ผ้าไตร 7 ชิ้น มีอะไรบ้าง ไตรครอง ไตรเต็ม ไตรจีวร ต่างกันหรือไม่

ในห้อง 'งานบวช' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 15 มีนาคม 2024.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +53
    ผ้าไตร 7 ชิ้น มีอะไรบ้าง หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบ รวมถึง ไตรครอง ไตรเต็ม ไตรจีวร นั้นมีความหมายในการเรียกแตกต่างกันอย่างไร ทำให้เวลาเลือกซื้อสำหรับถวายสังฆทาน เพื่อทำบุญให้ผู้ล่วงลับ หรือ งานบวช นั้นอาจจะมีความสับสนได้

    ผ้าไตร 7 ชิ้น มีอะไรบ้าง
    ไตรครองผ้าไตรครบชุด (7 ชิ้น) ประกอบด้วย

    1. ผ้าสบงขัณฑ์,
    2. ผ้าจีวร,
    3. ผ้าพาดบ่าหรือสังฆาฏิ (2 ชั้น),
    4. อังสะ,
    5. รัดประคด,
    6. ผ้ารัดอก
    7. ผ้ารับประเคนหรือผ้ากราบ
    ผ้าไตรแต่ละประเภทใช้สำหรับอย่างไรบ้าง
    ผ้าไตรชุดใหญ่ ใช้สำหรับการบวชพระ ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย ใช้ในการบวชพระ

    • ฝ่ายธรรมยุตหรือเราเรียกว่าวัดป่านั้นต้องเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 9 ขันธ์ ที่มีสังฆาฏิ 2 ชั้น ประกอบด้วย7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 2 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน
    • ฝ่ายมหานิกาย จะเป็น ผ้าไตรชุดใหญ่ 5 ขันธ์ ประกอบด้วย7 ชิ้น คือ สังฆาฏิ 1 ชั้น จีวร สบงขันธ์ อังสะ ผ้ารัดอก ประคดไหม และผ้ารับประเคน
    ไตรอาศัย ใช้สำหรับการเพื่อผลัดเปลี่ยนในชีวิตประจำวัน ประกอยด้วย ผ้า 3 ชนิดหลัก คือ จีวร สบง อังสะ และเช่นเดิมต้องพิจารณาว่าเป็นนิกายหรือฝ่ายไหน ธรรมยุต ต้องเป็น 9 ขันธ์ สีกรักแก่นขนุน ส่วนมหานิกาย 5 ขันธ์ สีเหลืองส้ม เป็นต้น


    ตัวอย่างการจัดชุดผ้าไตรสำหรับงานบวช และ ชุดเครื่องบวช

    ชุดเครื่องบวชพระภิกษุสงฆ์ ประกอบไปด้วย
    • ไตรครอง ประกอบด้วยอัฐบขาล 7 อย่าง
    • ไตรอาศัย (สบง, จีวร, อังสะ)
    • ไตรคู่สวด – อุปัชฌาย์
    • ชุดนาค (เสื้อครุยนาค, สบงขาว, ผ้าสไบ)
    • บาตรครบชุด
    • ตาลปัตร
    • ย่าม
    • อาสนะ
    • ต้นเทียนถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
    • กรวยขมา ถวายพระอุปัชฌาย์ – พระคู่สวด 3 ใบ
    • ธูป เทียน แพ พาน
    • เสื่อ
    • ที่นอนพระ
    • หมอน
    • มุ้ง
    • ผ้าเช็ดตัว – ผ้าเช็ดหน้า
    • ผ้าห่ม
    • ปิ่นโต
    • กระโถน
    • จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ
    • รองเท้าแตะ
    พิธีการบวช

    1. ตอนเย็นก่อนบวชจะมีพิธีโกนหัวนาค ณ โรงพิธีประชุมวงฆ์ นาคทั้งหลายจะรับศีล อาราธนาพระปริตรพระสงฆ์พรมน้ำมนต์และสระผมนาค ผู้ที่โกนหัวอาจเป็นพระสงฆ์หรือพ่อแม่ จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะโกนด้วยเล็กน้อย

    2. หลังจากนั้นอาบน้ำ เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวนุ่งขาว ห่มขาว เรียกว่า “เจ้านาค”

    3. กลางคืนจัดให้มีพิธีสงฆ์เรียกว่า “การสวดผ้า” เจ้านาคต้องมีไตรจีวร และจะมีการทำขวัญนาคด้วยในคืนนี้

    4. จะมีการแห่นาคในวันบวชวันรุ่งขึ้น แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ เป็นการบูชาพระพุทธศาสนา ขณะที่แห่จะมีการว่าเพลง “คำตัก”

    5. เมื่อครบ 3 รอบ นาคจะจุดธูปเทียน บูชาพัทธสีมา มีการกรวดน้ำ

    6. หลังจากนั้นญาติจะช่วยกันอุ้มนาคเข้าอุโบสถ ห้ามเหยียบธรณีประตู พ่อแม่นาคส่งไตรครองให้นาค เพื่อถวายพระอุปัชฌาย์ ถวายพระกรรมวาจาจารย์ (พระคู่สวด) และพระอนุสาวนาจารย์ ท่านละ 3 กรวย จากนั้นกล่าวคำขอบรรพชา รับศีล 10 พระอุปัชฌาย์คล้องบาตรสะพาย พระคู่สวดจะประกาศว่าผู้ชื่อนั้นๆ ได้มาขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วตั้งคำถามเป็นข้อๆ เรียกว่า “ขานนาค”

    7. เมื่อขานนาคเสร็จ นาคขออุปสมบทต่อคณะสงฆ์ คณะสงฆ์กล่าว อนุศาสน์ (ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติขณะที่บวช)

    8. เมื่อจบอนุศาสน์ พระบวชใหม่ถวายของบูชาพระคุณแก่คณะสงฆ์ จากนั้นรับของถวายเครืองไทยธรรมจากญาติ ขณะเดียวกันจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา มารดา ญาติเป็นอันเสร็จพิธี

    ขอบคุณเพจ https://dhamma.watchmekorat.com/

    เครดิตเพจ https://dharayath.com/ผ้าไตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...