อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ลองของ เรื่องเล่าจากหนังสือพระยอดนิยม ของมรดกพระเครื่อง เกี่ยวกับ ลป.สุข ธมโชโต วัดละหารทราย บุรีรัมย์
    ครูแถม เกาแกกูล มีบ้านพักอยู่ใกล้วัด ชอบอวดของขลังที่ ลป.สุข มอบให้และมักจะคุยอวดถึงความศักดิ์สิทธิ์เป็นประจำ และชอบท้าให้ลองของ ครั้งหนึ่งลป.ได้มอบ ห่อรากยา ขี้ผึ้งร้อยแปด ครูแถมก็เที่ยวไปอวดเพื่อนบ้าน ในงานโกนจุกลูกชายครูลอย อยู่บ้านตากรอง ๖งหนองสำโรงใหม่ จสต.สง่า นรารมย์จึงขอทดลองยิงด้วยปืน .38 ปรากฏยิงไม่ออก นัดที่สิฃอง ก็แชะ ไม่ออกอีก แกจึงยิงนัดที่ สาม ปรากฏเสียงดังโป้ง ปืนของ จสต.สง่า กระบอกแตก เลือดอาบมือ กระสุนไม่ถูกห่อผ้า ปฐมพยาบาลอย่างไร เลือดก็ไม่หยุด ชาวบ้านต้องนำไปหาลป.สุข ลป.ท่านเป่าคาถาห้ามเลือดให้หยุดไหล แผลแห้งสนิท ลป.สุข เปรยว่า "กูไม่ให้กระสุน เข้าท้องก็บุญแล้ว" จสต.สง่า ต้องขอขมาท่านแล้วลากลับบ้าน


    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2014
  2. jamitcom

    jamitcom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2013
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +3,877
    สวัสดีครับน้องโอ๊ต ตอนนี้ผมรู้สึกอยากได้พระของหลวงปู่หมุนมาบูชาบ้างซะแล้วดันมาสนใจตอนแรงเฮ้อ พอมีรุ่นไหนที่เกื้อหนุนเรื่องค้าขาย โชคลาภ แรงๆราคายังไม่พุ่งมากครับแต่ในใจมีคำตอบอยู่แล้วคือ..ดวงเศรษฐี สงสัยพร้อมๆต้องกัดฟันมาบูชาซักองค์แล้วครับ
     
  3. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    เรียกอย่างเดิมดีกว่าครับ ทุกอย่างมันเป็นเรื่องสมมุติครับ
     
  4. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    ผมเสนอเพิ่มเติมอีกอย่างสองอย่างแล้วกันครับ

    ~ เหรียญหมุนเงินหมุนทองครับ 18รึ19เม็ดก็ได้ ขอให้หนาไว้ก่อน เข้าพิธีเจริญลาภด้วยครับ

    ~พระผงน่ังตั่งก็ดีนะครับ ผมเห็นคนที่มีพระกริ่งและพระแพงๆของลป.หลายคนก็แขวนพระผงนั่งตั่งกันเยอะ

    ผมชอบพระเรื้อโลหะเลยเลือกแขวนหมุนเงินหมุนทองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2014
  5. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ขอบคุณคุณโอ๊ตครับ
     
  6. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    เรียกพี่ดีแล้วครับ ง่ายดีและคุ้นปากด้วยครับ
     
  7. jamitcom

    jamitcom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2013
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +3,877
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ ถ้าเป็นพระผงนั่งตั่งก็ประหยัดทุนไปได้เยอะเรย..อิอิ
     
  8. jamitcom

    jamitcom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2013
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +3,877
    ได้ครับพี่ตี๋ น้องคนนี้ขอฝากเนื้อฝากตัว มีอะไรช่วยชี้แนะด้วยครับ
     
  9. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    ตอนผมเช่าพระผงดวงกับพระผงนั่งตั่งมาพร้อมๆกัน
    ตอนนั่นผงนั่งตั่งแพงกว่าผงดวงด้วยนะครับพี่แจม...
     
  10. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129
    ขอบคุณครับพี่ปู :cool::cool:
     
  11. jamitcom

    jamitcom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2013
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +3,877
    เป็นงั้นไปครับ สงสัยน้องโอ๊ตคงเก็บไว้เยอะหากพร้อมๆเมื่อไรจะขอแบ่งงามๆซักองค์นะครับ^^
     
  12. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129

    ผมว่าพี่ตี๋น่าจะมีประสบการณ์จริงอีกหลายเรื่อง ว่างๆ เล่าให้ฟังอีกนะครับ
    :cool::cool:
     
  13. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129
    [​IMG]
     
  14. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129

    ไม่น่าทัน น่าจะเป็นพระรุ่นใหม่ๆ ของที่วัดนะครับพี่ตี๋ :boo::boo:
     
  15. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129
    [​IMG]

    หิวเลยครับ pig_cryy
     
  16. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129

    นานๆ จะได้รับฝากจากน้องเอ๋

    [​IMG]
     
  17. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129

    :z3ภาพไม่อับเดต ต้องลงล่าสุดซะละมั้งครับ เด่วสู้พี่โญ ไม่ได้นา
     
  18. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129
    ประวัติ ครูบาขาวปี ยาวมาก สำหรับคนชอบอ่าน โดยเฉพาะครับ

    ....นับได้ว่าชีวิตและปฏิปทาของท่าน เป็นตัวอย่างบุคคลที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง และถือเป็นแบบอย่างในการต่อสู้ดำเนินชีวิตของนักรบผู้มีธรรมะเป็นอาวุธ ประวัติชีวิตการทำงานของท่านเล่มนี้ ข้าพเจ้าผู้เรียบเรียงได้รับการขอร้องจากคณะกรรมการวัดพระพุทธบาทผาหนาม ให้ทำขึ้นอีกครั้งหนึ่งด้วยเหตุผลที่ว่ายังไม่มีการรวบรวมที่ถาวร ขาดความสมบูรณ์ของเรื่องและประวัติชีวิตบางตอน ก็เหลือเพียงคำบอกเล่าจากผู้ใกล้ชิด ซึ่งหลายท่านปัจจุบันก็ชราภาพมากแล้ว ซึ่งหากจะให้เหลือเพียงคำบอกเล่า ก็จะถูกกาลเวลากลืนหายไป นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่งนักในการที่เพชรอีกเม็ดหนึ่งของลานนาไทย จะต้องถูกโคลนตมแห่งกาลเวลากลบจนไม่เห็นรัศมี
    แต่จะอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังไม่มั่นใจนักว่า ชีวิตและผลงานของท่านเล่มนี้จะสมบูรณ์ที่สุด จนหาข้อบกพร่องมิได้ เพราะข้าพเจ้าเองก็เป็นเพียงเด็กรุ่นหลัง จึงเพียงแต่เรียบเรียงเอาจากหนังสือประวัติบางส่วนและจากคำบอกเล่า แต่ด้วยความ มุ่งมั่นที่จะทำให้ดีที่สุด ข้าพเจ้าก็หวังว่าเนื้อหาทั้งหมดนี้ คงจะมีความสมบูรณ์และสารัตถประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย นั้นก็ถือเป็นความดี ที่ข้าพเจ้าขออุทิศเป็นผลบุญช่วยส่งเสริมให้วิญญาณที่บริสุทธิ์เสวยทิพย์อันเป็นเลิศอยู่แล้วของท่านครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี ให้พูนเพิ่มพลังมะเลืองร้อยเท่าพันทวี แต่หากมีความบกพร่อง แน่นอน ข้าพเจ้าขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว และพร้อมที่จะได้รับคำติติงจากท่าน เพื่อที่จะแก้ไขในคราวต่อไป สำหรับท่านที่เคารพหลายท่านที่ให้คำแนะนำ บอกเล่าถึงประวัติบางตอนของท่านฯ ข้าพเจ้าก็ขอกราบขอบพระคุณไว้เป็นอย่างสูง ซึ่งข้าพเจ้าขอแบ่งผลเป็นความภูมิใจในผลงานนี้ร่วมกัน และร่วมรับผลบุญจากการเทิดทูนประวัติของปูชนียบุคคลท่านหนึ่งให้ปรากฏขึ้น เป็นความสุขสราญจิตอยู่เป็นนิตยกาลเทอญฯ
    ประดิษฐ์ รัตนพรหม
    4 ยางส้ม อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
    (หมายเหตุจาก Webmaster: เนื่องจากได้มีความสับสนใน พ.ศ. เกิดของท่านครูบาขาวปี ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ระบุว่าเป็นปี 2443 ซึ่งเมื่อเทียบกับประวัติส่วนอื่น และประวัติของเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วก็จะไม่ลงตัว แต่ถ้าได้ใช้ปีเกิดที่คำนวณย้อนหลังในหัวข้อ "วันจากที่ยิ่งใหญ่" ที่ระบุว่า ท่านอายุ 83 ปี ใน พ.ศ. 2514 และในช่วงท้ายของหัวข้อ "ถาวรวัตถุที่ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีได้สร้างเพื่อศาสนประโยชน์ และสาธารณประโยชน์อื่น ๆ " ได้ระบุว่า "คัดเอามาจากหนังสือชีวประวัติสมัยสามห้องของท่าน ซึ่งท่านได้เขียนเอาไว้เมื่ออายุ 65 ปี ตรงกับ พ.ศ. 2496" ซึ่งเมื่อนับย้อนหลัง ปีเกิดของท่านก็จะต้องเป็นปี พ.ศ. 2431 และเมื่อใช้ปี พ.ศ.นี้ เทียบกับเหตุการณ์แวดล้อมก็จะลงตัวพอดีเกือบทั้งหมด ดังนั้นในประวัติของท่านในครั้งนี้จึงจะใช้ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นปีเกิดของท่าน
    หมายเหตุ ๒: ข้อความในกรอบพื้นสีอ่อน ที่แทรกอยู่เป็นระยะนั้น เป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่ Webmaster แทรกเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ข้อมูลสมบูรณ์ขึ้น)
    ลองใช้จินตนาการ ย้อนกาลเวลาไปประมาณ 90 กว่าปี จาก พ.ศ. 2525 สู่ปีพุทธศักราช 2431 ณ หมู่บ้านแม่เทย อ.ลี้ จ.ลำพูน ในสมัยนั้น ความเจริญยังย่างกรายมาไม่ถึง ทุรกันดารไปเสียทุกอย่าง เพราะยังเป็นบ้านป่าหย่อมเล็ก ๆ เพียง 9 หลังคาเรือนตั้งอยู่โดยมีความทะมึนของขุนเขาลำเนาไพรเป็นรั้วรอบ


    ชาวลั้วะโบราณ
    ภาพจาก www.lannacorner.net
    จากคำบอกเล่า แม่เทยสมัยนั้น ตกยามค่ำคืน เสียงส่ำสัตว์น้อยใหญ่ร้องระงมรอบบ้าน ไม่ว่าเสือ, ช้าง, เก้ง, กวาง คละเคล้ากันไปได้ยินถนัด ท้ายหมู่บ้านเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ของผัวหนุ่มเมียสาวคู่หนึ่งอาศัยอยู่ แม้จะยากจนแต่ก็มีความสุขตามประสาคนหนุ่มสาวที่มักมองโลกเป็นความน่าบันเทิงเริงรมย์ ยิ่งอยู่ในระยะข้าวใหม่ปลามันความฝันนั้นมักบรรเจิดยิ่งนัก
    ฝ่ายผัวมีเชื้อสายชาวลัวะชื่อ เม่า และเมียชื่อ จันตา เขาทั้งสองดำรงชีพแบบชาวบ้านป่าทั้งหลาย ด้วยการทำไร่ปลูกผักหักฟืนไปวัน ๆ โดยหาจุดหมายเพื่อความเป็นปึกแผ่นไม่ค่อยมั่นใจนักเพราะความยากจน สมัยนั้นไม่มีการทำนาเพราะยังไม่มีการบุกเบิก แต่จะพากันปลูกข้าวไร่แทน ได้ผลบ้างไม่ได้บ้าง แต่ที่แน่นอน ไม่พอกินไปตลอดปี ซึ่งถ้าหากข้าวเปลือกที่กักตุนหมด อาหารหลักที่รับช่วงต่อจากข้าวก็คือกลอย

    หัวกลอย
    กลอยเป็นพืชใช้กินหัวจัดอยู่ในตระกูลมัน มีหัวอยู่ในดิน ชาวบ้านป่าจะเที่ยวขุดมากักตุนไว้ในฤดูของมัน ซึ่งสมัยนั้นชุกชุม โดยเอาหัวกลอยที่ขุดมาได้นั้นปอกเปลือก ฝานเป็นชิ้นบาง ๆ นำมาตากแดดให้แห้ง เก็บไว้ได้นาน ๆ เวลาจะกินก็ใช้วิธีนึ่งจนสุก แล้วแปรเป็นอาหารทั้งรูปข้าวและเป็นของหวาน โดยจะเอาคลุกน้ำอ้อยน้ำตาล โดยขูดมะพร้าวผสมก็กินอร่อย หรือจะกินกับอาหารประเภทกับข้าว เช่น ผัก เนื้อ ก็ได้ดีเหมือนข้าว
    หลายท่านในภาคเหนือเราในปัจจุบันที่มีอายุ 40 - 50 ปี เคยกินกลอย และหลายท่านอีกเช่นกันที่เติบใหญ่มาด้วยการกินกลอยเป็นอาหารหลัก แม้กระนั้น เจ้ากลอยนี้แม้จะเป็นอาหาร แต่จะกินสุ่มสี่สุ่มห้า โดยไม่ใช่ฤดูกาล ไม่ได้เป็นอันขาด ขืนกินเข้าไปเป็นเมาเบื่อทันที จากผู้ชำนาญในด้านนี้ ท่านบอกว่าฤดูที่กินได้เริ่มตั้งแต่เดือน 11 เหนือ (เดือน 8 ใต้) ไปจนถึงเดือน 6 เหนือ (เดือน 3 ใต้ ) ต่อจากนั้นกลอยก็จะเฉา ขืนกินนอกจากฤดูดังกล่าวก็จะเกิดอาการเบื่อเมา ซึ่งก็รุนแรงพอดู และหากเกิดอาการดังกล่าวนี้ ท่านว่าให้กินน้ำผึ้งน้ำอ้อยหรือน้ำตาลให้มาก ๆ จะทำให้เกิดอาเจียนและหายเบื่อเมาได้ แต่ถ้าท่านไม่อยากเสี่ยง หากจะกินกลอยโดยไม่เกิดอาการเบื่อเมาแน่นอน ท่านก็ว่า หากนึ่งสุกแล้ว ทดลองให้สุนัขกินก่อน หากสุนัขกิน หรือไม่กิน ก็เป็นกลอยที่ท่านจะกิน หรือกินไม่ได้ เช่นกัน


    กลอยในฤดูปกติจะไม่มีพิษ และไม่แสลงโรค แต่ถ้าเริ่มกินในระยะ 3 - 4 วันแรก จะมีอาการอ่อนเพลียบ้าง แต่หลังจากนั้นร่างกายก็จะปรับตัวแข็งแรงขึ้นเหมือนกินข้าว แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ คนกินกลอยโดยทั่วไปมักใจคอหงุดหงิด โกรธง่าย ใครพูดผิดหูไม่ค่อยได้ และมักไม่กลัวใคร เห็นจะเป็นเพราะอานุภาพของกลอย ซึ่งจัดอยู่ในจำพวกว่านชนิดหนึ่ง ด้วยกลอยกินเปลืองกว่าข้าวโดยเทียบอัตรา ข้าวนึ่งหนึ่งไห ครอบครัวหนึ่งกินอิ่ม แต่ถ้ากินกลอยจะต้องนึ่งถึงสองไหจึงจะอิ่มพอ และลักษณะคนกินกลอยที่เหมือนกันเมื่อกินนาน ๆ คือท้องใหญ่แต่ไม่อ้วน
    วันกำเนิด
    ในวันจันทร์* เดือน 7 เหนือ ปีกัดเป้า (ปีฉลู) ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เดือนเมษายน 2431 อันเป็นวันมหาสงกรานต์ คำเมืองเรียกว่าวันปากปี ครอบครัวของ นายเม่า นางจันตา ก็มีโอกาสต้อนรับชีวิตเล็ก ๆ ชีวิตหนึ่งซึ่งลือตาขึ้นมาดูโลกในวันนี้ นับเป็นสายเลือดและพยานรักคนแรกและคนเดียวของพ่อเม่าแม่จันตา เพื่อให้เป็นมงคลตามวัน ทั้งสองจึงตั้งชื่อทารกน้อยนั้นว่า "จำปี" (*วันที่ 17 เมษายน 2431 เป็นวันอังคาร)
    ชีวิตวัยเยาว์
    ดังกล่าวแล้วว่า ครอบครัวท่านเป็นครอบครัวชาวบ้านป่า ค่อนข้างยากจน อาหารการกินจึงขาดแคลน มีแต่ผักกับกลอยเป็นอาหารหลัก เด็กชายจำปี จึงมีร่างกายบอบบาง พุงค่อนข้างป่องเพราะโรคขาดอาหาร จึงมักเจ็บออดแอด แต่ก็ไม่ร้ายแรงนัก "จำปี" มีแววฉลาดแต่ยามเล็ก ๆ ว่านอนสอนง่าย และเรียนรู้ประสบการณ์จากป่า ความสงบของธรรมชาติมาตลอดชีวิต แม้จะยากจนแสนเข็ญ ครอบครัวนี้ก็ยังคงมีความสงบสุข ยิ่งมีลูกน้อยเป็นสื่อสายใจ พ่อเม่า แม่จันตา ก็ยิ่งมุมานะทำงานขึ้นอีกเท่าตัว เพื่อสร้างอนาคตให้เด็กน้อยจำปี เด็กชายจำปีคงไม่เข้าใจการต่อสู้ของพ่อแม่นัก คงยังมีความร่าเริงสนุกไปตามประสาเด็ก ๆ และความน่ารักอันไร้เดียงสาของเขา มันหมายถึงความรักของพ่อแม่ที่ทุ่มเทให้ลูกน้อยจนสุดหัวใจ แม้ทั้งสองร่างกายจะเปื้อนเหงื่อ กว่าชีวิตประจำวันจะสิ้นสุด ก็ต่อเมื่อใกล้ค่ำย่ำสนธยา แต่ใบหน้าไม่เคยว่างรอยยิ้มอย่างเป็นสุข เมื่อเห็นลูกน้อยโผผวาเข้าหาอ้อมกอด นี้คือความรักของพ่อแม่ทุกคนในโลกที่มีต่อลูกน้อย
    การพลัดพรากที่ยิ่งใหญ่

    พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่าโลกนี้เป็นอนิจจัง มีความไม่เที่ยงแท้เป็นเครื่องกัดกร่อน ชีวิตมนุษย์ที่อุบัติขึ้นมาหาจุดหมายที่แท้จริงไม่ได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว สุขกับโศกมักจะเป็นเครื่องล้อเล่นให้ได้พบเสมอ พบกันเพื่อจะจากกันในที่สุด เป็นอยู่เช่นนี้เหมือนกันทั้งโลก
    ครอบครัวของหนุ่มเม่าก็เช่นกัน จากความกรากกรำในงานไร่ และต่อสู้เพื่อเลี้ยงทุกชีวิตที่ตนรับผิดชอบ ทำให้เขาล้มเจ็บลง มันเป็นไข้ป่าที่ร้ายแรง ซึ่งหลายคนเสี่ยงเอา หากว่าเป็นแล้ว ก็พึ่งยากลางบ้านต้มกินกันตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ หมอกลางบ้านจะแนะนำให้ อยู่หรือตายนั่นแล้วแต่บุญกรรม สำหรับหยูกยาทันสมัยไม่ต้องพูดถึง เพราะไกลความเจริญเหลือเกิน พูดง่าย ๆ ว่าจากลี้ไปเชียงใหม่ในสมัยนั้นต้องเดินกันเป็นสิบ ๆ วัน
    สำหรับพ่อเม่าค่อนข้างโชคร้าย ยากลางบ้านประเภทสมุนไพรสกัดโรคร้ายไม่อยู่ อาการมีแต่ทรงกับทรุด แม่จันตาต้องนั่งเฝ้ามิยอมห่าง ด้วยความเป็นห่วงกังวล โดยมีลูกน้อยนั่งอยู่ด้วยนัยน์ตาปริบ ๆ ด้วยคำถามที่ว่า
    "พ่อเป็นอะไรทำไมจึงไม่ลุกนั่งหอบอุ้มลูกเหมือนเก่าก่อน"
    แม่ก็ได้แต่บอกว่าพ่อไม่สบาย พร้อมกับน้ำตาอาบแก้มกับคำถามสุดท้ายอันไร้เดียงสาของลูก พร้อมกับตั้งความหวังว่าพ่อคงไม่เป็นอะไรมากนัก
    แต่อนิจจา ความตายนั้นไม่คำนึงเวลา และความรู้สึกของมนุษย์เลย แล้ววันนั้น วันที่พ่อเม่าต้องจากทุกคนไปอย่างไม่มีวันกลับก็มาถึง ท่ามกลางความเศร้าโศกของแม่จันตา และความอาลัยรักของเพื่อนบ้าน พ่อเม่าทิ้งซากที่ผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกอยู่บนที่นอนเก่า ๆ ให้แม่จันตาได้ร่ำไห้กอดรัดปิ่มว่าจะขาดใจตามไปด้วย เด็กชายจำปียังไร้เดียงสาเกินไปนักที่จะเข้าใจว่าความตายคืออะไร ด้วยวัยเพียง 4 ขวบ ก็ได้แต่พร่ำถามว่า แม่ร้องไห้ทำไม? พ่อเกลียดแม่หรือ? ทำไมพ่อจึงไม่พูด? ทุกคนที่เฝ้าดู อยู่จึงได้แต่เบือนหน้าหนีด้วยความสงสารสะเทือนใจ ความพลัดพรากจากของรักคนรัก นับว่าเป็นความเจ็บปวดรวดร้าวใจอย่างนี้เอง
    แสงทอง - แสงธรรม
    นับจากพ่อเม่าจากไปแล้ว ก็เหลือแต่สองแม่ลูกกัดฟันต่อสู้ ชีวิตท่ามกลางบ้านน้อยในห้อมแหนของดงดิบจึงขาดความอบอุ่นอย่างสิ้นเชิง เมื่อความทะมึนของราตรีมาถึง หลายครั้งที่สองแม่ลูกผวาเข้ากอดกันด้วยใจระทึก เมื่อเสียงนกกลางคืนที่กรีดร้อง เหมือนเสียงสาปแช่งของภูตผี นี่หากพ่อเม่ายังอยู่ พ่อก็คงเป็นที่พึ่งปลอบขวัญเหมือนมีกำแพงเพชรคอยกางกั้น เมื่อขาดพ่อ โลกนี้เหมือนโลกร้าง มีแต่เพียง "จำปี" กับแม่เพียงสองคน
    และมาถึงขณะนี้ "จำปี" เริ่มเติบใหญ่ แม้ร่างจะเล็ก แต่เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมก็หล่อหลอมหัวใจเด็กชายจำปีให้แกร่งดังเพชร และนี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรค เป็นนักสู้ชีวิตที่เข้มแข็งในกาลต่อมา


    ครูบาเจ้าศรีวิชัย
    เด็กชายจำปีกับแม่ช่วยกันต่อสู้ในการดำรงชีพอย่างทรหด จวบจนอายุ 16 ปี แม้จะเป็นวัยรุ่น แต่ความคับแค้นที่ผจญอยู่แทบทุกวันทำให้ "จำปี" ไม่ร่าเริงเหมือนเด็กทั่วไป กลับเป็นอันสงบเสงี่ยมเจียมตัว ชอบอยู่คนเดียวเงียบ ๆ และความคิดเป็นผู้ใหญ่เกินตัว
    ฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาศรีวิชัย
    สมัยนั้น (พ.ศ. 2447) ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังอยู่ที่วัดบ้านปาง วันหนึ่ง แม่เรียกเจ้าจำปีเข้ามาถาม
    "ลูกอยากบวชไหม"
    จำปีตอบว่า “อยากบวช แต่ยังห่วงแม่ เมื่อลูกบวชแล้วใครดูแล"
    แม่ตาตอบว่า "อยู่ได้ อย่าห่วงเลย อีกประการหนึ่ง การบวชนี้เป็นการช่วยพ่อแม่ที่ดีที่สุด เพราะเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างแท้จริง เมื่อเห็นลูกนุ่งเหลือง ก็นับว่าเป็นความสุขชื่นใจอย่างเหลือเกิน"
    (ในหนังสือ ปถมมูลกรรมฐาน ๔๐ ทัส ครูบาอภิชัยขาวปี อักษรธรรมล้านนา หน้า ๒ ที่ท่านเรียบเรียงด้วยตัวเอง ได้กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งนั้นไว้ว่า
    เมื่อท่านอายุได้ 14-15 ปี ท่านก็มาขบคิดรำพึงว่า
    "พ่อแม่แห่งกูนี้ งัวควายไร่นาก็บ่มี ก็มาเวทนาเป็นทุกข์ด้วยกินกลอยกินมัน บางทีก็ได้กินข้าว ก็มาเวทนาเป็นทุกข์ บ่รู้เสี้ยงรู้เมี้ยนสักเทื่อ อายุกูได้ ๑๔–๑๕ ปีแล้ว กูจักหาอันใดมาเลี้ยงแม่กูก็บ่มี ธรรมดาคนเราถ้าอายุได้ ๑๘–๑๙ ก็จักเอาผัวเอาเมียแล้ว ถ้าอายุกูได้ ๑๘–๑๙ ถ้าไปตกลูกตกเมียเสีย กูก็จักเมาเลี้ยงลูกเลี้ยงเมียอยู่ ไผจักมาเลี้ยงแม่แห่งกู แม่แห่งกูก็จักมีความเวทนาลำบากด้วยอันกลั้นข้าวอยากน้ำแลอาหารต่างๆ ถ้ากูไปเอาลูกเอาเมียเสีย ก็จักเมาเลี้ยงแต่ลูกแต่เมีย ก็บ่มีประโยชน์กับแม่แห่งกู ก็บ่มีบุญกับแม่แห่งกู ก็บ่มีประโยชน์กับตัวกู ก็บ่มีบุญกับตัวกู กูควรเข้าไปบวชในศาสนา ก็ยังจักมีประโยชน์กับแม่แห่งกู ก็ยังจักมีบุญกับแม่แห่งกู ก็ยังจักมีประโยชน์กับตัวกู ก็ยังจักมีบุญ กับตัวกู ถ้ากูได้บวชเป็นเณรแล้ว ก็ยังจักมีเพื่อนมาทานข้าวสุกข้าวสาร เงินทองอันใดก็ดี กูก็ยังจักได้เอามาเลี้ยงแม่แห่งกู")
    และจากคำแนะนำนี้ เด็กชายจำปีจึงถูกแม่พาไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย และในทันทีที่นำไปฝาก เพียงท่านครูบาเห็นลักษณะเด็กชายจำปีท่านก็รับไว้ทันที เหมือนดั่งจะมีตาทิพย์มองเห็นว่าเด็กคนนี้ในอนาคตจะต้องยิ่งใหญ่ ในฐานะนักบุญแทนท่าน และอีกไม่นานหลังจากร่ำเรียนสวดมนต์ อ่านเขียนอักขระทั้งภาษาไทยและพื้นเมืองจบแล้วท่านครูบาศรีวิชัย จึงให้บรรพชาเป็นสามเณร
    สามเณร "ศรีวิชัย"


    ครูบาขาวปี
    ระหว่างเป็นสามเณร ท่านได้ปฏิบัติกิจอันจะพึงมีต่ออาจารย์ คือครูบาศรีวิชัยอย่างครบถ้วน ท่านจึงเป็นที่รักของอาจารย์อย่างยิ่ง ท่านจึงตั้งชื่อให้เหมือนกับอาจารย์ สามเณรศรีวิชัย สามเณรน้อยได้เฝ้าอุปัฏฐากอาจารย์ และร่ำเรียนกัมมัฏฐานฐานและอักษรสมัยจนจบถ้วนด้วยความสนใจ พร้อมกับปฏิบัติตามที่พร่ำสอนจนดวงจิตสงบ พร้อมกันนั้น การถ่ายทอดในเชิงวิชาช่างก่อสร้างจากอาจารย์ จนเกิดความชำนาญและติดตามอาจารย์ครูบาศรีวิชัยไปก่อสร้างวัดวาอารามทุกหนทุกแห่งมิได้ขาด ดังนั้นทางด้านสถาปัตย์ ท่านจึงนับว่าเป็นหนึ่ง ท่านชำนาญจนถึงขนาดว่า เพียงเดินผ่านเสาไม้ต้นไหน ก็สามารถรู้ได้ทันทีว่า เสาต้นไหนกลวงหรือตัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ปรากฏว่าเสาต้นนั้นจะมีรอยกลวงให้ปรากฏแก่สายตา
    ครูบาเจ้าศรีวิชัยอุปสมบทให้
    ท่านดำเนินชีวิตทั้งในด้านการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และด้านพัฒนาก่อสร้างควบคู่กันไป จวบจนอายุได้ 22 ปี (พ.ศ. 2453) เป็นสามเณรได้ 6 ปี ท่านครูบาศรีวิชัยจึงอุปสมบทให้ แต่เพราะเหตุที่ท่านมีชื่อเหมือนกับอาจารย์ เมื่อเป็นภิกษุ อาจารย์จึงได้เปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า "อภิชัยภิกขุ" (หมายเหตุ: ในต้นฉบับเดิมท่านผู้เรียบเรียงได้เขียนถึงฉายาใหม่ของท่านว่า "อภิชัยขาวปี" ซึ่งน่าจะคลาดเคลื่อน เพราะคำว่า "ขาวปี" น่าจะเป็นฉายาของท่านเมื่อตอนนุ่งขาวห่มขาว ไม่ใช่ฉายาตอนเป็นพระภิกษุ - webmaster)
    ท่านอุปสมบทได้เพียง 2 พรรษา ท่านจึงกราบลาพระอาจารย์ เพื่อที่จะแยกไปมุ่งงานก่อสร้างต่อไป ซึ่งงานก่อสร้างโดยตัวของท่านนั้น จะได้เรียบเรียงตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงงานชิ้นสุดท้ายอีกต่างหากในท้ายเล่ม (คลิกที่นี่เพื่อไปดู)
    ผจญมาร
    พระอภิชัย เริ่มงานก่อสร้างในสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 24 จนถึงอายุ 35 ลางร้ายก็เริ่มอุบัติ สมัยนั้นใช้เงินตราปราสาททอง ตรารูปช้างสามหัว และเริ่มมีธนบัตรใช้ควบคู่กันไป ขณะที่กำลังก่อสร้างกุฏิวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน แต่ยังไม่ทันเสร็จ ปลัดอำเภอลี้สมัยนั้นก็มาสอบถามถึงใบกองเกินการเกณฑ์ทหารจากท่าน แต่ท่านไม่มี ตำรวจจึงคุมตัวไปจังหวัดลำพูนและส่งตัวฟ้องศาล เมื่อถูกศาลไต่สวนถึงใบกองเกิน ว่าทำไมถึงไม่ได้รับ ท่านก็ให้การว่า ขณะที่เริ่มมีการเกณฑ์ทหารนั้น ได้ระบุว่าให้ขึ้นทะเบียนตั้งแต่อายุ 18 ปีบริบูรณ์ แต่ขณะนั้น อายุอาตมาได้ 25 ปี บัดนี้อายุของอาตมาได้ 35 ปีแล้ว จึงนับว่าพ้นการเกณฑ์แล้ว ศาลจึงพักเรื่องนี้ไว้ก่อน
    (หมายเหตุ : พ.ศ. 2448 มีประกาศใช้ "พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124" พระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ประกาศใช้พร้อมกันทั่วประเทศ แต่ค่อย ๆ ขยายไปเรื่อย ๆ จนถึง พ.ศ. 2459 จึงประกาศบังคับใช้ครบทั่วราชอาณาจักร เข้าใจว่า ในปีที่พรบ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ที่จังหวัดลำพูนนั้น เป็นปีที่ท่านมีอายุ 25 ปี คือในพ.ศ. 2456)
    ถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวครั้งที่สอง
    หลังจากนั้นอีกไม่นาน ท่านก็ต้องขึ้นศาลอีก และให้ท่านรับใบกองเกิน แต่ท่านก็ไม่ได้ไปแจ้งแก่ทางการให้มีการยกเว้นหรืออย่างไร ฉะนั้นท่านจึงมีความผิดให้จำคุก 6 เดือน แล้วให้จัดการสึกท่านออกจากการเป็นพระภิกษุก่อน แต่ท่านก็ยังยืนยันว่าท่านบริสุทธิ์ ท่านเป็นพระทั้งกายและใจ ชีวิตนี้อุทิศให้กับศาสนาแล้ว ท่านไม่ยอมเปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกายของท่านด้วยมือของตัวเองเป็นอันขาด


    นักโทษถูกจองจำในสมัยโบราณ
    เมื่อยืนยันอย่างนี้ ศาลจึงให้ตำรวจคุมตัวท่านไปหาเจ้าคณะจังหวัด ให้จัดการสึกตามระเบียบ แม้กระนั้น ท่านก็ยังยืนยันอย่างเด็ดเดี่ยว ที่จะไม่ยอมสึก และเมื่ออภิชัยภิกษุไม่ยอมสึก เจ้าคณะจังหวัดจึงต้องบังคับ โดยให้ตำรวจจับเปลื้องผ้าเหลืองออกจากตัวท่าน จากนั้นก็ตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีอำนาจล้นเหลือในสมัยนั้น ก็สวมกุญแจมือท่าน แล้วคุมตัวไปโรงพักเสียคืนหนึ่ง
    วันรุ่งขึ้นเวลาบ่าย 4 โมงเย็น ก็ถูกส่งเข้าจองจำในเรือนจำของจังหวัดลำพูนในสมัยนั้นต่อไป ซึ่งในนั้นท่านต้องได้รับทุกข์เวทนาแสนสาหัส
    ท่านเล่าถึงชีวิตในคุกตอนนั้นว่า คุกในสมัยนั้นสุดแสนสกปรก ยังเป็นคุกไม้ พื้นปูกระดาน เวลานอนก็นอนทั้ง ๆ ที่ล่ามโซ่ โดยสอดร้อยกับนักโทษคนอื่น คือข้อเท้าทั้งสอง ล่ามโซ่ตรวน มีโซ่เส้นใหญ่ สอดร้อยลอดตะขอพ่วงกับนักโทษคนอื่นอีกที
    เรื่องจะนอนหลับสบายนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะพอล้มตัวนอน ฝูงเรือดนับเป็นร้อย ๆ ตัวอ้วนปี๋เป็นต้องรุมกัดดูดเลือดกิน ให้ยุบยิบไปหมด จะถ่ายหนักถ่ายเบา ก็ว่ากันตรงช่องกระดานตรงที่ใครที่มัน เรื่องกลิ่นเหม็นไม่ต้องห่วง คลุ้งไปหมด ตลบอบอวลทั้งเรือนจำทีเดียว
    ชีวิตประจำวันในห้องขังก็คือ พอ 7 โมงเช้า เปิดประตูห้องขัง ทำงานไม่ทันไร ถึงเวลา 8 นาฬิกา ผู้คุมเป่านกหวีดเลิกงาน ทานข้าว ซึ่งข้าวนี่ก็อย่าหวังว่าจะกินให้อิ่มหมีพีมัน และเอร็ดอร่อย ไม่มีทาง ข้าวกระติกเล็ก ๆ แกงถ้วยหนึ่ง ต้องกินถึง 4 คน พอหรือไม่พอกิน ก็มีให้เท่านั้น ซึ่งแน่ละเวลากินก็ใช้ความว่องไว ขืนมัวทำสำอาง ค่อยเปิบค่อยกิน เป็นต้องอด คนอื่นที่เขาไว กินเรียบหมด และกับข้าวแต่ละวันนั้นเลือกไม่ได้ จะมีจำพวกผักเสียแหละเป็นส่วนมาก เช่น ยอดฟักทอง ผักตำลึงเป็นต้น แกงใส่ปลาร้า ค้างปี เหม็นหืน หาความอร่อยไม่มีเลย ถ้าเทให้หมูกินยังสงสัยอยู่ว่ามันจะกินหรือไม่ ข้าวนึ่งที่ใช้รับประทานก็เป็นข้าวเก่า แข็งเหมือนกินก้อนกรวด เป็นข้าวแดงใช้แรงนักโทษนั่นเองช่วยกันตำ จึงดีอยู่หน่อยที่มีวิตามิน กินแล้วแรงดี
    สร้างโรงพยาบาล
    ท่านอภิชัยขาวปีทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกไม่นาน ก็ได้ไปเห็นโรงพยาบาลจังหวัดลำพูนในสมัยนั้นชำรุดทรุดโทรมเหลือเกิน ท่านจึงแจ้งให้กับผู้บัญชาการเรือนจำ ๆ ก็ไปหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด ๆ ก็กลัวว่าจะสร้างไม่ทันเสร็จ เพราะท่านอภิชัยขาวปีติดคุกอยู่แค่ 6 เดือนเท่านั้น จึงไม่อนุญาต
    ท่านจึงถามว่า "ถ้าสร้างเหมาโรงพยาบาลนี้จะใช้งบประมาณเท่าไร อนึ่งถ้าสร้างภายใน 6 เดือนไม่เสร็จ เมื่อถึงคราวฉลองเมื่อไรก็จะร่วม"
    ทางจังหวัดก็บอกว่าถ้ามีเงินถึง 1,600 บาทก็สร้างได้ (ในสมัยนั้นมีค่ามาก) ท่านจึงออกเงินส่วนตัวมอบให้ทางจังหวัดเพื่อเป็นทุนสร้างโรงพยาบาลต่อไป เป็นจำนวนเงิน 1,600 บาท ซึ่งหลังจากได้รับทุนแล้วก็ดำเนินการก่อสร้างทันที
    และผลแห่งความดีนั้น ทางจังหวัดก็ส่งให้ทางเรือนจำ ส่งท่านให้ไปพำนักอยู่ในโรงพยาบาลหลังเก่า เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานสร้างโรงพยาบาล พร้อมกันนั้นก็ให้นักโทษชาย 2 คน มาอยู่ด้วยเพื่อปรนนิบัติ ทั้งอาหารการกินก็ถูกกำชับให้ทำอย่างดีและสะอาดเป็นพิเศษกว่านักโทษทั้งหลาย ท่านก็เลยพ้นจากการทรมานเพราะถูกเรือดยุงกัด
    นับจากนั้นมา การก่อสร้างก็รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากบรรดาประชาชนทั้งหลายที่เลื่อมใสในตัวท่าน เมื่อทราบข่าวว่าท่านมาเป็นประธานในการก่อสร้างโรงพยาบาล ก็พากันมาช่วยและทำบุญด้วยอย่างคับคั่งและเงินที่ได้จากการบริจาคครั้งนั้น ยังได้ถึง 2,000 กว่าบาท เกินกว่าที่กำหนดไว้ถึงสี่ร้อยบาท
    วันพ้นโทษ
    ครั้นถึงเดือน 9 เหนือ แรม 2 ค่ำ ก็เป็นวันที่ท่านพ้นโทษตามคำพิพากษาครบ 6 เดือนและโรงพยาบาลก็แล้วเสร็จก่อนถึง 10 วัน ในวันที่จะออกจากคุกนั้น ท่านก็ได้ให้ทานแก่พวกนักโทษทั้งหลายเป็นขนมส้มหวานทั้งอาหารทั้งหลายอย่างเหลือเฟือ จนพวกเขาอิ่มหมีพีมันไปตามๆ กัน เพราะเมื่อถึงตอนที่ท่านยังถูกจองจำอยู่ในคุกนั้น ระยะหลังพวกนักโทษทั้งหลายก็อยู่กินสบายจากของไทยทานที่ประชาชนผู้เลื่อมใสมาถวายถึงในคุกเป็นประจำทุกวันอย่างมากมาย รวมความว่าผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในเรือนจำทั้งหมด ล้วนแล้วแต่ได้รับความสบายในด้านอาหารการกินไปตาม ๆ กัน
    ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดพ้นโทษ วันนั้น นักโทษทั้งหลายต่างพากันปริเวทนา บ่นพร่ำว่า เมื่อท่านอออภิชัยขาวปีพ้นโทษไปแล้ว พวกเราทั้งหลายยังจะได้อยู่กินอิ่มอย่างนี้อีกหรือ แล้วพากันร่ำไห้ ด้วยความอาลัยรักในตัวท่านเสียงระงม เป็นภาพที่สะเทือนใจยิ่งนัก แม้ตัวท่านเองก็แทบกลั้นน้ำไว้ไม่อยู่
    พวกเขาพากันมารอที่ประตูคุกเป็นการส่งท่านด้วยใบหน้าที่นองไปด้วยน้ำตา และจากปากประตูคุกจนถึงวัดพระธาตุหริภุญชัยมีประมาณระยะทาง 70 วา ก็มีประชาชนมายืนเรียงรายถวายทานกับท่าน ซึ่งก็ได้เป็นเงินถึง 300 บาท พอดีกับเงินที่ซื้อของถวายทานให้แก่นักโทษ เหมือนกับเป็นการยืนยันว่า การทำบุญสุนทานนั้นไม่หายไปไหน
    เมื่อท่านเดินทางไปถึงประตูวัดพระธาตุหริภุญชัย ก็มีพระสงฆ์ 10 รูป มาสวดมนต์เป็นการลดเคราะห์สะเดาะภัยให้ แล้วให้ศีลให้พรให้อยู่ดีมีสุขสืบไป จากนั้นพอถึงเดือน 9 เหนือ แรม 4 ค่ำก็ร่วมฉลองโรงพยาบาลเป็นเวลา 3 วัน
    อุปสมบทครั้งที่ 2
    ในวันที่แล้วเสร็จงานฉลองสมโภช ท่านก็เดินทางไปนมัสการท่านอาจารย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ในครานั้นท่านครูบาศรีวิชัยจึงอุปสมบทท่านเป็นภิกษุอีก โดยมีครูบาแห่งวัดนั้นเป็นอุปัชฌาย์ หลังจากได้กลับมาสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว ท่านอยู่จำพรรษากับครูบาศรีวิชัยได้ 1 พรรษา ก็ลาอาจารย์จาริกสร้างสถานที่ต่าง ๆ ต่อไปอีกหลายแห่งทั้งวัดและโรงเรียน
    ถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวครั้งที่ 1
    เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2465 ขุนระมาดไมตรี กำนันคนแรกของตำบลแม่ระมาด จังหวัดตาก และชาวบ้านแม่ระมาด มีความปรารถนาจะได้มีพระพุทธรูปไว้กราบสักการบูชาเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ จึงได้ไปติดต่อขอเช่าบูชาพระพุทธรูปแกะสลักจากหินอ่อนทั้งแท่ง มาจากประเทศพม่า นับเป็นพระพุทธรูปหินอ่อนขนาดใหญ่ ลำดับ 3 ของโลก รองจากองค์ใหญ่ที่สุดในโลกประดิษฐานที่ประเทศอินเดีย และลำดับ 2 ประดิษฐานอยู่ที่ประเทศปากีสถาน และองค์ที่สามคือองค์นี้ ในราคา 800 รูปี มีขนาดหน้าตักกว้าง 1.30 เมตร สูงจากพระแท่นฐานถึงรัศมี 1.60 เมตร
    แม้องค์ท่านจะมีน้ำหนักมากแค่ไหน แต่ความศรัทธาที่มี ผู้ไปอัญเชิญต่างก็ไม่ย่อท้อ นำท่านมาทางเรือผ่านเมืองมะละแหม่ง แล้วเดินทางต่อจนถึงท่าเรือจองโต
    จากท่าเรือแห่งนี้ท่านครูบาขาวปี ซึ่งเป็นที่เคารพรักของชาวบ้านและชาวภาคเหนือ ได้ไปรับพระพุทธรูปหินอ่อนพร้อมญาติโยม อัญเชิญขึ้นบนเกวียนแล้วเดินทางถึงเมืองกรุกกริก บ้านจ่อแฮ (บ้านกะเหรี่ยง) การเดินทางด้วยความยากลำบากเพราะเป็นภูเขาสูงชันมากจึงล่าช้ามาก ต้องนอนพักแรมระหว่างทางถึง 2 คืน
    จากนั้นก็เดินทางมาถึงหมู่บ้านป้างกา การเดินทางรวดเร็วขึ้นเพราะเป็นพื้นที่ราบจนกระทั่งถึงหมู่บ้านเมียวดีริมฝั่งแม่น้ำเมย เขตประเทศพม่า ตรงข้ามบ้านท่าสายลวด อำเภอแม่สอดปัจจุบัน จึงอัญเชิญลงจากเกวียนข้ามแม่น้ำเมยเข้าประเทศไทย ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยพักผ่อนที่บ้านท่าสายลวด 3 คืน แล้วเดินทางเข้าเขตอำเภอแม่ระมาด และอัญเชิญพระพุทธรูปหินอ่อน ประดิษฐาน ณ วัดดอนแก้วแห่งนี้
    มีเรื่องเล่ากันว่าตอนที่นำองค์พระพุทธรูปข้ามแม่น้ำด้วยแพนั้น มีช่วงหนึ่งที่น้ำไหลเชี่ยวรุนแรงมาก จนแพพลิกและองค์พระได้เลื่อนหลุดจมลงในน้ำ ชาวบ้านต่างพากันใช้เชือกช่วยกันฉุดรั้งกันอย่างเต็มที่ ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ไม่ว่าจะทำประการใด ก็ไม่เป็นผล จนต้องนิมนต์ขอบารมีท่านครูบาอภิชัยขาวปีช่วย
    ครูบาท่านลงแพไม้ไผ่ แล้วใช้ด้ายเส้นเล็กๆ ส่งให้คนดำลงไปคล้ององค์พระพุทธรูป แล้วท่านก็ตั้งจิตอธิษฐานอัญเชิญพระพุทธรูป จบคำอธิษฐาน ท่านครูบาดึงเส้นด้ายที่คล้ององค์พระขึ้นมา องค์พระพุทธรูปที่ปกติต้องใช้คนหามนับสิบคนจึงจะยกไหวก็ได้ลอยขึ้นมาและ สามารถอัญเชิญขึ้นฝั่งได้สำเร็จเป็นที่อัศจรรย์มาก รวมเวลาที่ไปอัญเชิญพระพุทธรูปหินอ่อนในครั้งนี้เป็นเวลา 12 วัน

    ที่แม่ระมาดนี่เอง ก็มีเรื่องน่าเศร้าใจเกิดขึ้นอีก กล่าวคือ เมื่อสร้างพระวิหารเพื่อประดิษฐานพระหินอ่อนนั้น เงินไม่พอ ยังขาดอยู่อีก 700 บาท เป็นค่าทองคำเปลว 400 บาท กับค่านายช่างอีก 300 บาท ท่านก็ปรึกษาเรี่ยไรเอาจากชาวบ้านจนครบด้วยความเต็มใจของชาวบ้าน แล้วช่วยกันสร้างต่อ จนแล้วเสร็จทันฉลอง (หมายเหตุ: ตามบทความเดิมของผู้เรียบเรียง ระบุว่าเป็นการสร้างโบสถ์ แต่ตามหัวข้อ "บัญชีรายชื่อสถานที่ที่ท่านได้สร้างระหว่าง อายุ 35-42 ปี" ระบุว่าเป็นการสร้างวิหาร)

    พระวิหารวัดดอนแก้ว
    ที่ประดิษฐานพระหินอ่อน
    เมื่อเรื่องการเรี่ยไรนี้ทราบถึงอำเภอ จึงเรียกกำนันไปสอบสวนว่า อภิชัยภิกษุ เรี่ยไรจริงหรือไม่ กำนันก็รับว่าจริงแต่ด้วยความเต็มใจของชาวบ้าน เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นงานสร้างโบสถ์ก็หยุดชะงัก ทางอำเภอก็ว่าเต็มใจหรือไม่ก็ผิดเพราะเป็นพระเป็นเจ้าจะทำการเรี่ยไรไม่ได้ ผิดระเบียบคณะสงฆ์ แล้วรายงานเรื่องนี้ไปยังเจ้าคณะจังหวัดๆ จึงตัดสินว่าให้สึกพระอภิชัยเสีย ท่านจึงจำยอมสึกจากภาวะความเป็นภิกษุ ท่ามกลางความสลดหดหู่ของผู้คนที่รู้เห็นเป็นอันมาก ที่ท่านครูบาของพวกเขาต้องมารับกรรมเพราะทำความดี อย่างไม่ยุติธรรม
    ท่านต้องเปลี่ยนมานุ่งห่มแบบชีปะขาวอยู่ที่ใต้ต้นประดู่แห้งที่ยืนต้นตายซากมานานเป็นแรมปี ซึ่ง ณ ที่นี้ เองจึงเกิดเรื่องที่น่าอัศจรรย์สมควรจะบันทึกไว้คือ พอท่านเปลี่ยนผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกายมาครองผ้าขาวเท่านั้น ต้นประดู่ที่แห้งโกร๋นปราศจากใบนั้น ก็ผลิตดอกออกใบขึ้นมาอีก ท่ามกลางความอัศจรรย์ใจของบรรดาประชาชนที่ร่วมชุมนุมอยู่เป็นอันมาก ต่างพากันหลั่งน้ำตา ล้มตัวก้มลงกราบโดยพร้อมเพรียงกัน นับเป็นปรากฏการณ์ที่จะไม่เห็นอีกในชีวิต

    หลวงปู่ครูบาขาวปีท่านอธิษฐานให้เทวดาฟ้าดินเป็นพยานว่า ถ้าท่านไม่ผิดอย่างที่เขาว่า ขอให้แสดงอะไรเป็นประจักษ์พยานด้วย ท่านถอดสังฆาฏิพาดไว้บนต้นไม้ที่ยืนแห้งตาย ต้นไม้แตกใบใหม่เดี๋ยวนั้นเลย..!
    แต่คนก็ยังไม่เชื่อ จับท่านสึกจนได้ เอาผ้าขาวให้ท่านนุ่ง พอท่านนุ่งผ้าขาวเสร็จ กะเหรี่ยงก็เอาช้างมาแห่ท่านไปเลย กะเหรี่ยงบอกว่า "ตุ๊เหลืองตุ๊พวกเจ้า แต่ตุ๊ขาวตุ๊ของเฮา"
    จาก เรื่องเล่าเกี่ยวกับ ครูบาอภิชัยขาวปี โดย
    หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ วัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี

    มารตามรังควาน ไม่นานจากนั้น ท่านพร้อมกับผู้ติดตาม ก็มุ่งกลับสู่อำเภอลี้ โดยรอนแรมมาเป็นระยะเวลา 10 วัน 10 คืน ก็เดินทางมาถึง อ.ลี้ พักอยู่ที่กลางทุ่งนาบ้านป่าหก ได้ 4 คืน นายอำเภอลี้ จึงให้ตำรวจมาขับไล่ไม่ให้อยู่โดยไม่มีเหตุผล ด้วยความใจดำเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงมาพักอยู่กลางทุ่งนาบ้านแม่ตืน ณ ที่นี้ก็ถูกทางอำเภอกลั่นแกล้งอีก โดยรายงานไปทางจังหวัดว่า ปะขาวปีนำปืนเถื่อนมาจากแม่สอดมาถึง 1,000 กระบอก หลังจากรับรายงาน จึงมีบัญชาให้นายร้อยตำรวจ 2 คนกับพระครู 2 รูป ขึ้นมาทำการตรวจค้นไต่สวน ท่านว่า "ไม่เป็นความจริงหรอก อาตมาเดินทางผ่านมาตั้ง 2 จังหวัดแล้ว ยังไม่เห็นมีใครกล่าวหาเช่นนี้เลย ถ้าท่านไม่เชื่อก็เชิญค้นดูเองเถิด" ตำรวจทั้งสองก็ค้นสัมภาระของคณะติดตามดู ก็พบปืนแก๊ป 1 กระบอก แต่ปรากฏว่าเป็นปืนมีทะเบียนของชาวบ้านผู้ติดตามคนหนึ่ง จึงไม่ว่าอะไร จากนั้นก็ไปค้นจนทั่ว ลามปามเข้าค้นถึงในวัดแม่ตืน จนพระเณรแตกตื่นเป็นโกลาหล แต่ก็ไม่พบอะไรอีก จึงพากันเดินทางกลับด้วยความผิดหวัง ก่อนกลับก็ไปต่อว่าต่อขานทางอำเภอลี้เสียจนหน้าม้าน หาว่าหลอกให้เดินทางมาเสียเวลาเปล่า เหนื่อยแทบตาย (เพราะสมัยนั้นไม่มีรถยนต์แม้แต่คันเดียว) ทางนายอำเภอจึงจำเป็นต้องออกค่าเดินทาง พร้อมเสบียงอาหารให้คณะนายตำรวจ ดังกล่าวเดินทางกลับ เสร็จจากเรื่องที่กล่าวหานั้นแล้ว ท่านพร้อมกับคณะก็เดินทางจากแม่ตืนเพื่อจะไปหาท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่วัดพระนอนปูคา บ้านแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ ระหว่างทาง พักที่วัดห้วยกานคืนหนึ่ง เมื่อเข้าเขตกิ่งบ้านโฮ่ง ชาวบ้านก็พาตำรวจมาดักจับอีก ด้วยข้อหาอะไรไม่แจ้ง แต่ตำรวจก็จับไม่ไหวเพราะคนตั้งมากมาย ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไรจึงล่าถอยไป ท่านจึงไปพักที่วัดดงฤๅษีคืนหนึ่ง แล้วมุ่งไปทางบ้านหนองล่อง ณ ที่นี้ก็ถูกคณะข้าหลวงดักจับอีก แต่ก็จับไม่ไหวอีกเช่นกัน ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มาขอพบ เมื่อถึงวัดท่าลี่ คณะที่พักอยู่ที่ศาลา ในตอนเย็น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จึงเข้าไปสอบถาม ผู้ว่าฯ "ท่านอยู่บ้านใด เกิดที่ไหน" ครูบาฯ "เดิมอาตมาอยู่บ้านแม่เทย อ.ลี้ ลำพูนนี่เอง" ผู้ว่าฯ "อ้อท่านก็เป็นคนเมืองเราเหมือนกัน ก่อนมาถึงที่นี่ท่านไปไหนมา" ครูบาฯ "อาตมามาจากพม่า" ผู้ว่าฯ "ไปอยู่นานไหม " ครูบาฯ "5 ปีแล้ว" (คำตอบของท่านตรงนี้น่าสนใจว่า ท่านไปอยู่ที่พม่าถึง 5 ปี ในช่วงระยะเวลาใด? - Webmaster) ผู้ว่าฯ "อือม์ ก็ไม่เห็นมีเรื่องอะไรดังเขาเล่าลือ แต่ก็มีอีกอย่าง ขอให้ท่านเสียค่าประถมศึกษา 8 บาท ให้กับทางอำเภอเสีย ตามระเบียบที่ทางการกำหนดไว้ หลังจากนั้นก็ไม่มีอะไร" ขณะนั้นกำนันกับชาวบ้านที่ร่วมชุมนุมอยู่ ณ ที่นั้นได้ยินจึงช่วยกันบริจาคให้ท่าน ได้เงิน 15 บาท ท่านจึงมอบให้กับนายตำรวจคนหนึ่งที่มากับผู้ว่าฯ ไป แต่ก็นับว่าเป็นคราวเคราะห์ของตำรวจคนนั้น ซึ่งพอรับเงินไปได้สักครู่ก็ไปทำหายเสีย จึงต้องควักกระเป๋าตัวเองจ่ายแทนไปตามระเบียบ วิหารครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ภาพโดย Jakrapan เว็บชุมชนออนไลน์เชียงใหม่ และสังคมแห่งใหญ่ที่สุดของจังหวัด Chiang mai Community Online หลังจากที่พักที่ท่าลี่คืนหนึ่งแล้ว ท่านพร้อมคณะก็ขนของข้ามแม่น้ำปิงไปขึ้นรถ ไปจนถึงวัดพระนอนปูคา แล้วอยู่ร่วมฉลองวิหารพระนอนปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับท่านครูบาศรีวิชัย ซึ่งท่านมาวัดพระนอนแม่ปูคา เพื่อบูรณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ และสร้างวิหารพระนอนแม่ปูคา จนแล้วเสร็จ แล้วก็กลับมา หมายจะมาจำพรรษาที่วัดแม่ตืน อ.ลี้อีก แต่นายอำเภอจอมเหี้ยม ก็สั่งกำนันมาไล่ไม่ให้อยู่เป็นอันขาด ท่านจึงสุดแสนที่อัดอั้นตันใจและรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่งที่ถูกจองล้างจอง ผลาญอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สร้างวัดพระบาทตะเมาะ ก็พอดีท่านคิดได้ว่ามีญาติทางพ่อของท่านเป็นกำนันอยู่ที่ตำบลดอยเต่า จึงให้คนไปบอกให้มาพบท่าน เมื่อกำนันมาถึงแล้วท่านก็ถามว่า "อาตมาจะไปอยู่ที่พระบาทตะเมาะได้หรือไม่" กำนันดอยเต่าจึงไปปรึกษากับทางอำเภอ ๆ จึงบอกว่า ดีแล้ว ให้ไปบอกท่านให้มาอยู่เร็วๆ เถิด ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ไปอยู่พระบาทตะเมาะ โดยสร้างอารามขึ้นที่นั้น ด้วยความร่วมมือทั้งฝ่ายนายอำเภอและป่าไม้อำเภอ ไปจองที่กว้าง 500 วา ยาว 500 วา และที่พระบาทตะเมาะนี้เอง ท่านได้สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทหนึ่งหลัง มีเจดีย์ตั้งอยู่บนวิหารถึง 9 ยอด นับเป็นศิลปะที่งดงาม ปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งท่านจะไปเที่ยวชมได้ นับเป็นวิเวกสถานที่เหมาะกับผู้ใฝ่หาความสงบที่เหมาะมากอีกแห่งหนึ่ง ในเรื่องการสร้างวัดพระบาทตะเมาะนี้ ครูบาชัยยะวงศา แห่งวัดพระบาทห้วยต้มท่านได้เล่าให้ฟังว่า ครูบาอภิชัยขาวปีเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ และจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2467 รวมเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ 33 ปี คำว่า “ตะเมาะ” นั้น เป็นคำพูดที่เพี้ยนมาจากคำว่า “เต่าหมอบ” เพราะที่วัดมีก้อนหินที่มีลักษณะคล้ายเต่าหมอบอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพูดคำว่าเต่าหมอบ นานเข้าจึงเพี้ยนเป็น ตะเมาะ ครูบาชัยยะวงศาได้บูรณะสถานที่สำคัญหลายแห่งภายในวัด เช่น มณฑป ๙ ยอดครอบรอยพระพุทธบาท ฯลฯ และครูบาชัยยะวงศาได้มาช่วยครูบาอภิชัยขาวปีก่อสร้างเป็นเวลา 5 ปี สิ่งก่อสร้างที่เหลือไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชมอีกอย่างก็คือ กำแพงซึ่งทำจากหินล้วน ไม่มีการใช้ปูนแต่อย่างใด กำแพงหินดังกล่าวเป็นแนวยาว 2 ชั้น แต่ละชั้นยาวประมาณ 100 เมตร นอกจากแนวกำแพงหินแล้ว ในปี พ.ศ. 2500 ครูบาชัยยะวงศายังได้สร้างมณฑปไม้ไว้ด้วย มณฑปนี้เป็นรูปทรงล้านนา และทำจากไม้ทั้งหลัง ซึ่งปัจจุบันจะหาช่างทำได้ยาก เพราะมณฑปทั้งหลัง ใช้การเข้าลิ่มสลักด้วยไม้ทั้งสิ้น จะใช้นอตเหล็กยึดเพียงไม่กี่ตัว ครูบาชัยยะวงศาเล่าให้ฟังว่า มณฑปนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ล้ำค่าสำหรับท่าน เพราะต้องผจญกับอุปสรรคต่าง ๆ นานับปการ เนื่องจากเขตวัดพระพุทธบาทตะเมาะขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้นทางการจังหวัดเชียงใหม่เข้มงวดเรื่องป่าไม้มาก แม้จะนำมาสร้างเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นการลำบาก ในระหว่างที่ครูบาชัยยะวงศามาทำการก่อสร้างที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะอยู่นั้น ท่านต้องพักผ่อนจำวัดอยู่ที่ห้วยน้ำอุ่น (ปัจจุบันเป็นวัดห้วยน้ำอุ่น มีครูบาบุญยังเป็นเจ้าอาวาส) ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดลำพูน ห่างจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะ 5 กิโลเมตร........ ........เหตุที่ครูบาชัยยะวงศาไม่สามารถจำวัดและให้คณะศรัทธาพักที่ วัดพระพุทธบาทตะเมาะได้ เนื่องจากขณะนั้นครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของจังหวัดเชียงใหม่มีความเข้มงวด ในระหว่างที่กำลังก่อสร้างอยู่นั้น ศิษย์ของครูบาอภิชัยขาวปีเกิดมีเรื่องกับเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของบ้านเมือง จนกระทั่งพระปันถูกจับสึกให้นุ่งห่มขาว (ครูบาขาวคำปัน) เป็นเหตุให้ครูบาอภิชัยขาวปี ต้องย้ายจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะไปอยู่วัดพระธาตุห้าดวง และ วัดพระพุทธบาทผาหนาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และเมื่อสร้างมณฑปเสร็จแล้ว ก็ทำการฉลองกันอย่างรีบเร่ง เมื่อฉลองเสร็จครูบาชัยยะวงศาก็ติดตามครูบาอภิชัยขาวปีไปพำนักยังสถานที่ อื่นเพื่อสร้างบารมีต่อไป (คัดลอกจาก หนังสือประวัติครูบาชัยยะวงศา ถ่ายทอดโดย สิริวฑฺฒโนภิกขุ ) พ.ศ. 2470 ครูบาอภิชัยขาวปี ได้บูรณะพระธาตุเมืองเก่าห้วยลึก บ้านท่าสองยาง จังหวัดตาก ขึ้นใหม่ ต่อจากที่ นายพะสุแฮ ที่เป็นศรัทธาชาวกระเหรี่ยงได้บูรณะไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ.2412 โดยในการบูรณะในปี 2470 นี้ ท่านครูบาได้เปลี่ยนรูปทรงทำเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม และในปีเดียวกัน ท่านก็ได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระวิหารวัดพระนอนม่อนช้าง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน และธรณีพระธาตุโดยรอบแต่ไม่แล้วเสร็จ ต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มาบูรณะและสร้างต่อจนเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2473
    ช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ
    แต่ด้วยวิญญาณของนักพัฒนา ท่านก็อยู่จำพรรษาที่พระบาทตะเมาะไม่นาน ขณะนั้นครูบาศรีวิชัยกำลังสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เชียงใหม่อยู่ ซึ่งครูบาศรีวิชัย ได้กำหนดฤกษ์ที่จะลงมือขุดจอบแรกสำหรับการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 ท่านจึงพากะเหรี่ยง 500 คน ขึ้นไปช่วยทำถนนขึ้นดอยสุเทพร่วมกับอาจารย์จนแล้วเสร็จ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2478 จึงกลับลงมาพักกับอาจารย์ที่วัดพระสิงห์

    อุปสมบทครั้งที่ 3
    ที่วัดพระสิงห์นี้ ท่านครูบาศรีวิชัยก็อุปสมบทให้ท่านเป็นภิกษุอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่กระนั้นก็ตาม ดูเหมือนว่าท่านไม่มีบุญพอที่จะอยู่ในผ้าเหลืองได้นาน ๆ พอท่านครูบาศรีวิชัยก็เกิดคดีต่าง ๆ นานา ต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 คงทิ้งให้ท่านอยู่รักษาวัดพระสิงห์แต่เพียงผู้เดียว
    ครองผ้าขาวครั้งที่ 3

    แต่ระหว่างการสอบสวนครูบาศรีวิชัยที่กรุงเทพฯ นั้น คณะสงฆ์เชียงใหม่ก็เปิดการสอบสวนภิกษุเจ้าอาวาสต่างๆ ที่ขอลาออกจากคณะสงฆ์มาขึ้นกับครูบาศรีวิชัยถึงขั้นมีการ "สึก" เจ้าอาวาสหลายต่อหลายวัด การสอบสวนเจ้าอาวาสวัดต่างๆ กว่า ๖๐ วัด ในเชียงใหม่และลำพูนนี้ เป็นเหตุให้มีเจ้าอาวาสหลายวัดถูกจับสึก เพราะไม่ยอมรับที่จะเข้ามาอยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ ยืนยันจะขอขึ้นกับครูบาศรีวิชัยต่อไป
    เจ้าอาวาสบางวัดก็หนีไปจากวัดเฉยๆ ไม่ยอมให้การกับคณะสงฆ์เชียงใหม่ นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยอยู่ในกรุงเทพฯ อันนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่คณะสงฆ์เกิดการแตกแยกกันขึ้นอย่างขนาดใหญ่ในหัวเมืองพายัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เชียงใหม่ และลำพูนกันมาอีกหลายเดือน ตลอดระยะเวลาที่ครูบาศรีวิชัยถูกส่งไปอบรมและสอบสวนที่กรุงเทพฯ
    จากหนังสือประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย (ฉบับสมบูรณ์)
    พระครูบุญญาภินันท์ (บุญชู จันทสิริ) รวบรวม และเรียบเรียง

    ด้วยจิตใจที่เป็นห่วงในตัวอาจารย์ของท่านยิ่งนัก แล้วก็มีมารมาผจญอีกจนได้เมื่อ มหาสุดใจ วัดเกตุการามกับท่านพระครูวัดพันอ้นรูปหนึ่งมาหลอกให้ท่านสึกเสีย เพราะมิฉะนั้น ท่านจะเอาครูบาศรีวิชัยจำคุก ท่านจึงสึกเป็นชีปะขาวอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นครั้งสุดท้าย แล้วออกจากวัดพระสิงห์กลับไปพักที่วัดบ้านปางด้วยความเหงาใจ แต่ท่านก็ไม่ละทิ้งงานก่อสร้าง จึงได้สร้างกุฏิที่วัดบ้านปางอีก 1 หลัง แล้วกลับไปอยู่ที่พระบาทตะเมาะตามเดิม
    ในปี พ.ศ. 2480 โรงเรียนบ้านสามหลัง ตำบลสองแคว อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ถูกพายุพัดล้มทั้งหลัง นายทิพย์ มณีผ่อง ครูใหญ่ นำชาวบ้านไปขออาราธนาเอาท่านครูบาขาวปี มานั่งหนัก (เป็นประธาน) สร้างโรงเรียนบ้านสามหลังขึ้นมาใหม่ พอครูบาขาวปีสร้างโรงเรียนเสร็จแล้ว คณะกรรมการสร้างโรงเรียนโดยนายสมบูรณ์ ไชยผดุง (เจ้าน้อยสมบูรณ์) ได้อาราธนาให้ท่านอยู่นั่งหนัก (เป็นประธาน) สร้างวัดฟ้าหลั่งต่อ ท่านบอกว่า ท่านไม่ใช่เจ้าของที่จะสร้าง ตัวเจ้าของมีแล้ว แต่ยังไม่ปรากฏเพราะยังไม่ถึงเวลา หากถึงเวลาเมื่อใดเขาจะมาสร้างเอง ขอให้เหล่าญาติโยมจงรอไปก่อน
    ซึ่งคำของท่านก็เป็นจริงขึ้นเมื่อ ปี 2503 ครูบาอิน อินโท (ครูบาฟ้าหลั่ง) ซึ่งเดิมอยู่วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) ได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดฟ้าหลั่ง ตามคำอาราธนาของชาวบ้านที่นิมนต์ให้ท่านมา "นั่งหนัก" เป็นประธานในการสร้างโรงเรียนบ้านสันหิน และพอดีจะถึงฤดูเข้าพรรษา ทางคณะศรัทธาจึงช่วยกันแผ้วถางที่วัดฟ้าหลั่ง ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง สร้างเป็นอาราม และอาราธนาให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้นเลย ท่านจึงได้อยู่ประจำวัดฟ้าหลั่งเพื่อสร้างโรงเรียนและบูรณะวัดฟ้าหลั่งตลอดมา
    เรื่องที่ครูบาขาวปีกล่าวถึงเจ้าของที่จะมาสร้างนั้น ครูบาอินท่านก็ได้ยินที่ครูบาขาวปีว่า “เจ้าเปิ้นมี เจ้าตึงมาสร้าง” เมื่อมีผู้เรียนถามท่านว่า ท่านใช่เจ้าของตามที่ครูบาขาวปีท่านกล่าวถึงหรือไม่ ท่านตอบแบบหัวเราะๆ ว่า “ถ้าจะแม่นแต้เน่อ หลวงปู่มาอยู่นี่นะ ทีแรกมาอยู่มีบ้านสักสิบสักซาว มุงคามุงต๋อง (ตองตึง) กะต๊อบหลวงปู่ ได้ซื้อข้าวสารมานึ่ง บอกเขาว่าสตางค์มีก่อซื้อข้าวสารมาไว้ เขาก่อซื้อมาหื้อหลายเตื้อ เอามาเตื้อถังๆ โอถ้าเป็นพระเณรสมัยนี้ มันก่อไปแล้วแล้วเน้อ บ่ออยู่ละ อยู่มาก็ดีขึ้นๆ บ้านก็หลายหลังขึ้น ก็เจริญขึ้น”

    สูญเสียอาจารย์
    ชีวิตท่านช่วงนี้ คงมุ่งอยู่กับงานก่อสร้างไม่หยุดหย่อน จากที่นี่ย้ายไปที่นั่นไม่มีที่สิ้นสุด จนกระทั่งครูบาศรีวิชัยพ้นจากมลทินที่ถูกกล่าวหา ท่ามกลางความดีใจของสาธุชนทั้งหลาย แต่ความดีใจนั้นคงมีอยู่ได้ไม่นานท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้อาพาธหนัก แล้วถึงแก่มรณภาพลงในที่สุด ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ยังความโศกาอาดูรให้เกิดแก่มหาชนผู้เลื่อมใสโดยทั่วไป


    มณฑปที่ตั้งศพพระครูบาศรีวิชัย พ.ศ. 2481-2482
    ที่วัดบ้านปาง ลำพูน
    ลานนาไทยได้สูญเสียนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ หากจะเอาเสียงร่ำไห้มารวมกันแล้วไซร้เสียงแห่งความวิปโยคนี้คงได้ยินไปถึงสวรรค์ ท่านเองในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ที่ท่านอาจารย์ได้พร่ำสอนตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ก็มีความเศร้าโศกเสียใจมิใช่น้อย แต่ก็ปลงได้ด้วยธรรมสังเวชโดยอารมณ์กัมมัฏฐาน แล้วทำทุกอย่างในฐานะศิษย์จะพึงมีต่ออาจารย์ด้วยกตเวทิตาธรรม ท่านจึงสร้างเมรุหลังหนึ่งกับปราสาทหลังหนึ่งพร้อมหีบบรรจุศพ เพื่อเก็บไว้รอการฌาปนกิจต่อไปที่วัดบ้านปาง ซึ่งได้มีการฌาปนกิจศพท่านครูบาศรีวิชัยอีก 8 ปีต่อมาหลังจากมรณภาพ ณ เมรุที่ได้สร้างขึ้นที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489
    หลังจากงานถวายเพลิงปลงศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเสร็จแล้วในปี 2489 นั้น ท่านได้เชิญอัฐิธาตุของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยส่วนที่เป็นกะโหลกเท่าหัวแม่มือส่วนหนึ่งมาด้วย และครูบาดวงดี สุภัทฺโท ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 32 ปีและได้ติดตามท่านมาตั้งแต่ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพไป นำมาเก็บรักษาสักการบูชาจนถึงทุกวันนี้ จากนั้นท่านก็มาสร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิธาตุของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยทั้งที่วัดสวนดอกและวัดหมื่นสาร โดยครูบาดวงดี สุภัทฺโทได้อยู่ช่วยท่านจนเสร็จงานดังกล่าว
    สร้างวัดผาหนาม ที่พำนักในปัจฉิมวัย
    วัดคืนยังคงหมุนไป พร้อมกับความเป็นนักก่อสร้างนักพัฒนาของท่านก็ยิ่งลือกระฉ่อนยิ่งขึ้น เมื่อขาดท่านครูบาศรีวิชัย ผู้คนก็หลั่งไหลกันมาหาท่านอย่างมืดฟ้ามัวดิน ในฐานะทายาททางธรรมของครูบาเจ้าศรีวิชัย
    ระยะต่อมา เมื่อได้รับพลังอย่างท่วมท้นขึ้น ผลงานจึงยิ่งใหญ่เป็นลำดับ และกว้างขวางหากำหนดมิได้โดยไม่เคยว่างเว้น จนถึงพุทธศักราช 2507 (หมายเหตุ: ตามบทความเดิมเป็นปี 2470 - Webmaster) อายุสังขารของท่านเริ่มชราลงแล้ว คือมีอายุ 76 ปี แต่ท่านยังคงแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งนี้ อาจจะด้วยอำนาจผลบุญที่ได้บำเพ็ญมาก็ได้ จึงสมควรจะสร้างสถานที่สักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นที่พำนักปฏิบัติธรรมในปัจฉิมวัย
    ก็พอดีชาวบ้านผาหนามซึ่งอพยพจาก อ.ฮอด หนีภัยน้ำท่วมมาอยู่ที่บ้านผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพ่อน้อยฝน ตุ่นวงศ์ เป็นประธาน พร้อมกับชาวบ้านได้มานิมนต์ท่านให้ไปสร้างอารามใกล้เชิงดอยผาหนาม เพื่อเป็นที่พึ่งกายใจและประกอบศาสนกิจ
    ท่านก็รับนิมนต์ พร้อมกับชอบใจสถานที่ดังกล่าวและ ตั้งใจว่าจะเป็นสถานที่สุดท้ายเพื่อเป็นที่พำนักและปฏิบัติธรรมของท่าน คณะศรัทธาบ้านผาหนามและศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศ จึงพร้อมใจกันก่อสร้างเป็นอารามขึ้นจากนั้น จนมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โตมากมายและท่านถือที่แห่งนี้เป็นที่พำนักอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าท่านจะงดมิไปสร้าง หรือพัฒนาที่อื่นอีก แต่ยังคงไปเป็นประธานสร้างสถานที่ต่าง ๆ ควบคู่กับงานสร้างวัดผาหนามอีกตั้งหลาย ๆ แห่ง

    พ.ศ. 2483 ได้มาสร้างวัดแม่ต๋ำ ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปางขึ้นในช่วงที่ท่านได้พาคณะศิษย์มาขุดภูเขาดอยผาเบ้อ ให้เป็นทางเดินข้ามชายแดนเขตติดต่อระหว่างจังหวัดลำพูน กับจังหวัดลำปาง ระยะทางยาวประมาณ 5 กิโลเมตร
    ปี พ.ศ. 2489 ครูบาผุย มหาชโย เจ้าคณะอำเภอลี้ ครูบาอินต๊ะ วัดพวงคำ ครูบาคำสุข วัดบ้านแวน ได้พิจารณาเห็นว่ามณฑปครอบรอยพระพุทธบาทห้วยต้มและสิ่งก่อสร้างทั้งหลายทั้ง ปวงในบริเวณวัดพระพุทธบาทห้วยต้มได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปและได้กลายเป็นวัดร้าง สมควรที่จะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เสียใหม่ จึงได้ประชุมคณะศรัทธาทั้งหลาย และตกลงกันนิมนต์ครูบาชัยยะวงศา ซึ่งท่านได้ตอบรับนิมนต์และได้เดินทางมาอยู่จำพรรษาที่วัดดังกล่าวตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา เมื่อคณะศรัทธาบ้านผาลาดได้จัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ในการก่อสร้างเรียบ ร้อยแล้ว จึงได้ไปนิมนต์ครูบาอภิชัยขาวปี วัดพระบาทตะเมาะ มาตรวจและวางแผนสร้างวิหาร จากนั้นครูบาขาวปี จึงกลับไปพระบาทตะเมาะตามเดิม
    พ.ศ. 2491 สร้างวิหารวัดท่าจำปี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีครูบาดวงดี สุภัทโท ติดตามมาด้วย หลังจากนั้นครูบาดวงดีก็ได้อยู่ประจำวัดท่าจำปีตลอดมาจนมรณภาพ
    พ.ศ. 2495 สร้างอาคารโรงเรียนชุมชนศรีจอมทอง ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
    พ.ศ. 2496 ท่านได้เป็นประธานในการสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านแพะยันต์ดอยแซ่ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ที่ได้สร้างค้างคาเพียงแค่ฐานรากไว้เนื่องจากหมดเงินบริจาค
    พ.ศ. 2499 นายแก้ว เยตาสุข ซึ่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตืนในขณะนั้น ร่วมกับ กำนันตำบลแม่ตืนพร้อมทั้ง คณะกรรมการสถานศึกษาและราษฎรภายในหมู่บ้าน ร่วมกับผู้บริหารระดับอำเภอ ได้ปรึกษาหารือกันว่า สมควรย้ายโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตืน ซึ่งเดิมตั้งอยู่กลางหมู่บ้านแม่ตืน มาตั้งยังที่ริมถนนตัดใหม่ คือถนนพหลโยธินจะดีกว่า เพราะจะมีความสง่างามมากกว่าที่เดิมและ สะดวกในการติดต่อราชการ และการสัญจรไปมา เมื่อมีความเห็นพ้องต้องกันแล้วจึงได้ไปอาราธนานิมนต์ท่านครูบาอภิชัย ขาวปี ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของราษฎรภายในหมู่บ้าน และผู้คนทั่วไปมานั่งเป็นประธานในการจัดหาที่ดิน และได้ที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตืนในปัจจุบัน
    พ.ศ. 2499 นายสุรินทร์ เดชะวัง ครูใหญ่โรงเรียนบ้านปากเหมือง ตำบลขัวมุง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้นิมนต์ท่านครูบาอภิชัย ขาวปี มาเป็นประธานร่วมกับ นายอำเภอสารภี ได้ก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง 4 ห้องเรียน
    ประมาณปี 2499 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บ้านปงแม่ลอบ อ.แม่ทา จ.ลำพูน ได้นิมนต์ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี มาปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับชาวบ้าน ต่อมาในปี 2515 ชาวบ้านร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาจึงได้จัดตั้งเป็นวัดปงแม่ลอบ
    พ.ศ. 2501 ท่าน และครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระบาทห้วยต้ม) ได้มาทำการบูรณะวัดพระธาตุห้าดวงตามที่ นาย สนิท จิตวงศ์พันธ์ ซึ่งเป็นนายอำเภอลี้ในขณะนั้น ได้อาราธนาท่านทั้งสองไว้ ซึ่งเป็นการบูรณะอีกครั้ง หลังจากที่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้มาบูรณะวัดนี้ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดร้างไว้ จนสำเร็จ แล้วได้ทำการฉลองสมโภชองค์พระธาตุเมื่อปี พ.ศ. 2468 และเมื่อทำการฉลองสมโภชแล้ว ท่านพระครูบาศรีวิชัยจึงได้เดินทางกลับวัดบ้านปาง (อำเภอลี้) แต่วัดพระธาตุห้าดวงก็กลับร้างอีกหลังจากนั้นไม่นาน
    เมื่อปี 2501 อำเภอเถินประสบภาวะแห้งแล้ง พระธาตุวัดดอยป่าตาล ตำบลเถินบุรี จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นเจดีย์สูง 30 เมตร มีฐานจตุรัส กว้าง 9 เมตร บนยอดฉัตรของเจดีย์ มีลูกแก้วศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานไว้ ในวันขึ้น 15 ค่ำ บางเดือนลูกแก้วบนยอดเจดีย์จะแสดงอภินิหารด้วยการเปล่งแสงเป็นประกายสุกสว่าง ลูกแก้วหลุดจากยอดเจดีย์ มีผู้เก็บกลับมาไว้ เมื่อปี 2502 ครูบาอภิชัยขาวปี มาเป็นประธานยกฉัตรนำลูกแก้วขึ้นประดิษฐานไว้บนยอดเจดีย์ตามเดิม ซึ่งปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้
    ปี พ.ศ. 2497 ครูบาอุ่นเรือน สุภทฺโท วัดบ้านควน ตำบลพรหมหลวง อำเภอสันป่าตอง มาบูรณะวัดหลวงขุนวิน ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เมื่อบูรณะเสร็จได้นิมนต์ครูบาอภิชัย ขาวปี มาเป็นประธานร่วมฉลอง เมื่อปี พ.ศ. 2501
    พ.ศ. 2506 ครูบาขาวปีได้มาเป็นประธานในการก่อสร้างพระเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดชลประทานรังสรรค์ ต.บ้านนา อ.สามงา จ.ตาก ซึ่งเป็นวัดที่ทางราชการสร้างขึ้นเพื่อทดแทน (ผาติกรรม) วัดพระบรมธาตุลอย ซึ่งจะถูกน้ำท่วมเมื่อสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จ

    วันจากที่ยิ่งใหญ่
    แล้วในปี 2514 คณะศรัทธาวัดสันทุ่งฮ่าม แห่งจังหวัดลำปาง ก็ได้มานิมนต์ท่าน เพื่อไปเป็นประธานในการก่อสร้างอีก ซึ่งท่านก็ไม่ขัดข้องด้วยความเมตตาอันมีอยู่อย่างหาขอบเขตไม่ได้ของท่าน แม้ตอนนั้นท่านจะชราภาพมากแล้ว คือมีอายุถึง 83 ปี ก็ตาม ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับตัวของท่านว่า ท่านเหนื่อยอ่อนแค่ไหน แต่ด้วยใจที่แกร่งเหมือนเพชร ท่านคงไม่ปริปากบ่น เป็นประธานให้ที่วัดสันทุ่งฮ่าม
    ไม่นานคณะศรัทธาจากวัดท่าต้นธงชัย จ.สุโขทัยก็ได้มานิมนต์ท่านอีก เพื่อเป็นประธานในการสร้างพระวิหาร
    วันนั้นเป็นวันที่ 2 มีนาคม 2520 ตอนนั้น ท่านเหนื่อยอ่อนมากแล้ว ท่านได้บอกผู้ใกล้ชิดว่าท่านอยากกลับอารามผาหนาม เหมือนดั่งจะรู้ตัวของท่านว่าไม่มีเวลาในการโปรดที่ไหนอีกต่อไปแล้ว แต่จะมีใครล่วงรู้ถึงข้อนี้ก็หาไม่ คงพาท่านมุ่งสู่สุโขทัยอีกต่อไป และเมื่อถึงวัดท่าต้นธงชัย ได้เพียงวันเดียว ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2520 ซึ่งตรงกับเดือน 6 เหนือ แรม 14 ค่ำ เวลา 16.00 น. ท่านได้จากไปอย่างสงบ
    ข่าวการจากไปของท่านกระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ ทุกคนตกตะลึง ต่างพากันช็อกไปชั่วขณะมันเหมือนสายฟ้าที่ฟาดเปรี้ยงลงบนกลางใจของทุกคน ที่เลื่อมใสเคารพรักในตัวท่าน แล้วจากนั้น เสียงร่ำไห้ก็ระงมไปทุกมุมเมืองพวกเขาได้สูญเสียร่มโพธิ์แก้วอันร่มเย็นไพศาลไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ ตั้งแต่นี้จะหาครูบาเจ้าที่มีความเมตตาอันหาของเขตมิได้และยิ่งใหญ่ปานนี้
    แต่แรกมีหลายคนไม่เชื่อและตะโกนว่าเป็นไปไม่ได้ ท่านยังอยู่และจะต้องอยู่ต่อไป ต่อเมื่อได้รับการยืนยันว่าท่านสิ้นแล้ว สิ้นแล้วจริง ๆ ก็ทุ่มตัวลงเกลือกกลิ้งร่ำไห้พิลาปรำพันอย่างน่าเวทนายิ่งนัก โอ้...ท่านผู้เป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ ป่านนี้ท่านคงเป็นสุขอยู่ ณ สรวงสวรรค์ที่สะพรั่งพร้อมด้วยทิพยวิมานอันเพริดแพร้วใหญ่โดสุดพรรณนาด้วยผลบุญแห่งการบำเพ็ญมาอย่างใหญ่หลวงเหลือคณา คงเหลือแต่ผลงานและประวัติชีวิตอันบริสุทธิ์ทิ้งไว้แด่อนุชน ได้ชื่นชม และเสวยผลเป็นอมตะชั่วกาลปาวสาน

    ท่านเองมุ่งมั่นในแนวทางปฏิสัมภิทาแห่งครูของท่าน ท่านได้ก่อสร้างบูรณะศาสนสถานในท้องที่ต่างๆมากมายไม่ต่ำกว่าร้อยแห่ง ยึดมั่นในแนวทางบุญตามแบบมรรควิธีที่ครูของท่านได้บำเพ็ญมาชั่วชีวิต ท่านถูกกลั่นแกล้ง ถูกกระทำ ถูกจับไปติดคุก ถูกทางการบ้านเมืองเพ่งเล็ง ถูกจับสึกสองหนสามหนท่ามกลางน้ำตาของศรัทธาชาวบ้านทั้งหลายที่เลื่อมใสท่าน แต่ท่านก็ไม่ตอบโต้ ไม่ถือแค้นคุมเคียดใดๆทั้งสิ้น ปฏิปทาของท่านข้อหนึ่งมีว่า
    "บางทีท้าวพญาเสนาผู้ใหญ่จักมากดขี่ข่มเหงเตงเต็ก บุบตีผูกมัดขับกว่าไล่หนี หื้อเราได้เป็นทุกขเวทนามากนัก เราก็บ่ไหวบ่เฟือนด้วยวิปัสสนากรรมฐาน ก็(บ่)ไหวบ่เฟือนแล้ว ต่อทีหลังโลกก็จักมาพึ่งพะอาศัยกับเรา ถ้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานบ่มั่นก็จักพาโลกหลุดเหลวไหล เป็นดั่งร้านจิบพาคนไหลน้ำนั้น" (ปถมมูลกรรมฐาน ๔๐ทัส ฯ หน้า๓๐)
    จาก บทความ "ตัวเมือง เรื่องเล่า ' กำเนิดแผ่นดิน' " โพสท์ใน www.lannaworld.com โดย มาลา คำจันทร์


     
  19. jamitcom

    jamitcom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2013
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +3,877
    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพสีแจกในงานทอดผ้าป่าชาวย้อมและภาพเก่าๆขณะกำลังปรุงยาจินดามณี หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ตรงกลางถ้าเดาไม่ผิด น่าจะเป็นหลวงปู่เจือที่เป็นลูกมือหลวงปู่นะครับ
     
  20. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...