บาปกรรมของ การเนรคุณ...แม่ แม้แต่ พระมหาโมคคัลลานะ... ยังหนีกรรมไม่พ้น

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย paang, 12 สิงหาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]
    "๒๒๑ คน" เป็นตัวเลขของคนแก่ทั้งหญิงและ ชายที่อยู่ในความดูแลของบ้านบางแค ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ คนแก่ที่ถูกทอดทิ้งเท่านั้นเพราะยังมี สถานที่ดูแลคนแก่ที่ถูกทอดทิ้ง ภายใต้การดูแลของรัฐบาลอีก ๒๐ แห่ง กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งมีข้อมูลอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ

    ตัวเลขนี้ไม่เคยลดน้อยลงเลย แต่กลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    ตัวเลขดังกล่าวนี้ยังสอดคล้องกับคนแก่ที่ถูกทอดทิ้งภายใต้การดูแลขององค์กรเอกชนอีกด้วย

    "ความเจริญด้านจิตใจกับความเจริญด้านวัตถุสวนทางกัน จำนวนแม่ที่ถูกทอดทิ้งซึ่งมีแต่จะเพิ่มขึ้น เป็นเครื่องยืนยันว่า คนไทยไม่กลัวบาปกรรม ที่สำคัญคือเป็นอนันตริยกรรม" นี่คือเสียงสะท้อนของ พระครูวิสุทธิสุตคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กทม.

    ทั้งนี้พระครูวิสุทธิสุตคุณ ได้อธิบายถึงความหมายของ "อนันตริยกรรม" หรือ "กรรมหนักในฝ่ายบาป" ว่ามี ๕ อย่าง คือ

    ๑.มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒.ปิตุฆาต ฆ่าบิดา. ๓.อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔.โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้า จนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕.สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน

    กรรม ๕ อย่างนี้ เป็นบาปอันหนักที่สุด หมายความว่า ผู้ใดทำเข้าแล้ว แม้จะทำดีต่างๆ ก็ไม่อาจลบล้างได้ เมื่อผู้นั้นตายลงก็จะได้รับผลของกรรมนั้นทันที ไม่มีผลของกรรมอื่นมาคั่นระหว่าง เช่น พระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระชนก ภายหลังทรงสำนึกผิดจึงทรงสร้างกรรมดีเป็นอันมาก สมควรจะไม่ตกนรก เพราะมีพระบาลีว่า "เย เกจิ พุทฺธํ สรณํ คตา เส น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมิ" หมายถึง ผลของอนันตริยกรรมพอสิ้นชีวิตก็ต้องตกนรกทันที เมื่อหมดกรรมพ้นนรกจึงจะได้รับผลของกรรมดี

    [​IMG]
    อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อถกเถียงที่ว่า การทิ้งแม่ไม่ใช่การฆ่าแม่ ดังนั้นจึงไม่ใช่อนันตริยกรรม แต่พระครูวิสุทธิสุตคุณ กลับมองว่า การทิ้งแม่ให้ใช้ชีวิตอย่างยากเข็ญไม่ต่าง จากการฆ่าแม่และเป็นฆ่าแม่ทั้งเป็นด้วย ดังนั้นลูกคนใดฆ่าแม่และผู้บังเกิดเกล้า ของตนได้ก็นับว่าเป็นคนเลวคนชั่วที่สุด เขาย่อมฆ่าและทิ้งคนอื่นได้แน่นอน"

    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม บอกด้วยว่า ในหลักฐานพุทธประวัติซึ่งปรากฏในพระไตรปิกฎมีอยู่ ๒ เรื่องที่น่าสนใจ คือ

    เรื่องของกรรมที่พระโมคคัลลานเถระพระอัครสาวกฝ่ายขวา ทำลายมารดาบิดาของตน และ พระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระชนก

    [​IMG]

    เรื่องของพระโมคคัลลานเถระพระอัครสาวกฝ่ายขวา มีใจความว่า ในอดีตกาลบุรุษคนหนึ่งในเมืองพาราณสี เชื่อคำของภรรยาที่ต้องการฆ่ามารดาบิดาของตน นำท่านทั้ง ๒ ซึ่งเป็นคนตาบอดทั้งคู่ใส่ยานพาหนะไปในป่า พอถึงกลางดงจึงกล่าวว่า พวกโจรอยู่ที่นี่ฉันจะลงไป จึงส่งเชือกให้บิดาลงไปทำอาการประดุจโจร เฆี่ยนตีบิดามารดา ท่านทั้ง ๒ จำบุตรของตนไม่ได้ จึงคร่ำครวญเพื่อให้บุตรปลอดภัยอย่างเดียวว่า พวกโจรกำลังฆ่าเราลูกเจ้าจงรีบหนีไปเสีย

    บุรุษนั้นคิดว่า มารดาบิดาถูกเราเฆี่ยนตีอยู่ยังคร่ำครวญเพื่อประโยชน์กับเราอย่างเดียว เรากำลังทำสิ่งที่ไม่สมควรแล้ว ปลอบท่านทั้ง ๒ นวดมือและเท้า พูดว่า "แม่พ่อ" โจรหนีไปแล้ว จึงนำกลับมายังบ้านเรือนของตน [​IMG]

    ด้วยกรรมนั้น บุรุษนั้นตกนรกหมกไหม้เป็นเวลาช้านาน ด้วยวิบากกรรม ถูกโจรทุบละเอียดแล้วถึงความตายถึง ๑๐๐ ชาติ ในชาติสุดท้าย เป็นพระมหาโมคคัลลานเถระได้รับการแต่งตั้งเป็น พระอัครสาวกฝ่ายขวา ได้รับการยกย่องจาก พระศาสดาว่าเป็นผู้มีฤทธิ์มาก ยังต้องถูกพวกโจรทุบด้วยกำลังแห่งกรรมถึงนิพพาน แม้จะเป็นพระอรหันต์ก็ยังไม่พ้นบาปกรรมที่ได้ทำไว้กับมารดาบิดา

    ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง คือ พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทำ อนันตริยกรรม พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงเป็นศาสนูปถัมภก ทำคุณประโยชน์ให้กับ พระพุทธศาสนาอีกมากมาย สร้างศาสนสถานไว้เป็นจำนวนมาก ให้ราชบุตรและราชธิดาอุปสมบทเป็นพระภิกษุและ ภิกษุณีในพระพุทธศาสนา แล้วส่งไปประกาศพระศาสนายังลังกาทวีป ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปยังลังกาทวีป สร้างสถูปเจดีย์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสังคายนาครั้งที่ ๑ แต่ท่านก็ต้องรับกรรมของการฆ่าพ่อ

    [​IMG]

    ด้วยเหตุที่ว่าพระองค์ทรงหลงเชื่อพระเทวทัต จนเป็นเหตุให้พระองค์ทรงปลงพระชนม์พระบิดา ถึงแม้ภายหลังพระองค์จะทรงสำนึกผิด ทำดีแก้ตัวแต่ก็ชื่อว่าได้ทรงทำอนันตริยกรรม ถึงแม้จะทำดีแก้ตัวสักเพียงใด จะนำมาหักล้างการกระทำชั่วไม่ได้ ต่อเมื่อได้ผลรับผลกรรม คือ ผลจากการกระทำชั่วสิ้นสุดเสียก่อน จึงจะได้รับผลแห่งความดี

    "การนำดอกมะลิไปไหว้แม่ในวันแม่เป็นสิ่งที่ลูกพึงกระทำ แต่สิ่งที่ลูกพึงกระทำยิ่งกว่า คือ การเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ให้การอุดหนุนจุนเจือท่านเมื่อยามแก่เฒ่า ลูกคนใดก็ตามที่ทิ้งแม่และพ่อ ให้อยู่ด้วยความยากลำบากยากเข็ญ ชีวิตไม่มีทางรุ่งเรือง ทั้งครอบครัวและหน้าที่การงาน และกรรมที่จะตามมา คือ เมื่อถึงคราวแก่เฒ่าก็จะถูกทอดทิ้งเช่นกัน" พระครูวิสุทธิสุตคุณ กล่าวพร้อมกับพูดไว้อย่างน่าคิดว่า "ทุกวันนี้คนมักแสวงหาพระเกจิอาจารย์ พระนักปฏิบัติที่มีชื่อเสียง เพื่อจะทำบุญถวายสังฆทานให้ท่าน ตามความเชื่อที่ว่าทำบุญกับพระเหล่านี้แล้วจะได้บุญมาก แท้ที่จริงแล้วบุญอันยิ่งใหญ่สามารถทำได้ทุกๆ วัน ก็คือที่บ้าน และได้ทำบุญกับพระอรหันต์ด้วยเพราะพ่อแม่คือพระอรหันต์ของลูกๆ ทุกคน"
     
  2. จิตฺตคุโณ ภิกขุ

    จิตฺตคุโณ ภิกขุ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +37
    บิดามารดา ได้ชื่อว่าเป็นพรหมของบุตร
    บุคคลใด ละทิ้ง ไม่บำรุง หาความเจริญไม่ได้
    "มาตาปิตุ อุปัฏฐานัง เอตัมมัง คะละมุตตะมัง"
    การอุปปัฏฐากดูและบิดามารดา เป็นมงคลแห่งชีวิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...