สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    
    วิชชาธรรมกายนี้ เป็นวิปัสสนาหรือไม่ ? อย่างไร ? หรือเป็นเพียงสมาธิ คือ สมถกัมมัฏฐาน ?

    ตอบ:

    เมื่อไรที่อบรมใจให้สงบหยุดนิ่งเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง เป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ ชื่อว่า “สมถกัมมัฏฐาน”

    และเมื่อไรเข้าไปรู้ไปเห็นกาย-เวทนา-จิต-ธรรม  ทั้ง ณ ภายในและภายนอก  เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง เพียงสองอย่างนั้น ก็ยังจัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน ในระดับสมาธิ คือให้ใจสงบ 

    แต่เมื่อไรเห็นแจ้งถึงความเป็นอนัตตา คือ ธรรมชาติที่เป็นสังขารทั้งหลายทั้งปวง ว่าลงท้ายล้วนแตกสลายหมดสภาพเดิมของมันไปหมด  แล้วเห็นว่าความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงอย่างนี้เป็นทุกข์  เห็นเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา อุปาทาน  ซึ่งเข้าไปยึดมั่นถือมั่น โดยมีอวิชชา คือ ความไม่รู้สัจจธรรมตามที่เป็นจริง  ไม่รู้เหตุในเหตุไปถึงต้นๆ เหตุ แห่งทุกข์  ทำให้บุคคลคิดผิด เห็นผิด รู้ผิด แล้วประพฤติผิดๆ ด้วยอำนาจของกิเลสและความเข้าไปยึดมั่น จึงเป็นทุกข์   เมื่อรู้แจ้งอย่างนี้ คือรู้แจ้งในทุกข์ เหตุแห่งทุกข์  และได้สัมผัสที่สภาวะแห่งทุกข์ดับเพราะเหตุดับ และรู้แจ้งในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์  ปัญญาแจ้งชัดเหล่านี้ชื่อว่า วิปัสสนาปัญญา และโลกุตตรปัญญา   การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ให้สามารถเข้าถึงและรู้เห็นอย่างนี้ จึงเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]



    ระยะเวลาของการอบรมเหลืออีกเพียง 4วัน
    ท่านใดที่สนใจจะแวะมาเข้ารับการอบรม
    10-13 ธันวานี้หยุดยาว
    อย่าลืมแวะมากันน่ะ

    1-14 ธันวานี้
    ขอเชิญทุกท่านมาอยู่ปฏิบัติธรรม ถือศีล 8
    นั่งเจริญภาวนากับหลวงป๋าด้วยกัน

    กิจกรรมการอบรมพระกัมมัฏฐาน มีวันละ 5รอบ

    05.00น. ทำวัตรเช้า เจริญภาวนา

    09.00น. ฟังธรรม เจริญภาวนา

    14.00น. ฟังธรรมบรรยาย

    17.00น. แบ่งกลุ่มเจริญภาวนา

    19.30น. ทำวัตรเย็น เจริญภาวนา

    นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
    สุขอื่น นอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 ธันวาคม 2015
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    * การพิทักษ์รักษา "วิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์"

    [​IMG]







    ในข้อนี้มีความสำคัญอยู่ถึง ๒ ประการด้วยกัน

    ประการแรก ก็คือว่า หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    รองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของอาตมภาพนี้
    ท่านได้เป็นศิษย์ผู้หนึ่งที่ได้รับ "การถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย"
    ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และ "วิชชาธรรมกายชั้นสูง"
    จากพระเดชพระคุณ "หลวงพ่อวัดปากน้ำ"
    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) มาเองโดยตรง

    ตั้งแต่สมัยที่หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร ยังเป็นฆราวาส
    แล้วภายหลังต่อมาก็ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    โดยพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นองค์อุปัชฌาย์
    และก็ได้รับการฝึกทำ "วิชชาธรรมกายชั้นสูง"
    กับหลวงพ่อ(วัดปากน้ำ) มาอย่างใกล้ชิดโดยตลอด
    จนกระทั่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้มรณภาพลง

    แล้วภายหลังจากนั้นก็ได้อบรมสั่งสอน
    ถ่ายทอดวิชชาธรรมกายนี้แก่ศิษยานุศิษย์ สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
    นับว่า "หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร"
    เป็นศูนย์รวม หรือ "คลังแห่งวิชชาธรรมกาย"
    ที่ได้รับถ่ายทอดมาจาก ...
    พระเดชพระคุณ "หลวงพ่อวัดปากน้ำ" โดยตรง

    และยังเป็น "ที่รวมวิชชาธรรมกายชั้นสูง"
    ที่ศิษย์ในพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ที่เป็นพระเถระรุ่นพี่ ได้จดทำบันทึกไว้
    ก็ยังได้มารวมตกแก่ "หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร" นี้อีกด้วย

    จึงเห็นว่า "วิชชาธรรมกายทุกระดับ"
    ทั้งเบื้องต้น
    เบื้องกลาง
    และ "วิชชาธรรมกายชั้นสูง"
    ควรจะต้องมีการรวบรวมขึ้น เป็นหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญต่อไป
    เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังจะได้ศึกษา
    และปฏิบัติต่อไป ... อย่างถูกทาง และสมบูรณ์
    ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ถ่ายทอดไว้

    ในประการที่สอง
    หากจะพิจารณาในเหตุผล และจากประสบการณ์
    ที่อาตมาเคยได้รับ ได้รู้เห็นมากพอสมควรแล้ว
    ก็จะพบว่า ...
    อาจจะมีผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย
    ในสมัยพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านยังมีชีวิตอยู่
    ที่มีภูมิรู้ ... ไม่เท่ากัน
    และทั้งอาจได้ยินได้ฟังมา ... ไม่เท่ากัน
    ก็ย่อมจะได้รับวิชชาความรู้ไปได้ ... ไม่เท่ากัน

    และอาจจะมีบางท่าน ที่สำคัญผิดและรับรู้ไปผิดเพี้ยนบ้างก็ได้
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีพื้นความรู้ทางปริยัติ มาน้อย
    ก็อาจจะมีความสำคัญในธรรมะที่ได้ยินได้ฟังมา ผิดๆ
    และก็อาจถ่ายทอด ... สืบต่อๆกันไปผิดๆได้

    นอกจากนี้ยังอาจจะมี ... ผู้ที่ค้นคว้าวิชชาไปเอง
    โดยที่ยังมิได้ผ่านการกลั่นกรองและอนุมัติ
    จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อเสียก่อน
    แล้วนำออกใช้ และเผยแพร่สืบทอดต่อๆกันไป อย่างผิดๆ เพี้ยนๆ
    เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปบ้าง ซึ่งก็อาจจะมีได้เป็นได้
    ตราบใดที่ "อวิชชา" ยังไม่หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็น "สมุจเฉทปหาน"
    ก็ยังอาจจะถูก "อภิสังขารมาร" ได้แก่
    ลาภสักการะ และฐานะอันสูงส่ง
    หรือแม้ "โลกิยวิชชา" นั้นเอง
    ... หลอกลวงได้โดยง่าย

    ผู้ที่มีสมาธิดี ... ที่มิใช่พระอริยะ
    ซึ่งสามารถเจริญ "โลกิยวิชชา"
    ที่อาจจะใช้ได้ผลดีในบางครั้งบางคราว
    ก็ยังอาจจะ "หลง"
    เพราะถูก "มาร" เขาหลอกให้เห็นผิดเป็นชอบได้
    อย่างเช่น พระเทวทัต ซึ่งเคยมีโลกิยวิชชา
    ถึงขั้นเหาะเหินเดินอากาศได้ในสมัยพุทธกาลนั้น
    เมื่อกิเลส คือ โลภะ โทสะ และโมหะ ... เข้าครอบงำ
    ก็ถึงกับทำสังฆเภท ยุยงพระสงฆ์ให้แตกแยกกัน
    และกระทำโลหิตุปบาทแก่พระพุทธเจ้า
    เป็นอนันตริยกรรมได้
    จึงต้องไปเสวยวิบากกรรม ในอเวจีมหานรกนั่นแหละ

    เพราะอย่างนี้
    ผู้ที่มิใช่อริยบุคคล แต่เจริญโลกิยวิชชาได้
    หาก "หลง" ใน "อภิสังขารมาร"
    หรือ "โลกิยวิชชา" เมื่อใด
    ก็อาจจะถูก "มาร" เขาหลอก ให้เห็นผิด
    จึงรู้ผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด และแนะนำผู้อื่นผิดๆต่อไป
    เป็นโทษทุกข์ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่นได้มาก

    หลักการศึกษาและปฏิบัติธรรมของอาตมา
    และศิษยานุศิษย์ในสำนักนี้ จึงต้องอิงหลักปริยัติตำรับตำรา
    และครูอาจารย์ที่เชื่อถือได้ และที่เป็นกัลยาณมิตรจริงๆ
    จนกว่าจะได้บรรลุ "มรรค ผล นิพพาน" แล้วนั่นแหละ
    ... จึงจะวางใจได้

    ความจำเป็นที่จะต้อง "รวบรวมวิชชาธรรมกายทุกระดับ"
    ออกมาเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่เชื่อถือได้
    เพื่อไว้อ้างอิงเป็นตำรับตำรา แก่อนุชนรุ่นหลัง
    จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คณะผู้บริหาร
    โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    และโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ
    ได้จัดตั้ง "สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย" แห่งนี้ขึ้น
    เพื่อให้เป็นองค์กร
    หรือ แหล่งที่รวบรวมสรรพตำราตามแนววิชชาธรรมกาย
    "ที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด" เท่าที่จะสามารถกระทำได้
    โดยคณะบุคคลผู้ซึ่งได้รับถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย
    จากพระเดชพระคุณ "หลวงพ่อวัดปากน้ำ" โดยตรงที่เชื่อถือได้
    และศิษยานุศิษย์ผู้มีทั้งในหลักธรรมปฏิบัติ
    และในหลักปริยัติสัทธรรมมาดีพอสมควร
    เพื่อพิทักษ์รักษา "วิชชาธรรมกายอันบริสุทธิ์"
    นี้ไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง
    ได้รู้จักวิชชาธรรมกาย ... ที่ถูกต้อง
    ตรงตามที่พระเดชพระคุณ "หลวงพ่อวัดปากน้ำ"
    ... ท่านได้ถ่ายทอดเอาไว้
    และก็เหตุนี้แหละที่องค์กรนี้ได้ชื่อว่า
    “สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย”

    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    อธิปัญญาสิกขาในมรรคมีองค์แปด

    <object width="450" height="24" classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0"> <param name="scale" value="noscale" /> <param name="allowFullScreen" value="true" /> <param name="allowScriptAccess" value="always" /> <param name="allowNetworking" value="all" /> <param name="bgcolor" value="#777777" /> <param name="wmode" value="opaque" /> <param name="movie" value="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" /> <param name="flashVars" value="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=4cec81b0c&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000" /> <embed src="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" width="450" height="24" scale="noscale" bgcolor="#777777" type="application/x-shockwave-flash" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="always" wmode="opaque" flashvars="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=4cec81b0c&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000"></embed> </object> <p><a href="http://www.mongkoldhamma.org/%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%90-%e0%b8%ad%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d-video_4cec81b0c.html" target="_blank"></a></p>
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ตอบคำถามภาคปฏิบัติ--ทำอย่างไรเมื่อเห็นสิ่งต่างๆ เช่นสิ่งนอกจักรวาล นอกศูนย์กลางกาย

    หลวงป๋า ตอบคำถามจากการปฏิบัติของผู้เจริญวิชชาฯ

    ซึ่งผู้เข้าถึงธรรมกาย แล้วจะได้เคล็ดวิชชาฯ บางประการ เป็นการตอบแบบทำให้คำศัพท์ยากๆ กลายเป็นวิธีปฏิบัติง่ายๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ทำไมบางทีลืมตาจึงเห็นดวงแก้วหรือองค์พระชัดกว่าหลับตา ?

    ตอบ:

    เป็นธรรมชาติของใจ (เห็น จำ คิด รู้) ที่เมื่อตกไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้ว ใจดวงใหม่ก็จะปรากฏลอยขึ้นมาหยุดนิ่ง ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อทำหน้าที่ต่อไปนั้น ตาจะเหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ เช่นเมื่อเวลาสัตว์จะมาเกิด คือมาตั้งปฏิสนธิวิญญาณที่ขั้วมดลูกของมารดา ตาของทั้งบิดาและมารดาก็จะเหลือบกลับเอง เพราะใจตกศูนย์ และแม้เวลาที่สัตว์จะ ดับ (ตาย) จะหลับ จะตื่น และแม้เวลาที่ใจจะหยุดนิ่งสนิท เป็นสมาธิแนบแน่นตรงศูนย์กลางกาย แล้วก็ตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 และปรากฏลอยเด่นขึ้นมาใหม่ยังศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ตาของสัตว์หรือบุคคลนั้นก็เหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้สึก คนส่วนมากจะไม่เคยได้สังเกตเห็น ให้สังเกตดูตัวอย่างเด็กทารกเวลาที่เธอนอนหลับ ใจกำลังตกศูนย์นั้น จะเห็นตาของเธอเหลือบกลับเหมือนคนที่กำลังชักจะตาย พ่อแม่บางคนเมื่อเห็นถึงกับตกใจนึกว่าลูกตนกำลังชัก แต่แท้ที่จริงเธอกำลังนอนหลับปุ๋ยสบาย

    โดยเหตุนี้แหละ เวลาที่ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิ หลับตาโดยเม้มเปลือกตาให้ปิดแน่นสนิทมากๆ เพราะความที่ตั้งใจมาก และไม่ทราบกลอุบายนี้ จึงไม่เอื้ออำนวยให้ตาเหลือบกลับเองได้สะดวกตามธรรมชาติในเวลาที่ใจจะเป็นสมาธิ ใจจึงพร่าไม่สามารถรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน (เอกัคคตารมณ์) ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ได้สนิท จึงเห็นเป็นแต่ความมืดหรือเห็นไม่ชัดโดยธรรมชาติ นี้แหละ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจึงแนะนำเวลาฝึกเจริญภาวนาสมาธิในเบื้องต้นว่า ให้เหลือบตากลับ เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย ความเห็น (ด้วยใจ) จำ คิด รู้ ที่มักจะพล่านออกไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกนั้นกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้กลับเข้าข้างในไป หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายได้โดยง่าย

    ส่วนว่า ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิที่ปิดเปลือกตาเบาๆ แต่พอให้ใจเป็นอิสระ คือไม่เห็น และยึดเกาะอยู่กับรูปหรืออารมณ์ภายนอก และพอให้ตาเหลือบกลับเองได้โดยสะดวก ใจจึงสามารถรวมลงหยุดอยู่ในอารมณ์เดียว ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้นได้โดยง่าย และเมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุดนิ่งลงไปที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมตรงศูนย์กลางฐานที่ 7 นั้น ก็จะสามารถเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาอย่างแน่นสนิท

    เพราะฉะนั้น ผู้ลืมตานิดๆ แค่พอประมาณ หรือแม้ผู้เดินจงกรม เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ และลืมตามองลงชั่วแอก เจริญภาวนา จิตจึงเป็นสมาธิได้เร็ว และสามารถเห็นดวงธรรมในธรรม และกายในกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาที่แน่นสนิท เพราะกดเปลือกตาจนเกินไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 ธันวาคม 2015
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง เป็นอย่างไร ?

    ตอบ:

    ถามมาว่าหยุดในหยุดเป็นอย่างไร   และก็หยุดในหยุด กลางของหยุด  กลางของกลางน่ะ เป็นอย่างไร 

    ผู้ถามนี้แสดงว่าไม่ได้ปฏิบัติตาม  ฟังแล้วไม่ได้ปฏิบัติตามจะไม่เข้าใจซึ้ง   โปรดทราบด้วยว่า เมื่อฟังแล้วต้องปฏิบัติตามด้วย

    เมื่อเริ่มแรก ที่ใจจะหยุดน่ะ   ใจมันหยุดเองไม่ได้   ต้องอาศัยนึกเอาก่อน   เพื่อให้ “ความเห็น(ด้วยใจ)”  แล้วก็ “ความจำ”  “ความคิด”  “ความรู้”   มารวมหยุดอยู่ในดวงแก้วที่เราใช้เป็นบริกรรมนิมิต   ให้มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน

    ให้พึงเข้าใจว่า  เห็นอยู่ที่ไหน ใจอยู่ที่นั่น    เพราะฉะนั้นการที่ให้ใจนึกอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เป็นดวงแก้วกลมใส ก็แปลว่าเป็นอุบายวิธีให้ใจมารวมอยู่ในดวงแก้วอันเป็นบริกรรมนิมิตนั้น  

    แต่พอใจรวมเดี๋ยวเดียวมันจืดจางไปแล้ว  ก็เลยมีงานให้ใจทำเพิ่มอีกโสดหนึ่ง   คือบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆ”   จี้เข้าไปที่กลางของกลางดวงแก้วกลมใสนั่นแหละ

    “กลางของกลาง” คืออย่างไร ?   ศูนย์กลางดวง ศูนย์กลางกาย  เป็นจุดเล็กใสประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร    เรานึกให้เห็นไว้    นึกเห็นอยู่ตรงนั้น ใจมันก็จะหยุดอยู่ตรงนั้น   เห็นกลางจุดเล็กใส    ตรงศูนย์กลางนั้นเรียกว่า “กลางของกลาง”   เมื่อหยุดนิ่งถูกส่วน ศูนย์กลางขยายออก    ดวงใหม่เกิดขึ้น   แล้วก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงใหม่  หยุดในหยุด กลางของหยุด  ไม่ถอนออกมา (จากสมาธิ)   หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ  เรียกว่า “หยุดในหยุด กลางของหยุด”

    ตอนแรก ใจนึกเอา  เข้าไปเห็นศูนย์กลาง    แต่พอใจหยุดจริงๆ แล้ว   มันเข้าไปสู่ศูนย์กลางของกลาง  เหมือนมีแรงดึงดูด ปรากฏเป็นเอง

    เพราะฉะนั้น  คำว่า “หยุด” นั้น  เริ่มแรก มีอุบายวิธีให้นึกเห็นจุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางดวง ศูนย์กลางกาย   เพื่อช่วยให้ใจมันหยุดจริงๆ     ทีนี้ พอใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวจริงๆ เป็นธรรมชาติแล้ว ก็หยุดเองแหละ    เข้ากลางของกลาง  เห็นดวงใหม่ก็หยุดนิ่งไปกลางดวงใหม่  เห็นดวงใหม่ก็เข้ากลางของกลางดวงใหม่   เข้ากลางของกลางศูนย์กลางนะ    มันจะเข้าไปเอง  เข้าไปหยุดนิ่ง  ไปจนถึงดวงที่ใสละเอียดที่สุด   ศูนย์กลางขยายออก   กายในกาย ก็ปรากฏ
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    พุทธอุทานคาถา

     
     [​IMG]



    10 ธันวาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.



    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
    สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ.





    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดง พุทธอุทานคาถา วาจาเครื่องกล่าวความเปล่งขึ้นของ พระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่ลึกลับ ผู้แสดงก็ยากที่จะแสดง ผู้ฟังก็ยากที่จะฟัง เพราะเป็นธรรม อันลุ่มลึกสุขุมนัก เพราะเป็นอุทานคาถาของพระองค์เอง ไม่ใช่ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่ง ไปทูลถามแต่อย่างหนึ่งอย่างใด พระองค์เมื่อเบิกบานพระหฤทัยโดยประการใดโดยประการ นั้นก็เปล่งอุทานคาถาขึ้น เป็นของลึกลับอย่างนี้ เหตุนี้เราเป็นผู้ได้ฟังอุทานคาถาในวันนี้ เป็นบุญลาภอันประเสริฐล้ำเลิศ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ตามวาระ พระบาลีที่ยกขึ้นไว้เป็นนิกเขปคาถาว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะมารู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ นี่พระคาถาหนึ่ง ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย นี้เป็นคาถาที่ 2 ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่ พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ พราหมณ์นั้นกำจัดมารและเสนา เสียได้ หยุดอยู่ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ดุจดังดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้ สว่างฉะนั้น นี้เป็นคาถาที่ 3 สามพระคาถาด้วยกันดังนี้ เพียงเท่านี้ ธรรมะเท่านี้เหมือน ฟังแขก ฟังฝรั่งพูด ฟังจีนพูด เราไม่รู้จักภาษา ถ้ารู้จักภาษาแขก ภาษาฝรั่งเราก็รู้ นี่ก็ฉันนั้น แหละ คล้ายกันอย่างนั้น ฟังแล้วเหมือนไม่ฟัง มันลึกซึ้งอย่างนี้ จะอรรถาธิบายขยายเนื้อ ความคำในพระคาถาสืบไป

    คำว่า ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ นี่เราก็รู้คำว่า ธรรม ทั้งหลายคืออะไร รูปก็เป็นธรรม นามก็เป็นธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นรูปเป็นนาม ก็เป็นธรรม เหมือนกัน ธรรมทั้งหลาย คือ กุสลา ธมฺมา ธรรมฝ่ายดี มีเท่าใดหมดพระไตรปิฎก ไม่มีชั่ว เข้าไปเจือปนระคนเลย เรียกว่า กุสลา ธมฺมา ธรรมที่ชั่วตรงกับบาลีว่า อกุสลา ธมฺมา ธรรม ทั้งหลายชั่ว ไม่มีดีเข้าไปเจือปนเลย ชั่วทั้งสิ้นทีเดียว นี้เรียกว่า อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่ชั่ว ธรรมทั้งหลายที่ไม่ดีไม่ชั่ว ดีไม่เข้าไปเจือปน ชั่วก็ไม่เข้าไปเจือปน ไม่ดีไม่ชั่ว เป็น กลางๆ อยู่ดังนี้ เรียกว่า อพฺยากตา ธมฺมา นี่เป็นมาติกาแม่บททั้ง 3 นี้ หมดทั้งสกลพุทธศาสนา ธรรมมีเท่านี้ กว้างนักจบพระไตรปิฎกมากมายนัก พระพุทธเจ้าจะมาตรัสเทศนา เท่าใด ในอดีตมีมากน้อยเท่าใดๆ เมื่อรวมธรรมแล้วก็ได้เท่านี้ พระพุทธเจ้ามาตรัสในปัจจุบัน นี้ ถ้ารวมธรรมได้เท่านี้ พระพุทธเจ้าจะมาตรัสในอนาคตภายภาคเบื้องหน้า ก็รวมธรรมได้ เท่านี้ ย่อลงไปว่า ดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว 3 อย่างนี้เท่านั้น ดีเป็นธรรมฝ่ายดี ชั่วเป็นธรรมฝ่าย ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วเป็นธรรมฝ่ายไม่ดีไม่ชั่ว

    คำว่าธรรมทั้งหลาย ในพุทธอุทานนี้ว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มี ความเพียรเพ่งอยู่ ประสงค์ธรรมขาว เมื่อผู้ที่เพียรเพ่งอยู่ก็คล้ายกับคนนอนหลับ นอนหลับ ถูกส่วนเข้าแล้วก็ฝัน เรื่องฝันนี้ไม่ใช่เรื่องของมนุษย์เรานี้ แต่เป็นเรื่องของกายมนุษย์ละเอียด ฝัน นอนหลับแล้วฝัน ว่าฝันเรื่องมันสนุกสนานเหมือนกัน กายมนุษย์นี้มีสิทธิทำได้เท่าใด พูดได้เท่าใด คิดได้เท่าใด กายที่ฝันนั้นก็มีสิทธิ์ทำได้เท่านั้น พูดได้เท่านั้น คิดได้เท่านั้น ไม่แปลกกว่ากันเลย แต่ว่าคนละเรื่อง นี่คนละชั้น นี่คนละชั้นเสียแล้ว เรื่องฝันนี่ เพราะกาย มนุษย์ฝัน กายที่มนุษย์ฝันนั่นแหละ เรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด นั่นเขาก็สว่างไสวเหมือน กายมนุษย์นี้แบบเดียวกัน กายฝันนะ ทำได้เท่ามนุษย์นี้เหมือนกัน กายมนุษย์ที่ฝันไปนั่น แหละ ฝันไปทำงานทำการเพลินไปอีก เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า นอนหลับฝันไปอีก ฝันในฝัน เข้าไปอีกชั้นแบบเดียวกัน ออกไปเป็น กายทิพย์ ว่องไวอีกเหมือนกัน กายมนุษย์-กายมนุษย์ ละเอียดที่ฝันชั้นที่หนึ่งนั้น ทำหน้าที่ได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยกายได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยวาจา ได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยใจได้เท่าใด กายทิพย์ที่ฝันในฝันออกไปนั้น ก็ทำหน้าที่ได้เท่านั้น เหมือนกัน ทำกายได้เท่านั้น ทำวาจาได้เท่านั้น ทำใจได้เท่านั้นเหมือนกัน แบบเดียวกัน นี้ คนละเรื่อง อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าฝันในฝันแล้วก้อ เรารวนทันที ถ้าฝันแล้วฝันเฉยๆ แล้วก็ไม่รวน เข้ามาใกล้กายมนุษย์ นี่คนละเรื่องอย่างนี้

    นี่ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่เป็นอย่างไร นี่พวกเรารู้กัน อยู่บ้างแล้ว พวกงั่งมีอยู่ พวกเป็นมีอยู่ กล้าพูดได้ทีเดียว เพราะพราหมณ์นั้นมีความเพียรเพ่ง อยู่แล้วนั่นแหละ ความเพ่งมันเป็นอย่างนี้แหละ มันมืดตื้อ มืดตื้อมันก็สงสัย ไอ้มืดนั่นแหละ มันทำให้สงสัย มันไม่เห็นอะไร มันมัวหมองไปหมด ดำคล้ำไปหมด รัวไปหมด ไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ราว หนักเข้าๆ รำคาญ หนักเข้าๆ ก็ลืมเสียที มันมืดนัก ไม่ได้เรื่องอย่างนั้น อย่างนั้น ธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ถ้าจะมาว่าคนฉลาดเพ่งธรรมละก้อ เมื่อนั่งมืดอยู่ละก้อ อ้อ! นี่ อธรรม นี่ อกุสลา ธมฺมา ไม่ใช่ธรรมที่สว่าง นั่งไปๆ ถูกส่วนเข้า สว่างวูบเข้าไปเหมือนฝันทีเดียว สว่าง วูบเข้าไป ปรากฏทีเดียวเหมือนลืมตา บางคนตกใจนะ นี่หลับตาหรือลืมตานะ มันสว่างอย่างนี้ ก็ลืมตาดูเสียที อ้าว! สว่างนั่นหายไปเสียแล้ว นั่นมีสว่างได้อย่างนั้น มีมืดอย่างนั้น นั่งหลับ ตาปุบ แล้วกัน ก็มืดตื้อ เมื่อมืดเช่นนั้นเป็นอธรรม เมื่อสว่างขึ้น ปรากฏชัดขึ้นเหมือนกลางวัน นั่นเป็นธรรม ไม่สว่างไม่มืด รัวๆ อยู่ นั่นก็เป็นธรรมเหมือนกัน เป็น อัพยากตธรรม

    ธรรมมี 3 อย่างนี้ มืดเป็นอกุศลธรรม สว่างเป็นกุศลธรรม ไม่มืดไม่สว่างเป็นอัพยากตธรรม นี่ธรรมเป็นชั้นๆ กันไป มืด สว่าง ไม่มืดไม่สว่าง ทั้งมืดทั้งสว่าง ทั้งไม่มืดไม่สว่าง นั่นหรือเป็นธรรมที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ซึ้งยิ่งกว่านั้น ธรรมทั้งหลาย ที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่นั้น ปรากฏชัด เมื่อนั่งลงไปแล้วปรากฏแน่แน่ว ทีเดียว พอนั่งถูกส่วนเข้า ทำใจให้หยุด พอนั่งถูกส่วนเข้า ก็ใจหยุดทีเดียว เมื่อใจหยุด นี่ ตรงกับบาลีว่า ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะมารู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ

    ธรรมที่เกิดแต่เหตุ นั่นธรรมอะไร เหตุมี 6 โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ โลภเหตุ เป็นฝ่ายชั่ว โทสเหตุเป็นฝ่ายชั่ว โมหเหตุก็เป็นฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีล่ะ ท่านวางไว้เป็นอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

    อโลโภ ทานเหตุ ความไม่โลภเป็นเหตุให้บริจาคทาน อโทโส สีลเหตุ ความไม่โกรธ เป็นเหตุให้รักษาศีล อโมโห ภาวนาเหตุ ความไม่หลงเป็นเหตุให้เจริญภาวนา พอรู้ชัดว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ อ้อ! การที่เราให้ทานนี้เกิดแต่เหตุคือความไม่โลภ การที่มา รักษาได้นี้ เกิดจากเหตุคือความไม่โลภ การที่มารักษาศีลได้นี้ เกิดจากเหตุคือความ ไม่โกรธ การที่เรามาเจริญภาวนาได้นี้ เกิดจากเหตุคือความไม่หลง ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นเหตุให้รักษาศีล ให้เจริญภาวนา ที่เราจะให้ทานขึ้นได้นี้เรียกว่าอโลภเหตุ เราจะ บริจาคทานนี้ก็เป็นธรรมอันหนึ่ง เรามารักษาศีลก็เป็นธรรมอันหนึ่ง มาเจริญภาวนาก็เป็น ธรรมอันหนึ่ง เพราะมาแต่ความไม่โลภ มาจากความไม่โกรธ มาจากความไม่หลง เรื่อง ให้ทานก็เป็นอเนกประการ เรื่องรักษาศีลก็เป็นอเนกประการ เรื่องเจริญภาวนาก็เป็น อเนกประการ

    ธรรมอันนี้หรือ ที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ความสงสัยทั้งปวงของ พราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้จักว่าธรรมเกิดแต่เหตุ ยิ่งกว่านั้นลงไป เมื่อพราหมณ์นั้น มานั่งเพ่ง ถูกส่วนเข้าแล้ว ใจก็หยุดทีเดียว หยุดศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดนิ่ง พอใจหยุดได้เท่านั้น พอใจหยุดนิ่งเท่านั้น สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ดุจดังดวง อาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างไสว นี่เป็นกลางวันอย่างนี้ ดวงอาทิตย์ก็เห็นโร่ อย่างนั้น เห็นอย่างนี้เป็นดวงเท่าดวงจันทร์ ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ติดกลางกายมนุษย์นั่น ดวงเท่าดวงอาทิตย์ ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์ จะมองอะไรเห็นตลอดหมด เหมือนกับกลางวันอย่างนี้แหละ จะดูอะไรก็ดูไป เมื่อธรรม ปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์ ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นก็สิ้นไปหมดไป เพราะได้รู้ความสิ้น ของปัจจัยทั้งหลาย ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย สว่าง ขึ้นแล้ว เมื่อเห็นความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย

    อะไรเล่าเป็นปัจจัยที่สิ้นไป ปัจจัยนี่ก็ยากไม่ใช่น้อยเหมือนกัน ปัจจัยคือดังนี้ คำที่เรียก ว่าปัจจัย อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร แน่ะความโง่ ความไม่รู้จริง เป็นปัจจัยแล้ว สังขาร ความปรุงให้ดีให้งามตกแต่งอยู่ร่ำไป ต้องตกแต่งอยู่ร่ำไป ปรนเปรออยู่ร่ำไป สังขารนั่นแหละ เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ รู้ดีรู้ชั่วอยู่ร่ำไป วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปมีเกิดดับ อยู่เป็นธรรมดา นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สฬายตนะเป็น ปัจจัยให้เกิดผัสสะ ความกระทบทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะเมื่อกระทบเข้าแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ชอบ ไม่ชอบ เฉยอยู่ เวทนาปรากฏเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหา ปรากฏขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานปรากฏขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก่อน ปัจจัยกันเป็นชั้นๆ อย่างนี้ เมื่อมีกามภพ รูปภพ อรูปภพ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ เมื่อ ชาติมีขึ้นแล้ว ชาตินั้นคืออะไร ชาติคือกำเนิด นั่นแหละ ชลาพุชะ (เกิดในครรภ์), อัณฑชะ (เกิดในไข่), สังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล), อุปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น), ชาติคือกำเนิด ที่ เกิด เขา เรียก ชาติ ออกจากกำเนิดนั่นแหละ ชาติมีขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิด ชรา (ความแก่), มรณะ (ความตาย), โสกะ (ความโศก), ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ), ทุกข์ (ทุกข์กาย), โทมนัส (ทุกข์ใจ), อุปายาส (ความคับแค้นใจ), เป็นลำดับไป เป็นปัจจัยกันอย่างนี้ รู้จักความสิ้นไป ของปัจจัยทั้งหลาย

    เมื่อสิ้นไปอย่างไร ความโง่ไม่มี หายไปหมด ดับไปหมด เมื่ออวิชชา ความไม่รู้จริงดับ สังขารก็ดับ สังขารดับ วิญญาณก็ดับ วิญญาณดับ นามรูปก็ดับ นามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ สฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ผัสสะดับ เวทนาก็ดับ เวทนาดับ ตัณหาก็ดับ ตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ อุปาทานดับ ภพก็ดับ ภพดับ ชาติก็ดับ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ต้องดับ ไม่เหลือเลย นี้ความสิ้นไป เมื่อรู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้แล้ว วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ พราหมณ์นั้นก็กำจัดมารและทั้งเสนาได้แล้ว หยุดอยู่ได้ คือ ใจหยุด นั่นเอง ไม่ใช่อื่น ใจหยุด พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นเอง สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ความสว่างเกิด ขึ้น ดุจดังดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่าง เราก็มองเห็นดวง ดังนั้น ที่ปรากฏ ดังนั้น เมื่อปรากฏขึ้นดังนั้นแล้ว พราหมณ์นั้นก็รักษาดวงนั้นไว้ไม่ให้หายไป ที่วัดปากน้ำ เขา เป็นแล้ว ของลึกก็จริง แต่ว่าวัดปากน้ำพบแล้ว

    แต่ว่าผู้พบก็ไม่รู้ว่าลึกซึ้งแค่ไหน ได้แต่ลึกซึ้งอย่างนี้ จริงอย่างนั้น แล้วก็ไปทำ เหลวไหลเสีย ให้ดับเสียบ้าง ให้หายเสียบ้าง ไปกังวลอื่นเสีย ไม่กังวลของลึกซึ้งอย่างนี้ นี่มีมากทีเดียว

    ในวัดปากน้ำนี้ ทั้งสว่างทำได้ขนาดนี้นะ ยิ่งกว่านี้ไปอีก เดี๋ยวจะเล่าเรื่องวัดปากน้ำที่ ทำสว่างขึ้นได้แค่ไหน ตรงกับพุทธอุทานนี้แล้ว เมื่อสว่างขึ้นได้ดังนั้นแล้วก็ได้เป็นลำดับไป นั่นสว่าง ดวงนั้นเขาเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจของผู้กระทำนั้น ก็หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงสว่างนั้น พอถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้า ถึง ดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนเข้า ถึง ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้า ถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า หยุดท่าเดียว หยุดอยู่ท่าเดียว กำจัดมารให้หยุดทีเดียว หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายที่ฝัน ทีเดียว ตั้งแต่กายมนุษย์ขึ้นไป เห็นกายที่ฝัน อ้อ! กายฝันอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เราไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อฝันแล้ว มัน ก็รัวไป

    ใจกายที่ฝัน ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์ละเอียดอีก เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อย่างนั้น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายฝันในฝัน ก็คือ กายทิพย์

    ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า เห็นดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายทิพย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ดังนี้ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวง วิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหม ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เห็นแบบเดียวกัน ก็เข้าถึง กายรูปพรหมละเอียด

    ใจกายรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายอรูปพรหม แบบเดียวกัน

    ใจกายอรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำเป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็ถึง กายอรูปพรหมละเอียด

    ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรม หน้าตักหย่อนกว่า 5 วา สูง 5 วา นั้นเรียกว่า กายธรรม กายธรรมนั่นเองเป็นพระพุทธเจ้า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราตถาคตคือธรรมกาย นั่นแหละ พระพุทธเจ้า

    ใจกายธรรม ก็หยุดนิ่งอยู่กลางใจดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม แบบเดียวกัน ถูก ส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากันกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย เท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล เท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายธรรมละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ใส ทีเดียว ยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ บริสุทธิ์สนิททีเดียว สว่างไสว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน แล้วต่อไปก็ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นลำดับไป หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง วิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุ ดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจกายพระโสดาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เห็น กายพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา

    ใจกายพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวง วิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เข้าถึง กายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา หยุด นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกัน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถูก ส่วนเข้าก็เห็น กายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจพระสกทาคาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายพระอนาคา

    ใจกายพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เข้าถึง กายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายพระอนาคาละเอียด ทำถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา สูง 20 วา กลมรอบตัว เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เท่าๆ กัน ก็เห็น กายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจกายพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถูกส่วน เข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวง วิมุตติญาณทัสสนะ 20 วา เท่ากันหมด ปรากฏเห็น กายพระอรหัตละเอียด ใสหนักขึ้นไป

    ตำราวัดปากน้ำเขาสอนกันได้อย่างนี้ แต่ว่าที่จะเป็นพระโสดา พระสกทาคา พระอนาคา อรหัต นั้น ไม่ติด ไม่หลุดซะ แต่ว่าทำได้ตลอดเลยไปจากนี้อีก ทำไปมากกว่านี้ ถึงกายพระอรหัต พระอรหัตละเอียดๆๆ ต่อๆ ไป นับอสงไขยก็ไม่ถ้วน ผู้เทศน์นี้สอน เป็น คนสอนเอง 23 ปี 5 เดือนนี้ ได้ทำไปอย่างนี้แหละ ไม่ถอยหลังเลย ยังไม่สุดกายของ ตัวเอง เมื่อยังไม่สุดกายของตัวเองแล้ว ตัวเองก็ปกครองตัวเองยังไม่ได้ ยังมีคนอื่นเป็นผู้ ปกครองลับๆ เพราะไม่ไป ถ้าไปถึงที่สุดแค่ไหน เขาก็ปกครองได้แค่นั้น นี่ผู้เทศน์ยังแนะนำ สั่งสอนให้ไปถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัวเอง เมื่อถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัวเอง ละก้อ เป็นกายๆ ไปดังนี้ ตัวเองก็จะปกครองตัวเองได้ ไม่มีใครปกครองต่อไป ตัวเองก็เป็น ใหญ่ในตัวเอง ตัวเองก็จะบันดาลความสุขให้ตัวเองได้ กำจัดความทุกข์ได้ ไม่ให้เข้ายุ่งได้

    นี่คนอื่นเขายังบันดาลอยู่ คนอื่นเขายังให้อยู่ เหมือนความแก่ดังนี้ เราไม่ปรารถนา เลย เขาก็ส่งความแก่มาให้ เราก็ต้องรบความแก่นั่นแหละ ความเจ็บล่ะ เราไม่ปรารถนา ความเจ็บ เขาก็ส่งความเจ็บมาให้ ความตายล่ะ เราไม่ปรารถนาเลย เขาก็ส่งความตายมา ให้ เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าตัวเองไม่เป็นใหญ่ด้วยตัวของตัวเอง คนอื่นเขามาปกครอง เขาส่งมาให้ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ตัวมีความรู้ไม่พอ ก็ต้องรบเหมือนดังนี้ เราอยู่ ปกครองประเทศไทย ประเทศไทยเขาต้องการอย่างไร ผู้ปกครองเขาต้องการอย่างไร เราก็ ต้องไปตามเขา ไม่ตามเขาไม่ได้ ต้องอยู่ในบังคับบัญชาเขา

    ถ้าจะอยู่นอกปกครองเขา ต้องไปให้ถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัว ไปถึงที่สุด สายธาตุสายธรรมของตัวละก้อ ในที่สุดนั้นไม่มีใครปกครองเลย เราปกครองของเราเอง เราก็ไม่ต้องรับความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็ได้ เพราะเรามีอำนาจพอแล้ว เราไม่อยู่ใน ปกครองก็ได้ตามความปรารถนา แต่ว่าต้องไปให้สุดสายธาตุสายธรรมของตัว ถ้าให้สุด สายธาตุสายธรรมของตัวไม่ได้ละก้อ เลี้ยงเอาตัวรอดไม่ได้ บัดนี้เราเป็นภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา เมื่อมาฟังอุทานคาถา รู้ว่าธรรมของพระศาสดาลึกซึ้ง อย่างนี้ ขนาดนี้ละก็ อุตส่าห์ อย่าประมาท อย่าเลินเล่อ อย่าเผลอตัว อย่างคนมีปัญญา อย่างคนรู้ดีรู้ชั่ว อย่าเล่นเอาอย่างเด็ก ถ้าเมื่อเล่นอย่างเด็กแล้วก็เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นฝุ่นเล่นทรายอยู่ละก้อ ชีวิตจะไม่พอใช้ เพราะเขาเล่นละครกันเป็นบ้านๆ โรงๆ กัน ใน โลกนี้เขาเรียกว่า ละครโรงใหญ่ เล่นฝุ่น เล่นทราย เล่นแปลกๆ ไปตามหน้าที่ เอาจริงๆ แท้ๆ ไม่ได้สักคนหนึ่ง ขึ้นไปแล้วก็ตายกันหมด เอาจริงเอาแท้เหลือสักคนหนึ่งก็ไม่มี เพราะเหตุอะไรเล่า เพราะเหตุว่าเลินเล่อเผลอตัวไป มนุษย์โลกนี้เราผ่านไปผ่านมา เข้าใจ ว่าเป็นบ้านของเราเมืองของเราเสียใหญ่โตมโหฬารทีเดียว เข้าใจเสียอย่างนั้นก็เข้าใจผิด ไปนี่แหละละคร กายเรานี่นะโตกว่าบ้านเมืองเหล่านี้มากนัก ให้ไปชมดูเถิด แต่ว่าต้องไป ให้ถึงที่สุดนี้ให้ได้นะ ไปที่สุดของกายเหล่านี้ได้ก็จะเอาตัวรอดได้เป็นแท้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมา ในพุทธอุทานคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้าง ธรรมปฏิบัติ มาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมี แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอ สมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ธันวาคม 2015
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    บรรยากาศการอบรมพระกรรมฐาน พระวิปัสสนาจารย์

    15-28 ธันวาคม 2558



    [​IMG]


    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]


    "กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต"
    บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญ

    "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ได้แก่ ธรรมที่ไม่มีโทษเป็นธรรมที่เป็นเหตุนำไปสู่ความเจริญสูงสุด คือ ธรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึงสภาวะที่ขาวใสบริสุทธิ์ และธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล ได้แก่ ธรรมที่มีโทษ เป็นธรรมที่เป็นเหตุนำไปสู่ความเสื่อม คือ ธรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึงสภาวะที่ดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส มีอยู่.
    การพิจารณาใส่ใจให้มากด้วยความรอบคอบดังที่กล่าวมานี้เป็นอาหารแห่งธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่บังเกิดขึ้นให้บังเกิดขึ้น หรือที่บังเกิดแล้วให้เจริญบริบูรณ์ขึ้น (พระไตรปิฏกบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๓๖๖ หน้า ๙๖)

    ธาตุธรรมภาคดำ มีกิเลสอวิชชา เป็นต้นเหล่านี้เอง ที่คอยปกปิด-บิดเบือนข้อมูล ปิดหู-ปิดตา-ปิดใจ ของสัตว์โลก มิให้เจริญวิชชา กำจัดอวิชา กิเลสตัณหา-อุปทาน มิให้สามารถเปิดตา(ทิพพจักษุ-สมันตจักษุ-พุทธจักษุ) ให้รู้เห็นนรก-สวรรค์-นิพพานตามที่เป็นจริงได้ นับภพนับชาติไม่ถ้วน แถมยังชี้นำแนะนำผิด ๆ ให้ผู้อื่นหลงโง่ตามไปด้วยมากต่อมาก เมื่อแตกกายทำลายขั้นคือตาย ก็ไปเกิดในทุคคติภูมิกันมากมายก่ายกอง น่าสะพรึงกลัว ที่กระทำบาปอกุศลหนัก ก็ถึงอเวจีมหานรก และที่หนักด้วยมิจฉาทิฏฐิก็ถึงโลกันตนรกไต่อยู่ตามขอบจักรวาลยั้วเยี้ยไปหมด...
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    
    ทำไมเมื่อสะสางธาตุธรรม เก็บธาตุธรรมภาคดำและภาคกลางๆ จนใสเหมือนเพชรแล้ว ต่อไปยังเห็นมีธาตุธรรมภาคดำ ภาคกลางๆ อยู่อีก ?

    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เพราะว่า

    1. เรายังละกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ซึ่งรวมเรียกว่า สังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก) ที่ได้เคยสะสมมาแต่อดีต นับภพนับชาติไม่ถ้วน ยังไม่หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน

    ต่อเมื่อใดเราได้บำเพ็ญบุญบารมี อุปบารมี ถึงปรมัตถบารมี เต็มส่วน (ตามอธิษฐานบารมีเป็นพระอรหันตสาวก หรือเป็นพระอรหันต-ปัจเจกพุทธเจ้า หรือเป็นพระอรหันตสัพพัญญูพุทธเจ้า หรือถึงต้นธาตุต้นธรรม) ปฏิบัติธรรม ตรัสรู้พระอริยสัจจธรรม จนละสังโยชน์ ได้ทั้งหมด (10 ประการ) โดยเด็ดขาด เป็นพระอรหันตขีณาสพ ตามระดับบุญบารมีที่อธิษฐาน (บารมี) ไว้แล้ว ทั้ง

    ธรรมกายตรัสรู้ ชื่อว่า “พระนิพพานธาตุ” และกายมนุษย์พิเศษของพระอริยเจ้านั้นจึงโตใหญ่ เต็มธาตุเต็มธรรม และใสบริสุทธิ์ มีรัศมีสว่างอยู่อย่างนั้น (ไม่มีมัวหมองและไม่กลับเล็กลงอีก) พระนิพพานธาตุ และกายมนุษย์พิเศษ นั้นแหละจะเชื่อมเป็นอันเดียวกัน เป็นอมตธรรม ที่มีสภาพเที่ยง เป็นบรมสุข และเป็นตัวตนที่แท้จริง ที่ยั่งยืนของพระอริยเจ้านั้น

    เพราะฉะนั้น จงบำเพ็ญบุญบารมีและปฏิบัติธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จนถึงบรรลุพระนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง และที่เป็นบรมสุขนั้นเถิด

    2. เพราะธาตุธรรมของสัตว์โลกเกี่ยวเนื่องถึงกัน เมื่อเราทำวิชชาสะสางธาตุธรรมของเรา ก็เกี่ยวเนื่องถึงธาตุธรรมของสัตว์โลกอื่นๆ ด้วย

    วิชชาธรรมกายชั้นสูงเป็นวิชชาสะสางธาตุธรรมของพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม เพื่อช่วยรื้อสัตว์ขนสัตว์เข้านิพพาน เมื่อเราเข้าถึงแล้ว จึงได้วิชชานี้มาเพื่อสะสางธาตุธรรมของเราเองด้วย และเพื่อช่วยสะสางธาตุธรรมของสัตว์โลกอื่นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติธรรมในสายธาตุธรรมเดียวกัน คือธาตุธรรมสายขาวหรือฝ่ายพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้า และ พระพุทธเจ้า คือธรรมกายนั้นเอง จะได้รับผลก่อนและมากกว่าสายอื่น (คือธาตุธรรมสายกลางๆ และธาตุธรรมสายดำ) ซึ่งจะค่อยๆ ได้รับผล เมื่อผู้เจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงช่วยสะสางธาตุธรรมของสัตว์โลก หมดทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ ทั่วทั้งจักรวาล ตามศักดิ์แห่งบุญบารมี และพลัง คือทั้งจำนวน (ปริมาณ) และระดับภูมิธรรม (คุณภาพ) ของผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกาย และได้ฝึกเจริญสติปัฏฐาน 4 และวิชชาธรรมกายชั้นสูงที่ได้ผลดี คือที่บริสุทธิ์ และมั่นคงดีแล้ว ที่มีมากขึ้น และแก่กล้าขึ้นตามลำดับ

    เพราะเหตุนั้น วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ในสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จึงมีนโยบายและโครงการที่จะ “สร้างพระในใจตน” และ “ช่วยสร้างพระในใจคน(อื่น)” ให้ได้คุณภาพและปริมาณที่ดีให้มากที่สุด เพื่อช่วยตนเองและผู้อื่น โดยมีหลักว่าเท่าที่กำลังสติปัญญาความสามารถ ภูมิธรรม และกำลังทรัพย์ สามารถและที่สามารถจะช่วยผู้อื่นได้ นี้เป็นงานช้าง (งานหนัก) แต่เราทำเท่าที่สามารถทำได้ตามกำลังของเรา แต่เราต้องช่วยตนเองและผู้อยู่ในสายธาตุธรรมที่ใกล้ชิดกันเอง คือผู้ปฏิบัติธรรม ที่ทำหน้าที่รบ ทำงาน ตรวจงาน เผยแพร่ กองเสบียงก่อน ให้มีกำลังกล้าแข็งพอที่จะขยายความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่อยู่ห่างสายธาตุธรรม วิชชาธรรมกาย และนอกพระพุทธศาสนาออกไป

    เพราะเหตุนี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจึงกล่าวว่า “ธรรมกาย นั้นแหละ คือที่พึ่งของสัตว์โลก” ใครผู้ใดขัดข้อง คิดและกระทำการ ทำลายธรรมปฏิบัติตามที่หลวงพ่อฯ และศิษยานุศิษย์ท่านสอนให้ปฏิบัติ ถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพาน ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยมิจฉาทิฏฐิ จึงมีผลดุจดังเด็กกำถ่านเพลิง และดุจดังคนโง่ทุบหม้อข้าวตนเองฉันใด ฉันนั้น
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    ท่านได้กล่าวสอนศิษยานุศิษย์อยู่เสมอว่า


    "เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำ จะเกิดมาทำอะไร
    สิ่งที่อยากก็หลอก สิ่งที่หยอกเขาก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงใย
    เลิกอยากลาหยอก รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป
    เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้"


    : อธิบายคำ :

    "แก้ว" ณ ที่นี้หมายถึง "พระรัตนตรัย"
    แก้ว ๓ ประการ คือ
    พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ
    "ขันธ์สาม" หมายถึง การศึกษาสัมมาปฏิบัติไตรสิกขา
    คือ "ศีล สมาธิ ปัญญา"
    อันมีรายละเอียดอยู่ใน อริยมรรค มีองค์ ๘
    "กิจสิบหก" หมายถึง การพิจารณา อริยสัจทั้ง ๔
    (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
    ในกายมนุษย์ ๑
    กายทิพย์ ๑
    กายพรหม ๑
    กายอรูปพรหม ๑
    รวมเป็น "กิจสิบหก"
    ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงด้วย "ญาณ ๓" คือ
    สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ
    มีอาการ ๑๒
    "นิพพาน" คือ
    ๑. สภาวธรรมที่สิ้นทุกข์
    เป็นบรมสุขอย่างถาวร
    ๒. พระนิพพานธาตุ
    อมตธรรมที่ทรงสภาวะพระนิพพาน นั่นไว้
    ๓. อายตนะ คือ พระนิพพาน
    ที่สถิตอยู่ของ พระนิพพานธาตุ
    คือ ธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์
    ผู้ดับขันธปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    "ธรรมกาย" ณ ที่นี้คือ
    ธรรมที่ประชุมคุณธรรมของพระอริยสงฆ์
    พระอริยเจ้า และของพระพุทธเจ้า
    ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ และ นิพพาน ๑ เป็นต้น


    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    เดินวิชชาจนใส ปราศจากนิวรณ์แล้วให้พิจารณาอริยสัจจ์4 และวิปัสสนา

    [​IMG]


    จากภาพ ดวงที่1เป็นดวงธรรมแรกๆประจำกายนั้นๆ เป็นดวงที่ทำให้เป็นกาย
    ดวงที่ 2 คือดวงศีล
    ดวงที่ 3 ดวงสมาธิ
    ดวงที่4 ดวงปัญญา
    ดวงที่5 ดวงวิมุตติ
    ดวงที่6 คือดวงวิมุตติญาณทัศนะ


    __________________________________________________

    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก
    เท่าไข่แดงของไก่

    -ดวงเกิด มีสีขาวใส
    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า
    ใหญ่ก็แก่มาก
    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด
    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที
    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า
    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์
    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ
    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย
    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที

    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน
    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง
    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย
    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด

    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง
    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด
    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ
    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม
    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา

    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์
    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ
    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง
    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย
    ไปฉะนั้น

    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล
    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด
    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก

    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่
    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์
    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง
    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร
    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด
    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้
    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    บางครั้งเห็นดวงแกว่งลอยไปด้านซ้ายบ้างด้านขวาบ้าง หรือวิ่งเป็นวงบ้าง จะทำอย่างไร เพราะรู้สึกปวดหัว ?

    ---------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขณะปฏิบัติภาวนาอยู่เช่นนั้น ให้เหลือบตากลับขึ้นนิดๆ พร้อมกับกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกาย นิ่งๆ เข้าไว้ ไม่ต้องใช้ใจบังคับดวงที่แกว่งนั้น ดวงจะเลื่อนไปไหนก็ช่าง อย่าตาม อย่าเสียดาย


    คงให้รวมใจหยุดนิ่งๆ คือนึกให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกายไว้ให้มั่น กลางของกลางเข้าไว้ จะใช้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” ณ จุดเล็กใสนั้นช่วยด้วยก็ได้

    ไม่ช้าใจจะหยุดนิ่ง และก็ปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มขึ้นมาเอง

    ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขณะปฏิบัติภาวนา อย่าบังคับใจที่จะให้เห็นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกร็งและปวดศีรษะ ให้ผ่อนใจพอดีๆ แล้วจะค่อยๆ เห็นชัดเอง.
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]



    * วิชชาธรรมกายชั้นสูง

    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึง "ธรรมกาย"
    และได้ฝึกเจริญภาวนาพิจารณาเห็น
    กายในกาย
    เวทนาในเวทนา
    จิตในจิต
    และ ธรรมในธรรม
    ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน
    ได้ผลดีพอสมควรแล้ว

    ยังควรได้รับการฝึกเจริญภาวนา
    "วิชชาธรรมกายชั้นสูง" อีกต่อไป
    ซึ่งจะเป็นธรรมเครื่องช่วย "บำบัดทุกข์" และ "บำรุงสุข"
    ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
    รวมทั้งสังคมประเทศชาติได้มาก
    ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    แต่ผู้ปฏิบัติภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูง
    เขาจะไม่ค่อยเปิดเผย หรือแสดงความโอ้อวดใดๆกับใครๆ
    นอกจากจะเป็นที่รู้กันเฉพาะในหมู่ครูอาจารย์
    และศิษยานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดเท่านั้น

    "วิชชาธรรมกายชั้นสูง" นี่แหละ
    ที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ท่านได้เคยกล่าวกับศิษยานุศิษย์
    ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ว่า

    "ธรรมกายคนหนึ่ง ช่วยคนได้ครึ่งเมือง"

    หมายถึงว่า ...
    ผู้ปฏิบัติได้ถึง "ธรรมกาย"
    เจริญ "วิชชาธรรมกายชั้นสูง"
    ช่วย 'บำบัดทุกข์ บำรุงสุข'
    แก่สาธุชนพลเมืองได้มาก

    * หลวงป๋า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ธันวาคม 2015
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    จากอิสลาม เข้าถึงพุทธ ที่สุดละเอียด

    เดิมทีข้าพเจ้าไม่ได้นับถือศาสนาพุทธมาก่อน ไม่เคยศรัทธา ไม่เคยคิดว่าพระพุทธเจ้ามีจริง โดยเฉพาะเรื่องการทำสมาธิ ก็คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เรียกว่า ถ้าเอ่ยกันถึงคำว่า “พุทธ” จะมีความรู้สึกว่าไม่ชอบเอาเสียจริงๆ

    ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเคยได้รับคำสั่งสอนจากผู้ใหญ่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตัวตน มีแต่เพียงคำสอนซึ่งเป็นพระคัมภีร์ แต่ถ้าพระพุทธเจ้ามีจริงก็ตายไปนานแล้ว ใครจะรู้ได้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ฉะนั้นการกราบไหว้บูชารูปปั้นนั้น มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเอง แล้วก็โมเมเอาว่านี่แหละคือพระพุทธเจ้า บูชากันไปบูชากันมา ดีไม่ดีกลายเป็นพวกผีไม่มีญาติเข้าไปสิง จะกลับให้โทษเสียอีก หรือถ้าบูชาไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้คนในครอบครัวมีอันเป็นไป

    แล้วเรื่องการทำสมาธิอีกอย่าง อย่าให้นั่งเด็ดขาด จะทำให้เป็นบ้าไปเลยก็ได้ เพราะเมื่อนั่งๆ ไป จะต้องเห็นผีสางต่างๆ นานา ที่ผู้ใหญ่ท่านกล่าวเช่นนี้เพราะรู้ว่าเด็กๆ ทุกคนย่อมกลัวผีเป็นธรรมดา เรียกว่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ เขาจะต้องต่อต้านทุกเรื่องไป

    ที่ว่าไม่ได้นับถือพุทธ คือบิดาเป็นคริสตัง มารดาเป็นมุสลิม แต่บิดาเสียไปในขณะที่มารดาตั้งท้องข้าพเจ้าได้ 2-3 เดือน ดังนั้นข้าพเจ้าจึงนับถืออิสลามตามแม่ ซึ่งแน่นอนที่สุด ในครอบครัวชาวมุสลิมเขาจะเคร่งครัดในศาสนามาก การวางตัวในสังคมก็มีขีดจำกัดไปเสียทุกอย่าง แต่แล้วข้าพเจ้าก็ได้สามีเป็นชาวพุทธ แถมยังชอบและสนใจในเรื่องปฏิบัติธรรมเสียอีก

    วันหนึ่งสามีของข้าพเจ้าได้ซื้อหนังสือที่กล่าวถึง “ธรรมกาย” ของหลวงพ่อสด ซึ่งมีวางขายตามร้านหนังสือทั่วไปมาอ่าน อ่านแล้วก็คุยกันตามประสาสามี-ภรรยา เรามีความเห็นว่า เท่าที่ได้อ่านและถามๆ คนอื่นดู ก็รู้สึกว่า ธรรมกายนั้นถ้าจะปฏิบัติไม่ใช่ของง่ายๆ เคยมีคนเขาบอกว่า ที่ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) เขามีสอนอยู่ จะชวนข้าพเจ้าไป ก็บอกแล้วว่าไม่ชอบวิชานี้ เราไม่ไป เขาก็ [จึง] ไม่ไป เป็นอันจบ

    หลังจากนั้นไม่นาน ข้าพเจ้าได้ฝันว่า หลวงปู่ทวดท่านมาชวนว่า ให้จับมือท่านไว้ จะพาไปพบ“หลวงพ่อสด” ที่พระนิพพาน ในฝันว่าลอยไปอย่างสบายเลย คำแรกที่หลวงพ่อสดท่านพูดกับข้าพเจ้าก็คือ “เราชื่อสด จะมาฝึกธรรมกายไหม ?” ในฝันก็ตอบท่านไปว่า “ไม่ฝึก” เพราะเคยอ่านหนังสือเลยรู้สึกยาก ท่านก็ไม่พูดอะไร ทำหน้าเฉยๆ เมื่อตื่นขึ้นก็เล่าให้สามีฟัง เขารีบบอกทันทีว่าเป็นนิมิตที่ดี ในที่สุดก็ขัดคำชวนที่จะไปวัดสระเกศไม่ได้ เรื่องวัดเรื่องวาก็ไม่เคยจะรู้ธรรมเนียมเท่าไรนัก รับศีลก็ไม่เป็น ต้องเอาหนังสือของวัดมาดูเวลาที่เขารับศีล วุ่นวายอยู่เป็นเดือน แม้แต่ปัจจุบัน การสวดมนต์ทำวัตรก็ยังไม่ค่อยเป็นเท่าไรนัก อาศัยฟังบ่อยๆ ก็ชักชินหู

    การฝึกปฏิบัติธรรมในวันแรก ก็แยกกลุ่ม วิทยากรเขาแนะนำให้กำหนดดวงแก้วกลมใส ประมาณเท่าฟองไข่แดงของไก่ เริ่มจากช่องจมูกซ้าย ว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” แล้วเลื่อนดวงแก้วไปตามฐานต่างๆ จนถึงฐานที่ 7 เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ให้จรดใจนิ่งไว้ตรงกลางดวงแก้วกลมใสนั้น แล้วกำหนดจุดเล็กใสขึ้นที่ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส เขาให้ทำอะไรก็ทำตามไป ไม่ได้คิดอะไร ครั้นเมื่อนิ่งถูกส่วนเข้า วิชชาก็เริ่มเดิน* [คำว่า “เดิน” ในที่นี้ หมายถึง “เจริญ” กล่าวคือ เจริญภาวนาหรือเจริญวิชชา] จากดวงปฐมมรรคเข้าสู่กายธรรม กายในกาย ณ ภายใน เริ่มโตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ ตายแล้ว อะไรกันนี่ ! จิตใจเริ่มสับสน เมื่อใจไม่จรดศูนย์ วิชชาก็หยุดเดิน* เมื่อคลายจากสมาธิ วิทยากรถามว่า เห็นดวงแก้วแจ่มใสไหม ? เลยตอบว่า “แจ่มใสดีค่ะ"

    อาทิตย์ต่อมาก็ได้ 18 กาย กับพระวิทยากร จึงรู้ว่า เป็นอย่างที่เราทำได้ถึงในคราวก่อน เลยเสียท่าไปแล้ว เมื่อพระท่านสอนเสร็จ ก็มีการซักถามกันพอสมควร ว่าทำไมกายพระคือเรานั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ท่านก็ให้ความกระจ่างดี จึงเริ่มเข้าใจขึ้นบ้างแล้ว ทีนี้ชักเริ่มสนุก แต่ยังคิดไม่ถึงว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรต่อไปอีก เพียงแต่พระวิทยากรท่านว่า ต่อไปนี้อย่าให้เสียท่าอีกนะ ให้ปล่อยใจหยุดนิ่งไปตามญาณวิถี ในที่สุดก็ได้ต่อวิชชาชั้นสูงกับหลวงพ่อเสริมชัย แต่ก่อนที่จะได้ฝึกกับท่าน ได้ทำสมาธิ เดิน 18 กาย ซ้อนสับทับทวีที่บ้าน ก่อนจะคลายจากสมาธิ ก็หยุดตรึกนิ่งไปที่จุดสุดท้ายของการเข้าถึง รู้ เห็น และเป็น ตามที่พระวิทยากรท่านสอน ก็มีเสียงก้องกังวานขึ้นว่า “วันข้างหน้าจะต้องพบกับอาจารย์ที่มีสายสัมพันธ์กันในอดีต เขาผู้นี้จะรู้แจ้งเห็นจริงทุกอย่าง และจะเป็นผู้ให้วิชชาทั้งหมดแก่เรา"

    ต่อมาจึงได้รับการฝึกเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงกับหลวงป๋า [หมายถึง พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ซึ่งผู้เขียนมีความเคารพเสมือนบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางธรรม] ในการฝึกวิชชาชั้นสูง นับตั้งแต่เริ่มพิสดารกาย เป็นเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ฯลฯ คำสอนต่างๆ ของหลวงป๋าในวิชชาชั้นสูงนั้นไม่เคยได้ยินมาก่อน ดังนั้นเมื่อเจริญภาวนาเสร็จแต่ละครั้ง ต้องคอยถามว่าจุดนี้เป็นอย่างนี้ อย่างนั้นใช่ไหม ? ตามปกติเป็นคนไม่ค่อยกล้า แต่ก็กลัวจะทำผิดจากวิชชาของท่าน จึงจำเป็นต้องรายงานผลการปฏิบัติให้ท่านทราบตลอดเวลา ประกอบกับหลวงป๋าท่านมีเมตตา เอาใจใส่กับลูกศิษย์ ในที่สุดก็เข้าถึงต้นธาตุต้นธรรม ... เราทำผิดท่านก็ไม่เคยว่า ยิ่งทำให้เรามีกำลังใจและเกิดความอบอุ่น

    อยู่มาวันหนึ่ง หลวงป๋าท่านเรียกมานั่งข้างหน้าเพื่อแนะนำวิธีปฏิบัติ ... ก็พอดีศาลาข้างๆ มีงานศพเป็นคนจีน หูเราก็บังเอิญได้ยินเป็นเสียงสวดมนต์ ไปแวบคิดว่าสวดอย่างนี้เขาเรียกว่าสวดกงเต็กหรือเปล่า ? เสียงหลวงป๋าพูดทันที “ให้มานั่งสมาธิ ไม่ใช่มาคิดนอกเรื่อง” ไม่ใช่ครั้งนี้ที่ท่านคอยเตือน ตลอดเวลาที่เจริญภาวนากับท่าน จะได้ยินคำเตือนเสมอ เมื่อจิตไม่ตกศูนย์ นี่แสดงว่าตลอดเวลาท่านจะคอยประคับประคองจิตของเราให้หยุดให้นิ่งอยู่ตลอดเวลา ในเรื่องของวิชชา ท่านไม่เคยหวงใคร รับได้เท่าไร ตามสภาพภูมิธรรม ท่านก็เปิดให้หมด

    ในที่สุดเราก็สามารถเข้าถึงพระนิพพานในพระนิพพาน เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วนของต้นๆ ... ได้รู้ซึ้งถึงพลังและอานุภาพของธรรมกาย โดยการมุ่งเข้าสู่เขตธาตุเขตธรรมต่อๆ ไปเป็นทับทวี โดยไม่ถอยหลังกลับ ... หลวงพ่อสดก็ผุดขึ้นพร้อมกับเสียงก้องกังวานมาทันทีว่า “ตนนั้นต้องทำให้วิชชาธรรมกายให้เป็นวิชชาที่ไม่ตาย ความหมายก็คือ ให้ทำวิชชาเป็นอยู่ตลอดเวลา และต้องเผยแพร่ต่อๆ ไปด้วย ข้อสำคัญ ต้องรวมธาตุธรรมของศาสนาทุกศาสนา ทุกสี ทุกสาย ทุกกาย ทุกองค์ ทุกวงศ์ มากลั่น และละลายธาตุธรรมนั้น ดับอธิษฐานถอนปาฏิหาริย์จนหมดธาตุธรรมภาคดำและกลางๆ และให้เป็นแต่ธรรมกายที่เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ไม่มีคำว่า สี สาย นิกาย ฯลฯ ต่อไป ตั้งแต่มนุษย์โลกขึ้นไปจนถึงจักรวาลในจักรวาลต่อๆ ไป แต่จงจำไว้ จำทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นวิชชารบหรือการสะสางธาตุธรรม ฯลฯ จะต้องใช้เมตตาพรหมวิหารเป็นที่ตั้ง อย่าทำด้วยความรุนแรง (ด้วยกิเลส) และขาดสติ แล้วจะประสบผลสำเร็จ"

    ดังนั้นเมื่อต้องทำวิชชารบกับมารทีไร ถ้าจิตคิดว่าต้องเอาชนะให้ได้ เสียงของหลวงพ่อสดจะดังก้องขึ้นมาทันทีว่า“จงใช้เมตตาเป็นที่ตั้ง ทำเช่นนั้นไม่ถูก” จิตที่กล้าแข็งก็เริ่มอ่อนโยนลงทันที ใจก็คิดว่า การที่ต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะหน้าที่ ไม่ใช่ด้วยความอาฆาต ก็น่าแปลก ฝ่ายมารเขาจะเริ่มถอยวิชชาของเขาออกไปทีละน้อย แต่เราต้องคิดเสมอว่าต้องไม่ประมาท โดยเราต้องทำวิชชาให้นำหน้าเขาอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะถูกภาคมารเขาสอดเข้ามาในสุดละเอียดของเราได้

    ฝึกเดินวิชชาอยู่ประมาณเดือนเศษ ก็มีการอบรมพระกัมมัฏฐานที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ในเดือนธันวาคม หลวงป๋าก็ชวนให้ไปที่ดำเนินสะดวก เมื่อไปถึงที่นั่น ก็ไปยืนอยู่ข้างๆ ศาลาอเนกประสงค์ หันหน้าไปทางซ้ายมือ เป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่รอบเกาะ รู้สึกว่าลมเย็นสบายดี จึงยืนทำวิชชาเข้าสุดละเอียดไปเรื่อยๆ เมื่อหยุดตรึกนิ่งก็เห็นแสงสว่างพุ่งขึ้นมาจากกลางบ่อนั้น จึงสอบถามคนที่นั่นว่า ตรงนั้นเขาจะสร้างอะไรหรือ ? ต่อไปบริเวณเกาะนั้นจะเป็นวิหารธรรมกาย ต่อไปเมื่อเป็นวัด จะยกฐานะขึ้นไปอุโบสถ พอรู้เช่นนั้น ความรู้สึกตื้นตันอย่างบอกไม่ถูกเกิดขึ้น ก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุไรเหมือนกัน

    ในการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์ (รุ่นที่ 11) คราวนั้นหลวงป๋าท่านเมตตาอนุญาตให้เป็นวิทยากรสอนโยมเป็นครั้งแรก พูดก็ไม่เป็น ยังเขินๆ อยู่ ไม่รู้จะทำอย่างไร รู้สึกกลัวไปเสียหมด ทีกลัวเพราะว่า กลัวจะพูดไม่เข้าใจ แล้วก็กลัวเขาจะว่า สอนเขาแล้วตัวเองรู้หรือเปล่าว่าเขาเห็นจริงหรือไม่ หันไปหันมา ไม่รู้จะทำอย่างไร เลยเข้าไปในธาตุธรรมของหลวงพ่อสด สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นท่านเลย ก็น่าแปลก ความประหม่าหายไปหมด กลับมีพลังอะไรไม่รู้เกิดขึ้น คือมีความคิดว่าจะต้องทำตัวเราให้ใส สักครู่เป็นการตั้งสติไปในตัว พอเริ่มสอน ระหว่างที่พูดก็เอาธาตุธรรมของแต่ละคนมาซ้อนในที่สุดละเอียดของเรา ตอนนั้นมีลูกศิษย์อยู่ 4-5 คนเห็นจะได้ ก็เห็นทันทีว่าแต่ละคนเขาทำได้แค่ไหน สอนเสร็จคลายจากสมาธิ ก็ยังไม่เชื่อตัวเองอีก จึงทดสอบตัวเอง โดยการสอบถามทีละคนตามสภาพภูมิธรรมของแต่ละคน ปรากฏว่าถูกต้องหมด ก็เกรงว่า นี่เราทำอะไรโดยพลการหรือเปล่าหนอ ? จึงรีบกราบเรียนหลวงป๋า ท่านกลับไม่ว่าอะไร แถมยังแนะนำเคล็ดลับวิชชาครูเพิ่มให้อีก แล้วยังสอนให้เดินเครื่องธาตุเครื่องธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้ผู้ที่ทำวิชชาฝืดๆ เพื่อที่เขาจะได้เดินวิชชาอย่างแจ่มใสโดยตลอดอีกด้วย ความรู้ในเรื่องวิชชาเริ่มได้รับจากท่านเป็นระยะๆ อย่างไม่เคยหวงวิชชาเลย บุญคุณอันนี้ใหญ่หลวงนัก เกินกว่าจะบรรยายออกมาด้วยคำพูดได้

    ทีนี้ ขอย้อนกล่าวถึงสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ทุกครั้งที่มีการอบรมเยาวชนก็ดี อบรมพระก็ดี จะเห็นเหล่าเทวดา นางฟ้า พรหม อรูปพรหม เต็มท้องฟ้าไปหมด เรียกว่า สว่างไสวไปทั่วทั้งสถาบันเลย เขาคงมาเป็นกำลังใจอนุโมทนากับเหล่าพุทธบริษัทที่มาอบรมกันตลอดเวลา สำหรับตัวข้าพเจ้านั้นมีพญานาคองค์มหึมาคอยอำนวยความสะดวกให้ คือพอเริ่มนั่งสมาธิทีไร จะเป็นการสอนหรือทำวิชชาก็ดี เขาจะมาขดเป็นอาสนะเหมือนปางนาคปรกให้เราสบายดีอีกด้วย นี่ที่สถาบันฯ นะ ต่อพอกลับกรุงเทพฯ เขาไม่ยอมตามมาด้วยหรอก น่าเสียดาย เพราะเวลาเขาให้เรานั่ง รู้สึกสบายบอกไม่ถูก จึงกราบเรียนเล่าให้หลวงป๋าฟัง ท่านบอกว่าเป็นของประจำอยู่ที่สถาบัน ช่วยดูแลสถาบันฯ ของเรา ก็ไม่น่าแปลกอะไรนี่ เพราะตลอดเวลาที่ทำวิชชากับท่าน จะเห็นประจำอยู่แล้ว ว่าพลังและอำนาจของบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ของท่านมหาศาลขนาดไหน ใครอยากรู้ลองแอบดูเอาเอง ถ้าจิตเข้าถึงต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดและเป็นสายธาตุธรรมเดียวกันคือสายขาว ก็จะเห็นตามที่เป็นจริงได้ ท่านคงไม่ว่าอะไรหรอก เพราะเป็นเรื่องของวิชชา แต่อย่าลืมนะ ก่อนจะทำอะไรควรนึกขอขมาท่านเสียก่อนด้วย เพราะครูบาอาจารย์เป็นของสูง

    เมื่อตัวเองนี้ได้เข้าถึง รู้ เห็น และเป็น เช่นนี้แล้ว ก็รู้สึกเป็นห่วงท่านทั้งหลายที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อย่ามัวเสียเวลาอันมีค่าของชีวิตเลย เพราะทุกลมหายใจเข้าออกนั้นมีค่าเสียเหลือเกิน มาปฏิบัติธรรมกันเถอะ ไม่มีอะไรยากเกินกำลังของมนุษย์เราเลย ถ้าท่านตั้งใจจะปฏิบัติธรรม รักษาศีลอย่างน้อยศีล 5 เราไม่บกพร่อง ก็พ้นจากอเวจีมหานรกได้แล้ว ส่วนการปฏิบัติธรรมในแนวของธรรมกายก็ไม่ยากเลย เพียงแต่ขอให้ “หยุด” ตัวเดียวเท่านั้น ที่ว่ายากนั่นก็เพราะเราไม่หยุดจริงนั่งเอง ถ้าจิตของเราหยุดนิ่งจริงแล้ว การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนั้นจะรู้ได้ทันทีว่า วิชชาไม่มีสิ้นสุด คือเราจะเข้าไปในที่สุดละเอียดขององค์ต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดได้เรื่อยๆ ถ้าท่านทำได้จะรู้สึกว่าการเจริญภาวนานั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเลย เพราะท่านสามารถค้นพบข้อมูลหรือสิ่งใหม่ๆ ได้อยู่ตลอดเวลา เป็นการเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติทั้งฝ่ายพระและฝ่ายมารในตัวเรานี้แหละได้ดี อย่างที่ท่านไม่เคยได้รู้เห็นมาก่อนเลย เป็นธรรมวิจยะ ให้สามารถแยกธาตุธรรมภาคพระ (ธรรมขาว) ภาคมาร (ธรรมดำ) ภายในตัวเราเองได้ แล้วเก็บธาตุธรรมภาคมาร (ธรรมดำ) เสีย ให้เหลือแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของฝ่ายพระ (ธรรมขาว) เป็นเราได้ มีผลให้กาย วาจา ใจ ของเราสะอาดบริสุทธิ์ ตรงกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ให้ละชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ประกอบแต่กรรมดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ และตรงกับพระพุทธวจนะที่ว่า กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตพึงละธรรมดำเสีย พึงยังธรรมขาวให้เจริญ [สํ.มหา.19/28] เพราะว่าการเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนฝ่ายพระหรือธรรมขาวนั้น ให้เป็นสุขด้วยความสงบดีนัก.

    จีราภา เศวตนันท์
    วิทยากรสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย






    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 ธันวาคม 2015
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]



    ลอเรน รีด จอห์นสัน อายุ 24 ปี อาศัยอยู่ที่นอร์ธฮอลิวูด แคลิฟอร์เนีย เขาเป็นนักบำบัดด้วยการนวด เป็นครูสอนโยคะ และเป็นนักเรียนการแสดง
    ลอเรนฝึกโยคะซึ่งเรียนมาจากครูชาวอินเดียอยู่ทุกวันเป็นเวลานานถึง 5 ปี เขารู้สึกว่ารีชี่โยคะช่วยให้เขานั่งเจริญภาวนาได้ดี การฝึกโยคะนี้รวมถึงการจำกัดอาหารเหลือแค่ผลไม้และผักเท่านั้น ลอเรนและภรรยามาฮันนีมูนกันในประเทศไทยซึ่งเป็นบ้านเกิดของฝ่ายหญิง แล้วตระเวนไปตามวัดต่างๆ เพื่อหาผู้ที่สอนเจริญภาวนาเป็นภาษาอังกฤษได้ ด้วยเหตุนี้เองได้นำเขามาสู่วัดหลวงพ่อสดฯ เขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับธรรมกายเลย พระภาวนาวิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดจึงแนะนำให้เขามาร่วมกิจกรรมแบ่งกลุ่มเจริญภาวนาตอนเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งทำให้ท่านรับรู้ถึงความสามารถอันพิเศษของลอเรน ท่านจึงให้รองอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาทำหน้าที่สอนเขาทุกๆ วัน หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ หลวงป๋าก็เริ่มสอนเขาเป็นการส่วนตัว แม้ลอเรนเรียนได้แค่ 2 สัปดาห์ แต่เขาก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ได้บันทึกการสัมภาษณ์ลอเรนมีความยาว 15 นาที


    ผู้สัมภาษณ์ของช่อง 9 : สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้พบคุณ. คุณได้เรียนรู้อะไรจากการเจริญภาวนา ?

    ลอเรน: อันดับแรก ผมได้เรียนวิธีการรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกาย. หยุดนิ่งถูกส่วนตรงนั้น ศูนย์กลางขยายออกไปเป็นดวงใสรอบตัว เมื่อใจหยุดกลางของหยุดเรื่อยไปก็หยุดในหยุดกลางของหยุดเรื่อยๆ ไป ได้เข้าถึงกายละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดจนถึงธรรมกาย

    คุณรู้สึกอย่างไร เมื่อคุณถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายในท้องของคุณ ?

    ผมรู้สึกสงบเยือกเย็นมาก อย่างล้ำลึก และความสุขที่แผ่ขยายออกมา

    เมื่อเจริญภาวนาถึง 18 กาย และถึงธรรมกายนั้น คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง ?

    รู้สึกว่าแต่ละกายที่เข้าถึงนั้น [กิเลส]เบาบางลงตามลำดับ เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ซึ่งเป็นกายที่หยาบที่สุดและเป็นกายโลกิยะ ถึงกายมนุษย์ละเอียดต่อๆ ไปจนถึงสุดละเอียดได้ถึงธรรมกาย ซึ่งเป็นกายที่ทึบน้อยที่สุด. มันพ้นจากความรู้สึกยึดถือในความเป็นตัวตนใดๆ ทั้งสิ้น.

    คุณรู้สึกไหมว่า สิ่งที่คุณได้เห็นเป็นของจินตนาการหรือของจริง ?

    ใช้จินตนาการน้อยมาก [อาจใช้ในช่วงแรกๆ ในระดับขณิกสมาธิ]. แต่สิ่งที่เห็นนั้นปรากฏขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ. ผมเพียงแต่เพ่งไปที่กลางของกลาง แล้ว[ดวงและกายต่างๆ]ก็ปรากฏขึ้นเอง.

    คุณได้เห็นนรก-สวรรค์บ้างไหม

    เห็นครับ

    แล้วคุณเห็นอะไรที่นั่น

    ได้เห็นหลายอย่างครับ. ในนรก, เห็นการลงโทษที่แตกต่างกันหลายระดับมาก. เห็นผู้คน[สัตว์นรก]มากมายกำลังถูกสุนัขกัด มันดุร้ายและเกรี้ยวกราดมาก. พวกเขาพยายามวิ่งหนี - ปีนต้นไม้ที่มีหนามแหลม [ต้นงิ้ว]. ยังถูกสัตว์ที่คล้ายแร้งจิกทึ้งจนพลัดตกลงมาจากต้นงิ้ว แล้วก็ถูกสุนัขก็จะเข้ามาจัดการกับพวกเขา.
    ผมได้เพ่งดูที่ศูนย์กลางดวงธรรมของสัตว์นรกเหล่านี้ เห็นเป็นสีดำมืด. ผมได้มองเข้าไปในจุดศูนย์กลางกายของพวกเขาเพื่อดูว่าทำไมพวกเขาจึงต้องไปอยู่ในนั้น - เป็นเพราะประพฤติผิดในกาม. และผมได้เห็น[ว่าเขาทำ]สิ่งที่น่าละอาย ความผิด และสิ่งที่ชั่วร้ายต่อจิตใจ.
    ผมไปยังอีกระดับหนึ่ง [นรกอีกขุมหนึ่ง] เห็นผู้คน[สัตว์นรก]อยู่ในกระทะ[ทองแดง]ใหญ่ … ใหญ่มาก! ร้อน! มีสิ่งซึ่งดูเหมือนของเหลวร้อนหรือโลหะหลอมเหลว เหมือนตะกั่ว [หมายถึงน้ำทองแดงร้อนจัดที่สัตว์นรกต้องดื่ม]. มันแผดเผา[อวัยวะ]ภายใน. บางคนก็ต้องดื่มของเหลว ที่มีกลิ่นเหม็นมาก แย่มาก [หมายถึงน้ำทองแดงนั้นเอง].
    และผมได้เพ่งดูที่ศูนย์กลางดวงธรรมของสัตว์นรกเหล่านี้อีก ได้เห็นว่า [พวกเขาได้รับวิบากกรรมเช่นนี้ เป็นเพราะ]ดื่มแอลกอฮอล์กันเป็นส่วนมาก. รวมทั้งยาเสพติดอื่นๆ, แต่ส่วนมากเป็นแอลกอฮอล์ [เพราะเป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมาย และโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้].
    และแล้ว, ในนรก, สิ่งที่ร้ายสาหัสที่สุดที่ผมเห็น - ลึกลงไปกว่าระดับ[นรกขุม]ที่ 8 - ลึกกว่านรกของพวกที่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พวกที่พูดโกหกหลอกลวง และพวกที่ขโมย โกง คอร์รัปชั่น ของผู้อื่น - ในนรกขุมนั้น ผมเห็นผู้ที่สอนผู้อื่นผิดๆ พวกเขาเหล่านี้ถูกปิดตาจนมืดมิด. พวกเขาไม่สามารถมองเห็นได้และต่างคนต่างวิ่งเข้าหากันด้วยความสับสนอลหม่าน และทุกข์ทรมานมาก. ร่างกายของพวกเขาถูกเผาไหม้จนดำเหมือนกับถูกลวกด้วยน้ำกรด มีกลิ่นเหม็นเหมือนซากศพ กลิ่นตลบอบอวลมาก.
    ผมได้เจริญภาวนาถึงธรรมกายที่สุดละเอียด ได้เห็นสวรรค์ซึ่งตรงข้ามกับนรก อย่างสิ้นเชิง. สว่างไสวมาก - สวยงามมาก. ศูนย์กลาง[กาย - ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย]ของเทพดาเหล่านี้ส่องรัศมีสว่างนัก. ในนรก สัตว์นรกมีศูนย์กลาง ดำมืดมัวมาก. ในสวรรค์ ผมเห็นเทพยดาบนสวรรค์มีรัศมีใสสว่างเป็นประกาย ประดุจดังแก้วผลึก. และผมสามารถดูไปที่ศูนย์กลางของเทพดาเหล่านี้ และรู้เห็นว่า ทำไมพวกเขาได้มาอยู่บนสวรรค์ - ก็เนื่องจากสิ่งที่เป็นบุญกุศลทั้งหมด, กรรมดีมากมายที่เขาได้ทำแก่[ตนและ]ผู้อื่น.
    เทวดาบางตนอยู่บนพื้นดิน; บางตนอยู่ในอากาศ และผมเห็นเทวดาอยู่ในต้นไม้ก็มาก.
    แต่, ความแตกต่างสำคัญระหว่างสวรรค์กับนรก ก็คือ สิ่งที่ผมเห็นที่ศูนย์กลางกายของสัตว์นรกและเทพดาเหล่านั้น - ไม่กรรมดีก็กรรมชั่ว อย่างใดอย่างหนึ่ง [สองอย่างนี้เท่านั้น ที่พวกเขาได้ทำลงไป เห็นปรากฏได้ที่ศูนย์กลางกาย - บุญกุศลนำให้มาเกิดเป็นเทวดา ส่วนบาปอกุศลนำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก].

    คุณก็ได้เห็นทั้ง 2 ฝ่าย - ระหว่างสวรรค์กับนรก ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่ผู้คนพากันทำ. แล้วคุณได้เห็นพระนิพพานไหม ?

    ครับ, ผมเห็น. พระนิพพานอยู่นอกเหนือไปจากสิ่งที่เราคิดว่าเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ. ผมไม่เห็นธาตุทั้ง 4 เหล่านี้เลย. ผมได้เห็นพระนิพพานธาตุ นับไม่ถ้วน - เท่าที่ผมจะเห็นได้. และมีรัศมีเจิดจ้า สว่างไสว.

    คุณคิดว่าอะไร คือประสบการณ์ที่ดีที่คุณได้ปฏิบัติเข้าถึง ได้รู้ และได้เห็นจากการเจริญภาวนานี้ ?

    ผมรู้สึกว่า วิธีเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายนี้ มีความพิเศษ เป็นการปฏิบัติทางตรง ทำให้ผมได้มีประสบการณ์อย่างสูง.

    เมื่อคุณกลับไปสหรัฐอเมริกาแล้ว คุณจะทำอะไร ?

    ผมวางแผนไว้ว่า จะสอนวิชชาธรรมกาย. ผมมีลูกค้าซึ่งผมสอนโยคะ, การเจริญภาวนา และการนวดอยู่แล้ว และผมเชื่อว่าการแนะนำวิชาธรรมกายให้จะช่วยให้พวกเขาให้ช่วยตนเองได้.



    Channel 9 Interviewer: Good morning. It's nice to meet you. What did you learn from meditation?
    Loren: Well, I learned first to focus my attention on the center of the center of the body. And, from there, the center expanded to surround my entire body. As I continued to focus on the center, I saw my refined human body and became that - continuing to focus on the center. This happened again and again, all the way until I reached my refinest Dhammakaya body.
    And, how did you feel when you first reached your own nucleus in your stomach?
    It felt very and calm and a very deep, expanding sense of joy... happiness.
    And how did you feel after you completed all 18 bodies and reached Dhammakaya?
    Well, each body became less and less dense. So, we begin with the human body which is the most crude and mundane, and then it becomes more and more refined until it reaches the most refined Dhammakaya which is the least dense. It totally transcends any sense of personal ego.
    And, did you feel that what you saw was imagination or reality?
    Very little imagination. It happened automatically. I just focused on the center of the center and it appeared by itself.
    And did you see hell or heaven?
    Yes.
    And what did you see there?
    Well, many things. In hell, I saw many levels of different punishments. I saw different people in one level who were being attacked by a dog - very mean and angry. And, they were trying to escape - climbing a tree with thorns. Also, like vultures were trying to attack them and they would fall and then the dog would get them.
    And, I would look at the nucleus of the people - very dark. In the nucleus I would see why they were there - because of sexual misconduct. And I would see lots of shame and guilt and mental poison.
    And then we went to another level and I saw a large caldron ... Large! People were inside it. Hot! With what looked like a very hot liquid or melted metal like lead.
    And they are inside, burning. And some had to drink this very smelly - very bad liquid.
    And I look at their nucleus and I see that most had drunk alcohol. Also some drugs and things, but mostly alcohol. And they drink the liquid and it cooks their organs - especially the brain. It fries the brain.
    And then, in hell, the worst thing I saw - below the 8th level - below the murders and all the liars and thieves - I saw the false teachers. And they had blindfolds. They couldn't see and they were running into each other - chaos and lots of torment. And their bodies were burned dark like they had been scalded with acid. There was a dead smell - a very thick smell.
    And then I became the refined Dhammakaya and then we saw heaven. And there we saw the opposite, really. Very luminous - very beautiful. The center of the beings was very radiant. In hell the beings had a very dark, cloudy nucleus. In heaven I saw them very radiant and glowing like a stal sphere. And, I could look into the center and see why they were there - all the meritorious things, the many good deeds they did for the people.
    Some were on earth; some flying through the sky. I saw many in trees. But, the main difference between heaven and hell was what I saw at the center of the beings - either evil deeds or good, meritorious deeds.
    So, you saw both sides - hell and heaven and the good things and bad things that people do. And, did you see Nirvana?
    Yes, I did. It goes beyond what we think of as earth and water and fire. All of these things, I saw none of. I saw countless saints and Buddhas - as far as the eye could see. And they were very very radiant, with glowing centers. I focused on them and I could see all the good things they did to make them so brilliant.
    But, the most luminous, in the center, was Buddha - the Primordial Buddha - surrounded by Buddhas. And, I asked for permission, and I touched Lord Buddha on the leg. And it felt very very cold, like ice.
    What do you think were the good points that you got from meditation?
    Well, I feel that this particular style of meditation, Dhammakaya, is a very very direct way to experience directly my highest self.
    And, when you are back in America, what will you do? Well, I plan on teaching Dhammakaya. I have clients that I practice meditation, yoga and massage with already, and I believe that sharing Dhammakaya with them will help them to help themselves.
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    การมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อริยสัจ 4 นี้ เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ของการเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็น เอกายนมรรค คือ หนทางอันเอก ให้ถึงมรรค ผล นิพพาน โดยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยว่าอริยสัจ 4 ก็มีอริยมรรคมีองค์ 8 และอริยมรรคมีองค์ 8 เล่า ก็มีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน

    เฉพาะในส่วนของการมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ก็มีตั้งแต่การมีสติพิจารณา นิวรณ์ 5 (อันเป็นธรรมปฏิบัติในขั้นอนุวิปัสสนา) อุปาทานขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 และอริยสัจ 4 ซึ่งก็จะมีข้อกำหนดรวมทั้งอริยมรรคมีองค์ 8 และทั้งสติปัฏฐาน 4 อันจะขยายผลถึงการมีสติพิจารณาเห็นธาตุ 18 อินทรีย์ 22 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ให้เจริญขึ้นเต็มภูมิวิปัสสนา ตั้งแต่ระดับอนุวิปัสสนาถึงโลกุตตรวิปัสสนา และยังให้ข้อปฏิบัติอื่นๆ เจริญขึ้น อันเป็นทางให้บรรลุวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด และเป็นธรรมเกื้อหนุนอริยมรรคให้เจริญขึ้น ถึงความบรรลุมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุข ได้แก่

    1.จรณะ 15 ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้บรรลุวิชชา (ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งปวง) คือ ศีลสัมปทา อินทรีย์สังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ สติ ปัญญา และ รูปฌาน 4


    2.โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ และธรรมเครื่องเกื้อหนุนอริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และ อริยมรรคมีองค์ 8
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์เป็นปฐมเทศนาว่า

    "จกฺขุ ํ อุทปาทิ, ญาณํ อุทปาทิ, ปญฺญา อุทปาทิ, วิชฺชา อุทปาทิ, อาโลโก อุทปาทิ ..." (สํ.มหา.19/1666-1669/529-530)
    "จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณ [ความหยั่งรู้-เห็น] เกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความสว่างแจ้งเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ว่า นี้คือทุกข์ ... นี้เหตุแห่งทุกข์ ... นี้ความดับทุกข์ [สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ] ... นี้ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ ..."








    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะทรงบำเพ็ญสมณธรรมใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ 2588 ปีล่วงมาแล้วนั้น (ปีนี้ พ.ศ.2543) จึงได้ทรงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาเพื่อเจริญวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด เริ่มตั้งแต่ วิชชาที่ 1 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในยามต้นแห่งราตรี, วิชชาที่ 2 จุตูปปาตญาณ ในยามกลางแห่งราตรี และ วิชชาที่ 3 อาสวักขยญาณ โดยการพิจารณาอริยสัจ 4 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ในยามปลายแห่งราตรี จนเห็นแจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 (คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ) มีอาการ 12 และมีญาณหยั่งรู้วิธีทำอาสวกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในตอนรุ่งอรุณแห่งคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้นเอง




    จึงขอแนะนำวิธีเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย และพัฒนาขึ้นเป็นวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ต่างเป็นธรรมกาย) ที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนศิษยานุศิษย์ มีปรากฏในหนังสือ วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1 และ เล่มที่ 3 (หนังสืออาสวักขยญาณชั้นสูง) อันเป็นธรรมปฏิบัติส่วนสำคัญของสติปัฏฐาน 4 นี้ มาแสดงไว้ก่อน เพื่อดำเนินตามรอยบาทพระพุทธองค์ ดังต่อไปนี้




    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกายไปจนสุดละเอียด และให้สมาธิตั้งมั่นดีเสียชั้นหนึ่งก่อน

    ในลำดับนี้ก็จะได้แนะนำการพิจารณาอริยสัจ 4 ให้เห็น ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และมรรคอริยสัจ อีกต่อไป

    การพิจารณาให้เห็นสัจจะทั้ง 4 แต่ละอย่าง
    พึงเข้าใจเสียก่อนว่า

    ทุกข์ เป็น ผล, สมุทัย เป็น เหตุ
    นิโรธ เป็น ผล, มรรค เป็น เหตุ

    หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะสมุทัย ทุกข์จึงเกิด, แต่ถ้ามรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธก็แจ้ง กล่าวคือ เมื่อมรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธคือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะสมุทัยอันเป็นตัวเหตุดับก็แจ้ง, เมื่อสมุทัยอันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ดับลงโดยอัตโนมัติ

    1. ทุกขอริยสัจ
    ทุกขอริยสัจนั้นมีลักษณะสัณฐานกลม มีสีดำๆ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียด ซ้อนอยู่ในกลางดวงอัญญาตาวินทรีย์ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม มีซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ ดวงชาติทุกข์ (ทุกข์เพราะเกิด), ดวงชราทุกข์ (ทุกข์เพราะแก่), ดวงพยาธิทุกข์ (ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ), และ ดวงมรณทุกข์ (ทุกข์เพราะความตาย)

    ในดวงกลมของทุกข์นั้นยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ อีก 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด รู้ และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และวิญญาณ ของกายมนุษย์ ของทิพย์ ของรูปพรหม และของอรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะทั้งหมด แต่ทุกข์ส่วนหยาบก็มีอยู่ในกายหยาบคือกายมนุษย์ ทุกข์ส่วนละเอียดก็มีอยู่ในกายที่ละเอียดๆ คือ กายทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมต่อไป ตามลำดับ

    เฉพาะทุกข์ของมนุษย์นั้น ชาติทุกข์ หรือสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใส ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ สีขาวบริสุทธิ์ ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจรดที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ (ของมารดา) กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้

    ใช้ตาหรือญาณของธรรมกายดูความเกิดและเหตุที่จะทำให้เกิด ให้เห็นตลอด แล้วก็ดูความแก่ต่อไป

    ความแก่ (ชราทุกข์) นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงเกิด (ชาติทุกข์), มีลักษณะกลม สีดำเป็นนิล แต่ไม่ใส ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กอยู่ ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่, แต่ถ้าดวงนี้ยิ่งโตขึ้น กายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นก็ต้องมีเจ็บ (พยาธิทุกข์) เพราะดวงเจ็บนั้นซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กันกับดวงเกิด ดวงเจ็บนี้มีสีดำเข้มกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บไข้ทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดหนักเข้า ดวงตาย (มรณทุกข์) ก็จะเข้ามาซ้อนอยู่ในกลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว ถ้ามาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที

    กายมนุษย์ที่เป็นทุกข์นั้น ก็เพราะอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขา จึงได้ชื่อว่า รูปูปาทานักขันโธ, เวทนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ และ วิญญาณูปาทานักขันโธ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขันธ์ทั้ง 5 คือ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้น ต่างก็มีเห็น จำ คิด และรู้ ซ้อนประจำอยู่ แล้วขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และ วิญญาณ เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อ และใจนั่นเอง

    ขันธ์ทั้ง 5 นั้น เป็นประดุจดังว่าบ้านเรือนที่อาศัยของเห็น จำ คิด รู้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่ตัวบ้านเรือนที่อาศัย ผู้อาศัยอยู่ คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งยึดติดอยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณนั้นเองที่รู้สึกเดือดร้อน เป็นทุกข์ เพราะเข้าไปยึดว่าขันธ์แต่ละขันธ์นั้นว่าเป็นตัวเรา เราเป็นนั้น นั้นมีในเรา นั้นเป็นของเรา ซึ่งรวมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ 20 (คือแต่ละขันธ์ มีสักกายทิฏฐิ 4, ขันธ์ 5 ขันธ์ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ 20)

    กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ซึ่งก็คือ เห็น จำ คิด รู้ นั่นเองที่เข้าไปยึดถือในขันธ์ 5 จึงเป็นทุกข์

    อนึ่ง ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ได้แต่เพียงกำหนดรู้ไว้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น จะดับทุกข์ก็ยังไม่ได้ ถ้าจะดับทุกข์ก็จะต้องละสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์เสียก่อน ทุกข์จึงจะดับ เพราะทุกข์นี้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมุทัยเป็นเหตุ คือ ทุกข์นั้นอยู่ชั้นนอก สมุทัยซ้อนอยู่ชั้นใน ชั้นนอกจะเกิดขึ้นได้และเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยชั้นในรักษา ถ้าชั้นในซึ่งเป็นใจกลางดับ ชั้นนอกซึ่งเป็นเสมือนเปลือกหุ้มอยู่ก็ต้องดับตามไปด้วย เพราะเหตุนั้น การดับทุกข์จึงต้องดับตัวสมุทัยซึ่งเป็นตัวเหตุเสียก่อน ทุกข์ซึ่งเป็นตัวผลจึงจะดับตาม

    เมื่อกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาหรือญาณพระธรรมกายว่า ความเกิด แก่ เจ็บ และตายนี้ เป็นทุกข์จริง (ทุกขอริยสัจ) เรียกว่า สัจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาและญาณพระธรรมกายว่า ทุกขอริยสัจนี้ควรกำหนดรู้ เรียกว่า กิจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งชัดว่า ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้เราได้กำหนดรู้ชัดแล้ว ชื่อว่า กตญาณ เช่นนี้เรียกว่าพิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ 3

    2. สมุทัยอริยสัจ
    เหตุให้เกิดทุกข์นั้น มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ในกลางดวงทุกขสัจ ที่ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ มีซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น คือ ดวงกามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา มีความละเอียดและดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ ในดวงสมุทัยนี้ยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ ของกายทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด และ อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ แต่สมุทัยในแต่ละกายนี้หยาบละเอียด ตามความหยาบ-ละเอียดของแต่ละกายเข้าไปตามลำดับ

    ส่วนรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ซึ่งเรียกว่า กามคุณ หรือ วัตถุกาม ทั้ง 6 อย่างนี้เป็นของทิพย์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไป คงทิ้งไว้แต่ความยินดี-ยินร้ายให้ปรากฏฝังใจอยู่เท่านั้น, กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกามคุณทั้ง 5, ภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้กามคุณที่พึงพอใจที่ตนมีอยู่แล้ว ให้ดำรงอยู่ และความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็นโน่น เป็นนี่ และ วิภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้สิ่งที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ พินาศไป หรือไม่อยากจะได้พบ ได้เห็น หรือความทะยานอยากที่จะไม่มี ไม่เป็นในสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาทั้งหลาย เหล่านี้มีอยู่ในก้อนกายทิพย์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นทิพย์ เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือสิ่งสัมผัสทางกาย และ ธรรมารมณ์ เหล่านี้จึงเต็มไปด้วยตัณหา และชุ่มโชกสดชื่นไปด้วยตัณหา

    สิ่งที่เป็นทิพย์นั้น เมื่อจุติ (เคลื่อน คือตายจากภพหนึ่ง) แล้วก็จะไปแสวงหาที่เกิดใหม่ เรียกว่า กายสัมภเวสี ถ้าแสวงหาที่เกิดได้แล้ว เรียกว่า กายทิพย์ ซ้อนอยู่ภายในกายมนุษย์ละเอียดนั้นแหละ จึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเจริญอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยสมุทัยซึ่งมีอยู่ในก้อนกายทิพย์เป็นเหตุ

    และก็ใคร่จะขอย้ำว่า กำเนิดเดิมของทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดนั้น ก็มิใช่อื่นไกล ก็คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากขันธ์ 5 ที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง

    โดยเหตุนี้ กายทั้ง 8 คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด และ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ จึงต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา

    เมื่อเห็นด้วยตา และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ซึ่งรวมเรียกว่าสมุทัยนี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง (สมุทัยอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ควรละ ชื่อว่า ได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นแจ้ง รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ ดังนี้เรียกว่า พิจารณาสมุทัยอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3

    3. ทุกขนิโรธอริยสัจ
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสมุทัยอริยสัจแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ เป็นดวงกลมใส ซ้อนอยู่ในสมุทัยอริยสัจ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา มีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ เดิม ของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ กลับเป็นญาณของกายธรรม หรือ ธรรมกาย นั่นเอง

    เมื่อมรรคอันเป็นเหตุ เกิดและเจริญขึ้น รวมกันเป็นเอกสมังคีนั้น นิโรธธาตุอันเป็นผล ย่อมเป็นธรรมอันพระอริยเจ้าท่านได้บรรลุ พร้อมกับสมุทัยอันเป็นเหตุดับ และทุกข์อันเป็นผลของสมุทัยก็ดับทันที เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไป ฉะนั้น

    อนึ่ง ใคร่จะทบทวนไปถึงที่เคยได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นจิตในจิต คือ อาสวกิเลส ซึ่งเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น อยู่ในเห็น จำ คิด และ รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 ว่า เมื่อเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วนั้น ใจของธรรมกายอันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ ย่อมสิ้นรสชาติจากอาสวะจนจืดสนิท และเห็น จำ คิด รู้ นั้น ก็กลับเป็นอาสวักขยญาณ ส่วนอวิชชาเครื่องหุ้มรู้นั้น ก็กลับเป็นตัววิชชา ให้รู้แจ้งในสัจจธรรมขึ้นมาทันที เห็น จำ คิด และ รู้ จึงเบิกบานเต็มที่ ขยายโตขึ้นเต็มส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักของพระธรรมกาย ส่วนเห็น จำ คิด และ รู้ ในก้อนทุกข์และสมุทัยของกายโลกิยะเดิมจึงดับหมด เป็นวิกขัมภนวิมุตติ ตั้งแต่เมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกาย นับตั้งแต่กายลำดับที่ 9 ซึ่งเป็นกายโลกุตตระเป็นต้นไปจนสุดธรรมกายพระอรหัตละเอียด ต่อเมื่อละสังโยชน์ได้หมด จึงจัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด โดยสิ้นเชิง






    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ความดับทุกข์ คือ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับคือนิโรธอริยสัจ มีได้ เป็นได้จริง เรียกว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ เราได้กระทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ

    ดังนี้คือการพิจารณานิโรธอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...