พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 29 พฤศจิกายน 2005.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" border=0><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #ffff99 2px solid; BORDER-TOP: #ffff99 2px solid; BORDER-LEFT: #ffff99 2px solid; BORDER-BOTTOM: #ffff99 2px solid" vAlign=top width="100%" bgColor=#ff9900>
    พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="100%">
    [​IMG]
    พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี


    "พระมเหศวร" เป็นพระพิมพ์ประเภทเนื้อชินเงินมีทั้งที่เป็นเนื้อชินเงิน หรือเนื้อชินแข็ง หรือเนื้อชินกรอบ ซึ่งเป็นส่วนผสมเนื้อดีบุกมากกว่าเนื้อตะกั่ว เนื้อชินชนิดนี้จะมีลักษณะที่แข็ง นักนิยมสะสมพระเครื่องสมัยก่อนจึงเรียกชินที่ว่านี้ว่า เนื้อชินกรอบ เนื้อชินเงินชนิดนี้มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งคือ เมื่อมีอายุกาลที่เนิ่นนานเข้าจะเกิดปฏิกิริยากับอากาศ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เกิดสนิม จะมีลักษณะกัดกร่อนลงไปในเนื้อมากบ้างน้อยบ้าง เล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่ปัจจัยปรุงแต่ง เช่น ความชื้น ความเป็นกรดของดินหรือปูนในกรุในเจดีย์ที่เรียกว่า "สนิมขุม" นอกจากนั้นแล้วยังจะเกิดรอยระเบิดแตกปริตามผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การระเบิดแตกปรินี้จะแตกจากภายในปะทุออกมาข้างนอก จากปรากฏการณ์ดังที่กล่าวแล้วนั้นสามารถมองเห็นอย่างเด่นชัดและมองเห็นอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นหลักในการพิจารณาอีกอย่างหนึ่ง

    "พระมเหศวร" บางองค์มีส่วนผสมของเนื้อตะกั่วมากกว่าเนื้อดีบุก จึงเรียกว่า "ชินอ่อน" เนื้อไม่แข็งเหมือนกับชินเงิน กระทบของแข็งจะเกิดเป็นรอยบุ๋มลึกเพราะเนื้ออ่อน สามารถที่จะโค้งงอได้เล็กน้อย นักนิยมสะสมพระเครื่องมักจะเรียกชินชนิดนี้ว่า ชินอ่อน ข้อดีของชินชนิดนี้คือจะไม่เกิดสนิมขุมหรือรอยกัดกร่อนหรือระเบิดแตกปริเหมือนเนื้อชินเงิน แต่จะเกิดสนิมไขเป็นสีนวลขาว แต่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ สนิมไขของพระมเหศวรที่ว่านี้จะไม่เป็นเม็ดตึงเต่งอย่างกับสนิมไขในพระเนื้อชินอ่อน หรือชินตะกั่ว แต่สนิมจะเกิดเป็นแผ่นอย่างกับสนิมไขของเทียม ถ้าใช้ไม้ทิ่มแทงสนิมไขที่ว่านี้จะค่อยๆหลุดออก แต่ถ้าทิ้งเอาไว้หรือแขวนคอพอถูกไอเหงื่อก็จะเกิดขึ้นมาอีกภายใน 3-4 วัน คล้ายกับว่ามันหยั่งรากฝั่งลึกลงไปในเนื้อเสียแล้ว แต่ถ้าเป็นสนิมไขที่ทำเทียมเวลาล้างเอาสนิมไขออกจะหลุดออกหมด และไม่เกิดขึ้นมาใหม่เหมือนพระมเหศวรแท้เลย

    ผิวพระมเหศวรจะเป็นสองชั้น กล่าวคือถ้ายังไม่ได้ใช้ถูกสัมผัสผิวจะเนียนและมีสีออกไปทางดำเอามากๆ แต่ถ้าถูกใช้จนสึกจะเห็นเนื้อในขาวนวลสดใสอย่างกับสีเงินยวง เข้าใจว่าคงจะมีส่วนผสมของปรอทอยู่มากนั่นเอง แต่ถ้าตรงรอยสึกแลเห็นเนื้อในและที่ยังไม่สึกเป็นคราบผิวหนาคลุมอยู่

    พิมพ์ทรงของ "พระมเหศวร" มีมากมายหลายพิมพ์ แต่มีพิมพ์นิยมคือ พิมพ์มีขีดที่พื้นผนังด้านเหนือพระเศียร 2 ขีด และ 3 ขีด เรียกว่าพิมพ์ สิบโท สิบเอก พิมพ์หน้าใหญ่และพิมพ์ไม่มีขีดที่พื้นผนังด้านเหนือพระเศียรเรียกกันว่า พระมเหศวร พิมพ์ไม่มีบั้ง แต่ปัจจุบันนิยมเล่นหากันทุกพิมพ์ที่เป็นพระมเหศวรที่มีคราบไคลความเก่าปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์เล็กพิมพ์น้อย ก็ล้วนแต่มีราคาค่างวดไปทั้งหมดทั้งสิ้น

    "พระมเหศวร" จากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ด้วยกัน คือ
    1. พิมพ์หน้าใหญ่ (พิมพ์นิยม)
    2. พิมพ์หน้ากลาง
    3. พิมพ์หน้าเล็ก
    4. พิมพ์พิเศษ (มีน้อยมาก)

    นอกจากนี้ยังมีพิมพ์ศวรเดี่ยว ศวรตรง มีทั้งพิมพ์หน้าเดี่ยวและสองหน้า พิมพ์ด้านหน้าเป็นพระมเหศวรแต่อีกด้านหนึ่งเป็นพิมพ์ปรกและพิมพ์ซุ้มจิกก็มี "พระมเหศวร" เป็นพระเนื้อชินเงินแกตะกั่ว ไม่ปรากฏสนิมแดงและคราบไขเหมือนพระชินตะกั่วทั่วๆไป มีลักษณะอ่อนไม่เหมือนกับชินอื่นใด ในองค์ที่ไม่ได้ใช้เลยจะปรากฏผิวปรอทเกาะเป็นสีขาวซีดๆ แต่เพียงรางๆเท่านั้น เมื่อใช้ถูกเหงื่อไคลผิวปรอทจะจางหายไปกลับเป็นสีดำ และมีสนิมขุมสีดำที่เรียกว่าสนิมตีนกาจับเป็นแท่งๆ บางองค์อยู่ก้นกรุจะมีรอยระเบิดปะทุจากภายในออกมาภายนอก ขอได้โปรดสังเกตและพิจารณาให้ดีของเทียมนั้นจะระเบิดจากข้างนอกเข้าไปข้างในและพิมพ์ทรงจะตื้นและเล็กกว่า ผิวพรรณดูไม่สดใสชวนมอง

    จุดพิจารณาประการสำคัญ คือ "พระมเหศวร" จะพบเฉพาะกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรีเท่านั้น จะไม่พบในกรุอื่นหรือจังหวัดใดๆเลย


    จากหนังสือเบญจมหามงคล ของ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. somchay1

    somchay1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    230
    ค่าพลัง:
    +112
    พระมเหศวร เนื้อชินอ่อน

    พระมเหศวร เนื้อชินอ่อน ฐานกว้าง 23 สูงประมาน 35 ซ ม

    พิมพ์ได้ไหมครับ ใช้กรุวัดพระศรีมหธาตุสุพรรณบุรี ไหมครับ ขึ้นคอได้ไหมครับ ขอความรู้ด้วยครับ แท้ไหมครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2010
  3. bikarn

    bikarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ไม่ชอบครับ
     
  4. Red people

    Red people เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +153
    ขออนุญาตแนะนำเพื่อเป็นข้อมุลประกอบนะครับ สังเกตุ ของแท้ พิมพ์จะลึก ชัดเจน สมกับที่เป็นฝีมือช่างหลวง สนิมแดงลูกพลับออกจากเนื้อ ไม่ใช่สนิมที่บางคนเอาไปบ่มทราย สำหรับกรุวัดสว่างสนิมอาจจะดูชื้น ๆ ตามสภาพกรุที่ชื้นเปียกคิดว่าเป็นเศษอิฐมอญหรือเศษสนิมเหล็กจากภายนอกมาทับถม ส่วนสนิมแดงแท้ที่ผุดมาจากเนื้อพระเมื่อปนคราบไขนานหลายร้อยปีสีจะออกปนเหลืองดูออกสีทอง ๆ ส่วนไขก็จะเป็นไขแผ่น ไม่ใช่คราบไขไข่แมงดา เนื้อแก่ตะกั่วจะยังคงมีพิมพ์ที่ชัดเจน ผิวจะออกดำเนื่องจากปฏิกิริยาของแร่เงินที่ทำปฏิกริยากับอากาศ ที่ผิวกรอบแบบเอากรดกัดจนดูไม่ชัดเจนนั้นไม่ใช่ มันไม่ได้ระเบิดรุนแรงแบบนั้น พระมเหศวรกรุวัดพระศรีฯที่แท้จริงนั้นจะเป็นชินอ่อน ไม่มีชินเขียว พระพักตร์อูมใหญ่เคร่งขรึมดูขลังยิ่ง เพราะรับอิทธิพลศิลปละโว้ ผิวพระมเหศวรจะเป็นสองชั้น กล่าวคือถ้ายังไม่ได้ใช้ถูกสัมผัสผิวจะเนียนและมีสีออกไปทางดำเอามากๆ แต่ถ้าถูกใช้จนสึกจะเห็นเนื้อในขาวนวลสดใสอย่างกับสีเงินยวง ที่ควรสังเกตให้มาก ๆ คือเนื้อชินเงินเมื่อมีคราบปรอท ดูเผินๆ เหมือนพระใหม่แต่หากส่องดูจะพบว่าปรอทมีความแห้งไม่แวววาวเหมือนของใหม่ ขอให้ทุกท่านโชคดีนะครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...