'ธรรมะ' ต้องซักถาม พระอาจารย์สมนึก นาโถ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 28 สิงหาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    [​IMG][​IMG][​IMG]

    <SCRIPT type=text/javascript>var id='26074';function count(){$.ajax({ type: "POST", url: "http://www.komchadluek.net/counter_news.php", data: "newsid="+id, success: function(txt){ var counter_=parseInt(txt); $('#counters').html('จำนวนคนอ่าน '+counter_+' คน'); } });} featuredcontentslider.init({ id: "slider1", contentsource: ["inline", ""], toc: "markup", nextprev: ["Previous", "Next"], revealtype: "click", enablefade: [true, 0.1], autorotate: [true, 8000], onChange: function(previndex, curindex){ }})</SCRIPT>คมชัดลึก :หลายคนรู้จัก พระครูสุธรรมนาถ หรือ พระอาจารย์สมนึก นาโถ เจ้าอาวาส วัดปลักไม้ลาย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ในฐานะผู้บุกเบิกป่าสมุนไพร ปัจจุบันวัดมีพื้นที่กว่า ๑๐๐ ไร่
    <SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-1044823792492543";/* Kom-newdesign338x280story */google_ad_slot = "7614892621";google_ad_width = 336;google_ad_height = 280;//--></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>

    ก่อนหน้านี้ พระอาจารย์สมนึกเคยเป็นนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่เรียนได้ไม่ถึงปี ก็ลาออก เพราะคิดว่า นั่นไม่ใช่คำตอบในการดำเนินชีวิต จึงหันมาทำงานกับครอบครัวพักหนึ่ง และบวชเป็นภิกษุสงฆ์ รวมๆ แล้วกว่า ๓๒ ปี
    แม้ท่านจะโดดเด่นเรื่อง การปลูกป่าสมุนไพร แต่นั่นไม่ใช่ภารกิจหลัก ท่านบอกว่า เรื่องหลักของนักบวช คือ ศึกษา และ สอนธรรมะ
    “ป่าสมุนไพรเป็นความบังเอิญ เพราะเรามีความรู้เรื่องนี้พอสมควร ตอนนั้นเราทำเพื่อให้คนรักต้นไม้ และรู้จักคุณค่าก่อน ไม่อยากให้ต้นไม้ถูกตีค่าเป็นฟืน เมื่อปลูกพืชสมุนไพร ชาวบ้านแถวนี้ก็มาถามว่า สมุนไพรตัวไหนรักษาอะไร เราก็พอมีตำราบอกกล่าวได้” พระอาจารย์สมนึก เล่าถึงป่าสมุนไพร
    เพราะเจ้าอาวาสอยากให้คนเห็นค่าของต้นไม้ ท่านจึงเอาป้ายชื่อต้นไม้มาติด พร้อมสรรพคุณรักษาโรค และฝึกอบรมหมอพื้นบ้าน
    เมื่อชาวบ้านเห็นพระอาจารย์ทำจริง และรู้จักต้นไม้ทุกชนิดในป่าสมุนไพรกว่า ๕๐๐ ชนิด จึงเลิกตัดต้นไม้
    ท่านต้องการรักษาป่าให้เป็นที่อยู่ของนักบวช และคนที่ต้องการความสงบ
    ในส่วนของการสอนและศึกษาธรรมะ พระอาจารย์เคยทำความเพียรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และฝึกญาติโยมให้นั่งกรรมฐาน มานานกว่า ๑๗ ปี
    แต่ก็เกิดคำถามในใจว่า แท้จริงแล้ว วิปัสสนากรรมฐานทำอย่างไร จึงหันไปค้นคว้าคำสอนของพระพุทธเจ้า
    “ถ้าเราเลือกชีวิตนักบวช ต้องมีงานที่จะทำ จุดหมายที่นักบวชปรารถนา คือ นิพพาน ถ้าบวชแล้วไม่เอานิพพาน ถามว่าบวชทำไม พุทธศาสนาเป็นแนวทางของปัญญา แต่วิธีการที่เราได้จากครูบาอาจารย์ที่ผ่านมา มันไม่ใช่ บางแห่งมุ่งไปเรื่องเครื่องรางของขลัง”
    ตลอดการสนทนา พระอาจารย์จะตั้งคำถามธรรมะให้คิดพิจารณา ยกตัวอย่าง ตัวตนคืออะไร นิพพานคืออะไร รูปเที่ยงไหม จิตใจเที่ยงไหม ฯลฯ
    “ถ้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน แปรปรวนได้” พระพุทธเจ้าสอนเช่นนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่พระอาจารย์ชวนให้คิดพิจารณา หากยังตอบไม่ถูก ก็จะย้อนกลับมาถามคำถามเดิม เพื่อให้ไตร่ตรองอีกครั้ง
    หากระหว่างการสนทนา ใจไม่อยู่กับคำถามและคำตอบ พระอาจารย์ก็จะบอกว่า จิตต้องตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เวลาคุยจิตต้องอยู่กับเรื่องนี้ ไม่ให้ปล่อยจิตออกไปทางอื่น
    “ต้องทำความเข้าใจ สมาธิ ที่พระพุทธเจ้าสอนก่อน สมาธิไม่ใช่หมายถึงการนั่งหลับตา สมาธิเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องรู้ว่า ดียังไง”
    หากย้อนมาที่คำถามเดิม นิพพานคืออะไร พระอาจารย์บอกว่า นัยที่ต่างกันในการตีความของครูบาอาจารย์ปัจจุบัน ทำให้คำว่า 'นิพพาน' ถูกตีความให้แปลกไปจากเดิม บางคนบอกว่า นิพพานคือธรรมวิเศษ และ 'วิเศษ' ที่เราเข้าใจ คือ สุดยอด กลายเป็นสิ่งสูงส่ง แต่วิเศษในสมัยก่อน คือ ธรรมดา
    ความหมายนิพพานของพระพุทธเจ้า คือ “ภาวะไม่มีเครื่องผูก“
    พระอาจารย์บอกว่า "เมื่อตนของบุคคลใดมีอยู่ เครื่องผูกตนของบุคคลนั้นมี เมื่อตนของบุคคลใดไม่มี เครื่องผูกตนของบุคคลนั้น ย่อมไม่มีไปด้วย" สภาพแบบนี้เรียกว่า นิพพาน
    “เพราะเราดิ้นรน อยากจะไปสู่จุดหมายของนักบวช แต่มาค้นพบว่า เป็นการปฏิบัติผิด จึงกลับไปอ่านพระไตรปิฎก” พระอาจารย์เล่าถึงตัวเอง
    ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า วิปัสสนากรรมฐาน คือ การทำให้เกิดความรู้แจ้ง เห็นจริง ทำให้เกิดปัญญา แล้วปัญญาเกิดด้วยเหตุใด ก็ทำเหตุนั้นแหละ ให้บริบูรณ์
    ดังนั้นปัญญาอาศัยเหตุ ๓ ประการเกิดขึ้น คือ ปัญญาจากการฟัง (สุตตมยปัญญา) ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (จินตมยปัญญา) และปัญญาเกิดจากการกระทำ (ภาวนามยปัญญา)
    “เมื่อรู้แล้ว คือรู้แล้ว การปฏิบัติเพื่อรู้ เรียกว่าวิปัสสนา ไม่ใช่การทำอย่างอื่นอันใด ปฏิบัติเพื่อทำให้ความรู้เกิดขึ้น การเดินจงกรม นั่งสมาธิเป็นเพียงวิธีการ แต่ตัวรู้คือจิต เพื่อทำให้เกิดสติปัญญา รู้ความหมายของคำว่า ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน คือแค่นี้ แล้วเราต้องทำอะไรอีก”
    ทำไมการฟังธรรมทำให้เกิดปัญญาได้ เรื่องนี้พระอาจารย์ยกตัวอย่าง ในยุคพุทธกาล พระพุทธเจ้าเวลาแสดงธรรม จะทรงถามเพื่อให้คิดพิจารณาตามคำถามนั้น แล้วตอบไปตามที่คิดได้ หมายถึงคิดและรู้ความหมายของคำถามนั้น ความรู้นั่นคือ ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา เมื่อรู้แจ้งแล้ว จึงละความไม่รู้ และละความยึดถือได้
    ในพุทธกาลมองว่า นิพพานเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องสุดยอดเหมือนปัจจุบัน พระอาจารย์ยกตัวอย่าง เรื่อง ปัญจวัคคีย์ พระยส สหายพระยส บริวารพระยส พระปุราณชฎิล ๑,๐๐๐ รูป ได้ฟังธรรมเทศนา ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
    “พระพุทธเจ้าบอกไว้ว่า ฝึกสติปฏิฐานสี่ อย่างน้อย ๗ วัน อย่างมาก ๗ ปีสำเร็จ แล้วเราทำมา ๑๗ ปีก็ต้องคิดใหม่ พระพุทธเจ้าสอนเรื่องความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เพราะไม่ใช่ตัวตน แปรปรวนได้ แล้วรู้ไหมว่า ทุกข์แปลว่าอะไร”
    หากบอกว่า ความทุกข์ คือ ความกังวล วิตก ความเศร้า ความทุกข์ที่กล่าวมา ไม่ใช่ทุกข์ที่พระพุทธเจ้ากล่าว แต่เป็นทุกข์ลักษณะ แปลว่า ไม่ทน ทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้ ไม่คงสภาวะเดิม
    “ส่วนความสุข ความรู้สึกเฉยๆ อาการที่เปลี่ยนไป คิดว่าเที่ยงไหม”
    พระอาจารย์ตั้งคำถาม อารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในสภาวะหนึ่ง แล้วดับไป สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์แปรปรวนเป็นธรรมดา
    พระอาจารย์ย้อนถามว่า เมื่อรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน แล้วเหตุใดยังอยากได้ อยากเป็น อยากไม่เป็นอยู่ ตัณหาเหล่านี้ยังมีอยู่ ทำให้รู้สึกว่า ยังไม่บรรลุธรรม
    “เมื่อเข้าใจผิดว่า ต้องไม่มีตัณหา ต้องไม่มีความอยากทุกชนิด หากละความอยากไม่ได้ เป็นอันว่าบรรลุธรรมไม่ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ในหมู่พุทธบริษัท จริงๆ แล้วพระอรหันต์ ท่านก็ยังมีความอยากนั่ง อยากนอน อยากกิน ฯลฯ แต่ท่านละความอยากที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ได้”
    พระอาจารย์ย้อนถามต่อว่า ตัวตน คือ สิ่งเที่ยงแท้ ถาวร เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เมื่อรู้เช่นนี้ คิดว่า ร่างกายใช่...ตัวตนไหม
    “ในร่างกายของเรา มีอะไรไหม...ที่เที่ยงและใช่ตัวตน ในจิตใจเรามีอะไรไหม...ที่เที่ยง เดี๋ยวเป็นสุข ทุกข์ ความจำ ความคิด แล้วมีอะไรใช่ตัวตน เมื่อไม่มีอะไร...ใช่ตัวตนให้ถูกผูก แล้วเครื่องถูกผูกจะมีไหม หากถามว่า ถ้าไม่เที่ยงต้องดูแลไหม พระพุทธเจ้าสอนว่า เมื่อไม่เที่ยง จึงต้องมีวินัยและข้อปฏิบัติมากมาย เพราะร่างกายไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ฝึกร่างกาย และสอนให้ฝึกจิตควบคุมอารมณ์ แต่ครูบาอาจารย์บางคนนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาบอกต่อแบบผิดๆ นับพันปี มันก็เลยยาก แต่ก็มีผู้รู้บางคนสอนจากพุทธพจน์ และบางคนสอนเพิ่มจากที่พระพุทธเจ้าสอน"
    พระอาจารย์เล่า และบอกว่า เมื่อก่อนที่นี่ก็มีคอร์สปฏิบัติธรรม ปัจจุบันไม่มี ก็สอนแบบนี้ คือ มีคนมาถามธรรมะก็คุยกัน คนเราถ้าศึกษาธรรมะตามแนวพระพุทธเจ้า นิพพานได้ทุกคน ไม่ใช่พระสงฆ์อย่างเดียว คนที่รู้จะนิพพานหรือไม่ ก็เรื่องของเขา
    "เราคิดเองว่า ถ้าปีหนึ่งสอนสัก ๕ คน แล้วเขาไปสอนคนอื่นต่อ ย่อมเป็นเรื่องดี ไม่จำเป็นต้องสอนกลุ่มใหญ่ให้เดินสมาธิเป็นแถวเรียบร้อย แค่สอนคนๆ หนึ่งเข้าใจ แล้วเขาไปสอนตามแนวทางพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง ก็พอแล้ว”
    "เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...