เรื่องเด่น มุขสะท้อนยุคสมัย ในจิตรกรรมฝาผนัง

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 26 มกราคม 2011.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    มุขสะท้อนยุคสมัย ในจิตรกรรมฝาผนัง

    วิภาวี จุฬามณี - เรียบเรียง



    [​IMG]

    จากวัดซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะ สถานที่พักของกองทัพไทย ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาวันนี้ "วัดสำปะซิว" ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โด่งดังอีกครั้ง เมื่อนักท่องเที่ยว รวมถึงสื่อทั้งไทยและต่างประเทศ แห่กันไปดูภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ

    ที่นอกจากจะแสดงภาพพุทธประวัติเหมือนวัดทั่วๆ ไปแล้ว ยังสอดแทรกตัวการ์ตูนญี่ปุ่นอย่าง โดเรมอน และโนบิตะ ลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น โดเรมอนตกกระทะทองแดง โนบิตะตกนรก โดเรมอนเฝ้าพระพุทธเจ้า ฯลฯ

    สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตโต) รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม ถึงกับบอกว่า เรื่องนี้ถือเป็นกุศโลบายของจิตรกร ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ช่างในอดีตก็เคยเขียนเอาไว้ แต่ไม่ได้โจ่งแจ้ง เช่น ภาพเขียนฝาผนังหลังพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร หรือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดตรีทศเทพวรวิหาร ฝีมือนายจักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ ก็ปรากฏภาพลักษณะนี้เช่นกัน

    สมเด็จพระวันรัตยังย้ำว่า อันที่จริงโดเรมอนก็ไม่มีอะไรเสียหาย เวลาพิจารณาต้องมองว่าจิตรกรต้องการสื่อสารอะไร ถ้าเป็นสิ่งที่สอนคนไม่ให้ประพฤติผิด ก็ถือเป็นสิ่งที่ดี กรณีนี้ถือเป็นกุศโลบายของช่างในยุคสมัยนี้เท่านั้นเอง

    หลังเป็นข่าวฮือฮา นายรักเกียรติ เลิศจิตสกุล จิตรกรผู้วาดภาพดังกล่าว เปิดใจว่า ตั้งใจสอดแทรกเรื่องราวให้เข้ากับยุคสมัย โดยเชื่อว่า โดเรมอนในภาพจิตรกรรมฝาผนังจะเป็นแรงดึงดูดใจให้เด็กรุ่นใหม่ๆ สนใจศาสนามากขึ้น ถ้าผู้ปกครองพาบุตรหลานมาดูโดยไม่ต้องบอกว่า โดเรมอนอยู่จุดไหน แต่ปล่อยให้เด็กดูตั้งแต่เริ่มต้น เด็กก็จะเรียนรู้ว่า การทำดีทำให้ได้ขึ้นสวรรค์ การทำชั่วทำให้ตกนรกกระทะทองแดง เหมือนโดเรมอนกับโนบิตะในภาพ

    จิตรกรคนเดียวกันนี้ยังเคยวาดภาพโดเรมอนแทรกไว้ในภาพฝาผนังที่วัดอื่นๆ ด้วย เช่น ภาพโดเรมอนมีผ้าขาวโพกพันศีรษะ เห็นเพียงตาสีดำ จมูกแดง โผล่ออกมาจากพุ่มไม้ มือขวากำดาบชูขึ้นไปทางยักษ์มาร

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.โดเรมอนร้องไห้
    2.ผู้คนแหงนดูจิตรกรรมฝาผนัง วัดสำปะซิว จ.สุพรรณบุรี
    3.ลิงชักเย่อ วัดพระแก้ว
    4.ภาพพระเอกแมทริกซ์และยานอวกาศ ที่วัดร่องขุ่น
    5.ภาพการเล่นเพื่อน วัดคงคาราม จ.ราชบุรี
    6.วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
    7.วัดภูมินทร์ จ.น่าน
    8.วัดท่าสุทธาวาส จ.อ่างทอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    และโดเรมอนขี่ม้าก้านกล้วย ที่วัดแถวธาร อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

    ตั้งแต่ลงมือวาดภาพฝาผนังวัดสำปะซิว เมื่อปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ยังได้สอดแทรกสถานการณ์บ้านเมืองในบางช่วงเวลาไว้ด้วย เช่น ภาพเทวดาสองเศียร แดง-เหลือง ด้านบนเป็นรูปธงชาติไทย ที่ต้องการสื่อให้คนไทยหันหน้ามารักกัน

    นอกจากจิตรกรผู้นี้แล้ว ศิลปินอีกหลายท่านก็มีการสอดแทรกตัวละครที่ไม่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติเอาไว้ในภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วย อาทิ นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินสาขาจิตรกรรม ผู้ออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและภาพเขียนฝาผนังโบสถ์วัดร่องขุ่น ก็วาดภาพตัวการ์ตูนอย่าง สตาร์วอร์ส ไอ้แมงมุม ซูเปอร์แมน อุลตร้าแมน โดเรมอน รวมถึงผู้ก่อการร้ายอย่างบินลาเดน เข้าไปในภาพเขียนฝาผนังโบสถ์วัดร่องขุ่นด้วย

    "ผมมองว่าการนำการ์ตูนหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคนั้นเข้ามาวาดประกอบเป็นความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งตรงนี้อาจมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เมื่อเวลาผ่านไปเป็นร้อยปี ในแง่ที่ว่าภาพเขียนชิ้นนี้จะทำให้คนรุ่นต่อไปทราบว่า คนในยุคนี้มีมุมมองทางสังคมอย่างไรก็ได้" ผู้ออกแบบวัดร่องขุ่นให้ความเห็น

    หากค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังตามวัดวาต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะพบว่า มีการแทรกภาพบุคคล หรือเรื่องราวของสามัญชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติมาตั้งแต่สมัยอดีต เรียกภาพเหล่านี้ว่า "ภาพกาก" ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามไว้ว่า คือภาพเขียนที่เป็นตัวประกอบในเรื่อง

    "ภาพกาก" มักเป็นบุคคลสามัญ ชาวบ้านธรรมดาๆ กำลังแสดงท่าทางอากัปกิริยา หรือทำกิจกรรมบางอย่าง

    รวมไปถึงภาพบุคคลที่เป็นพวกหยาบช้า ดุดัน กักขฬะ ใบหน้าขี้เหร่ น่ากลัว หรือภาพบุคคลที่แสดงอาการน่าขันอย่างใดอย่างหนึ่ง มีท่วงท่าไม่สู้เรียบร้อยนัก มักมีลักษณะห่างไกลจากภาพแบบประเพณีนิยม หรืออุดมคติ
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
    2.มดผูกคอตาย วัดอัมพวันฯ จ.สมุทรสงคราม
    3.ภาพกระต่ายกับเต่า


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มีชื่อเสียงเช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนัง "วัดทุ่งศรีเมือง" จ.อุบลราช ธานี ซึ่งนอกจากเล่าเรื่องพุทธประวัติ และเวชสันดรชาดกแล้ว ยังถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนบททางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่งดงามตามศิลปะไทยอีสาน รวมทั้งแฝงอารมณ์ขันในภาพวาดจิตรกรรมด้วย

    ทั้งภาพหญิงชาวบ้านสวมผ้าถุง กำลังนั่งเก็บฟืนอย่างไม่ระวัง เผยให้เห็นอวัยวะเพศ โดยมีสุนัขนั่งมอง เหนือขึ้นไปเป็นภาพชาย-หญิงกำลังเกี้ยวพาราสีในเรือนพัก โดยห้องข้างๆ มีหญิงอีกคนกำลังให้นมลูก

    ที่ "วัดโพธิ์ชัย" หรือ "วัดหลวงพ่อพระใส" ก็มีภาพจิตรกรรมสมัยใหม่ แสดงประเพณีวิถีชีวิตของชาวอีสาน เช่น ภาพการฉายหนังกลางแปลง มีจอฉายหนัง ลำโพงขนาดใหญ่ มี ผู้ชมนั่งดูอยู่หน้าจอ ภาพการเล่นน้ำสง กรานต์ ภาพการแห่พระขึ้นหลังรถกระบะเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำ เป็นต้น

    ส่วนที่ จ.น่าน ก็มีจิตรกรรมฝาผนัง "วัดภูมินทร์" ที่เขียนขึ้นช่วงปลายรัชกาลที่ 4 เนื้อหาภาพส่วนใหญ่เล่าชาดกเรื่อง "คันธกุมาร" ที่มุ่งสอนให้คนทำความดี แต่ช่างได้สอดแทรกภาพวิถีชีวิตของชาวน่านในอดีต โดยเฉพาะวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีที่มักนิยมนุ่งซิ่นลายน้ำไหล การทอผ้าด้วยกี่ทอมือ ซึ่งในภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเป็นตอนที่แม่ของคันธกุมารช่วยสอนการทอหูกให้แก่ชาวบ้านเมืองศรีสะเกษ

    "วัดคงคาราม" จ.ราชบุรี มีจิตรกรรมฝาผนังแสดง "การเล่นเพื่อน" ของสาวชาววัง โดยเป็นภาพสาววังนางหนึ่งใช้มือลูบถันของอีกคน และจบลงด้วยภาพที่ทั้งคู่ถูกลงโทษจับใส่กระเช้าห้อยแขวนขังเอาไว้

    ขณะที่ "วัดอัมพวันเจติยาราม" จ.สมุทรสงคราม มีจิตรกรรมฝาผนังรูปมดแดงคิดสั้น ผูกคอตายกับต้นมะม่วงและบนยอดหญ้า กลายเป็นจุดขายที่ใครไปเยือนต้องถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก

    วัดท่าสุทธาวาส ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง จิตรกรแทรกอารมณ์ขัน ตรงมารสวมหมวก มีภาษาอังกฤษ IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศที่เลื่องลือในยุควิกฤตเศรษฐกิจปี 2540

    ส่วนภาพที่ตลกปนทะลึ่ง เป็นภาพกระต่ายเพศผู้สีขาวเข้มใช้ลำตัวคร่อมอยู่บนหลังกระต่ายเพศเมียสีขาวอ่อน มีเด็กชายผมจุก 2 คนจ้องมองดู

    สําหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระระเบียง "วัดพระแก้ว" ซึ่งถือเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยาวที่สุดในโลก แสดงเรื่องราวของมหากาพย์รามเกียรติ์ ก็ยังปรากฏภาพที่มีลักษณะชวนขันด้วย

    อาทิ ห้องที่ 114 ตอนที่ราชาภิเษกพิเภกครองกรุงลงกา มีพระราม นางสีดา และพระลักษมณ์ ประทับแรมในสวนขวัญ ถ้าสังเกตตอนล่างของภาพจะเห็นบรรดาลิงกำลังเล่นชักเย่ออยู่กับคน ทั้งคนทั้งลิงต่างออกแรงดึงเชือกกันสุดแรงเกิด และมีกรรมการกำลังคอยลุ้นว่าฝ่ายใดจะชนะ

    หรือห้องที่ 122 ตอนพระรามสร้างเมืองให้หนุมาน ด้านล่างของภาพก็มีลิงที่เป็นพ่อค้าแม่ขายกำลังอ้าปากตกใจ และพากันวิ่งหนีเทศกิจลิงที่กำลังมาไล่ที่ ใกล้ๆ กันมีลิงแก่ตัวเมียนั่งอยู่บนรถเจ๊ก ชี้ไม้ชี้มือให้สารถีลากรถไปส่งในกำแพงเมือง

    นอกจากนี้ยังมีภาพกระต่ายนอนหลับหยุดพัก ขณะที่เต่ายืนถือธง ยิ้มร่าแสดงความเป็นผู้ชนะ เลียนแบบนิทานเรื่องดังอย่าง "กระต่ายกับเต่า" ก็เรียกรอยยิ้มจากผู้ชมได้เป็นอย่างดี

    ภาพแปลกชวนขันเหล่านี้ แม้จะไม่สื่อความหมายทางพุทธประวัติ แต่ก็ทำให้ผู้ชมทราบถึงพฤติกรรม และความเป็นไปในวิถีชีวิตของกลุ่มชนต่างๆ ในช่วงเวลาที่จิตรกรรังสรรค์ภาพนั้นๆ ขึ้นมา

    ทั้งพฤติกรรมระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับบทบาทในสังคมทางโลกและทางธรรม

    ทั้งยังเป็นเสมือนสมุดภาพ ที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ประเพณี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    เป็นสมุดภาพที่เล่าเรื่องได้อย่างมีชีวิตชีวา และทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์


    -----------------
    ข่าวสดออนไลน์
    �آ�з�͹�ؤ���� 㹨Եá����Ҽ�ѧ : ����ʴ�͹�Ź�==
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    ขอขอบพระคุณครับ ที่นำข่าวดีๆมาฝาก ผมว่ามันก็ดีนะครับสำหรับการสอดแทรกเรื่องราวต่างๆในปัจจุบันลงไปในภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วย มันก็ไม่ได้เสียหายอะไร
     
  3. EakChutidet

    EakChutidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +856
    [FONT=&quot]ขออนุโมทนา ขอความเจริญในธรรมจงบังเกิดแก่ทุกท่านทุกรูปทุกนาม หากการกระทำใดๆ[/FONT][FONT=&quot]
    ของข้าพเจ้าล่วงเกินท่านทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นวจีกรรม,มโนกรรม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมมา ณ ที่นี้[/FONT]
    ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน แสดงธรรม-ปฏิบัติธรรม ครั้งที่ ๓
    "โครงการธรรมะเปลี่ยนชีวิต"
    เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ชมรมพุทธวิถี ชมรมพุทธศิลป์ และชมรมสารธรรมล้านนา
    ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    วันอาทิตย์ ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.


    *ขอความกรุณา ส่งต่อให้ได้มากที่สุด ถือว่าเป็นการทำธรรมทาน ซึ่งเป็นการสร้างบารมี ขั้นสูง*
    *การฟังธรรมเป็นการสร้างบารมีอย่างหนึ่ง*
    *ขออนุโมทนา กับท่านที่เปิดอ่าน ท่านสามารถไปร่วมและท่านที่ส่งเมล์ต่อ สาธุๆๆ*
    *ขอภัยหากเมล์ฉบับนี้รบกวน*
    สนใจดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    saratamlanna.com
    ฟังสปอร์ตโฆษณาตรงลิงค์ด้านล่างค่ะ
    Download Track 1 - MP3 Ringtone Track 1 by - Free Music Hosting
    <table width="73%" align="center" border="0" height="201"> <tbody> <tr valign="center" align="middle"> <td colspan="2">
    องค์บรรยาย​
    </td></tr> <tr valign="center" align="middle"> <td width="51%">
    ๑.หลวงปู่ภูพาน
    </td> <td width="49%">
    "รู้เช่นเห็นชาติ...รู้แจ้งเห็นจริง"
    </td></tr> <tr valign="center" align="middle"> <td>
    ๒.พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
    </td> <td>
    "วิถีพุทธในยุคบริโภคนิยม"
    </td></tr> <tr valign="center" align="middle"> <td>
    ๓.พระอาจารย์ ว.วชิระเมธี
    </td> <td>
    "เมื่อเราเป็นของ...ของมัน"
    </td></tr> <tr valign="center" align="middle"> <td>
    ๔.อาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร
    </td> <td>
    "มหัศจรรย์ในพุทธศาสนา"
    </td></tr></tbody> </table>
    มีหนังสือธรรมะ ซีดีธรรมะ อาหาร และเครื่องดื่ม บริการฟรี​
    สอบถามรายละเอียดการจัดงานและร่วมสนับสนุนโครงการฯ โดยร่วมเป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์หนังสือ และซีดีธรรมะ
    หรือเป็นเจ้าภาพโรงทาน อาหาร และเครื่องดื่ม​
    <table width="79%" border="1"> <tbody> <tr> <td colspan="3">
    รายชื่อและผู้ประสานงานโครงการฝ่ายต่างๆ​
    </td></tr> <tr> <td colspan="3">
    ฝ่ายจัดหาทุน​
    </td></tr> <tr> <td width="31%">
    แพทย์หญิงดุลยา ไชยเศรษฐ​
    ๐๘๑-๗๑๖๓๙๖๐​
    </td> <td width="34%">
    คุณศิริกันยา หาญผจญศึก ​
    ๐๘๑-๘๘๑๓๗๘๓​
    </td> <td width="35%">
    คุณพัฒนุช ชนะนนท์ ​
    ๐๘๑-๘๘๒๙๘๓๙​
    </td></tr> <tr> <td>
    คุณอรษา ตันติพงศ์ ​
    ๐๘๙-๔๓๓๗๘๐๑​
    </td> <td>
    คุณสุภาภรณ์ พงศธรบริรักษ์ ​
    ๐๘๑-๕๙๕๐๗๑๓​
    </td> <td>
    คุณน้ำเชื่อม ยิ้มฤทธิ์ ​
    ๐๘๑-๒๘๘๑๒๓๕​
    </td></tr> <tr> <td>
    คุณวงษ์วดี นิสูง ​
    ๐๘๖-๕๘๗๔๙๘๑​
    </td> <td>
    คุณอรษา ตันติพงศ์ ​
    ๐๘๙-๔๓๓๗๘๐๑​
    </td> <td>
    คุณอมรรัตน์ โลหะวานิชบุตร ​
    ๐๘๑-๕๓๐๖๕๒๕​
    </td></tr> <tr> <td>
    คุณศุภศิริ อริยวุฒยากร ​
    ๐๘๑-๘๘๓๘๗๘๓​
    </td> <td>
    คุณศศิธร โอฬารรัตนชัย ​
    ๐๘๖-๖๗๒๓๑๙๒​
    </td> <td>
    คุณพิกุล นาแล ​
    ๐๘๑-๘๘๓๘๗๘๓​
    </td></tr> <tr> <td colspan="3">
    ฝ่ายโรงทาน,อาหารถวายพระและงานทั่วไป​
    </td></tr> <tr bgcolor="#ffccff"> <td>
    วัดปันเส่า​
    ๐๕๓-๒๘๙๑๕๕​
    </td> <td>
    คุณวัชรา โคจรวิสาร ​
    ๐๘๙-๖๓๕๔๙๖๙​
    </td> <td>
    โชตนาคลินิก​
    ๐๕๓-๒๑๕๕๖๑​
    </td></tr></tbody></table>​
    หรือ โอนเงินเข้าบัญชี ชมรมสารธรรมล้านนา​
    ธนาคาร กสิกรไทยจำกัด สาขาช้างเผือก บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๒๗๙-๒-๐๕๗๐๐-๙​
    ... ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านและครอบครัว ... ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • t1.jpg
      t1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      192.1 KB
      เปิดดู:
      147
    • t.jpg
      t.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.3 MB
      เปิดดู:
      216
    • 01. Track 1.mp3
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      106

แชร์หน้านี้

Loading...