ปิดทองฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมาฯไม่ตกนรก

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 24 เมษายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ปิดทองฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมาฯไม่ตกนรก



    [​IMG]


    พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะชาวไทยแล้วมีศรัทธาเชื่อถือมาแต่โบราณกาลแล้วว่า การไปทำบุญปิดทองฝังลูกนิมิต ผูกพัทธสีมาเป็นบุญกุศลมหาศาลถ้าสามารถทำได้หลายวัดครบถึง 9 วัด จะทำให้ผู้ทำนั้น พันทุคติวินิ บาตนรกได้ กับช่วยให้เขาประสบสุคติโลกสวรรค์ได้ ข้อนี้ น่าจะเป็นจริง ถ้าท่านผู้นั้น เป็นมีศรัทธาจริงๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำไปให้พ้นไปครั้งหนึ่งๆเท่านั้น
    ผู้มีจิตศรัทธาจริง คือคนเช่นไร ผู้มีศรัทธาจริง คือ ผู้ที่มีศีล มีการฟังพระธรรมปฎิบัติตามพระธรรม มีความเสียสละไม่ตระหนี่ปลื้มใจที่ได้ทำความดี ไม่เสียดายภายหลังเรียกได้ว่า เป็นคนดีเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ คนเช่นนี้ รับประกันได้ว่า จะได้ไปสวรรค์อันสมบูรณ์พูนสุขแน่นอนไม่มีทางเป็นอย่างอื่นได้เลย
    ความรู้เกี่ยวกับพัทธสีมา
    ชาวพุทธทั่วไป ควรจะมีความรู้ในเรื่องสีมาและนิมิตบ้าง เพื่อจะได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ สีมา แปลว่า เขต หรือ แดน เหมือนกับเสาหิน เป็นเครื่องชี้เขตแดนของชาวบ้านทั่วไปนั้นเอง ตามพระวินัย สีมา มี 2 ประเภท ใหญ่ๆคือ
    1.อพัทธสีมา คือ แดน ที่พระสงฆ์ มิได้กำหนดไว้ตายตัว หากกำหนดเอาตามที่ทางราชการบ้านเมืองกำหนดไว้ พระสงฆ์แต่ก่อนใช้เป็นเขตประชุมสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรมชั่วคราว แต่สงฆ์ไม่มีกรรมสิทธิ์ถือเอาเป็นของสงฆ์อย่างถาวร สีมาชนิดนี้จึงไม่แน่นอนไม่ทราบว่าราชการจะยึดคืนเมื่อไร สมัยนี้จึงไม่นิยมใช้อพัทธสีมา
    2. พัทธสีมา คือ แดนที่พระสงฆ์หมายกำหนดขึ้น โดยจัดตั้งลูกนิมิต สิ่งที่เป็นเครื่องหมาย มีหิน เป็นต้น ไว้เป็นจุดๆ วางไว้ 8 ทิศ หรือ 4 ทิศก็ได้ ตามที่นิยมโดยมากใช้ลูกนิมิตนอกโรงอุโบสถ 8 ลูก ในภายหลังมีการเพิ่มลูกนิมิตตรงกลางอุโบสถอีก1 ลูก
    ขนาดของพัทธสีมา ซึ่งเป็นโรงอุโบสถนั้น มีพระพุทธานุญาตกำหนดขนาดเล็กพอจุพระสงฆ์ได้ 21 รูป ซึ่งนั่งอยู่ในหัตถบาสพร้อม กันแต่ถ้าจะทำพัทธสีมาใหญ่ ก็ให้มีขนาดกว้างได้ไม่เกิน 3 โยชน์ ถ้าเกินขนาดที่กำหนดนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ (สีมาวิบัติ)

    วิธีผูกพัทธสีมา 7 ขั้นตอน
    การผูกพัทธสีมา พึงทำไปตามลำดับหรือขั้นตอน ดังนี้

    [​IMG]

    1. พื้นที่ที่จะสมมุติเป็นสีมา ต้องได้รับอนุญาติจากราชการบ้านเมืองก่อน
    2. ต้องประชุมภิกษุที่อยู่ในเขตสีมาหรือนำฉันทะของท่านมา

    [​IMG]

    3. ต้องสวดถอนเป็นภาษาบาลี
    4. จัดเตรียมลูกนิมิตไว้ตามทิศ(สี่ทิศหรือแปดทิศ)
    5. เมื่อสมมุติสีมา ต้องประชุมภิกษุผู้อยู่ภายในนิมิต
    6. สวดทักนิมิตเป็นภาษาบาลี
    7. สวดสมมุติสีมาเป็นภาษาบาลี
    พัทธสีมามี 4 ประเภท
    1. ขัณฑสีมา คือ สีมาขนาดเล็กที่สงฆ์กำหนดผูกเฉพาะโรงอุโบสถที่อยู่ในมหาสีมา โดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นเครื่องคั่นแดน(สีมันตริก)ระหว่างมหาสีมา กับ ขัณฑสีมาเพื่อไม่ให้สีมาทั้ง 2 คาบเกี่ยวกัน
    2. มหาสีมา คือ สีมาที่ท่านกำหนดผูกทั่วบริเวณวัด
    3. สีมา 2 ชั้น หมายถึง มหาสีมา กับ ขัณฑสีมาในวัดเดียวกัน
    4. นทีปารสีมา สีมาที่สมมุติคร่อมฝั่งน้ำหมายถึง สีมาที่สงฆ์สมมุติคร่อมฝั่งน้ำทั้ง 2 โดยเปิด แม่น้ำไว้กลางสีมาชนิดนี้ ทรงพระพุทธานุญาตให้สมมุติได้เฉพาะในตำบลที่มีเรือไปมาอยู่เสมอ

    ------------------
    ที่มาของข้อมูล:
    http://www.thavorn.net/dataanything/wat3.dwt
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2007
  2. ถนอม021

    ถนอม021 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,098
    ค่าพลัง:
    +3,163
    อนุโมทนาสาธุด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ

    และขออุทิศบุญกุศลทั้งปวงแด่เจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ
    ให้ทุกท่านมีความสุขกายสุขใจตลอดไป ขอให้อโหสิรรมและ
    ขออโหสิกรรมกับทุกรูปทุกนามด้วยเถิด ให้ทุกท่านได้พระนิพพาน
    ในชาตินี้ด้วยเถิด

    ถนอม สุพัตรา ถกนธ์ พร้อมครอบครัวและญาติมิตร

    หลังจากสวดบูชาพระรัตนตรัยเสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับท่านที่ไม่ค่อยมีเวลามาก แนะนำบทสวดพุทธมนต์แบบย่อ ๆ แต่มีพลานุภาพมาก มีอานิสงส์มาก สวดไม่เกิน 5 นาทีจบ ดังนี้

    นะโม 3 จบ

    หัวใจ อิติปิโส ว่า
    อิสะวาสุ
    หัวใจพาหุง
    พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ
    หัวใจพระเจ้าสิบชาติ
    เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
    หัวใจบารมี 30 ทัส
    ทา สี เน ปะ วิ ขะ สะ อะ เม อุ
    หัวใจพระอาการวัตตาสูตร
    มุนินทะ วะทะนัมโพชะ คัพพะสัมภาวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะ ยะตัง มะนัง
    หัวใจพระธารณะปริตร
    ทิฏฐิลา ทัณฑิลา มันติลา โรคิลา ขะระรา ทุพพิลา เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
    หัวใจพระไตรปิฎก
    จิเจรุนิ
    หัวใจพระคาถาชินบัญชร
    ชะ จะ ต ะ สะ สี สัง หะ โก ทะ กะ เก นิ กุ โส ปุ เถ เส เอ ชะ ระ ธะ ขะ อา ชิ วา อะ ชิ สะ อิ ตัง
    คาถาบูชาพระพุทธเจ้า 16 พระองค์
    นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง อุมิอะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง สุอะนะอะ

    [​IMG]สวดจบควรแผ่เมตตาทุกครั้ง[​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...