ตัดเศียรพระพันปี ขายฝรั่ง ภาพสลักในถ้ำ บนเขาถมอรัตน์ เมืองศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 25 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,591
    0b8a2e0b8a3e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b1e0b899e0b89be0b8b5-e0b882e0b8b2e0b8a2e0b89de0b8a3e0b8b1.jpg
    ที่มา คอลัมน์สุวรรณภูมิในอาเซียน, หน้า 13 มติชนรายวัน 25 เม.ย.62
    ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ

    เกือบ 60 ปีมาแล้ว ความพินาศย่อยยับเกิดขึ้นกับแหล่งศิลปกรรมล้ำค่ามหาศาล ที่เมืองศรีเทพ ในถ้ำเขาถมอรัตน์ อ. ศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์ เป็นความสูญเสียมรดกวัฒนธรรมครั้งใหญ่หลวง (อีกครั้งหนึ่ง) ของท้องถิ่น, ของสัมคมไทย, และของภูมิภาคอุษาคเนย์

    แต่ถูกลืมแล้ว ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้อีกนานแล้ว

    ทอดน่องท่องเที่ยว ปีนเขาเข้าถ้ำ ภาคประชาชนคนท้องถิ่นศรีเทพ เพชรบูรณ์ และเครือข่าย อาจร่วมด้วยช่วยกันทำนิทรรศการแบ่งปันข้อมูลเพื่อสาธารณะไว้บนพื้นที่เชิงเขาถมอรัตน์ (เช่น หมู่บ้าน, โรงเรียน, วัด ฯลฯ) บอกเล่าเรื่องราวครั้งนั้นด้วยภาพถ่ายเก่า และภาพวาด รวมทั้งสิ่งของ (ถ้ามี)

    ผนวกประวัติความเป็นมาของภาพสลักในถ้ำ ซึ่งเกี่ยวข้องความเป็น “ทวารวดี” อย่างแท้จริงของเมืองศรีเทพ

    ทั้งหมดนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกระตุ้นกิจกรรมทอดน่องท่องเที่ยวปีนเขาเข้าถ้ำถมอรัตน์ล้ำลึกดึกดำบรรพ์

    8a2e0b8a3e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b1e0b899e0b89be0b8b5-e0b882e0b8b2e0b8a2e0b89de0b8a3e0b8b1-1.jpg
    แผนผังสังเขปภาพสลักบนผนังในถ้ำพระบนเขาถมอรัตน์ [แผนผังจากบทความเรื่อง “ความพินาศของภาพจำหลัก ที่ถ้ำเขาถมอรัตน์ ตำบลสระกรวด อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูร” ของ นิคม มูสิกะคามะ พิมพ์ใน นิตยสารศิลปากร ปีที่ 12 เล่ม 3 (กันยายน 2511) หน้า 55-72]
    8a2e0b8a3e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b1e0b899e0b89be0b8b5-e0b882e0b8b2e0b8a2e0b89de0b8a3e0b8b1-2.jpg
    เศียรพระพุทธรูปจากถ้ำเขาถมอรัตน์


    ตัดเศียรพระ ขายฝรั่ง

    เมื่อ พ.ศ. 2503 คนร้ายจำนวนหนึ่งปีนป่ายขึ้นเขาถมอรัตน์ไปทำลายศิลปกรรม โดยตัดเศียรและสกัดพักตร์พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์

    แล้วลักลอบขนทั้งหมดพร้อมชิ้นส่วนอื่นๆ ที่หักพังเหล่านั้น ลงจากภูเขาไปขายฝรั่งนักสะสมและค้าของเก่าในกรุงเทพฯ

    ต่อมา พ.ศ. 2505 กรมศิลปากรตรวจสอบรู้เรื่องการทำลายศิลปกรรมล้ำค่านั้น แล้วสืบจนรู้ว่าเก็บไว้ในสถานที่แห่งหนึ่งกลางกรุงเทพฯ จึงแจ้งความตำรวจ ทั้งในท้องที่ จ. เพชรบูรณ์ และในกรุงเทพฯ

    แล้วติดตามทวงถามและกดดันผู้ครอบครองโบราณวัตถุ จนได้คืนเกือบหมดโดยผู้ครอบครองแอบส่งคืนไม่บอกใคร เอาไปวางไว้บริเวณหน้าประตูพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ใกล้สนามหลวง

    [เคยจัดแสดงไว้ในห้องทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างปิดซ่อมแซม]

    ศิลปกรรมพันปี พินาศย่อยยับ

    พระพุทธรูปกับพระโพธิสัตว์ (ที่ถูกทำลาย) มีอายุเก่าแก่มากกว่าพันปีแล้ว ซึ่งเป็นภาพสลักที่ผนังถ้ำอย่างวิจิตรพิสดาร ฝีมือช่างแบบทวารวดีเมื่อหลัง พ.ศ. 1000

    ศิลปกรรมเก่าแก่เหล่านี้นอกจากฝีมือช่างงดงามล้ำลึกแล้ว ยังเป็นหลักฐานสำคัญอย่างยิ่งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยต้นๆ ของไทย และของสุวรรณภูมิในภูมิภาคอุษาคเนย์

    8a2e0b8a3e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b1e0b899e0b89be0b8b5-e0b882e0b8b2e0b8a2e0b89de0b8a3e0b8b1-3.jpg

    เขาถมอรัตน์ (อ. ศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์) ด้านทิศใต้ มีทางขึ้นเขาอ้อมไปเข้าถ้ำพระด้านทิศเหนือ (ภาพจากโดรนมติชนทีวี)

    ถ้ำศักดิ์สิทธิ์ บนเขาถมอรัตน์ เมืองศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์

    1. แลนด์มาร์กศักดิ์สิทธิ์ เขาถมอรัตน์ เห็นไกลๆ (จากทางทิศใต้) รูปสามเหลี่ยม ยอดแหลม คล้ายปิระมิดสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนสมัยแรกเมื่อหลายพันปีมาแล้ว (ถ้ามองจากทิศทางอื่นจะเห็นเป็นรูปอื่นไม่เหมือนปิระมิด)

    เป็นภูเขาหินปูนตั้งโดดๆ อยู่กลางทุ่งนาโล่งๆ ลักษณะแตกต่างจากบรรดาภูเขาลูกอื่นๆ บริเวณนั้นในหุบเขาเพชรบูรณ์

    2. เฮี้ยน บนเขาถมอรัตน์มีถ้ำที่คนแต่ก่อนเชื่อว่าเฮี้ยน เพราะเป็นที่สิงสู่ของผีบรรพชน จึงเป็นที่ยำเกรงของคนนับถือศาสนาผี โดยมีหมอมดหมอขวัญ (เพศหญิง) ทำพิธีกรรมสื่อสารกับผีบรรพชนหลายพันปีมาแล้ว ก่อนติดต่ออินเดีย

    3. ฤๅษี หลังติดต่อรับอารยธรรมอินเดีย มีคนพื้นเมือง (เพศชาย) บำเพ็ญตนเป็นกึ่งนักบวช เรียกฤๅษีหรือดาบส ทำพิธีกรรมในถ้ำเขาถมอรัตน์ตามความเชื่อดั้งเดิมผสมกับความเชื่อที่รับมาใหม่

    4. ภาพสลัก ต่อมาได้รับยกย่องเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาพุทธปนศาสนาผี แล้วสลักภาพบนผนังถ้ำเป็นพระพุทธรูปกับพระโพธิสัตว์ ฝีมือช่างแบบทวารวดี ราวหลัง พ.ศ. 1000

    5. ทำลายภาพสลัก คนร้ายจำนวนหนึ่งตัดเศียรและสกัดพักตร์พระพุทธรูปกับพระโพธิสัตว์ ฝีมือช่างแบบทวารวดี จากผนังถ้ำเขาถมอรัตน์ เมื่อ พ.ศ. 2503

    กรมศิลปากร ติดตามได้คืนบางส่วน เมื่อ พ.ศ. 2505

    8a2e0b8a3e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b1e0b899e0b89be0b8b5-e0b882e0b8b2e0b8a2e0b89de0b8a3e0b8b1-4.jpg เศียรพระโพธิสัตว์ จากถ้ำเขาถมอรัตน์

    อดีตอธิบดีกรมศิลปากร บันทึกเหตุการณ์

    นิคม มูสิกะคามะ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ผู้บุกเบิก “อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร”) รวบรวมแล้วเรียบเรียงตามพยานหลักฐาน เรื่อง “ความพินาศของภาพจำหลัก ที่ถ้ำเขาถมอรัตน์ ตำบลสระกรวด อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูร” [พิมพ์ใน นิตยสาร ศิลปากร ปีที่ 12 เล่ม 3 (กันยายน 2511) หน้า 55-72] ว่า

    กรมศิลปากรสำรวจพบการทำลายในถ้ำ จึงแจ้งความสถานีตำรวจ เมื่อ พ.ศ. 2505 (ขณะนั้นถ้ำพระ เขาถมอรัตน์ และเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่ อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์)

    หลังจากนั้น กรมศิลปากรตรวจพบแหล่งเก็บซ่อนในซอยเกษมสันต์ 2 หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ (ปัจจุบันใกล้ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ ย่านปทุมวัน)

    [​IMG] [​IMG]

    ตำรวจตามล่าและกดดันจนฝรั่งกลัวถูกจับ เลยแอบส่งคืนเงียบๆ ไว้หน้าพิพพิธภัณฑ์ ใกล้สนามหลวง กรุงเทพฯ

    เมื่อกรมศิลปากรได้รับทรัพย์แผ่นดินคืนมาแล้ว จึงได้รายงานให้กระทรวงศึกษาธิการทราบ แล้วมีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (หนังสือกระทรวงศึกษาธิการที่ 21946/2505 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2505) มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

    ทำลายภาพสลักในถ้ำเขาถมอรัตน์

    “ด้วยกรมศิลปากรรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2505 เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 3 ได้ไปสำรวจโบราณสถานบริเวณเขาถมอรัตน์ เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียน —-ได้พบว่าพระพุทธรูปศิลาและรูปพระโพธิสัตว์ ศิลปทวารวดี ที่จำหลักติดผนังภายในถ้ำพระบนเขาถมอรัตน์ ได้ถูกคนร้ายทำลายโดยสกัดเอาพระเศียรและพระหัตถ์ไปทั้งหมดรวม 11 องค์ และสกัดทำลายองค์พระพุทธรูปพังเสียหาย 2 องค์—-

    เจมส์ ทอมสัน ไม่คืน

    ต่อมากรมศิลปากร ทราบว่าพระเศียรพระพุทธรูปและรูปพระโพธิสัตว์ที่คนร้ายลักสกัดไปนี้ ได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของนายเจมส์ ทอมสัน บ้านเลขที่ 6 ซอยเกษมสันต์ 2 หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร รวม 6 พระเศียร

    จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปติดต่อกับนายเจมส์ ทอมสัน เมื่อวันที่ 13 กันยายน โดยชี้แจงให้ทราบว่า พระเศียรพระพุทธรูป 6 พระเศียร ซึ่งอยู่ในครอบครองของเขานั้น เป็นพระเศียรที่ถูกคนร้ายลักสกัดเอามาจากในถ้ำพระบนเขาถมอรัตน์ และทางหน่วยศิลปากรที่ 3 ได้แจ้งความไว้ที่นายอำเภอวิเชียรบุรีแล้ว ขอให้เขาคืนให้แก่กรมศิลปากรเพื่อนำมาเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติในพิพิธภัณฑ์สถานฯ ต่อไป

    แต่นายเจมส์ ทอมสัน ไม่ยอมคืนให้โดยอ้างว่าตนซื้อพระเศียรพระพุทธรูปเหล่านี้มาโดยชอบ

    8a2e0b8a3e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b1e0b899e0b89be0b8b5-e0b882e0b8b2e0b8a2e0b89de0b8a3e0b8b1-5.jpg พระพุทธรูปจำหลักในถ้ำเขาถมอรัตน์ซึ่งถูกลักลอบสกัดทำลาย

    ฝรั่งเล่นแง่กฎหมาย

    กรมศิลปากรจึงได้มีหนังสือติดต่อแจ้งความไปยังสถานีตำรวจนครบาลปทุมวันเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2505 ขอให้ทางตำรวจดำเนินการต่อไป

    วันที่ 10 ตุลาคม ได้ไปติดต่อกับ ร.ต.อ. วิโรจน์ เปาอินทร์ สารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน เจ้าของท้องที่ซึ่งของกลางปรากฏอยู่แล้วได้พร้อมกับเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรไปดูของกลางที่บ้านนายเจมส์ ทอมสัน และแจ้งให้นายเจมส์ ทอมสัน ทราบว่าทางกรมตำรวจสงสัยว่าโบราณวัตถุและศิลปวัตถุบางชิ้นที่อยู่ในครอบครองของเขาจะได้มาโดยมิชอบ จำต้องขอทำการสอบสวน และขอยึดของกลางซึ่งมีพระเศียรพระพุทธรูป 4 พระเศียร—-เศียรพระโพธิสัตว์ 3 เศียร—-และพระหัตถ์พระพุทธรูป 6 พระหัตถ์

    แต่นายเจมส์ ทอมสัน ไม่ยอมให้สอบสวนและยึดของกลางดังกล่าว โดยอ้างว่าตนเป็นชาวต่างประเทศ จำเป็นต้องรอให้ทนายของตนมาเสียก่อน และหาทางประวิงเวลาไม่ยอมพบเจ้าหน้าที่

    ซึ่งเจ้าหน้าที่ร่วมกันพิจารณาเห็นว่าพอจะให้โอกาสได้ จึงยังไม่เร่งรัดดำเนินการไปโดยทันทีทันใด

    8a2e0b8a3e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b1e0b899e0b89be0b8b5-e0b882e0b8b2e0b8a2e0b89de0b8a3e0b8b1-6.jpg

    พระหัตถ์พระพุทธรูป จากถ้ำเขาถมอรัตน์ [รูปทั้งหมดจากบทความเรื่อง “ความพินาศของภาพจำหลัก ที่ถ้ำเขาถมอรัตน์ ตำบลสระกรวด อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูร” ของ นิคม มูสิกะคามะ พิมพ์ใน นิตยสารศิลปากร ปีที่ 12 เล่ม 3 (กันยายน 2511) หน้า 55-72]

    ขอแรงกองปราบ

    กรมศิลปากรเกรงว่าของกลางอาจจะถูกโยกย้ายหรือเปลี่ยนมือไปที่อื่นได้ จึงได้แจ้งไปยังผู้บังคับการกองปราบปรามสามยอด เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ขอให้ช่วยพิจารณาดำเนินการในทางที่สมควรเพื่อป้องกันมิให้โบราณวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของชาติต้องถูกซ่อนเร้นหรือโยกย้ายไปที่อื่นจนยากแก่การติดตามอีกทางหนึ่งด้วย

    ฝรั่งยอมส่งคืน

    ครั้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม นายเจมส์ ทอมสัน ได้นำพระเศียรพระพุทธรูปและเศียรพระโพธิสัตว์ กับชิ้นส่วนหักพังของพระพุทธรูปดังกล่าวไปมอบให้กรมศิลปากร เพื่อยกให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และขอระงับเรื่อง (ดังสำเนาหนังสือของนายเจมส์ ทอมสัน ที่มีถึง ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล)

    จดหมาย ของ นายเจมส์ ทอมสัน

    วันที่ 11 ตุลาคม 2505 นายเจมส์ ทอมสัน ได้มีจดหมาย ผ่านทาง ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล (ขณะนั้นเป็นภัณฑารักษ์เอก กองโบราณคดี กรมศิลปากร ต่อมาดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) ว่า

    “กระหม่อมได้นัดให้นายวิทยามารับเศียรหินปูน เมื่อเวลา 14 น. แต่ไม่ปรากฏว่านายวิทยา หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจไปรับตามวันเวลาดังกล่าว ดังนั้นกระหม่อมจะได้ให้คนขับรถนำเศียรเหล่านั้นไปมอบให้ในวันศุกร์ต่อไป…

    ถ้าจะนำสิ่งของเหล่านี้ออกแสดงในพิพิธภัณฑสถาน กระหม่อมไม่ประสงค์จะออกนามกระหม่อม นอกจากนี้ยังมีพระพักตร์ เศียรที่ชำรุดและอื่นๆ รวมอยู่ในหีบด้วย ของเหล่านี้ได้มาจากในถ้ำ 2 แห่ง บนเขาถมอรัตน์ กระหม่อมยังมีส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูปนาคปรกศิลา (ประมาณ 28 ชิ้น) กระหม่อมเข้าใจว่ามาจากบริเวณเดียวกัน ซึ่งอาจมีผู้ทิ้งลงมาจากหน้าผา ถ้าพิพิธภัณฑสถานสนใจ กระหม่อมจะส่งมาให้ในโอกาสต่อไป”

    แต่รุ่งขึ้นวันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม 2505 นายเจมส์ ทอมสัน ได้มอบให้คนขับรถนำโบราณศิลปวัตถุมามอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีบัญชีสิ่งของที่ส่งมาโดยสรุป ดังนี้

    1. พระเศียรพระพุทธรูป สมัยทวารวดี 4 ชิ้น

    2. พระเศียรพระโพธิสัตว์ สมัยทวารวดี 3 ชิ้น

    3. พระหัตถ์พระพุทธรูป 6 ชิ้น

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1466236
     

แชร์หน้านี้

Loading...