บทที่ 36 : กัลยาณมิตร (ตอนจบ)

ในห้อง 'ทวีป ยุโรป' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    บทที่ 36 : กัลยาณมิตร (ตอนจบ)

    [​IMG] ทุก ท่านได้ดวงตาเห็นธรรมได้คำตอบชัดๆ ด้วยตัวเองว่า ทำไมพระยสะถึงได้สละความสุขทางเนื้อหนังและเปลี่ยนแปลงชีวิตมาสู่เพศบรรพชิต ผู้มีชีวิตอย่างเรียบง่ายแต่มีความสุขสูงส่งยั่งยืน <o:p></o:p>
    เมื่อ เหตุแห่งทุกข์ดับไปสิ้นแล้ว คงเหลือแต่ความสงบอย่างเต็มเปี่ยม ความสงบเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขแท้ที่ไม่เปลี่ยนแปรไม่หมดไม่สิ้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”<o:p></o:p>
    ท่าน ผู้ที่เห็นธรรมอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องหาความสุขจากความมีความเป็นโดยอาศัยรูป เสียง กลิ่น รส อันน่าใคร่น่าพอใจเป็นเหยื่อล่อแต่อย่างใด แต่สามารถอยู่กับสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไม่หวั่นไหว โอนเอนสะทกสะท้านแต่ประการใด<o:p></o:p>
    แม้ ชีวิตนี้ยังไม่สิ้นต้องอาศัยปัจจัยสี่เพื่อการหล่อเลี้ยงชีพ ก็อาศัยเท่าที่จำเป็นจริงๆ ไม่ต้องการส่วนเกินมาเก็บกักให้รกให้หนักอีกต่อไป เพราะจิตใจที่ได้พบอิสรภาพที่แท้จริงแล้ว จะไม่หวนกลับไปหาเครื่องพันธนาการให้ผูกมัดอีกต่อไป<o:p></o:p>
    สหาย ของท่านพระยสะได้ประจักษ์ความจริงด้วยตนเองอย่างไม่มีข้อกังขาใดๆ สว่างไสวเหมือนหงายของที่คว่ำ มีความมั่นใจอย่างแรงกล้าเหมือนเดินทางหลงป่ามาเป็นเวลานาน บัดนี้ได้พบผู้บอกทาง และได้เดินออกจากป่าสู่เส้นทางที่จะเดินไปสู่จุดหมายปลายทางถูกต้องแล้ว เสมือนคนกระหายน้ำมานาน บัดนี้ได้ดื่มน้ำเย็นจืดสนิทย่อมมีความสดชื่นเบิกบานเหนือคำบรรยาย<o:p></o:p>
    ท่านทั้งสี่ได้ตัดสินใจขอบรรพชาอุปสมบทต่อหน้าพระพักตร์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<o:p></o:p>
    เมื่อ ได้รับการบรรพชาอุปสมบทแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงอบรมต่อด้วยธรรมขั้นสูงยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างละเอียด ท่านทั้งสี่ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
    <o:p></o:p>

    ขณะนั้นพระอรหันต์ในโลกเพิ่มขึ้นเป็นสิบเอ็ดองค์...
    <o:p></o:p>

    [​IMG] ทั้ง พระยสะและพระที่เป็นสหายของท่านในอดีต นอกจากจะร่ำรวยด้วยทรัพย์สมบัติแล้วยังเป็นผู้กว้างขวาง มีคนนับหน้าถือตามาก เวลาท่านเหล่านี้ทำอะไรคนทั้งหลายเฝ้ามองและยอมรับว่าเป็นความถูกต้อง เป็นต้นแบบ น่าทำตามเหมือนวัยรุ่นให้ความเชื่อมั่นในวีรบุรุษยอดดวงใจของตนนั่นเอง<o:p></o:p>
    เพื่อนๆ ของพระยสะและสหายทั้งสี่เมื่อได้ทราบว่า สิ่งที่พระยสะและพระที่เป็นสหายได้กระทำลงไปนั้นเป็นเรื่องการยกระดับใจให้ สูงและไกลจากกระแสกิเลสจะไหลมาท่วมทับหรือครอบงำได้กลายเป็นชีวิตที่อิสระ อย่างแท้จริง <o:p></o:p>
    จิต ใจที่สูงส่งและเป็นอิสระมีคุณค่ามากกว่าตำแหน่งหน้าที่ใดๆ ที่สมมติกันชั่วคราวแล้วก็ผ่านไป หากยึดถือหรือแบกไว้ล้วนเป็นที่มาแห่งความทุกข์ทั้งสิ้น <o:p></o:p>
    คนหนุ่มที่เห็นประจักษ์ความจริงเช่นนี้ พากันมาขอฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<o:p></o:p>
    พระองค์ ทรงต้อนรับคนหนุ่มเหล่านั้นด้วยธรรมกถาที่เหมาะสมและกล่อมเกลาจิตใจของพวก เขาให้เข้าถึงธรรมพบความบริสุทธิ์ผุดผ่องสว่างไสวสงบเย็นกันทั่วหน้า<o:p></o:p>
    พวกเขาปรารถนาที่จะยกระดับจิตให้เป็นอิสระสิ้นเชิง จึงขอบวชและปฏิบัติธรรมประพฤติพรหมจรรย์จนบรรลุพระอรหันต์กันหมดทุกท่าน
    <o:p></o:p>

    [​IMG] หาก ติดตามดูพระพุทธจริยาของพระพุทธเจ้าอย่างละเอียดแล้ว พระองค์มุ่งให้ทุกคนที่เข้ามาหาพระองค์ได้รับปัญญาเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปัญญาแสงสว่างชี้ทางดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน <o:p></o:p>
    ประชาชน ที่เชื่อในพระพุทธเจ้าแล้วบวชตามก็มิได้เชื่ออะไรที่เป็นพุทธานุภาพอย่าง หลับหูหลับตาไร้ปัญญา แต่ต่างก็มีปัญญาเห็นความจริงโดยผ่านการไตร่ตรองครุ่นคิดด้วยโยนิโสมนสิการ และได้รับประสบการณ์แห่งความสงบเย็นนั้นจริงๆ แล้วความเชื่ออย่างมั่นคงจึงเกิดขึ้นหลังจากได้ผ่านกระบวนการทางปัญญาไปแล้ว<o:p></o:p>
    เหมือน กับคนไปซื้อผลไม้ เช่นมะม่วง จะเชื่อแม่ค้าเพียงเพราะแม่ค้าบอกว่า มะม่วงนี้หวานเพราะเหตุอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ยังเป็นความเชื่อที่ยังไม่สมบูรณ์ตราบเท่าที่เขายังไม่ได้รับประทาน<o:p></o:p>
    แต่ เมื่อเขารับประทานเรียบร้อยแล้ว เขาเชื่อสนิทใจว่าหวานจริงๆ หรือเปรี้ยวจริงๆ แม้ไม่มีใครบอกเขาก็รู้ได้ด้วยตัวเองว่าหวานจริงๆ หรือเปรี้ยวจริงๆ คำบอกเล่าที่เขาได้ฟังมาว่า มะม่วงหวานหรือเปรี้ยว จะไม่ใช่เรื่องที่เขาคาดคะเนว่าน่าเชื่อหรือไม่น่าเชื่ออีกต่อไป เพราะเขาได้ชิมด้วยตัวของเขาเอง<o:p></o:p>
    ศรัทธาที่พระพุทธสาวกมีต่อพระพุทธเจ้าจึงเป็นศรัทธาที่มีปัญญานำหน้า และถ้าเป็นศรัทธาที่ไม่หวั่นไหวต้องได้ลิ้มรสแห่งความสงบแท้ๆ<o:p></o:p>
    เมื่อ พระสาวกได้ฟังพระธรรมจนดวงตาเห็นธรรมแล้ว ส่วนใหญ่ต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตจากความมั่งมีสู่ ความไม่มี จากความร่ำรวยสู่ ความยากจน จากความวุ่นวายสู่ ความสงบ จากชีวิตที่เห็นแก่ตัวกลายเป็นชีวิตที่เห็นแก่ส่วนรวม และพร้อมอุทิศชีวิตเพื่อส่วนรวม
    <o:p></o:p>

    [​IMG] ชีวิต ของนักบวชผู้ผ่านการเห็นธรรมดื่มด่ำในรสพระธรรมอย่างเอิบอิ่มย่อมจะทุ่มเท ชีวิตเพื่อการแบ่งปันสันติรสนั้นสู่เพื่อนร่วมโลกอย่างไม่เห็นแก่ตัวใดๆ อีกเลย รูปแบบของนักบวชที่แท้มิใช่รูปแบบของการทำมาหาเลี้ยงชีพที่ต้องอาศัยผู้อื่น เพียงด้านเดียว แต่นักบวชคือ ผู้ที่ได้เห็นธรรม ได้ดื่มรสพระธรรมแล้ว มองเห็นสิ่งต่างๆ ในด้านวัตถุเป็นของไม่มีค่าที่ควรแก่การยึดถือครอบครอง ชีวิตอาศัยเพียงปัจจัยยังชีพน้อยที่สุด ใช้เวลาที่มีอยู่ทั้งหมดแบ่งปันสันติรสที่ตนเองได้พบแก่เพื่อนมนุษย์ไม่ เลือกหน้า โดยมิต้องรับสิ่งใดตอบแทนแม้คำว่าขอบคุณ <o:p></o:p>
    นัก บวชที่แท้ในความหมายของพระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวก จึงมิใช่ผู้ศักดิ์สิทธิ์ มิใช่ผู้ทรงฤทธิ์ ไม่ทรงอำนาจในทางใด แต่เป็นเพียงกัลยาณมิตร ผู้มีจิตสะอาด สว่าง สงบ ที่พร้อมจะสนทนาให้คำปรึกษาหารือ ผ่อนคลายทุกข์อย่างจริงใจและอบอุ่นบนพื้นฐานแห่งความกรุณาและเมตตาที่ไร้ขีด จำกัด <o:p></o:p>
    เขียนวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2545 เวลา 9.30 น. ตรวจทานแก้ไข 10 สิงหาคม 2548 เวลา 13.35 น.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ..............................................................<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พุทธวิถี<o:p></o:p>
    พุทธประวัติ พุทธสิกขา พุทธจริยวัตร พุทธภาวนา พุทธกิจ พุทธธรรม พุทธปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดร.พระมหา จรรยา สุทธิญาโณ ได้กรุณามอบหนังสือ “พุทธวิถี” ที่ท่านได้เขียนขึ้นและจัดพิมพ์เป็นอาจาริยบูชาฉลองร้อยปีชาตกาลพุทธทาส ภิกขุ และฉลอง 95 ปีหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เมื่อปี 2548 ให้ไทยทาวน์ฯ ได้นำมาตีพิมพ์เผยแพร่เป็นวิทยาทานแด่ผู้อ่านชาวไทยในอเมริกา โดยเนื้อหาของพุทธวิถีนั้น ดร.พระมหาจรรยา ระบุเอาไว้ในคำนำว่า เขียนขึ้นโดยใช้ข้อมูลหลักจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย และหนังสือต่างๆ ที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าด้วยความประทับใจ แล้วนำมาพิจารณาเสนอในมุมมองของท่าน โดยปรารถนาให้ผู้อ่านได้อ่านเรื่องของพระพุทธเจ้าด้วยความรู้สึกเป็นกันเอง เหมือนนั่งล้อมวงสนทนาเรื่องพระพุทธเจ้า เรื่องธรรมะอย่างร่าเริง ไม่เคร่งเครียด โดยไทยทาวน์ฯ ขอกราบขอบพระคุณ ดร.พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ ในความกรุณาของท่านมา ณ โอกาสนี้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    23,004
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,021
    เป็นบทความที่ดีมากครับ ผมชอบมากๆ อนุโมทนาครับ อ่านเเล้วคิดได้เลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...