสโสณิพราหมณ์
    <O:p</O:p


    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ เชตวนาราม ในพระนครสาวัตถี ชาณุสโสณิพราหมณ์ ซึ่งเป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ตามกำหนด ท่านชาณุสโสพราหรมณ์จะมีขบวนอิศริยยศทำประทักษิณพระนคร ๖ เดือนค่อครั้ง ครั้งถึงวันครบกำหนดทำประทักษิณพระนคร ขณะที่พราหรมณ์ได้นั่งรถทำประทักษิณพระนครมาพบปริพพาชกชื่อปิโลติกะ (ปริพพาชกผู้นุ่งห่มผ้าท่อนเก่า) กลับจากอุปัฏฐากพระพุทะเจ้าและมหาสาวก จึงซักถาม ได้ฟังคำปริพพาชกกล่าวชมพระผู้มีพระภาคเจ้า ๔ ข้อ (จำแนกตามประเภทบุคคล) คือ กษัตริย์ , พราหมณ์ , คฤหบดี , สมณะ ... พอปริพพาชกนั้นกล่าวจล ท่านชาณุสโสพราหมณ์ ก็เลื่อมใส ลงจากรถขาวเทียมด้วยม้าขาว ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ แล้วเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า <O:p</O:p

    นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น<O:p</O:p
     
  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ท้าวสักกะ
    <O:p</O:p

    ท้าวสักกะจอมเทวราช เมื่อจะเสด็จมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ถ้ำอินทสาละใกล้ภูเขาเวทยิกะ ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ จึงเรียกปัญจสิขบุตรคนธรรพ์มา ชวนให้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยกัน
    <O:p</O:p
    ปัญจสิขบุตรคนธรรพ์ ถือพิณเข้าไปยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ไม่ไกลหรือใกล้เกินไป ดีดพิณ กล่าวคาถาเกี่ยวกับด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม
    <O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชมแก่ปัปัญจสิขบุตรคนธรรพ์ญจสิขบุตรคนธรรพ์ว่า เสียงพิณกับเสียงเพลงขับเข้ากันดี แล้วตรัสถามว่า คาถาอันเกี่ยวด้วยพระพุทธ เป็นต้นนี้ แต่งไว้แต่ครั้งไร ปัญจสิขบุตรคนธรรพ์กราบทูลว่า ตั้งแต่ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้นได้โอกาส ท้าวสักกะจึงเสด็จมาเฝ้าพร้อมด้วยหมู่ทวยเทพ เมื่อได้ตรัสสัมโมทนียกถาพอสมควรแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเปิดโอกาสให้ท้าวสักกะกราบทูลถามปัญหาหลายข้อหลายประการ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ครั้งพระองค์ทรงวิสัชชนาจบตามที่ทูลถามแล้ว ท้าวสักกะก็ทรงโสมนัส จากนั้นได้กล่าววาจาสุภาษิตอีกหลายประการ เมื่อลก่าวจบได้แตะพระหัตถ์ลงกับพื้นปฐพี แล้วทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า
    <O:p</O:p

    นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ<O:p</O:p


    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น<O:p</O:p
     
  12. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระเจ้าปเสนทิโกศล
    <O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ เชตวนาราม บุตรสุดที่รักคนหนึ่งของคฤหบดีได้ถึงแก่ความตาย ฝ่ายคฤหบดีเสียใจอาลัยจนสุดกำลัง ร้องไห้ พร่ำเพ้อ ไม่เป็นอันทำการงาน ไม่เป็นอันบริโภคอาหาร ไปสู่ป่าช้าคร่ำครวญถึงบุตรสุดที่รัก ต่อมาเขาได้ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถามทราบความแล้ว จึงตรัสสอนว่า ความเศร้าโศกร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ล้วนเกิดแต่ของที่รัก แต่คฤหบดีกล่าว่าความยินดี ความดีใจ ก็เกิดจากสิ่งที่เป้นที่รักด้วย (ทำนองคัดค้าน)
    <O:p</O:p
    ขณะนั้น นักเลงสกาหลายคนกำลังเล่นสกาอยู่ในที่ไม่ไกล คฤหบดีจึงเข้าไปหานักเลงสกเหล่านั้น เล่าความที่ตนกล่าวโต้ตอบกับพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกประการ นักเลงสกาก็เห็นด้วยว่า ความยินดี ความดีใจ เกิดจากสิ่งเป็นที่รัก คฤหบดีเห็นว่า ความเห็นของตนตรงกับนักเลงสกาก็จากไป เรื่องที่โต้ตอบกันนี้ได้กระฉ่อนไปถึงพระเจ้าปเสนทิโกศล ท้าวเธอทรงสนทนากับพระนางมัลลิกาถึงเรื่องนี้ เพื่อที่จะให้ทราบแน่ พระนางมัลลิกาจึงส่งนาฬิชังฆพราหมณ์ไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ก็ตรัสยืนยันว่า ความโศกเศร้าเป็นต้น เป็นของเกิดจากสิ่งเป็นที่รักจริง นาฬิชังฆพราหมณ์จึงได้กลับมากราบทูลพระนางมัลลิกา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ต่อมาพระนางมัลลิกาเข้าเฝ้าทูลอธิบายพุทธภาษิตนั้นโดยพิสดาร นำเอาสิ่งอันเป็นที่โปรดปรานของพระราชา เช่น พระนางวิชรกถมารีเป็นพระราชธิดา , นางวาสภขัตติยา , วิฑูฑภเสนาบดี , พระนางมัลลิกาเอง และแคว้นกาสีและโกศล มาทูลถามว่า ถ้าของอันเป็นที่รักแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป พระองค์จะโทมนัสบ้างไหม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท้าวเธอตรัวตอบว่า เราจะรู้สึกเป็นทุกข์อย่างใหญ่หลวงอุจชีวิตจะหามิได้ พระนางรีบตอบโยเร็วพลันว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า จริงอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบไว้มิใช่หรือว่า ทุกขโสมนัสทั้งปวงล้วนแต่เกิดจากของรักของชอบใจ ในที่สุดพระราชาก็ทรงยอมจำนน แล้วทรงระลึกถึงพระปรีชาญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เลิศล้ำไม่มีผู้ใดเทียบได้ ท้าวเธอทรงหลากพระทัยถึงกับลุกเด็จลุกขึ้นจากราชอาสน์ ทรงพากพระภูษาเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง แล้วทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า
    <O:p</O:p

    นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น

    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2009
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อารามทัณฑพราหมณ์
    <O></O>​

    อารามทัณฑพราหมณ์ เมื่อไปพบและถามปัญหากับพระมหากัจจานเถระ ถึงเหตุให้กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี ทะเลาะกันเองกับพวกของตน เพราะเหตุไร พระเถระตอบชี้ไปที่ความยึดในกามราคะ (ความกำหนัดหรือความติดในกาม) เมื่อถามถึงสมณะทะเลาะกันเองกับสมณะเพราะเหตุไร ก็ตอบว่า เพราะติดในทิฐิราคะ (ความติดในทิฐิความเห็น)
    <O></O>

    เมื่อถามว่า มีท่านผุ้ก้าวล่วงความยึดติดในกามราคะและทิฐิราคะหรือไม่ ก็ตอบว่ามี และชี้ให้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พราหมณ์นั้นมีความเลื่อมใส จึงลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉียงบ่า แล้วคุกเข่าน้อมอัญชลีไปทางทิศที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ และเปล่งอุทานนอบนอ้ม ๓ ครั้งว่า<O></O>
    <O></O>


    นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.736437/[/MUSIC]
    <O></O>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2009
  14. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นางธนัญชานี
    <O:p</O:p

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงแวะพัก ณ หมู่บ้านชื่อปัจจลกัปปะ ประทับที่ป่ามะม่วงของโตเทยยพราหมณ์
    <O:p</O:p
    ครั้งนั้น นางธรัญชานีเป็นโสดาบัน ที่เชื่อมั่นเลื่อมใสพระรัตนตรัย เมื่อไอ จาม หรือแม้สะดุดลื่นหกล้ม ก็ระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วเปล่งอุทานนอบน้อมว่า นโม พุทธัสสะ(ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า) ทุกครั้ง แต่สามีของนางชื่อภารทวาชะนับถือพราหรมณ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วันหนึ่ง สามีของนางประสงค์จะเลี้ยงอาหารแก่พราหมณ์ ๕๐๐ จึงขอร้องนางไม่ให้กล่าวว่า นโม พุทธัสสะ เพราะกลัวพราหมณ์จะโกรธ แต่นางไม่ยอมโดยกล่าวว่า “พ่อพราหมณ์ แม้เธอจะเชือดฉันเป็นชิ้นๆ ฉันก็จะไม่ยอมงดกล่าวคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐอย่างแน่นอน” ในที่สุดพราหมณ์ผู้เป็นสามีก็ยินยอมตามใจนาง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในวันเลี้ยงภัตตาหาร นางธนัญชานีได้เดินสะดุดล้ม ทำให้นางเจ็บปวดมาก จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วประนมมือเหนือศีราะ หันหน้าๆผทางวัดเชตวันเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า
    <O:p</O:p

    นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ<O:p</O:p


    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น
    <O:p</O:p

    ลำดับนั้น พราหมณ์ที่มาฉันภัตตาหารโกรธเคืองไม่พอใจแล้วลุกขึ้นกลับไป ฝ่ายพราหมณ์ภารทวาชะก็โกรธภรรยามาก และคิดว่าจะเอาชนะพระศาสดาของนางด้วยการประคารม จึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วทูลถามปัญหา เมื่อได้ฟังคำตอบแล้วก็บรรลุธรรม จากนั้นได้ทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาไม่นานนักก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สมัยนั้น สคารวมาณพซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเวททั้ง ๓ ได้ฟังว่า นางพราหมณีธนัญชานี กล่าวถ้อยคำอย่างนั้น ก็กล่าวว่า นางพราหมณีธนัญชานี เป็นผู้ตกต่ำล่มจม ทั้งๆ ที่มีพราหมณ์ผู้รู้ไตรเวท ก็ยังกล่าวคุณของสมณะศีรษะโล้น นางตอบว่า ถ้าท่านรู้ถึงศีลและปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะไม่สำคัญเห็นว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรด่า ควรบริภาษเลย สคารวมาณพคิดว่าจะเอาชนะศาสดาของนางด้วยการประคารม จึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วทูลถามว่า “พระโคดมเป็นพวกไหนของสมณพราหมณ์ที่ปฏิญญาถึงเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ว่า ตนรู้แจ้งในปัจจุบันอยู่จบพรหมจรรย์บรรลุถึงความเป้นผู้ถึงฝั่งอย่างสมบูรณ์”<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า “พระองค์ตรัสว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีต่างๆ กัน คือที่เป็นพวกฟังสืบๆ กันก็มี เช่น พวกพราหมณ์ที่รู้วิชชา ๓ (รู้ไตรเวท) , ที่ปฏิญญาถึงเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ด้วยเหตุตนเองในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนก็มี พระองค์อยู่ในพวกหลังนี้”
    <O:p</O:p
    ครั้นแล้วตรัสเล่าพระดำริตั้งแต่ยังมิได้เสด็จออกผนวช เห็นโทษของการครองเรือน แล้วเสด็จออกผนวชจนถึงบำเพ้ญทุกกรกิริยา แล้วทรงเลิกทุกกรกิริยา จนได้บำเพ็ญญาณและได้วิชชา ๓ ใน ๓ ยามแห่งราตรี มาณพได้ทูลถามถึงเรื่องเทวดาอีกเล็กน้อย เมื่อพระพุทธองค์ตรัสตอบแล้วก็ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาของพุทธองค์ แสดงตนเป็นอุบาสิกาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต<O:p</O:p
     
  15. Akitkung

    Akitkung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +648
    ตอนบวชมีพระอาจารย์ท่านหนึ่งที่วัดสุทัศน์แนะนำว่า ตอนกล่าวคำ นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” ให้ออกเสียง อักขระ ให้ถูกต้อง เนื่องด้วยเป็นพุทธานุภาพที่มากมายมหาศาล (ขออนุโมทนา ที่ได้นำมาเผยแพร่ให้ทราบโดยทั่ว ขอบคุณครับ)<O:p</O:p
     
  16. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    จุดประสงค์
    การตั้งบท นโมฯ ไว้เบื้องต้นพระคัมภีร์
    <O:p</O:p

    ปรากฏในคัมภีร์สารัตถสมุจจัย อัตกถาภาณวาร เล่ม ๑ หน้า ๓ ได้อธิบายจุดประสงค์ของการตั้งบทนโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะไว้เป็นเบื้องต้นคัมภัร์ว่า มีความมุ่งหมาย ๔ ประการ คือ
    <O:p</O:p
    ๑. เพื่อดำเนินตามวงศ์แห่งพระอริยเจ้าผู้ประเสริฐ<O:p</O:p
    ๒. เพื่อป้องกันอุปสรรคอันตราย<O:p</O:p
    ๓. เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์<O:p</O:p
    ๔. เพื่อให้ชีวิตนี้มีแก่นสาร
    ๑. เพื่อดำเนินตามวงศ์แห่งพระอริยเจ้าผู้ประเสริฐ<O:p</O:p
    ตามปกติของอริยะคือท่านผู้ประเสริฐ หรือย่างต่ำเพียงชั้นกัลยาณปุถุชน ท่านจะประกอบกิจกรรมอะไร ก็อดที่จะน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณไม่ได้ เพราะเห็นว่า เรื่องโลกวิทู คือผู้ทรงรู้แจ้งโลก ไม่มีใครแล้วที่จะยอดเยี่ยมยิ่งกว่าพระพุทธองค์
    <O:p</O:p
    ดังนั้น ก่อนอื่นที่จะทำคุณงามความดี ไม่ว่าเป็นการแสดงธรรม ฟังธรรม แต่งตำหรับตำราต่างๆ หรือประกอบกุศลพิธีกรรม เป็นต้น ก็จะต้องแสดงความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสียก่อนด้วยคำว่า นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต ...” เพื่อจะให้ผู้ปรีชาทราบชัดว่า ประพฤฒิอย่างนี้ ได้ชื่อว่าประพฤฒิตามประเพณีแห่งวงศ์พระอริยเจ้าผู้ประเสริฐ ภายหลังบุคคลผู้เป็นพุทธบริษัททั้งหลาย จึงได้ทำตามแบบประเพณีและได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์สืบๆ กันมา แม้บิดามารดาก็ได้สั่งสอนบุตรธิดาของตนๆ มาตราบเท่าทุกวันนี้
    <O:p</O:p
    ๒. เพื่อป้องกันอุปสรรคอันตราย<O:p</O:p
    การประกอบความดีทุก ๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทางคติโลกหรือคติธรรม เช่น แสดงพระธรรมเทศนา สวดมนต์ภาวนา หรือประกอบกุศลกรรมอื่นๆ ก็จะต้องเกิดอุปสรรคมาขัดขวางไม่มากก็น้อย ยิ่งงานนั้นมีความละเอียดอ่อน กว้างขวาง เป็นประโยชน์ส่วนรวมแก่สังคมมากเท่าไร ก็จะต้องมีสิ่งกีดขวางมากขึ้นเท่านั้น เพื่อป้องกันเสียซึ่งอุปสรรคอันตรายจากโรคภัยไข้เจ็บ ความสะดุ้งตกใจ ความฟุ้งซ่าน และให้สำเร็จกุศลที่ตนจะกระทำนั้น จึงต้องแสดงความนอบนอ้มแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสียก่อน ด้วยคำว่า นโม ตัสสะเมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเกิดความอุ่นใจ ในอันที่จะประกอบคุณความดีนั้นๆ สมดังพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
    <O:p</O:p
    “ ผู้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย จนมีจิตใจมั่นคงแล้ว เมื่อภัยมาถึง จะไม่มีความสะดุ้งตกใจ ขนพองสยองเกล้าและฟุ้งซ่าน ย่อมดำริว่า ถ้าวิบากกรรมแต่ชาติก่อนๆ ติดตามมาส่งผลแล้วไซร้ คุณพระรัตนตรัย ก็อาจป้องกันสรรพอันตรายได้เป็นมั่นคง แต่หากมีวิบากอันตรายมิให้ไปเสวยทุกข์ในอบายภูมิ ๔ ย่อมจะให้เสวยสุขสมบัติในสุคติภูมิอันยิ่งกว่านี้เป็นหมื่นเท่าแสนทวี ดำริเห็นฉะนี้ จึงมีสมาธิจิตมิได้ฟุ้งซ่านสะดุ้งตกใจ ถ้าไม่สะดุ้งตกใจแล้ว จะทำการสิ่งใดๆ ก็อาจสำเร็จได้สมความมุ่งมาดปรารถนา ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๓. เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์<O:p</O:p
    ผู้ระลึกถึงพระพุทธคุณด้วยความนอบน้อมว่า นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ อยู่เนือง ๆ ย่อมก่อให้เกิดศรัทธา (โอกัปปนศรัทธา = ศรัทธาที่ตั้งมั่น) ที่เป็นเหตุให้เกิดความปิติปราโมทย์ที่มีกำลังมากและความสงบสุขในขณะนั้น ครั้นเจริญสติตามรู้ความปิติปราโมทย์นั้นเป็นอารมณ์ด้วยการทำอย่างต่อเนื่องติดต่อกันไปจนเกิดวิปัสสนาญาณ เห็นการเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแห่งสังขาร เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้แล้ว ๆ เล่า ๆ วิปัสสนาญาณนั้น ก็จะถึงความแกล้วกล้าไปตามลำดับ จนกระทั้งเห็นญาณเห็นโทษเห็นภัย เห็นความเป็นของเน่าเปื่อยในสังขาร เมื่อสามารถเห็นได้อย่างนี้ ราคะ โทสะ โมหะ ที่ครอบงำจิตสันดานก็จักสงบระงับลง และบรรลุมรรคผลในที่สุด
    <O:p</O:p
    ในสมัยพุทธกาล คนส่วนใหญ่ที่บรรลุธรรมในขณะฟังธรรมจบ มักบรรลุได้ด้วยการกำหนดรู้ความปิติปราโมทย์ที่เกิดจากการระลึกถึงพุทธคุณบ้าง จากการเห็นพระพุทธลักษณะอันงดงามบ้าง จากการฟังพระสุรเสียงที่ไพเราะหรือความเข้าใจหลักธรรมอย่างถ่องแท้บ้าง จึงเกิดความปิติปราโมทย์ที่มีกำลังมาก ท่านเหล่านั้นกำหนดรู้สภาวธรรมนี้เป็นอารมณ์ ได้เกิดวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ จนกระทั่งบรรลุมรรคผลในที่สุด มีเรื่องการบรรลุธรรมด้วยการกำหนดรู้ความปิติปราโมทย์ที่เกิดจากการเจริญพระพุทธคุณในอังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ว่า
    <O:p</O:p
    “ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นจะไม่ถูกราคะครอบงำ ไม่ถูกโทสะเข้าครอบงำ ไม่ถูกโทสะเข้าครอบงำ เป็นจิตดำเนินไปโดยตรงแท้ ย่อมหลุดพ้นจากตัณหา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย คำว่าตัณหานี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ บุคคลบางคนในโลกนี้ เจริญพุทธานุสสตินี้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธ์หมดจด ”
    <O:p</O:p
    ๔. เพื่อให้ชีวิตนี้มีแก่นสาร<O:p</O:p
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระพุทะฎีกาโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาไว้ว่า ชนทั้งหลายที่ไดเกิดมาในวัฏฏสงสารนี้ จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่แท้เท่านั้น ต้องมีมนุสสธรรมคือกุศลธรรมบถ ๑๐ อันมีอยู่ในสันดานและต้องมีปัญญารู้คุณพระรัตนตรัย จึงจะชื่อว่ามีชีวิตเป็นแก่นสาร และการที่จะได้อัตตภาพเป็นมนุษย์มีคุณสมบัติครบทั้ง ๓๒ ประการนั้น จะเป็นได้แต่ละชาติ ๆ นั้นเป็นได้ยากแสนยาก
    <O:p</O:p
    ท่านแสดงอุปมาไว้ว่า เหมือนเต่าตาบอดทั้ง ๒ ข้างที่จมอยู่ในมหาสมุทร ร้อยปีจึงผุดโผล่ศีรษะสอดเข้าไปในช่องแอกซึ่งลอยไปมาด้วยแรงของคลื่นลม แม้เช่นนี้เต่าตาบอดนั้นก็ยังมีโอกาสที่จะสอดศีรษะของตนเข้าไปในช่องแอกนั้นได้บ้าง แต่การจะเกิดมาเป็นมนุษย์มีคุณสมบัติครบทั้ง ๒ ประการนั้นยากยิ่งกว่าเต่าตาบอดนั้นเสียอีก เพราะว่า พระรัตนตรัยนั้นหายาก ต่อเมื่อมีพระบรมโพธิสัตว์เจ้าบำเพ็ญพระบารมีนับหลายอสงไขยหลายกัป แล้วมาตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ และตรัสสอนนั่นแล จึงจะสามารถมีพระรัตนตรัยครบทั้ง ๓ ประการ ถ้ามิได้พบพระไตรสรคมณ์แล้ว ก็ไม่อาจมีปัญญารู้โลกุตตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ไม่อาจจะหยั่งรู้ว่า พระนิพพานธรรมนี้ คือ คุณแท้จริงของพระรัตนตรัย
    <O:p</O:p
    สมดังพระพุทธดำรัสว่า<O:p</O:p

    “ การได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นการยาก การมีชีวิตของเหล่าสัตว์ เป็นการยาก
    การได้ฟังพระสัทธรรม เป็นการยาก การอุบัติของพระพุทธเจ้า เป็นการยาก ”

    ในคัมภีรืวิสุทธิมรรค พระอรรถกถาจารย์ได้แสดงผลของการเจริญพุทธานุสติ (การระลึกถึงพระพุทธคุณ) ไว้ ๙ ประการ คือ
    <O:p</O:p
    ๑. ก่อให้เกิดความเคารพยำเกรงในพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๒. ก่อให้เกิดศรัทธา สติ ปัญญา และกุศลอย่างยิ่ง<O:p</O:p
    ๓. ก่อให้เกิดปิติปราโมทย์เป็นอันมาก<O:p</O:p
    ๔. ทำให้อดทนต่อความกลัว, ความตกใจ, และทุกข์ได้<O:p</O:p
    ๕. ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเหมือนได้อยู่กับพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๖. กายเป็นเหมือนเรือนเจดีย์ที่ควรบูชา<O:p</O:p
    ๗. จิตน้อมไปในพุทธภูมิ<O:p</O:p
    ๘. เมื่อพบสิ่งที่ควรละเมิด จะเกิดหิริโอตตัปปะดั่งได้เห็นพระพุทธเจ้าอยู่เบื้องหน้า<O:p</O:p
    ๙. จะไปเกิดในสุคติภูมิ ในเมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    <O:p</O:p<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2009
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    คุณบทมหานมัสการ ว่าด้วยอรรถรส
    <O:p</O:p

    บทมหานมัสการนี้ เพียบพร้อมด้วยศัพท์และอรรถ มีเสียงไพเราะเพราะพริ้งยิ่งนัก มีความวิจิตรพิสดารด้วยนัยะหลากหลาย มีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ผู้ที่เข้าใจบทมหานมัสการนี้ได้อย่างถ่องแท้ละเอียดลึกซึ้งนั้น จะต้องศึกษาไปตามแนวทางคัมภีร์สัททาวิเสส คือ กลุ่มคัมภีร์ฉันทลักษณ์ , กลุ่มคัมภีร์เกฎุภะ , กลุ่มคัมภีร์นิฆันฑุ และกลุ่มคัมภีร์ไวยากรณ์ เป็นต้น <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    บทมหานมัสการว่า นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต ... นี้มีเสียงไพเราะเสนาะโสต ลุ่มลึก เพราะประกอบด้วยคุณ กล่าวคือ สัททาลังการ (รสคำ) ๑๐ ประการ ได้แก่<O:p</O:p
    ๑. ปสาทคุณ (รสคำแจ่มกระจ่างชัดเจน)<O:p</O:p
    ๒. โอชคุณ (รสคำมีความซาบซึ้งตรึงใจ)<O:p</O:p
    ๓. มธุรตาคุณ (รสคำมีความอ่อนหวาน)<O:p</O:p
    ๔. สมตาคุณ (รสคำมีความสม่ำเสมอ)<O:p</O:p
    ๕. สุขุมาลตาคุณ (รสคำมีความนุ่มนวล)<O:p</O:p
    ๖. สิเลสคุณ (รสคำมีเสียงกลมกลืน)<O:p</O:p
    ๗. อุฑารตาคุณ (รสคำสง่างามด้วยคุณธรรม)<O:p</O:p
    ๘. กันติคุณ (รสคำมีความน่าพึงพอใจ)<O:p</O:p
    ๙. อัตถพยัตติคุณ (รสคำมีความหมายชัดเจน)<O:p</O:p
    ๑๐. สมาธิคุณ (รสคำกล่าวถึงสิ่งไม่มีจริงให้เหมือนมีจริง)<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    [​IMG]


    บทมหานมัสการ ประดับด้วยรสีอลังการ
    <O:p</O:p
    บทมหานมัสการนี้ ประดับด้วยรสีอลังงการ (อลังการมีอรรถรส) ประเภทสันตรส (รสสงบ) มีลักษณะสงบไม่หวั่นไหว มีองค์ประกอบเป็นเครื่องปรุงให้เกิดเป็นรสแก่ผู้สาธยาย และผู้ฟัง ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. สมฐายีภาวะ (อาการทางใจที่สงบ) คือ ผู้สาธยายและผู้ฟังบทมหานมัสการนี้ด้วยความนอบน้อมระลึกพุทธคุณ มีองค์ธรรมโดยตรงคือ มหากุศลจิตตุปบาทที่มีปณามเจตนาอันมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ย่อมก่อให้เกิดความสงบที่เรียกว่า กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งนามกาย) และจิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต) เจตสิกเหล่านี้ส่งผลให้นามกาย และจิตสงบไม่เร้าร้อน ทั้งยังส่งผลให้รูปกายสงบเย็นอีกด้วย
    <O:p</O:p
    ๒. อารัมมณวิภาวะ (อารมณ์ของความสงบ) คือ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระคุณทั้ง ๓ ประการเหล่านี้เป็นเหตุแห่งการกระทำความนอบน้อม
    <O:p</O:p
    ๓. พยภิจารีภาวะ (อาการปรากฏในบางขณะ) คือ ความพอใจในการเจริญพุทธคุณ (ธิติ) ความเข้าใจในการเจริญพุทธคุณ (มติ) ความรู้ตัวในขณะเจริญพุทธคุณ (อุสสุก) ความปลื้มใจแห่งจิตใจในการเจริญพุทธคุณ (หริสะ) เป็นต้น
    <O:p</O:p
    ๔. อนุภาวะ (ผลของความสงบ) การที่ใจของผู้สาธยายสรรเสริญนอบน้อมพระพุทธคุณแล้ว จะเกิดความปิติปราโมทย์ด้วยความดื่มด่ำในพระพุทธคุณ มีองค์ธรรมโดยตรงคือมหากุศลจิตตุปบาท ซึ่งมีลักษณะไม่มีโทษ และให้ผลเป็นความสุข ย่อมก่อให้เกิดอานิสงส์ ทั้งโลกียะ และโลกุตตระ
    <O:p</O:p
    สันตรส (รสสงบ) คือ ความสงบที่บังเกิดขึ้นในใจของผู้สาธยาย หรือผู้ฟังที่มีปณามเจตนา อันมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ จัดว่าเป็นผู้ป้องกันจิตจากความชั่ว เพราะเมื่อกุศลจิตเกิดขึ้นอยู่ อกุศลจิตย่อมเกิดร่วมกับกุศลจิตไม่ได้ เหมือนความมืดเกิดร่วมกับความสว่างไม่ได้ แม้บทมหานมัสการนี้ก็ได้ชื่อว่า สันตรส เพราะเป็นที่ตั้งแห่งรสนั้น<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 31.jpg
      31.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.8 KB
      เปิดดู:
      822
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2009
  18. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

    อนุโมทนา สาธูการ คุณ Akitkung เช่นกันค่ะ
    โดยส่วนตัว เมื่อได้รับทราบสรรพคุณ พุทธานุภาพจากบทมหานมัสการนี้ นับตั้งแต่ได้รับหนังสือเล่มนี้ มาจาก "ท่านมหาวัดแจ้ง" เมื่อปีกลาย

    เมื่อแรกนั้น คลางแคลงใจว่า คนเรา ๆ จะอุทานออกมาเช่นว่านั้นไปได้ไง ? ประหลาดแท้ ก็ต่อเมื่อ วันหนึ่ง เดินๆ อยู่แล้ว ฮัมบทนี้ขึ้นมา ก็ว่า เออหนอ ! เป็นไปได้ ๆ (ไม่บาปด้วยซิ )


    จึงอยากแบ่งปัน และหากกัลยาณมิตร ท่านใดมีดำรินำสาระความไปเผยแพร่ต่อ
    ขอได้โปรดอ้างอิงที่มาได้จากหนังสือนี้ ด้วยความเมตตากรุณาจาก"ท่านมหาวัดแจ้ง" ที่ได้อนุญาตให้นำมาเผยแพร่ นะคะ สาธูการค่ะ

    ภายในเล่มหนังสือ ประกอบรายละเอียดสาระสำคัญควรค่าแก่การศึกษา (ที่คัดย่อมานี้ เป็นเพียงสาระบางส่วนเท่านั้น) ท่านใดประสงค์เก็บรักษาเพื่อการศึกษา เรียนเชิญปรึกษา "ท่านมหาวัดแจ้ง"ได้เลยค่ะ หรือจะสนทนาเจริญธรรมกับท่าน ๆ เมตตาใจดีมากค่ะ :)

    ที่มาข้อมูล : หนังสือ "มหานมัสการ ฯ : มหาพลานุภาพที่คาดไม่ถึง" เรียบเรียงโดยท่านมหาวัดแจ้ง ( พระศรีศาสนวงศ์ , มีชัย วีระปัญโญ ป.ธ. ๙ M.P.A.) วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2009
  19. แมงปอแก้ว

    แมงปอแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    600
    ค่าพลัง:
    +139
    [​IMG]

    สาธุ .... ขออนุโมทนากับทุกข้อความ ที่มีสาระ
     
  20. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    อานิสงส์ บทมหานมัสการ
    <O:p</O:p

    การแสดงความเคารพนอบน้อมพระพุทธเจ้า ด้วยบทพระบาลีว่า นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะอันจัดเป็น พุทธานุสสติ ด้วยจิตที่ประกอบด้วยความศรัทธาเลื่อมใส จนเกิดความปิติปราโมทย์ด้วยความดื่มด่ำในพระพุทธคุณจัดเป็น กระแสห้วงบุญอันใหญ่หลวงที่ยังกิริยา

    การนอบน้อมให้สำเร็จเป็นไปทุก ๆ (ชวนจิต) ๗ ขณะตลอดหลายแสนโกฏิครั้ง กระแสบุญนั้นเป็นบุญไพศาลมีอานุภาพมาก มีอานิสงส์มาก เพราะเจริญในนาบุญอันสุงสุดคือพระพุทธเจ้า ย่อมส่งผลให้ผู้นอบน้อมบูชานั้น ได้รับผลทั้งในปัจจุบันและอนาคตทั้งที่เป็น โลกิยะ และ โลกุตตระ สมดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ในขุททนิกาย ธรรมบทว่า

    <O:p</O:p
    แม้มนุษย์ เทวดา พรหม ในลกนี้ ย่อมไม่อาจนับผลบุญของผู้นอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้สงบระงับปลอดภัยโดยประการทั่งปวง

    <O:p</O:p
    เธอจงเจริญพุทธานุสสติภาวนาที่ยอดเยี่ยมในภาวนาธรรม เพราะผู้เจริยพุทธานุสสติภาวนานี้ จะสมหวังดังมโนรถ ”<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...