สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]



    ฝึกปล่อยวางความคิด เอาใจไว้กับองค์บริกรรม หรือสิ่งที่ใช้กำหนด

    ทีละนิดๆ เหมือนน้ำหยดลงตุ่ม


    ทีละ 5-10 ลมหายใจเข้าออก


    พอชำนาญ ที่จะมีสติฯเกาะกับสิ่งที่กำหนด
    จนมีปิติ มีสุข ไม่รำคาญ ไม่หม่นหมอง ไม่ฟุ้ง
    ได้ในช่วงสั้นๆ นั่นคือ การเริ่มต้นที่ดีแล้ว



    ต่อไป ก็เพิ่มจำนวน คาบลมหายใจเป็นมากขึ้น แบบนี้ก็ได้



    ตามแนววิชชาธรรมกาย นิยมให้กำหนดลม ที่ฐานต่างๆ
    ตั้งแต่จมูก จนไปถึงกลางท้องเหนือสดือ2นิ้ว
    เลือกเอา แล้วพอหยุดนิ่ง ก็ให้น้อมไปที่จุดสุดท่ายคือ
    ศูนย์กลางกายเหนือสะดือ2นิ้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กุมภาพันธ์ 2016
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ‪#‎อธิษฐานผิดมีผลใหญ่หลวง‬
    เรื่องอธิษฐาน ต้องระวังให้ดี บางทีกลายเป็นการผูกมัดตัวเอง ผูกมัดตัวเองไม่ใช่แต่เพียงอธิษฐาน บางคนว่าฉันต้องรักษาวาจาสัตย์ พูดอะไรออกไปก็ต้องเป็นตามนั้นเสมอ ถ้าพูดถูกเป็นตามนั้นก็สมควร แต่ถ้าพูดผิดด้วยอารมณ์ บางทีก็มีอารมณ์รัก โกรธ เกลียด ชอบ ชัง หลง กลัว อะไรๆก็แล้วแต่ พอเราพูดว่าต่อไปนี้ ฉันจะไม่อย่างนั้น ฉันจะไม่อย่างนี้ หรือว่าต่อไปนี้ ฉันจะทำอย่างนั้น ถ้าไม่ทำอย่างนั้น ฉันก็จะไม่เป็นอย่างนี้
    บางทีเราหลงเข้าใจผิดแล้ว เลยอธิษฐานหริอพูดพลาดไปผิดๆ ถ้าไม่ระวังให่ดี หรือถ้ารู้ว่าอธิษฐานผิด พูดผิดแล้วไม่แก้ให้ถูก ก็เสียผลอย่างใหญ่หลวงได้
    เพราะฉะนั้น การถือสัจจะหรืออธิษฐานนี่ ให้จำไว้ว่า เราจงทำในขณะที่เรา มี่สติสัมปชัญญะดี มีปัญญาแจ้งชัดดีแล้ว ถ้ายังไม่แจ้งชัดพอ ก็อย่าเพิ่งอธิษฐาน อย่าเพิ่งลั่นวาจา ตรงนี้สำคัญ
    ถ้าลั่นวาจาแล้ว ภายหลังเรารู้ว่าไม่ถูก ไปพูดเข้าแล้ว เลยกลับคำไม่ได้ หรืออย่างเช่นการอธิษฐานนี่
    บางท่านอธิษฐานกินเจ (มังสวิรัติ) ตลอดชีวิต บางรายก็เป็นโรคขาดสารอาหาร เลยเหี่ยวแห้ง เพราะร่างกายต้องการสิ่งที่มีประโยชน์ มาบำรุงพอสมควร แต่ไม่ใช่ว่า ต้องรับประทานอาหารที่ดีๆเกินไป จนเกินเหจุ เราต้อง " โภชเนมัตตัญญุตา " คือ รับประทานแต่พอควร ถ้าอดอาหารจนร่างกายไม่มีกำลัง พระพุทธเจ้าทรงถือเป็น " อัตตกิลมถานุโยค " เป็นการทรมานร่างกายจนเกินเหตุ ไม่ใช่ทางให้พ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางให้เกิดปัญญา ที่จะแทงตลอดอริยสัจได่ นี่ต้องระวัง เรื่องนี้สำคัญ
    ..........................
    ..........................
    เทศนาธรรมจาก
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]







    "เราแสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนานะ ให้มั่นเชียวนะ ให้ใจหยุดเป็นตัวสำคัญ หยุดนี้จะเป็นตัวมรรคผลนิพพาน พวกให้ทานรักษาศีลมันยังไกลกว่า หยุดนี้ใกล้นิพพานนัก พอหยุดได้เท่านั้นเข้าต้นคำสอนของพระศาสดาแล้ว ไม่ยักเยื้องแปรผัน ไอ้ที่หยุดนั่นแหละ เข้าต้นคำสอนของพระศาสดาแล้ว ไอ้ที่หยุดนี่แหล่ะตัวสำคัญ


    กำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา ผู้หญิงกำหนดเข้าปากช่องจมูกซ้าย ผู้ชายกำหนดเข้าช่องปากจมูกขวา อย่าให้ล้ำให้เหลื่อม กำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา
    นี่บอกซ้ำของเก่านั่นแหละ พอถูกส่วนดีแล้วก็ ให้บริกรรมประคองใจกับเครื่องหมายที่ใส ปากช่องจมูกหญิงซ้าย ชายขวา นั้น ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนเครื่องหมายขึ้นไปแค่เพลาตา หญิงอยู่ซีกข้างซ้าย ชายอยู่ซีกข้างขวา ตรงหัวตาที่มูลตาออก ตามช่องลมหายใจเข้าออกข้างใน แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายตามเก่านั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมา อะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายนั้น ตรงลำดับเพลาตาเข้าไปฐานที่ 3 กลางกั๊กพอดี ตรงนี้มีกลเม็ดอยู่ เพราะต้องมีวิธี เมื่อถึงฐานที่ 3 แล้วต้องเหลือบตาไปข้างหลัง เหลือบตาไปข้างหลังให้ตาค้างเหมือนคนชักจะตาย ค้างขึ้นไปๆ จนกระทั่งใจหยุดความเห็นกลับเข้าข้างใน พอความเห็นกลับเข้าไปข้างใน ก็เลื่อนเครื่องหมายจากฐานที่ 3 ไปฐานที่ 4 ที่ช่องเพดานที่รับประทานอาหารสำลัก อย่าให้ล้ำอย่าให้เหลื่อม ให้พอดีๆ แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ฐานที่ 4 นั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนไปฐานที่ 5 ปากช่องคอ เหนือลูกกระเดือก เหมือนกลางกั๊กปากถ้วยแก้ว แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ปากช่องคอนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนเครื่องหมายนั้นไปที่กลางตัว ที่สุดลมหายใจเข้าออกไม่ให้ค่อนซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน นอก-ใน ให้อยู่กลางกั๊กพอดี (ฐานที่ 6)แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่กลางตัวนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง
    แล้วเลื่อนเครื่องหมายถอยหลังขึ้นมาเหนือกลางตัว สอง นิ้วมือ ตรงนั้นเรียกว่าศูนย์ (ฐานที่ 7) ตรงนั้นมีศูนย์อยู่ 5 ศูนย์ ศูนย์กลาง หน้า ขวา หลัง ซ้าย
    ศูนย์กลางอากาศธาตุ
    ศูนย์หน้าธาตุน้ำ
    ขวาธาตุดิน
    หลังธาตุไฟ
    ซ้ายธาตุลม
    เครื่องหมายใส สะอาด ลอยช่องอากาศกลาง แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ช่องอากาศกลางนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ที่กลางอากาศว่างนั้น แล้วจะเห็นเป็นดวงใส ดวงโตประมาณเท่าแก้วตาอยู่ที่นั่น ใจของเราก็จรดอยู่ที่กลางดวงนั้น

    แก้ไขไปจนกระทั่งใจของเราหยุด บริกรรมภาวนาอยู่เรื่อยๆ ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    ที่บริกรรมว่าดังนี้ ก็เพื่อจะประคองใจของเราให้หยุด สัมมา อะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง

    พอถูกส่วนเข้า ใจก็หยุดกึ๊กอยู่กลางดวงนั้น มืดก็หยุดตรงนั้น สว่างก็อยู่ตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปถอยมา นิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ

    พอนิ่งถูกส่วนเข้าก็ มืดหนักเข้าก็เห็นดวงใส สว่างก็เห็นดวงใส ใจก็อยู่กลางดวงใส ถ้าว่ามันไม่นิ่งไม่หยุด มันชัดส่ายไปบริกรรมซอมไว้ สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    พอถูกส่วนเข้า หยุด

    หยุดแล้วไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย

    หยุดแล้วไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย


    ดูนิ่ง


    ถ้าว่าขยับเขยื้อยหรือว่าเคลื่อนไปซะ บริกรรมซอมไว้ สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ไว้ จนกระทั่งหยุดนิ่ง



    พอหยุดนิ่ง ไม่ต้องบริกรรม เพ่งเฉย วางอารมณ์เฉย

    ให้หยุดอยู่เท่านั่นแหละ

    หยุดเท่านั้นแหละ

    อย่าไปนึกถึงมืดสว่างนะ


    หยุดอยู่เท่านั้นแหละ หยุดนิ่งอยู่เท่านั้นแหละ


    หยุดนั่นแหล่ะเป็นตัวสำเร็จ"
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]



    ดวงแก้วมณีในรัตนะ 7 นั้น อาราธนาเข้าจรดศูนย์กลางกาย แล้วกลั่นให้ใสจนสุดละเอียด แล้ว ปรากฏกายเหมือนเทวดาขึ้นมาในศูนย์กลางของดวงแก้วมณีนั้น จะเรียกว่ากายอะไร ? และให้คุณประโยชน์อย่างไรบ้างแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ?

    -------------------------------------------------------

    ตอบ:


    นั่นเรียกว่า จักรพรรดิ หรือ ภาคผู้เลี้ยง ผู้เป็นประธานรัตนะ 7 คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว แก้วมณี และแว่นแก้ว กล้องแก้ว และกายสิทธิ์ ผู้เป็นบริวารรัตนะ 7 อีกทีหนึ่ง

    สิ่งเหล่านี้ รู้เห็นได้ด้วยตาหรือญาณของพระธรรมกาย และมีคุณประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติธรรมตามที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) อธิบายไว้ มีปรากฏอยู่ในหนังสือมรรคผลพิสดาร ดังต่อไปนี้

    ภาคผู้เลี้ยง

    ที่เรียกว่า ผู้เลี้ยงมนุษย์นั้น คือพวกกายสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงมีหน้าที่เลี้ยงดู และพิทักษ์รักษาพวกกายมนุษย์

    พวกกายสิทธิ์มี 3 ชั้น คือ จุลจักร 1 มหาจักร 1 บรมจักร 1 ทั้ง 3 ชั้นนี้มีกายสิทธิ์เป็นบริวารชั้นหนึ่งๆ นับหลายแสนหลายโกฏิอสงไขย มีหน้าที่ต่างกัน คือ

    1.จุลจักรพร้อมทั้งบริวาร มีหน้าที่เลี้ยงรักษามนุษย์ที่มีบารมีอย่างต่ำ
    2.มหาจักรพร้อมทั้งบริวาร มีหน้าที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์ที่มีบารมีชั้นกลาง
    3.บรมจักรพร้อมทั้งบริวาร มีหน้าที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์ที่มีบารมีชั้นสูง
    มนุษย์คนหนึ่งๆ มีจักรทั้ง 3 พร้อมทั้งบริวารชุดหนึ่งๆ เป็นผู้เลี้ยง และอาจผลัดเปลี่ยนกันรักษาไปตามคราวๆ เป็นต้นว่า

    คราวใด จุลจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา ก็มีทรัพย์สมบัติและความสุขน้อย
    คราวใด มหาจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา ก็มีสมบัติและความสุขมัชฌิมา
    คราวใด บรมจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา ก็มีสมบัติและความสุขบริบูรณ์ทุกประการ
    ไม่เลี้ยงรักษาแต่เฉพาะกายมนุษย์เท่านั้น สิ่งไม่มีวิญญาณก็สมบูรณ์เหมือนกัน ถึงแม้สมัยยุคของโลก ก็เลี้ยงทั่วไป เป็นสาธารณะเหมือนกัน

    ถ้ายุคใดสมัยใด จุลจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็มีความสุขน้อย ทรัพย์สมบัติและอาชีพต่างๆ ก็อัตคัดกันดาร ไม่สมบูรณ์
    ถ้ายุคใดสมัยใด มหาจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็มีความสุขเป็นมัชฌิมา ทรัพย์สมบัติและเครื่องกินเครื่องใช้ก็พอปานกลาง ไม่ฟุ่มเฟือยนักและไม่กันดารนัก พอปานกลาง
    ถ้ายุคใดสมัยใด บรมจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็บริบูรณ์ไปด้วยความสุขทุกประการ ทรัพย์สมบัติ วิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ก็หาได้ง่าย มั่งคั่งสมบูรณ์ไปตามกัน ไม่เบียดเบียนกัน
    จักรทั้ง 3 กับบริวารที่กล่าวมานี้เฉพาะกายมนุษย์ ส่วนกายอื่นๆ ก็มีจักรทั้ง 3 กับบริวารเลี้ยงรักษา มีประจำสำหรับทุกกายไปตลอดจนกายสุดหยาบสุดละเอียดเท่านั้นเหมือนกัน ถ้าเลี้ยงรักษากายไหน รูปพรรณสัณฐานร่างกายก็เหมือนกายนั้น เช่น จักรเลี้ยงกายมนุษย์และกายทิพย์ เลี้ยงกายปฐมวิญญาณหยาบ เลี้ยงกายปฐมวิญญาณละเอียด เลี้ยงกายธรรมเป็นต้น ก็มีรูปพรรณสัณฐานร่างกายเหมือนกันกับกายนั้นๆ แต่ทว่าดีกว่า ใสสะอาดกว่า ละเอียดกว่ากายนั้นๆ ส่วนรูปร่างเหมือนกับกายที่เลี้ยงนั้น ตลอดจนกายสุดหยาบสุดละเอียด

    จักรทั้ง 3 นั้น เหตุไรจึงเรียกนามว่า จักร คือกายสิทธิ์เหล่านี้มีตัวอยู่ในดวงแก้ว ดวงแก้วนั้นเป็นบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัยของเขา เหมือนมนุษย์อาศัยบ้านเรือนอยู่

    ภายในดวงแก้ว นั้นมีรัตนะ 7 คือแก้ว 7 ประการ ดังต่อไปนี้

    1.จักรแก้ว
    2.ช้างแก้ว
    3.ม้าแก้ว
    4.ดวงแก้วมณี
    5.นางแก้ว
    6.คฤหบดีแก้ว (ขุนคลังแก้ว)
    7.ขุนพลแก้ว
    ในแก้ว 7 ประการนี้ จักรแก้วเป็นใหญ่เป็นประธานในแก้ว 7 ประการทั้งหลายเหล่านั้น
    ในแก้ว 7 ประการนี้ จักรแก้วเป็นตัวอำนาจสิทธิ ให้สำเร็จอำนาจและกิจการน้อยใหญ่ ดุจดังมหาอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นผู้สำเร็จราชการทั้งปวง เพราะเหตุนี้แหละ จักรทั้ง 3 นั้น จึงได้นามว่า จักร

    ความต่างกันของจักรทั้ง 3 นั้น คือ

    1.จุลจักร เป็นดวงแก้วกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ ประณีต มีฤทธิ์อำนาจและบริวารน้อยกว่าแก้วมหาจักร
    2.มหาจักร เป็นดวงแก้วกลมใสขาวสะอาดบริสุทธิ์ ประณีตกว่าจุลจักร
    3.บรมจักร เป็นดวงแก้วกลมใสขาวสะอาดบริสุทธิ์ ประณีตกว่าแก้วมหาจักร มีฤทธิ์อำนาจและบริวารมากกว่าจุลจักร และมหาจักร
    กายหนึ่งๆ ก็มีจุลจักร มหาจักร บรมจักร พร้อมทั้งบริวารชุดหนึ่งๆ เป็นผู้เลี้ยง มีประจำไปเช่นนี้ทุกกาย กายละพวกๆ จนสุดหยาบสุดละเอียด ผู้เลี้ยงก็มีไปจนสุดหยาบสุดละเอียดของกายผู้เลี้ยงเหมือนกัน

    ขนาดแก้วของจักรทั้ง 3 กับแก้วบริวาร คือ

    1.แก้วจุลจักรและบริวาร ขนาดตั้งแต่เล็กเท่าแววตาดำขึ้นไปจนถึงโตเท่าผลมะตูม หรือผลมะขวิด
    2.แก้วมหาจักรและบริวาร ขนาดผลตาลขึ้นไปจนถึงผลมะพร้าวแห้ง
    3.แก้วบรมจักรและบริวาร ขนาดตั้งแต่เท่าบาตรขึ้นไปจนถึงโตเท่าตะแกรงหรือเท่ากระด้ง
    พวกผู้เลี้ยงหรือเรียกว่า พวกกายสิทธิ์ ก็มีธาตุตายธรรมตาย เป็นต้นว่า ภพเป็นที่อยู่ เหมือนกับพวกมนุษย์เช่นเดียวกัน
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ดวงธรรม และธรรมกาย ทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม ?


    เมื่อสมัยเกือบ 20 ปีมาแล้วก่อนท่านกับผมลาออกนิดหน่อย ท่านยังไม่ได้บวช ผมเคยถามปัญหาธรรมท่านอย่างหนึ่ง พอดีมีคนอื่นมาขัดจังหวะ ท่านเลยยังไม่ได้ตอบผม ปัจจุบันนี้อายุผมเกือบจะ 70 แล้ว ก็ยังไม่ได้คำตอบ ผมจึงขอเรียนถามท่านเสียที่นี่อีกครั้งนะครับ ผมถามอย่างนี้ครับ ดวงธรรม และธรรมกายทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรม หรือรูปธรรมครับ ผมเรียนถามเท่านี้ละครับ ผมตีไม่แตกซะที
    ---------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เรื่องที่ถามไป ขอเจริญพรตอบสั้นๆ ไว้ก่อนว่า เฉพาะเรื่อง “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม) ส่วนที่รับรู้ เป็นนามธรรม ส่วนที่ถูกรับรู้เป็นรูปธรรม กล่าวคือ ส่วนที่ขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ นั้นก็คือ “ใจ” ซึ่งเป็นนามธรรมนี้ตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงกายซึ่งขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ซึ่งเห็นเป็นดวงใสอยู่ชั้นนอก และมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ตั้งอยู่ภายในดวงกายนั้นแหละ ส่วนนี้เป็นรูปธรรม และยังมีเจตสิกธรรมที่เป็นบุญกุศล, บาปอกุศลหรือกลางๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตที่เป็นกุศล/อกุศล/กลางๆ อีกด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็น “สังขารธรรม” ทั้งสิ้น จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นสังขตธรรมสังขตลักษณะคือความเกิดปรากฏ 1 ความเสื่อมสลายปรากฏ 1 เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ 1 (อุปฺปาโท ปญฺญายติ วโย ปญฺญายติ ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

    ส่วน “ธรรมกาย” ที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นธรรมธาตุที่บริสุทธิ์ (วิราคธาตุ) ล้วน ๆ ของพระอริยเจ้า-พระอรหันตเจ้าที่ยังมีชีวิต คือยังครองเบญจขันธ์อยู่ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ที่เบญจขันธ์แตกทำลายแล้วชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” เฉพาะพระนิพพานธาตุของพระอรหันต์เป็น “วิสังขารธรรม” ที่ไม่ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ มีสภาวะที่เป็นนิจจัง ปรมัง สุขังและธุวัง (ธุวํ-ยั่งยืน หรือ สสฺสตํ มั่นคง หรือ ตาทิ-คงที่) เป็นอมตํ ปทํ เป็นอสังขตธรรมที่มีอสังขตลักษณะคือไม่ปรากฏความเกิด 1 ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย 1 (และ) เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน 1 (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ น วโย ปญฺญายติ น ฐิตสฺส อญฺยถตฺตํ ปญฺญายติ) นี้แหละที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระปัญจวัคคีย์ผู้บรรลุพระโสดาบันบุคคลแล้ว ด้วยอนัตตลักขณสูตร มีความตอนหนึ่งว่า

    “รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส. นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย. ฯเปฯ ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว รูปํ อนตฺตา. ตสฺมา รูปํ อาพาธาย สวตฺตติ.”

    “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ.... ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูป[นี้]แลเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูป[นี้]จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ”
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ธรรมกาย คือ
    กายและดวงใจที่สะอาดบริสุทธิ์
    ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง
    คือกิเลส ตัณหา อุปาทาน
    และอุบัติขึ้น ณ ศูนย์กลางกาย
    ที่สุดละเอียดของผู้ปฏิบัติธรรม
    ที่ปฏิบัติทางศีล สมาธิ และปัญญา
    อันมีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8
    จนจิตใจสะอาดบริสุทํจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง

    ความสุข: พระเทพญาณมงคล





    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    พวกเราทั้งหลายนี้ มัวเพลินชมสวนดอกไม้ในโลกอยู่นี่เอง ชมรูปบ้าง เสียงบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็อยู่ที่เดียวนั่นเอง ไม่ได้ไปไหนกับเขาเลย
    พวกภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ว่าจะไปให้สุดวิราคธาตุวิราคธรรม

    อ้าวไป ๆ ก็เลี้ยวกลับเสียแล้ว ไม่ไปกันจริง ๆ ไปชมสวนดอกไม้อีกแล้ว ไปเพลิดเพลินในบ้านในเรือนกันอีกแล้ว
    อ้าวไป ๆ ก็จะไปอีกแล้ว ไป ๆ ก็กลับเสียอีกแล้ว พวกเรานี่แหละกลับกลอก กลับกลอกอยู่อย่างนี้แหละ จะเอาตัวไม่รอด

    เหตุนี้ให้พึงรู้ว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวเรา ก็นั่นแหละจึงจะเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมได้

    ที่จะเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมน่ะ ต้องปล่อยชีวิตจิตใจนะ ไปรักไปห่วงอะไรไม่ได้ ปล่อยกันหมดสิ้นทีเดียว เด็ดขาดทีเดียว ต้องทำใจหยุด หยุดในหยุด ไม่มีถอยกัน ไม่มีกลับกัน นั่นแหละ จึงจะไปสุดได้ ถ้าใจอ่อนแอ ไปไม่ได้ดอก ต้องใจแข็งแกร่งทีเดียวจึงไปได้

    พระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี เรื่อง “ธรรมนิยามสูตร”





    [​IMG]
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]



    “อมตะวาทะ”
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ------------------------------
    ให้ทิ้งขันธ์ ๕

    ให้ทิ้งขันธ์ ๕ เสีย ทิ้งขันธ์ ๕ เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้ เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวาง ต้องทิ้งขันธ์ ๕ นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง
    ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้งแก่เข้าๆๆ ถึงเวลาก็ตาย จะเอาไปได้หรือขันธ์ ๕ น่ะ
    คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ ๕ ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ ๕ ของสามีภรรยากันล่ะเอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ
    เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร
    พี่น้องวงศ์วานว่านเครือ จะเอาไปบ้างไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป
    ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด

    จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๙
    เรื่อง ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก
    ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๖
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ถาม.....ผู้ปฏิบัติไม่เห็น “นิมิตธรรมกาย” (นี่คิดผิดนะครับ) คือปฏิบัติสายอื่น แต่ระดับจิตถึงพระธรรมกาย นั้นมีไหม ?





    ---------------------------------





    ตอบ.......ข้อหนึ่ง

    คำว่า “นิมิตธรรมกาย” นั้นอย่าพูดเลยนะครับ ธรรมกายไม่ใช่นิมิต นะครับ... ของจริง



    นิมิตมีสองสามอย่างให้เข้าใจ ประเภทของนิมิต


    หนึ่ง.. นึกขึ้น นึกให้เห็น เช่น นึกให้เห็นดวงแก้ว เรียกว่าบริกรรมนิมิต เจริญภาวนา ไป ใจมันหยุดรวม ได้อุคคหนิมิตเห็นเป็นดวงใสขึ้นมา แต่เห็นอยู่ไม่ได้นาน ใจก็รวมหยุดแน่วแน่ เข้าไปอีกถึงปฏิภาคนิมิต (นิมิตติดตา) ระดับสมาธิมันก็ชั้นสูงจาก ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ นี่ระดับต่ำสูงขึ้นไปเป็นปฏิภาคนิมิต ก็อัปปปนาสมาธินั่นระดับปฐมฌาน ตรงนั้นชื่อว่านิมิต อย่างหนึ่ง คิดเอาแล้วจิตมันค่อยหยุดนิ่ง ถ้าที่คิดเอานั้น กลายเป็นอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต นี่ประเภทหนึ่ง


    อีกประการหนึ่ง..นอนฝัน ฝันก็เป็นนิมิตเรียกว่า สุบินนิมิต ถ้าไม่นอนฝัน..อะไร ๆ ที่เรามองเห็น นี่เรียกว่า นามรูป ก็เห็นเป็นนิมิตก็ได้ อย่างตัวท่านจะเรียกเป็นนิมิตก็ได้.. การมองเห็นข้างในก็เป็นนิมิต คือจากการมนุษย์ เห็นกายมนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด แต่นิมิตมันมีของปลอมกับของจริง


    ของปลอม คือ ไม่นึกจะเห็น แต่ก็เห็นแปลกประหลาดไป ไม่เป็นไปตามที่เป็นจริง จริงนี้หมายถึงจริงโดยสมมติบางทีนั่งแล้วเห็นเสือกระโดด โฮ้ก..เข้าใส่ แต่เปล่า เสือไม่มี นี่ก็เห็นได้เช่นกัน หรือบางคนนั่งแล้วเห็นผี.. แต่เปล่าผีไม่มี นี่เรียกว่า เห็นของไม่จริง จะเกิดแก่ ผู้ที่เอาใจออกนอกตัว หลวงพ่อวัดปากน้ำจึงให้เอาใจเข้าในตัว เพื่อชำระใจของเราให้สะอาด บริสุทธิ์ หยุดนิ่งเป็นอารมณ์เดียว ปราศจากกิเลสนิวรณ์ จิตใจก็เที่ยง เห็นตามที่เป็นจริง พอ..ใจ หรือเห็น จำ คิด รู้ ที่มันเห็นนะ มันไปวางอยู่ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งของกาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน มันก็เห็นตรงตามนั้น สิ่งที่เห็นอย่างนั้น เห็นจริงโดยสมมติ


    นิมิตจริง ก็เห็น นาย ก. นาย ข. เห็นพระ เห็นเณร แม่ชี เห็นของจริงทั้งนั้น ที่เห็น ๆ อยู่นี่ เห็นเข้าไปข้างในตามที่เป็นจริง ก็จริง แต่ว่าจริงโดยสมมติ


    นี่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความ เงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต และวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้”



    แต่ถ้ามันเลยนิมิตนี่ไปเห็นธาตุล้วนธรรมล้วน จริง ๆ เขาไม่เรียกว่านิมิต เพราะนิมิต ชื่อว่า เบญจขันธ์หรือนามรูป เกิดแต่อวิชชา แต่ธรรมกาย ไม่ใช่เบญจขันธ์ เป็นธรรมบริสุทธิ์ จึงเรียกว่า ธรรมขันธ์ เหมือนพระรุ่น ๔ ที่ว่าดัง ๆ นั่น...พระผงธรรมขันธ์ ก็ธรรมกายนั่นแหละ ไม่เกิดแต่อวิชชา เป็นกายที่พ้นภพ ๓ นี้ไป เป็นของจริงครับ เป็นปรมัตถธรรม แต่ว่าจำเพาะส่วน ที่ยังไม่บรรลุ คือจัดเป็น โคตรภู คืออยู่ระหว่างโลกิยะกับโลกุตตระ แต่กำลังจะขึ้นไป


    แต่ถ้าว่า เป็นธรรมกาย มรรค ธรรมกายผล พระนิพพาน แล้วหละก็เป็นธรรมขันธ์แท้ ๆ ชัดเจน ไม่เรียกว่า นิมิตครับ ไปเข้าใจผิดกันแล้วเอามาโจมตีกันเรื่องนี้แหละครับ เพราะเขาแยกนิมิต แยกของจริง ของปลอมไม่ค่อยชัดเจน ก็มั่วไป ก็ไปคลุมว่าเห็นอะไรเห็นได้ เรียกว่านิมิต จริง ๆ นิมิตอยู่ใน ครรลอง ในสภาวะที่จะสัมผัสได้ด้วยอายตนะของกายในภพ ๓ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่นเห็นกายมนุษย์ คือ ตาเห็นรูป หรือว่า ทิพพจักขุ เห็นกายทิพย์ พรหมจักขุเห็นกายพรหม อย่างนี้เป็นของในภพ ๓







    แต่ว่าเห็นโดยพุทธจักขุ ตรงนี้ไม่ใช่นิมิตหละ ของจริง..มันเข้าเขตปรมัตถ์ ที่โจมตีกัน มันไม่ถูกหรอกครับ เพราะมันเข้าไม่ถึง มันเลยไม่รู้เรื่อง ก็ตีกันไป ก็ไม่ว่ากระไร เป็นเรื่องของท่าน จะเข้าใจอย่างไรก็ว่ากันไปตามเรื่อง แต่ว่าจะได้ผลเป็นบุญเป็นบาปอย่างไร นั่นก็เป็นเรื่องของท่าน อีกเหมือนกัน











    --------------------------------------------------------------------



    สรุปว่า เขาถามว่าปฏิบัติสายอื่น แต่ระดับจิตถึงธรรมกายน่ะ มีไหม?


    มีครับ..ต้องมีครับ อันนี้ไม่ปฏิเสธนะครับ จะสายพุทโธ ยุบหนอ พองหนอ สัมมา­อะระหังหรือว่าอะไร ๆ ก็ตาม ถ้าจิตถึงก็ถึงครับ ไม่มีปัญหาครับ



    ถ้ามีจะหลุดพ้นหรือไม่ ?


    หลุดสิครับ ทำไมจะไม่หลุด
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ทิฏฐิ ๖๒
    ปุพพันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องต้น, ๑๘ ลัทธิ) -- อปรันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องปลาย, ๔๔ ลัทธิ)
    - สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกสัญญีวาท (๑๖ ลัทธิ)
    - เอกัจจสัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกอสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
    - อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ  - พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
    - อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ  - พวกอุจเฉทวาท (๗ ลัทธิ)
    - อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒ ลัทธิ - พวกทิฏฐธรรมนิพานวาท (๕ ลัทธิ)

    ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นหรือทฤษฎีของพวกที่กำหนดขึ้น อาศัยส่วนของขันธ์ (เบญจขันธ์) อันเป็นอดีต แนวความคิดนี้อาศัยข้อมูลจากอดีตเป็นหลัก เป็นความรู้เกิดจากเจโตสมาธิ ย้อนสำรวจชาติในอดีตของตน โดยเอาตัวเองในปัจจุบันเป็นฐาน แล้วย้อนระลึกชาติกลับไปสู่อดีต โดยการสาวลึกและไกลไปเรื่อยๆ จนสุดกำลังญาณของตน สรุปว่า โลกแล้วอัตตาเป็นอย่างไร

    (๑) หมวดเห็นว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) ๔
    ๑. เห็นว่า ตัวตน (อัตตา) และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ
    ๒. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึงสิบกัปป์
    ๓. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ตั้งแต่สิบกัปป์ถึงสี่สิบกัปป์
    ๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่าโลกเที่ยง

    (๒) หมวดเห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง (เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ) ๔
    ๕. เห็นว่า พระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง
    ๖. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยงพวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน (ขิฑฑาปโทสิกา)ไม่เที่ยง
    ๗. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น (มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง
    ๘. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง

    (๓) หมวดเห็นว่ามีที่สุด และไม่มีที่สุด (อันตานันติกทิฏฐิ) ๔
    ๙. เห็นว่าโลกมีที่สุด
    ๑๐. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด
    ๑๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับด้านล่าง ส่วนด้านกว้าง หรือด้านขวาง ไม่มีที่สุด
    ๑๒. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่

    (๔) หมวดพูดซัดส่ายไม่ตายตัวแบบปลาไหล (อมราวิกเขปิกทิฏฐิ) ๔
    ๑๓. เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ (อะไร) ก็ไม่ใช่
    ๑๔. เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑
    ๑๕. เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑
    ๑๖. เพราะโง่เขลา จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย

    (๕) หมวดเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเอง ไม่มีเหตุ (อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ) ๒
    ๑๗. เห็นว่าสิ่งต่างๆ มีขึ้นเอง โดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็นอสัญญีสัตว์
    ๑๘. นักเดา เดาเอาตามความคิดคาดคะเนว่า สิ่งต่างๆ มีขึ้นเองโดยไม่มี

    อปรันตกัปปิกวาท ผู้ปรารภเบื้องปลาย ได้แก่ส่วนที่เป็นอนาคต มี ๕ กลุ่ม แบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ สำนัก
    (๑) กลุ่มสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตา หลังตายแล้วมีสัญญา (๑๖)
    (๒) กลุ่มอสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว ไม่มีสัญญา (๘)
    (๓) กลุ่มเนวสัญญีนาสัญญี พวกเห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (๘)
    (๔) กลุ่มอุจเฉทวาท เห็นว่าสัตว์ตายแล้วสูญ (๗)
    (๕) กลุ่มทิฏฐิธรรมนิพพานวาท เห็นว่าสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ตรงกับหลักการของลัทธิ Hedonism )
    ใน ๕ กลุ่มของนักคิด สามกลุ่มแรกเห็นว่า อัตตา (อาตมัน) หรือวิญญาณ หลังตายแล้วยังมีอยู่ (อุทธมาฆาตนิกา) ในลักษณะเป็นทรัพย์ ( Substance ) เป็นตัวรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นตัวไปเกิดใหม่ สืบภพชาตินิรันดร (อโรคะ)

    (๑) หมวดเห็นว่ามีสัญญา (สัญญีทิฏฐิ) ๑๖
    ๑๙. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
    ๒๐. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
    ๒๑. อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
    ๒๒. อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
    ๒๓. อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
    ๒๔. อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
    ๒๕. อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
    ๒๖. อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
    ๒๗. อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา
    ๒๘. อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา
    ๒๙. อัตตาที่สัญญาย่อมเยา ยั่งยืน มีสัญญา
    ๓๐. อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา
    ๓๑. อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
    ๓๒ อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
    ๓๓. อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา
    ๓๔. อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
    ตนทั้ง ๑๖ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้ทั้งสิ้น

    (๒) หมวดเห็นว่าไม่มีสัญญา (อสัญญีทิฏฐิ) ๘
    เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๓๕ ถึงข้อ ๔๒ ข้างต้น คือตนมีรูปจนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้วก็ไม่มีสัญญา คือไม่มีความจำได้หมายรู้

    (๓) หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ) ๘
    เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๔๓ ถึงข้อ ๕๐ ข้างต้น คือ ตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
    ทั้ง ๓ หมวดนี้ รวมเรียกว่า อุทธมาฆตตนิกา แปลว่า พวกที่มีความเห็นเกี่ยวกับสภาพเมื่อตายไปแล้ว จะเป็นอย่างไร

    (๔) หมวดเห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗
    ๕๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์
    ๕๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ
    ๕๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ
    ๕๔. ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ
    ๕๕. ตนที่เป็นวิญญาณาสัญญายตนะ
    ๕๖. ตนที่เป็นอากิญจัญญายตนะ
    ๕๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
    ทั้ง ๗ ประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก

    (๕) หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕
    ๕๘. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕๙,๖๐,๖๑,๖๒ เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน.

    จบทิฏฐิ ๖๒
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    อาศัยญาณพระธรรมกาย ตรวจอรูปภพ

    อรูปาวจรภูมิ 4
     
     
     

    อรูปาวจรภูมิ 4 คือ ที่สถิตอยู่ของอรูปพรหม 4 ชั้น ทั้งอรูปพรหมที่เป็นปุถุชนและที่เป็นอริยบุคคล

    เป็นที่เกิดของติเหตุกปุถุชน 1 และอริยบุคคล 7 (เว้นพระโสดาปัตติมัคคบุคคล)

    ผู้ที่ในอดีตชาติได้เจริญอรูปฌานแล้ว ขณะกำลังจะจุติ (เคลื่อนจากภพเก่า คือตาย) จิตยังไม่เสื่อมจากอรูปฌานชั้นใด ก็จะได้มาเกิดเป็นอรูปพรหมในชั้นนั้น

    อรูปพรหมปุถุชน นั้น เมื่อสิ้นอายุแล้ว ก็มีโอกาสไปเกิดในภพภูมิที่ต่ำกว่าตามกรรมเก่าที่กำลังรอให้ผลอยู่ได้เสมอ

    ส่วนอรูปพรหมอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระอนาคามีบุคคลลงมา ที่สถิตอยู่ในอรูปภพชั้นที่ 1-2-3 เมื่อสิ้นอายุก็มีโอกาสไปเกิดในภูมิที่สูงกว่าได้ แต่จะไม่ไปเกิดในภูมิที่ต่ำกว่าเดิมอีก จนกว่าจะบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ก็จะปรินิพพานในชั้นนั้น

    เฉพาะอรูปพรหมอนาคามีบุคคลลงมา ที่สถิตอยู่ในอรูปภูมิชั้นที่ 4 (ชั้นสูงสุด) คือ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ นั้น เมื่อสิ้นอายุลงก็จะเกิดในภพภูมิเดิมนี้ จนถึงบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ก็จะปรินิพพานในชั้นนี้

    ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกาย ได้ปฏิบัติตามวิธีเจริญภาวนาที่กล่าวข้างต้นแล้ว น้อมเอาอรูปภพมาเป็นกสิณ คือมาตั้งตรงศูนย์กลางธรรมกาย ธรรมกายเจริญฌานสมาบัติในกสิณ หรือพิสดารกาย ดับหยาบไปหาละเอียดจนสุดละเอียด แล้วขยายข่ายของญาณพระธรรมกาย ให้เห็นสุดอรูปภพ ตรวจดูความเป็นไปในแต่ละอรูปภพจากสูงสุด ถึงต่ำสุด คือตั้งแต่ชั้นที่ 4 ลงไปถึงชั้นที่ 1 เป็นชั้นๆ ไป ดังต่อไปนี้

    ชั้นที่ 4 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหมที่เมื่อชาติก่อนได้เจริญอรูปฌาน 4 (รวมรูปฌาน 4 เป็นสมาบัติ 8) แล้วขณะเมื่อก่อนตาย จิตยังไม่เสื่อมจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จึงได้มาเกิดในภพหรือภูมินี้ อรูปพรหมในภูมินี้มีอายุ 84,000 มหากัป

    อุทกดาบส (ที่พระมหาบุรุษคือพระโพธิสัตว์ของเราได้เคยมาเรียนในสำนักของท่านและได้บรรลุสมาบัติ 8 แต่ทรงพิจารณาเห็นว่ายังไม่ใช่ทางให้บรรลุโมกขธรรม จึงได้เสด็จออกจากสำนักนี้ไปบำเพ็ญสมณธรรมโดยลำพังพระองค์เอง จนได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ) จุติจากมนุษย์โลกแล้วก็ได้มาอุบัติคือเกิดในภพนี้ ก่อนวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณไม่นาน

    ชั้นที่ 3 อากิญจัญญายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหม ซึ่งเมื่อก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจากอากิญจัญญายตนฌาน ก็จะมาเกิดในภพนี้ อรูปพรหมในภูมินี้มีอายุ 60,000 มหากัป

    อาฬารดาบส (ที่พระมหาบุรุษของเราได้เคยมาเรียนในสำนักของท่านและได้บรรลุอรูปฌาน 3 (รวมรูปฌาน 4 เป็นสมาบัติ 7) แต่ทรงพิจารณาเห็นว่ายังไม่ใช่ทางให้บรรลุโมกขธรรม จึงได้เสด็จออกจากสำนักนี้ ไปศึกษาต่อยังสำนักอุทกดาบส) จุติจากมนุษย์โลกแล้วก็ได้มาอุบัติในภพนี้ ในระยะเวลาไม่นาน ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ชั้นที่ 2 วิญญาณัญจายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหม ที่เมื่อก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจากวิญญาณัญจายตนฌาน ก็จะมาเกิดในภพนี้ อรูปพรหมในชั้นนี้มีอายุ 40,000 มหากัป

    ชั้นที่ 1 อากาสานัญจายตนภูมิ เป็นที่เกิดของอรูปพรหม ที่เมื่อก่อนตายจิตยังไม่เสื่อมจากอากาสานัญจายตนฌาน ก็จะมาเกิดในภพนี้ อรูปพรหมในชั้นนี้มีอายุ 20,000 มหากัป

    มีข้อสังเกตที่สำคัญว่า เมื่อผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายได้ปฏิบัติตามวิธีที่กล่าวข้างต้นแล้ว น้อมอรูปภพมาเป็นกสิณ ธรรมกายเจริญสมาบัติในกสิณ แล้วใช้ตาหรือญาณพระธรรมกายตรวจดูความเป็นไปในแต่ละภูมิ โดยขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้เต็มอรูปภพ พิจารณาดูแต่ละภูมินั้น ต่างได้เห็นอรูปพรหมมีรูปร่างสวยงามมาก วรกายใหญ่ มีเครื่องประดับที่สวยงาม ละเอียดประณีตยิ่งนัก และมีรัศมีสว่างกว่ารูปพรหมทั่วๆ ไป ละเอียดมากจนแม้แต่อรูปพรหมด้วยกันก็ไม่เห็นรูปกายของซึ่งกันและกัน คงติดต่อกันรู้กันได้ด้วยจิต มีแต่ตาหรือญาณพระธรรมกายเท่านั้นที่ละเอียดกว่า และสามารถเห็นรูปกายของอรูปพรหมได้ตามที่เป็นจริง และได้เห็นว่ารัศมีของอรูปพรหมปุถุชนแม้จะมีรัศมีสว่างไสว แต่ก็ยังไม่สว่างไสวเท่ารัศมีของอรูปพรหมอริยบุคคล และแม้เท่ารัศมีรูปพรหมในชั้นสุทธาวาส ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี ผู้ตัดสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 ประการได้หมดแล้ว และชั้นพระอรหันต์ ผู้ตัดสัญโญชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการได้หมดสิ้นแล้ว เพราะอรูปพรหมอริยบุคคลในอรูปาวจรภูมิและพรหมอริยบุคคลในชั้นสุทธาวาส เป็นพระอริยบุคคลผู้บริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองกว่าอรูปพรหมปุถุชน จึงมีรัศมีสว่างไสวกว่า ด้วยประการฉะนี้

    มีอาจารย์บางท่านได้แสดงว่า อรูปพรหมเป็นพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่นามขันธ์ 4 ดังเช่น

    "อธิบายว่า ในอรูปภูมิทั้ง 4 ถึงแม้จะเรียกว่าภูมิก็จริง แต่ภูมินี้ไม่ปรากฏว่ามีรูปร่างสัณฐานอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะเป็นภูมิที่มีแต่อากาศว่างเปล่าอยู่เท่านั้น สำหรับอรูปพรหมนี้ ก็เป็นพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่นามขันธ์ 4 เกิดขึ้นติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่นนับตั้งแต่ปฏิสนธิมา" (พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่มที่ 1: สนองการพิมพ์, พ.ศ.2535, หน้า 167.)

    นี้เป็นคำอธิบายความหมายของอรูปพรหมตามความเข้าใจในตัวอักษรว่า "อรูป" ซึ่งท่านเข้าใจและอธิบายว่าดังนี้

    "ความจริงนั้น อรูปพรหมทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจของภาวนาที่ปราศจากความยินดีในรูป (รูปวิราคภาวนา) เพราะเหตุนี้ สถานที่อยู่ของอรูปพรหมจึงไม่มีรูปร่างปรากฏเลย" (อ้างแล้ว  หน้า 169.)

    แต่ผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกาย ต่างได้เห็นอรูปพรหมด้วยญาณพระธรรมกายว่า มีรูปกายที่ละเอียดนัก จนแม้แต่อรูปพรหมด้วยกันเอง ก็ยังมิอาจเห็นรูปกายซึ่งกันและกัน เพราะอรูปาวจรวิบากที่เมื่อเจริญอรูปฌานไม่ยินดีในรูป แต่รูปขันธ์ย่อมต้องเกิดมีพร้อมกับนามขันธ์ 4 ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม คือ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป (สฬายตนะ ผัสสะ ฯลฯ) เพียงแต่รูปกายของอรูปพรหมนั้นละเอียดนัก เพราะอรูปาวจรวิบาก จนไม่อาจเห็นได้แม้ด้วยจักษุของอรูปพรหมด้วยกัน หรือด้วยจักษุของสัตว์โลกในภูมิที่ต่ำกว่าเท่านั้น

    ถ้าสัตว์โลกที่เกิดด้วยอำนาจของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เกิดขึ้นแต่เฉพาะนามขันธ์ โดย ปราศจากรูปขันธ์ ได้ พระพุทธดำรัสว่าด้วย "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" ก็ไร้ความหมาย และ พระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า

    "ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
    เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา."
       "ผู้ใด จักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายเป็นที่อาศัย ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกของมารได้." (ขุ.ธ.25/13/19-20)
    ก็ไม่จริง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ที่สัตว์โลกจะมีแต่จิตใจ โดยไม่มีรูปกายเป็นที่ตั้งที่อาศัย และเป็นไปไม่ได้ที่พระพุทธพจน์จะเป็นอื่น (คือไม่จริง) พระพุทธพจน์ย่อมเป็นธรรมที่แท้จริงเสมอ

    จึงควรที่นักศึกษาจะพึงปฏิบัติไตรสิกขา อันมีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 ให้ดี ให้ได้ถึงธรรมกาย ก็จะสามารถรู้-เห็น ด้วยตนเองตามที่เป็นจริง
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ




    ตอบ:

    ก็บอกแล้วว่า เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร  เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต
      และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้  พระคุณเจ้าโปรดทราบ  โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป  กระผมอยากจะเรียนถามว่า มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า  ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม !   ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ   ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก   พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย   นี่  หลักทำนิพพานให้แจ้ง

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น   ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น  ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว  จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น  ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น  ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ  เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น  ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว  จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”

    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต  มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต   มันเป็นฐานสำคัญ  นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด   เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน   จะให้ใจหยุด   ถึงได้สอนกัน   บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว   เท่านี้ก็พอแล้ว     ความจริงพอหรือไม่พอ   ให้ดูอริยมรรคมีองค์ 8 : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง 4 ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต   อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ 5  ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ 5 อยู่ที่ไหน ?   ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ 5 นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน  เพราะฉะนั้น  ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย   มันผิดที่ไหนกันครับ

    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา  นขา ทันตา ตโจ   ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่   ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ   เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย   จะไปปฏิเสธได้ยังไง  นิมิตมันต้องเกิดด้วย   และถ้านิมิตไม่เกิด   หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร   นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย  ไปเปิดดูได้ทุกท่าน   เป็นพระพุทธวจนะด้วย  ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น  นิมิตนี่เป็นของต้องมี  สมถภูมิ 40 น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ 10 นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่   จริงๆ แล้ว  แม้ อนุสสติ 10 อสุภะ 10 ก็ต้องเห็นนิมิต   แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้   แปลว่า พิจารณาจริงๆ  จะเอาแน่ๆ เช่น   เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์  ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน  ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน   แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น   แต่ไม่เห็นก็ได้   ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี   เขาทำกุศลสำคัญ  มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น  เลยไปเกิดเป็นเทพยดา  มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร  กระผมว่าสงบได้นิดเดียว   แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้  โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก   อันนั้นล่ะดีที่สุด  เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ  รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร   อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา   ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ  เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน  ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์

    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ 10 อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด   ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย   กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ

    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น   ท่านสูดลมหายใจเข้าออก  ท่องพุทโธๆ ไป  พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ  ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ   กระผมเชื่อแน่และรับรอง 100% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส   แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น  กลางของกลางดวงนั้น   แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก   ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง  แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน  พิจารณาเช่นนี้ครับ   ทิพพจักขุ ทิพพโสต  เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น  ไปถามเอาเถอะครับ

    ยุบหนอพองหนอ  นั่งภาวนาก็เห็นครับ   ทำไมจะไม่เห็น  เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป  ไปถามดูก็ได้  แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม   ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม  นึกออกไปเห็น  เป็นอนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา  แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ  เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น  แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ?   ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา  มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์  ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง 2 คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ  อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์  อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง 2 

    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ  วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก   สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน    แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ      ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน  ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง 2 คือ จิตละเอียดหนัก  พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ 3 ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว  แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ   เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย  ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก   แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต    ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    หมั่นเอาใจจรดอยู่ตรงนั้นแหละ
    (ศูนย์กลางกายฐานที่ 7)
    เริ่มต้นก็หมั่นเอาใจจรดอยู่ตรงนั้นแหละเสมอ
    จะนั่ง จะนอน จะเดิน จะกิน
    จะดื่ม จะมี จะทำ จะพูด
    จะอุจจาระ ปัสสาวะ
    ก็หยุดตรงนั้นเสมอ



    [​IMG]



    แรกๆไม่ค่อยจะอยู่ จรดไปเถอะ จรดหนักเข้า ๆ
    พอชินหนักเข้าก็ชำนาญ หนักเข้า ๆ ก็อยู่
    "พออยู่เท่านั้น ยิ้มแล้วละเรา"

    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
     
  19. choto

    choto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +330
    ขออนุญาตสอบถามหน่อยครับ

    คือผมอยากจะเดินทางไปวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    จะเดินทางยังไงดีครับ ผมเห็นในตารางของวัดปีที่แล้วมีบอกว่า
    จะมีรถตู้ออกจากวัดสระเกศ 7 โมงของทุกวันอาทิตย์
    ไม่ทราบว่าปีนี้ยังมีรถจากวัดสระเกศทุกวันอาทิตย์หรือเปล่าครับ
    ทางวัดรับส่งฟรีหรือมีค่าโดยสารครับ?
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,998
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ยังมีครับ เป็นมินิบัส

    ขอกลับ กลับมาประมาณ 3 โมง


    ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ที่พระฝ่ายประชาสัมพันธ์ได้ครับ ที่ 090-5955162
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...