เรื่องเด่น ผู้มีธรรมะดังลมหายใจ-รศ.นพ.ชัยชน โลว์เจริญกุล

ในห้อง 'พุทธศาสนากับคนดัง' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 28 สิงหาคม 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    รศ.นพ.ชัยชน โลว์เจริญกุล ผู้มีธรรมะดังลมหายใจ


    [​IMG]
    ทรงร่วมสังวัธยายพระไตรปิฎก กับผู้ร่วมงานทั้งชาวญี่ปุ่น
    และชาวไทยทุกคน ณ พุทธสถานนิทไทยจิ นครนาโกย่า







    เรื่องโดย อุษาวดี




    ใครหลายคนคงเคยนึกสงสัยว่า ชายหนุ่มผิวขาวร่างสูงโปร่ง ที่มักจะตามเสด็จอยู่เบื้องหลังสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี นั้นเป็นใคร แต่สำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก คงแทบไม่ต้องกล่าวอะไรมาก เกือบทุกคนรู้ดีว่าท่านผู้นี้คือ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยชน โลว์เจริญกูล อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยาและโรคลมชัก ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการรักษาผู้ป่วยโรคลกชักครบวงจร ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี

    แม้จะเรียนจบแพทย์ แต่คุณหมอชัยชนก็มีความสนใจทางด้านศิลปะ ทั้งการถ่ายภาพและการประพันธ์ ผลงานของท่านได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มหลายครั้ง ภายใต้นามปากกา ชัยชนม์ นอกจากนี้ท่านยังมีความสนใจทางด้านพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และได้นำความเชื่อตามหลักศาสนามาใช้ในการรักษาคนไข้ร่วมกับความรู้ทางการแพทย์ได้อย่างน่าสนใจ ควรที่จะนำมา “แบ่งปัน” และ “บอกต่อ” เป็นอย่างยิ่ง


    [​IMG]


    อยากให้เล่าถึงชีวิตของคุณหมอให้ฟังสักนิดได้ไหมคะ

    ผมเป็นคนกรุงเทพฯ เป็นครอบครัวคนชั้นกลาง คุณพ่อทำงานบริษัท คุณแม่เป็นแม่บ้าน คุณตามาจากเมืองจีน มาทำงานที่เมืองไทยหลายปี และเคยเป็นครูสอนภาษาไทยด้วย คุณตาและคุณพ่อท่านชอบทางด้านศิลปะและชอบธรรมชาติด้วย
    ผมเรียนชั้นอนุบาลและประถมที่โรงเรียนดวงถวิล ชั้นมัธยมที่โรงเรียนรุจิเสรีวิทยา จนถึง มศ. ๓ ก็สอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมฯ จากนั้นจึงสอบเข้าคณะแพทย์ จุฬาฯ เรียนจบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ และได้ทำงานเป็นอาจารย์แพทย์ที่โรงพยาบาลจุฬาฯเรื่อยมา
    ผมเป็นทั้งแพทย์ด้านอายุรศาสตร์ทั่วไป และอาจารย์สอนหนังสือ ตอนหลังเรียนเพิ่มเติมทางด้านประสาทวิทยา จบวุฒิบัตรเป็นแพทย์เฉพาะทางประสาทวิทยา (โรคทางสมองและระบบประสาท) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ และไปเรียนต่อสหรัฐอเมริกาด้านโรคลมชัก กลับมาเป็นแพทย์ด้านนี้ จนกระทั่งได้ตั้งโครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจรฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ถึงวันนี้ก็ ๑๘ ปีแล้ว เป็นโครงการที่บุกเบิกการผ่าตัดโรคลมชักให้หายขาด ซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย โครงการนี้เป็นที่พึ่งให้กับคนไข้กว่าสามพันราย มีทีมงานผ่าตัดให้คนไข้หายจากโรคลมชักปีละประมาณ ๑๐๐ ราย รวมแล้วกว่า ๕๐๐ ราย ขณะนี้ผมเป็นผู้อำนวยการศูนย์โรคลมชักที่จุฬาฯ และปัจจุบันขยายงานมาที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

    ทำไมคุณหมอถึงสนใจโรคนี้คะ

    คงเพราะเป็นหนึ่งในสาขาที่เรียนมา ผมได้รับการถ่ายทอดความรู้จากอดีตหัวหน้าสาขาวิชาประสาทวิทยา คือ อาจารย์อาวุโส แพทย์หญิง อังคณา อินทรโกเศศ ท่านเมตตารับผมไว้เป็นอาจารย์ หลังจากเรียนจบท่านเคยรักษาคนไข้โรคลมชักและตรวจคลื่นสมองมาก่อน พอท่านอายุมากขึ้น เรื่องนี้ยังไมมีใครดูแลต่อ พอดีผมมีโอกาสไปเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ซึ่งเป็นความก้าวหน้าสำหรับประเทศไทยกลับมา จึงเริ่มบุกเบิกรักษาโรคลมชักตั้งแต่ครั้งนั้น

    อาชีพหมอเป็นความฝันในวัยเด็กหรือเปล่าคะ

    สมัยก่อนคนที่เป็นเด็กเรียน เวลาเอ็นทรานซ์มักจะเลือกเรียนหมอ ไม่ก็วิศวะ ผมจึงเลือกแพทย์จุฬาเป็นอันดับหนึ่ง และพอมาเป็นจริงๆ ก็รู้ว่าเป็นอาชีพที่ตรงกับความรู้สึกของตัวเอง เพราะชอบศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บ โรคลมชักนี้ พอได้เรียนและช่วยคนไข้ให้เขาหายได้ ก็รู้สึกดีใจ เกิดเป็นความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย หลังๆ ไม่ได้รักษาโรคอย่างเดียว แต่รักษารวมไปถึงจิตใจด้วยในการรักษา ผมพบว่าคนไข้จำนวนหนึ่ง แม้เราจะพยายามรักษาทุกวิธีแล้วแต่ก็ไม่หาย พยายามหาวิทยากรใหม่ๆ มาช่วยเขาแค่ไหนก็ไม่สำเร็จ จึงต้องใช้เรื่องจิตใจและธรรมะช่วย โรคลักษณะเดียวกันบางคนหาย แต่บางคนกลับไม่หาย เป็นเรื่องแปลก ก็เลยสังเกตว่าอาจจะเป็นกฎแห่งกรรมที่บังคับทุกชีวิตอยู่ แม้จะเป็นแพทย์ก็ต้องมีพุทธศาสตร์ร่วม เรื่องแบบนี้ ถ้าใช้มุมมองของวิทยาศาสตร์อาจอธิบายไม่ได้ แต่ทางพุทธศาสนามีคำอธิบาย คงเป็นกรรมเก่าที่เขาทำมา เลยทำให้เราเข้าใจ และได้เรียนพุทธศาสนาจากแพทยศาสตร์ด้วย

    ความเชื่อแบบนี้จะแย้งกับทางการแพทย์ไหมคะ

    ไม่หรอกครับ จริงๆเรื่องกรรมเป็นเหตุเป็นผล เป็นวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ข้ามภพข้ามชาติ และมองไม่เห็น แต่วิทยาศาสตร์จะต้องพิสูจน์ด้วยสิ่งที่จับต้องได้ วัดได้ แต่สิ่งที่ยังจับต้องไม่ได้วัดไม่ได้เหล่านี้ พระพุทธองค์ตรัสรู้ความจริงมานานแล้ว และไปไกลเกินกว่านักวิทยาศาสตร์จะรู้ได้
    ที่บอกว่าโรคนี้อาจะเป็นผลสืบเนื่องจากกฎแห่งกรรม ก็เพราะเป็นโรคที่เกิดแล้วควบคุมตัวเองไม่ได้ ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง มีการชัก มีกระตุก มีเกร็ง ดิ้น เหมือนปลาถูกทุบ มีคนไข้คนหนึ่งรักษาทุกวิธีแล้ว เขาควรจะหาย แต่เขาไม่หาย ผมก็ถามเขาตรงๆว่า เคยไปทำอะไรมาบ้างไหม ถ้าทำชาติดนี้อาจจะพอนึกได้ เขาบอกว่าพอหมอถามอยางนี้ฉันนึกออกเลย ครั้งหนึ่งมีคนมาถามว่าอยากทำปลาช่อนตากแห้งไหม ที่จริงฉันไม่อยากทำหรอก แต่เขาขอให้ช่วยและบอกจะสอนให้ เลยต้องทุบหัวปลาช่อนเป็นจำนวนมาก ถ้าคุณหมอพูดอย่างนี้ ฉันคิดว่าใช่แล้ว เพราะหลังจากทำไปแล้วก็รู้สึกไม่สบายซึ่งตรงกับผลแห่งกรรม คือ ปาณาติบาต เป็นศีลข้อหนึ่ง ทำให้เจ็บป่วย ผมก็เลยแนะนำให้เขาทำบุญเกี่ยวกับเรื่องปลาให้มาก การจองเวรเป็นเรื่องน่ากลัว ไม่ชอบใคร โกรธใคร เกลียดใคร อย่างเผลอไปแช่ง ไปก่อกรรมกับเขา เพราะจะผูกพันกันข้ามภพข้ามชาติ บางทีเราไม่ตั้งใจ คิดอกุศลนิดเดียวก็กลายเป็นบ่วงผูกพัน กฎแห่งกรรมนี้บางทีผูกกันเป็นร้อยๆ ปีก็มี กว่าจะอโหสิให้กันได้

    การเชื่อเรื่องกรรมช่วยได้อย่างไรคะ

    ทำให้เราเข้าใจคำว่า “อุเบกขา” ถ้าเราไม่เข้าใจกฎแห่งกรรม เราก็ยังวางอุเบกขาไม่ได้ ทำไมคนไข้คนนั้นไม่หาย เขาเองก็อยากหาย เราก็อยากให้เขาหาย พยายามให้เขาไปตรวจนั่นทำนี่ สารพัดที่คิดว่าน่าจะหายเหมือนคนอื่น มาถึงวันหนึ่งจึงคิดว่า เราได้รักษาเขาเต็มที่แล้ว ทำให้เราวางอุเบกขาได้ เขาก็ต้องยอมรับ เราก็ต้องยอมรับ สักวันหนึ่งกรรมของเขาเบาบางแล้ว เราจึงจะช่วยเขาได้สำเร็จ แต่หมายความว่า เราต้องรักษาเขาอย่างสุดฝีมือก่อน ถ้าเรายังไม่พยายามเต็มที่ เรายังวางอุเบกขาไม่ได้ ต้องเมตตากรุณาให้เต็มที่ก่อน

    บางคนอาจจะโกรธนะคะ ที่บอกว่ารักษาไม่หายเพราะเป็นกรรมของคุณ

    ใช่ครับ เราก็ต้องดูว่าใครรับได้แค่ไหน หรือเชื่อพุทธศาสนาหรือไม่ ถ้าเราขาดธรรมะหรือขาดความเข้าใจตรงนี้ ก็จะทุกข์เพราะการไม่ยอมรับความจริง เราไม่ใช่ผู้วิเศษที่จะช่วยคนได้ทั้งหมด เรื่องกรรมเป็นเรื่องละเอียดและซับซ้อน ถ้าคนปฏิบัติก็จะพอเข้าใจ แต่ถ้าเขาไม่เชื่อหรือไม่มีพื้นฐานเรื่องกรรม ก็ต้องหาทางอธิบายเหตุผลที่รักษาไม่หายไปตามข้อมูลการแพทย์ ญาติคนไข้บางคนที่ยังไม่หายเพราะโรคของเขาเป็นหนัก บางทีกลับมาโกรธเคืองหมอ ทั้งที่พยายามช่วย นั่นยิ่งเป็นกรรมซ้อนกรรม

    คุณหมอสนใจพุทธศาสนาตั้งแต่เมื่อไรคะ

    ผมสนใจตั้งแต่เด็ก ผมอยู่ในครอบครัวที่ปฏิบัติตามแนวทางของพุทธศาสนา ตอนเล็กๆ เห็นคุณตาไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ส่วนคุณแม่ก็ชอบสวดมนต์ แต่ช่วงที่สนใจพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ก็คือตอนที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ตอนนั้นความทุกข์เริ่มเกิด ความทุกข์เกิดจากการไม่สมหวัง การพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ หรือว่าไม่ได้ดังใจปรารถนา ทุกข์เล็กทุกข์น้อยมันสะสม และกระตุ้นเตือนให้เราต้องแสวงหาวิธีพ้นทุกข์
    ตอนช่วงปิดเทอมปี ๓ ผมก็เลยไปบวชอยู่ ๒๐ วัน ได้ความสงบบ้าง ตอนนั้นการปฏิบัติยังน้อย ได้แต่อ่านหนังสือเป็นส่วนใหญ่ พอสึกมาแล้วก็ยังใช้วิธีอ่านหนังสือหรือฟังผู้อื่น ปัญญาของตนเองยังไม่ค่อยมี แก้ปัญหาได้ชั่วคราว เรื่องใหญ่แก้ไม่ตก หรือแก้ได้เดี๋ยวเดียวก็ทุกข์อีก คือใจเรายังหาที่พึ่งไม่ได้ ยังไม่มีหลักยึด
    จนกระทั่งเมื่อเป็นอาจารย์แพทย์แล้ว ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เพื่อนแนะนำให้ไปกราบ พระครูวิโรจน์ ญาณวิสุทธิ์ ที่วัดถ้ำพุทธาจารโร จังหวัดปราจีนบุรี ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้นและหลวงปู่สิม สิ่งที่ท่านสอนเป็นสิ่งแรกคือ ความสงบ ที่ผ่านมาเราศึกษาแบบปริยัติ รู้ทฤษฎี แต่จิตไม่รู้เท่าทันสังขารความคิด พอได้นั่งสมาธิภาวนา รู้สึกว่าเป็นทางที่ถูก จากจิตที่ไม่สงบ รู้ไม่เท่าทัน สติก็ค่อยๆ พัฒนา จนถึงวันนี้ยี่สิบปีแล้ว รู้สึกว่ามีสติ และเริ่มถ่ายถอนการยึดมั่นในขันธ์ห้าได้ระดับหนึ่ง ทำให้ความทุกข์ระงับไปเป็นคราวๆ

    สิ่งที่ได้หลังจากปฏิบัติธรรม

    คือความสงบสุข ความสบายใจที่มีมากขึ้น เมื่อก่อนทุกข์มากความรู้สึกในใจเดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง เช้าทุกข์ บ่ายสุข เคยลองพล็อตกราฟในใจ รู้สึกว่าทำไมกราฟมันขึ้นมันลงขนาดนี้ ปัจจุบันค่อยมีสติควบคุม รู้ว่าอะไรเกิด อะไรดับ สุดท้ายมีปัญญาจากความสงบมาพิจารณาแก้ปัญหาที่เกิด สมถะคือความสงบ ต้องใช้คู่กันกับวิปัสสนาคือปัญญา จึงทำให้ความทุกข์น้อยลงไปได้ ผมนั่งสมาธิหลายปี เพิ่งจะสงบนิ่งได้ตอนหลัง ที่เป็นอย่างนี้ เพราะพื้นฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผมเป็นคนชอบใช้ความคิด จึงฟุ้งซ่านง่าย ตรงกับวิสัยพุทธิจริต ที่เป็นคนชอบใช้ปัญญา แต่ถ้าใช้ปัญญาโดยไม่มีฐานความสงบก็จะเลอะเลือน พอมีสมาธิ จิตรวมได้ดีขึ้น เราก็ใช้ปัญญาได้คมขึ้น สมมุติว่ามีอะไรเกิดขึ้น เราก็จะนิ่ง สงบ แล้วหยิบเอาปัญหามาพิจารณา ว่าเรื่องนี้ควรแก้อย่างนี้ เรื่องนั้นต้องปลงใจอย่างนั้น แก้เป็นเปลาะๆ ไปนั่นคือต้องปฏิบัติด้วยใจ ไม่ใช่ด้วยสมอง

    คนภายนอกอาจมองว่าคุณหมอไม่นาจะมีความทุกข์มากมาย

    คงเป็นอะไรในใจที่กระตุ้นเตือน คงจะเป็นบุญที่เกิดมาได้พบพระพุทธศาสนา และอยู่ในครอบครัวที่มีสัมมาทิฐิ พอมาปฏิบัติที่วัดป่าก็มาพบพระที่ท่านเมตตามาก ท่านรู้ใจเราหมด รู้ว่าเราคิดอะไร จะแก้อย่างไร เป็นครูบาอาจารย์ที่สอนตรงทางและตรงใจมาก และยังพบครูบาอาจารย์ที่สูง เช่นได้ไปกราบหลวงตามหาบัว จึงเหมือนกับว่าบุญช่วยนำให้เรามาทางนี้ และเราก็อธิษฐานใจด้วยว่าขออย่าให้หลงทาง
    นิสัยตัวผมเองไม่ชอบสังคมที่คนมากๆ ชอบอยู่เงียบๆ ในธรรมชาติ เพราะธรรมชาติสอนธรรมะเราทุกอย่าง ใบไม้ร่วงก็สอน ใบไม้เหลืองก็สอน ใบไม้สดก็สอน อย่างมองไปเห็นบอนถูกน้ำฝน แล้วมันผุดงามขึ้นมาจากดิน แต่ที่จริงฝนมาชั่วคราว ยังไม่ใช่ฤดูฝน ไม่นานหมด ฝนใบบอนก็เหี่ยวคาดิน เหมือนคนหลงของดีๆ ที่มาแป๊บเดียวก็ฟูใจรับเสียเต็มที่ พอเวลาพลัดพรากเลยทุกข์เสียจนบอบช้ำ เป็นเพราะหลงสุขโดยไม่เข้าใจเรื่องความไม่เที่ยง นี่ละ ใบบอนใบเดียวยังสอนเรา

    ปัจจุบันนี้คุณหมอใช้ชีวิตอย่างไร ยังสอนหนังสืออยู่หรือเปล่าคะ

    ตอนนี้เป็นอาจารย์ประจำที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ไปสอนทุกวัน แต่จะไปแบบคนไม่ค่อยเห็น เพราะพอคนเห็นแล้วจะมีปฏิกิริยาหรือเจอบางคนที่ชอบคุย ถ้าสุงสิงมากไป สติก็จะขาดง่าย เพราะอารมณ์ของเราจะไปตามเรื่องที่คุย ส่วนใหญ่คนเราเวลาคุยกัน ชอบคุยเรื่องนอกตัว และมักพูดถึงบุคคลที่สามซึ่งไม่เกี่ยวกับตัวเรา ผมรู้สึกว่าการพูดในลักษณะนี้ไม่เป็นการสร้างสรรค์

    ไม่ทราบว่าคุณหมอได้มาเป็นแพทย์ประจำพระองค์ทูลกระหม่อนเล็กได้อย่างไรคะ

    อาจเรียกได้ว่าเป็นบุญจากแม่ เพราะจะรักษาท่านตอนประมาณปี ๒๕๓๘ แม่ผมป่วย เป็นแผล ต้องไปเย็บที่โรงพยาบาลจุฬาฯ หลังจากนั้นผมก็คิดว่าจะต้องหาคลินิกใกล้บ้าน เพื่อให้แม่ไปทำความสะอาดแผล เพราะถ้าต้องพาแม่ไปกลับโรงพยาบาลไกลๆ ทุกวันคงจะลำบากเลยไปหาว่ามีคลินิกใกล้บ้านที่ไหน ปรากฏว่าไปพบคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา อยู่ข้างบ้านแถวซอยนวศรี ก็เลยพาแม่ไปรักษาทุกสัปดาห์ เผอิญผมไปดูรายชื่อแพทย์ที่นั่น ก็แปลกใจทำไมมีแต่ชื่อครูบาอาจารย์เราทั้งนั้นเลย ถามไปถามมา จึงทราบว่าเป็นคลินิกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปิดให้แพทย์ตามเสด็จของท่าน
    หลังจากนั้นผมก็อยากจะไปช่วยออกตรวจ เพราะเรามีความรู้ทางด้านประสาทวิทยา ซึ่งทางศูนย์ขาดแพทย์สาขานี้ ท่านอาจารย์พลโท นายแพทย์เชิดชัย เจียมไชยศรี ท่านก็กรุณารับไว้ ผมเลยได้ไปทำงานที่นั่นอยู่สักปีสองปี
    วันหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่มีการเฉลิมฉลองการครองราชย์ ๕๐ ปี อาจารย์เชิดชัยนำเข็มพระราชทาน ภปร. มามอบให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่นั่น ผมนึกในใจว่า ผมยังไม่ได้ทำความดีอะไรถวายพระองค์ท่านเลย จะรับเข็มนี้ได้อย่างไร คนอื่นเขาเป็นแพทย์ตามเสด็จกันทั้งนั้น ผมจึงขอสมัครเป็นแพทย์ตามเสด็จบ้าง
    ผมได้ตามเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อยู่หนึ่งปี ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เกิดเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตก ท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร พระพี่เลี้ยงทูลกระหม่อนเล็กอยู่ในเฮลิคอปเตอร์ลำที่ตกด้วย เหตุการณ์นี่ทำให้ทรงเสียพระทัยและประชวรมาก ข้าราชบริพารเห็นท่านล้มบ่อยๆ เลยมาบอกผม ให้ช่วยไปตรวจดูว่าท่านเป็นอะไร เขาอยากให้ผมไปประเมินดูว่าอาการประชวรเกี่ยวโยงกับสมองหรือไม่ ผมได้เชิญเสด็จท่านไปที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ผู้อำนวยการได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อถวายการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด หลังจากนั้นพระอาการก็ดีขึ้นเรื่อยๆ การที่พระอาการดีขึ้น ไม่ใช่ทางการแพทย์อย่างเดียว แต่เพราะพระองค์ท่านทรงปฏิบัติธรรมด้วย
    โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องซับซ้อน ที่ฝรั่งเขาค้นคว้าก็ถูกของเขาอย่างหนึ่ง คือทางกาย แต่จิตและกรรม เขายังไปไม่ถึง

    คุณหมอคิดว่าควรจะบรรจุการสอนพุทธศาสนาไว้ในหลักสูตรของคณะแพทย์ไหมคะ

    ควรครับ เพราะถ้าเรามีแพทย์ที่มีแต่ความรู้ แต่ไม่มีคุณธรรม สังคมก็ไปไม่รอด แต่การสอนที่ดีที่สุด คือการปฏิบัติให้ดู ศาสนาพุทธเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นเรื่องเฉพาะตัวมาก เราจะสอนคนด้วยวิธีเดียวกันไม่ได้ พระพุทธเจ้าเองจะไปโปรดใคร ก็ต้องใช้พระญาณพิจารณาว่าธรรมะข้อไหนจึงจะเหมาะกับคนคนนั้น แต่เราไม่มีพระพุทธเจ้ามาเล็งญาณแล้ว การที่เราสอนจะได้ผลสักแค่ไหน จะเอาคนร้อยคนมาฟังเราพูดเหมือนๆกัน เขาจะรับได้เท่ากันไหม ดังนั้นตัวเขาเองต้องปฏิบัติด้วย
    อย่างไรก็ตาม การสอนศาสนาแก่เยาวชน นิสิตนักศึกษา ย่อมเป็นสิ่งดี เป็นสิ่งที่ควรทำ ส่วนผลจะได้แค่ไหนก็แล้วแต่ผู้รับนั้นๆ เราแค่รู้ตัวเราว่าคือผู้ปฏิบัติคนหนึ่ง ยังไม่อาจไปสอนใคร ก็เป็นทำเนียบผู้ปฏิบัติธรรมที่มารวมตัวกัน เป็นทำเนียบของกัลยาณมิตรร่วมสมัย ต่างคนก็ต่างปฏิบัติ ทำให้ทุกคนรู้สึกว่ามีกำลังใจ ที่จะเดินหน้าบนทางสายนี้ได้ อย่างไม่ว้าเหว่
    โดยทั่วไปคนมักจะคิดว่าพุทธศาสนาเป็นเรื่องไกลตัวและปฏิบัติยาก คนที่ปฏิบัติก็มักถูกมองว่าครึ เชย แต่ครั้นพอมีทุกข์ขึ้นมา ก็วิ่งหาพระพุทธศาสนา อันที่จริงธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นสุดยอดแล้วในการดับทุกข์ แต่ ถ้าศึกษาตัวหนังสือก็จะได้แค่ปริยัติ ปริยัติต้องมีปฏิบัติและมีปฏิเวธคือผลการปฏิบัติ ปฏิเวธธรรมคือสิ่งที่พระอริยสงฆ์ท่านถ่ายทอดออกมา จึงจะตรงทาง เพราะท่านได้นำเอาธรรมะที่ท่านรู้แล้วเกิดผลแล้วมาสอนเรา ศาสนาจะขาดสามสิ่งนี้ไม่ได้ แต่เวลานี้สิ่งที่สอนๆกันส่วนใหญ่เป็นปริยัติ ไม่มีปฏิบัติและปฏิเวธ เลยยากจะเกิดผลขั้นพ้นทุกข์จริงได้

    คุณหมอสนใจขนาดนี้ เคยคิดจะบวชไหมคะ

    เคยคิด แต่พระอาจารย์ที่สอนผมท่านบอกว่ายังไม่ถึงเวลา คือ ท่านคงจะมีญาณรู้อนาคต ว่าเราจะต้องรับผิดชอบงานใหญ่อะไรบางอย่าง หรือยังมีภารกิจอะไรบางอย่างที่ต้องทำให้เรียบร้อย ถ้าบวชไป ใจอาจจะไม่สงบ
    ทุกวันนี้เวลาทำงานเหนื่อย ๆ ผมจะไปอยู่กับธรรมชาติที่วัดป่า พอได้อยู่อย่างนั้น จิตจะว่าง เรื่องงานเรื่องการหายไปหมด เป็นการพักผ่อนที่ดียิ่ง การเข้าสู่สมาธิโดยอาศัยธรรมชาติแม้จะไม่ลึกอะไรนัก แต่ก็ทำให้เราหมดความฟุ้งซ่าน หรือหยุดความคิดวนเวียนอยู่กับเรื่องที่เราคิดไม่ตก เป็นการพักใจที่ดีอย่างยิ่ง พอปฏิบัติภาวนาด้วย ก็เกิดผลง่าย

    เดี๋ยวนี้มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมที่นั่นอีกไหมคะ

    โชคดีที่หลังทำงานโรคลมชักมากกว่า ๑๒ ปี ภาระงานต่างๆ เข้ารูปเข้ารอย ภารกิจที่ได้รับมอบหมายเบาบาง จึงมีเวลาที่จะปฏิบัติธรรมแต่ตอนนี้ไม่ได้ปฏิบัติคนเดียว มีสหายธรรม คือพระองค์ท่านก็ทรงปฏิบัติอย่างยิ่งด้วย เป็นแนวเดียวกัน ส่งเสริมกัน พระองค์ท่านสนพระทัยปฏิบัติถึงขั้นภาวนา มีพระปัญญาสูง มีวาสนาทางธรรม การที่ได้ไปกราบหลวงตามหาบัวก็ทำให้ได้ธรรมะดีๆ กลับมาปฏิบัติ

    ปัจจุบันคุณหมอปฏิบัติธรรมเข้มข้นแค่ไหน

    ทุกวันนี้ถือศีล ๕ ส่วนศีล ๘ คงยังไม่ถึงเวลาของเรา เพราะศีล ๘ ต้องไม่รับประทานอาหารมื้อเย็น แต่อาชีพอย่างผมทำงานเหนื่อยมาก ถ้าไม่รับประทาน ร่างกายคงอยู่ไม่ไหว หรือเรื่องฟ้อนรำ ดนตรี บางทีก็ต้องไปดู ที่ขาดไม่ได้คือพยายามนั่งสมาธิภาวนาให้ได้ทุกวัน ตอนนี้ทำมายี่สิบปีแล้ว แต่ก็ยังต้องศึกษาต่อไป

    คุณหมอหวังจะบรรลุธรรมในชาตินี้หรือเปล่า

    คงได้แต่อธิษฐานไว้ ถ้ามุ่งตรงต่อกระแสพระนิพพานได้ก็พอใจแล้ว เพราะรู้สึกเบื่อภพชาติมาก ถ้าเป็นชาติสุดท้ายได้ ก็คงจะดีมาก (ยิ้ม)

    ทุกวันนี้คุณหมอถวายการดูแลทูลกระหม่อมอย่างไรคะ

    เหมือนเป็นกัลยาณมิตรกัน ผมถวายการรักษาทางแพทย์ด้วยยาและก็ใช้ธรรมโอสถด้วย ทั้งทาน ศีล และภาวนา สวดมนต์ไหว้พระ บำเพ็ญบุญ ทั้งหมดนี้ผมไม่ได้ถวายคำแนะนำคนเดียว มีครูบาอาจารย์ด้วย ซึ่งขณะนี้พระองค์ท่าน ก็มีพระพลานามัยและพระทัยแข็งแรง

    คุณหมอรู้สึกอย่างไรกับการที่ได้มาอยู่ตรงนี้ และแน่นอนว่าคงมีทั้งคำสรรเสริญและคำนินทา ไม่ทราบคุณหมอมีวิธีวางตัววางใจอย่างไร

    ความซื่อตรงและความจงรักภักดีมาเป็นอันดับแรกตลอดมาการวางตัวของผมคือเสมอต้นเสมอปลายและ low profile ซึ่งหมายถึงเก็บตัว เจียมตน มักน้อย ถือสันโดษ พอใจ ไม่อวดอ้าง ส่วน การวางใจ คือไม่มีตัวตน ซึ่งหมายความว่ามีสติ ไม่ฟู เมื่อได้รับสิ่งที่เป็นบวก อภัยและปล่อยวางเมื่อได้รับสิ่งที่เป็นลบ รวมทั้งพิจารณาว่าสิ่งที่ไม่ดีที่เราประสบอาจเป็นกรรมเก่า แล้วอโหสิไป หากยังข้องกับโลก การสรรเสริญ นินทา มีค่า เท่ากัน หากไม่ข้องกับโลก การสรรเสริญ นินทา ไม่มีค่า เท่ากัน เพราะทุกอย่างไม่มีอะไรให้ยึด มีแต่จิตเท่านั้นที่จะต้องคอยรักษาให้บริสุทธิ์

    คุณหมอใช้ธรรมะในชีวิตประจำวันอย่างไรคะ

    ส่วนใหญ่ธรรมะจะอยู่ให้การพิจารณาเรื่องบางเรื่อง หากมีสิ่งมากระทบที่ทำให้ทุกข์ ก็พิจารณาว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เช่นเรื่องการดูแลลูกน้องใต้บังคับบัญชา เพราะคนมีหลายประเภท ถ้าแก้แบบโลกไม่ตก ก็ต้องพิจารณาให้เห็นความจริงตามธรรม เช่นหลักอนิจจังอนัตตา ให้รู้ แล้วละวางไป ทำให้ทุกข์ดับเป็นเรื่อยๆไป หรือมองข้อผิดพลาดของตนเองเช่น การขาดสติ เกิดสังขารปรุงแต่ง เกิดความเผลออยากไปบังคับโน่นบังคับนี่ ก็จะหาข้อธรรมะมาแก้ เช่นการเจริญเมตตาให้คนที่คิดผิด ทำผิดต่อเรา พออภัยแล้วใจว่างโล่งเลย
    กล่าวได้ว่าธรรมะแฝงอยู่ในชีวิต เป็นพื้นฐานของความสงบสุข ผมคิดว่าทุกคนทุกครอบครัว ควรต้องมีธรรมะอยู่ในใจ ถ้าบ้านไหนไม่มี ก็จะหาความสุขยาก ถ้าครอบครัวมีธรรมะ ไม่ต้องถึงกับนุ่งขาวห่มขาวหรือศีล ๘ ก็ได้ แค่มีศีล ๕ และปฏิบัติสมาธิภาวนาให้เกิดผล ก็จะมีชีวิตที่เป็นสุขขึ้น

    สุดท้าย ถ้าจะให้สรุปสั้นๆ สำหรับตัวคุณหมอเอง ธรรมะเปรียบได้กับอะไรคะ


    สำหรับผม ธรรมะเป็นลมหายใจ ถ้าขาดลมหายใจ เราอยู่ไม่ได้ฉันใด ขาดธรรมะ ชีวิตก็ดำรงอยู่ไม่ได้ฉันนั้น




    [​IMG]

    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ฉายพระรูปหมู่ร่วมกับผู้แทนสถาบันสำคัญๆ

    ที่ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกสากล พร้อมด้วย รศ.นพ.ชัยชน โลว์เจริญกูล


    -------------------
    ขอบคุณที่มา:
    ���и��� ..��.��.��ª� �������ԭ��� ����ո���дѧ�������
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2010
  2. คาคะ

    คาคะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    424
    ค่าพลัง:
    +1,533
    อนุโมธนาคะ ชอบบทความนี้นะคะ พิจารณาให้เห็นความจริงตามธรรม เช่นหลักอนิจจังอนัตตา ให้รู้ แล้วละวางไป ทำให้ทุกข์ดับเป็นเรื่อยๆไป หรือมองข้อผิดพลาดของตนเองเช่น การขาดสติ เกิดสังขารปรุงแต่ง เกิดความเผลออยากไปบังคับโน่นบังคับนี่ ก็จะหาข้อธรรมะมาแก้ เช่นการเจริญเมตตาให้คนที่คิดผิด ทำผิดต่อเรา พออภัยแล้วใจว่างโล่งเลย
    กล่าวได้ว่าธรรมะแฝงอยู่ในชีวิต เป็นพื้นฐานของความสงบสุข ผมคิดว่าทุกคนทุกครอบครัว ควรต้องมีธรรมะอยู่ในใจ ถ้าบ้านไหนไม่มี ก็จะหาความสุขยาก ถ้าครอบครัวมีธรรมะ ไม่ต้องถึงกับนุ่งขาวห่มขาวหรือศีล ๘ ก็ได้ แค่มีศีล ๕ และปฏิบัติสมาธิภาวนาให้เกิดผล ก็จะมีชีวิตที่เป็นสุขขึ้น
     
  3. Vatairat

    Vatairat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,294
    ชอบบทความนี้เช่นกันค่ะ ขออนุโมทนากับคุณหมอนะค่ะ จะเห็นว่าทุกๆอย่างเป็นไตรลักษณ์ ไปหมด
     
  4. gift Everything

    gift Everything Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +66
    อนุโมทนา สาธุ ด้วยจิงๆ ค่ะ ชอบธรรมะจิงๆ ทำให้เราหาทางดับทุกข์ได้ ทุกข์มันอยู่ที่ใจ ดับได้ ก็ไม่ทุกข์
     
  5. Hermitt99

    Hermitt99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +914
    ชอบบทความนี้เช่นกันคับ เริ่มหันมาศึกษาธรรมะ เริ่มรู้ว่า เรามีของดีอยู่ใกล้ตัว แต่ไม่เคยนำออกมาใช้ ได้แต่พึ่งพาสิ่งภายนอก ต้องทำใจกับเงิน และเวลาที่เสียไป ขอบคุณกับบทความดีดี คับ
     
  6. Laputa

    Laputa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +212
    สุดยอดมากครับ
     
  7. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ยกนิ้วให้เลยค่ะคุณหมอ.............
     

แชร์หน้านี้

Loading...