ลำดับแห่งการปฏิบัติธรรม โดยครูบาพรหมา พรหมจักโก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kridda, 4 กรกฎาคม 2012.

  1. kridda

    kridda Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +48
    [FONT=TH SarabunIT๙]ลำดับแห่งการปฏิบัติธรรม[/FONT]


    [FONT=TH SarabunIT๙]</O:p[​IMG][/FONT]​


    [FONT=TH SarabunIT๙]<O:p[FONT=TH SarabunIT๙]พระสุพรหมยานเถร ([/FONT]ครูบาพรหมา พรหมจักโก[FONT=TH SarabunIT๙])[/FONT]<O:p</O:p[/FONT]​
    [FONT=TH SarabunIT๙][FONT=TH SarabunIT๙]วัดพระพุทธบาทตากผ้า[/FONT][FONT=TH SarabunIT๙] จังหวัดลำพูน<O:p</O:p[/FONT]


    [FONT=TH SarabunIT๙]ลำดับแห่งการปฏิบัติธรรม 5 ประการ คือ[/FONT][FONT=TH SarabunIT๙].-<O:p</O:p[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]1. สติ สัมปชัญญะ[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]2. หิริ โอตตัปปะ[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]3. อินทรียสังวร[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]4. ศีลสังวร[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]5. สมาธิภาวนา[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]อธิบายพอเป็นใจความได้ดังนี้.-[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]1. สติ ความระลึกได้, สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ธรรมะ 2 ประการนี้เป็นพหูปการธรรม คือ เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ควรนำไปใช้ในที่ทุกสถาน ผู้ตั้งอยู่ในองค์ธรรม 2 ประการนี้ชื่อว่า “เป็นผู้ไม่ประมาท" ผู้ปฏิบัติธรรมพึงปลูกสติให้เกิดมีขึ้น[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ในสันดานก่อนที่จะทำอะไร จะพูดจาปราศัยอะไรและนึกคิดอะไรก็ให้มีสติ ตลอดถึงการหายใจเข้า ออก ให้มีสติติดตาม[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ทุกลมหายใจ ขณะที่กำลังทำ กำลังพูดและกำลังคิดก็ให้มีสติ ตลอดถึงการหายใจเข้า ออก ให้มีสติติดตามทุกลมหายใจ [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ขณะที่กำลังทำ กำลังพูดและกำลังคิดก็ให้มีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอจึงจะเป็นการดี[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]2. หิริ ความละอาย, โอตตัปปะ ความเกรงกลัว ธรรมะ 2 ประการนี้เป็นโลกบาล คือ คุ้มครองโลก โลกคือหมู่สัตว์ [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ผู้ใดประพฤติปฏิบัติตามธรรม คือ “มีหิริ และ โอตตัปปะ” พระธรรมก็ย่อมรักษาผู้นั้นมิให้ตกไปในที่ชั่ว[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]ธรรมมะ 2 ประการนี้ท่านผู้รู้กล่าวว่าเป็น “สุกกธรรม” คือ ธรรมอันขาว และเป็นเทวธรรม คือ ธรรมของเทวดา [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ถ้ามีธรรมมะ 2 ประการนี้ประจำใจจะไม่ได้ไปตกอบาย แม้ผีเสื้อเชื้อยักษ์ก็ไม่สามารถที่จะทำร้ายได้ ผู้ปฏิบัติธรรมมะ[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ควรมีธรรมะ 2 ประการนี้ประจำใจ อย่าได้ทำบาปกรรมอันใดแม้แต่น้อย ทั้งในที่ลับและที่แจ้งจึงจะเป็นการดี[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]3. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ 6 คือ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ไม่ให้มีความยินดียินร้ายครอบงำได้ [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ในเวลาเห็นรูปด้วยนัยน์ตาเป็นต้น อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ เช่น ตาเป็นใหญ่ในการดู หูเป็นใหญ่ในการฟัง เป็นอาทิ [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ทวาร” คือ ประตูหรือช่องทาง 6 ประตู[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]บาป บุญ คุณ โทษ จะเกิดก็เกิดที่นี่ จะดับก็ดับที่นี่ อินทรีย์หรือประตูทั้ง 6 นี้เมื่อมีสติสำรวมระวังดีก็เป็นบุญเป็นคุณ[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]เป็นประโยชน์ ถ้าขาดสติไม่สำรวมรักษาก็ไร้ประโยชน์และให้โทษหลายประการ ผู้ปฏิบัติควรมีสติสำรวมรักษาอินทรีย์ 6[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ให้สงบระงับจึงจะเป็นการดี[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]4. ศีลสังวร สำรวมรักษาศีล คือ รักษากาย วาจาเรียบร้อยดีไม่มีโทษ ศีล คือ ปกติภาพแห่งกาย วาจา เป็นเครื่อง[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ชำระบาปอย่างหยาบที่เกิดขึ้นทางกาย วาจาให้บริสุทธิ์ ศีลเป็นของหอมและเย็นยิ่งกว่าน้ำและของหอมใดๆ ในโลก [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ศีลย่อมระงับความเดือดร้อนภายในใจและเป็นมูลฐานอันสำคัญยิ่งของสมาธิภาวนา ผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้วย่อมไม่[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]คลาดแคล้วจากโภคะ และสวรรค์ นิพพาน ผู้ปฏิบัติธรรมพึงตั้งใจสำรวมรักษาชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์ อย่าให้[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ศีลขาดตกและเศร้าหมองจึงจะเป็นการดี[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙](เมื่อผู้ปฏิบัติตั้งอยู่ในความไม่ประมาท คือ มีสติ สัมปชัญญะ มีหิริ โอตตัปปะ มีความสำรวมอินทรีย์ และมีศีลบริสุทธิ์ [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ก็ชื่อว่าได้ชำระกิเลสอย่างหยาบออกจากกาย วาจาและใจเป็นอันดี ย่อมควรแก่การบำเพ็ญกัมมัฏฐานภาวนา [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]เพื่อชำระกิเลสอย่างกลางและอย่างละเอียดที่หมักดองอยู่ในสันดานต่อไป)[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]5. สมาธิภาวนา การเจริญสมาธิให้เกิดมีขึ้นในสันดาน สมาธิความตั้งใจมั่นเป็นองค์ธรรมที่มีคุณค่าสูงและสำคัญ [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]เป็นที่รวมกำลังของจิตและเป็นที่รวมกำลังของธรรมะ เช่น อัฏฐังคิกมรรคมีองค์ 8 ถ้าสัมมาสมาธิเกิดขึ้นจึงจะได้[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ชื่อว่า “มัคคสมังคี” คือ ความพร้อมมูลแห่งอัฏฐังคิกธรรม[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]การบำเพ็ญภาวนาให้เกิดมีขึ้นซึ่งสมาธิธรรม คือ การปฏิบัติในสมถกัมมัฏฐาน 40 องค์ มีปฐวีกสิณเป็นต้น โดยถือเอา[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]บทใดบทหนึ่งที่ชอบแก่จริตของตนเป็นอารมณ์ คือ เครื่องยึดเหนี่ยวของใจ เป็นอุบายชำระใจให้บริสุทธิ์และตั้งมั่นเป็น[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]สมาธิธรรมก็เป็นอันใช้ได้[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมพึงบังเกิดศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยและในสมาธิภาวนา พยายามหาโอกาสเวลา[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]สละกิจการน้อยใหญ่เข้าสู่ที่สงัดหรือห้องพระ นั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบตามควรแก่ภาวะของตน น้อมจิตเอากัมมัฏฐาน[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]บทใดบทหนึ่ง เป็นต้นว่า พุทโธ หรือ พองหนอ ยุบหนอ หรืออานาปานสติเป็นอารมณ์ ตั้งสติคอยกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ไปช้าๆ อย่ารีบด่วน ให้ทำด้วยใจเย็นๆ หายใจเข้าออกให้สม่ำเสมอ ให้ละเอียดอ่อนโยน เพราะการภาวนาเป็นงานของ[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]จิตใจโดยเฉพาะ[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]ค่อยรวมกำลังจิตดิ่งลงสู่จุดของอารมณ์กัมมัฏฐานพร้อมกับให้มีสัมปชัญญะ ความรู้ตัว พิจารณาอารมณ์กัมมัฏฐาน[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ให้เห็นประจักษ์แจ้งชัดขึ้นในใจ ค่อยกำหนดไปๆ ด้วยความวิริยะอุตสาหะและอดกลั้น บรรเทาได้นานเท่าไรก็ยิ่งดี [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙](ระวังอย่าง่วงนอนเป็นอันขาด) นานเข้าจิตก็จะติดแนบแน่นกับอารมณ์กัมมัฏฐาน[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]ต่อจากนั้นปีติ คือ ความอิ่มใจ, ปราโมทย์ คือ ความร่าเริงบันเทิงใจก็จะเกิดขึ้น นามกายก็จะสงบระงับ “ความสุขกาย[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]สุขใจ ก็จะเกิดขึ้น จะรู้สึกสบายและเยือกเย็น จากนั้นสมาธิอันประกอบด้วยองค์ 3 คือ ปริสุทโธ จิตบริสุทธิ์สะอาด, [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]สมาหิโต จิตตั้งมั่น, กัมมนิโย จิตคล่องแคล่วควรแก่การพิจารณาสภาวธรรมที่จะเกิดขึ้น[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์ 5 ประการ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิก็จะสงบระงับดับไป เมื่อผู้ปฏิบัติตั้งใจบำเพ็ญ[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]สมถภาวนา บังเกิดได้ซึ่งสมาธิอันประกอบด้วยองค์ 3 ดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]สมาธิภาวนาเป็นอันดี[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]อันดับต่อไปก็ควรแก่การพิจารณาสภาวธรรม คือ รูปนาม หรือขันธ์ 5 ให้รู้ตามความเป็นจริง โดยการเจริญ[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]วิปัสสนาภาวนา ตามนัยแห่งสติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิตตาและธรรมานุปัสสนา คือ ให้พิจารณาว่า กาย [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]เวทนา จิตและธรรม นี้ก็สักแต่ว่าเป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิตและเป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]เป็นของไม่จีรังยั่งยืน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน เป็นของว่างเปล่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]พิจารณากำหนดไปๆ นานต่อนานจนกว่าวิปัสสนาญาณ มีนามรูปปริจเฉทญาณ คือ ญาณที่แยกรูปแยกนามออก[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]จากกันเด็ดขาด เป็นต้น ตลอดถึงนิพพิทาญาณ คือ ญาณที่มีความเบื่อหน่ายในสัตว์สังขารจะเกิดมีขึ้น เมื่อนิพพิทาญาณ[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]เกิดขึ้นแล้ว วิราคะ คือ ความคลาย ความถอนเสียซึ่งความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงและวุฏฐานคามินี [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]วิปัสสนาญาณที่ยังโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนาให้ปล่อยวางสังขารให้ถึงความดับในโสดาปัตติมรรคญาณก็จะเกิดขึ้น[/FONT]<O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]จากนั้นจิตใจก็จะหลุดพ้นจากความเกาะเกี่ยวเหนียวแน่น คือ กิเลส เป็นสมุจเฉทปหาน ตามกำลังของอริยมรรค [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]เมื่อผู้ปฏิบัติได้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาบังเกิดขึ้นได้ซึ่งวิปัสสนาญาณและอริยมรรคญาณดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมได้ชื่อว่า[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยวิปัสสนาภาวนาเป็นอันดี ชีวิตของโยคีผู้ปฏิบัติธรรมมาถึงขั้นนี้ชื่อว่าเป็นแก่นสาร ประกอบ[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ไปด้วยคุณธรรมความดีหลายประการ ชื่อว่าได้ปิดประตูอบายทั้ง 4 มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเที่ยงแท้แน่นอน.[/FONT]<O:p</O:p


    [FONT=TH SarabunIT๙](คัดลอกจากหนังสือเราจะเข้าถึงธรรมได้อย่างไร)<O:p</O:p[/FONT]

    </O:p
    [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • kruba1.gif
      kruba1.gif
      ขนาดไฟล์:
      31.7 KB
      เปิดดู:
      240
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...