ถ้าเราไปยืนอ่านหนังสือตามร้านหนังสือจะผิดศีลข้อ2มั้ยครับ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Candle, 13 กันยายน 2005.

  1. Candle

    Candle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2004
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +909
    ถ้าเราไปยืนอ่านหนังสือตามร้านหนังสือจะผิดศีลข้อ2มั้ยครับ ยอมรับตรงๆครับว่าเคยทำครับ ตอนนี้ก็ยังทำอยู่บ้าง เลยอยากถามมิตรธรรมทั้งหลายครับว่าผิดมั้ย
    ผมให้ข้อสังเกตครับว่า

    หนังสือที่แกะห่อพลาสติกแล้วนี่ หมายถึงกลายๆว่าให้อ่านได้ใช่มั้ยครับ ถูกใจแล้วค่อยซื้อ(ผมคิดของผมเอง)

    1.แต่บางทีผมไปยืนอ่านหนังสือที่ไม่ได้ห่อพลาสติกไว้ แล้วผมอ่านบางตอนน่ะ
    ครับ(ยืนอ่านจนพอใจ แต่ไม่ซื้อเพราะว่าเราอยากอ่านแค่นิดเดียวเอง จะซื้อก็ไม่
    คุ้มน่ะครับ) แบบนี้ผิดศีลหรือเปล่าครับ

    2.หนังสือที่ยังไม่แกห่อพลาสติก หมายถึงเค้าไม่อยากให้อ่านก่อน แต่ถ้ามีคนไป
    แอบแกะออก แล้วคนอื่นมาอ่านทีหลัง คนที่มาอ่านทีหลังนี่ก็จะผิดศีลด้วยใช่มั้ย
    ครับ(คนที่มาอ่านทีหลังก็รู้ครับว่าหนังสือเล่มนั้นห่อพลาสติกอยู่ แต่อยากอ่าน
    เหมือนกัน)

    ที่ผมสงสัยคือว่าผิดศีลคือการลักทรัพย์ใช่มั้ยครับ แล้วทีนี้นี่ผมยืนอ่านเฉย ๆ จะเป็นการผิดศีลข้อ2มั้ยครับ

    ปล.ผมมีข้อที่คิดไว้ในใจครับ แต่อยากถามมิตรธรรมเพื่อความแน่ใจครับ


    เจริญในธรรมครับ
     
  2. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    ลองอ่านดูนะครับ แล้วจะพอสรุปได้ว่ากรณีนี้ไม่น่าจะผิดศีล

    หนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี วินัยมุข เล่ม ๑ หน้าที่ ๓๐/๒๗๗

    สิกขาบทที่ ๒ ว่า อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้
    เป็นส่วนแห่งโจรกรรม จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาจับโจรได้
    แล้วฆ่าเสียบ้าง จำขังไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยปรับโทษว่า เจ้า
    เป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมยดังนี้ เพราะ
    ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อัน
    เจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
    ทรัพย์ในคัมภีร์วิภังค์วินิจฉัยไว้มากหลายชนิด ในที่นี้ จักจัดเป็น
    หมวดแสดง เพื่อกำหนดง่าย. ทรัพย์ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์นั้นรวม
    เข้าได้ ๒ ประเภท เป็นสังหาริมะ ของเลื่อนที่ได้ ๑ เป็นอสังหาริมะ
    ของเลื่อนที่ไม่ได้ ๑. ทรัพย์ที่เป็นสังหาริมะนั้น ได้แก่สัตว์ต่างชนิด
    เป็นต้นว่าปศุสัตว์ เช่น แพะ แกะ สุกร และสัตว์พาหนะ เช่น
    ช้าง ม้า โค กระบือ เรียกสวิญญาณกะก็มี. ได้แก่พัสดุไม่มีวิญญาณ
     
  3. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    เรียกอวิญญาณกะ เป็นของตั้งอยู่ลอย ๆ ไม่ติดอยู่กับที่ เช่น เงินทอง
    ผ้านุ่งห่มแลเครื่องใช้สอยเป็นต้นก็มี. ที่เป็นอสังหาริมะนั้น ทรัพย์
    โดยตรงได้แก่ที่ดินอย่างเดียว โดยอ้อมนับของที่ติดเนื่องอยู่กับที่นั้นด้วย
    เช่นต้นไม้และเรือนเป็นต้น. ทรัพย์ใดอันคนอื่นเข้ากำหนดถือเอา
    คือถือกรรมสิทธิ์ ถือเป็นของตน หรือไม่ใช่ของบุคคล แต่มีผู้เฝ้ารักษา
    เช่นเป็นของสาธารณ์ทั่วไปแก่หมู่ มีของสงฆ์เป็นตัวอย่าง หรือเป็น
    ของกลางสำหรับสถาน มีของเจดีย์เป็นตัวอย่าง อันเจ้าของก็ดี อัน
    เจ้าหน้าที่ก็ดี ไม่ได้ให้แล้ว ไม่ได้สละให้เป็นสิทธิ์แล้ว ทรัพย์นั้น
    ชื่อว่าเจ้าของไม่ได้ให้แล้ว. เพราะคำว่า จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี นั้น
    ให้หยั่งสันนิษฐานว่า ทรัพย์นั้นอยู่ในความเก็บงำของเจ้าของ เช่น
    เงินทองก็ดี ทอดทิ้งไว้ในที่อื่น เช่นต้นไม้ตัดลงแล้ว แต่ยังไม่ได้เข็น
    ออกจากป่าก็ดี นับว่าทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ทั้งนั้น.
    การถือเอาทรัพย์นั้นเป็นส่วนแห่งโจรกรรมนั้น มีอาการต่าง ๆ
    ตามชนิดของทรัพย์. การถือเอาทรัพย์เป็นสังหาริมะ กำหนดว่าถึงที่สุด
    ด้วยทำให้เคลื่อนจากฐาน มีนัยดังต่อไปนี้ :-
    ๑. ทรัพย์เป็นสังหาริมะตั้งอยู่ลอยนั้น มีฐานต่าง ๆ กัน ฝังอยู่
    ในแผ่นดินก็มี ตั้งอยู่บนพื้นก็มี แขวนอยู่ในอากาศก็มี วางอยู่บน
    ของอื่น เช่นบนเตียงหรือบนราวก็มี อยู่ในน้ำก็มี อยู่ในของเลื่อน
    ทีได้อีกต่อหนึ่งก็มี เช่นในเรือหรือในยาน. ฐานของ ๆ นั้นกำหนด
    ด้วยหน้าของตั้งทับอยู่ เช่นหีบ กำหนดเท่ากับหีบเป็นตัวอย่าง. ถ้า
    ของที่จดดินนั้น ไม่จดราบดังหีบ เช่นโต๊ะ ๓ ขา เก้าอี้ ๔ ขา ดังนี้
     
  4. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    เรียกว่ามีฐาน ๓ มีฐาน ๔. ภิกษุมีไถยจิตถือเอาทรัพย์นั้น แต่
    พอทำของให้พ้นจากที่ ก็ต้องอาบัติถึงที่สุด. ถ้าเป็นของตั้งอยู่ในของที่
    จะเลื่อนได้อีกต่อหนึ่ง เช่นในเรือ เลื่อนเอาไปทั้งของที่รองอยู่ก็
    เหมือนกัน. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่าลัก.
    ๒. ทรัพย์เช่นนั้นกำลังคนนำไป มีอวัยวะของคนเป็นฐาน พึง
    กำหนดโดยอาการที่ทูนศีรษะ แบกบนบ่า กระเดียดที่สะเอว หรือหิ้ว
    หรือถือที่มือ. ภิกษุมีไถยจิตชิงเอาทรัพย์นั้น พอพ้นจากอวัยวะอัน
    เป็นฐาน ก็ต้องอาบัติ. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่าชิงหรือวิ่งราว.
    ในคัมภีร์วิภังค์แก้บทภาระว่า ภิกษุถือเอาของแห่งคนอื่นไป
    มีไถยจิต ปลงของลงจากฐาน เช่นทูนศีรษะ เอาลงที่บ่าเป็นต้น
    ต้องอาบัติถึงที่สุด. ข้อนี้ก็อย่างเดียวกับรับของฝาก เพราะต้องเป็น
    ผู้สำนอง คือจะต้องรับผิดหรือรับใช้เมื่อของหาย ควรจะปรับด้วย
    อย่างอื่น. ถ้าจะว่าในทางบ้านเมือง หากจะทำอย่างนั้น อาการลัก
    ยังไม่ปรากฏ ถือของเมื่อยเข้า เขาอาจจะเปลี่ยนฐานเปลี่ยนมือ
    หรือวางพักด้วยใจสุจริตก็ได้ ถ้าอวหารมีได้ในทางนี้ คนดี ๆ ก็จะถูกหา
    กันงอมแงม ดูไม่เป็นฐานะเลย. ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า คนอื่นถือ
    ภิกษุชิงจากฐาน ซึ่งเรียกว่า ชิงหรือวิ่งราว.
    ๓. ปศุสัตว์ก็ดี สัตว์พาหนะก็ดี มีเท้าของมันเป็นฐาน. ภิกษุ
    มีไถยจิตขับต้อนหรือจูงให้มันไป พอเท้าที่ ๔ ย่างพ้นจากฐาน ก็ต้อง
    อาบัติ เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ลักต้อน. ถ้าเป็นสัตว์เหล็กที่จะพึง
    อุ้มได้ ถือได้ด้วยมือ เช่นไก่ ภิกษุมีไถยจิตต้องไป จัดเข้าในบทนี้
    ถ้าอุ้มเอาไป จัดเข้าในบทลัก.
     
  5. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    ในวินีตวัตถุแห่งสิกขาบทนี้ แสดงอทินนาทานเข้าในประเภทนี้
    อีก ๒ อย่าง คือ :-
    ๔. คนถือของตก ภิกษุมีไถยจิตเข้าแย่งเอา พอหยิบขึ้นจากที่
    ก็ต้องอาบัติ. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า แย่ง.
    ๕. เวลาแจกของ ภิกษุมีไถยจิตสับฉลากชื่อตนกับชื่อภิกษุอื่น
    ในกองของ ด้วยหมายจะเอาลาภของภิกษุอื่นที่มีราคากว่า พอสับ
    เสร็จก็ต้องอาบัติ. เอาของปลอมสับเอาของดี จัดเข้าในบทนี้เหมือน
    กัน. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ลักลับ.
    การถือเอาทรัพย์เป็นอสังหาริมะกำหนดว่า ถึงที่สุด ด้วยขาด
    กรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ ตัวอย่าง เช่น ภิกษุกล่าวตู่เพื่อจะเอาที่ดิน
    ของผู้ใดผู้หนึ่ง เจ้าของเป็นผู้มีวาสนาน้อย เถียงไม่ขึ้น ทอด
    กรรมสิทธิ์ของตนเสีย ภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุดในขณะนั้น ถ้าเจ้าของ
    ยังไม่ปล่อยกรรมสิทธิ์ ฟ้องภิกษุในศาล เพื่อเรียกที่ดินคืน ต่าง
    เป็นความแก้คดีกัน ถ้าเจ้าของแพ้ ภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุด. ภิกษุเป็น
    โจทก์ฟ้องความเอง เพื่อจะตู่เอาที่ดินก็เหมือนกัน. แต่คำที่ว่า เจ้าของ
    แพ้ความนั้น พึงเข้าใจว่า แพ้ในศาลสูงสุดที่คดีเป็นจบลงเท่านั้น.
    เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ตู่. ภิกษุปักเขตรุกเอาที่ดินของเขา ท่านว่า
    ต้องอาบัติถึงที่สุดในขณะทำสำเร็จ แต่น่าจะเห็นว่าเจ้าของไม่รู้ เป็น
    อันตู่กรรมสิทธิ์ด้วยทีเดียว. ข้อนี้พระวินัยธรพึงพิจารณาดูเถิด ถ้า
    รื้อถอนทรัพย์เป็นอสังหาริมะโดยอ้อออกจากที่ เช่นฟังต้นไม้ หรือ
     
  6. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    รื้อเรือน กำหนดว่าถึงที่สุดด้วยทำให้เคลื่อนที่สำเร็จ ดุจนัยในทรัพย์
    เป็นสังหาริมะ.
    ยังมีอวหารที่จะพึงกำหนดด้วยอาการอย่างอื่น จากทรัพย์ อยู่อีก
    กำหนดด้วยกรรมสิทธิ์บ้าง ด้วยอย่างอื่นบ้าง ดังต่อไปนี้ :-
    ภิกษุรับของฝาก มีไถยจิตคิดเอาเสีย ครั้นเจ้าของมาขอคืน
    กล่าวปฏิเสธว่าไม่ได้รับไว้ หรือได้ให้คืนแล้วก็ตาม เช่นนี้พึงกำหนด
    ต้องอาบัติด้วยขาดกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ ดังกล่าวแล้วในบทตู่นั้น.
    เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ฉ้อ. หากจะมีคำถามสอดเข้ามาว่า เหตุ
    ไฉนไม่กำหนดเป็นอาบัติ ด้วยทำให้เคลื่อนจากฐาน. แก้ว่า อวหาร
    ที่กำหนดเป็นอาบัติ ด้วยทำให้เคลื่อนจากฐานนั้น เพ่งอาของที่
    ภิกษุไม่ต้องสำนอง คือรับผิดหรือรับใช้ในเมื่อหายไปแล้ว ส่วนของ
    ที่ภิกษุรับฝากไว้นั้น ภิกษุต้องเป็นผู้สำนอง คือต้องรับใช้ในเมื่อ
    ของนั้นหาย เหตุดังนั้น ในการรับฝาก ท่านจึงกำหนดเป็นอาบัติ
    ด้วยขาดกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ ที่ภิกษุนั้นพ้นจากความเป็นผู้จะต้อง
    สำนองต่อไป.
    ภิกษุมีกรรมสิทธิ์ในอันรักษาของซึ่งตั้งอยู่ในที่ใด เช่น ภิกษุผู้เป็น
    ภัณฑาคาริก มีหน้าที่รักษาเรือนคลัง แม้มีไถยจิตถือเอาของใน
    ที่นั้น ยังไม่นำออกไปพ้นเขตเพียงใด อาบัติยังไม่ถึงที่สุดเพียงนั้น
    ต่อเมื่อเอาออกพ้นเขตที่ตนมีกรรมสิทธิ์ในอันรักษานั้น อาบัติจึงถึง
    ที่สุด. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ยักยอก. อธิบายนี้อาศัยอวหาร
    เรียกชื่อว่าสังเกตวีตินามนะในอรรถกถา. ในที่นั้นท่านแสดงว่า ภิกษุ
     
  7. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    ทำปริกัปว่า ถ้ามีผู้เห็นตนถือของในเขตเพียงเท่านั้น ๆ จะไม่เอา
    จะทำเป็นชมเล่น เอาออกไปพ้นเขตนั้นได้แล้วจึงจะเอา. วินิจฉัย
    ดังนั้นความไม่ชัด เพราะในเวลาที่ทำปริกัปนั้น ยังไม่มีไถยจิต
    ลงโดยส่วนเดียว.
    ภิกษุนำของควรแก่ค่าภาษีมา จะผ่านที่เก็บภาษี ซ่อนของ
    เหล่านั้นเสีย หรือของมาก ซ่อนให้เห็นแต่น้อย ดังนี้ ต้องอาบัติ
    ถึงที่สุดขณะนำของนั้นล่วงพ้นเขตเก็บภาษี. เพื่อจำง่าย ควรเรียก
    ว่า ตระบัด. อวหารบทนี้แปลจากบทอื่นทั้งนั้น. บทอื่นเพ่งเอา
    ทรัพย์เป็นของผู้อื่น ภิกษุเอามาเป็นของตน บทนี้เพ่งทรัพย์ของตน
    แต่จะต้องเสียให้แก่ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ตนนำของผ่านเข้าไป. ข้อนี้
    แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายพระยอมนับถือกรรมสิทธิ์ของท่านผู้ครองบ้าน
    เมือง ในที่จะเก็บภาษีจากสินค้าทั้งหลาย เมื่อจะผ่านทางเข้าไป จึง
    จำจะต้องเสียทรัพย์ ซึ่งท่านจะพึงได้จากตนตามจำนวนสินค้า. กิริยา
    เช่นนี้ เป็นความเสียความหายแก่คนสามัญมาแล้ว จึงได้จัดเข้าไว้ใน
    พวกอาหาร ในคัมภีร์วิภังค์เรียกชื่อว่า สุงกฆาตะ.
    ภิกษุชักชวนกันไปทำโจรกรรม ลงมือบ้าง มิได้ลงมือบ้าง
    ต้องอาบัติถึงที่สุดด้วยกันทั้งนั้น. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ปล้น.
    อวหารมาในอรรถกถา ควรกล่าวไว้ในที่นี้ ๓ อย่าง คือ:-
    ภิกษุทำของปลอม เช่นทำเงินปลอม ทำทองปลอม ชั่งของ
    ตวงของด้วยเครื่องชั่งเครื่องตวงอันโกง ต้องอาบัติด้วยทำสำเร็จ. เพื่อ
    จำง่าย ควรเรียกว่า หลอกลวง.
     
  8. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    ภิกษุมีอำนาจข่มเหงเอาทรัพย์ผู้อื่น ดังราชบุรุษเก็บค่าอากร
    เกินพิกัด ต้องอาบัติถึงที่สุดในขณะได้ของมา. เพื่องำง่าย ควรเรียก
    ว่า กดขี่, อีกอย่างหนึ่ง ขู่ด้วยการทำร้ายให้เจ้าของทรัพย์จำต้องให้
    ซึ่งเรียกว่ากรรโชก ก็นับเข้าในบทนี้ บางทีจะชัดกว่า.
    ภิกษุเห็นของเขาทำตก มีไถยจิตเอาดินกลบเสีย หรือเอาของ
    มีใบไม้เป็นต้นปิดเสีย ต้องอาบัติในขณะทำสำเร็จ. เพื่อจำง่าย ควร
    เรียกว่า ลักซ่อน.
    ไม่ใช่แต่เพียงภิกษุทำเอง สั่งคนอื่นให้ทำอทินนาทาน เป็นส่วน
    โจรกรรมดังกล่าวแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องอาบัติเหมือนกัน.
    เหตุดังนั้น อาบัติในสิกขาบทนี้ ชื่อว่าต้องเพราะสั่งด้วย เรียก
    สาณัตติกะ. ส่วนอาบัติที่ต้องเฉพาะทำเอง เช่นอาบัติในสิกขาบทต้น
    เรียกอนาณัตติกะ แปลว่าไม่ต้องเพราะสั่ง แต่สั่งในที่นี้พึงเข้าใจว่า
    สั่งให้คนอื่นทำแก่คนอื่น ไม่นับสั่งให้ทำแก่ตน.
    ภิกษุมีไถยจิต สั่งให้เขาทำโจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อาบัติ
    ถึงที่สุดในขณะผู้รับใช้ทำโจรกรรมสำเร็จตามสั่ง ถึงกำหนดโดยอาการ
    ดังต่อไปนี้ :-
    สั่งต่อเดียวไม่มีปริกัป อาบัติถึงที่สุดขณะผู้รับใช้ทำโจรกรรม
    สำเร็จตามสั่ง ต้องด้วยกันทั้ง ๒ รูป ทั้งผู้สั่นทั้งผู้รับสั่ง. ครั้นสั่ง
    แล้ว แต่ได้ห้ามเสียก่อนแต่ผู้รับสั่งได้ลงมือทำการ แต่ผู้รับสั่งนั้น
    ขืนทำโดยพละตนเอง ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ต้องแต่ภิกษุผู้รับสั่ง.
    สั่งเจาะจงทรัพย์ แต่ผู้รับสั่งไพล่ลักเอาสิ่งอื่นมา ก็พึงรู้โดยนัยนี้. สั่ง
     
  9. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    ด้วยทำนิมิต ซึ่งเรียกว่าใช้ใบ้ มีขยิบตาหรือพยักหน้าเป็นต้น อาบัติ
    ถึงที่สุดในขณะที่ผู้รับสั่งเข้าในแล้วทำตามสั่งสำเร็จ ต้องด้วยกันทั้ง
    ๒ รูป ถ้าทำพลาดขณะไป ไม่จัดว่าได้ทำตามสั่ง ท่านจึงกล่าวว่า
    ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้สั่ง เป็นเฉพาะแก่ผู้ทำ. สั่งกำหนดเวลาให้ทำใน
    เช้าหรือในคำก็พึงรู้โดยนัยนี้. สั่งหลายต่อ เช่นภิกษุแดงสั่งภิกษุเขียว
    ให้บอกภิกษุดำ เพื่อทำโจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะสั่งต่อออก
    ไปอีกก็ตาม อาบัติถึงที่สุดในขนะภิกษุรูปหลังทำสำเร็จตามสั่งอันไม่
    ลักลั่น. ถ้าคำสั่งนั้นลักลั่นในระหว่าง เช่นภิกษุเขียวหาบอกภิกษุดำไม่
    ไพล่สั่งภิกษุขาวแทน เช่นนี้สั่งผิดตัว ผู้สั่งเดิมคือภิกษุแดงรอดตัว
    คงต้องอาบัติถึงที่สุดเฉพาะผู้ใช้กับผู้ทำ. สั่งหลาย ๆ ต่อ ผู้รับข้าม
    เสียบ้าง ต้องอาบัติเฉพาะภิกษุผู้เนื่องในลำดับ ที่เขาข้ามเสียในระหว่าง
    นั้น ไม่รู้ไม่เห็น ไม่ต้องอาบัติ.
    ภิกษุมีไถยจิต สั่งให้เขาทำโจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้
    สำนวนไม่จำกัดลงไป ซึ่งเรียกว่าพูดไม่ตายตัว แต่ชัดพอจะให้
    ผู้ฟังเข้าใจความประสงค์ของตน ผู้รับสั่งนั้นทำสำเร็จและเอาของมา
    ให้ตามปรารถนา แม้เช่นนี้ ภิกษุผู้สั่งนั้นก็ไม่พ้นอาบัติ. อธิบายนี้
    อาศัยอวหารชื่ออัตถสาธกะในอรรถกถา ซึ่งแปลว่ายังอรรถให้สำเร็จ.
    แต่ในอรรถกถานั้น ท่านหาได้อธิบายเช่นนี้ไม่ ท่านอธิบายไว้
    ๒ นัย อย่างหนึ่งว่า ได้แก่ภิกษุสั่งภิกษุไว้เสร็จทีเดียวว่า เมื่อใด
    อาจจะลักของชื่อนั้น จงลักมาเมื่อนั้น หากว่าของนั้นอันผู้รับสั่งจักลัก
    มาได้เป็นแท้แล้ว โดยไม่มีอันตรายในระหว่าง ผู้สั่งเป็นปาราชิกใน
     
  10. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    ขณะสั่ง ผู้ลักเป็นปาราชิกในขณะลัก. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเอา
    ของที่อาจจะดื่มน้ำมันได้ ทิ้งลงในหม้อน้ำมันของผู้อื่น พอของนั้น
    หลุดจากมือ ก็เป็นปาราชิก. ตามนัยก่อน ผู้สั่งเป็นปาราชิกก่อนทำ
    สำเร็จ ผิดจากบาลีที่กำหนดองค์ของสิกขาบทนี้ ทั้งอย่างไรจะรู้ได้ว่า
    ของนั้นผู้รับสั่งจักลักได้เป็นแน่แท้ อย่างไรก็ยังปรับอาบัติไม่ได้ กว่า
    ผู้รับใช้จะได้ทำสำเร็จ ดูเหมือนพูดเล่น. แต่น่าจะมีที่มุ่งหมาย ดัง
    ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาขึ้นข้อหนึ่ง เช่นภิกษุแดงเขียนจดหมายถึงภิกษุดำ
    ผู้อยู่ต่างถิ่น ซึ่งจะพึงเดินทางหลายวัน ส่งธนบัตรปลอมไปให้ ขอ
    ให้ช่วยใช้เพื่อได้ทรัพย์มาแบ่งกัน ในระหว่างที่จดหมายและธนบัตร
    ปลอมยังไปไม่ถึง ภิกษุแดงมีอันเป็น ตายเสียก็ดี หรือคิดจะหลบจาก
    อาบัติปาราชิก สึกเสียก็ดี จดหมายและธนบัตรปลอมนั้นไปถึงภิกษุดำ
    และเธอลวงใช้สำเร็จในภายหลัง ดังนี้ จะจัดว่าภิกษุแดงผู้สั่งเดิมต้อง
    ปาราชิกด้วยหรือไม่. ตายไปแล้วก็แล้วไป ทางที่จำเป็นจะวินิจฉัย
    นั้น ต่างว่า นายแดงผู้นั้นจับพลัดจับผลูเข้ามาอุปสมบทอยู่ในหมู่ภิกษุ
    จักคงให้อยู่ต่อไปหรือจักต้องถูกนาสนะ. ตามความเห็นของพระอรรถ-
    กถาจารย์ ท่านเห็นควรนาสนะเสีย แต่จะยกบทไหนขึ้นปรับเป็น
    ปัญหาอยู่ ท่านจึงเอามาจอดในบทอัตถสาธกะ แต่อันที่จริงจอด
    ในบทชื่อบุพพปโยคถูกกว่า แต่ท่านแก้เป็นการสั่งไปเสีย. อวหารข้อนี้
    ชอบกล จะรับรองก็ไม่เชิง จะปฏิเสธก็ไม่ได้ พระวินัยธรจงวินิจฉัย
    ดูเถิด. ส่วนเอาของที่ดื่มน้ำมันได้ ทิ้งลงไปในหม้อน้ำมันของผู้อื่น
    เห็นชัดทีเดียวว่า อธิบายผิด เพราะควรจะกำหนดด้วยเอาขึ้น
    จากหม้อ นับในอาการให้เคลื่อนที่.
     
  11. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    ในอรรถกถาแสดงอวหาร ๒๕ ต่างแต่ชื่อ แก้อรรถซ้ำไปซ้ำมา
    ป้วนเปี้ยน มีบทพอที่จะฟังได้อยู่บ้าง หรือบทพอจะเป็นทางพิจารณา
    ได้ชักมาไว้ในหนหลังแล้ว บทเหลือจากนั้น จักไม่กล่าวถึง ผู้ต้องการ
    รู้จงดูในบุพพสิกขาวัณณนาเถิด.
    หากจะมีคำถามสอดเข้ามาว่า อวหาร ๒๕ นั้นของพระอรรถ-
    กถาจารย์เอง เหตุไฉนท่านจักอธิบายป้วนเปี้ยน. มีคำแก้ว่า ไม่ใช่
    ของท่านเอง เก็บมาจากบาลีบ้าง บางทีจะเก็บชื่อมาจากกฎหมาย
    ของบ้านเมืองบ้าง เช่นอาการ ๓๒ อันเป็นอารมณ์แห่งกายคตาสตี-
    กัมมัฏฐาน ซึ่งพรรณนาไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เก็บเอามาจาก
    ตำราแพทย์ในครั้งนั้น แต่ท่านไม่เข้าใจอธิบายของเขา จึงคิดอธิบาย
    พอสมพยัญชนะ. ข้อที่เห็นว่าผิดได้ง่าย ๆ นั้น ชื่อหมวดว่านานา-
    ภัณฑปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ ซึ่งแจกอวหารบทละ ๕ ๆ
    เหมือนกัน ท่านแก้ว่า นานาภัณฑะนั้น ได้แก่ของทั้งมีวิญญาณ
    ทั้งไม่มีวิญญาณ ส่วนเอกภัณฑะนั้น ได้แก่ของมีวิญญาณ คือสัตว์
    ต่างชนิด. เมื่อเป็นเช่นนั้น น่าชวนให้คิดว่า แยกของมีวิญญาณไว้
    หมวดหนึ่งแล้ว เหตุไฉนไม่แยกเอาเฉพาะของไม่มีวิญญาณไว้อีก
    หมวดหนึ่งเล่า จักตามนัยนี้มิดีกว่าหรือ. เป็นการจริง ครั้นจะเอา
    ตามนั้น ชื่อพอจะแก้ได้ แต่บทอวหารแก้ยาก จึงต้องแก้พอของ
    ไปที พอให้สมอรรถแห่งนานาภัณฑะ ซึ่งแปลว่าของต่างกัน. ข้าพเจ้า
    สันนิษฐานเห็นว่า ๒ ชื่อนั้น กำหนดด้วยจำนวนแห่งทรัพย์. ทรัพย์
    สิ่งเดียวมีราคาเป็นวัตถุแห่งปาราชิก เรียกว่าเอกภัณฑะ แปลว่า
     
  12. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    รัพย์สิ่งเดียว. ทรัพย์สิ่งหนึ่ง ๆ อันมีราคาไม่ถึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก
    ภิกษุลักในคราวเดียวกันเอาตีราคารวมกันได้ เรียกนานาภัณฑะ แปลว่า
    ทรัพย์ต่างกันคือหลายสิ่ง. คำว่าต่างกันหรือต่าง ๆ ใช้หมายของ
    ชนิดเดียวกันแต่หลายสิ่งได้ มีอุทาหรณ์ดื่นในภาษาไทย. แม้จะเล็ง
    ของมีชนิดไม่เหมือนกันโดยเด็ดขาด ก็ยังถูกตามอธิบายนั้น. การที่
    จัดนานาภัณฑะไว้หมวดหนึ่งนั้น ก็เพื่อจะกันผู้ลักไม่ให้อ้างเลศว่า
    ของสิ่งหนึ่ง ๆ มีราคาไม่ถึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก ต้องอาบัติตาม
    วัตถุสิ่งหนึ่ง ๆ มีจำนวนมากหลายเท่าวัตถุเหล่านั้น. ข้อนี้ก็ดี ข้อที่กล่าว
    ไว้บ้างแล้วในหนหลังก็ดี พอเป็นเครื่องอ้างให้เห็นว่า อวหาร ๒๕
    ในอรรถกถาฟั่นเฝือนัก.
    ทรัพย์เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก ที่กำหนดไว้ในสิกขาบทว่า
    มีราคาเท่าทรัพย์เป็นวัตถุแห่งมหันตโทษแห่งโจรนั้น ในคัมภีร์วิภังค์
    นั้นเอง ตอนนิทานกล่าวว่าบาทหนึ่ง ตอนบทภาชนีย์กล่าวว่า ๕ มาสก,
    ตามมาตรรูปิยะที่ใช้อยู่ในแคว้นมคธ ณ ครั้นนั้น ๕ มาสกเป็นบาท
    หนึ่ง ๔ บาทเป็นกหาปณะหนึ่ง กหาปณะเป็นหลังมาตรา เช่น
    เงินบาทในกรุงสยาม ณ บัดนี้. รูปิยะที่ใช้อยู่ในต่างแคว้น มีอัตรา
    ไม่เหมือนกัน ต้องมีมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนอีกส่วนหนึ่ง. มาตรา
    รูปิยะในแคว้นมคธ ณ ครั้งนั้น จะสันนิษฐานเทียบกับมาตรารูปิยะใน
    บัดนี้ ย่อมรู้ได้ยาก จะเทียบบาทในแคว้นมคธ ณ ครั้นนั้น กับบาทของ
    เราในครั้งนี้ ด้วยสักว่าชื่อเหมือนกันก็ไม่ได้ มีทางที่พอจะกำหนด
    เป็นหลักฐานได้สะดวกกว่าอย่างอื่น คือในฎีกาทั้งหลายท่านแสดงไว้ว่า
     
  13. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    กหาปณะนั้น เป็นมาตราทองคำ ราคาเท่าทองคำหนัก ๒๐ มาสก
    มาสก ๑ มีราคาเท่าทองคำหนัก ๔ เมล็ดข้าวเปลือก. บาทหนึ่งเป็น
    ๑ เสี้ยวที่ ๔ ของกหาปณะ จึงมีราคา ๕ มาสก คือเท่าทองคำ
    หนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก. เพราะเป็นมาตราทองคำเทียบกับมาตรา
    เงิน จึงมีขึ้นมีลงไม่คงที่. เรื่องนี้ท่านพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด)
    ได้อธิบายไว้โดยพิสดารแล้วในบุพพสิกขาวัณณนา ผู้ต้องการรู้ละเอียด
    จงดุข้างท้ายแห่งคัมภีร์นั้นเถิด แต่พึงเข้าใจว่า ครั้งเรียงบุพพสิกขา-
    วัณณนานั้น ราคาทองคำเทียบกับราคาเงินสูงเพียง ๑๖ หนักเท่านั้น.
    เพราะเหตุนั้น ควรกำหนดทรัพย์เป็นวัตถุแห่งอาบัติในสิกขาบทนี้
    ดังต่อไปนี้ :-
    ทรัพย์มีราคาบาทหนึ่ง คือ ๕ มาสก เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก.
    ทรัพย์มีราคาหย่อนบาทลงมา แต่สุงกว่า ๑ มาสก เป็นวัตถุแห่ง
    อาบัติถุลลัจจัย. ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา เป็นวัตถุแห่ง
    อาบัติทุกกฏ. ในอรรถกถากล่าวไว้ว่า ของที่เก่าแล้วหรือใช้แล้ว
    ราคาย่อมตกลงมา แม้เป็นของใหม่ก็ยังควรตีราคาซึ่งเป็นไปอยู่ใน
    ประเทศและในกาลที่เกิดเหตุขึ้น. ทรัพย์สิ่งเดียวมีราคาหย่อนจากวัตถุ
    ปาราชิก รวมกันเข้าตีราคาปรับอาบัติที่สูงกว่าได้ ดังวินิจฉันแล้วใน
    บทว่านานาภัณฑะข้างต้น. ภิกษุมีไถยจิต ถือเอาทรัพย์มีราคาบาท
    หนึ่ง หรือยิ่งกว่า ต้องอาบัติปาราชิก. มีไถยจิตถือเอาทรัพย์มี
    ราคาหย่อนจากนั้น ต้องอาบัติตามวัตถุ.
    ภิกษุมีไถยจิต พยายามเพื่อจะถือเอาทรัพย์เป็นวัตถุแห่งปาราชิก
     
  14. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    แต่ทำไม่สำเร็จ เช่นจะลักเรือเขา ซึ่งล่ามโซ่ลั่นกุญแจไว้ กำลง
    งัดกุญแจไม่ทันจะออก เห็นคนเดินมาตกใจหนีไป เช่นนี้ ต้องอาบัติ
    เบาลงมาตามประโยคที่ทำเพียงไร. อาบัติอย่างนี้ เรียกว่า อาบัติ
    ในบุพพปโยค คืออาการเป็นเบื้องหน้าแห่งอันลัก. พึงกำหนดรู้
    อาบัติโดยประโยคนั้นดังนี้ :-
    ทำอวหารสำเร็จ ต้องปาราชิก ทำไม่สำเร็จ เป็นแต่เพียงทำ
    ของเป็นสังหาริมะ อันตั้งลอยอยู่ให้ไหวอยู่ในที่ เช่นยังเรอให้เลื่อน
    เข้าเลื่อนออกเล็กน้อยในเวลางัดกุญแจ ต้องถุลลัจจัย. ลักต้อนสัตว์
    ให้ย่างเท้าหน้า ๆ ต้องถุลลัจจัย. รื้อถอนของเป็นอสังหาริมะให้
    หลุดถอน เช่นลักฟันต้นไม้ อีกประโยค ๑ จะสำเร็จ ต้องถุลลัจจัย.
    ในการตู่ที่ดินและฉ้อเอาของฝาก ทำให้เจ้าของเกิดสงสัยเมื่อขณะ
    ทวงว่า จะไม่ได้คืนก็ดี เป็นความแพ้เจ้าของก็ดี ต้องถุลลัจจัย.
    เพื่อจำง่าย พึงกำหนดว่า อีกประโยค ๑ จะสำเร็จเป็นอาหาร เป็น
    ถุลลัจจัย. ในประโยคที่รองลงไปจากนั้น เป็นทุกกฏทั้งนั้น. ถ้าทรัพย์
    มีราคาไม่ถึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก อาบัติในบุพพปโยคเป็นทุกกฏทั้งนั้น
    [แต่ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าใจว่า เว้นไว้แต่มีบัญญัติเป็นพิเศษ เช่น
    ตัดต้นไม้ ต้องเป็นปาจิตตีย์]. แต่ในที่นี้ ตัดต้นไม้ ถอนหญ้า
    ขุดดิน ในคัมภีร์วิภังค์วางไว้เป็นอาบัติทุกกฏทั้งนั้น โดยฐานเป็น
    บุพพปโยคของอทินนาทาน. อาบัติในบุพพปโยคนี้ เมื่อต้องอาบัติ
    ที่หนักกว่าแล้ว นับแต่อาบัติที่หนักนั้นอย่างเดียว. เช่นภิกษุงัดกุญแจ
    เรือเมื่อกี้นี้ ต้องเพียงอาบัติถุลลัจจัย [โดยเข้าใจอยู่ว่าเรือคงไหว]
     
  15. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    พระวินัยธรพึงปรับเฉพาะอาบัติถุลลัจจัย ไม่พึงปรับอาบัติทุกกฏเพราะ
    เดินมา หรือจับเรือเป็นต้น.
    อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ เพราะเหตุนั้น ไม่มีอาบัติ
    แก่ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ แต่ถือเอาด้วยประการอื่น ซึงท่านแจก
    ไว้ว่า ถือเอาด้วยสำคัญว่าของตน ถือเอาด้วยสำคัญว่าของทิ้ง เรียกว่า
    บังสุกุล ถือเอาด้วยวิสาสะ ถือเอาเป็นของยืม. ถ้าของนั้น
    เปรตหรือสัตว์ดิรัจฉานเข้าหวงห้าม เช่นซากเนื้อที่เสือกัดกินค้าง และ
    มันหวงไว้เพื่อกินต่อไป ภิกษุถือเอา ท่านว่าไม่ตองอาบัติ. เพราะคำนี้
    พึงสันนิษฐานว่า ในครั้นนั้นตลอดมาจนในครั้งนี้ มนุษย์เราไม่ได้ยอม
    ให้สัตว์ดิรัจฉานมีกรรมสิทธิ์ ในอาหารที่มันหาได้และในอื่น ๆ ซ้ำ
    กลับถือเอามันเป็นทรัพย์ของตนเสียด้วย. ในพระวินัยก็รับรองตามนั้น
    จึงได้ยกสัตว์บางเหล่าขึ้นเป็นวัตถุแห่งอทินนาทาน และไม่ปรับอาบัติ
    เพราะถือเอาของสัตว์ดิรัจฉาน.
    ในวินีตวัตถุ แสดงอนาบัติไว้นอกจากนี้อีก ๒ ประการ คือ
    ภิกษุไม่รู้ เช่นเดินทางจะผ่านที่เก็บภาษี คนอื่นผู้มาด้วยกัน แอบเอา
    รตนะซ่อนไว้ในย่ามของภิกษุ เธอพาผ่านที่เก็บภาษีไป ไม่ต้องอาบัติ.
    อีกประการหนึ่ง เล่าเรื่องสกุลอุปัฏฐากของท่านพระปิลันทวัจฉะ ถูก
    โจรปล้นพาเอาบุตรไป ๒ คน พระปิลันทวัจฉะบันดาลด้วยฤทธิ์
    พาเด็ก ๒ คนนั้นกลับคืนมาได้ ตัดสินว่าไม่เป็นปาราชิก เพราะวิสัย
    แห่งฤทธิ์ของท่านผู้มีฤทธิ์. ในข้อหลังนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าใจ
    ว่า เพราะกรรมสิทธิ์ยังมีอยู่แก่เจ้าของเดิม ช่วยตามกลับมาให้แก่
     
  16. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    เจ้าของ ไม่มีโทษ. ถ้าความเข้าใจของข้าพเจ้าถูก ขอนี้จะได้นำ
    ความเข้าใจผิดและเข้าใจเกินไปในเรื่องโจรลักของเสีย และจะได้เป็น
    ตัวอย่างสำหรับวินิจฉัยด้วย. ..............


    ครับ...ข้อมูลมีมาก เลยแบ่งเป็นช่วง ๆ ให้ดูไม่มาก ยาวติดเกินไป ยกมาทั้งบทอ่านให้หมดนะครับ เพราะจะละเอียดดีมาก น่าจะตอบข้อสงสัยอื่น ๆ กรณีอื่น ๆได้ด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...