ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีประจำปี 52 ณ วัดเทียบศิลาราม

ในห้อง 'กฐิน - ผ้าป่า - งานวัด' ตั้งกระทู้โดย สาวิกานวล, 17 สิงหาคม 2009.

  1. สาวิกานวล

    สาวิกานวล สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +9
    [​IMG]

    ประเพณีการทอดกฐิน

    “เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระพรรษา
    ชาวพาราเซ้งแช่แห่กฐิน
    ลงเรือเพียบพายยกเหมือนนกบิน
    กระแสสินธ์ สาดปรายกระจายฟอง
    สนุกสนานขานยาวฉาวสนั่น
    บ้างแข่งขันต่อสู้เป็นคู่สอง
    แพ้ชนะปะตาพูดจาลอง
    ตามทำนองเล่นกฐินสิ้นทุกปี”
    (นิราศเดือน)

    “พอแต่เหลียวขึ้นฟ้าเห็นแต่ว่าวเดือนสิบสอง
    ลมคะนองเชยพัดง่า ยม กะเลยม้วน
    พอสมควรกะหาผ้ากฐินทานมาทอด
    ตลอดเดือนหนึ่งหาได้ดั่งประสงค์
    หลวงปู่พรหมไปหาผ้าหลวงตาสีหาน้ำครั่ง
    หลวงปู่สอนนั่งสอดด้ายขวาซ้ายเข้าซ่อยกัน
    พอแต่ตกบ่อนบั้นโลกมันเปลี่ยนเวียนผัน
    ปัจจุบันกะเลยโยมเป็นคนเฮ็ดแห่แหนแพนกั้ง
    ต่างกะหวังเต็มที่ทำความดีบ่ดูหมิ่น
    บุญกฐินซ่อยค้ำทานทอดให้หมู่สงฆ์”
    (บทผญาอีสาน)


    การทอดกฐิน เป็นประเพณีสำหรับพุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาเลื่อมใส ประสงค์จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และส่งเสริมให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตามพระวินัย ซึ่งถือปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลกระทั่งถึงปัจจุ บัน เป็นการเพิ่มพูนบุญกุศลซึ่งนำความสุขมาให้ เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า “ถวายตามกาลสมัย” ประชาชนชาวไทยจัดพิธีนี้อย่างสนุกสนาน ดังคำกลอนและบทผญาอีสานข้างต้นนั้น

    กฐินแปลว่าอะไร ?

    กฐิน มีความหมาย 4 ประการ ดังนี้

    (1) กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้

    “กฐิน” หมายถึง ไม้สะดึง คือกรอบไม้แบบชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เป็นเครื่องมือเย็บจีวร ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ในสมัยก่อน การเย็บจีวรต้องใช้ไม้สะดึงขึงให้ตึงก่อนแล้วจึงเย็บ เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็ บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐิน หรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว

    การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือ ทาบผ้าลงไปกับแม่แบบ ตัด เย็บ ย้อม ตากให้แห้ง ควรแก่การใช้ได้ให้เสร็จภายในวันเดียว ด้วยความสามัคคีของพระสงฆ์ เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้น เมื่อทำเสร็จหรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้น ก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นอีกในปีต่อๆ ไป การรื้อแบบไว้เรียกว่า เดาะ ฉะนั้นคำว่า กฐินเดาะหรือเดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสต่ อไป

    ตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระ 80 รูป ต่างมาช่วยพระอนุรุทธะเย็บจีวร พระมหากัสสปะนั่งหัวแถว พระสารีบุตรนั่งกลาง พระอานนท์นั่งท้ายสุด ภิกษุรูปอื่นๆ ช่วยกรอด้าย พระพุทธเจ้าทรงร้อยด้าย ส่วนพระโมคคัลลานะจัดหาเสบียงมาถวายพระเถระผู้ร่วมทำ จีวร ภิกษุสามเณรอื่นๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่ม เป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน

    โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปมาแล้ว)

    (2) กฐินที่เป็นชื่อของผ้า

    “กฐิน” หมายถึง ผ้าที่ถวายใช้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นพระภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่พระสงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้

    (3) กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา

    “กฐิน” คือ การทำบุญถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวันหนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อสงเคราะห์พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐินหรือที่เรียกว่า การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปทอดหรือไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ ำห้ารูป กล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง ที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น เรียกได้ว่าเป็นกาลทาน คือการถวายทานที่ทำได้เฉพาะกาล 1 เดือน ท่านจึงถือว่าหาโอกาสทำได้ยาก

    (4) กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม

    “กฐิน” คือ กิจกรรมของสงฆ์ ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุม สงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของพระภิกษุทั้ งหลาย ก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของพระภิกษุรูปอ ื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้ว อนุญาตให้แสวงหาผ้า และเก็บผ้าไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4

    ดังนั้น จะเห็นได้ว่าความหมายของคำว่ากฐิน มีความเกี่ยวข้องกันทั้ง 4 ประการ เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐิน คือแสดงความพอใจว่าได้กรานกฐินเสร็จแล้ว ก็เป็นอันเสร็จพิธี

    กฐินในปัจจุบัน มีผู้ถวายผ้ามากขึ้น มีผู้สามารถตัดเย็บย้อมผ้าที่จะทำเป็นจีวรได้แพร่หลา ยขึ้น การใช้กรอบไม้แม่แบบอย่างเก่าจึงเลิกไป เพียงแต่รักษาชื่อประเพณีไว้โดยไม่ต้องใช้กรอบไม้แม่ แบบ เพียงถวายผ้าขาวให้ตัด เย็บ ย้อม ตากให้แห้ง ควรแก่การใช้ได้ให้เสร็จภายในวันเดียว หรืออีกอย่างหนึ่งคือ นำผ้าสำเร็จรูปมาถวายก็เรียกว่า “ถวายผ้ากฐิน” เหมือนกัน อีกทั้ง เนื่องจากยังมีประเพณีนิยมถวายผ้ากฐินกันแพร่หลายไปท ั่วประเทศไทย จึงนับว่าเป็นประเพณีนิยมในการบำเพ็ญกุศลที่ยังขึ้นห น้าขึ้นตาเป็นสาธารณะประโยชน์ ร่วมกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามไปในขณะเดียวกัน

    เหตุที่ทรงอนุญาตกฐิน

    ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน เขตพระนครสาวัตถี มีพระภิกษุชาวเมืองปาฐา (อยู่ด้านทิศปัจฉิม ในแคว้นโกศล) ประมาณ 30 รูป ล้วนถือธุดงควัตรทั้ง 13 ข้อ อาทิเช่น อารัญญิกังคธุดงค์ คือถือการอยู่ป่าเป็นวัตร, ปิณฑปาติกังคธุดงค์ คือถือการบิณฑบาตเป็นวัตร, และเตจจีวริกังคธุดงค์ คือถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร เป็นต้น อันมีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีความตั้งใจจะพากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ซึ่งจำพรรษาในเมืองสาวัตถี

    แต่ต้องเดินทางไกล พอไปถึงเมืองสาเกตซึ่งมีระยะทางห่างจากเมืองสาวัตถีป ระมาณ 6 โยชน์ ก็เผอิญถึงฤดูกาลเข้าพรรษาเสียก่อน เดินทางต่อไปไม่ได้ พระภิกษุเหล่านั้นจึงตกลงกันอธิษฐานใจอยู่จำพรรษา ณ เมืองสาเกต ตลอดไตรมาส ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาด้วยมีใจรัญจวนว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ใกล้ๆ ระยะทางห่างเพียง 6 โยชน์ แต่ก็ไม่ได้เฝ้าพระองค์ ครั้นล่วง 3 เดือนออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้วก็เดินทางไปเมืองสาวั ตถีโดยเร็ว

    การที่พระผู้มีพระภาคทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันต ุกะทั้งหลายนั้น เป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสถามถึงสุขทุกข์และความก้ าวหน้าแห่งการปฏิบัติธรรม ด้วยพระสุรเสียงที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา พระภิกษุเหล่านั้นต่างพากันกราบทูลให้ทรงทราบถึงความ ลำบากตรากตรำในระหว่างเดินทางของตน เพราะอยู่ในช่วงฤดูฝน มีจีวรเก่า พากันเดินเหยียบย่ำโคลนตม จีวรเปรอะเปื้อนโคลนเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน

    พระพุทธองค์ทรงทราบความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น และเห็นว่า “กฐินตฺถาโร จ นาเมส สพฺพพุทฺเธหิ อนุญฺญาโต” การกรานกฐินนี้ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ทรงอนุญาตมา ดังนั้น จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว รับผ้ากฐินของผู้มีจิตศรัทธาถวายได้ เมื่อได้รับแล้วมีความสามัคคีร่วมกันทำให้ถูกต้องตาม พระธรรมวินัย จะได้รับอานิสงส์หรือความยกเว้นในการผิดพระธรรมวินัย 5 ประการ นางวิสาขามหาอุบาสิกาได้ทราบพระบรมพุทธานุญาต และได้ถวายผ้ากฐินเป็นบุคคลแรก

    ผ้ากฐิน

    ผ้าที่พระบรมพุทธานุญาตให้ใช้เป็นผ้ากฐินได้นั้น มีดังนี้คือ ผ้าใหม่ ๑ ผ้ากลางเก่ากลางใหม่ ๑ ผ้าเก่า ๑ ผ้าบังสุกุล ๑ ผ้าที่มีขายอยู่ตามร้านตลาด ๑ ซึ่งผ้าเหล่านี้เอามาทำเป็นผ้ากฐินได้

    ส่วนผ้าที่เอามาทำเป็นผ้ากฐินไม่ได้ คือ ผ้าที่ยืมเขามา ๑ ผ้าที่ทำนิมิตได้มา ๑ ผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา ๑ ผ้าเป็นนิสัคคีย์ ๑ ผ้าที่ขโมยมา ๑

    เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ผ้าที่เอามาทำเป็นผ้ากฐินได้คือ ผ้าที่ได้มาโดยชอบหรือโดยสุจริต ส่วนผ้าที่เอามาทำเป็นผ้ากฐินไม่ได้คือ ผ้าที่ได้มาโดยมิชอบหรือโดยทุจริต

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. สาวิกานวล

    สาวิกานวล สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +9
    ขอเชิญพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา

    ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีสร้างศาลาปฏิบัติธรรม

    ในวันที่ ๒๓ - ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒

    (ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึง ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๒)

    ทอด ณ วัดเทียบศิลาราม

    หมู่ที่ ๑๘ บ้านหลักหินใหม่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

    เนื่องด้วย วัดเทียบศิลารามได้ก่อสร้างศาลาปฏิบัติขึ้นเพื่อเป็น สถานที่ปฏิบัติ

    ธรรมแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งทางวัดเทียบศิลารามได้จัดปฏิบัติธรรมเป็นประจำ

    ตลอดปี มีพุทธศาสนิกชนจากหลายที่เข้าปฏิบัติธรรม ด้วยความไม่สะดวกใน

    เรื่องสถานที่รองรับผู้เข้าปฏิบัติธรรม ทางวัดเทียบศิลารามจึงได้จัดสร้างศาลา

    ปฏิบัติธรรมขึ้นอัญเชิญสมเด็จองค์ปฐม ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานใน

    ศาลา และพระสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมพระอรหันตธาตุ เพื่อให้บรรดาญาติ

    โยมพุทธศาสนิกชน ได้กราบไหว้สักการบูชา เป็นมหาสิริมงคลต่อชีวิต การ

    สร้างศาลาปฏิบัติธรรมนั้นต้องอาศัยแรงกายแรงศรัทธาจา กบรรดาญาติโยมจึง

    จะแล้วเสร็จ วัดเทียบศิลารามจึงขอน้อมศรัทธาจากบรรดาญาติโยมพุทธ

    ศาสนิกชนผู้มีจิตเป็นบุญมีใจเป็นกุศลร่วมสร้างถาวรวั ตถุเพื่อเชิดชูพระพุทธ

    ศาสนา เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสร้างคนดีสู่สังคมสืบชั่วลูกช ั่วหลาน

    อันทานนี้โยมไซร้ได้สร้างแล้ว ดั่งเมืองแก้วโคมทองประคองศรี

    จัดว่าเลิศประเสริฐนักปราศราคี ชั่วชีวี หาใดเปรียบเทียบเท่าบุญ

    ดั่งเมืองแก้วโคมทอง ประคองท่า สร้างศาลาปฏิบัติธรรม นำสุขี

    เพียบพร้อมแล้วหนุนนำซึ่งกรรมดี ชั่วชีวี มีแต่สุข ไร้ทุกข์ เอย.

    กำหนดการ

    วันศุกร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๐)

    เวลา ๑๓.๐๐ น. พิธีบวชชี-พราหมณ์

    เวลา ๑๙.๐๐ น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ สมโภชองค์กฐิน

    วันเสาร์ที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๐)

    เวลา ๑๑.๐๐ น. ร่วมถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ-สามเณร

    เวลา ๑๑.๕๔ น. พิธีทอดถวายองค์กฐิน

    เวลา ๑๒.๐๐ น. พระสงฆ์อนุโมทนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑๐)

    เวลา ๐๗.๐๐ น. พิธีทำบุญตักบาตร

    เวลา ๐๙.๐๐ น. พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี


    วัดเทียบศิลาราม หมู่ที่ ๑๘
    บ้านหลักหินใหม่ ตำบลบักดอง
    อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

    ในนามวัดเทียบศิลาราม และพุทธศาสนิกชนชาวบ้านหลักหินใหม่ขอเชิญพุทธศาสนิกช นผู้มีจิตศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาร่วมเป็นเจ้าภาพทอด กฐินสามัคคีสร้างศาลาปฏิบัติธรรมในวันที่ ๒๓ - ๒๕ ตุลาคม ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึง ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๒


    ทอด ณ วัดเทียบศิลารามหมู่ที่ ๑๘ บ้านหลักหินใหม่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีกำหนดการดังนี้


    ขออำนาจคุณพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คุณพระธรรมทั้งปวง คุณพระสงฆ์ทั่วพื้นปฐพี จงเป็นพลวะ เป็นตบะ เป็นเดชะ เป็นปัจจัยอำนวยอวยชัยให้บรรดาญาติโยมผู้ที่ได้ร่วมส ร้างศาลาแห่งนี้ จงนิราศทุกข์ นิราศโศก นิราศภัย มีอายุยืนนาน มีผิวพรรณผุดผ่องผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ มีกำลังกายกำลังใจ ประกอบการงานสิ่งใดสำเร็จลุล่วงได้ดั่งใจปรารถนา คำว่าไม่มีจงอย่าได้พบพาน อันความยากจนจงอย่าได้พบเจอ มีศีลมีธรรมประจำใจจงทุกคนทุกท่าน เทอญ.

    รวมเป็นเจ้าภาพกฐินได้ที่


    ชื่อบัญชี พระสุพิน อตฺตสนฺโตธนาคารกรุงไทย สาขาขุนหาญ

    บัญชีเลขที่ 326-0-16077-9 ออมทรัพย์ ( โอนเงินเข้าบัญชีแล้วกรุณาโทรแจ้ง ฯ )

    โทรศัพท์ 085-657-8676

    หรือ .. pharasupinattasanto@gmail.com

    http://www.wattiabsilaram.net/upload/showthread.php?t=3736
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2009
  3. พระครูวินัยธรสุพิน

    พระครูวินัยธรสุพิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,016
    ค่าพลัง:
    +12,307
    กำหนดการ

    วันศุกร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๐)

    เวลา ๑๓.๐๐ น. พิธีบวชชี-พราหมณ์

    เวลา ๑๙.๐๐ น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ สมโภชองค์กฐิน

    วันเสาร์ที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๐)

    เวลา ๑๑.๐๐ น. ร่วมถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ-สามเณร

    เวลา ๑๑.๕๔ น. พิธีทอดถวายองค์กฐิน

    เวลา ๑๒.๐๐ น. พระสงฆ์อนุโมทนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑๐)

    เวลา ๐๗.๐๐ น. พิธีทำบุญตักบาตร

    เวลา ๐๙.๐๐ น. พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี
     

แชร์หน้านี้

Loading...