ประวัติ และการดูเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย นิลศิลป์, 11 กรกฎาคม 2008.

  1. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    เสือหลวงพ่อปาน วัดมงคลสุทธาวาส (บางเหี้ย) สุดยอดเครื่องรางแห่งสยามประเทศ

    ยุคสมัยของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั้น อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2411-2453 เป็นช่วงที่ท่านออกธุดงค์ เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนา รวมถึงเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ยด้วยครับ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒนนิสิรธกิจ" จวบจนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา และถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2453 (รวมสิริอายุประมาณ 75 - 80 ปี)

    หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยนั้นท่านเป็นคณาจารย์ ยุคเก่าสมัยโบราณ ถ้าผมจำไม่ผิดหลวงปู่สี วัดเข้าถ้ำบุญนาค เคยกล่าวถึงท่านไปเมื่อตอน มีคนถามท่านว่ารู้จักหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคไหม? ท่านตอบว่ารู้จักแต่หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย และกล่าวว่า "หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั่งเรือไม่ต้องแจวเรือ เรือแล่นได้เอง" หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั้นท่านมีชื่อเสียง ในเรื่องการสร้างตะกรุด ผ้ายันต์ต่างๆ รวมทั้งเครื่องรางประเภทอื่นๆมากหลายอย่าง ซึ่งปัจจุบันหาชมได้ยากมาก ใครมีต่างหวงแหนกันทุกคน การหาของแท้ๆ และทันยุคนั้น หาได้ยากเต็มทีครับ เพราะเครื่องรางที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ก็ขาดการจดบันทึกไว้ ทำให้มีผู้รู้จริงยาก และเครื่องรางของท่าน บางครั้งผู้ที่ได้ไว้ในครอบครองก็ไม่ทราบว่าเป้นของคณาจารย์ท่านใด บางครั้งจะเป็นของหลวงพ่อนก วัดสังกะสี ลูกศิษย์ ซึ่งขลังเหมือนกัน คนถูกยิงตกเรือไม่เข้ามาแล้วเหมือนกันครับ

    ดังนั้น เครื่องรางที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสำนักนี้ และถือเป็นสุดยอดเครื่องรางที่มีค่าบูชาสูงในอันดับต้นๆในบรรดาเครื่องรางของขลัง ของพระเกจิอาจารย์ในยุคอดีต และปัจจุบัน นั่นคือ รูปเสือลอยองค์ ที่แกะมาจากเขี้ยวเสือจริงๆ ทั้งเต็มเขี้ยวบ้าง ครึ่งเขี้ยวบ้าง มีขนาดเล็ก ใหญ่ต่างๆกัน ตามแต่ลักษณะของเขี้ยวเสือที่ได้ชาวบ้านได้มา ฝีมือการแกะเป็นลักษณะของช่างฝีมือท้องถิ่นแท้ๆ แกะให้ท่านปลุกเสกเรื่อยๆ แลดูเรียบง่ายแต่แฝงไว้ด้วยความขลัง และดูน่าครั่นคร้าม แลดูมีตบะมหาอำนาจสูงมาก ไม่เชื่อถ้าท่านมีลองนำมามองจ้องเสือดูซิครับ แลดูน่าเลื่อมใส ศรัทธามากครับ

    มีเรื่องเล่ากันว่า การปลุกเสกเสือของหลวงพ่อปานนั้น ท่านจะต้องมีการเรียกธาตุ 4 คือ “นะ มะ พะ ทะ” เรียก รูป เรียกนาม ปลุกเสกจนกระทั่ง เสือนั้นเคลื่อนไหวได้ราวกับมีชีวิตจริงๆทีเดียวเชียว กำหนดอุคหนิมิต ให้เครื่องรางรูปเสือนั้นมีชีวิต โดยปลุกด้วยคาถาเฉพาะ หนึ่งในบทพระคาถาที่เคยได้รับทราบมา คือ คาถาพยัคคัง ฯ เล่ากันว่า เมื่อท่านปลุกเสกเสร็จขณะนั่งเรือไปท่านจะนำเสือนั้นเทลงคลอง จากนั้นท่านจะนำชิ้นหมูมาล่อข้างเรือ และบริกรรมคาถา สักพักเสือจะโดดขึ้นมาติดชิ้นเนื้อหมูโดยทันที เป็นอันว่าเรียบร้อยครับ แจกลูกศิษย์ลูกหาได้

    มาเข้าเรื่องของการพิจารณาเสือ ของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย แบบหลักสากลนิยม กันน่ะครับ...

    เสือหลวงพ่อปานแบบมาตรฐานนิยมนั้น ต้องอยู่ในลักษณะ เสือนั่งชันขาหน้า หางม้วนรอบฐาน หรือม้วนพาดขึ้นหลัง มีทั้งเสือนั่งหุบปาก และเสืออ้าปาก นิ้วเท้าแต่ละเท้าโดยมากมี 4 นิ้ว แต่มีบางตัวมีแค่ 3 นิ้วก็มี หลักการดูเสือหลวงพ่อปาน นี้ท่องกันมาเป้นคำกลอนว่า "เสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า" เมื่อดูพิมพ์เข้าเค้าแล้ว ต่อไปต้องพิจารณา ความเก้าของเนื้อเขียวกันต่อไปละครับทีนี้ ต้องเก่าจัด และมีเนื้อฉ่ำ การพิจารณา

    1. เสือหลวงพ่อปาน ต้องแกะจากเขี้ยวเสือเท่านั้น จะไม่แกะจากกระดูก หรือวัสดุอื่นใด เขี้ยวจะต้องมีเนื้อทึบ จะไม่ใส (ถ้าใสจะเป็นวัสดุประเภทเรซิ่น ที่ทำเลียนแบบขึ้นมา ควรระวังให้มาก กันโดนต้มครับ)

    2. เขี้ยวเสือ ที่นำมาแกะมีทั้งแบบเต็มเขี้ยวทั้งอัน และเขี้ยวครึ่งซีก (เรียก เขี้ยวซีก) เขี้ยวเต็มอันจะมี "รูกลม" ตรงกลางผ่านตลอดจากด้านบนสู่ด้านล่าง และต้องมีรอยแตกอ้าทุกเขี้ยว ส่วนเขี้ยวครึ่งซีกจะไม่มีรอยแตกอ้า เขี้ยวด้านหนึ่งต้องมีสีอ่อน อีกด้านจะมีสีแก่ ด้านที่มีสีอ่อน นั้นคือ ด้านแกนในของเขี้ยวนั่นเอง ส่วนด้านที่มีสีแก่ คือด้านนอกของเขี้ยว "เขี้ยวจะมีสีเดียวกันทั้งตัวไม่ได้" ห้ามลืมครับ

    3. ความเก่า ต้องพิจารณาจากความแห้งเก่า และความฉ่ำของเนื้อเขี้ยว เขี้ยวต้องมีความฉ่ำ กรณีเสือสภาพเดิม ผ่านการใช้บูชามาไม่มาก ผิวจะแห้งเก่า ผิวไม่ตึงเรียบนัก แต่เสือที่พบส่วนใหญ่จะผ่านการใช้ สัมผัสเหงื่อ น้ำมัน คราบไคลต่างๆของร่างกายคน สิ่งเหล่านี้จะซึมเข้าไปสู่เนื้อเสือส่งผลให้เนื้อเขี้ยว แลดู "ฉ่ำ" มาก ฉ่ำใสมีสี เหลืองอมขาวขุ่น ลักษณะเหมือนเช่นเทียนไข โดยเนื้อเขี้ยวควรมีสี "อ่อน-แก่" แลดูเป็นธรรมชาติ มีลายเนื้อในคล้ายๆลายสัปปะรดมีรอย "แตกลาน" เล็กๆ หน่อยๆเป็นกลุ่มๆ ซึ่งเกิดจากการที่เนื้อเซ็ทตัวแห้งลงตามธรรมชาติ จึงดึงให้เนื้อเขี้ยวหดตัวด้วย และให้ระวังเขี้ยวเสือที่ทำจากเรซิ่นด้วยครับ

    4. รอยลงเหล็กจาร ก็เป็นจุดสำคัญในการพิจารณา ลักษณะการจารจะเป็นแบบหวัดๆ เส้นคมลึกไม่เท่ากัน จารเป้นขีดๆคล้ายๆลายเสือ จารอักขระยันต์คล้ายๆเลขเจ็ดไทย และเลขสามไทย ลายมือลงจารจะเอียงๆ แหลมๆ จะลงจารบริเวณลำตัว สะโพก และขาหน้า ถ้าน้ำหนักการลงเหล็กจารเท่าๆกันลงแบบไม่แน่ใจในการเขียน ลายเส้นไม่หนักเบา แต่ลึกเท่ากันทุกเส้นอันนี้ควรตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยครับ

    5. ใต้ฐาน จารยันต์กอหญ้า ลักษณะเป็นยันต์กลมๆ รีวนไปวนมา ซ้อนกันหลายวง และเป็น ฤ ฤา หรือ ตัวอุ ร่วมกันด้วยก็มีครับ

    พุทธคุณ เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั้นมีพุทธคุณครบเครื่องทั้งเมตตา แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี แต่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นทางด้านคงกระพันชาตรีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2009
  2. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    ขอบคุณครับ อ. นิลศิลป์
     
  3. gatsuja

    gatsuja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    837
    ค่าพลัง:
    +876
    ขอลงรูปด้วยครับ
     
  4. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล เดี๋ยวท่านพระมหาอาจารย์ อดลุย์ ไสกะจ่าง ก็จะมาสอนเรื่องสิงห์หลวงพ่อเดิม ครับ
     
  5. thaiput

    thaiput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    9,528
    ค่าพลัง:
    +27,656
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    *-* ฮึมๆๆ ฮัมๆๆ เขี้ยวเสือพ่อปาน เขี้ยวมีรอยแตกลานตามอายุของเขี้ยวเสือเก่า เขี้ยวนี้ตกทอดมาจากอากงผมครับ แต่ก่อนใช้ทางมหาอำนาจให้ภรรยาเกรงกลัวอยู่พักนึง แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้เยอะเพราะภรรยาใจดีขึ้นเยอะมาก เลยนำมาลงให้ชมบ้างครับ *-* thaiput007@hotmail.com
     
  6. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    โอวๆๆๆคุณไทยพุทธ เดี๋ยวจะโทรไปหาครับ
     
  7. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    พี่หน่อง ผมเป็น อาจาน ครับอาจานกินข้าวครับ ถ้า...จารย์...ต้องป๋าเล็กครับ
     
  8. thaiput

    thaiput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    9,528
    ค่าพลัง:
    +27,656
     
  9. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    ออย ขอบคุณครับ ผมก็งูๆปลาๆไปละครับ ไม่ใช่อาจงอาจารย์อะไรหรอกครับ อาจารย์ต้องพี่เล็ก พี่หน่อง ท่านเอกฯ ข้อมูลบางส่วนผมก็ศึกษามาจากหนังสือบ้างอาศัยดู ศึกษาบ้าง สังเกตุเอา

    อย่างที่บอกนะครับอายุของเขี้ยวต้องถึงอายุครับ ความเก่านี่จะบอกได้อย่างดีที่สุดเลย เพราะเขี้ยวหลวงพ่อปานท่านมีอายุเกือบๆ 100 ปี แล้วนะครับ ความเก่าจะขนาดไหนละครับ เราคิดเอาสิครับ ถ้าไม่ถึง หายาก และของถูกไม่ค่อยมี ต้องฟลุ๊กจริงๆครับ ไปหาหลวงพ่อนก วัดสังกะสี แทนก็ได้ หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม ก็ได้

    พวกเซียนต่างๆนี่ เขาเก่งได้เพราะเขายึดถือหลักธรรมชาติครับ วัตถุมงคลทุกอย่างในโลกนี้ย่อมหนีหลักธรรมชาติไปไม่พ้นหรอกครับ นอกเหนือจากการดูพิมพ์แล้วนะครับ ทั้งพระเนื้อผง เนื้อดิน ชิน เหรียญ นอกจากพิมพ์แล้ว ต้องใข้หลักธรรมชาตินี้ละครับในการดู

    เราอย่าไปดันทุรังครับถ้าพระเจอพระดูยากก็วางเถอะครับ อย่าไปคิดเข้าข้างตัวเอง ว่าใช่ อย่างโน้น อย่างนี้ อีกอย่างนี่พระแท้ต้องสง่า และผิวพรรณสะอาด ไม่เหมือนพวกทำปลอมนำโน่นนิดนี่หน่อยมาแต่งแต้มหลอกลวงที่ผิว หนีให้ไกล

    อย่างเรื่องเหรียญนี่กว่าจะพอเป็นเหรียญ ผมเองต้องโดนมาก่อนครับ แล้วมาพัฒนาขึ้นจนพอได้ อย่าประมาท...

    ว่างๆคุยใหม่ครับ

    ตอนนี้พี่หน่องก็ป่วยอยู่เป็นไข้หวัด+โรคกระเพาะ+ไซนัส นอนซมมา 3-4 วัน แล้วยังไงโทรไปสอบถามแกหน่อยครับ...
     
  10. infinityboon

    infinityboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +188
    หูหนู ตาลูกเต๋า เขี้ยวโปร่งฟ้า ยันต์กอหญ้า เสือหน้าแมว ของผมที่เอามาลงก็มีรอยแตกรานของเขี้ยว แต่เขาก็ตีเก๊เลยอะครับ รอยแตกก็คงพิสูจน์ไม่ได้อีกดิครับ ตอนเอามาเป็นเขี้ยวเต็มไม่มีห่วง ผมให้ช่างเขาทำห่วงเงินไว้แขวน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. ขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +362
    เครื่องรางเก่า เล่นหาที่ ชอบ รัก และ ศรัทธา ครับ
    ไม่มีใครทันทั้งนั้น อยู่ที่ตัวบุคคล ประสพการของแต่ละบุคคล การผ่านตา และศึกษาอย่างจริงจัง เชื่อตาตัวเอง อย่าเชื่อนิทาน และอย่าเข้าข้างตัวเอง ยึดหลักที่หน้าจะเป็นจริงที่สุดไว้ ลดความโลภไว้ด้วย(อันนี้ผมฝึกอยู่ทำยาก^^")

    นี้คือคำบอกเล่าจากเพื่อนๆพี่ๆของผมและผู้มีน้ำใจในโลกไซเบอร์หลายท่านที่ผมพยายามจดจำไว

    ผมเคารพและศรัทธาหลวงปู่ปานมากครับ ผมรักชอบและศรัทธาเขี้ยวเสือของหลวงปู่
    เพื่อนๆพี่ๆที่เข้ามาดูกระทู้นี้แล้วรักชอบและศรัทธาเขี้ยวเสือของท่าน ขอให้มีเขี้ยวเสือแท้ทันหลวงปู่ไว้ในครอบครองเพื่อเป็นสิริมงคลกันนะครับ

     
  12. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    เคยเป็นของผมครับตัวนี้
    สังเกตุความเก่าของเขี้ยวครับ คนละเเบบกับเสือโดนทอดน้ำมัน ลงในหนังสือพระเก็เยอะมากครับ
    รอยจารกอหญ้าใต้ฐานก็สำคัญครับ ของเก็ทำได้ไม่เหมือน
    อีกจุดสังเกตุคือ ใต้คางเสือจะมีตัวอุครับ

    เขี้ยวเเกะมาเป็นร้อยๆปี ส่องกล่องดูเอาครับ รอยที่ถูกเเกะจะถูกลบคมไปตามอายุมัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ansPic_84918_2.jpg
      ansPic_84918_2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109 KB
      เปิดดู:
      2,481
    • DSC_1345.JPG
      DSC_1345.JPG
      ขนาดไฟล์:
      124.5 KB
      เปิดดู:
      2,865
    • ansPic_84918_1.jpg
      ansPic_84918_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.1 KB
      เปิดดู:
      2,104
    • DSC_1338.JPG
      DSC_1338.JPG
      ขนาดไฟล์:
      107.7 KB
      เปิดดู:
      2,050
  13. ปลัดหัวชะมด

    ปลัดหัวชะมด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +1,256
    มีรูปอีกไหมครับ
     
  14. แอนตี้ ญ สวมเขา

    แอนตี้ ญ สวมเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +292
    ขอบคุณสำหรับบทความครับ

    เสือพี่จิน เห็นแล้วชอบ ขายมั้ยละครับ น่าเสียดาย
     
  15. มอส เมืองเพชร

    มอส เมืองเพชร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +78
    สวยมากครับ ท่านJin
     
  16. ทอดาว

    ทอดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,150
    ค่าพลัง:
    +2,696
    ตัวนี้ของผมเคยขอความเห็นแล้วส่วนใหญ่ว่าไม่ค่อยจะดีอ่ะครับ แต่ผมมีประสบการณ์ส่วนตัวก็เก็บไว้ เพิ่งมาเห็นนิตยสาร อมต พระเครื่องของป๋องสุพรรณฉบับเดือนนี้ครับ อยู่หน้าปกเลย ตัวซ้ายมือมุมล่าง ลองดูตามเซ่เว่นฯ ครับ ผมว่างานแกะเดียวกันเด๊ะๆ เลยครับ จารเลข 7 ที่ข้างลำตัวก็ตำแหน่งเดียวกัน ขนาด+ลายมือใกล้เคียงกันมากๆ เพียงแต่ของผมจะจางไปแล้ว

    ตัวนั้นเขาเปิด 150,000 คับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    คุณทอดาวถ่ายเสือตัวนี้หลายๆมุม มาเบิ่งกันอีกสักครั้งสิครับ ผมจำไม่ได้แล้ว แวบๆว่าเคยถ่ายมาลง ให้ถ่ายรอยจารด้วย สีพยายามปรับให้เหมือนจริง และชัดที่สุดอะครับ
     
  18. ทอดาว

    ทอดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,150
    ค่าพลัง:
    +2,696
    เคยลงไว้ที่นี่อะครับ เดี๋ยวจะลองแกะจากเลี่ยมมาถ่ายใหม่นะครับ

    http://palungjit.org/showthread.php?t=138460
     
  19. ทอดาว

    ทอดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,150
    ค่าพลัง:
    +2,696
    ถ่ายมาใหม่แล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN5246.jpg
      DSCN5246.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.4 KB
      เปิดดู:
      3,306
    • DSCN5264.jpg
      DSCN5264.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79.8 KB
      เปิดดู:
      1,890
    • DSCN5268.jpg
      DSCN5268.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.6 KB
      เปิดดู:
      1,796
    • DSCN5277.jpg
      DSCN5277.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.6 KB
      เปิดดู:
      1,888
    • DSCN5276.jpg
      DSCN5276.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.6 KB
      เปิดดู:
      1,867
    • DSCN5269.jpg
      DSCN5269.jpg
      ขนาดไฟล์:
      105.7 KB
      เปิดดู:
      2,144
  20. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,665
    โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ โอ้ย...รอแป้บ
     

แชร์หน้านี้

Loading...