ภาพจิตรกรรมสื่อผสม งานวิจัยสะท้อนวิถีชีวิตชาวพุทธในสังคมไทยร่วมสมัย

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 1 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,591
    วันจันทร์ ที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2562, 07.11 น.


    ภาพจิตรกรรมสื่อผสม งานวิจัยสะท้อนวิถีชีวิตชาวพุทธในสังคมไทยร่วมสมัย

    ภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวพุทธในสังคมไทยร่วมสมัย เป็นชื่อผลงานการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2560 ที่สร้างสรรค์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธง อุดมผล ในรูปแบบจิตรกรรมสื่อผสม จำนวนสี่ชิ้น ขนาด 200×300 เซนติเมตร และผลงานวาดเส้นบนกระดาษจำนวนสี่ชิ้นขนาด 60×80 เซนติเมตร โดยใช้ระยะเวลาสร้างสรรค์ผลงานนานกว่า 18 เดือน

    ผศ.ธง อุดมผล อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตรกรรม วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เล่าถึงที่มาของงานวิจัยนี้ว่า

    “ก่อนจะอธิบายถึงผลงานชุดนี้ จะขอย้อนกลับไปในอดีตของการเดินทางการทำงานศิลปะของผมตั้งแต่ช่วงเรียนจบปริญญาโทด้านจิตรกรรม เป็นช่วงที่ผมสนใจเรื่องราวของสภาพแวดล้อมรอบๆตัว จากสิ่งที่มีรายละเอียดถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ความหลงใหลในธรรมชาตินิยมแบบเสมือนจริง มุมมองที่แตกต่างที่คนทั่วไปมองเห็นในความงาม ตรงข้ามกับสิ่งที่ไม่น่าดู ความน่าเกลียด สกปรก เน่าเหม็น น่าขยะแขยง ความรู้สึกสะเทือนใจกับเรื่องราวของกองขยะที่ถูกทิ้ง คนทั่วไปพึงปรารถนาความงามความสุขใจเมื่อมองเห็นเป็นปรกติ แต่สิ่งที่ผมวาดเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความงาม เนื้อหาของกองขยะที่ทับถมเป็นซากส่งกลิ่นเหม็นอบอวนจนเป็นที่อาศัยของสัตว์กินซากเช่นหนู แมลงสาบ แมลงวัน สร้างความสะเทือนใจ เป็นความงามที่สะท้อนความรู้สึกและจิตสำนึก นั่นคือจุดเริ่มต้นการทำงานสร้างสรรค์มาสู่เรื่องราวของสุนัข หรือ หมา ตามข้างถนนที่ถูกทอดทิ้งเหมือนกองขยะ แต่หมาคือสิ่งมีชีวิต ที่สะดุดใจทำให้เกิดผลงานนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 1 ชุด “จิตรกรรมหมา หมา”

    0b8a3e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8aae0b8b7e0b988e0b8ade0b89ce0b8aae0b8a1-e0b887e0b8b2e0b899e0b8a7.jpg

    ส่วนครั้งที่ 2 ชุด “เสียงเห่าหอนสะท้อนสังคม” การตีความของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า”หมา” สร้างความบันดาลใจให้ผมได้ค้นคว้าทดลองรูปแบบการสร้างสรรค์ที่หลากหลายมากขึ้น ไม่เฉพาะจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบอย่างที่เคยใช้ เช่น การผสมเทคนิคสีน้ำมันกับอะคริลิค ,การใช้สีน้ำ ,การทำภาพพิมพ์ ,การทำประติมากรรม ,การทำเซรามิค และการใช้วัสดุเช่นกระดาษหนังสือพิมพ์เหลือใช้ จากแนวความคิดที่สะท้อนสังคมผ่านชีวิตของสุนัข ต่อเนื่องถึงความสนใจสู่วิถีชีวิตของคนในสังคม ที่สะท้อนพฤติกรรม ความแตกต่างหลากหลาย กาลเทศะที่ร่วมยุคสมัยเดียวกัน แนวความคิดและแรงบันดาลใจ จากความเชื่อความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนด้วยความดี ความงาม และความจริง ในบรรยากาศของประเพณีการเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนา การผสมผสานเทคนิคการวาดตามแนวทางจิตรกรรมเหมือนจริง ตามทัศนะในสิ่งที่เห็น สัมผัส รับรู้ด้วยตาเนื้อ และการปะติดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อให้เกิดการซ้อนทับรูปทรง สร้างมิติและเกิดการเคลื่อนไหว ความพล่าเลือนทางการมองเห็น อีกทั้งการมุ่งหมายให้รู้สึกถึงการลื่นไหลของวัฒนธรรม เทคโนโลยี วิถีชีวิตขอผู้คนในสังคมปัจจุบันที่สะท้อนกลับไปสู่ผู้ชม”

    นิทรรศการภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวพุทธในสังคมไทยร่วมสมัย จัดแสดงให้ผู้ที่สนใจทั่วไปเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 11 เมษายน 2562 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยเพาะช่าง อาคารพิพิธภัณฑ์เพาะช่างเฉลิมพระเกียรติ ห้องเฉลิม นาคีรักษ์



    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/146617
     

แชร์หน้านี้

Loading...