รุ่นน้องผมเขาได้การบ้านวิชา "ชีวิต และวัฒนธรรมไทย" (ปวช .3) มาครับ โจทย์มีอยู่ว่า "ให้นักศึกษา ยกตัวอย่างการรักษาเอกลักษณ์ของอุโบสถ มา 10 ข้อ" ซึ่งข้อ 1 - 5 ผมช่วยน้องเขาคิดไปแล้ว คือ 1.ช่วยกันบูรณ ซ่อมแซมอุโบสถให้คงสภาพเดิมเสมอ 2.ไม่รื้อถอน ปลูกสร้าง หรือดัดแปลงจนผิดเพี้ยนจากความเป็นอุโบสถ 3.รักษาความสะอาด เรียบร้อย ของอุโบสถอยู่เสมอ 4.ไม่นำเอาสิ่งของ หรือ วัตถุอันก่อให้เกิดกิเลส เช่น วัตถุมงคล , ของขลัง ฯลฯ และสินค้าเข้ามาจำหน่ายในอุโบสถ 5. ไม่ควรให้มีการแสดงอิทธิปาฏิหารย์ ปลุกเสก หรือ ทำพิธีกรรมภายในอุโบสถ ที่นอกเหนือจากการปฏิบัติกิจของสงฆ์ และไม่กระทำการใดๆที่ขัดต่อวินัยสงฆ์ -- ส่วนอีก 5 ข้อผมคิดไม่ออกจริงๆ ฝากช่วยหน่อยนะครับ นะๆๆๆๆ --
หาคำตอบให้ เป็นการทำร้ายรุ่นน้องคุณเองมากไปหรือเปล่า? เขาอุตส่าห์จัดสรรให้มีเรื่องบังคับให้เข้าวัดแล้ว แทนที่จะได้มีโอกาสเข้าวัด ศึกษาเรื่องอุโบสถ ได้ใกล้ชิดพุทธศาสนา สั่งสมอุปนิสัย เพื่อเดินทางธรรมต่อไปในอนาคต จะไปตัดโอกาสเขาเชียวรึ? ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ ให้เขาทำด้วยตัวเองเถอะครับ
ถ้าเขาทำเองได้ เขาคงไม่เอามาให้ช่วยหรอกครับ และถึงผมไม่ช่วย มันก็ไปลอกเขาอยู่ดี มีค่าเท่ากันครับ ถ้าเขาทำเองได้ เขาทำเสร็จไปนานและครับ
6. รักษาศีลอุโบสถ ในวันพระ 7. เข้าวัดฟังเทศนาธรรมในวันพระ 8. ชักชวน ญาติมิตรมาทำบุญรักษาศีลสวดมนต์ นึกได้แค่ 3 ข้อครับ ... ง่วงมาก
ข้อนี้น่าสนใจดีครับ "ถ้าเขาทำเองได้ เขาคงไม่เอามาให้ช่วยหรอก" อยากถามว่า เพราะอะไร ทำไม เขาถึง "ทำไม่ได้" ครับ?
อภิโธ่ !ท่านอินทรบุตรก็นะ...เด็กสมัยนี้ จะคิดเห็นเองในเรื่องอย่างนี้ดูมันยากยิ่งกว่าเข็นทั่งในมหาสมุทรนะครับ..ถ้าให้เขาเล่าวิธีการรักษาผับหรือโรงคอนเสิร์ตจะง่ายกว่าเยอะ ความคิดจะกระฉูดทีเดียวเจียว.. ผมว่าเพียงให้ผู้มีความรู้ทางนี้แสดงข้อมูลพอให้เขาผ่านตาบ้างก็เป็นบุญแก่ตาเขาแล้วละครับ..ดีไม่ดี พี่แกนึกไม่ออกจะพาลเกลียดโบสถ์ไปเสียอีก แต่ถ้าได้เห็นคำตอบอาจมีบุญเก่ามากระตุ้นให้นึกเห็นดีงามและจำไว้เพื่อนำไปใช้ได้ในยามแก่ตัวและคิดเข้าวัดนาครับ.. ขออภัย ไม่ได้ตอบปัญหาท่านระบำฯเลย...เรียนเชิญท่านผู้ทราบคำตอบมาเฉลยด้วยครับ(บางที แม้ครูที่ตั้งคำถามก็ยังตอบไม่ได้เลย ..)
เหรียญมันก็มีสองด้านครับ ในกระทู้นี้ผมขอแสดงบทตัวร้ายสักหน่อย หนึ่งในสาเหตุที่พุทธศาสนาในไทยคลาดเคลื่อนจากแก่นแท้ที่พระพุทธองค์สอนไปเรื่อยๆ หนึ่งในสาเหตุนั้น ก็เพราะการขาดการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมการเข้าวัด จากรุ่น สู่รุ่น นี่แหละครับ อันนี้พูดจากประสบการณ์ตัวเอง จริงๆ เลย ก่อนหน้าที่จะได้รู้ทางธรรมะ ก็เป็นคนประเภทที่ เป็นชาวพุทธเพียงชื่อ จะเข้าวัดที ทำตัวไม่ถูก ไม่รู้อะไรเป็นอะไรเลย แต่เมื่อได้สัมผัสธรรมะของพระพุทธองค์ จึงได้รู้ว่า ของดีหนะ ไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย ไม่ได้อยู่ในโรงหนัง concert hall อะไรทั้งสิ้น แต่ของดีของประเทศไทย อยู่ในวัด สิ่งที่เกิดขึ้นถัดจากเมื่อรู้แล้ว คือ เสียใจ... เสียใจที่ ตนเองไม่มีโอกาสได้เข้าวัดบ่อยๆ ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ เสียใจที่พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ไม่ได้พาเข้าวัดบ่อยๆ ตั้งแต่ยังเป็นเด็กอยู่ เสียใจที่ เจอธรรมะของพระพุทธองค์ ช้าเหลือเกิน ครับ กรรมเก่า ก็เป็นส่วนหนึ่ง... กรรมที่ทำในปัจจุบัน จะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนอนาคตครับ รวมถึงแนวโน้มของพุทธศาสนาในประเทศไทยด้วยครับ
ท่านอินทรบุตรจะเป็นตัวร้ายด้วยเหตุผลใดครับ?..ผมยังเห็นท่านเป็นผู้มีเมตตาห่วงใยใครๆไปทั่วเสมอครับ...ยิ่งบทที่ท่านนำมาอธิบายข้างบนยิ่งชี้ชัดในเจตนารมณ์ของท่าน ..ผมยังศรัทธาในเจตนารมณ์ของท่านในการรักษ์พระพุทธศาสนาเสมอครับ.. พอดีเพิ่งคิดออกว่าวิธีการในการอนุรักษ์ุอุโบสถมี: 1. ศึกษาประวัติของอุโบสถนั้นๆเพื่อทราบที่มาที่ไปเกี่ยวกับศิลปะ ในยุคนั้นๆหรืออิทธิพลจากขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยมี 2. เผยแพร่ภาพเเละประวัติของอุโบสถแก่ธารณชน จะได้จดจำกันได้และสามารถช่วยดูแลรักษาหรือซ่อมบำรุงให้เหมือนเดิมต่อไป คงพอช่วยน้องท่านระบำฯได้บ้างนะครับ
*****การการรักษาเอกลักษณ์ของอุโบสถ***** .....พิจารณาก่อนเถิด เอกลักษณ์ของพระอุโบสถนั้น อันเรานั้นสามารถกล่าวได้ใน ๒ ทาง คือ ทางจุดประสงค์ของที่มาของพระอุโบสถ๑ และวัฒนธรรมรวมถึงศีลปะของพระอุโบสถ๑ ฉะนั้นหากจะกล่าวถึงการรักษาเอกลักษณ์ของพระอุโบสถนั้นก็ต้องถามว่าจะอนุรักษ์ในรูปแบบใด กล่าวคือ .....หากจะรักษาเอกลักษณ์ในด้านขนมธรรมเนียมของสงฆ์ทางศาสนา ก็จะต้องรู้ดังนี้คือ ๑.พระอุโบสถนั้นจะต้องมีขนาดกว้างเท่าใด ยาวเท่าใด. ๒.พระอุโบสถจะต้องมีพระประธานที่เป็นที่ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ๓.พระอุโบสถจะต้องมีพระอครสาวกที่เป็นที่ระลึกถึงพระเอกทัตค(พระโมคัลลาพระสาวกเบื้องซ้าย พระสารีบุตรพระสาวกเบื้องขวา) ๔.พระอุโบสถจะต้องมีพุทธเสมาเป็นเขตสังฆกรรม. ๕.พระอุโบสถจะต้องไม่อยู่ภายใต้ร่มไม้. .....อย่างนี้เป็นต้นฯลฯ. .....หากจะรักษาเอกลักษณ์ในด้านรูปแบบธรรมเนียมของสงฆ์ทางศาสนา ก็ต้องทราบดังนี้. ๑.ผู้ที่จะบวชเป็นภิกษุจะต้องได้รับการอุปสมบทโดยพระอุปฌาช์จารย์ในพระอุโบสถที่มีหมู่สงฆ์ครบในสังฆกรรมนั้น. ๒.หมู่ภิกษุ จะทำสังฆกรรมในปฎิโมกข์ก็ดี ในการทำวัตรเช้าก็ดี ทำวัตรเย็นก็ดี หมู่ภิกษุนั้นก็จะอาศัยพระอุโบสถเป็นที่ทำสังฆกรรมนั้นด้วยเป็นที่ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระองค์ทรงเป็นประธาน. .....อย่างนี้เป็นต้น..... .....หากจะรักษาเอกลักษณ์ในด้านรูปแบบธรรมเนียมของชาวพุทธทางศาสนา ก็ต้องทราบดังนี้. ๑.การได้เข้าไปในเขตพระอุโบสถ จะต้องเป็นผู้สำรวมกายคือกายต้องสงบเดินด้วยความเครพ๑ จะต้องเป็นผู้สำรวมวาจาคือ วาจาจะต้องสำรวมไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดสอดเสียด ไม่พูดคำไม่สุภาพ ไม่พูดเสียงดังโว้ยวาย๑ ส่วนการสำรวมใจคือจิตใจต้องประกอบไปด้วยสติ ระลึกดีระลึกชอบด้วยใจเครพเป็นต้น. ๒.การได้เข้าไปในเขตพระอุโบสถ จะต้องเป็นผู้แต่งกายเรียบร้อย หากต้องร่วมพิธีกรรมด้วยการจุดธูปเทียนเพื่อระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเชิญพระองค์ท่านมาเป็นประธานก็ควรแต่งกายด้วยสีผ้าำรวม เพื่อเป็นตัวแทนแสดงออกถึงความบริสุทธิกายและใจ. ๓.การได้เข้าไปในเขตพระอุโบสถ ด้วยเขตพระอุโบสถนั้นเป็นพื้นที่ ที่ลงด้วยพระคาถา และสิ่งที่เป็นสิ่งที่มีภิกษุผู้มีจิตได้ลงจิตในวัตถุแล้วฝังลงไปใต้พื้นดินในเขตพระอุโบสถนั้นแล้วแต่ ผู้มีฌานนั้นท่านจะฝังไว้นะจุดใด เช่นลูกนิมิต (ในวัดของเรานั้นเป็นวัดเก่าที่พระอุโบสถสร้างมาได้จะ๕๐ปีแล้ว มีผู้เฒ่าอายุ๘๐กว่าปี ท่านก็ได้เล่าเหตุการณ์ให้ฟังถึงพิธีการสร้างในพระอุโบสถประจำวัดหลังนี้ว่า ท่านเจ้าอาวาสรุ่นแรกท่านเป็นภิกษุผู้แก่วิชาฌานมาก ท่านได้เป็นผู้เชิญอาจารย์ภิกษุผู้มีบารมีฌานมาร่วมพิธีอธิฐานจิต และภายในใต้ดินเขตพระอุโบสถท่านได้ฝังพระอครสาวกไว้ทุกมุมประจำทิศในเขตของพระอุโบสถจึงถือว่าพระอุโบสถนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก) ฉะนั้นเมื่อต้องเข้าไปในเขตของพระอุโบสถก็ควรที่จะต้องถอดรองเท้า. ๔.การได้เข้าไปในเขตพระอุโบสถ ไม่ควรที่จะนำอาหารเข้าไปรับประทานในพระอุโบสถ. .....อย่างนี้เป็นต้น ฯลฯ..... .....หากจะรักษาเอกลักษณ์ในด้านรูปแบบประเพณีของชาวพุทธทางศาสนา ก็ต้องทราบดังนี้. ๑.ดำรงรักษาประเพณีการอุปสมบทของบุรุษเมื่ออายุครบบวชก็ขอให้ได้อุปสมบทเพื่อสืบสานพระศาสนา. ๒.ดำรงรักษาประเพณีการเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระศาสนาเช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆาบูชา วันอาสาฬหบูชา อย่างนี้เป็นต้น. ๓.ดำรงรักษาประเพณีการ ทำบุญตักบตรเทโวโรหนะที่หมู่ภิกษุจะเดินออกมาจากอุโบสถเพื่อรับบาตร เพื่อระลึกถึงครั้งเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึง. ๔.ดำรงรักษาประเพณีการ ถวายเทียนจำนำพรรษาเพื่อหมู่สงฆ์จะทำเทียนไว้บูชาพระประธานในพระอุโบสถ. .....อย่างนี้เป็นต้น ฯลฯ..... *****อันเราขอแสดงไว้อย่างนี้แล ซึ่งอาจจะมีมากกว่านี้ที่เรานั้นมิได้ยกมา ก็ต้องขออภัยท่านทั้งหลายไว้ ณ ที่นี้แล.
รุ่นน้องผมเขาได้การบ้านวิชา "ชีวิต และวัฒนธรรมไทย" (ปวช .3) มาครับ โจทย์มีอยู่ว่า "ให้นักศึกษา ยกตัวอย่างการรักษาเอกลักษณ์ของอุโบสถ มา 10 ข้อ" แต่ละคำตอบที่ได้อ่านล้วนเป็นคำตอบที่ดีๆทั้งนั้นนะคะ สำหรับติง คิดว่าก่อนที่เราจะพูดถึงการรักษาเอกลักษณ์ของอุโบสถ เราควรศึกษาความหมายของคำว่า"อุโบสถ"ก่อน ว่าหมายถึงอะไร มีประโยชน์ หรือมีความสำคัญอย่างไร คำว่า"เอกลักษณ์" หมายถึงอะไร คำว่า"รักษา" หมายถึงอะไร หลังจากนั้นค่อยตอบค่ะ... คำตอบที่แต่ละท่านช่วยตอบมารวมกับที่ท่านเจ้าของกระทู้คิดได้ ก็ครบ 10 แล้วนะคะ อ่านๆไป...ชักสงสัยว่า คำว่า"ตัวอย่าง" กับคำว่า"วิธี" มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร แต่คิดว่าอาจารย์ที่ถามคงไม่ได้คิดลึกซึ้งมากขนาดนี้นะคะ
อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะ ใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้าง ขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง สถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรมตามพระวินัย เรียกตามคำวัดว่า อุโบสถาคาร บ้าง อุโบสถัคคะ บ้าง แต่เรียกโดยทั่วไปว่า โบสถ์ การเข้าจำ คือการรักษาศีล ๘ ของอุบาสก อุบาสิกา ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เรียกว่า รักษาอุโบสถ และรักษาอุโบสถศีล วันพระหรือวันฟังธรรมของคฤหัส วันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันที่คฤหัสถ์รักษาอุโบสถกัน เรียกว่า วันอุโบสถ วันที่พระสงค์ลงฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน เรียกว่าวันอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนหรือทุกวันอุโบสถของพระสงฆ์ เรียกว่า การทำอุโบสถ โบสถ์ เป็นคำเรียกสถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมกันทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่นสวดพระปาติโมกข์ ให้อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต คำว่า โบสถ์ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในพระพุทธศาสนา โบสถ์ เรียกเต็มคำว่า อุโบสถ หรือ โรงอุโบสถ ถ้าเป็นของพระอารามหลวงเรียกว่า พระอุโบสถ บางถิ่นเรียกว่า สีมา หรือ สิม โบสถ์ เป็นสถานที่ศักดิ์ศิทธิ์ เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า เป็นเขตแดนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้แก่สงฆ์เป็นพิเศษ เรียกว่า วิสุงคามสีมา ก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์ที่ถูกต้องตามพระวินัยจะต้องมีสังฆกรรมที่เรียกว่า ผูกสีมา หรือ ผูกพัทธสีมาก่อน ที่มา: อุโบสถ - วิกิพีเดีย
คำว่า “เอกลักษณ์” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน
ถ้าน้องเป็นผู้ชายก็ลองให้เขาบวชดูครับ จะได้ซึมซับเอกลักษณ์ของอุโบสถอย่างเต็มที่ อันนี้ว่ากันตามภาคปฎิบัติครับ
ไม่รู้เหมือนกันครับ ข้อนี้ไม่ได้ถาม ว่าทำไมถึงทำไม่ได้ รู้แค่ว่าในเมื่อเขาทำไม่ได้ เราช่วยได้ก็ช่วยกันไป อีกอย่าง เขาก็นับถือผมเป็นรุ่นพี่รุ่นน้อง (ผมเป็นรุ่นพี่ที่วิทยาลัย) จะบอกปัดว่าไม่ช่วย แล้วไล่ไปทำเองก็ใช่ที่ คนเราไม่ได้อาศัยอยู่บนโลกนี้เพียงลำพัง และผมเองก็ไม่ได้สลัดทางโลก ดังนั้นเรื่องอะไรที่ไม่เป็นการเหนือบ่ากว่าแรง ในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกันช่วยได้ก็ช่วย เรื่องการเข้าวัดเข้าวา รุ่นน้องผมคนนี้ก็เข้าตามโอกาส และตามวาระ แต่เรื่องการทำการบ้าน ที่จะต้องจินตนาการ และรจนาคำตอบเอาเอง บางคนทำไม่ได้หรอกครับ คนเราไม่ได้ฉลาดเท่ากันหมด และไม่ได้โง่เท่ากันหมด บางคนรู้เรื่องหนึ่ง ไม่รู้เรื่องสอง แต่อีกคนรู้เรื่องสอง แต่กลับไม่รู้เรื่องหนึ่งเลยก็มี ถ้าคนเราฉลาดเท่ากันหมด ป่าานนี้คงเป็น CEO กันทั้งโลกแล้วครับ... เขาก็ไม่ได้ให้ผมช่วยไปซะทุกเรื่องหรอกครับ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นมันก็เกินควรไป แล้วในฐานะชาวพุทธ ที่ยังถือ ศีล 5 ได้แค่ 3 ข้ออย่างผมจะแบกกฏแห่งกรรมไว้บนบ่าตลอดก็ใช่ที่ ความเมตตาที่ยังมีก็คือการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน เขาไม่ได้ให้ผมช่วยเรื่อง พุทธประวัติ , การสังฆายนาพระไตรปิฎก , หรือ ความหมายของหัวข้อธรรมต่างๆ อันนี้ผมก็ไล่เขาไปค้นหาจาก Google เองเหมือนกันครับ เพราะคำตอบมันตายตัวอยู่แล้ว แต่นี่เขาต้องคิดคำตอบเอง ผิด - ถูก อยู่ที่คำตอบ ว่าจะถูกใจครูผู้สอนหรือไม่ด้วย เข้าใจเจตนาของคุณครับ ว่าคุณหวังดี แต่บางที บางเรื่อง ถ้ามันไม่เหลือบ่ากว่าแรง ก็ช่วยๆกันหน่อยก็ได้นะครับชาวพุทธ @__@
สาธุ กับการช่วยเหลือของท่าน ระบำมาร ด้วยครับ แต่ในฐานะที่ผมพอเกี่ยวข้องแบบห่างๆ กับวงการศึกษาด้วย วัฒนธรรม การสงสาร แล้วช่วยเหลือ ระหว่างรุ่นพี่-รุ่นน้อง พ่อแม่-ลูกหลาน แบบนี้แหละ ที่ทำให้มาตรฐานการศึกษาของไทย ต่ำลงเรื่อยๆ ครับ ก่อนที่ครู อาจารย์ จะให้การบ้านมานั้น จะมีการออกแบบแผนการสอน กำหนดวัตถุประสงค์การสอน แล้วคิดการบ้าน หรือ งาน ให้ทำเพื่อที่จะได้มีทักษะในด้านการ คิด ค้นคว้า แก้ปัญหา ที่ผู้เรียนจะต้องไปเจอ และนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตจริง เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในโลกของการทำงาน การใช้ชีวิต เพื่อแข่งขันผู้อื่น กับสังคม และในระดับประเทศ กับประเทศต่างๆ ในเวทีโลกต่อไป หากเรายังใช้วิธีสงสาร และ ช่วยเหลือ แบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็เข้าทำนอง "พ่อแม่รังแกฉัน" ในขณะที่ประเทศต่างๆ ใน AEC พยายามพัฒนาระบบการศึกษาให้เข้มข้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ของเรากลับหย่อนยานจากภายใน ยื่นเบ็ดให้เขาเถอะครับ อย่ายื่นปลาให้เขาเลย ผมขอยุติการแสดงบทบาทต้วร้ายใจร้ายไว้แค่นี้หละครับ เดี๋ยวคนจะไม่ชอบขี้หน้าไปมากกว่านี้
ผมคนนึงละไม่ยักกะนึกเกลียดท่านอินทรบุตรสักที แม้ท่านจะทำท่าขึงขังก็ยังเห็นท่านเป็นได้แต่"คนดี"อยู่ดี......
ถ้ามันเป็นวิชาที่ต้องใช้ ที่ตรงสาขาการเรียน ผมคงไม่ช่วยหรอกครับ เขาเรียนการบัญชี ถ้าเขาถามผมเกี่ยวกับเรื่องการทำบัญชี ผมก็คงจนปัญญา ถึงจะทำได้ก็คงไม่ช่วย นี่เขาถามเรื่องเกี่ยวกับ "อุโบสถ" มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับสาขาการเรียน หรือ สาขาอาชีพของเขาเลยครับ แต่กลับเป็นประโยชน์ "ส่วนตัว" ของผู้ที่มีความสนใจ "ส่วนตัว" มากกว่าครับ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวัด ธรรมะ ครั้นจะคะยั้นคะยอให้คนเข้าวัด ศึกษาธรรม ถ้าคนเขาไม่อยากทำ จะบังคับเขาได้หรอครับ? บังคับมากๆ กลายเป็นเกลียดไปอีก ในเมื่อมันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นในสาขาวิชา ไม่เป็นสิ่งจำเป็นในสาขาอาชีพ เขาไม่รู้เนี่ยย่อมไม่ผิดครับ และผมก็คิดว่าการช่วยในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ในการทำงานพวกนี้ มันจะเกี่ยวอะไรกับการที่ทำให้ การศึกษาของไทยตกต่ำลงเลยแม้แต่น้อย เพราะคนไทยดราม่าครับ โลกสวยกันซะเยอะ แน่นอนครับว่าทุกคนเคยเป็นเด็ก แต่เป็นเด็กในยุคที่มี Internet ความเร็วสูง , Smart phone , Iphone , Facebook , Twister ฯลฯ หรือเปล่าครับ? เด็กพวกนี้เมื่อถูกกดดันมากๆ ถูกห้ามมากๆ มันยิ่งทำครับ แล้วเพราะไม่มีระบบไม้เรียวนี่แหละครับ มันถึงทำให้เด็กกำเริบเสิบสานมากขึ้น แล้วใครยกเลิกล่ะครับ? เด็กป่ะ? ไม่มั๊ง... ผู้ใหญ่ต่างหากครับ ที่มีหน้าที่สอน มีหน้าที่ตรากฏต่างๆขึ้นมา ตั้งแต่การบังคับให้ตัดผมเกรียน ไปจนถึงการระบบการศึกษา เด็กไม่ใช่คนวางระบบการศึกษาครับ ผู้ใหญ่ต่างหาก วิชาที่น้องเขาเอามาให้ผมช่วย บางข้อเขาก็คิดเองครับ ไม่ใช่คิดทั้งดุ้นซะเมื่อไหร่ ผมช่วยไปแค่ 5 ข้อ ดันไปซื้อกับที่น้องเขาคิดไปแล้ว 2 ข้อ แล้วน้องเขาก็คิดเองสดๆมา 2 ข้อ คือ ไม่จัดบริเวณรอบพระอุโบสถ ให้เป็นที่จอดรถ , ควรวางมตารการป้องกันความปลอดภัยจากขโมย นี่เขาก็คิดเองครับ แล้วน้องเองก็ไม่ได้มีวิชานี้วิชาเดียวครับที่ต้องทำ เด็กบัญชีมีการบ้านตลอดจนจบการศึกษา ที่ต้องทำตลอดคือ "บัญชี" แค่มันคิดบัญชีก็ปวดหัวแล้วครับ ไหนจะโครงการอีก ภาษีอีก เยอะแยะครับ ถ้าน้องเขาเรียน ป.6 ว่าไปอย่างครับ แต่สิ่งที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยตกต่ำจริงๆ มันก็มาจากการที่ผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษา วางระบบการศึกษาครับ คนตั้งหางเสือมายังไง เรือมันก็ไปทางนั้นแหละครับ จะแล่นเข้าชนหินโสโครก หรือ ฝ่าเข้าน้ำวนก็มาจากคนตั้งหางเสือทั้งนั้นครับ หรือจะบอกว่าเป็นเพราะเรืออีก? เปิดประตูรับเด็กที่เดินตุ๊ปั๊กตุ๊เป๋เข้ามาในบ้าน ก็แค่ให้เขาพักในห้องโถงให้หายเหนื่อยครับ ผมไม่ได้พาเขาเข้าห้องนอนซักหน่อย ผมช่วยเท่าที่ช่วยได้ และช่วยอย่างพอควร ไม่ได้ช่วยจนเกินควร แต่รายจะไม่ช่วยเลย ก็คงดูไม่ดีแน่ ผมเป็นรุ่นพี่ครับ ไม่ใช่เป็นพ่อแม่ แล้วผมต้องเ้ข้าไปช่วยน้องซ้อมท่าเต้นงานกีฬาสี ถ้าแค่เรื่องช่วยทำการบ้านแค่นี้ ยังไม่ช่วย แล้วใครหน้าไหนจะให้ความร่วมมือผมล่ะครับ?