พระมหากษัตริย์และราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์ ยุคสุโขทัย กับ ศิลาจารึก

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย phuang, 22 เมษายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระมหากษัตริย์และราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์ ยุคสุโขทัย กับ ศิลาจารึก
    ศิลาจารึก วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัย เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จารึกถึงพระปรีชาสามารถ ด้านดาราศาสตร์ ของพญาลิไท ที่ทรงปรับปรุงแก้ไขศักราช จนสามารถประกอบเป็นปฏิทินสำเร็จ รูปได้ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงหลักที่ 4 ด้านที่ 2 บรรทักที่ 2-7 จารึกเป็นอักษรขอมแปลได้ว่า "โดย พราหมณ์ ดาบส สมเด็จ บพิตร ทรงประกาศ เพทศาสตรคม หลักความยุติธรรมทั้งหลายเป็นต้น โชยติศาสตร์ กล่าวคือ ดาราศาสตร์เป็นต้น คือ ปี เดือนสุริยคราส จันทรคราส พระองค์อาจรู้ซึ่งเศษ ทรงพระปรีชาโอลาริก ฝ่ายวันสิ้นเดือน 4 ที่ควรมา..หลังศักราช มีอธิกมาส พระองค์ก็ทรงแก้ไขให้ สะดวก ทรงตรวจสอบแล้ว อาจรู้ปีที่เป็นปกติมาสและอธิกมาส อธิกวาร นักษัตร โดยสังเขป และโดย ปฏิทินสำเร็จรูป

    ศิลาจารึกวัดป่าม่วง เป็นภาษาไทยสองหลัก เป็นภาษาบาลีหนึ่งหลัก
    จารึกภาษาไทยหลักที่ ๑ เรียกว่า จารึกหลักที่ ๕ ทำด้วยหินทราย หลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๒๘ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๒๙ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๑๕ เซนติเมตร พระยาโบราณราชธานินทร (พร เดชะคุปต์) พบที่วัดใหม่ (ปราสาททอง) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
    ข้อความที่จารึกบอกให้ทราบว่าบริเวณวัดป่ามะม่วง เป็นรมณียสถานที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงปลูกมะม่วงไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช และเป็นพัทธสีมาที่ทรงผนวชของสมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ก่อนถึงกาลทรงผนวชได้กล่าวถึงอดีตว่า เมื่อพรญาลือไท ผู้รู้พระไตรปิฎกขึ้นเสวยราชย์ ท้าวพระยาทั้งหลายอภิเษกขึ้นชื่อ ศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช เสวยราชย์ชอบด้วยทศพิธราชธรรม ในปี พ.ศ.๑๙๐๔ ทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชลังกาวงศ์ จากนครพันมาจำพรรษา ณ กรุงสุโขทัย ทรงหล่อพระพุทธรูปด้วยเนื้อทองสำริดองค์ใหญ่ ประดิษฐานด้านตะวันออกองค์มหาธาตุเจดีย์กลางเมืองสุโขทัย เมื่อออกพรรษาแล้วทรงสมาทานทศศีลเป็นดาบศ... หน้าพระพุทธรูปทอง อันประดิษฐานไว้เหนือราชมณเฑียร อาราธนาพระมหาสามีพร้อมคณะสงฆ์ขึ้นสู่ราชมณเฑียร ทรงบรรพชาเป็นสามเณร แล้วเสด็จไปทรงผนวช ณ พัทธสีมาวัดป่ามะม่วงในที่สุด
    จารึกภาษาไทยหลักที่ ๒ เรียกว่า จารึกหลักที่ ๗ ทำด้วยหินทรายแปร หลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๒๘ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๑๒.๕ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๓๒ เซนติเมตร พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พบที่วัดป่ามะม่วง เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
    จากรึกหลักนี้ชำรุดมาก ด้านที่หนึ่งกับด้านที่สามอ่านจับความไม่ได้ ด้านที่สองกับด้านที่สี่พออ่านได้บ้าง เป็นการจารึกเรื่องราวของการสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ในป่ามะม่วง เช่น กุฎี พิหาร สีมากระลาอุโบสถ และการทรงผนวชของสมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช
    จารึกภาษาเขมร เรียกว่า จารึกหลักที่ ๔ ทำด้วยหินแปร เป็นหลักสี่เหลี่ยมกระโจม หรือทรงยอ กว้าง ๓๐ เซนติเมตร สูง ๒๐๐ เซนติเมตร หนา ๒๙ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบที่โคกปราสาทร้างเมื่อคราวเสด็จถึงสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ จารึกด้วยอักษรไทย ภาษาเขมร เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ ภายในหอสมุดแห่งชาติพระนคร
    ข้อความในจารึกเป็นเรื่องราวคล้ายจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาไทยหลักที่หนึ่ง คือ พระยาลิไทยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสามีสังฆราช จากนครพันมาสุโขทัย เพื่อทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในการทรงผนวชของพระองค์ และเล่าเรื่องพระยาลิไทย ยกพลจากศรีสัชนาลัยมายึดสุโขทัยขึ้นเสวยราชย์ตามสิทธิอันชอบธรรม
    จากรึกภาษาบาลี เรียกว่า จารึกหลักที่ ๖ ทำด้วยหินแปรรูปสี่เหลี่ยมทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๓๓ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๒๗ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๓๐ เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลีเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พบที่วัดป่ามะม่วง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    ข้อความที่จารึกเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสามีสังฆราช พระอุปัชฌาย์ของพระมหาธรรมราชาลิไทย มีข้อความสรรเสริญพระมหาธรรมราชา ที่ทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้า ในพระพุทธศาสนา


    ศิลาจารึกวัดศรีชุม เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำด้วยหินดินดานเป็นรูปใบเสมา กว้าง ๖๗ เซนติเมตร สูง ๒๗๕ เซนติเมตร หนา ๘ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย มี ๑๐๗ บรรทัด ด้านที่สองมี ๙๕ บรรทัด มีอายุประมาณ ปี พ.ศ.๑๘๘๐ - ๑๙๑๐ นายพลโท พระยาสโมสรสรรพการ เมื่อครั้งเป็นที่หลวงสโมสรพลการ พบที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
    สาระสำคัญของจารึกหลักนี้ สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามี เป็นเจ้าได้ให้ศิษย์ของท่าน จารทำบอกเล่าให้เราให้ทราบเรื่องของคนไทยสมัยก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงเล่าไว้ว่า ท่านเกิดในนครสรลางสองแคว (พิษณุโลก) เป็นโอรสพระยาคำแหงพระราม เป็นหลานปู่พ่อขุนนาวนำถุม หรือพระยาศรีนาวนำถุม ซึ่งเสวยราชย์ในนครสองอัน อันหนึ่งชื่อ นครสุโขไท อีกอันหนึ่งชื่อ นครสรีเสชนาไล (ศรีสัชนาลัย) ภายหลังประทับอยู่ที่นครสุโขทัยแห่งเดียว ส่วนนครศรีสัชนาลัยนั้นทรงตั้งขุนยี่ คือ อุปราชปกครอง โอรสองค์โตชื่อ ขุนผาเมือง ให้ไปครองเมืองราด เมืองลุม เป็นราชบุตรเขยของผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ (พระเจ้าชัยวรมันที่แปด) และดำรงตำแหน่งยุวราชแห่งศรีโสธรปุระด้วย โอรสอีกองค์หนึ่งชื่อพระยาคำแหงพระราม (พระบิดาสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ฯ) ให้ครองนครสรลวงสองแคว
    เมื่อสิ้นพ่อขุนนาวนำถุมแล้ว ขอมสบาดโขลนลำพง ยึดอำนาจการปกครอง พ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งดำรงตำแหน่งขุนยี่ครองนครศรีสัชนาลัย จึงขึ้นไปเมืองบางยาง ได้รวบรวมพลร่วมกับพ่อขุนผาเมืองผู้เป็นสหาย โดยจัดทัพแยกกันเป็นสองทาง ขุนบางกลางหาวยกกำลังเข้ายึดศรีสัชนาลัยคืนได้แล้ว ก็นำกำลังมารวมกับกำลังของขุนผาเมืองที่เมืองบางขลัง แต่แต่งกลอุบายให้ขอมสบาดโขลนลำพงยกกำลังไปรบกับขุนบางกลางหาว แล้วขุนผาเมืองก็ยกกำลังเข้ายึดสุโขทัยได้ ขอมสบาดโขลนลำพงเสียรู้แตกกลับไป
    ขุนผาเมืองเชิญขุนบางกลางหาวเข้าเมืองสุโขทัย แล้วอภิเษกให้ครองเมืองสุโขทัย พร้อมทั้งให้นามเกียรติของตนที่ได้จากผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระว่า ศรีอินทรบดินทราทิตย์ ขุนบางกลางหาวจึงมีพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
    สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ฯ ได้เล่าเรื่องของท่านเองตั้งแต่เยาว์จนถึงหนุ่ม ได้ออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระยาคำแหงพระรามผู้เป็นบิดา ครั้งสุดท้ายรบชนะขุนจัง แล้วมองเห็นความทุกข์ความไม่เที่ยงในโลกีย์วิสัย จึงสละสมบัติออกบวชแล้วเดินธุดงค์ไปเที่ยวทุกแห่ง เข้าไปสู่อินเดียตอนใต้ แล้วไปถึงลังกาทวีป พบเห็นมหิยังคณะมหาเจดีย์ที่ประดิษฐานพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ปรักหักพังเกิดศรัทธา จึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อพระองค์ได้กระทำสักการบูชาพระมหาธาตุเจดีย์ ก็เกิดปาฏิหาริย์เป็นที่ประจักษ์แก่พระองค์และชาวสิงหล พระองค์จึงได้รับการยกย่องเทิดทูนจากชาวสิงหล สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีศรัทธา ฯ พระองค์ประทับอยู่ที่ลังกาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงเดินทางกลับสุโขทัย และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิมาด้วย เมื่อมาถึงสุโขทัยก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และกิ่งพระศรีมหาโพธิ ประดิษฐาน ณ นครสุโขทัย บางฉลัง ศรีสัชนาไลย เพื่อให้เป็นเมืองธรรมจึงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ สร้างพิหารเจ้าอาวาส สร้างพระพุทธรูปอันงามพิจิตร
    ท่านได้ไปเที่ยวโปรดสัตว์ ไปพบพระมหาธาตุเจดีย์ปรักหักพังอยู่กึ่งกลางนครพระกริส จึงอธิษฐานบารมีจนพบแหล่งปูน ท่านได้นำมาก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ จากเดิมที่สูง ๙๕ วาไม้ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วได้ความสูง ๑๐๒ วา พระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้ขอมเรียกว่า พระธม ส่วนปูนที่เหลือท่านได้นำไปซ่อมแซมพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก

    ศิลาจารึกนครชุม เรียกว่า จารึกหลักที่ ๓ ทำด้วยหินทรายแป้งเป็นรูปใบเสมา กว้าง ๔๗ เซนติเมตร สูง ๑๙๓ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตร จารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทยด้านที่หนึ่งมี ๗๘ บรรทัด ด้านที่สองมี ๕๘ บรรทัด สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๐ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพบที่วัดบรมธาตุนครชุม เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๔ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ
    สาระสำคัญของจารึกหลักนี้ บอกให้ทราบในเบื้องต้นว่า พระยาลือไทยโอรสพระยาเลอไทย พระนัดดาพระยารามราช เสวยราชที่เมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๐ เมื่อเสวยราชย์แล้ว ท้าวพระยาทั้งหลายแต่งกระยาดงวาย ของฝากหมากปลามาไหว้อันยัดยัญอภิเษก เป็นท้าวเป็นพระญา ชื่อ ศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช ทรงได้พระบรมสารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิ จากลังกาทวีปใน ปี พ.ศ.๑๙๐๐ จึงทรงนำไปประดิษฐานในเมืองนครชุม และทรงจารึกไว้ว่า "...ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุ และพระศรีมหาโพธินี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล..."
    พระมหาธรรมราชาลิไททรงเชื่อว่าพระพุทธศาสนา จะมีอายุดำรงอยู่ในโลกนี้ได้ห้าพันปี จึงทรงจารึกไว้ว่า "...ผิมีคนมาถามศาสนาพระเป็นเจ้ายังเท่าใดจักสิ้นอั้นให้แก่ว่าดังนี้ แต่ปีอันสถาปนาพระมหาธาตุนี้เมื่อหน้าได้สามพันเก้าสิบเก้าปีจึงจักสิ้นพระศาสนาพระเป็นเจ้า..." และยังได้ตรัสถึงสัทธรรมอันตรธานห้าประการ คือ ประมาณพระพุทธศาสนายุกาลได้ ๑๙๙๙ ปี พระไตรปิฎกจักหาย หาคนรู้แท้มิได้ มีคนรู้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น พระธรรมเทศนามหาชาติหาคนสวดมิได้ ชาดกมีต้นหาปลายมิได้ พระอภิธรรมนั้น พระปัฏฐานและพระยมกหายไปก่อน เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๒๙๙๙ ปี "...ฝูงภิกษุสงฆ์จำศีลคงสิกขาบทสี่อันยังมีสิกขาบทอันหนักหนาหามิได้เลย " เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๓๙๙๙ "...ฝูงชีจักทรงผ้าจีวรหามิได้เลย เท่ายังมีผ้าเหลืองน้อยหนึ่งเหน็บใบหู และรู้จักศาสนาพระเป็นเจ้าดายุ..." เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๔๙๙๙ ปี "...อันว่าจักรู้จักผ้าจีวรจักรู้จักสมณะน้อยหนึ่งหามิได้เลย..." เมื่อสิ้นอายุพระศาสนานั้นทรงพรรณาไว้ว่า
    "...เมื่อปีอันจักสิ้นศาสนา พระพุทธเป็นเจ้าที่สุดทั้งหลายอั้น ปีชวด เดือนหก บูรณมี วันเสาร์ วันไทยวันระรายสันวันไพสาขฤกษ์ เถิงเมื่อวันดังนั้น แต่พระธาตุทั้งหลายอันมีในแผ่นดินนี้ก็ดี ในเทพโลกก็ดี ในนาคโลกก็ดี เหาะไปในกลางหาว และไปประชุมกันในลังกาทวีป แล้วจักเหาะไปอยู่ในต้นพระศรีมหาโพธิ ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่สรรเพชญตญาณ เป็นพระพุทธแต่ก่อนอั้น จึงจักกาลไฟไหม้พระธาตุทั้งอั้นสิ้นแล เปลวไฟพลุ่งขึ้นคุงพรหมโลกศาสนาพระพุทธจักสิ้น ในวันดังกล่าวอั้นแล "

    Refer Link :
    http://www.sukhothai.go.th/hist/hist7.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...