กรมศิลปฯอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดราชบูรณะ มีภาพแฝดอินจันหนึ่งเดียวในพิษณุโลก

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 4 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,591
    e0b89be0b8afe0b8ade0b899e0b8b8e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98ce0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3.jpg พิษณุโลก กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะ อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดราชบูรณะ จ.พิษณุโลก เป็นภาพวรรณกรรมเกี่ยวกับรามเกียรติ์ พุทธประวัติ รวมถึงภาพฝาแฝดอินจัน ที่มีหนึ่งเดียวในพิษณุโลก นักวิชาการมาค้นพบเมื่อปี 2558 b89be0b8afe0b8ade0b899e0b8b8e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98ce0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3-1.jpg

    วันที่ 4 เมษายน 2562 ที่วัดราชบูรณะ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้กรมศิลปากร โดยกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กำลังดำเนินการงานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดราชบูรณะ ระหว่างมีนาคมถึงเดือนกรกฏาคม 2562 หลังจากมีการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดราชบูรณะครั้งล่าสุดเมื่อปี 2530 แต่หลังจากผ่านมา 30 กว่าปี จิตรกรรมฝาผนังได้รับความเสียหายทั้งความร้อน ความชื้นจากน้ำฝน ทำให้ภาพเกิดการชำรุด กระทั่งมีการบูรณะครั้งหลังคาอุโบสถล่าสุดในปี 2556 b89be0b8afe0b8ade0b899e0b8b8e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98ce0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3-2.jpg

    พระครูสิทธิธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ เปิดเผยว่า พระอุโบสถ์วัดราชบูรณะภายในมีภาพวาดจิตรกรรมฝาพนัง กว่า 200 ปี ที่ถือว่าสมบูรณ์แห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือ เป็นภาพวรรณกรรมเกี่ยวกับรามเกียรติ์ ทั้ง 4 ด้าน ภาพพุทธประวัติ และที่สำคัญคือ เมื่อปี 2558 มีนักวิชาการจากม.นเรศวรมาเยี่ยมชม และสังเกตุเห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วาดภาพฝาแฝดอินจัน ฝาแฝดไทยที่มีชื่อเสียงในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นการค้นพบที่สำคัญ และเป็นหนึ่งเดียวที่ค้นพบในจิตรกรรมฝาผนังในจ.พิษณุโลก แต่สภาพปัจจุบัน แต่ละด้านภาพเกิดการชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา ทั้งจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและความชื้นที่เกิดสภาพอากาศที่ร้อน และฝนตก การเข้ามาดำเนินการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังโดยกรมศิลปากรในปี 2562 นี้ จะทำให้ศิลปะไทยอยู่เคียงคู่กับเมืองพิษณุโลกอีกยาวนาน b89be0b8afe0b8ade0b899e0b8b8e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98ce0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3-3.jpg

    อนึ่ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 ผศ.ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขงสาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เดินทางมาศึกษาเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังและพบภาพฝาแฝดอินจันเข้าโดยบังเอิญ พร้อมระบุว่าเป็นภาพคู่แฝดอินจัน ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันว่าจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดราชบูรณะนั้น ได้มีการเขียนไว้ในยุคปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 3 อย่างแน่นอน โดยภาพจิตรกรมฝาผนังแฝดอินจันเป็นภาพที่เขียนจากสีฝุ่น วาดด้วยพู่กันจีน ลวดลายไทย ซึ่งภาพแฝดอินจันมีกิริยาท่าทางใช้นิ้วชี้ไปทางสัตว์ป่าหิมพานต์ ซึ่งเป็นภาพผสมผสานกับวรรณคดีกับเรื่องราวปัจจุบัน ทำให้จิตรกรรมฝาผนังที่วัดราชบูรณะน่าศึกษาเป็นอย่างมาก b89be0b8afe0b8ade0b899e0b8b8e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98ce0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3-4.jpg

    “วัดราชบูรณะ เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่งของจ.พิษณุโลก มีอายุถึงสมัยสุโขทัย วัดแห่งนี้เดิมมีอาณาเขตติดต่อกับวัดนางพญา ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2502 กรมทางหลวงได้ตัดถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก คือ ถนนมิตรภาพ ถนนสายนี้ได้ตัดผ่านเข้าไปในเนื้อที่วัดนางพญาและวัดราชบูรณะ ถนนมิตรภาพได้ตัดเฉียดพระอุโบสถไปอย่างใกล้ชิด จนต้องรื้อย้ายใบเสมามุมพระอุโบสถด้านตะวันออกเฉียงเหนือ b89be0b8afe0b8ade0b899e0b8b8e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98ce0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3-5.jpg

    กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดราชบูรณะไว้เป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53ตอน 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และกรมศิลปากรได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ดังนี้ คือ ปี พ.ศ. 2528 บูรณะวิหารหลวง ปี พ.ศ. 2530 อนุรักษ์ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ และปี พ.ศ. 2533 บูรณะเจดีย์หลวง โดยเสริมความมั่นคงทางรากฐาน และต่อยอดพระเจดีย์ทรงลังกาซึ่งหักชำรุดหายไปให้บริบูรณ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นสันนิษฐานว่าได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เพราะได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ แล้วให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องรามเกียรติ์ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารแล้วให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องพระพุทธประวัติ โดยจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถนั้น ได้รับความเสียหายจากน้ำฝนและความชื้น จากสภาพหลังคาที่อายุเก่าแก่ จึงนำมาสู่การบูรณะครั้งหลังคาอุโบสถล่าสุดในปี 2556 และงานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในปี 2562 b89be0b8afe0b8ade0b899e0b8b8e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98ce0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3-6.jpg b89be0b8afe0b8ade0b899e0b8b8e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98ce0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3-7.jpg

    b89be0b8afe0b8ade0b899e0b8b8e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98ce0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3-8.jpg

    …………………………………………………………………………………………………………………….

    [embedded content]

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง 17 พฤศจิกายน 2558 พบภาพวาดแฝดสยามอิน-จันในอุโบสถวัดราชบูรณะ

    b89be0b8afe0b8ade0b899e0b8b8e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98ce0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3-9.jpg

    แสดงความคิดเห็น


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.phitsanulokhotnews.com/2019/04/04/129535
     

แชร์หน้านี้

Loading...