ปัญหาครอบครัวค่ะ :(

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย thorinko, 30 มีนาคม 2013.

  1. thorinko

    thorinko สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +4
    สวัสดีค่ะ พี่ๆ หนูอยากจะมาขอคำปรึกษาหน่อยค่ะ
    ครอบครัวของหนูมี 4 คนนะคะ
    หนูเป็นลูกคนเล็ก อายุ 15 แล้ว
    ปัญหาคือ คุณพ่อ ค่ะ ..

    รู้สึกได้ว่า คุณพ่อเปลี่ยนไปช่วงน้ำท่วม เค้าเล่นการพนัน
    ซึ่งตอนแรกเค้าไม่ค่อยเล่น แล้วครอบครัวหนูมีอาชีพค้าขายคะ
    หลังน้ำท่วมขายได้น้อยมากๆ เพราะทำเลไม่ค่อยเอื้ออำนวย
    ตอนนี้เรียกได้ว่าครอบครัวช็อตมากๆ แล้วคุณพ่อดันมาติดพนันอีก

    แล้วช่วงนี้คุณแม่เครียดมาก เพราะเงินที่ได้มามันไม่พอค่าใช้จ่ายในบ้าน
    (ตอนนี้ไปกู้เค้ามาคะ)
    แล้วเมื่อกี้สดๆเลย หนูได้ยินเสียงคุยโทรศัพท์
    แล้วก็หนูรีบลงมาข้างล่างเพราะได้ยินเสียงร้องไห้
    คุณแม่บอกว่า พ่อเอาเงินที่ไปกู้มาไปเล่นพนัน
    แล้วแม่ก็บอกว่ามันเป็นกรรมของแม่เองแม่พูดทั้งน้ำตาเลยค่ะ
    หนูเสียใจมากเลยค่ะ :( ไม่รู้จะพูดอะไรออกไปดี
    ได้แต่กอดแม่ ปลอบให้แม่ใจเย็น

    เคยถามพ่อแล้วว่าเลิกได้มั้ย เค้าตอบว่าได้ๆ เลิกแล้วๆ
    แต่มันก็เหมือนเดิม ยังคงเล่นอยู่ ถามบ่อยมากคะ จนไม่อยากถามแล้ว
    ตอนเด็กๆหนูรักเขามากเลยคะ รักมาจริงๆ เด็กคนไหนมายุ่งจะห่วงมาก
    แต่ตอนนี้หนูแทบไม่อยากมองหน้าเขา เคยพูดว่าไม่อยากจะเรียกว่าพ่อ

    แล้วตอนนี้ก็ไม่ได้กินข้าวพร้อมกันเลยคะ ไม่เลย
    มันเปลี่ยนไปมากกกกกกกกกกกกกกกก
    หนูเสียใจมากคะ ไม่เคยคิดเลยมาครอบครัวจะเป็นแบบนี้
    พิมพ์ไปร้องไห้ไป เพราะไม่คิดว่าชีวิตจะเป็นแบบนี้จริงๆ

    ขอบคุณที่อ่านมากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ถ้ารู้ว่าเงินอยู่กับพ่อแล้วเอาไปเล่นการพนัน ก็อย่าให้พ่อดูแลเรื่องเงิน เมื่อไหร่เลิกเล่นได้จริงๆ ให้พ่อกลับมาดูแลเรื่องเงินก็ได้ ส่วนเงินทุกบาทที่หามาได้ให้สมาทานศีล ถ้าผู้นำครอบครัวเป็นผู้มีศีลก็จะสามารถนำครอบครัวให้เจริญได้ มีโภคทรัพย์สมบูรณ์ เงินที่หามาได้คนในบ้านก็จะใช้อย่างระมัดระวัง เรื่องขายของก็ลองสวดมนต์บทธรรมจักรแล้วอธิษฐานให้ของที่ขายเป็นทิพย์จะขายดีขึ้น ส่วนเรื่องของพ่อก็หัดทำใจ เจริญเมตตาให้มากเราทำผิดแค่ไหนท่านอภัยให้เราได้หมด ทำไมท่านทำผิดบ้างเราจะอภัยให้ท่านไม่ได้ ถ้าทำใจได้เรื่องภายนอกมันจะแย่แค่ไหนเราก็จะไม่ทุกข์
     
  3. Jt Odyssey

    Jt Odyssey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +12,591
    ต้องประสบเคราะห์กรรมเพราะวิบากแห่งอกุศลกรรมแต่ก่อนเก่า ก็อย่าไปสร้างอกุศลกรรมใหม่ด้วยการเกลีัยดพ่อ หรือคิดอกุศลกัีบพ่อนะ ยังไงพ่อก็มีบุญคุณล้นหัว ที่พ่อหลงผิดนี่มันเป็นคนละเรื่องกัน
     
  4. makigochan

    makigochan ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    6,247
    ค่าพลัง:
    +68,061
    น้องเคยคุยพร้อมหน้ากันกับคุณพ่อคุณแม่บ้างหรือยังคะ

    ว่าตอนนี้ครอบครัวของน้องเป็นอย่างไร ลองคุยกันดีๆดูว่าคุณพ่อจะหาทางออกอย่างไร

    กับปัญหานี้ และปัญหาที่คุณพ่อติดการพนัน

    แล้วก็ ทำไมคุณพ่อถึงได้ถือเงินจำนวนนั้นไปเล่นการพนันได้

    คุณแม่ของน้องเป็นคนให้ไปใช่ไหมคะ

    น้องมองเห็นว่า ปัญหามันมาจากไหน ลองเข้าไปแก้ตรงนั้นค่ะ

    คือ ต้องคุยบ้างในฐานะที่เป็นลูกค่ะ

    การโกรธคุณพ่อ นอกจากไม่ได้อะไรขึ้นมา ก็ยังจะไม่เข้าใจกันต่อไปอีก

    รายได้ ถ้าได้มาให้รีบนำไปจ่าย รายจ่ายที่จำเป็นก่อน ไม่ใช่ให้คุณพ่อถือเงินค่ะ

    ซึ่งคุณbluebaby2 ท่านก็แนะนำไว้ถูกต้องแล้วตรงนี้

    บางเรื่องคุณพ่อซึ่งเป็นผู้ชาย อาจจะจัดการและมองปัญหาได้ไม่ละเอียดเท่าน้องและคุณแม่ของน้องนะคะ เพราะว่าเราเป็นผู้หญิงไงคะ

    ตอนนี้ครอบครัวของน้อง ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วนะคะ รายได้มีมาจำกัด

    สิ่งที่ต้องประหยัดเป็นอย่างแรกคือ การนำเงินไปเล่นการพนันของคุณพ่อน้องค่ะ

    ถ้าตัดตรงนี้ไปได้ น่าจะบรรเทาความเดือดร้อนลงได้มาก

    บางครั้งกรรมที่คุณแม่ของน้องว่า มันก็มาจากการกระทำปัจจุบันนี่แหล่ะค่ะ

    ไม่ใช่กรรมเก่าแต่อย่างใดเลยนะ

    ขอให้ใช้สติความรอบคอบ แก้ไขปัญหาทีละจุดนะคะ เริ่มจากจุดหลักๆก่อน

    ทั้งนี้ก็ขอให้น้องช่วยเป็นส่วนหนึ่งที่จะแก้ปัญหาครอบครัวให้ได้นะคะ

    พี่เป็นกำลังใจให้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013
  5. comfx22

    comfx22 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2011
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +234
    คิดว่าในฐานะลูกๆ สิ่งที่ทำได้เพื่อคุณพ่อก็คือการสวดภาวนา
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=c5MzY1kt2M4]Dance with my father by Luther Vandross (with lyrics) - YouTube[/ame]
     
  6. ทะเล้น

    ทะเล้น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +208
    - การที่พ่อของน้องบอกน้องว่าจะเลิกเวลาที่น้องขอแสดงว่าท่านยังรักลูกรักเมียและให้เกียรติอยู่มาก
    - การพนันหากคนติดมันก็เหมือนติเหล้า หรือ บุหรี่ เวลาติดในรสการเสพย์นั้นแล้วย่อมต้องเกิดใจที่ติดใคร่ได้อยากอยู่เนืองๆ

    ก่อนอื่นใดๆนะครับให้น้องมองย้อนเข้าตัวน้องก่อนนะครับ(ไม่ใช่ว่าน้องผิดอะไรนะครับ แต่ให้ปรับสภาพใจยอมรับความจริงที่เป็นอยู่น่ะครับ)
    1. พ่อ เป็นผู้ให้กำเนิดน้องให้น้องได้ลืมตาดูโลกขึ้นมา เพียงแต่ต่างกับแม่ที่ไม่ได้อุ้มท้องน้องมา 9 เ้ดือน แต่ความรักความห่วงใยเอาใจใส่นั้นไม่ต่างกัน
    2. ตอนน้องแรกเกิดจนอยู่ประถม พ่อไหมที่เคยป้อนข้าว เคยอุ้ม เคยหยอกล้อ เคยเช็ดขี้ เช็ดเยี่ยว ดูแลเอาใจใส่ดั่งชีวิต เหมือนกันกับที่แม่น้องดูแลน้อง
    3. น้องสามารถเอาอารมณ์จากความไม่พอใจยินดีใดๆของตน มากระทำกับบุพการีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เป็นพรหมของลูกได้หรือ
    4. การกระทำใดๆก็แล้วแต่เราควรมีความกตัญญู กตเวที ทำให้ดีที่สุด นี่ถือว่าเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐในฐานะลูก น้องอยากเป็นผู้ประเสริฐ หรือ ผู้เนรคุณ ตรงนี้อยู่ที่ตัวน้องเลือกเดิน
    5. เมื่อพิจารณาตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อแล้ว ให้น้องพึงตรึกนึกถึงอยู่เนืองๆตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไำว้ดังนี้ว่า
    5.1 ปารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
    5.2 ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย นั่นก็เป็นทุกข์
    5.3 ความประสบกับสิ่งอันไม่เป้นที่รักที่พอใจทั้งหลายนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
    5.4 ยิ่งพอใจมาก ก็ปารถนามาก ยิ่งปารถนามาก ก็ทุกข์มากหาสุขไม่ได้ น้องบังคับตนเองไม่ให้โกรธพ่อได้หรือไม่ หากบังคับไม่ได้แม้แต่ตนเอง แล้วน้องจะไปบังคับคนอื่นเขาได้อย่างไร
    6. เมื่อเจริญจากข้อ 1-5 อยู่เนืองๆ ใจน้องเมื่อยอมรับในสัจธรรมนั้นก็ย่อมสงบลงมาบ้าง เมื่อสงบแล้วค่อยไปเจริญแก้ไขดังนี้ หากน้องสงบสติอารมณ์ไม่ได้น้องห้ามไปพูดกับพ่อเด็ดขาด เพราะสิ่งที่น้องจะชักจูงขอพ่อน้องให้ทำนั้น มันจะเป็นไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกใน รัก โลภ โกรธ หลง ไม่ได้เป็นไปด้วยเหตุและผลของลูกที่กตัญญูกตเวทีที่รักพ่อผู้มีพำระคุณแก่ตน

    หากเมื่อน้องสงบจิตใจ วาจา กาย ได้แล้วให้พึงกระทำดังนี้

    6.1 ชวนพ่อกับแม่ไปทำบุญ อาจจะพาไปวัดที่มีครูบาอาจารย์ที่พ่อน้องนับถือ แล้วให้น้องไปพูดกับหลวงพ่อไว้ก่อนเพื่อขอให้ท่านได้ชี้แนะแนวทางที่ดีแก่พ่อ และ อาจจะให้พ่อของน้องปฏิบัติธรรม
    6.2 ชักชวนแนะแนวทางให้พ่อของน้องเห็นถึง ข้อดี และ ข้อเสีย ของการเล่นการพนัน รวมไปจนถึงประโยชน์ของการเลิกเล่นการพนัน ยกตัวอย่างเช่น

    ข้อเสียของการพนัน

    - ชี้ให้พ่อของน้องมองเห็นว่า การพนันนี้เมื่อเอากายเอาใจเข้าไปเสพย์มันแล้ว มีความพอใจยินดีในมันแล้ว มันก็เหมือนจุดไฟเผาบ้านเผาเรือนตนเองให้มอดไหม้ไปหมด
    - เงินที่เอาไปเล่นพนันแทนที่จะได้มาอุปการะจุนเจือครอบครัวผู้คนในบ้านได้หลายวัน แต่กลับกลายเป็นไปเสียเพราะความใคร่ที่จะเสพย์ในการเล่นพนันนั้นเพียงแค่ไม่กี่นาที
    - เงินที่ต้องซื้อข้าว ซื้อปลา ซื้อน้ำ ซื้อยารักษาโรค ให้ลูกไปเรียนหนังสือ ซื้อเครื่องใช้อุปโภค บริโภคที่ดีที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันกลับกลายเป็นต้องเสียหายสูญสลายไปไม่มีที่จะใช้จ่ายในส่วนที่จำเป็นทั้งหลายเหล่านี้แค่เพียงเวลาไม่กี่นาที
    - แถมสุดท้ายยังต้องไปกู้หนี้ ยืมสิน หามากินใช้จ่าย และ เงินส่วนที่กู้ยืมมานั้นแทนที่จะได้เอาไว้ใช้จ่ายในครอบครัวอย่างเต็มที่ กลับต้องกันไปไว้จ่ายหนี้งวดก่อนๆและกันไว้ไปเล่นพนันต่ออีกตามที่ใจมันใฝ่ใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในการเล่นพนันนั้นๆ
    - ลูกเมียอยู่กินอย่างลำบากข้นแค้น นี่ใช่หรือไม่ คือหน้าที่และสิ่งที่ผู้ที่ได้ชื่อว่า สามี และ พ่อ ควรทำ
    - เมื่อวันหนึ่งไฟที่เริ่มรุกลามเผาบ้านไปทีละนิดด้วยไฟแห่งการพนันนั้น เผาเข้ามาถึงตัวบ้านและคนในครอบครัวจนไม่มีเหลืออยู่แล้ว ค่อยมาคิดเสียใจ เสียดาย อยากเลิกในภายหลังนั้น มันคุ้มกันไหม

    ข้อดีของการพนัน

    - บันเทิงเริงใจ สนุกสนาน และ ได้เสพย์สมอารมณ์ตามที่ใจทะยานอยากใคร่ได้ที่จะเสพย์


    6.3 ให้พ่อน้องลองพิจารณาเช่นนี้ๆดู แล้วถามท่านว่า..สิ่งไหนที่ท่านควรจะเลือกเสพย์ ระหว่าง เลิกเล่นการพนัน กับเล่นต่อไปจนตายไปข้างหนึ่ง
    6.4 ให้ท่านเรียนรู้ใน พรหมวิหาร๔ ทาน และ ขันติ และ การเจริญสติสัมปชัญญะอยู่เนืองๆเพื่อความระลึกรู้ รู้ตัว รู้ตน คิดแยกแยะก่อนจะทำสิ่งไรๆลงไป เมื่อเจริญในทาน และ พรหมวิหาร๔ เป็นประจำสภาพจิตใจของท่านจะเริ่มรู้จักเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้อื่นมากกว่าที่จะได้รับจากคนอื่น

    หมายเหตุ

    ๓. การระลึกปฏิบัติ ทำไปเพื่อการให้ที่เรียกว่า ทาน
    ๓.๑ ทาน คือ การให้โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆจากผู้รับ ให้เพราะหวังให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราให้นั้น ให้ไปแล้วไม่มาคิดเสียดายหรือเสียใจในภายหลัง ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
    ๓.๒. เมตตาทาน คือ การให้เพื่อหวังให้ผู้อื่นได้รับความสุข ได้พบประสบความสุขจากการให้ของเรา หรือ จากสิ่งที่เราได้ให้เขาไป ด้วยสภาพจิตผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
    ๓.๓ อภัยทาน คือ การให้เพื่อความเว้นจากความพยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น ให้เพื่อผู้อื่นได้รับอิสระสุขจากการให้นั้นของเรา รู้ให้อภัยด้วยจิตใจที่เป็นกุศล เป็นการเว้นไว้ซึ่งโทษ งดโทษ อดโทษแก่คนอื่น เป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย วาจา ใจ ให้เพราะความมีใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ อนุเคราะห์ อยากให้เขาไม่รู้สึกอึดอัด อัดอั้นใจ เป็นทุกข์ ทรมาน ทั้งกาย-ใจ ให้เพราะอยากให้ผู้รับมีจิตใจเบิกบาน ไม่ขุ่นข้องหมองใจ ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
    - ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รู้จักการให้เพื่อคนอื่นไม่ใช่แต่จะรับอย่างเดียว ลดความเห็นแก่ตัว-เอาแต่ได้ของตัวเองลง โดยการที่เราจะสามารถเข้าถึงสภาพจิตและการดำเนินไปใน ทาน เป็นผลสำเร็จสมบูรณ์ได้นั้น เราต้องเจริญปฏิบัติและเข้าถึงในสภาพจิตของ เมตตาจิต กรุณาจิต และ มุทิตาจิต ให้ได้ก่อน สภาพจิตที่เป็นไปใน ทาน ของเรานั้นจึงจะเป็นผลสมบูรณ์เต็ม

    ๔. ระลึกรู้ปฏิบัติทำใน พรหมวิหาร ๔ คือ
    ๔.๑ เมตตา คือ สภาพที่จิตมีความปารถนาให้คนอื่นเป็นสุข หรือ กระทำเพื่อต้องการให้ผู้อื่นได้รับความสุขจากการกระทำของตน ด้วยจิตผ่องใส ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
    ๔.๒ กรุณา คือ สภาพที่จิตมีความสงสารเห็นอก-เห็นใจคนอื่น เข้าใจผู้อื่น หรือ กระทำเพื่อคนอื่นด้วยความอนุเคราะห์ ความเอื้อเฟื้อ-เผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารีย์ รู้แบ่งปันให้แก่ผู้อื่น ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
    ๔.๓ มุทิตา คือ สภาพที่จิตมีความยินดีแจ่มใส เมื่อเห็นคนอื่นเขาพ้นทุกข์ได้ประสบกับความสุข ด้วยจิตที่ดีงามเป็นกุศล ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
    ๔.๔ อุเบกขา คือ สภาพที่จิตมีความวางใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีจิตจะวางเป็นกลาง เช่น เมื่อได้กระทำสิ่งใดๆในทางที่ดีเป็นกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือตนเองอย่างเต็มที่แล้ว ก็ให้พึงระลึกในใจว่า ได้ก็เอา-ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เราได้กระทำอย่างดีที่สุดแล้ว เต็มที่ เต็มใจที่ทำแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกรรม นั่นคือ การกระทำโดยเจตนาไม่ว่าในปัจจุบันนี้หรือในกาลก่อน ต้องยอมรับความจริงปล่อยให้มันเป็นไป ไม่มีความติดข้องใจใดๆ ไม่ตั้งความยึดมั่นถือมั่นทะยานอยากได้ ไม่อยากได้อีกต่อไป ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
    - ตรงนี้จะช่วยให้จิตใจเราปารถนาดีต่อผู้อื่นมากขึ้น รู้ที่จะเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน อนุเคราะห์ ยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข จนถึงรู้วางใจไว้กลางๆได้ อานิสงส์ที่ได้คือ ทำให้เรามีจิตใจที่ดีงาม เป็นคนที่มีความคิดดีเป็นกุศล ก่อเกิดในการกระทำที่ดีงาม รู้จักการให้ที่เรียกว่าทานเป็นเบื้องต้น

    ๕. ขันติ คือ
    ความอดทน อดทนได้ทั้งสิ่งที่ชอบและชัง ด้วยจิตใจที่เป็นกุศล ไม่ใช่ฝืนทน นั่นคือ กิริยาของจิตที่รู้ว่าสิ่งนี้ ควรอด ควรละ ควรผ่อน ควรปล่อย ควรผ่านไป ควรหยุดไว้ก่อน ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น รู้ว่าควรอด-ควรละในการกระทำทาง กาย วาจาใดๆ รู้ว่าควรอดใจไว้ไม่ควรติดข้องใจใดๆในสิ่งนั้น ไม่มีการฝืนใจตนเองใดๆอันที่จะทำให้โทสะเกิดขึ้น สามารถอดทนกระทำเพื่อสิ่งที่เป็นผลที่ดีในวันข้างหน้าได้ อดทนเพียรพยายามกระทำในสิ่งที่ดีงาม ไม่ว่าจะเป็นการงาน คำด่า และ การกระทำที่ส่อเสียด ความทะยานอยากใคร่ได้ที่จะเสพย์ใดๆ ฯลฯ ด้วยสภาพจิตผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัว ทำด้วยความไม่ยึดมั่นฝืนใจทำของเรา เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สืบต่อไปถึงอุเบกขาจิต (แรกๆหากยังวางในกลางๆไม่ได้อาจจะเป็นการฝืนทำ แต่หากถึงความเป็นกลางของใจไม่ยึดเกาะความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีได้แล้วการกระทำใดๆด้วยความเพียรพยายามอดทนก็จะไม่ฝืนทนอีก อาจจะมองว่ามันเป็นหน้าที่ที่ควรจะทำเป็นต้น)
    - ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติอดทนต่ความอยากใดๆได้เป็นอย่างดี จนเข้าถึงความมีใจกลางๆ วางเฉยต่อสิ่งนั้นๆ

    ๖. รู้จักหยุด รู้จักประมาณตน รู้จักพอ
    การเจริญปฏิบัติในข้อนี้ต้องใช้ความมี สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ศีล พรหมวิหาร ๔ และ ขันติ รวมเข้าด้วย มีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้
    ๖.๑ รู้จักหยุด คือ รู้จักหยุดคิดก่อนที่จะลงมือทำอะไร ให้ใช้สติระลึกรู้พิจารณาก่อนจะลงมือทำอะไร ให้รู้แยกแยะถูก-ผิด แยกแยะดี-ชั่ว ให้พิจารณาถึง ผลดี-ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้น หรือ ผลตอบกลับมาที่เราจะได้รับ ในสิ่งที่เรากำลังคิดที่จะ พูด หรือ ทำ ลงไป ก่อนที่เราจะกระทำสิ่งใดๆลงไป
    ๖.๒ รู้ประมาณตนเอง คือ ต้องมองย้อนดูตนเองว่าผิดพลาด บกพร่องตรงไหนบ้าง ไม่สำคัญตัวเองจนมากเกินไป เหมือนว่าตัวเองเหนือกว่าใคร เก่งกว่าใคร อยู่สูงกว่าใคร หรือ เป็นคนสำคัญในทุกอย่างกับทุกคน ให้พึงระลึกอยู่เนืองๆว่าไม่มีสิ่งใดคงอยู่กับเราตลอดไป ไม่มีสิ่งใดที่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ทุกสิ่งทุกอย่างมีความเสื่อมและสูญสลายดับไปเป็นธรรมดาไม่คงอยู่นานไม่ว่าจะด้วยการดูแลรักษาของเรา ก็ด้วยสภาพแวดล้อมใดๆ ก็เป็นกาลเวลา หรือ สภาพความรู้สึกปรุงแต่งความรู้สึกใดๆ รู้จักประมาณในกำลังของตนว่าเพียงพอที่จะทำสิ่งใดๆตามใจอยากได้หรือไม่ หากเมื่อทำตามที่ใจปารถนาแล้วจะเกิดผมดีหรือลเสียอย่างไรตามมาในภายหลัง เมื่อพึงพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ให้พิจารณาแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น
    ๖.๓ รู้จักพอ คือ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ไม่ใช่ได้คืบจะเอาศอก ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่ละโมบโลภมาก อย่าอยากได้ต้องการไม่รู้หยุด ถ้าไม่รู้จักพอก็จะยิ่งสืบสานทะยานอยากไม่สิ้นสุด พอไม่ได้ตามปารถนานั้นก้อเป็นทุกข์ คิดว่าสิ่งที่ตนมีอยู่ก็มีค่ามากแล้วไม่ควรละเลย
    - ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้จักใช้สติ แยกแยะ ไต่ตรอง ตรึกนึก คำนึงถึง สิ่งที่ถูกที่ควรก่อนการลงมือกระทำการใดๆมากขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 เมษายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...