17.Pai Mini Stories : Part 1 น้ำค้าง นครพิงค์

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 18 ธันวาคม 2009.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๑๗

    Pai Mini Stories : Part 1
    น้ำค้าง นครพิงค์



    เคยมีเพื่อนๆ ชวนสร้อยฟ้ามาลาไปเที่ยว ปาย หลายครั้งหลายหนแล้ว แต่ติดอะไรหลายๆ อย่างซึ่งยังไม่พร้อมที่จะไป และมาครั้งนี้ก็เลยตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน พอได้คุยกับเพื่อนๆ ที่ทำงานว่าวันหยุดนี้จะไปไหนถามกันไปถามกันมาปรากฏว่าไป ปาย กัน ซึ่งก็ตรงกันกับกลุ่มพี่ๆ ที่ทำงานอีก ๒ กลุ่มที่จะขึ้นเหนือไปจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและแม่ฮ่องสอน รวมความแล้ว เจอกันที่กรุงเทพยังไม่พอ จะไปเจอกันที่ภาคเหนืออีกเหรอ หนีไม่พ้นกันจริงๆ นี่แหละโลกกลม

    สร้อยฟ้ามาลาก็เลยชวนแมงปอแก้ว น้องสาวของแมงปอแก้ว แฟนของน้องสาวและหลานตัวน้อย รวมเป็น ๕ คน ขับรถเดินทางขึ้น ปาย กัน (ทีแรกจะไป ปางอุ๋ง ด้วยแต่วันหยุดยาวไม่พอเลยต้องงด)

    การไปเที่ยวครั้งนี้มีกำหนด ๔ วัน ๓ คืน เหตุที่อยากไป ปาย นั้น ได้ข่าวว่า เป็นเมืองเล็กๆ ที่มีธรรมชาติสวยงามผสมกับความโรแมนติคของอากาศหนาวในสายหมอกของลำน้ำปาย เลยอดไม่ได้ที่จะลองไปสัมผัสสักครั้ง แต่ก่อนที่จะถึง ปาย ก็จะแวะสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง จึงต้องตั้งกระทู้เป็นตอนๆ คือ

    Pai Mini Stories : Part 1 น้ำค้าง นครพิงค์
    Pai Mini Stories : Part 2 อิง ลำน้ำปาย
    Pai Mini Stories : Part 3 หนาวไม่คลาย ห้วยน้ำดัง
    Pai Mini Stories : Part 4 รฤกความหลัง พระราชชายา


    มาเริ่มตอนแรกกันเลยดีกว่า



    Pai Mini Stories : Part 1 น้ำค้าง นครพิงค์

    วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ วันรัฐธรรมนูญ เวลา ๐๔.๐๐ น. ล้อหมุน สัมภาระเต็มรถ เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ ๐๖.๓๐ น. ก็ขับรถไปเรื่อยๆ ช้าบ้างเป็นส่วนน้อย เร็วบ้างเป็นส่วนมาก ถึงจังหวัดลำปาง ตรงถนนช่วงอำเภอห้างฉัตรนี้อยู่ระหว่างการทำถนนใช้ความเร็วไม่ได้เลย และแล้วก็มาถึงจุดหมายแรกคือ


    a.jpg


    “วัดพระธาตุลำปางหลวง”
    ถึงเวลา ๑๐.๓๐ น. พอดี ในรายละเอียดของ วัดพระธาตุลำปางหลวง สร้อยฟ้ามาลาขออนุญาตไม่นำมาลง เพราะเคยนำมาลงแล้วไว้ในกระทู้ ทริปเหนือสุดแดนสยาม แต่จะขอลงความเป็นมาของราชวงศ์ “ทิพย์จักราธิวงศ์” ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ วัดพระธาตุลำปางหลวง และเมืองลำปาง


    a.jpg


    ระหว่างพุทธสักราช ๒๒๗๒- ๒๒๗๕ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ล้านนาเกิดการจลาจล รบราฆ่าฟันกันทั่วไปหาความสงบสุขมิได้ นครลำปางมีแต่พ่อเมืองควบคุมกันเองปล่อยให้สถานการณ์เสื่อมทรามลงเรื่อยๆ ทางนครลำพูนก็ฉวยโอกาสให้ท้าวมหายศซึ่งเป็นพม่าครองเมืองเป็นแม่ทัพคุมพลไปตีเมืองลำปางได้ พระอธิการวัดชมพูซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่นับถือของชาวลำปาง จึงคบคิดกับพ่อเมืองคิดกอบกู้บ้านเมืองกลับคืนมา

    a.jpg


    กลุ่มคนผู้คิดกู้ชาติพร้อมใจกันเลือก “หนานทิพย์จักรวเนจร” ราษฎรสามัญผู้มีสติปัญญาและกล้าหาญชาญชัยซึ่งเคยเป็น “หมอโพน” ช้างป่ามาก่อน จนชาวบ้านตั้งสมญานามว่า “หนานทิพย์ช้าง” ให้กับนายทัพ


    a.jpg

    หนานทิพย์ช้างนำไพร่พลออกรบกับท้าวมหายศซึ่งตั้งกองทัพอยู่ ณ วัดลำปางหลวง ได้ต่อสู้กันเป็นสามารถจนในที่สุดท้าวมหายศแตกพ่ายหนีไป เมื่อสิ้นหนามแผ่นดินแล้วชาวเมืองลำปางจึงสถาปนาหนานทิพย์ช้างขึ้นเป็น “พระยาสุลวะฤๅสงคราม” เป็นผู้ครองนครลำปางในปี พ.ศ.๒๒๗๕ ในฐานะเมืองเอกราช




    a.jpg

    หนานทิพย์จักรวเนจร หรือ พระยาสุลวะฤๅไชยสงคราม จึงตั้งราชวงศ์ของพระองค์ขึ้นมาเรียกราชวงศ์ว่า “ทิพย์จักราธิวงศ์”

    a.jpg

    พระยาสุลวะฤๅไชยสงคราม ครองเมืองลำปางได้ ๒๗ ปีก็ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.๒๓๐๒ เจ้าชายแก้ว บุตรชายของท่านได้ครองเมืองสืบต่อมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๓๐๗ อิทธิพลของพม่าก็แผ่ขยายเข้ามาครองภาคเหนือทั้งหมด คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอนโดยไม่มีผู้ใดสามารถต้านทานได้เลย

    a.jpg




    เมื่อนครลำปางตกอยู่ภายใต้การยึดครองแล้ว พม่าก็พาเจ้าชายแก้วเดินทางไปเฝ้าพระเจ้ากรุงอังวะ แล้วได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว” กลับมาดูแลบ้านเมืองลำปางซึ่งอยู่ในความปกครองของพม่าตามเดิม





    a.jpg

    ทางเมืองเชียงใหม่นั้นพม่าตั้ง พระยาจ่าบ้าน ขึ้นเป็นพ่อเมืองอยู่ในความควบคุมของพม่าชื่อ “โปมะยุง่วน” มีทหารพม่าตั้งประจำการอยู่ทุกหัวเมือง



    a.jpg


    เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่าในปี พ.ศ.๒๓๑๐ แล้วพระยาตากสินกู้อิสรภาพได้ และตั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแทนกรุงศรีอยุธยา


    a.jpg


    ทหารพม่าที่ประจำอยู่ที่เมืองลำปางข่มเหงรังแกราษฎร ทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ห้ามปรามอย่างไรก็ไม่ฟัง เจ้าฟ้าชายแก้วหมดปัญญาจึงเดินทางมารายงานให้โปมะยุง่วน หัวหน้าพวกพม่าซึ่งคุมอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ให้ทราบเพื่อแก้ไขสถานการณ์

    a.jpg


    พอดีระหว่างนั้นพม่ากำลังดำริจะยกทัพไปตีกรุงธนบุรี พระยาจ่าบ้าน เจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงคบคิดกับเจ้ากาวิละบุตรคนโตของเจ้าฟ้าชายแก้วก่อการกบฏต่อพม่า โดยออกอุบายรับอาสาโปมะยุง่วนจะนำไพร่พลลงเรือล่วงหน้าลงมาตามลำแม่น้ำปิง เป็นการตระเตรียมความสะดวกล่วงหน้าให้แก่กองทัพพม่าที่จะเคลื่อนพลตามไปทีหลัง


    a.jpg




    โปมะยุง่วนหลงเชื่อ พอทหารพม่ากองหน้าเคลื่อนมาถึงเมืองฮอดก็ถูกไพร่พลของพระยาจ่าบ้านซุ่มโจมตีฆ่าฟันล้มตายไปหมดทั้ง ๗๐ คน เมื่อสังหารทหารพม่าแล้ว พระยาจ่าบ้านก็รีบเดินทางลงไปเฝ้าพระเจ้าตากสินยังกรุงธนบุรี กราบบังคมทูลขอกองทัพมารบกับพม่า


    a.jpg

    พระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีกับเจ้าพระยาสุรสีห์ ทหารเสือ ๒ พี่น้องเป็นแม่ทัพคุมพลขึ้นมาถึงเมืองเถิน แล้วแบ่งกำลังออกเป็น ๒ กองทัพ ให้พระยาจ่าบ้านคุมพล ๕,๐๐๐ ยกไปยังเมืองเชียงใหม่ ส่วนทัพหลวงมุ่งเข้ายึดเมืองลำปาง

    a.jpg



    โปมะยุง่วนทราบเหตุร้าย จึงเรียกพลเท่าที่มีอยู่ออกสู้รบกับกำลังของพระยาจ่าบ้านอย่างถวายชีวิตที่สมรภูมิบ้านท่าวังตาล ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ จนพระยาจ่าบ้านปราชัยล่าถอยหนีไปรวมกำลังรอกองทัพหลวง

    a.jpg

    ฝ่ายเจ้ากาวิละกับน้องๆ ต่างก็เป็นห่วงเจ้าฟ้าชายแก้วพระบิดาซึ่งยังติดอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ไม่รู้จะช่วยเหลือได้อย่างไร ได้แต่มอบให้เจ้าคำสมผู้น้องคุมพลออกรับหน้าทัพหลวงจากกรุงธนบุรี ทำทีจะต่อสู้แต่ใจจริงจะตั้งใจสวามิภักดิ์


    พอกองกำลังของเจ้าคำสมเคลื่อนออกไปพ้นตัวเมืองลำปาง เจ้ากาวิละกับพวกก็ลงมือฆ่าพม่าในเมืองลำปางเป็นการใหญ่


    a.jpg




    ความทราบถึงโปมะยุง่วน หัวหน้าพม่าในเมืองเชียงใหม่เห็นท่าไม่ได้การจึงรีบจับตัวเจ้าฟ้าชายแก้วคุมขังไว้ก่อน พวกเจ้าน้องของเจ้ากาวิละออกอุบายนำเครื่องราชบรรณาการรีบไปให้โปมะยุง่วนพร้อมกับอ้างเหตุผลว่าที่เจ้ากาวิละฆ่าพม่าล้มตายนั้นก็เพราะเกิดสติวิปริตคลุ้มคลั่ง หาใช่จะคิดก่อกบฏไม่ จึงขอความกรุณาไว้ชีวิตพ่อสักครั้ง ทำให้โปมะยุง่วนเกิดลังเลใจจึงเพียงแต่ขังเจ้าฟ้าชายแก้วไว้เฉยๆ

    a.jpg



    เจ้ากาวิละกับน้องๆ เห็นเป็นโอกาสจึงคุมพลสมทบกับกองทัพหลวงรีบยกมาตีเมืองเชียงใหม่ พบกับกองกำลังของพระยาจ่าบ้านรออยู่ บุกเข้าตีเมืองเชียงใหม่เป็นสามารถจนพม่าแตกพ่ายหนีออกจากเมืองเชียงใหม่ จึงรีบปลดปล่อยเจ้าฟ้าชายแก้วออกจากที่คุมขัง เจ้าฟ้าชายแก้วกับบุตรทุกคนจึงขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของพระเจ้าตากสินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (พ.ศ.๒๓๑๗)


    หลังจากจัดการกับพม่าจนเรียบร้อยและกองทัพจากรุงธนบุรีก็เดินทางกลับแล้ว เจ้าฟ้าชายแก้วก็กลับคืนสู่เมืองลำปางและเนื่องจากท่านชรามากจึงแต่งตั้งเจ้ากาวิละขึ้นบริหารบ้านเมืองแทนส่วนทางเชียงใหม่ก็ให้พระยาจ่าบ้านเป็นพ่อเมืองสืบมา

    a.jpg



    ขณะกองทัพหลวงจะเคลื่อนพลจากลำปางกลับสู่พระนครนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ได้สู่ขอเจ้าหญิงศรีอโนชา น้องสาวของเจ้ากาวิละเป็นชายา เจ้าหญิงองค์นี้ต่อมาภายหลังเรียกกันว่า “เจ้าครองศรีอโนชา” เมื่อเจ้าพระยาสุรสีห์ได้เลื่อนอิสริยยศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทั้งสองพระองค์ก็มีพระธิดาด้วยกันองค์หนึ่ง คือ “เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง”


    พระยาจ่าบ้านไปราชการที่กรุงธนบุรี และไปถึงแก่อนิจกรรมเสียที่นั่นในปี พ.ศ.๒๓๒๓


    a.jpg



    อีก ๒ ปีต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ เจ้าพระยาจักรี เลื่อนอิสริยยศขึ้นเป็น เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ตั้งราชวงศ์จักรีครองกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็โปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้ากาวิละเป็น พระยาวชิรปราการ และให้ย้ายจากเมืองลำปางไปเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่


    ตั้งเจ้าคำสม น้องชายคนที่ ๒ ครองนครลำปางพร้อมกับตั้งเจ้าธรรมลังกา น้องชายคนที่ ๓ เป็นอุปราชเมืองเชียงใหม่ ตั้งเจ้าดวงทิพย์ น้องชายคนที่ ๔ เป็นอุปราชเมืองลำปาง ตั้งเจ้าหมูหล้า น้องชายคนที่ ๕ เป็นเจ้าราชวงศ์ลำปาง และตั้งเจ้าคำปัน น้องชายคนที่ ๖ เป็นเจ้าบุรีรัตน์ เชียงใหม่ ช่วยกันปกครองบ้านเมืองสืบต่อมา


    a.jpg



    เจ้าเมืองเชียงใหม่และเจ้าเมืองลำปางจึงอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน คือราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ รวมเรียกว่า “เจ้าเจ็ดตน” หรือแปดคนรวมทั้งเจ้าหญิงศรีอโนชา ธิดาองค์เดียวของเจ้าฟ้าชายแก้ว


    พ.ศ.๒๓๒๕ วันต้นๆ ของยุครัตนโกสินทร์ พระยาวชิรปราการ(เจ้ากาวิละ) ได้ย้ายขากลำปางมาครองเมืองเชียงใหม่ซึ่งครั้งนั้นยังตั้งอยู่เป็นการชั่วคราวที่เวียงป่าซาง(อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ในปัจจุบัน) เพราะในเมืองเชียงใหม่จริงๆ นั้นรกร้างว่างเปล่า มีผู้คนพลเมืองน้อยมาก พ่อเมืองจึงกวาดต้อนราษฎรตามเมืองน้อยใหญ่ที่รายล้อมอยู่เข้ามาสมทบ พอได้รี้พลมากก็โยกย้ายมาตั้งอยู่ในกำแพงเมืองเชียงใหม่ ณ วันที่ ๑ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ.๒๓๓๙ เป็นต้นมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ราวเวลาที่ตั้งเมืองเชียงใหม่อยู่ที่เวียงป่าซางนาน ๑๔ ปีเศษ


    a.jpg



    พอโยกย้ายเข้ามาอยู่ในกำแพงเมืองนครเชียงใหม่ได้เพียงเดือนเศษๆ ทางพม่าก็ยกทัพ ๙๐,๐๐๐ มารุกรานอีก พระยาวชิรปราการได้ทำการต่อสู้เป็นสามารถจนพม่าต้องล่าถอยไป แล้วก็ย้อนกลับมารบกวนอีกเห็นจะรักษาไว้ได้ยากจึงขอกำลังไปยังกรุงเทพฯ การไปขอกำลังคราวนั้นได้พวกเชลยพม่าที่จับตัวไว้ได้ไปถวายด้วย



    พักเรื่องราวไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวมาเล่าความเรื่องลำปาง เชียงใหม่ต่อ.......


    .....................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9729_2a.jpg
      IMG_9729_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      174.3 KB
      เปิดดู:
      3,828
    • IMG_9733_2a.jpg
      IMG_9733_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.2 KB
      เปิดดู:
      3,290
    • IMG_9735_2a.jpg
      IMG_9735_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      202.1 KB
      เปิดดู:
      2,996
    • IMG_9744_2a.jpg
      IMG_9744_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      216.4 KB
      เปิดดู:
      3,187
    • IMG_9751_2a.jpg
      IMG_9751_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      170.7 KB
      เปิดดู:
      3,490
    • IMG_9754_2a.jpg
      IMG_9754_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      185.4 KB
      เปิดดู:
      3,004
    • IMG_9756_2a.jpg
      IMG_9756_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      199.2 KB
      เปิดดู:
      3,087
    • IMG_9757_2a.jpg
      IMG_9757_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.1 KB
      เปิดดู:
      3,206
    • IMG_9760_2a.jpg
      IMG_9760_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      188.5 KB
      เปิดดู:
      2,809
    • IMG_9765_2a.jpg
      IMG_9765_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      219.7 KB
      เปิดดู:
      2,273
    • IMG_9769_2a.jpg
      IMG_9769_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      242.3 KB
      เปิดดู:
      3,117
    • IMG_9770_2a.jpg
      IMG_9770_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      240.7 KB
      เปิดดู:
      3,701
    • IMG_9779_2a.jpg
      IMG_9779_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      204.4 KB
      เปิดดู:
      2,831
    • IMG_9783_2a.jpg
      IMG_9783_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      207.2 KB
      เปิดดู:
      3,803
    • IMG_9784_2a.jpg
      IMG_9784_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      249 KB
      เปิดดู:
      2,426
    • IMG_9786_2a.jpg
      IMG_9786_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      254.8 KB
      เปิดดู:
      3,444
    • IMG_9794_2a.jpg
      IMG_9794_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      222.7 KB
      เปิดดู:
      2,745
    • IMG_9795_2a.jpg
      IMG_9795_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      281.1 KB
      เปิดดู:
      2,480
    • IMG_9796_2a.jpg
      IMG_9796_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      203.9 KB
      เปิดดู:
      3,846
    • IMG_9800_2a.jpg
      IMG_9800_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      222.6 KB
      เปิดดู:
      2,945
    • IMG_9802_2a.jpg
      IMG_9802_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      260.1 KB
      เปิดดู:
      3,296
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ออกจาก วัดพระธาตุลำปางหลวง ประมาณ ๑๒.๓๐ น. สถานที่ต่อไปก็คือ พระราชานุสาวรีย์ พระนางจามเทวี จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ติดกับจังหวัดลำปางและเป็นเส้นทางผ่านไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ไหนๆ ก็มาถึงนี่แล้วไม่แวะไม่ได้ ตั้งใจว่าจะมาไหว้สักครั้งก็ยังดี ถึงจังหวัดลำพูนประมาณบ่ายโมงเศษ....

    พระนางจามเทวี


    a.jpg


    เชื่อกันว่าเป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิราช แห่งกรุงละโว้(ลพบุรี) ปีประสูติ ระยะเวลาครองราชย์ และปีสวรรคตของพระนางจามเทวี มีผู้บันทึกหรือวิเคราะห์ไว้ต่างกัน เช่น
    ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๗ ปี
    นายมานิต วัลลิโภดม สอบค้นว่าประสูติ เมื่อพ.ศ. ๑๑๖๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๑๗ ปี สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๒๕๘ พระชันษาได้ ๙๒ ปี



    ตำนานฉบับที่นายสุทธวารี สุวรรณภาชน์ แปลและเรียบเรียง คือ ประสูติ พ.ศ. ๑๑๗๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๒ สละราชสมบัติพ.ศ. ๑๒๓๑ และสวรรคต พ.ศ. ๑๒๗๔ เป็นต้น


    พระนางจามเทวีเป็นผู้มีพระรูปโฉมงดงาม เป็นเบญจกัลยานี มีศีล และมีความสามารถ ทรงอยู่ในฐานะหม้าย เนื่องจากพระสวามี ซึ่งอยู่ในพงศาวดารเมืองหริภุญชัย ว่าเป็นเจ้าประเทศราชในเมืองรามัญ ตรงกับตำนานมูลศาสนาว่า คือเมืองรา หรือ เมืองรามได้มีศรัทธาบรรพชาเป็นเพศบรรพชิต พระเจ้าจักรพรรดิราชพระราชบิดา ทรงมีราชานุญาตให้พระนางจามเทวีซึ่งมีครรภ์ได้ ๓ เดือน เดินทางไปครองเมืองหริภุญชัย ตามคำเชิญของสุกกทันตฤาษี และวาสุเทพฤาษี ผู้ส่งนายคะวะยะเป็นทูตมาเชิญ


    พระนางจามเทวีได้นำพระสงฆ์ สมณะชีพราหมณ์ พ่อค้าวาณิช ช่างต่างๆ อย่างละ ๕๐๐ ประมาณกว่า ๗,๐๐๐ คน เดินทางโดยทางน้ำปิง (พิงค์) อย่างช้าๆ ตั้งเมืองเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดเส้นทาง ใช้เวลาเดินทาง ๗ เดือน จึงเดินทางมาถึงเมืองหริภุญชัย เมื่อเสด็จมาถึงได้ ๗ วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝดชื่อ มหันตยศ และ อนันตยศ ต่อมาทรงได้เศวตไอยราเป็น คู่บารมีสีกายเผือกดั่งเงินยวงเรียกว่า ผู้ก่ำงาเขียว (ช้างเผือกงาเนียมหรือช้างเผือกงาดำ) จากเชิงดอยอ่างสลง (อ่างสรง) ในเขาลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพระโอรสมีพระชนม์ ๗ พรรษา พระนางจามเทวีได้สละราชสมบัติอภิเษกให้มหันตยศ ครองเมืองหริภุญชัย ส่วนอนันตยศ พระนางจามเทวีได้ให้นำผู้คนพลเมืองไปตั้งเมืองเขลางค์นครหรือลำปางในปัจจุบัน นับเป็นการขยายอาณาจักร และพุทธจักร ให้กว้างไกลออกไป ส่วนพระนางได้นุ่งขาวห่มขาว สมาทานเบญจศีล จนถึงวันสิ้นพระชนม์ ดังตำนานมูลศาสนาได้กล่าวว่าพระนางทรงสมาทานเบญจศีลอยู่เสมอทุกวันมิได้ขาดในอุดมการณ์ทางด้านศาสนา ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี ในการปฏิบัติธรรมให้เสนาอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนถือปฏิบัติเป็นอย่างดี ที่สำคัญยิ่งทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองวัฒนาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้ทรงสร้างจตุรพุทธปราการเป็นพระอารามประจำจตุรทิศแห่งพระนคร เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพรปราศจากภัยภิบัติต่างๆ ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดสี่มุมเมือง ดังนี้


    อาพัทธาราม ปัจจุบันคือ วัดพระคง เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศเหนือ
    อรัญญิกรัมมการาม ปัจจุบันเป็น วัดร้างดอนแก้ว ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านเวียงยองเป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันออก
    มหาสัตตาราม ปัจจุบันคือ วัดสังฆาราม (ประตูลี้) เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศใต้
    มหาวนาราม ปัจจุบันคือ วัดมหาวัน เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันตก



    พระนางจามเทวีได้ทรงใช้กุศโลบายที่หลากหลายรูปแบบในการต่อสู้และชักจูงพวกละว้าให้หันมานับถือศาสนาพุทธโดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้กับหัวหน้าเผ่าละว้า ขุนหลวงวิลังคะ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของช้างผู้ก่ำงาเขียว ได้ขับไล่ข้าศึกละว้าหนีกระจัดกระจายไปอยู่ตามป่าเขา นอกจากนี้ทรงใช้กุศโลบายในการผสมกลมกลืนชาติพันธุ์กับท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม โดยการให้พระราชโอรสทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกับธิดาสองคนของพญามิลักขะและได้สู่ขอธิดาสองคนของนายคะวะยะ ให้กับพระราชโอรสด้วย ถือได้ว่าทำให้ชนชาวละโว้และชนพื้นเมืองอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถเผยแพร่อุดมการณ์ทางศาสนาเข้าสู่ชนพื่นเมืองได้อย่างรวดเร็ว และได้ใช้กุศโลบายทางสันติธรรมและเมตตาธรรมเข้าต่อสู้จนชนะที่สุดโดยมีบางส่วนได้เข้ามา สวามิภักดิ์หันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาทำให้มีการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ สังคมเกิดความสงบสุขและพุทธศาสนาเจริญอย่างมั่นคงในอาณาจักรหริภุญชัยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    a.jpg



    ในตำนานเมืองเหนือเล่าว่า ก่อนสมัย ๑๒๐๐ ปี มีกษัตริย์องค์หนึ่งครองเมืองลำพูน มีนิสัยโลเล มิอยู่ใน ทศพิธราชธรรม เสวยแต่น้ำจันทร์มัวเมาด้วยอิสสตรี ไม่มีศีลธรรม ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหง เสนาข้าราชการบริพาสล้วนแต่ประจบสอพลอ เทพยดารักษาเมืองก็พิโรธ ก็เกิดโรคภัยพลเมืองล้มตายและแล้วพระพิรุณก็กระหน่ำ จึงมีอุทกภัยเกิดขึ้น น้ำนองท่วมท้น มนุษย์และสัตว์หนีมิทันล้มตายไปกับแม่น้ำคงคา ครั้งเมื่อน้ำลดลงแล้วเมืองหริภุญชัยก็เป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว สาเหตุที่ทำให้เมืองลำพูนร้าง น้ำท่วมตาย เพราะเจ้าเมืององค์นี้ได้มีแม่หม้ายไปร้องทุกข์กล่าวหาว่าลูกได้ตีแม่จึงนำความไปฟ้องเจ้าเมืองเพื่อให้ตัดสินคดีที่ลูกตีแม่ครั้งนี้ เจ้าเมืองฟังแล้วกลับตรัสตอบว่า เด็งดัง เพราะลูก “เพราะฉะนั้นการที่ลูกตีแม่จึงไม่มีความผิดใดๆ” ทำให้แม่หม้ายคนนั้นเสียอกเสียใจอย่างมาก จึงนั่งลงกราบแม่ธรณี อธิษฐานสาปแช่งเจ้าเมืองให้มีอันเป็นไป ในทันใดนั้นดินฟ้าอากาศก็เกิดวิปริตเกิดน้ำท่วมบ้านเมืองอย่างฉับพลัน ราษฎรจมน้ำตายเจ้าเมืองก็ตายตามไปด้วย คงเหลือแต่คนมีบุญมีศีลธรรม คนใจบาปหยาบช้าถูกน้ำพลัดจมน้ำตายหมด บ้านเมืองก็ว่างเปล่าไม่มีผู้นำมาเป็นเวลานานปี ต่อมาพระฤๅษีรำพึงแล้วก็คิดว่าเราจะปล่อยประละเลยไม่แก้ไขเห็นทีชาวเมืองลำพูนทั้งมวลจะระส่ำระส่าย จึงได้เชิญฤๅษีผู้น้องทั้งสาม อาทิเช่น พระฤๅษีสุกกทันต ผู้อยู่นครละโว้ และเชิญฤๅษีจากทิศต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๑๐๐ ตน โดยท่านสุเทพฤๅษีเป็นประธาน ช่วยกันสร้างนครขึ้นใหม่เริ่มแต่เวลา ๙.๐๐ นาฬิกาของวันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ปีขาล พุทธศักราช ๑๑๙๘ มวลประชาราษฎร์ที่หนีอุทกภัยก็ให้มาร่วมกันสร้างเมืองใหม่ จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อปีพุทธศักราช ๑๒๐๓ พระฤๅษีก็ให้นามเมืองใหม่นี้ว่า “นครหริภุญชัย” ในบรรดาพระฤๅษีก็ปรึกษากันว่าจะหาใครผู้ใดมาเป็นเจ้าเมืองเพื่อปกครองประชาราษฏร์ให้อยู่ดีมีสุขต่อไป ในที่สุดท่านฤๅษีสุเทพก็นึกถึงบุตรีบุญธรรม“อาหญิงวี” ของพ่อ ซึ่งท่านได้ทราบแล้วว่าได้ทรงเป็นราชินีแห่งละโว้ จึงได้ปรึกษากับท่านฤๅษีผู้น้องทั้งสามที่จะเอาพระนางจามเทวีมาครองเมืองลำพูน ทุกคนต่างเห็นดีเห็นชอบกันทั้งนั้น ครั้นในวันต่อมาท่านฤๅษีสุเทพจึงมอบสาส์นให้นายคะวะยะ คือ" นายควายนำไปให้พระเจ้าอยู่หัวนครละโว้ ๑ ฉบับ และทูลพระราชินีเป็นส่วนพระองค์ ๑ ฉบับ เมื่อละโว้ได้รับข่าวสารจากพระฤๅษี ได้พิจารณากันอยู่เป็นเวลานานพอควรครั้นจะปฏิเสธอย่างไรก็ไม่ได้ มีแต่คิดๆๆ เนื่องจากเมืองลำพูนเดือดร้อนแสนสาหัส ราษฎรขาดผู้นำพระนางก็มานึกถึงพระคุณของพระฤๅษีผู้เป็นบิดาเลี้ยงมาก่อน ทางหมู่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ทั้งปวงแห่งนครละโว้ได้รับทราบเรื่องราวก็พากันมาฟังข้อตกลงกันล้นหลามอยู่ภายนอกพระราชวัง ต่างก็มีความอาลัยรักพระนางอย่างยิ่งที่จะต้องอำลาจากกรุงละโว้ไปครองเมืองหริภุญชัยตามคำขอของพระฤๅษี ในที่สุดทางกรุงละโว้ก็ตกลงให้พระนางจามเทวีขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ก่อนจะออกเดินทางพระนางจามเทีได้เอานักปราชญ์บัณฑิตและพระสงฆ์เป็นจำนวนอย่างละ ๕๐๐ มีวัตถุที่สำคัญที่นำมาครั้งนั้นก็คือ พระแก้วขาว ๑ องค์ เวลานี้ประจำอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับพระรอดหลวงก็มีประจำอยู่ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ฝีมือทำได้สวยงามมาก พระนางจามเทวีเดินทางจากกรุงละโว้ถึงเมืองหริภุญชัยเป็นเวลานาน ๗ เดือน เวลานั้นพระนางมีครรภ์ได้ ๓ เดือน เมื่อมาถึงวันเดือนปีพุทธศักราช ๑๒๐๖ พระนางจามเทวีก็ขึ้นครองราชย์ปกครองชาวเมืองหริภุญชัย ขณะที่ขึ้นครองราชย์ได้ ๗ วัน พระนางจามเทวีก็ประสูติพระโอรส ๒ องค์ ในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นฝาแฝด จึงให้นามว่า “มหันตยศ และ อนันตยศ” ต่อมาพระนางจามเทวีได้ส่งพระราชโอรสองค์เล็กคือ อนันตยศ ไปสร้างเมืองนครลำปาง ส่วนพระมหันตยศ ผู้เป็นพี่ให้สืบราชสมบัติที่เมืองลำพูน พระนางจามเทวีมีช้างผู้ก่ำงาเขียวคู่บารมี เวลานี้อัฐิของช้างคู่บารมีของพระนามจามเทวีบรรจุไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้โรงเรียนจักรคำคณาทรฯ พระนางจามเทวีครองราชสมบัติอยู่ ๕๒ ปี จึงสวรรคต รวมพระชนมายุได้ ๙๒ ปี อัฐิของพระนามจามเทวีบรรจุไว้ที่วัดกู่กุด ซึ่งเป็นวัดคู่บารมีของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ ๑๓ เมืองหริภุญชัยมีพระนางจามเทวีเป็นกษัตริย์องค์แรกปกครอง สืบๆ กันมามาจนถึง ๔๙ พระองค์ มีพระยายีบาเป็นองค์สุดท้าย รวมอายุเมือง ๖๑๘ ปี พระยายีบาก็ได้เสียงเมืองให้แก่พระยาเม็งรายเมื่อจุลศักราช ๖๔๓ (พุทธศักราช ๑๘๒๔) ปีมะโรง เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ สาเหตุที่ต้องเสียเมืองหริภุญชัยครั้งนี้เนื่องจากพระยายีบาไปหลงเชื่อขุนฟ้าเพราะความประจบสอพลอ จึงทำให้ชาวเมืองลำพูนต้องเดือนร้อนพากันจงเกลียดพระองค์อย่างมาก จึงเป็นเหตุให้พระยาเม็งรายเข้ายึดเมืองหริภุญชัยได้อย่างง่ายดาย เมื่อพระยายีบาหนีออกเมืองไปถึงดอยกลางป่าก็คิดนึกได้ที่เสียรู้ขุนฟ้าเป็นไส้ศึกให้พระยาเม็งรายก็เสียใจหลั่งน้ำตาร้องไห้ สถานที่น้ำตาตกนี้จึงมีชื่อว่า “ดอยพระยายีบาร้องไห้” มาจนทุกวันนี้


    หลวงมิลังคะหลงเสน่ห์งามจามเทวี
    ขอย้อนกล่าวถึงแม่หม้ายงามพระนางจามเทวีกับหลวงมิลังคะ ที่ทำให้หลวงมิลังคะหลงเสน่ห์ความงามพระนางจามเทวีจนไม่รู้จะกินจะนอน แม้จะหลับจะนอนจะตื่นขึ้นก็ยังฝันถึงเสมอ จึงได้แต่งทูตมาสู่ขอพระนางจามเทวีแต่พระนางจามเทวีไม่สนพระทัยจึงไม่ให้คำตอบใดๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นเหตุให้หลวงมิลังคะเกิดโทสะยกไพร่พลมาประชิดเมือง เวลานั้นพระนางคิดว่าขืนสู้รบกับหลวงมิลังคะบ้านเมืองคงพังแน่ จึงต้องออกอุบายกับหลวงมิลังคะว่า ถ้าหลวงมิลังคะพุ่งเสน้า (ธนู) จากดอยสุเทพ เชียงใหม่ มาตกกลางเมืองลำพูนก็จะยอมแต่งงานตามสัญญาคำมั่น ทันใดนั้นหลวงมิลังคะก็ดีอกดีใจมีความหวังจะได้แต่งงานกับพระนางจามเทวี ๑๐๐ จะได้พระนางจามเทวีมาเป็นคู่ครอง จึงถือธนูขึ้นไปสู่บนดอยสุเทพ แล้วก็นึกถึงคาถาอาคมเสร็จเรียบร้อยก็ได้พุ่งเสน้าจากบนดอยสุเทพมาตกที่นอกเมืองทิศตะวันตกห่างจากกำแพงเมืองไม่กี่วา สถานที่เสน้าตกปัจจุบันนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า “หนองเสน้า” เมื่อพระนางเห็นฤทธิ์เดชจึงหวั่นกลัวยิ่งนัก ถ้าหากให้มีการพุ่งเสน้าเป็นครั้งที่ ๒-๓ คงจะต้องมาตกกลางเมืองแน่ พระนางจามเทวีจึงออกกลอุบายแก้มนต์คาถาของหลวงมิลังคะ โดยเอาผ้าถุงชั้นใน (ซิ่นใน) เย็บเป็นหมวกจัดส่งไปให้หลวงมิลังคะสวมใส่ เมื่อหลวงมิลังคะได้รับของฝากก็ดีใจเป็นที่สุดแล้วก็สวมใส่พร้อมกับพุ่งเสน้าเป็นครั้งที่ ๒-๓ เสน้าที่พุ่งกลับตกห่างจากตัวเมืองหลายเท่า หลวงมิลังคะเสียรู้หมดกำลังใจที่จะพุ่งเสน้าอีกต่อไป ความหวังที่จะได้พระนางมาครองก็หมดสิ้นไป ส่วนหลวงมิลังคะก็หาความงามมิได้เลย ต่อมาทั้งสองตระกูลได้ก็ได้ผูกพันกันทางสายลูกฯ



    พระลบหรือพระนักรบ
    ขอกล่าวถึง “พระลบ” สักเล็กน้อยเพื่อเป็นข้อคิด “พระลบ” เป็นพระที่สร้างแปลกประหลาดกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ในบรรดาพระพิมพ์ทั้งหลายของเมืองลำพูน พระนางจามเทวีเป็นกษัตริย์องค์แรกของเมืองลำพูนเป็นผู้จัดสร้าง ได้บรรจุไว้ที่กรุหนองเสน้านอกเมืองลำพูน ใกล้กับบริเวณที่หลวงมิลังคะพุ่งเสน้ามาตก สาเหตุก็มาจากต้องการพระนางจามเทวีเป็นพระมเหสี แต่มาพ่ายแพ้กลอุบายพระนางจามเทวี แม้แต่พระโอรสกษัตริย์พม่าก็มาหลงเสน่ห์งามจามเทวีได้ยกทัพมาตีกรุงละโว้ (ลพบุรี) ในที่สุดพระโอรสพม่าก็แพ้สงครามตายเพราะความรัก “พระลบ” บางคนก็เรียกว่า “พระมหาเสน่ห์นิยม” บางคนก็เรียกว่า “พระนักรบ” พระลบเวลานี้หาได้ยากมาก การสร้าง “พระลบ” ของพระนางจามเทวีก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ฝากไว้กับชาวลำพูน “พระลบ” จึงแปลกกว่าพระพิมพ์อื่นๆ “พระลบ” ไม่มีจุดเด่นทางด้านความสวยงามขององค์พระ หมายถึงพระไม่งาม รายละเอียดแทบจะไม่มี ความลึกและคมชัดไม่มีเลย แต่มีหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ใหญ่ฐานสามชั้น พระลบพิมพ์เล็กฐานเดียว พระลบพิมพ์สามง่าม (เขาเรียกพระลบตัวขอม) พระลบพิมพ์ตุ๊กตา พระลบพิมพ์พระรอด ส่วนเนื้อพระลบแปลกสะดุดตามาก เนื้อดูหยาบ แต่แกร่งมากที่สุด สีของเนื้อพระลบแดงเข้มจัด สีคล้ายว่านแบบหนึ่งที่แดงจัด หรือคล้ายเนื้อหินศิลาแลง เนื้อมีส่วนผสมที่ไม่มีพระใดเหมือนพระลบ จึงมีชื่อเรียกกันว่า “พระนักรบ” หรือ “พระนักรัก” เพราะพระนาง จามเทวีเป็นทั้งนักรบและเป็นที่รักของคนทั่วไป ใครผู้ใดมีพระลบไว้ก็เท่ากับมีพระพิมพ์นางพญา พิษณุโลก



    สรุปตำนานพระนางจามเทวี หริภุญชัยผสมละโว้
    พระนางจามเทวี ประสูติที่บ้านหนองดู่ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้ไปเป็นราชธิดาราชวงศ์ปฐมกษัตริย์ลพบุรี ตำนานเมืองลพบุรีกล่าวว่า พระยากาฬวรรณดิส เป็นต้นกษัตริย์เมืองลพบุรี เดิมเป็นกษัตริย์อยู่ที่จังหวัดตาก ได้ให้พราหมณ์ในสำนักไปสร้างเมืองลพบุรี เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงได้ย้ายไปครองราชย์ เมื่อปีพุทธศักราช ๑๐๑๒ หลังจากพระยากาฬวรรณดิสสวรรคตแล้ว รัชทายาทของพระองค์คือ พระยาพาลีราช ได้ครองเมืองลพบุรีแทน ทำให้อาณาจักรเมืองลพบุรีแผ่ไปไกลมาก เมื่อปีพุทธศักราช ๑๒๐๕ พระเจ้ากรุงละโว้จึงได้ให้พระนางจามเทวี ราชธิดาไปครองเมืองหริภุญชัยตามคำเชิญของชาวเมืองหริภุญชัยฯ



    และมีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๒๐๓ พระฤๅษีวาสุเทพได้ร่วมกับพระสหายสร้างเมืองหริภุญชัย คล้ายรูปเปลือกหอย เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระฤๅษีวาสุเทพจึงได้ให้นายคะวะยะนำสาส์นมาเชิญพระนางจามเทวีและพระเจ้ากรุงละโว้ เพื่อขอพระนางจามเทวีไปปกครองเมืองหริภุญชัย พระนางจามเทวีได้เสด็จจากเมืองละโว้ ปีพุทธศักราช ๑๒๐๕ เป็นเวลานาน ๗ เดือนมาถึงเมืองหริภุญชัย ปีพุทธศักราช ๑๒๐๖ พระฤๅษีและชาวเมืองหริภุญชัยก็ได้ทำพิธีอัญเชิญพระนางจามเทวีขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์แรก ปรากฎว่ามีพระมหากษัตริย์สืบราชวงศ์มาถึงพระยายีบา จำนวน ๔๙ พระองค์ พระยายีบาเป็นองค์สุดท้าย รวมราชวงศ์พระนางจามเทวีครองเมืองลำพูนได้นาน ๖๑๘ ปี สิ้นสุดราชวงศ์ ปีพุทธศักราช ๑๘๒๔

    a.jpg


    รายนามกษัตริย์ ครองเมืองลำพูนหริภุญชัย
    ตามที่ได้ค้นคว้าจากตำนานต่างๆ เรียงตามลำดับดังนี้
    ๑. พระนางจามเทวี เป็นปฐมกษัตริย์
    ๒. พระมหันตยศ พระโอรสองค์ที่ ๑ ครองเมืองลำพูน
    พระอนันตยศ พระโอรสองค์ที่ ๒ ครองเมืองลำปาง
    ๓. พระยากูมัญญาราช
    ๔. พระยาสุทันตะ
    ๕. พระยาสุวรรณมัญชุ
    ๖. พระยาสังสาระ
    ๗. พระยาปทุมราช
    ๘. พระยากุลเทวะ
    ๙. พระยาธรรมมิกราช
    ๑๐. พระยามิลักขะมหาราช
    ๑๑. พระยาโนการาช
    ๑๒. พระยาพาลราช
    ๑๓. พระยากุตตะราช
    ๑๔. พระยาเสละราช
    ๑๕. พระยาอุตตราช
    ๑๖. พระยาโยจะราช
    ๑๗. พระพรหมมทัตราช
    ๑๘. พระยามุกขะราช
    ๑๙. พระยาตระ
    ๒๐. พระยาโยวราช
    ๒๑. พระยากมะละราช
    ๒๒. พระยาจุเลระ
    ๒๓. พระยาพินไตย
    ๒๔. พระยาสุเทวราช
    ๒๕. พระยาเตโว
    ๒๖. พระยาไชยะละราช
    ๒๗. พระยาเสละ
    ๒๘. พระยาตาญะราช
    ๒๙. พระยาสักกีราช
    ๓๐. พระยานันทะสะ
    ๓๑. พระยาอินทวระ
    ๓๒. พระยารักนะคะราช
    ๓๓. พระยาอิทตยราช
    ๓๔. พระยาสัพพสิทธิ์
    ๓๕. พระยาเชษฐะราช
    ๓๖. พระยาจักกะยะราช
    ๓๗. พระยาถวิลยะราช
    ๓๘. พระยาการาช
    ๓๙. พระยาสิริปุญญาราช
    ๔๐. พระยาเลทะนะราช
    ๔๑. พระยาตัญญะราช
    ๔๒. พระยาไทยอำมาตะ
    ๔๓. พระยาอำมาตปะนะ
    ๔๔. พระยาทาวะมะ
    ๔๕. พระยากราช
    ๔๖. พระยาเยทะ
    ๔๗. พระยาอ้าย
    ๔๘. พระยาเสตะ
    ๔๙. พระยายีบา (เป็นองค์สุดท้ายราชวงศ์จามเทวี)



    บ้านเมืองสมัยพระนางจามเทวี ประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุข พระยาเม็งรายมหาราช ยึดครองเมืองลำพูน ปีพุทธศักราช ๑๘๒๔ ต่อมาได้ไปสร้างเมืองเชียงใหม่ เป็นเมืองหลวงของล้านนาไทย ปีพุทธศักราช ๑๘๓๙ มีเจ้าผู้ครองนครเมืองสืบต่อกันมาจำนวน ๒๐ พระองค์ พระเจ้าเมกุฏิ องค์ที่ ๒๐ เป็นองค์สุดท้าย ราชวงศ์เม็งรายครองลานนาไทยได้นาน ๒๖๒ ปี พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่ายึดลานนาไทยจากพระเจ้าเมกุฏิ ปีพุทธศักราช ๒๑๐๑ มาถึงปีพุทธศักราช ๒๑๒๙ พระนเรศวรมหาราชทรงรบกับพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่ามีชัยชนะจึงขับไล่พวกพม่าออกล้านนนาไทยฯ

    คาถาบูชาพระนางจามเทวี โดย พระเมธีปริยัติยาภรณ์
    ยา เทวี จามะเทวีนามิกา อะภิรูปา อะโหสิ ทัศสะนียา ปาสาทิกา พุทธสาสะเน จะ อะภิปะสันนา สาอะตีเต เมตตายะ เจวะ ธัมเมนะ จะ หะริภุญชะยะธานิกา รัชชัง กาเรสิ หะริภุญชะยะนะคะระ วาสีนังปิ มะหันตัง หิตะสุขัง อุปปาเทสิ อะหัง ปะสันเทนะ เจตะสาตัง วันทามิ สิระสา สัพพะทาฯ


    พระเทวีองค์ใด พระนามว่า จามเทวี มีพระรูปเลอโฉม ทรงเสื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ในอดีตกาล พระนางได้ปกครองนคร หริภุญไชยด้วยพระเมตตาและเป็นธรรม อำนวยประโยชน์สุขแก่ชาวหริภุญไชย อย่างยิ่ง ข้าพเจ้ามีใจเสื่อมใสศรัทธา ขอน้อมเกล้าสักการะเทวีองค์นั้นฯ



    ...........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9806_2a.jpg
      IMG_9806_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      231.1 KB
      เปิดดู:
      7,417
    • IMG_9808_2a.jpg
      IMG_9808_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      202.7 KB
      เปิดดู:
      4,891
    • IMG_9811_2a.jpg
      IMG_9811_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      210.8 KB
      เปิดดู:
      7,355
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2023
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    หลังจากกราบสักการะพระราชานุสาวรีย์พระนางจามเทวี เสร็จแล้ว สร้อยฟ้ามาลาก็พาคณะเดินทางไปยัง วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระราชานุสาวรีย์แต่เนื่องจากไม่รู้จักทางซึ่งก็ต้องพึ่งพา GPS มาตลอดที่เดินทางมา มาคราวนี้ GPS พาหลงทางวนรอบเมืองอยู่เกือบ ๒ รอบ ซึ่งก็ขับรถผ่านวัดไปแล้วเมื่อตะกี้นี้เอง สงสัยขับเร็วไปหน่อย เครื่องเลยคำนวณเส้นทางไม่ทัน ในที่สุดก็มาถึงวัดจนได้

    วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร


    [​IMG]

    ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยมาจากชื่อของเมืองหริภุญชัย ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จมาบิณฑบาตในสมัยพระพุทธกาลและได้แวะรับและฉันลูกสมอ ที่ชาวลั๊วะนำมาถวาย โดยได้ทรงพยากรณ์ไว้ตอนนั้นว่า สถานที่แห่งจะมีผู้มาสร้างเมืองและตั้งชื่อว่า “หริภุญชัยนคร” และในกาลต่อมาก็มี ฤาษี ๒ องค์ ชื่อว่า วาสุเทพ และ สุกกทันตะ ได้ร่วมกันสร้างเมือง ณ สถานที่แห่งนี้ และให้ชื่อเมืองว่า หริภุญชัยนคร ในปี พ.ศ. ๑๒๐๔ สมจริงตามคำพยากรณ์ของพระพุทธองค์ทุกประการ

    หริภุญชัยนคร แปลว่าเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ (หริ แปลว่า สมอ, ภุญชัย แปลว่า เสวย, นคร แปลว่า เมือง)

    กาลเวลาล่วงมาจนถึงปีจุลศักราช ๒๓๘ พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๑,๔๒๐ ปี ณ อาณาบริเวณที่เป็นวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ในปัจจุบันนี้ เมื่อครั้งนั้น เป็นเขตพระราชฐานแห่งพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองหริภุญชัยองค์ที่ ๓๐ ในสมัยนั้น พระองค์โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรเป็นที่ประทับ ครั้นเสร็จแล้วพระองค์ก็เข้าประทับอยู่ภายในปราสาทราชมณเฑียรแห่งนั้น วันหนึ่งพระองค์จะเสด็จไปสู่วสัญชนฐาน(ห้องน้ำ) ปรากฏมีกาตัวหนึ่งได้บินโฉบลงมาเป็นทำนองกันไม่ให้พระองค์เข้าไปถึงฐานนั้นได้ ด้วยความกริ้วพระองค์จึงต้องย้ายไปใช้ฐานอื่น และทรงมีกระแสรับสั่งให้จับกาตัวการนั้นมาฆ่าเสีย แต่เทวดาได้ดลใจให้อำมาตย์ ผู้หนึ่งทัดทานไว้เพราะสงสัยในพฤติการณ์ของกานั่นเอง คืนนั้นยามใกล้รุ่ง เทวดาผู้รักษาพระเกสธาตุได้สำแดงฤทธิ์มาในพระสุบินถวายคำแนะนำให้พระองค์นำทารกมาอยู่กับกา ๗ วัน และอยู่กับคน ๗ วัน เป็นเวลา ๗ ปี เมื่อถึงเวลานั้นเด็กก็จะสามารถแปลภาษากาให้คนได้รับทราบเหตุการณ์อันเป็นปริศนานั้นได้โดยชัดแจ้ง

    พระเจ้าอาทิตยราชจึงทรงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระเกสธาตุโดยละเอียด พระเจ้าอาทิตยราชจึงโปรดให้เชิญ พระยากาเผือกมาสู่ปราสาทแห่งพระองค์ โดยพระองค์โปรดให้จัดสถานที่สำหรับต้อนรับพระยากาเผือกอย่างสมฐานะพระยาแห่งกาทั้งปวง พระยากาเผือกจึงเล่าความเป็นมาถวายทุกประการ พระเจ้าอาทิตยราชทรงมีพระราชหฤทัยอภิรมย์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้รื้อ ราชมณเฑียรทั้งปวงออกไปจากสถานที่แห่งนั้นจนหมดสิ้น แล้วโปรดให้ปรับพื้นที่อันเป็นมงคลนั้นให้เรียบงามตา พระองค์โปรดให้พระสงฆ์สวดพระปริตตมงคลเพื่ออาราธนาพระบรมธาตุให้ออกมาปรากฏ พระธาตุเจ้าจึงสำแดงฤทธาภินิหารโผล่ขึ้นมาพ้นแผ่นดิน ทั้งโกศแก้วลอยขึ้นไปในอากาศ สูงเท่าต้นตาล พระบรมธาตุได้เปล่งฉัพพัณรังสีเจิดจ้าไปทั่วนครหริภุญชัยเป็นเวลา ๗ เวลา ๗ คืน แล้วจึงลอยลงมาประดิษฐานบนแผ่นดินดังเดิม พระเจ้าอาทิตยราชโปรดให้ขุดเอาโกศบรรจุพระธาตุขึ้นมา แต่ทว่ายิ่งขุดโกศนั้นก็ยิ่งจมลงไป พระองค์จึงต้องบูชาอาราธนาพระธาตุจึงได้ยอมลอยขึ้นมาสูงจากพื้นดินถึง ๓ ศอก พระองค์จึงให้สั่งรื้อถอนปราสาทราชมณเฑียรทั้งหมดออกไปตั้งราชสำนัก ณ ที่อื่น

    ส่วนพระบรมธาตุนั้น แต่เดิมเก็บรักษาไว้ในกระบอกไม้รวกและใส่ไว้ในโกศแก้วอีกชั้นหนึ่ง ต่อมากษัตริย์ผู้ครองนครลำพูนทุกพระองค์ก็ได้บูรณะและพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยเปลี่ยนจากโกศแก้วเป็นโกศทองและเปลี่ยนเป็นมณฑป ในที่สุดเป็นเจดีย์และมีการขยายขนาดของเจดีย์และมีการขยายขนาดเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสูงถึง ๒๕ วาครึ่ง กว้าง ๑๒ วาครึ่ง ดังปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้และเรียกชื่อว่า “วัดพระธาตุหริภุญชัย”

    พระบรมธาตุหริภุญชัย จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. ๑๔๔๐ โดยพระเจ้าอาทิตยราชโปรดให้สร้างโกศทองคำหนัก ๓,๐๐๐ คำ สูง ๓ ศอกประดับประดาไปด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการครอบโกศ พระธาตุของพระพุทธเจ้านั้น แล้วโปรดให้สร้างมณฑปปราสาทสำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าดังข้อความที่กล่าวไว้ในตำนาน มูลศาสนา ดังนี้

    .. พระยาอาทิตตราชก็ให้เอาหินมาเพื่อจักก่อให้เป็นเจดีย์ ครั้นได้หินมาบริบูรณ์แล้วจึงให้หานักปราชญ์มาพิจารณาดูวันยาม ฉายาฤกษ์อันเป็นมงคล ครั้นได้ฤกษ์แล้วพระยาก็แบกหินอันเป็นมงคลนั้นมาก่อในท่ามกลาง เพื่อจักให้ก่อก่อนสำหรับเป็นที่รอง โกศธาตุพระพุทธเจ้า ทั้งหลายนั้นแลครั้นพระยาหยิบหินก้อนนั้นยอขึ้น ก็ให้ประโคมดุริยดนตรีเป็นมงคลเสียงอึงมี่นัก เป็นดังเมฆอันพัดกันในท้องฟ้าฉะนั้น ก็เป็นอันดังกึกก้องทั่วเมืองหริภุญไชยทั้งมวลนั้น พระยาก็ให้ก่อในที่หนึ่งแล้วก็ให้ก่อเป็น ๔ เสาดังปราสาทสูงได้ ๑๒ ศอก ให้เป็นประตู โค้งทั้ง ๔ ด้าน อยู่ภายนอกโกศธาตุเจดีย์นั้นแล ในเมื่อธาตุเจดีย์เสร็จพร้อมทุกอันแล้ว พระยาก็ให้ฉลองเจดีย์มีเครื่องพร้อม ทุกอัน กระทำบูชาอยู่ถ้วย ๗ วัน ๗ คืน ..

    ในปี พ.ศ.๑๖๕๑ สมัยพระเจ้าอาทิตยราชองค์ที่ ๓๓ จึงได้สร้างวัดพระธาตุหริภุญชัยขึ้นเป็นศูนย์สถานอันยิ่งใหญ่แห่งลานนาไทยอีกครั้งหนึ่ง

    ในสมัยของพระยาสรรพสิทธิ์ พระองค์โปรดให้สร้างมณฑปองค์หนึ่งสูงได้ ๒๔ ศอก ครอบมณฑปองค์เดิมที่พระยาอาทิตยราชสร้างไว้

    ต่อมาเมื่อพระยามังรายมาครองเมืองลำพูน พระองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ครอบมณฑปที่พระยาสรรพสิทธิ์สร้าง เจดีย์องค์นี้เป็น เจดีย์ทรงกลมมีความสูงถึง ๗๐ ศอกตลอดทั้งองค์เจดีย์ได้มีการหุ้มด้วยแผ่นทอง

    เมื่อพระยากือนาขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่พระองค์ได้ปฏิบัติตามราชประเพณีที่จะต้องทำนุบำรุงพระบรมธาตุเช่นที่พระ บูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมา พระองค์ทรงตั้งสัตยอธิษฐานปล่อยช้างพลายมงคลเชือกหนึ่งชื่อ “ผู้ไชยหนองแขม” ให้ออกไปหาดินแดนถวายพระธาตุ โดยกำหนดเอาตามเส้นทางที่ช้างเชือกนี้ออกหากินได้ดินแดนถวายแก่องค์พระธาตุมากมายดังนี้ “...ช้างเชือกนั้นก็กระหวัดแปรไปทิศใต้ฟากน้ำแม่ระมิงค์ด้านตะวันตกไปถึงสบล้องงัวเฒ่า เกี้ยวไปข้ามสบแม่ทาน้อยแผวแสน ข้าวน้อย (ฉางข้าวน้อย) ฟากน้ำแม่ทาฝายตะวันตกถึงหนองสร้อยและสบห้วยปลายปืน แล้วไปกิ่วปลีดอยละคะแล้วถึงบ้านยางเพียง ไปดอยถ้าโหยด ดอยเก็ดสอง ขุนแม ขุนกอง ลงไปถึงแม่ขุนยอด ไปม่อนมหากัจจายน์ฝายเวียงทะมอฝายตะวันตก เกี้ยวขึ้นมาทาง แปหลวงมาผีปันน้ำ ถึงกิ่วขามป้อมหินฝั่งถึงขุนแม่อี่เราะแล้วไปถึงขุนแม่ลาน ลงมาแม่ออนล่องแม่ออนมาถึงสบแม่ออน แล้วกินผ่าเวียงกุมกาม กลับมาถึงป่า จรดกับปล่อยตอนแรก”

    ในสมัยของพระเจ้าติโลกราช พระองค์โปรดให้ก่อพระมหาเจดีย์เจ้าองค์หนึ่งโดยพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานร่วมกับพระมหาธังกร การก่อสร้างเริ่มขึ้นในในปีดับเปล้า (ปีฉลู) เดือน ๘ (เหนือ) ออกค่ำ (แรมหนึ่งค่ำ) วันพุธ พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๒ ชื่อ อุตราสาฒ

    จนถึงปีรวายยี (ปีขาล) จุลศักราช ๘๐๘ พระพุทธศานาล่วงแล้วได้ ๑๙๙๐ ปี เดือนวิสาขะออก ๓ ค่ำ วันอังคาร ไทยยกสง้านับได้ ๖ เดือน จึงสำเร็จบริบูรณ์ พระเจดีย์องค์นี้ตีนฐานมนกว้าง ๑๒ วาครึ่ง สูงแต่ใจกลางขึ้นไป ๓๒ วา มีฉัตร ๗ ใบเมื่อเสร็จแล้วก็โปรดให้มีการสวด ปริตตมงคลและ พุทธาภิเษกฉลองอบรมพระมหาเจดีย์องค์นี้ และจัดให้มีการมหรสพฉลอง ๗ วัน ๗ คืน ในปี ๒๔๗๒


    เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครคนที่ ๑๐ ได้อารธนา ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า มาทำการรื้อทองจังโกที่หุ้มองค์พระธาตุมาแต่เดิมออก และทำการบูรณะใหม่โดยการ หุ้มแผ่นทองเหลือง องค์พระธาตุตลอดทั้งองค์ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๕๐๐ ในปี ๒๔๘๑ ได้มีการว่าจ้างช่างทองมาทำการหลอมไล่เอาทองคำแยกออกจากแผ่นทองจังโก เพื่อนำออกขายนำเงินมาเก็บเป็น สมบัติของพระธาตุ เงินส่วนหนึ่งนั้นได้มีการนำไปซื้อที่ดินบริเวณห้องแถวตลาดสด เก่ากลางเมืองลำพูน เพื่อใช้สำหรับเก็บผล ประโยชน์ สำหรับมาบำรุงพระธาตุ


    ยุครัตนโกสินทร์
    ในช่วงก่อนหน้านั้น วัดกลายเป็นวัดร้างไปชั่วระยะหนึ่งเนื่องจากกษัตริย์ในยุคนั้น ๆ มัวยุ่งอยู่กับการทำศึกกับพม่า และล้านนาไทยก็เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกพม่าและมอญ ร่วม ๒๐๐ กว่าปี จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๓๑๗ พระเจ้ากาวิละได้ยึดอาณาจักรล้านนาไทยกลับคืนมาจากพม่า และในปี พ.ศ. ๒๓๔๘ พระเจ้ากาวิละได้ทรงสถาปนา พระอนุชาของพระองค์ทั้ง ๒ คือ คำฟั่นและบุญมาขึ้นเป็นพระยาคำฟั่น ครองเมืองลำพูนเป็นองค์แรก ส่วนองค์เล็กเป็นเจ้าบุญมาทำหน้าที่เป็นพระอุปราชและเจ้าทั้งสองได้ช่วยกันบูรณะและพัฒนาวัดพระธาตุหริภุญชัยให้เจริญและมั่นคง

    องค์พระบรมธาตุหริภุญชัยมีรั้วทองเหลืองล้อมรอบ ๒ ชั้นทั้งสี่ด้าน รั้วดั้งเดิมนั้น พระเมืองแก้วโปรดให้นำมาจากเมืองเชียงแสน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระเจ้ากาวิละได้มา บูรณะใหม่พร้อมกับให้ สร้างฉัตรหลวงตั้งไว้ที่มุมทั้งสี่ของรั้วที่ล้อมองค์พระธาตุ

    ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ พระเจ้ากาวิละได้พร้อมใจกับน้องของท่านทุกคนได้ร่วมกันสร้าง หอยอประจำทิศทั้ง ๔ ด้าน และได้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหาร ด้านเหนือพระธาตุเป็นพระ พุทธรูปปางอุ้มบาตรให้ชื่อว่า พระละโว้


    ในปี ๒๔๗๒ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครคนที่ ๑๐ ได้อารธนา ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า มาทำการรื้อทองจังโกที่หุ้มองค์พระธาตุมาแต่เดิมออก และทำการบูรณะใหม่โดยการ หุ้มแผ่นทองเหลือง องค์พระธาตุตลอดทั้งองค์ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๕๐๐
    ในปี ๒๔๘๑ ได้มีการว่าจ้างช่างทองมาทำการหลอมไล่เอาทองคำแยกออกจากแผ่นทองจังโก เพื่อนำออกขายนำเงินมาเก็บเป็น สมบัติของพระธาตุ เงินส่วนหนึ่งนั้นได้มีการนำไปซื้อที่ดินบริเวณห้องแถวตลาดสด เก่ากลางเมืองลำพูน เพื่อใช้สำหรับเก็บผล ประโยชน์ สำหรับมาบำรุงพระธาตุ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เกิดพายุกระหน่ำอย่างแรงทำให้วิหารหลวงหลังนี้พังทลายลงมาทั้งหลัง คงเหลือเพียงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนแท่นแก้วองค์ที่อยู่ด้านเหนือเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่คงสภาพที่สมบูรณ์ จึงมีการก่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นในปี ๒๔๖๐ แล้วเสร็จในปี ๒๔๗๒


    ท่านครูบาศรีวิชัยได้สร้างศาสนสมบัติไว้กับพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ ทั่วแคว้นแดนลานนาไทย จนนับไม่ถ้วนเฉพาะที่วัดพระธาตุหริภุญชัยแห่งนี้ท่านได้สร้างวิหารไว้ถึง ๕ หลังด้วยกัน คือ
    ๑.วิหารอัฎฐารส
    ๒.วิหารพระพุทธ
    ๓.วิหารพระเจ้าละโว้
    ๔.วิหารพระเจ้าทันใจ
    ๕.วิหารพระมหากัจจายน์


    [​IMG]

    พระบรมธาตุหริภุญชัย
    เป็นปูชนียสถานอันสำคัญเปรียบเสมือนหัวใจหลักของวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ และเป็นจุดศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ในนครหริภุญชัยโดยพระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้น ในราวพุทธศตวรรษที่๑๗เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันประกอบด้วย
    ๑.ธาตุกระหม่อม
    ๒.ธาตุกระดูกอก
    ๓.ธาตุกระดูกนิ้วมือ
    ๔.ธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง
    จากหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า พระบรมธาตุหริภุญชัย มีลักษณะสถาปัตยกรรมแต่ดั้งเดิมกล่าวไว้ว่า เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวารเข้า-ออกทะลุกันได้ทั้ง ๔ ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ แต่ละองค์ก่อด้วยศิลาแลง ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ทรงโปรดให้ปฎิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่ พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้ และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออกทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย

    รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือเป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อพญามังราย สามารถตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฎิสังขรณ์ในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระบรมธาตุฯจากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา

    ต่อมา พ.ศ. ๑๙๕๑ ในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาโปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุเรื่อยมาจนถึงพ.ศ.๑๙๙๐ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับ พระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น ๙๒ ศอก กว้างยาวขึ้น ๕๒ ศอก และเป็นรูปร่างดั่งที่เห็นกันในปัจจุบัน

    บูชาพระธาตุหริภุญชัย (สำหรับผู้ที่เกิดปีระกา)
    ตั้งนะโม 3 จบ แล้วกล่าวคำว่า
    สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฐฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฎฐิเสฎฐัง สะหะอังคุลิฎฐิง กัจจายะเนนา นิตะปัตตัปปะการัง สีเสนะ มัยหัง ปะระมามิธาตุง”

    [​IMG]

    เขาพระสุเมรุจำลอง หรือ เขาสิเนรุจำลองขนาดย่อม
    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัย และอยู่ด้านหน้า หอไตร มีลักษณะคล้ายเจดีย์ขนาดเล็ก ทรงกลม ก่อด้วยอิฐถือปูน ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
    ๑.สัตตบริภัณฑ์ คือ ภูเขาที่ล้อมรอบพระสุเมรุทั้งเจ็ดชั้น โดยส่วนยอดด้านบนหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ สร้างลดหลั่นกัน ขึ้นไป ๗ ชั้น มีการประดับสำริดซึ่งหล่อเป็นชั้นๆ แล้วนำมาประกอบ เป็นทรงกลมภายหลังสัตตบริภัณฑ์นี้ ช่างได้ทำเป็นรูปป่าไม้ มีสัตว์ป่า มีต้นไม้ และเหล่าอสูร ที่อาศัยอยู่ที่เชิงเขา โดยจากตำนานเล่าว่า เหล่าอสูรได้อาศัยอยู่ในป่า เนื่องจากถูกพระอินทร์ขับไล่ ลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลวดลายมีความละเอียดอ่อนมาก
    ๒.เกษียรสมุทร คือ ส่วนที่คั่นระหว่างเขาหรือสัตตบริภัณฑ์แต่ละชั้น
    ๓.ไพชนยนต์มหาปราสาท คือ ปราสาทที่อยู่ด้านบน ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ มีหน้าที่คอยดูแลความเป็นไปของโลก และคอยช่วยเหลือคนดีที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก รูปทรงสถาปัตยกรรมรูป ๖ เหลี่ยมเล็กๆ แต่ละด้านมีซุ้มประตูโค้ง ส่วนยอดของปราสาท มีลักษณะเหมือนยอดมณฑปโบราณสถาน ภายในวิหารคต

    [​IMG]

    หอไตร หรือ หอธรรม
    ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัยจากศิลาจารึก ลพ.๑๕ (ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จ.ลำพูน) เป็นจารึกอักษรไทยล้านนา จารึกขึ้นในราว พ.ศ.๒๐๔๓ ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยการปกครองของ พระเมืองแก้ว
    จารึกหลักนี้ได้กล่าวถึงพระเมืองแก้วกับพระราชมารดาของพระองค์ ว่าได้ร่วมกันบำเพ็ญพระราชกุศลอันยิ่งใหญ่ โดยการสถาปนา หอไตรปิฎกหรือ หอพระธรรมมณเฑียร เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก ครบทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกา และอนุฎีกา รวมทั้งสิ้นเป็น ๔๒๐ พระคัมภีร์ ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ใบลานทั้งหมด
    ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหอไตรหลังนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหอไตรของวัดพระสิงห์และวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือกันว่าเป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไปในดินแดนล้านนาสำหรับหอไตร ของวัดพระธาตุหริภุญชัยหลังนี้ สร้างเป็นอาคาร ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารเครื่องไม้ ตัวอาคารหอไตร ตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ ซึ่งมีบันไดขึ้นทางด้านหน้า สองข้างบันไดมีสิงโตหินประดับที่หัวเสา ตัวอาคารหอไตรชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีประตูทางเข้า ทางเดียว ส่วนชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทำเป็นบันไดนาคเล็กๆ ตั้งอยู่ด้านหน้าบนประตูทางเข้าชั้นล่างตัวอาคารมีการประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม มีมุขทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง หลังคาลดชั้นประดับด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์หลังคามุงด้วยแผ่นดีบุกอย่างวิจิตรงดงาม
    การประกอบโครงสร้างของหอไตรเป็นเทคนิคการก่อสร้างแบบโบราณ คือจะยึดส่วนต่างๆของโครงสร้างด้วยหมุดไม้ แทนที่จะตอกด้วยตะปูเช่นในปัจจุบัน ส่วนพื้นของหอ ปูด้วยแผ่นไม้ที่มีขนาดหน้ากว้างประมาณ ๑ ฟุต หอไตรแห่งนี้นับว่ามีความสวยงาม มากที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เนื่องจากไม้ทุกชิ้นที่นำมาประกอบเป็นหอไตรนั้น แกะสลักด้วยลวดลายที่วิจิตรบรรจงยิ่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลวดลายตรงที่หน้าบัน ที่ยังคงความสมบูรณ์ที่สุด

    [​IMG]

    วิหารพระพุทธ
    ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ลงรักปิดทองอย่างงดงาม เรียกว่า "พระพุทธ" จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเฉพาะในวันสำคัญ เช่น ประเพณีตานสลากภัต เป็นต้น


    [​IMG]
    ถ่ายรูปจากภายในวัด เลยไม่เห็นตัวสิงห์

    ซุ้มประตูสิงห์
    เป็นประตูทางเข้าวัด ทางฝั่งตะวันออก โดยผู้ที่เข้าสู่วัดจากถนนประตูท่าสิงห์จะพบกับประตูนี้ เป็นประตูแรก และนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อีกสิ่งหนึ่งของวัดพระธาตุหริภุญชัยเนื่องจากเป็นรูปปั้นสิงโตคอยยืนอารักขาที่หน้าประตูวัด ตามศิลปวัฒนธรรมของ ชาวล้านนา ทั้งนี้ รูปปั้นสิงโตของวัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นสิงห์สีแดง ขนาดใหญ่ซุ้มประตูนี้ สร้างขึ้นเมื่อ ครั้งที่พระเจ้าติโลกราชทรงทำการบูรณะวัดโดยโปรดให้ก่อกำแพง โดยรอบเขตพุทธาวาส เพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่งทั้งยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายปูนปั้น อย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออก หน้าวิหารหลวงทางทิศเหนือและทางทิศใต้ และทิศตะวันตก แต่ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขง ทางทิศตะวันออกเท่านั้น

    [​IMG]

    วิหารหลวง
    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัยสร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ในปีพ.ศ.๒๐๕๗ สถาปัตยกรรมเป็นทรงล้านนามีความงดงามมาก ต่อมามีการสร้างปรับปรุงขึ้นใหม่ในสมัย เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ นับเป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาวิหารทั้งหมดในวัด และ มีความวิจิตรงดงามมาก
    เนื่องจากว่ามีลายรดน้ำประดับในส่วนที่เป็นไม้ทุกชิ้น วิหารดังกล่าวประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งมีกล่าวไว้ใน "นิราศหริภุญชัย" ซึ่งแต่งในราวพ.ศ.๒๐๖๐ สมัยพระเมืองแก้วใจความกล่าวไว้ดังนี้
    " นบพระไสยาสน์เยื้อน....ปฎิมา
    วงแวดฝูงขีณา..........ใฝ่เฝ้า
    พระพุทธเปลี่ยนอิริยา......กรูโณ
    เทียนคู่เคนพระเจ้า........จุ่งได้...ปัจจุบัน
    มณฑกพระเจ้าบอก.......เกลือคอย..กว่าเอย
    สูงใหญ่หย้องเองพอย......เพื่อนบ้าน
    เทียนทุงคู่คบสอย........วอยแว่น.. เวนเอย
    ผลเผื่อเร็วอย่าช้า.........ชาตินี้...เนอมุนี "

    ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๕๘ เกิดลมพายุขนาดใหญ่ ที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า "ลมหลวง"พัดจนเกิดความ เสียหาย วิหารหลวงพังทลายลงอย่างยับเยิน สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ชาวเมืองลำพูนเป็นอย่างมาก คงเหลือเพียงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนแท่นแก้วองค์ที่อยู่ด้านเหนือเพียงองค์เดียวเท่านั้น ที่มีสภาพสมบูรณ์ ท่านเจ้าอาวาสพร้อมด้วยศรัทธาประชาชนชาวเมืองลำพูนได้ช่วยกันก่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๖๐ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๗๒ และเป็นวิหารหลังที่ เห็นในปัจจุบันนี้ ภายหลังจากท่านเจ้าอาวาสพร้อม ด้วยศรัทธาประชาชนชาวเมืองลำพูน ได้ช่วยกันก่อสร้างพระวิหาร หลังใหม่เสร็จในปี พ.ศ.๒๔๗๒ ภายในวิหารหลวงจึงได้มีการประดิษฐานพระแก้วขาวนามว่า"พระเสตังคมณีศรีเมืองหริภุญชัย" ประทับนั่งอยู่เหนือบุษบกที่แกะสลักลงรักปิดทองอย่างงดงาม

    [​IMG]
    วิหารพระเจ้าละโว้
    ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระบรมธาตุหริภุญชัยตัววิหารสร้างขึ้นใหม่ภายใน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เรียกว่า "พระเจ้าละโว้" ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ และเครือญาติ ในปีพ.ศ.๒๓๓๔ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเฉพาะในวันสำคัญนอกจากนี้ ถัดไปด้านหลังของวิหารพระเจ้าละโว้ ยังมีวิหารข้างเคียง ชื่อว่า "วิหารพระพันตน"ซึ่งภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวนมาก

    สุวรรณเจดีย์ หรือเจดีย์ปทุมวดี
    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็น เจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียวกับเจดีย์สี่เหลี่ยมหรือ เจดีย์กู่กุดของวัดจามเทวีจังหวัดลำพูน องค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนขึ้นไป ๕ ชั้นแต่ละชั้นประดับด้วยซุ้มจระนำทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๓ ซุ้ม ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอยของการลงรักปิดทองปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์
    ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็นกรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไป สุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญ และมีชื่อเสียง ของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายในด้วย รู้จักกันทั่วไป ว่า "พระเปิม"



    ที่จริงศาสนสถานต่างๆ ในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ยังมีอีกหลายแห่ง แต่สร้อยฟ้ามาลาไม่ได้ถ่ายรูปมาจึงขอเว้นการลงข้อมูลไว้


    .............................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9816_2a.jpg
      IMG_9816_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      263.7 KB
      เปิดดู:
      2,946
    • IMG_9817_2a.jpg
      IMG_9817_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      241.5 KB
      เปิดดู:
      2,384
    • IMG_9818_2a.jpg
      IMG_9818_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      259.9 KB
      เปิดดู:
      4,679
    • IMG_9821_2a.jpg
      IMG_9821_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      220.3 KB
      เปิดดู:
      3,042
    • IMG_9823_2a.jpg
      IMG_9823_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      266.7 KB
      เปิดดู:
      4,439
    • IMG_9836_2a.jpg
      IMG_9836_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      285.9 KB
      เปิดดู:
      2,643
    • IMG_9846_2a.jpg
      IMG_9846_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      218.3 KB
      เปิดดู:
      2,205
    • IMG_9848_2a.jpg
      IMG_9848_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      215.2 KB
      เปิดดู:
      2,056
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    เมื่อสักการะพระบรมธาตุและพระประธานในพระวิหารแล้ว พวกเราก็มุ่งหน้าสู่จังหวัดเชียงใหม่โดยเข้าทางอำเภอสารภี สองข้างทางของถนนมีแต่ต้นยางสูงตระหง่านอยู่ ถนนเส้นนี้รถจักรยานยนต์วิ่งกันให้ขวักไขว่จึงต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวัง และเป็นถนน ๒ เลนแคบๆ ไม่สามารถทำความเร็วได้ สถานที่ต่อไปที่ตั้งไว้ใน GPS คือ น้ำพุร้อนสันกำแพง ซึ่งสร้อยฟ้ามาลาเคยมาเยือนแล้วเมื่อ ๓ ปีก่อน มาครั้งนี้เป็นที่น่าเสียดายที่ดอกไม้ในสวนยังไม่บาน บางแปลงเพิ่งจะปลูก ความงดงามจึงสู้เมื่อ ๓ ปีก่อนไม่ได้ แต่สถานที่มีการปรับปรุงขึ้นเยอะ ทำให้น่านั่งน่าพักผ่อน ก็ขับรถมานานขอหย่อนขาลงแช่น้ำแร่หน่อยเถอะ.......

    [​IMG]



    น้ำพุร้อนสันกำแพง
    เป็นสวนดอกไม้ร่มรื่น มีบ่อน้ำแร่ ห้องอาบน้ำและบ้านพัก ได้รับการปรับปรุงโดยความร่วมมือระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพงเพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ในเขตอำเภอสันกำแพง

    [​IMG]

    การเดินทางจากตัวเมืองไปยังบ่อน้ำพุร้อน ซึ่ง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๓๔ กิโลเมตร สามารถไปได้ ๒ ทางด้วยกัน คือ เส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง- สถานีเพาะพันธุ์กล้าไม้สัก-น้ำพุร้อน (เส้นทางนี้จะผ่านถ้ำเมืองคอนซึ่งอยู่ห่างจากน้ำพุร้อน ๔ กิโลเมตร) หรือเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง-หมู่บ้านออนหลวย-น้ำพุร้อน


    หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะเดินทางไปโดยรถประจำทางก็สามารถทำได้ โดยขึ้นรถจากสถานีขนส่งช้างเผือกไปยังสันกำแพงและเช่าเหมารถสองแถวจากสันกำแพงไปน้ำพุร้อนราคาประมาณ ๒๐๐ บาทต่อคัน นอกจากนี้ยังมีรถบริการของน้ำพุร้อนซึ่งออกจาก ททท. เชียงใหม่ เวลา ๑๐.๐๐ น. และกลับจากน้ำพุร้อนเวลา ๑๓.๐๐ น. ทุกวัน ในราคา ๘๐ บาทต่อคน

    ที่น้ำพุร้อนแห่งนี้ยังมีที่พัก เต็นท์ แค้มป์ปิ้ง ห้องอาบน้ำแร่ไว้บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถติดต่อจองล่วงหน้าได้ที่ธุรกิจน้ำพุร้อนสันกำแพง หมู่บ้านสหกรณ์ อำเภอสันกำแพงเชียงใหม่ ๕๐๑๓๐ หรือ โทร. ๐๑๕ ๑๐๐๔๑๘

    [​IMG]


    หลังจากได้ซื้อไข่ไก่ไปต้มในบ่อน้ำร้อนแล้ว ก็มาแช่ขาในน้ำแร่ร้อนๆ ทำให้หายเมื่อยเลย ขอบอกว่าน้ำแร่ร้อนมาก หย่อนขาลงไปได้ไม่นานต้องรีบชักขาขึ้นมาฝาเท้าแดงเลยแต่ก็ทำให้รู้สึกสบายๆ จากนั้นก็นั่งเปิบไข่ไก่ลวกน้ำแร่กัน


    [​IMG]

    [​IMG]
    มาหย่อนขาแช่น้ำแร่ร้อนๆ กัน


    [​IMG]
    ไปเดินชมสวนกันนะ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]




    ........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9853_2a.jpg
      IMG_9853_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      209.8 KB
      เปิดดู:
      2,632
    • IMG_9859_2a.jpg
      IMG_9859_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      203.1 KB
      เปิดดู:
      3,693
    • IMG_9861_2a.jpg
      IMG_9861_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      245.8 KB
      เปิดดู:
      2,044
    • IMG_9862_2a.jpg
      IMG_9862_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      254.1 KB
      เปิดดู:
      2,166
    • IMG_9874_2a.jpg
      IMG_9874_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      208.2 KB
      เปิดดู:
      2,008
    • IMG_9875_2a.jpg
      IMG_9875_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      222.5 KB
      เปิดดู:
      1,819
    • IMG_9881_2a.jpg
      IMG_9881_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      211.4 KB
      เปิดดู:
      1,911
    • IMG_9883_2a.jpg
      IMG_9883_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      220.1 KB
      เปิดดู:
      1,987
    • IMG_9885_2a.jpg
      IMG_9885_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      200.7 KB
      เปิดดู:
      1,988
    • IMG_9886_2a.jpg
      IMG_9886_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      194 KB
      เปิดดู:
      1,837
    • IMG_9889_2a.jpg
      IMG_9889_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      214.3 KB
      เปิดดู:
      1,904
    • IMG_9892_2a.jpg
      IMG_9892_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      237.5 KB
      เปิดดู:
      2,002
    • IMG_9901_2a.jpg
      IMG_9901_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      383.9 KB
      เปิดดู:
      2,083
    • IMG_9902_2a.jpg
      IMG_9902_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      209.5 KB
      เปิดดู:
      1,844
    • IMG_9905_2a.jpg
      IMG_9905_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      283.3 KB
      เปิดดู:
      2,789
    • IMG_9907_2a.jpg
      IMG_9907_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      202.5 KB
      เปิดดู:
      1,812
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    เมื่อได้เวลาพอควรแล้ว พวกเราก็เดินทางเข้าที่พักโดยได้รับความเอื้อเฟื้อจากเพื่อนที่ทำงานของแมงปอแก้วซึ่งก็เป็นเพื่อนของสร้อยฟ้ามาลาด้วยเป็นคนเมืองเชียงใหม่มีบ้านอยู่ตำบลบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพงให้พักนอนในคืนนี้

    เมื่อถึงบ้านแล้วก็จัดแจงขนสัมภาระลงจากรถ เข้าคิวอาบน้ำ วันนี้คุณแม่ของเพื่อนทำขนมจีนน้ำเงี้ยวให้ทาน ก็ในวันนี้ที่บ้านนี้ได้มีโอกาสต้อนรับถึง ๒ คณะด้วยกัน คือ คณะของสร้อยฟ้ามาลา กับคณะของเพื่อนๆ ที่ทำงานของแฟนของเพื่อนเจ้าของบ้าน ซึ่งก็พอจะรู้จักกันพอสมควร แผนการเที่ยวไปที่เดียวกันบ้าง ไปคนละที่บ้าง แต่โดยรวมแล้วไม่เจอกันนอกจากที่ ปาย

    ครั้นได้เวลาประมาณ ๑๙.๓๐ น. คณะของเราก็เดินทางออกจากบ้านไปหาอะไรทานที่ร้านอาหาร “บ้านไร่ยามเย็น” ได้พบกับพี่โมเย ซึ่งพี่โมเยก็ได้ร้องเพลงให้ฟังด้วยหล่ะ ไพเราะมากๆ

    [​IMG]

    อาหารมีทั้งอาหารพื้นเมืองและอาหารภาคกลาง ใครไม่ถนัดอาหารเมืองเหนือก็สั่งอาหารภาคกลางทานได้เหมือนกัน ซึ่งอาหารที่นี่รสชาติอร่อย บรรยากาศดี สลัวๆ ยามค่ำคืน ประกอบแสงไฟจากเทียนในตะเกียง แต่คนเยอะมากๆ ต้องจองคิวกันเหมือน เอ็ม.เค. เลย

    [​IMG]

    วันนี้นั่งโม้กับพี่โมเยจนถึงเวลาเกือบเที่ยงคืนได้มั้ง บังเอิญโต๊ะอาหารที่นั่งอยู่เป็นบริเวณเปิดโล่ง จึงทำให้น้ำค้างพร่างพราวบนศีรษะ ผสมกับอากาศเย็นๆ ดีที่กลับมาไม่เป็นหวัดเสียก่อน (ที่มาของชื่อตอน น้ำค้าง นครพิงค์)

    ขากลับตั้ง GPS กลับมายังบ้านเพื่อน GPS พาหลงทางอีกแล้ว ไปไหนเลยไม่รู้ สงสัยตั้งพิกัดของที่ตั้งบ้านผิด มืดก็มืดขนาดตอนกลางวันยังหลงแล้วตอนกลางคืนมืดๆ อย่างนี้ทำยังไงดีหล่ะ นึกขึ้นได้เลยตั้ง GPS ใหม่ให้ไปที่บ่อสร้างแทน บวกกับอ่านป้ายบอกทาง และช่วยกันมองสี่แยกต่างๆ ที่พอจะคุ้นตา จึงกลับถึงบ้านพักได้เมื่อเวลาเที่ยงคืนครึ่ง กว่าจะหลับได้ลงก็ตีหนึ่งล่วงแล้ว ต้องรีบนอนให้หลับเพราะพรุ่งนี้ต้องลุยกันต่อ เส้นทางคดโค้งโหดหฤหรรษารออยู่............. ปาย


    ....................


    สรุปสถานที่การเดินทางในวันแรก
    ๑. วัดพระธาตลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
    ๒. พระราชานุสาวรีรย์ พระนางจามเทวี จำหวัดลำพูน
    ๓. วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
    ๔. น้ำพุร้อนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
    ๕. ร้านอาหาร บ้านไร่ยามเย็น จังหวัดเชียงใหม่


    ข้อมูลอ้างอิง

    วัดพระธาตลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
    หนัสือ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ผู้แต่ง หนานอินแปลง

    พระราชานุสาวรีรย์ พระนางจามเทวี จำหวัดลำพูน
    www.konmeungbua.com

    วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
    www.hariphunchaitemple.org
    สงวนลิขสิทธิ์โดย © วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จ.ลำพูน All Right Reserved.
    สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามมิให้ทำการคัดลอกหรือนำบทความ รูปภาพจากเวบไซต์ไปใช้ในเชิงพาณิชย์


    น้ำพุร้อนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
    www.thai-tour.com


    ..............................

    สุดท้ายนี้อันกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำในครั้งนี้ขออุทิศถวายแด่ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดาคุณมารดา วงศาคณาญาติทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ เจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์เจ้านายทุกพระองค์ เทพยดาทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรุงพาลี ภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย คุณแม่พระธรณี พระคงคา พระพาย พระเพลิง พระโพสพ พระยายมราช เจ้ากรรมนายเวร และขอให้ผลบุญจงได้สำเร็จผลแด่เพื่อนๆ สมาชิกในเว็ปพลังจิต ทุกท่าน



    ภาพและเรียงร้อยถ้อยคำ
    โดย สร้อยฟ้ามาลา

    .......................





    [​IMG]





    ..............
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9911_2a.jpg
      IMG_9911_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      172.1 KB
      เปิดดู:
      3,052
    • IMG_9917_2a.jpg
      IMG_9917_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      177.1 KB
      เปิดดู:
      2,704
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  6. Pinit

    Pinit ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,736
    ค่าพลัง:
    +8,006
    ลงรายละเอียดได้ดีมากครับ ภาพถ่ายประกอบคมชัดเข้าใจว่าใช้กล้องอย่างดี
    การวางมุมมองของภาพดี แสดงว่ามีความรู้และรักการถ่ายรูปมาก
    ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆชุดนี้ครับ :cool:
     
  7. แมงปอแก้ว

    แมงปอแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    600
    ค่าพลัง:
    +139
    ไปกันอีรอบเปล่า... โกรธที่ถ่ายรูปเค้าไม่สวย...
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    เก็บตังก์ก่อน...... (-_-!).....
     
  9. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ฝีมือระดับเขียนหนังสือท่องเที่ยวได้เลยนะครับ
    เล่าลึกถึงตำนานเลย อิอิ
     
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ก็ไปหาข้อมูลของคนอื่นเค้ามาอีกทีหล่ะจ่ะ แล้วก็เรียบเรียงใหม่บ้าง ตรงไหนที่อ่านแล้วภาษาขัดๆ ก็แก้ไข.....

    แหล่งข้อมูลก็ตาม refer ที่ให้ไว้นั่นหล่ะจ่ะ...
     
  11. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ไข่แช่น้ำพุร้อน .... ไข่สุกมากไหมครับ ?

    ต้องเตรียม ซอสปรุงรส พริกไทยไปด้วยไหม ?

    ..............................................................

    ขอขอบคุณ GPS ที่นำทาง ... ขอบคุณกล้องถ่ายรูป

    ขอบคุณคอม ฯ ขอบคุณผู้ร่วมเดินทาง

    ขอบคุณสร้อยฟ้า ฯ ที่ถ่ายรูปเก่ง ได้ภาพสวย ๆ ... คำบรรยายดีดี

    ... สรุปว่า สุดยอดครับ


    ป.ล. ภาคแรกอาหารการกิน ถ่ายรูปน้อยจัง
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ขอบคุณสำหรับคำชมจ่ะ ^^.....

    ไข่ไก่เค้าขายพร้อมซอสแม็คกี้เลยจ่ะ
    ต้องแช่ไข่ไก่นานหลายนาที รู้สึกว่าเขามีบอร์ดไว้ให้ว่าต้องการสุกมากหรือสุกน้อยให้แช่กี่นาที แต่น้ำที่นี่เขาบอกว่าร้อนถึง ๑๐๕ องศา

    พี่ปอฯ ลองไปบ้างสิจ๊ะ......

    ปล. อาหารการกิน ไม่ค่อยได้ถ่ายรูปเลย(ทุกภาค).......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2009
  13. หญิงจัน

    หญิงจัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +2,655
    ขอบคุณค่า คุณสร้อย
    รู้ใจจังเลย ปีหน้าจะไปเที่ยว ปาย คะ
    ได้ข้อมูลมาเพียบ อิอิ ได้ที่เที่ยวอีกแระ
     
  14. ธิดารัตน์

    ธิดารัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,939
    ค่าพลัง:
    +4,568
    เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคักนะคะ

    สวยมากๆเลยค่ะ อยากไปเที่ยวบ้างจัง

    เมืองไทยของเราเยี่ยมไปเลย
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837

    ก็ต้องเตรียมเสื้อหนาว หมวกไหมพรม ถุงมือ ยาพ่นขยายหลอดลม(ระวังหืดหอบ) แล้วก็ยาแก้เมารถ เพราะโค้งมันส์มาก..... นะจ๊ะ....
     
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ยังไม่จบนะ ยังมีอีก ๓ ตอน คอยติดตามชม นะจ๊ะน้องลูกหยี....
     
  17. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    ตื่นตาตื่นใจในการไปเที่ยวเหนือค่ะคุณสร้อย ภาพสวย...ตัวหนังสือเข้ากับภาพมาก
    ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง"ปาย"คงได้ไปเที่ยวปีหน้าค่ะ
     
  18. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    ขอบคุณจ้าพี่สร้อย ภาพสวย ข้อมูลแน่นเอี้ยด เหมือนเดิม ฝีมือไม่มีตกเลยจ้า
     
  19. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ข้อมูลเยี่ยม..ภาพสุดยอดอีกตามเคย ไร้ที่ติจริง ๆ จ๊ะ..
    แต่ที่ประทับใจที่สุดน่าจะเป็น font ใต้ภาพนะ ได้อารมณ์มั่ก ๆ..:cool:

    คราวหน้าให้เค้า..ปาย..ด้วยคนนะ ๆ ๆ ๆ ..(kiss)

    [​IMG]
     
  20. cinderella2517

    cinderella2517 Mindset Coach และ นักพยากรณ์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +1,404
    สันกำแพงเปลี่ยนไปมากจริง ๆ ค่ะ นางซินไปสมัยเมื่อปี 2000 เหอๆๆๆ ของคุณแม่สร้อยฟ้ามาลา ที่นำภาพสวย ๆ พร้อมเนื้อหาสาระมาให้ชมเช่นเดิม อนุโมทนาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...