ทอดกฐินสามัคคีวัดป่ามณีกาญจน์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ในห้อง 'กฐิน - ผ้าป่า - งานวัด' ตั้งกระทู้โดย KK1234, 18 กันยายน 2009.

  1. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    ขอเชิญร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี และ ร่วมแสดงมุทิตาจิตแด่พระอาจารย์ สาคร ธัมมาวุโธ ครบรอบ ๖๔ ปี
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="11%"> <tbody><tr> <td height="8">
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="5" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td>
    <table bgcolor="#e2e2e2" border="0" cellpadding="2" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#f4f4f4">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="11%"> <tbody><tr> <td height="8">
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="84%"> <tbody><tr> <td><table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"> <tbody><tr> <td class="13">ขอ เชิญร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี และ ร่วมแสดงมุทิตาจิตแด่พระอาจารย์ สาคร ธัมมาวุโธ ครบรอบ ๖๔ ปีในระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ วัดป่ามณีกาญจน์ ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี และวันที่ ๒๔ - ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ วัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="11%"> <tbody><tr> <td height="8">
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="5" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td>
    <table bgcolor="#eaeaea" border="0" cellpadding="2" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#f9f9f9">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> </tbody></table>
    ขอเชิญร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี
    และ
    ร่วมแสดงมุทิตาจิตแด่พระอาจารย์ สาคร ธัมมาวุโธ ครบรอบ ๖๔ ปี
    วัดป่ามณีกาญจน์ ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
    ในระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
    วัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    ในระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
    --------------------------------------------------------------------

    ขอเชิญร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี ร่วมแสดงมุทิตาจิตสักการะแด่ พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ครบรอบ ๖๔ ปี ณ วัดป่ามณีกาญจน์ ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

    ------------------------------------------------------------------------
    จากการดำเนินโครงการยุวกรรมฐาน (โครงการ ๑+๑ ได้ ๓) เป็นผลให้มีเยาวชนและผู้สนใจปฏิบัติธรรมเข้าร่วมโครงการฯ กับทางวัดป่ามณีกาญจน์ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุดังกล่าว ทางวัดป่ามณีกาญจน์จึงใคร่ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี สมทบทุนซื้อที่ดิน ขยายพื้นที่วัด เพื่อสร้างที่พักสาหรับผู้ปฏิบัติธรรม และใช้ประโยชน์ในกิจการของพระศาสนา

    อนึ่งในวันอังคารที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นวันคล้ายวันเกิดอายุครบ ๖๔ ปี ของท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ทางศิษยานุศิษย์จึงได้กราบขอโอกาสจัดพิธีแสดงมุทิตาจิตถวายสักการะแด่ ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ
    ทางวัดป่ามณีกาญจน์จึงได้กาหนดจัดงานทั้งสองในโอกาสเดียวกัน ระหว่างวันจันทร์ที่ ๑๙ และวันอังคารที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ศาลาปฎิบัติธรรมหลังใหม่ ดังมีรายละเอียดการจัดงาน ดังนี้

    กำหนดการจัดงาน

    วันจันทร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ขึ้น ๑ ค่าเดือน ๑๒)

    ๑๐.๐๐ น. - ทำพิธีตั้งองค์กฐิน ณ ศาลาปฏิบัติธรรมหลังใหม่ชั้น ๒
    ๑๙.๐๐ น. - ประธานฝ่ายฆราวาสจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย อาราธนา-รับศีล
    ๑๙.๓๐ น. - พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ จุดเทียนนมัสการบูชาพระรัตนตรัย หน้าพระประธาน
    - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
    - พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ทาบุญทักษิณานุประทาน ถวายแด่องค์พระบูรพาจารย์
    - แสดงพระธรรมเทศนา

    วันอังคารที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ขึ้น ๒ ค่าเดือน ๑๒)

    ๐๗.๐๐ น. - พระเถรานุเถระ พระภิกษุ สามเณร ออกรับบิณฑบาตรอบศาลาปฏิบัติธรรมหลังใหม่
    ๐๗.๓๐ น. - ถวายภัตตาหารแด่พระเถรานุเถระ พระภิกษุและสามเณร
    ๑๐.๐๐ น. - ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย อาราธนา-รับศีล กล่าวคาถวายและทอดผ้ากฐิน
    คณะสงฆ์รับผ้ากฐินและกรานกฐิน ณ ศาลาปฏิบัติธรรมหลังใหม่ ชั้น ๒
    ๑๑.๐๐ น. - คณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์แสดงมุทิตาจิตถวายสรงน้าแด่พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ .....................................
    เสร็จพิธีการ.....................................

    --------------------------------------------------------------------
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี
    ณ วัดเวฬุวัน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๘๐

    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

    ***************************************************
    เนื่องจากวัดเวฬุวัน ซึ่งมีพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ นับเป็นเวลาผ่านมาได้ ๓๑ ปี บัดนี้เสนาสนะต่างๆ อยู่ในสภาพชารุด บางหลังก็ชารุดคร่าคร่ามาก จึงมีความจาเป็นที่จะต้องบูรณะปฏิสังขรณ์ ให้กลับอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เหมาะเป็นสถานที่ปฏิบัติต่อไป

    ด้วยเหตุอันเป็นบุญนี้ ทางคณะศิษยานุศิษย์จึงได้ร่วมใจกันจัดงานทอดกฐินสามัคคี เพื่อสมทบทุนสร้างเสนาสนะใหม่ขึ้นทดแทน เพื่อใช้ในกิจจาเป็นทางพระพุทธศาสนาสืบไป จึงใคร่ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ วัดเวฬุวัน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี โดยพร้อมเพรียงกัน

    กำหนดพิธีการทอดกฐิน

    วันเสาร์ที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ( ขึ้น ๖ ค่า เดือน ๑๒ )

    ๑๙.๓๐ น. - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ฉลององค์กฐิน
    - แสดงพระธรรมเทศนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ขึ้น ๗ ค่า เดือน ๑๒ )

    ๐๗.๐๐ น. - พระสงฆ์ออกรับบิณฑบาต รอบบริเวณศาลา
    ๐๘.๐๐ น. - ถวายภัตตาหารพระสงฆ์
    ๑๐.๐๐ น. - พร้อมกันที่ศาลาเพื่อถวายผ้ากฐินและพระสงฆ์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี...

    ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ท่านบริบูรณ์ด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณ ธนสารสมบัติ และมีจิตใจเข้าถึงธรรมในชาตินี้ เพื่อความสิ้นจากอาสวกิเลส บรรลุมรรคผลนิพพาน โดยเร็วพลันด้วยกันทุกท่านทุกประการเทอญ...

    นำมาจาก
    watpamaneekarn.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
  3. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="50%"> <tbody><tr> <td height="10">
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>สืบเนื่องจากเมื่อช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕ คราวเตรียมงานฉลองเจดีย์ พิพิธภัณฑ์องค์หลวงปู่เสาร์ กนตฺสีโล ณ วัดดอนธาตุ ต.ดอนธาตุ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านพระอาจารย์สาคร ได้รับมอบหมายจากคณะทำงาน คราวนั้นให้รับหน้าที่ติดต่อประสานงานทั้งระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และองค์พระเถรานุเถระที่เมตตารับนิมนต์ร่วมพิธีในคราวนั้น
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>การ นี้ท่านพระอาจารย์สาครต้องเดินทางระหว่าง จ.กาญจนบุรี กับ จ.อุบลราชธานี บ่อยครั้ง อีกทั้งยังต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีที่ทำการอยู่ในกรุงเทพฯ ท่านจึงต้องพักแรมในกรุงเทพฯบ่อยครั้ง โดยความจำเป็นในการที่ต้องพักแรมในกรุงเทพฯนี้เอง ท่านพิจารณาเห็นว่า สถานที่พักที่เหมาะสำหรับภิกษุสามเณรสังกัดธรรมยุติในกรุงเทพฯนั้นมีไม่ เพียงพอกับจำนวนภิกษุสามเณรที่มีความจำเป็นต้องพักแรม รวมถึงเมื่อเวลาอาพาธต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือมีกิจนิมนต์ สถานที่พักส่วนใหญ่ไม่สะดวกในการรักษา ข้อวัตรปฏิบัติให้สมบูรณ์ ท่านจึงได้ปรารภเรื่องนี้ในหมู่ศิษย์ของท่าน
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>เวลานั้นศิษย์ท่านพระอาจารย์สาคร ท่านหนึ่งทราบความประสงค์อันกอปรด้วยกุศลเจตนาของท่านพระอาจารย์สาคร จึงนำความไปปรึกษากับกลุ่มญาติ ซึ่งมีที่ดินอยู่ ณ ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี จำนวน ๙ ไร่เศษ กลุ่มญาติทั้งหมดอันประกอบด้วย ม.ร.ว.วรรณี มณีกาญจน์ นายสันติ มณีกาญจน์ (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และจังหวัดหนองคาย) นางสาวชูพักตร์ มณีกาญจน์ นางบุญล้อม มณีกาญจน์ และลูกๆของนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ มีความเห็นพ้องกันว่าสมควรถวายที่ดินผืนดังกล่าวเพื่อสร้างวัดในสังกัดธรรมยุติ เพื่อประกอบศาสนกิจในบวรพระพุทธศาสนาต่อไป โดยท่านพระอาจารย์สาคร ให้ชื่อวัดนี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กุศลธรรมของญาติโยมที่มีจิตศรัทธาถวายที่ดินว่า
    วัดป่ามณีกาญจน์” การดำเนินการก่อสร้างจึงได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นต้นมา
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="86"> <tbody><tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="1" cellspacing="0" width="86%"><tbody><tr><td valign="top" width="50%"><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff"><object classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,29,0" height="230" width="350">

    <embed src="http://watpamaneekarn.com/history/images/profile.swf" quality="high" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" type="application/x-shockwave-flash" height="230" width="350"></object></td> </tr> </tbody></table></td> <td valign="top" width="50%">
    <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="97%"> <tbody><tr> <td>ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๘ คุณประมิตร วังพัฒนมงคล และคณะศิษย์เป็นผู้มีจิตศรัทธา ซื้อที่ดินถวายเพิ่มอีกจำนวน ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตารางวา ทำให้วัดป่ามณีกาญจน์มีพื้นที่รวม ๒๐ ไร่ ๖๖ ตารางวา
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="97%"> <tbody><tr> <td>พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม ภายในบริเวณวัดปลูกต้นไม้ทั้งไม้ดอกและไม้ยืนต้น ตลอดจนผลไม้ เพื่อความร่มรื่นภายในวัด และเพื่อให้เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนา ทางด้านหน้ามีสระน้ำใหญ่และบ่อน้ำ ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังศาลา สิ่งก่อสร้างที่สำคัญประกอบด้วย ศาลาอเนกประสงค์ ๓ ชั้น ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๖ เมตร โรงครัวและเรือนพักของผู้ปฏิบัติธรรม ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๑ เมตร ศาลาปฏิบัติธรรมริมสระน้ำ ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๔ เมตร มีกุฏิพระ ๘ หลัง และกุฏิรับรองพระเถระ ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด ล้วนมุ่งเน้นให้มีรูปแบบที่เรียบง่ายและประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ สำหรับเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ ท่านพระอาจารย์อำนวย จิตตฺสํวโร เป็นเจ้าอาวาส อายุ ๔๕ พรรษา ๑๙
    </td></tr></tbody></table>​
    </td></tr></tbody></table>
     
  4. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="50%"> <tbody><tr> <td height="10">
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td class="13">ประวัติบางส่วนของ ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ</td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td valign="top" width="28%"><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td valign="top">ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ มีนามเดิมว่า สาคร แสงมุกดาเป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๗ คน ของ นายบู่ แสงมุกดา และนางบัวลา แสงมุกดา (สกุลเดิมของโยมแม่ ชามนตรี ทายาทอดีตเจ้าเมืองหนองบัวลำภูในยุคนั้น) ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปีระกา ที่บ้านโนนสงเปลือย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต. เหล่าโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู)
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>การศึกษา
    </td> </tr> <tr> <td>ท่าน เข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนาวังเวิน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ก็มิได้ศึกษาต่อ ด้วยเหตุที่ทางบ้านไม่สนับสนุน ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่โยมตาของท่านซึ่งเคยรับราชการในตำแหน่งสูงด้วยความ ซื่อสัตย์ กลับถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรม จนถูกจำคุกอยู่ถึง ๒๐ ปี โยมตาจึงหมดความศัทธาในระบบราชการ จึงไม่สนับสนุนให้ศึกษาต่อ อีกทั้งโยมตาท่านก็อยากให้มาช่วยกันดูแลเรือกสวนไร่นาของครอบครัวตนเองจะดี กว่า และโยมพ่อโยมแม่ก็เห็นดีด้วย ท่านพระอาจารย์สาครซึ่งโดยนิสัยเชื่อฟังผู้ใหญ่อยู่เป็นพื้น จึงไม่ได้กลับไปศึกษาต่อ แม้ครูจะมาตามให้กลับไปเรียนก็ตาม
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว
    </td> </tr> <tr> <td>ด้วยทางบ้านถือได้ว่ามีฐานะ เพราะมีเรือกสวนไร่นา ทั้งสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลมาก เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ท่านจึงช่วยทางบ้านอย่างแข็งขัน เมื่อถึงฤดูฝนก็ทำไร่ ทำนา และเมื่อหมดหน้านาก็ต้องต้อนฝูงวัวควายไปขาย ต่างบ้าน และต้องคุม หมู ไก่ กลับมาขาย บางครั้งก็ตามโยมพ่อเข้าป่าไปหาใบยาและของป่า เนื่องจากโยมพ่อเป็นหมอยา ท่านจึงได้ความรู้เรื่องยาและสมุนไพรจากโยมพ่ออีกด้วย
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>เห็นทุกข์ทางโลก
    </td> </tr> <tr> <td>ด้วย หมู่บ้านสมัยก่อน บ้านเรือนมักอยู่ไม่ห่างกันนัก มีอะไรก็ช่วยซึ่งกันและกัน บางครั้งคนในหมู่บ้านจะคลอดลูก ได้ยินเสียงร้องโอดโอยไปหลายหลังคาเรือน ท่านมีโอกาสได้ตามไปดู ได้เห็นความเจ็บปวด ทุกขเวทนาของหญิงที่จะกำลังคลอดลูก ทำให้ท่านรู้สึกกลัว อีกทั้งเมื่อท่านคิดถึงเด็กที่อยู่ในท้องที่ต้องไปขดอยู่ในที่แคบๆ เป็นเวลานานให้รู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง แค่คิดก็แย่แล้ว แต่นี่คนที่เกิดต้องทนอยู่ถึง ๙ เดือน และในบางครั้งการคลอดลูก แม่ตายบ้าง เด็กไม่รอดบ้าง บางทีก็ต้องมาตายทั้งแม่ทั้งลูก ด้วยการคิดพิจารณาจากประสบการณ์ที่รับรู้มา ทำให้ท่านเห็นว่าการเกิดนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง กอปรกับเมื่อท่านต้องช่วยทำงานไร่นาที่บ้าน อย่างเหน็ดเหนื่อย ทำให้ท่านเห็นว่าชีวิตคนทางโลกต้องทำมาหากินไม่หยุดหย่อนเพื่อหาเลี้ยงตนเอง และครอบครัว แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีอะไรเป็นสาระที่แท้จริง
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>จะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ
    </td> </tr> <tr> <td>ในวัยเด็กท่านมีโอกาสติดตามโยมแม่ และญาติใหญ่ไปวัดโดยสม่ำเสมอ ด้วยมีญาติพี่น้องบวชอยู่ ท่านจึงคุ้นเคยกับชีวิตสมณะ นักบวช ละเนื่องจากโยมพี่ชายของท่าน (หลวงตาวา)ได้บวชเป็นเณรอยู่วัดมหาชัยโยมแม่จึงได้อาศัยใช้ท่านนำอาหารไปถวายเสมอ และท่านก็ได้เห็นเณรพี่ชายท่านต้องถูกฝึกหัดให้ทำงาน และรับใช้อุปัฎฐากท่านเจ้าคุณที่วัดอยู่ เป็นประจำ ทำให้ท่านเกิดความคิดว่า เมื่อท่านจะบวช ท่านจะไม่บวชเป็นเณร ท่านอยากจะบวชเป็นท่านเจ้าคุณ
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>ออกบวช
    </td> <td width="28%">
    </td> </tr> <tr> <td valign="top">อำเภอ หนองบัวลำภูในยุคนั้น อยู่บนเส้นทางที่พระวิปัสสนากัมมัฎฐานหลายรูปใช้เป็นเส้นทางเดินธุดงค์เพื่อ ไปฟังธรรมอบรมจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดสกลนคร และหลายท่านได้มาพักสร้างวัดใน ธรรมยุตินิกายที่เน้นการปฏิบัติธรรมขึ้น ณ อำเภอ นี้ซึ่งญาติพี่น้องของท่านพระอาจารย์สาครเองก็ได้บวชเป็นพระเณรกันหลายคนบาง ท่านบวชเรียนสามารถสอบได้นักธรรม เปรียญธรรมประโยคต่างๆ บางท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ มีจริยวัตรงดงามแสดงธรรมเทศนา ได้ลึกซึ้งน่าติดตาม ดังนั้นเมื่ออายุครบบวช ท่านพระอาจารย์สาครจึงตัดสินใจขออนุญาติ บิดามารดา ลาบวช เพื่อศึกษาธรรม ณ วัดมหาชัย ต.หนองบัว จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย พระสมุห์คำบาล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาพุทธศาสนาว่า ธมมาวุโธ อันมีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาวุธ สังกัดธรรมยุตนิกาย อยู่จำพรรษาแรก ณ วัดมหาชัย ต. หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี
    </td> <td>
    <table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>จะไม่อยู่ใกล้บ้าน
    </td> </tr> <tr> <td>เมื่อท่านบวชจำพรรษาแรกที่ วัดมหาชัย ใกล้บ้าน เพื่อโปรดญาติโยมและเมื่อทางบ้านได้อนุโมทนาการบวชของท่านพอสมควรแล้ว ได้ขอให้ท่านลาสิกขาบทเพื่อ มาดูแลไร่นาและบ้านต่อไป หากแต่ด้วยท่านมีจิตใจที่มุ่งมั่นแล้วว่าจะบวช ดังนั้นท่านพระอาจารย์สาครจึงผัดผ่อนเรื่อยมา หากญาติโยมมาตอนเช้า ท่านก็บอกให้รอตอนเย็นเสียก่อน หากญาติโยมมาตอนเย็น ท่านก็บอกให้รอเช้าเสียก่อน จนออกพรรษาท่านจึงกราบลาอุปัชฌาย์เดินทางเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ต่อไป โดยท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า จะไม่อยู่ในจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย เพราะอยู่ใกล้บ้าน ใกล้ญาติโยมเกินไป
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>แสวงหาครูบาอาจารย์
    </td> </tr> <tr> <td>ตลอดพรรษา ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านพระอาจารย์สาครได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัยต่างๆ จนมีความเข้าใจเป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยสร้างโบสถ์วัดมหาชัยจนลุล่วง ครั้นเมื่อออกพรรษาและได้ทำพิธีฉลองโบสถ์ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้ว ท่านพระอาจารย์สาครจึงกราบลาพระอุปัชาฌาย์เพื่อออกเดินทางไปกับท่านพระอาจารย์แถว โดยออกเดินทางโดยรถไฟจาก จ.อุดรธานี แล้วไปเปลี่ยนรถไฟที่ภาชี เพื่อจะไปยังจ.พิษณุโลก เมื่อ ถึง จ.พิษณุโลกแล้ว ท่านจึงโดยสารรถยนต์ต่อไปยังบ้านป่าหญ้าคา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านพระอาจารย์แถว เพื่อทำกิจธุระ เมื่อทำธุระเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์แถวจึงพาท่านลงมาที่วัดนิรมลวัฒนา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งท่านพระอาจารย์แถวเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ต่อมาในวันวิสาขบูชา ท่านพระอาจารย์สาครได้มีโอกาสพบท่าน พระอาจารย์ทองดี ชุตินธโร เป็นครั้งแรกซึ่งมาร่วมลงอุโบสถ์ที่วัด และท่านพระอาจารย์สาครได้มีโอกาสพูดคุยกับท่านพระอาจารย์ทองดี เรื่องครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่สายองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้นครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่เริ่มทยอยเดินทางกลับสู่ภาคอีสานแล้ว แต่เนื่องจากขณะนั้นใกล้ฤดูการเข้าพรรษา ท่านพระอาจารย์สาครจึงจำพรรษาที่วัดนิรมลวัฒนา กับท่านพระอาจารย์แถวก่อน
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>กราบองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    </td> </tr> <tr> <td>เมื่อ ออกพรรษา ท่านพระอาจารย์สาครจึงออกเดินทางกลับจากจังหวัดเพชรบูรณ์ สู่ภาคอีสาน การเดินทางของท่านพระอาจารย์สาครคราวนั้น ท่านต้องเดินทางผ่าน จ.เลย ท่านจึงแวะกราบนมัสการ องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งขณะนั้นองค์หลวงปู่ชอบพักอยู่ที่วัดม่วงไข่ อ.วังสะพุง จ.เลย เมื่อท่านพระอาจารย์สาคร เข้าไปกราบนมัสการองค์หลวงปู่ชอบ ซึ่ง ท่านมีจิตเมตตาให้ท่านพระอาจารย์สาครพักอยู่ด้วย พร้อมทั้งแนะนำให้อุบายธรรมต่างๆ ให้ท่านพระอาจารย์สาครนำไปปฏิบัติ ทำให้ผลการปฏิบัติธรรมของท่านพระอาจารย์สาครมีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ช่วงเวลาที่ท่านพระอาจารย์สาคร ได้พักอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบนั้นท่านต้องตื่นแต่ตี ๓ เพื่อมารองน้ำหมอกไว้เป็นน้ำฉัน ท่านกลางอากาศหนาวจัด ขนาดที่ว่ากำมือแล้ว ต้องเอามืออีกข้างหนึ่งมาแกะออก อีกทั้งเครื่องกันหนาวต่างๆก็มีไม่มากเหมือนยุคปัจจุบัน ในช่วงกลางวันที่ต้องทำงานก่อสร้าง ท่านพระอาจารย์สาครต้องหาฟืน และผ่าฟืนด้วย ท่านผ่าฟืนมากจนมือพอง จากมือพองจนมือแตก ในช่วงกลางคืนองค์หลวงปู่จะพาพระเณรนั่งภาวนาตั้งแต่ช่วงค่ำ จนกระทั่ง ๔ ทุ่ม จึงพาทำวัตรเย็น ในขณะที่พระเณรนั่งภาวนากันเงียบอยู่นั้นองค์หลวงปู่ก็จะสูบบุหรี่ ฉันหมาก และฉันหมาก สูบบุหรี่ สลับกันไป แต่หากใครพลิกขา หรือขยับแม้แต่นิดเดียวท่านก็จะรู้ ท่านจะพูดว่า “พระพวกนี้เคารพขามากกว่าเคารพธรรม อุตส่าห์แบกกลดแบกบาตรแสวงหาธรรมแต่เมื่อธรรมเกิดขึ้นกลับไม่ยอมพิจารณา” สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างอุบายที่องค์หลวงปู่ชอบใช้อบรมสั่งสอนศิษย์ ท่านพระอาจารย์สาครได้อยู่ศึกษาปฏิบัติธรรม จากองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม อยู่ช่วงระยะหนึ่ง ต่อมาองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ซึ่งขณะนั้นท่านพักอยู่ที่วัดกกกอก ต.งิ้วตาก อ.วังสะพุง จ.เลย ได้มีจดหมายนิมนต์พระเณรในแถบนั้นไปร่วมงานทำบุญฉลองศาลา วัดกกกอก ท่านพระอาจารย์สาครจึงได้ไปร่วมงาน และได้มีโอกาสกราบนมัสการองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในครั้งนั้นด้วย
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    </td> <td width="28%">
    </td> </tr> <tr> <td valign="top">ใน คราวที่ไปร่วมงานฉลองศาลาวัดกกกอกนั้น ท่านพระอาจารย์สาคร ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ต่อเมื่อเสร็จงานฉลองศาลาแล้ว เณรผู้ดูแลอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย ต้องไปคัดเลือกทหาร ท่านพระอาจารย์สาครจึงได้รับเมตตาจากององค์หลวงปู่หลุยให้ทำหน้าที่นี้ พร้อมกับได้มีโอกาสฟังพระธรรมาเทศนา อบรมสั่งสอน ฝึกความอดทน และรับการแนะนำธรรมภาคปฎิบัติจากองค์หลวงปู่หลุยอีกด้วย การอยู่ดูแลรับใช้อุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร นั้น ท่านพระอาจารย์สาครได้มีโอกาสติดตามองค์หลวงปู่ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง
    </td> <td>
    <table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>ธุดงค์กับองค์หลวงปู่หลุย
    </td> </tr> <tr> <td>ครั้งหนึ่งท่านพระอาจารย์สาครมีโอกาสได้ธุดงค์ติดตามเพียงลำพังไปกับองค์หลวงปู่หลุย เมื่อองค์หลวงปู่ต้องเดินทางไปงานที่วัดท่าแขก โดยองค์หลวงปู่หลุยพาเดินทางจากบ้านกกกอก ข้ามเขาลงมายังบ้านไร่ม่วง เพื่อกราบองค์หลวงปู่ซามา อจุตโต ที่วัดป่าอัมพวัน อ.เมือง จ.เลย ซึ่งระหว่างทางนั้นเอง ท่านพระอาจารย์สาครได้ถูกฝึกความอดทน ความเพียร จากองค์หลวงปู่หลุย อย่างหนัก กล่าวคือ ครั้งหนึ่งซึ่งตรงกับวันโกนในพระธรรมวินัย ซึ่งองค์หลวงปู่หลุยอนุญาตให้ท่านพระอาจารย์สาครปลงเกศาให้องค์หลวงปู่จนเสร็จแล้ว องค์หลวงปู่ก็ไปสรงน้ำชำระร่างกาย ท่านพระอาจารย์สาครจึงเริ่มปลงเกศาของท่านเอง เมื่อท่านปลงเกศาไปได้เพียงครึ่งเดียว องค์หลวงปู่หลุยก็สรงน้ำเสร็จพอดี ท่านได้บอกกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “เราออกเดินทางกันต่อไปเถอะ” คำว่า “ไป”ขององค์หลวงปู่หลุยนี้ท่านมิได้เพียงแต่พูด ท่านได้ออกเดินทางไปจริงๆ ท่านพระอาจารย์สาครจึงต้องหยุดการปลงเกศาตนเองไว้เท่านั้น รีบไปเก็บสัมภาระอัฐบริขารต่างๆ ทั้งของท่านเองกับขององค์หลวงปู่ด้วย ซึ่งมีถุงบาตร และ ย่าม อย่างละ ๒ ใบ แล้วรีบออกเดินทางต่อเพื่อที่จะติดตามองค์หลวงปู่หลุยให้ทัน เมื่อเดินทันองค์หลวงปู่ หลุยแล้วท่านจึงเริ่มทำการปลงเกศาต่อโดยใช้วิธีเดินไปปลงเกศาไป เพื่อปลงให้แล้วเสร็จก่อนถึงหมู่บ้าน
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td valign="top" width="28%"><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td> ซึ่งครั้งนั้นเป็นการปลงเกศาที่ลำบากมาก เพราะมือข้างหนึ่งทำการปลงเกศา อีกข้างหนึ่งก็แบกย่ามกับถุงบาตรอีก ๒ ใบ ซึ่งโดยปกติการเดินปลงเกศาก็เป็นเรื่องลำบากอยู่แล้ว แต่ท่านยังต้องสะพายของบนบ่าอีก จึงเป็นการเพิ่มความลำบากให้กับท่านยิ่งขึ้น ในครั้งนั้นท่านจึงถูกมีดโกนบาดเสียหลายแผล เมื่อกราบลาองค์หลวงปู่ชามา อจุตโต แล้ว องค์หลวงปู่หลุยได้พา เดินต่อไปยังถ้ำผาปู่ เพื่อกราบ องค์หลวงปู่คำดี ปภาโส และที่นี่ ท่านได้รับการฝึกอีกครั้งในระหว่างที่ พักอยู่ที่นี่ คือ โดยปกติแล้วหลังจาก ท่านทำอาจริยวัตรถวายองค์หลวงปู่หลุยเสร็จในช่วงเช้า และองค์หลวงปู่ได้เข้าพักแล้ว โดยปกติองค์หลวงปู่จะออกมาอีกครั้ง ในเวลา ๒-๓ โมง ท่านพระอาจารย์สาครจึงแยกไปภาวนาที่ถ้าผาปู่เพียงลำพัง สักครู่ที่ท่านเดินจงกรมภาวนาอยู่ ปรากฎว่าจิตท่านมีอาการผิดปกติ ข้างในมีอาการเต้นเร็ว ท่านเห็นผิดปกติ จึงออกจากการภาวนา เดินออกมา พอพ้นถ้ำเท่านั้นก็ได้ยินเสียงระฆัง อันเป็นสัญญานเรียกพระเณรที่ถ้ำผาปู่ดังลั่นวัด ท่านจึงรีบมาทันที ปราฎกว่าองค์หลวงปู่หลุยเป็นผู้ตีระฆังเพื่อเรียกหาท่านพระเณรออกมาดูกันทั้งวัด แต่เพราะท่านอยู่ในถ้ำ จึงไม่ได้ยินเสียงเลยแม้แต่น้อย
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td> องค์หลวงปู่จึงถามท่านและบอกว่าจะเดินทางต่อ อันเป็นนิสัยการมาเร็วไปเร็วขององค์หลวงปู่ ท่านพระอาจารย์สาครจึงกราบเรียนถึงที่อยู่และอาการของจิตท่าน องค์หลวงปู่จึงมิได้ต่อว่าอย่างไร นับเป็นอีกครั้งที่การภาวนาและความจดจ่ออยู่กับครูบาอาจารย์เสมอ ช่วยให้ท่านไม่ถูกตำหนิได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงมีในพระติดตามครูบาอาจารย์ต่อไปเมื่อออกจากวัดถ้ำผาปู่แล้ว ได้เดินธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าแขก อันเป็นเป้าหมาย ท่านพระอาจารย์สาครได้อยู่ช่วยงานศพจนแล้วเสร็จ และเมื่อพระอุปัฎฐากองค์หลวงปู่หลุยได้มาถึงแล้ว ท่านพระอาจารย์สาครจึงกราบลาองค์หลวงปู่หลุยที่วัดท่าแขกนี้เอง องค์หลวงปู่หลุยวางใจในท่านพระอาจารย์สาครแล้วจึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านจึงได้เดินทางย้อนกลับมายังถ้ำผาบิ้ง โดยหมายใช้เป็นที่วิเวกภาวนาต่อไป
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>เวทนาทางกาย
    </td> </tr> <tr> <td>ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ขณะที่ท่านพระอาจารย์สาครธุดงค์มาถึงที่ถ้ำผาบิ้ง ท่านได้พิจารณาพักอยู่เพื่อภาวนาชั่วระยะหนึ่ง (ขณะนั้นองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ยังไม่ได้อยู่ที่ถ้ำผาบิ้งนี้) ท่านได้ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านน้ำทบได้เพียงข้าวเปล่าเท่านั้น และบางวันก็ได้พริกป่น กับ เกลือมาด้วย ท่านก็ได้พิจารณาฉันตามฐานะนักบวช หากด้วยความไม่คุ้นเคย ทำให้ท่านปากพองแสบร้อนไปหมด จนแม้แต่ฉันน้ำก็ยังทรมาน เกิดเวทนาทางกายยิ่งนัก
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="5" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>เสือช่วย
    </td> </tr> <tr> <td>ตก คืนนั้นที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ภายในถ้ำ ปรากฎมีเสียง สวบ สวบ ดั่งเสียงเสือเดินอยู่หน้าถ้ำ ด้วยความกลัวท่านจึงนั่งหลับตานิ่ง เร่งภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่ภายในใจ จนจิตสงบเงียบลงไป เหลือแต่มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นท่านพิจารณาร่างกาย สังขาร ข้อธรรมใดก็พิจารณาได้หมด จวบจนกระทั่งเช้าได้เวลาบิณฑบาตจึงได้ถอนออกจากการภาวนา นับเป็นเวลานานที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วนับจากที่ท่านได้เข้าภาวนาขณะได้ยิน เสียงเสือเมื่อราว ๑ ทุ่ม เมื่อท่านออกจากภาวนาแล้วก็ได้หวนคิดดื่มด่ำกับสิ่งที่เกิดขึ้น อัศจรรย์ว่า “ตัวเราภาวนาได้ขนาดนี้เชียวหรือ” และคิดว่า “ ถ้าเสือไม่ช่วยเราคงยังติดขัดอยู่” ขณะที่ภาวนานั้นก็ไม่รู้ เสือหายไปทางไหน เมื่อท่านมาดูอย่างละเอียดจนเข้าใจ่ว่าน่าจะเป็นบ่างมากินมะขามจากต้นหน้า ถ้ำมากกว่า เช้านั้นท่านออกไปบิณฑบาตก็ได้ข้าวกับพริกเกลือเช่นเดิม แต่ครั้งนี้ท่านฉันแล้วไม่รู้สึกแสบปาก แสบลิ้นดังที่เคย ท่านจึงได้อยู่ภาวนาต่อในถ้ำนี้ และตลอดเวลา ๒-๓ อาทิตย์ที่อยู่นั้น การภาวนาของท่านได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งแต่เพราะมีนัดหมายกับท่านพระอาจารย์ทอง ดีไว้ ว่าจะไปพบกันที่วัดถ้ำกลองเพลจ.อุดรธานี ก่อนสิ้นเดือนเมษายน ทำให้ท่านต้องละจากถ้ำผ้าบิ้งนี้ไป
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>จากถ้ำผาบิ้งไปวัดถ้ำกลองเพล
    </td> </tr> <tr> <td>หลังฉันเช้าเสร็จ ประมาณ ๙ โมงเช้า ท่านพระอาจารย์สาคร ออกเดินเท้าจากถ้ำผาบิ้ง เพื่อไปยังหมู่บ้านโนนสงเปลือย จ.หนองบังลำภู โดยมีระยะทางทั้งสิ้นกว่า ๙๕ กิโลเมตร ท่านเดินทางตามผ่านป่า ผ่านดงหนองไผ่หากช่วงไหนเป็นหมู่บ้าน ท่านจะเดินเลี่ยงอ้อมเอา ท่านพระอาจารย์สาครเดินภาวนาพุธโธไปตลอดระยะทาง ทำให้จิตสงบ กายเบา จิตเบา จนท่านสามารถเดินได้เร็วมาก โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเลยแม้แต่น้อย ท่านมาถึงไร่โยมพ่อ บ้านโนนสงเปลือย เวลาบ่าย ๔ โมงเย็น ใช้เวลาเดินเท้าทั้งสิ้นเพียง ๗ ชั่วโมงเท่านั้น นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมาถึงไร่ ปรากฏว่าโยมพ่อกลับไปบ้านแล้ว ท่านจึงกางกลดพักอยู่ที่กระต๊อบในไร่นั้นเอง เช้าวันรุ่งขึ้นได้บิณฑบาตโปรดโยมที่บ้านโนนสงเปลือย แล้วไต่ถามได้ความว่าโยมพี่สะใภ้จะเดินทางไปอุดรธานีพอดี จึงนั่งรถโดยสารไปกับโยมพี่สะใภ้ เพื่อเดินทางต่อไปจนถึงวัดถ้ำกลองเพล
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>กราบองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td valign="top" width="28%"><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td valign="top">เมื่อถึงวัดถ้ำกลองเพล (พุทธศักราช ๒๕๑๐) ท่านพระอาจารย์สาครได้เข้ากราบนมัสการองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้น กำลังอาพาธและมีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่สำคัญหลายองค์มาถวายการดูแลองค์หลวงปู่ อันได้แก่ ท่านพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต ซึ่งถือว่าเป็นโชคดีของท่านพระอาจารย์สาครที่ได้มีโอกาสรับใช้ครูบาอาจารย์องค์สำคัญในคราวนั้นด้วย หลังจากที่ได้พบกับท่านพระอาจารย์ทองดี ที่วัดถ้ำกลองเพล ตามที่ได้นัดหมายไว้ จึงได้กราบลาองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย เพื่อออกเดินทางต่อไป
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>กราบองค์หลวงปู่ฝั้นครั้งแรก
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td valign="top" width="28%"><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td valign="top">ท่านพระ อาจารย์สาครออกเดินทางจากวัดถ้ำกลองเพลพร้อมท่านพระอาจารย์ทองดี โดยได้พาท่านพระอาจารย์สาครไปงานศพท่านพระอาจารย์สีลา อิสสโร อุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ทองดีที่สำนักงานสงฆ์วัดโพธิ์ชัย ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และที่นี้เองที่ท่านพระอาจารย์สาครได้พบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นครั้งแรก ท่านพระอาจารย์สาครได้ระลึกถึงคำขององค์หลวงปู่หลุย ที่บอกว่าองค์หลวงปู่ฝั้นเป็นพระที่ได้รับการยกย่องจากองค์หลวงปู่มั่นใน ด้านความสามารถทางด้านจิตใจ ทั้งองค์หลวงปู่หลุยแม้พรรษาจะมากกว่าองค์หลวงปู่ฝั้น ก็เรียกองค์หลวงปู่ฝั้นด้วยความเคารพว่า “อาจารย์ใหญ่” ดังนั้นองค์หลวงปู่ฝั้นจึงเป็นพระผู้ที่มีความสำคัญมาก ทั้งท่านพระอาจารย์ทองดีก็สนับสนุนให้ไปอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้นโดยให้เหตุผล ว่า ที่นั้นมีตั้ง ๒ วัด หากไม่พอใจในวัดป่าอุดมสมพรก็สามารถขึ้นเขาไปอยู่ที่ถ้ำขามได้ ดังนั้นเมื่อเสร็จจากงานศพท่านพระอาจารย์สีลา แล้วท่านพระอาจารย์สาครได้แยกกับท่านพระอาจารย์ทองดีที่นี่เองโดยท่านตั้ง จุดหมายการเดินทางต่อไป ยังวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรนานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อกราบถวายตัวเป็นลูกศิษย์ขององค์หลวงปู่ฝั้นต่อไป
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>ถึงวัดป่าอุดมสมพร
    </td> </tr> <tr> <td>ลุ ถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ อันเป็นวันลงอุโบสถ ท่านก็ถึงวัดป่าอุดมสมพร ได้กราบองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และนับจากวันนั้นท่านได้อยู่ถวายตัวเป็นศิษย์องค์หลวงปู่ฝั้นมาตลอด ขณะนั้นที่วัดป่าอุดมสมพรมีพระอยู่เพียง ๕ รูป และเณรอีก ๑ รูป คือ ๑.องค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๒.ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ๓.หลวงตาพรหม ๔.หลวงตาไข ๕.หลวงตาอ่อน และเณร ด้วยขณะนั้นท่านพระอาจารย์ปิ่น ปิยธัมโม ไม่อยู่ และท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร ยังไม่ลงมาจากถ้ำขาม ทั้งท่านพระอาจารย์แปลงก็มีภาระดูแลงานอื่นเป็นจำนวนมาก คงมีหลวงตาอ่อนดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้นอยู่ผู้เดียว ท่านพระอาจารย์สาครจึงได้เข้าช่วยงานหลวงตาอ่อนอีกแรงหนึ่ง นับจากนั้นท่านก็ได้รับหน้าที่ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่ฝั้นมาโดยตลอด จากการที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดองค์หลวงปู่ฝั้น และได้รับฟังโอวาท ได้เห็นจริยาวัตรอันงดงาม ทั้งข้อปฏิบัติที่เพียบพร้อม ทำให้ท่านพระอาจารย์สาครเกิดความศรัทธาและลงใจในองค์หลวงปู่ฝั้นเป็นอย่าง ยิ่ง แม้เพิ่งจะมาถวายตัวรับใช้กับองค์หลวงปู่เพียงไม่นาน
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>เพชรบนยอดมงกุฎแห่งเมืองเลย มาวัดป่าอุดมสมพร
    </td> </tr> <tr> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ หลังจากพำนักอยู่กับองค์หลวงปู่ฝั้นเพียง ๗ วัน องค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ได้เดินทางมาเยี่ยมองค์หลวงปู่ฝั้น และรอลงอุโบสถร่วมกันในวันวิสาขบูชา ที่วัดป่าอุดมสมพร เมื่อองค์หลวงปู่ท่าน ได้กราบคารวะกันแล้ว องค์หลวงปู่หลุยเห็นท่านพระอาจารย์สาคร กำลังจัดอาสนะอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวขึ้นกับองค์หลวงปู่ฝั้นว่า “พระองค์นี้เคยอยู่กับผมมาก่อน” องค์หลวงปู่ชอบก็ได้กล่าวขึ้นด้วยว่า “เคยอยู่กับผมเหมือนกันพระองค์นี้” ท่านพระอาจารย์สาครจึงกราบเรียนองค์หลวงปู่ฝั้นว่า ท่านเคยอยู่กับองค์หลวงปู่ชอบมาก่อนที่วัดป่าม่วงไข่ แล้วจึงมาอยู่กับองค์หลวงปู่หลุยที่บ้านกกกอก
    หลังจากลงอุโบสถในวันวิสาขบูชาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อองค์หลวงปู่ชอบ และ องค์หลวงปู่หลุย ได้กลับไปแล้ว นับจากวันนั้นมาท่านพระอาจารย์สาครเปรียบว่า เหมือนผ้าเช็ดหน้าจะบิดให้ขาดเสียให้ได้ องค์หลวงปู่ฝั้นเปลี่ยนจากองค์หลวงปู่องค์เดิมอย่างสิ้นเชิง หันมาเข้มงวดกับท่านพระอาจารย์สาครมากขึ้น หากมีอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ก็จะค่อยดุว่า ไม่ปล่อยให้ความผิดพลาดนั้นผ่านไปเฉยๆ บางครั้งความผิดพลาดของท่านก็นำมาเทศน์บนศาลา เทศน์กันเป็นอาทิตย์ๆเป็นเดือนๆ ในความผิดนั้นๆ ทั้งนี้คงเป็นเจตนาขององค์หลวงปู่ฝั้นที่ต้องการทดสอบความเข้มแข็งทางจิตใจ ของลูกศิษย์ และต้องการให้ศิษย์ได้ดีในทางธรรม
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>อยากหนี
    </td> </tr> <tr> <td>จากการที่องค์หลวงปู่ฝั้นเข้มงวดกวดขันท่านพระอาจารย์สาคร ไม่ว่าท่านพระอาจารย์สาครจะทำอะไร ดูเหมือนจะผิดไปหมด กลับถูกเข่น ถูกว่าสารพัด เผลอสติเป็นไม่ได้ ไม่เพียงท่านที่ถูกเข่นเท่านั้น เณรที่รับใช้องค์หลวงปู่ก็ได้รับความเข้มงวด จนเณรร้องไห้อยู่แทบทุกวัน กระนั้น วันหนึ่งท่านติดขัดเรื่องการจัดยาให้หลวงปู่จึงถามเณร เณรก็ยังตอบว่า “ครูบาเอาตามาด้วยหรือเปล่า ครูบาเอาหูมาด้วยหรือเปล่า” ทำให้ท่านอึดอัดขัดข้องยิ่งขึ้นไปอีก ขณะนั้นท่านคิดว่า “ต่อไปไม่ว่างานเรื่องอะไรในวัดนี้เราจะต้องเรียนรู้ให้หมดให้ได้” ในแต่ละวันไม่ว่าใครจะทำอะไร ผิดมาในวันนั้นก็ดี หรือเหตุเก่าก็ดี พอขึ้นศาลาองค์หลวงปู่ต้องดุว่าแต่ท่านพระอาจารย์สาครองค์เดียว ทำให้ท่านคิดเบื่อหน่ายอยากจะหนีเป็นที่สุด
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>กำหราบความคิด
    </td> </tr> <tr> <td>เมื่อท่านมีความคิดอยากหนีวันไหน พอขึ้นไปบนกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้นเพื่อทำอาจริยาวัตรปกติ บางครั้งยังไม่ทันจะนั่งกราบเลย องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นว่า “จะไปไหนก็ผีตัวเก่า ถ้าไม่ตั้งใจภาวนา จะอยู่ที่ไหนก็ผีตัวเก่า” พออีก ๒-๓ วันคิดจะไปอีก องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นอีก ทำให้ใจท่านไม่คิดฟุ้งไปกว่านี้ บางครั้งใจก็คิดอยากจะไปดูถ้ำขามบ้างว่าเป็นอย่างไร อยากไปดูวัดดอยธรรมเจดีย์บ้างว่า เป็นอย่างไร พอขึ้นกุฏิ องค์หลวงปู่ก็จะเล่าเรื่องวัดนั้นๆให้ฟังทันที ทำให้ท่านต้องคอยสำรวมระมัดระวังความคิดอยู่ตลอดเวลา
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>หมาแทะกระดูก
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="86%"> <tbody><tr> <td valign="top"> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    </td> <td valign="top">
    <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="1" width="95%"> <tbody><tr> <td height="158">บ่อย ครั้งเมื่อลูกศิษย์คิดถึงบ้าน องค์หลวงปู่ฝั้นจะเมตตายกเรื่อง ของท่านขึ้นเทศน์ให้ฟัง ถึงเมื่อครั้งองค์ท่านเองก็เคยเบื่อหน่ายท้อแท้ จนคิดจะกลับบ้านเช่นกัน วันหนึ่งขณะที่องค์หลวงปู่เดินบิณฑบาตอยู่นั้น เห็นหมาตัวหนึ่งเดินตามเจ้าของอยู่ สักพักมันเจอกระดูกเก่าท่อนหนึ่ง มันก็หยุดแทะตามประสาหมาแต่เจ้าของก็เดินต่อไป มันแทะอยู่สักพักก็วิ่งตามเจ้าของไปแต่แล้วก็หันวิ่งกลับมาแทะต่ออีก แล้วก็วิ่งกลับไปหาเจ้าของอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง จนเจ้าของเดินไกลออกไปมากแล้ว มันจึงได้วิ่งตามเจ้าของไปอย่างอาลัย องค์หลวงปู่เห็นอาการมันแล้ว ก็กลับมานึกเป็นธรรมอบรมตัวองค์ท่านได้ว่า “การอาลัยในบ้านขององค์ท่านก็เหมือนหมาตัวนั้นที่อาลัยในกระดูกเก่าอันจืด ชืด แต่มันไม่รู้ว่ากระดูกนั้นไม่มีรสอะไรแล้ว ที่หลงอยู่ ก็หลงในน้ำลายของตัวเองเท่านั้น ชีวิตทางโลกก็เหมือนกระดูกเก่าที่หาค่า อันใดมิได้ ความหลงในสิ่งที่ฉาบทาไว้ก็เหมือนหมาที่หลงอร่อยน้ำลายตัวเอง”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="1" width="95%"> <tbody><tr> <td>เมื่อองค์หลวงปู่ท่านพิจารณาได้เช่นนั้นก็วางความคิดถึงบ้านลงได้ ท่านพระอาจารย์สาครก็ได้ธรรมข้อนี้ช่วยให้ท่านผ่านพ้นมาได้ ท่านจึงซาบซึ้งถึงพระคุณขององค์หลวงปู่ฝั้นอย่างถึงที่สุด ว่าทางหนึ่ง ท่านก็เข่นเอาเต็มที่ แต่อีกทางหนึ่งก็เมตตาคอยประคับประคองหาอุบายธรรมช่วยเหลือเต็มที่เช่นกัน ปัจจุบันหากท่านพระอาจารย์สาครเดินทางไปกราบนมัสการเจดีย์องค์หลวงปู่ฝั้น ที่วัดป่าอุดมสมพร ท่านจะต้องไปดูภาพแกะสลักเรื่อง “หมาแทะกระดูก” ที่ฐานองค์เจดีย์ด้วยความระลึกซาบซึ้งในพระคุณอยู่ทุกครั้งไป
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>ศึกษาปฏิบัติธรรม และอุปัฏฐาก องค์หลวงปู่ฝั้น
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>เมื่อ ท่านพิจารณาเข้าใจถึงความเมตตาขององค์หลวงปู่ฝั้น แล้วท่านพระอาจารย์สาครก็ตั้งใจอยู่รับการอบรมอย่างถึงที่สุด คราวนี้ท่านกลับกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นไล่หนีเอา ทั้งนี้ด้วยเห็นพระบางองค์ถูกองค์หลวงปู่ไล่หนี บางองค์มาถึงวัดยังไม่ทันแก้บาตรเลยก็ถูกบอกให้หลีกไปที่อื่นแล้วท่านจึง อยู่ด้วยความระมัดระวังในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติให้ดีที่สุด
    ท่านพระอาจารย์สาครคอยปฏิบัติองค์หลวงปู่ฝั้นอย่างใกล้ชิดดุจเป็นเงาขององค์หลวงปู่ ท่านจะดูแลองค์หลวงปู่ฝั้นตั้งแต่ตอนที่ องค์หลวงปู่ตื่นขึ้นมา โดยจะเข้าไปถวายน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน เปลี่ยนกระโถน รับผ้าจีวรมาที่ศาลา ตอนบิณฑบาตรจะช่วยองค์หลวงปู่ ครองผ้ากลัดรังดุม และคอยส่งบาตร รับบาตรองค์หลวงปู่ แล้วรีบกลับมาเตรียมน้ำอุ่นล้างเท้าให้องค์หลวงปู่ แล้วจึงคอยเช็ดเท้าให้แห้ง เวลาฉันอาหาร ท่านพระอาจารย์สาครจะเป็นผู้จัดอาหารถวาย ทั้งนี้เพราะ องค์หลวงปู่ฝั้นท่านไม่จัดอาหารเอง แม้ในคราวที่มีนิมนต์ไปฉันข้างนอกก็ตาม ท่านพระอาจารย์สาครจะขอโอกาสพระเถระองค์อื่นเพื่อจะได้นั่งใกล้องค์หลวงปู่ฝั้น เพื่อคอยจัดอาหารถวาย ท่านพระอาจารย์สาครต้องฉันให้เสร็จก่อนองค์หลวงปู่ เพื่อจะได้นำบาตรของตนไปล้างก่อน แล้วจึงนำบาตรขององค์หลวงปู่ไปล้าง แล้วนำมาเช็ดให้แห้ง ก่อนนำไปผึ่งไว้ แล้วรีบกลับมาถวายไม้สีฟัน ถวายยา เก็บของ เก็บกระโถน รับผ้าจีวร แล้วรีบนำบริขารขององค์หลวงปู่ ไปเก็บไว้ที่กุฏิ แล้วมาคอยเป็นปัจฉาสมณะ ดูแลองค์หลวงปู่ ถ้ามีงานภายในวัด ท่านจะกราบเรียนขอโอกาสไว้ แล้วไปทำงานนั้นๆจนเสร็จ ซึ่งงานส่วนมากเป็นงานที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ท่านจะรับอาสาทำเสมอ อาทิ ตอนที่แบกเสากุฏิ ท่านบอกว่า ถ้าแบกเสา ๑ ต้น ทีละ ๒ คน แต่ถ้าแบก ๓ คน ๒ ต้นน่าจะดีกว่า โดยท่านพระอาจารย์สาครท่านรับเป็นคนที่อยู่ตรงกลาง ยอมแบกคนเดียว ๒ ต้น เป็นต้น
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="5" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>นอก จากนี้ท่านยังดูแลรักษาเสนาสนะ ร่วมทำงานก่อสร้าง ภายในวัดและภายนอกวัด เช่นงานสร้างเจดีย์ที่หลังกุฏิองค์หลวงปู่ฝั้น งานสร้างถนนวัดถ้ำขาม งานสร้างศาลาวัดถ้ำขาม งานสร้างเขื่อนกั้นน้ำอูน และสะพานบ้านบะทอง งานสร้างโรงพยาบาลหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น เมื่อถึงตอนเย็น ท่านพระอาจารย์สาครจะคอยดูแลสรงน้ำองค์หลวงปู่ เมื่อองค์หลวงปู่สรงน้ำเสร็จต้องรีบเช็ดพื้นห้องน้ำให้แห้ง เพราะเป็นพื้นไม้ ตอนกลางคืนต้องทำวัตรสวดมนต์และรับฟังโอวาทที่ศาลา เมื่อเลิกท่านก็ไปที่กุฏิองค์หลวงปู่เพื่อไปส่งย่าม และคอยจับเส้นถวายองค์หลวงปู่ กว่าจะเลิกบางคืนก็เที่ยงคืน ผางคืนล่วงไปจนถึงตีหนึ่ง เมื่อลงจากกุฏิ ท่านจะลงไปเดินจงกรมต่อแล้วจึงเข้าพัก บางคืนท่านจะเดินจนถึงเวลาที่องค์หลวงปู่ตื่น ซึ่งโดยปกติแล้ว องค์หลวงปู่ฝั้นจะเข้าพักไม่นาน เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นท่านตื่น ท่านพระอาจารย์สาครก็จะรีบเข้าไปถวายน้ำล้างหน้าอีก ในข้อวัตรต่างๆเหล่านี้ท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งท่านพระอาจารย์สาครจะมีคติสั้นที่ยึดปฏิบัติว่า “นอนทีหลัง ตื่นก่อน ฉันทีหลัง อิ่มก่อน” นอกเหนือจากการมีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดแล้ว ในการเดินทาง แม้จะมีเป้าหมายที่แน่นอน หากด้วยบนหนทางย่อมต้องพบเครื่องกีดขวางอยู่บ้าง การจะฝ่าฟันไปได้นั้น นอกจากจะต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งแล้ว ท่านพระอาจารย์สาครยังมีองค์พระพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ ยามที่ท่านพบกับปัญหาไม่ว่าทางด้านใดๆก็ดี ท่านได้มี องค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่านพระอาจารย์แปลง สุนฺทโร ท่านพระอาจารย์เขี่ยม โสรโย ท่านพระอาจารย์อุทัย สิริธโร และท่านพระอาจารย์คำดี ปัญโญภาโส คอยเมตตาช่วยเหลือ ทำให้การปฏิบัติธรรมของท่านพระอาจารย์สาครดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งท่านพระอาจารย์สาครก็ได้ซาบซึ้งในพระคุณของท่านพระเถระทุกองค์นี้เสมอ ดังนั้นนอกจากท่านจะไปกราบเยี่ยมแล้ว หากท่านสามารถจัดทำธุระสิ่งใดเพื่อตอบแทนได้ ท่านก็จะทำทันที
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="5" cellspacing="5"> <tbody><tr> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>มั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี
    </td> </tr> <tr> <td>ถึง แม้ท่านจะตั้งใจปฏิบัติข้อวัตร และทำงานทุกอย่างเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ หากแต่ยังหวั่นกลัวองค์หลวงปู่ฝั้นจะไล่หนีเอา จนวันหนึ่งมีสิ่งที่ทำให้ท่านรับรู้และมั่นใจว่าจะไม่ถูกไล่หนี กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านเจ้าคุณซึ่งเคารพองค์หลวงปู่ฝั้นได้มากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่และปรารภ ขึ้นว่า ทางภาคตะวันตกของประเทศนั้นยังมีพระกัมมัฏฐานน้อย ทั้งที่ดินแดนแถบนั้นยังมีป่าอันสัปปายะอุดมสมบูรณ์อยู่ แม้ขณะนั้นจะมีท่านพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ แต่ท่านก็อาพาธ จึงอยากจะขอพระจากองค์หลวงปู่ไปอยู่เป็นหลักให้แก่พระและญาติโยมทางด้านนั้น บ้าง องค์หลวงปู่ฝั้นจึงถามว่าคิดจะเอาใครไป ท่านเจ้าคุณซึ่งได้เคยเห็นอาจริยวัตร และฝีมือการทำงานในตัวท่านพระอาจารย์เป็นประจักษ์แล้ว จึงกล่าวขอตัวท่านพระอาจารย์กับองค์หลวงปู่ฝั้น ซึ่งองค์หลวงปู่ฝั้นก็ไม่อนุญาตให้ไป การที่องค์หลวงปู่ฝั้นท่านกล่าวไม่อนุญาตนั้น ก็มีความหมายเป็นนัยให้ท่านพระอาจารย์สาครรับรู้ได้ว่า แม้องค์หลวงปู่ฝั้นจะดุ จะว่าเอา แต่องค์หลวงปู่ท่านก็ได้รับรู้ถึงความเอาใจใส่ ไม่ละวางการงานในตัวลูกศิษย์ผู้นี้อยู่เสมอ ซึ่งก็เพียงพอให้ท่านพระอาจารย์สาครซาบซึ้ง และเป็นกำลังใจให้ท่านยิ่งทุ่มเทแรงกายแรงใจถวายองค์หลวงฝั้นยิ่งขึ้นไป เมื่อองค์หลวงปู่ฝั้นอาพาธ ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์สาครเป็นพระรูปหนึ่งในแปดรูปที่ได้รับคัดเลือกให้ดูแลองค์ หลวงปู่ จากพระจำนวนร้อย ซึ่งท่านทำหน้าที่คอยดูแลออกซิเจนให้องค์หลวงปู่ และถวายอาหารให้องค์หลวงปู่ในตอนเช้าด้วย จวบจนกระทั่งองค์หลวงปู่ฝั้นท่านมรณภาพในวันอังคารที่ ๔ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ณ กุฏิวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลังจากเสร็จพิธีพระราชทานเพลิงศพองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์สาครได้เดินทางธุดงค์แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะได้เร่งบำเพ็ญภาวนา ตามแนวทางคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ที่ท่านได้เมตตาอบรมแนะนำธรรม
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>ละจากแดนดินอีสานสู่ภาคตะวันตก
    </td> </tr> <tr> <td>เมื่อ สิ้นองค์หลวงปู่ฝั้นและเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านก็ละจากวัดป่าอุดมสมพร เพื่อเดินทางไปอุปัฏฐากองค์หลวงปู่หลุย เพื่อเป็นอาจริยบูชาที่องค์หลวงปู่หลุยเคยเมตตาฝึกหัดอบรมแก่ท่าน ในโอกาสนี้ท่านจึงมีโอกาสติดตามธุดงค์อีกครั้งไปกับองค์หลวงปู่หลุยทั่วทุก จังหวัดทางภาคเหนือ และองค์หลวงปู่หลุยได้พากราบเยี่ยมยังสถานที่และวัดสำคัญอันองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เคยมาเผยแพร่หลักธรรมคำสอนอยู่ เมื่อใกล้เข้าพรรษา องค์หลวงปู่หลุยซึ่งได้พิจารณารับนิมนต์ไปจำพรรษาที่หนองแซง จ.อุดรธานีก็เดินทางกลับลงมาและแวะโปรดญาติโยมที่สำนักสงฆ์ กม.๒๗ กรุงเทพมหานคร ส่วนท่านพระอาจารย์สาครก็มีนายอำเภอมานิมนต์ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดภู ซางใหญ่ จ.อุดรธานี แต่ท่านมิได้รับนิมนต์ไป ด้วยเมื่อหวนคิดถึงเมื่อครั้งท่านถูกขอตัวจากองค์หลวงปู่ฝั้นเพื่อไปอยู่ทาง ภาคตะวันตก “ด้วยแดนดินถิ่นนั้นขาดพระเณรที่จะเป็นหลัก” ทำให้ท่านติดอยู่ในใจที่อยากจะไปช่วยเหลือ ทั้งในทางภาคอีสานนี้ก็มีครูบาอาจารย์พระเณรซึ่งเป็นหลักแก่พระพุทธศาสนาให้ พึ่งพิงมากมายอยู่แล้ว ท่านจึงคิดจะไปทางนั้นดู จึงได้กราบเรียนองค์หลวงปู่หลุย ซึ่งองค์หลวงปู่ก็อนุญาต ดังนั้นในคืนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ อันวันรุ่งขึ้นองค์หลวงปู่จะเดินทางกลับไป จ.อุดรธานี ท่านพระอาจารย์สาคร จึงขอทำวัตรกับองค์หลวงปู่โดยบอกแก่ญาติโยมที่นั้นว่า “เผื่อมันตายไป พรุ่งนี้ไม่ได้ไปกับหลวงปู่” นั่นก็เป็นที่แจ้งแก่ใจญาติโยมที่เคารพนับถือในตัวท่านพระอาจารย์สาครว่า ท่านจะไม่กลับไปด้วยแล้ว ก่อให้เกิดความอาลัย ร่ำไห้ออกมาหลายคน วันรุ่งขึ้น ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ท่านพระอาจารย์สาครได้ส่งองค์หลวงปู่หลุยขึ้นรถไฟที่ดอนเมือง ครั้นถึงเวลารถออก ท่านก็กราบลาลงมา นับเป็นเวลา ๕ เดือนเต็มที่ท่านได้ทำอาจริยบูชาปรนนิบัติดูแลองค์หลวงปู่หลุยโดยใกล้ชิด
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>กำเนิดวัดเวฬุวัน
    </td> </tr> <tr> <td>เมื่อท่านพระอาจารย์สาครขอโอกาสกราบลาจากองค์หลวงปู่หลุยแล้ว ท่านพระอาจารย์สาครได้พิจารณาแสวงหาที่ปฏิบัติธรรม โดยท่านได้เลือกไปวิเวกทางจังหวัดกาญจนบุรี เพราะเห็นว่าสถานที่นั้น ยังไม่ค่อยมีพระปฏิบัติมาพักอยู่ ท่านจึงบอกกับลูกศิษย์ให้ขับรถมารับที่วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เพื่อเดินทางไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และได้มาส่งท่านถึงเพียงแค่วัดพุทธวิมุติวนาราม อ.ไทรโยค ด้วยถนนเพิ่งสร้างมาสิ้นสุด ณ ตรงนั้น การเดินทางจึงต้องเดินทางต่อโดยทางเรือจนถึงทองผาภูมิ ท่านจึงให้คณะที่มาส่งกลับไป เหลือแต่ท่านพระอาจารย์สาครเดินทางต่อไปเพียงลำพัง เมื่อถึงทองผาภูมิ เนื่องจากท่านไม่รู้จักใคร ท่านจึงได้สอบถามหาโยมผู้อุปถัมภ์วัดในละแวกนั้น ให้พาท่านไปดูถ้ำต่างๆ เพื่อเป็นที่พำนักปฏิบัติในพรรษาที่ใกล้จะมาถึง พวกโยมได้พาไปดูถ้ำหลายแห่ง จนในที่สุดท่านมาพบถ้ำแก่งกระโต่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นที่จำพรรษาในคราวนั้นเอง
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="86%"> <tbody><tr> <td>องค์หลวงปู่ฝั้นพาสร้างวัดใหม่
    </td> </tr> <tr> <td>คืน หนึ่งที่ถ้ำแก่งกระโต่ง ท่านพระอาจารย์สาครเข้าภาวนาตอนหัวค่ำอันเป็นปกติ ปรากฏว่าเมื่อจิตสงบแล้วในค่ำคืนนั้น ท่านได้นิมิตเห็นองค์หลวงปู่ฝั้นพาท่านและพระเณรสร้าง กุฏิพระ ศาลา ถนนหนทางในวัดแห่งหนึ่ง ท่านและพระเณรอื่นๆก็ช่วยกันสร้างอย่างแข็งขัน เฉกเช่นที่ท่านเคยช่วยงานก่อสร้างกับองค์หลวงปู่ฝั้นมาตามปกติ ท่านอยู่สร้างวัดนั้นนานเหมือนเป็นปี จนท่านคุ้นเคยกับสถานที่นั้นเป็นอย่างดี ด้วยต้องเดินไปทั่วเขตวัดเพื่อสำรวจทาง และหาไม้ หาฟืน อยู่ทุกวัน จนท่านจำได้ว่ามีถนน มีกุฏิ ศาลา อยู่อย่างไร มีคลองทางน้ำ มีต้นไม้อะไรอยู่ตรงไหน สิ่งหนึ่งที่ท่านจำได้ชัดคือบ่อพุน้ำที่มีปลาอาศัย มีต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้วล้มอยู่ ด้านโคนต้นอยู่ที่บ่อพุน้ำทางปลายพาดคลองชี้ไปทางทิศตะวันออก วันหนึ่งหลังจากพักทำงาน ขณะองค์หลวงปู่ฝั้นมาพักฉันน้ำ องค์หลวงปู่ก็พูดขึ้นกับท่านพระอาจารย์สาครว่า “ท่านอยู่ที่นี่นะ” ในนิมิตนั้น ท่านพระอาจารย์สาครได้ตอบไปว่า “กระผมไม่เอา กระผมจะกลับสกลนคร ที่นี่ลำบาก” ด้วยการตอบสวนคำที่ไม่เคยทำต่อองค์หลวงปู่ฝั้นมาก่อน จิตท่านจึงถอดออกทันที ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา ตี ๒ ล่วงเข้าวันใหม่ เมื่อมีโอกาสท่านพระอาจารย์สาครจึงสอบถามกับญาติโยมที่มีศรัทธามาทำบุญใส่ บาตรว่า เคยเห็นสถานที่ที่มีลักษณะดังกล่าวหรือไม่ จนได้ความแล้วจึงได้ไปดู พบว่าสถานที่นั้นตรงกับในนิมิตทุกประการ ซึ่งขณะที่เดินไปนั้นท่านสามารถบอกล่วงหน้าได้ว่า ประเดี๋ยวตรงทางขึ้นวัดจะมีจอมปลวกและไม้แดงอยู่ ก็พบดังที่ท่านบอก และถัดไปจะมีต้นมะขามป้อม และมีคลองทางน้ำไหลมาจากบ่อพุน้ำด้านบน เดินไปตามคลองจะมีต้นฉะค่าง และเมื่อข้ามคลองไปจะเจอต้นแดงคู่อยู่ ก็เจอตามที่ท่านพูดเหมือนคุ้นเคยมาก่อน และเมื่อสุดคลองก็พบบ่อพุน้ำมีต้นไม้ล้มอยู่ในลักษณะที่ท่านเห็นในนิมิตทุก ประการ ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจพาญาติโยมผู้มีศรัทธา เริ่มสร้างเสนาสนะตามที่องค์หลวงปู่ฝั้นบอกกับท่านในนิมิต และท่านได้อยู่จำพรรษา ณ สถานที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ เรื่อยมา ต่อมาท่านได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์มี นามว่า วัดเวฬุวัน เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ และท่านพระอาจารย์สาครได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ และได้รับพระราชทานเป็น พระครูภาวนาสุทธาจาร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ นับจากวันที่ได้เริ่มสร้างวัดเวฬุวันเป็นต้นมา สถานที่แห่งนี้ได้สร้าง ได้อบรมพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และอบรมอุบาสก อุบาสิกา ให้ดำรงอยู่ในเส้นทางแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
    อีกประการหนึ่งอาจเป็นจุดประสงค์ขององค์หลวงปู่ฝั้นที่ต้องการให้วัดเวฬุวัน เป็นสถานที่คอยสนับสนุนพระเณรที่มุ่งต่อการประพฤติ ปฏิบัติธรรม เพราะหากพิจารณาสภาพผืนป่าที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันนี้ก็จะ เห็นว่า ผืนป่าภาคตะวันตกยังคงความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด และเป็นสถานที่สัปปายะอย่างยิ่ง ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของวัดเวฬุวันนั้น เป็นเหมือนประตูที่เข้าไปสู่ผืนป่าดังกล่าว องค์หลวงปู่ฝั้น จึงได้สั่งให้ท่านพระอาจารย์สาครสร้างวัดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ เพื่อความเจริญแก่พระเณร และพระพุทธศาสนาต่อไป
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="5" cellspacing="5"><tbody><tr><td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td><table bgcolor="#c48400" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff">[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  5. Art2009

    Art2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +2,074
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
    ------------------------
    โรงหล่อพระเจริญศิลป์ ,รับหล่อพระพุทธรูป ,รับปั๊มพระผงองค์ละ85สตางค์
    เพื่อชาวเว็ปพลังจิตที่ทุนน้อยแต่ปรารถนาสร้างบุญ
    087-073-1949หรือ083-080-208-4484
    Art2009<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  6. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    อนุโมทนาสาธุครับ ท่านใดจะไปร่วมบุญกฐินในวันงาน เรียนเชิญน่ะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...