เรื่องเด่น ย้อนฟังพระโอวาท ‘สมเด็จพระสังฆราช’ ขันติ เมตตา นำมาซึ่งข้อยุติแห่งปัญหา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 18 ตุลาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    212 copy-1.jpg

    กระแสแห่งเมตตาธรรมเข้าเอิบอาบซาบซึมอยู่ในหัวใจแล้ว ความคิดที่จะทะเลาะกันก็ย่อมหายไปเอง ต่อให้มีความคิดเห็นที่แตกต่าง ก็จะกลายเป็นความแตกต่างเพื่อสร้างสรรค์ แต่ละฝ่ายย่อมจะหันมาประนีประนอมกัน รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน นำมาซึ่งข้อยุติแห่งปัญหา


    ท่ามกลางกระแสความอ่อนไหวความแตกต่างทางความคิดทางการเมืองของสังคม
    กรุงเทพธุรกิจ น้อมนำพระราชโอวาท เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในเสด็จไปบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ทรงเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัท วันที่ 10 ตุลาคม 2561

    750x422_903230_1603009279.jpg


    160300899282.jpg

    โอกาสนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาท ความตอนหนึ่งว่า

    “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนพุทธบริษัทไว้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงเห็นความวิวาทเป็นภัย และความไม่วิวาทเป็นความปลอดภัย แล้วเป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด’

    ธรรมดาของการอยู่ร่วมกัน หรือทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ บุคคลย่อมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ตามพื้นฐานจิตใจ แนวคิด ทฤษฎี และประสบการณ์ที่ขัดเกลาบุคคลแต่ละคนมาแตกต่างกัน ผู้ไม่มีคุณธรรมหนักแน่นมั่นคงในใจเพียงพอ ย่อมเห็นว่าความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตนนั้นเป็นความผิด เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ จนอาจนำไปสู่ความวิวาทร้าวฉานกันในหมู่คณะได้

    วิธีที่จะระงับมิให้ความบาดหมางลุกลามใหญ่โต จนกลายเป็นการแตกความสามัคคี ในเบื้องต้น ขอให้ทุกคนพึงอบรมสั่งสมให้มี ‘ขันติ’ คือความอดทนต่อสิ่งที่ไม่สบอารมณ์ ไม่เป็นที่พึงพอใจของตนก่อน จากนั้น จงระลึกถึงคุณธรรมข้อ ‘เมตตา’ โดยให้พิจารณาว่าเราทั้งหลายก็ล้วนเป็นเพื่อนร่วมหน่วยงานเดียวกัน หรือถ้าจะว่าในทางธรรมะ ก็คือเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

    ครั้นกระแสแห่งเมตตาธรรมเข้าเอิบอาบซาบซึมอยู่ในหัวใจแล้ว ความคิดที่จะทะเลาะกันก็ย่อมหายไปเอง ต่อให้มีความคิดเห็นที่แตกต่าง ก็จะกลายเป็นความแตกต่างเพื่อสร้างสรรค์ แต่ละฝ่ายย่อมจะหันมาประนีประนอมกัน รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน นำมาซึ่งข้อยุติแห่งปัญหา ก่อให้เกิดแนวทางสร้างสรรค์ สามารถจรรโลงหมู่คณะและสังคมส่วนรวมให้ก้าวหน้าไปได้โดยสวัสดี ด้วยอานุภาพของคุณธรรมความสามัคคี

    เพราะฉะนั้น จึงขอให้ทุกท่าน จงเห็นว่าความคิดที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องธรรมดาของการทำงาน ถ้าหากว่าทุกท่านหวังดีต่อองค์กรแล้ว ความแตกต่างทางความคิดย่อมไม่ใช่ภัยอันตราย เพียงแต่ต้องปรับความเข้าใจกัน ด้วยความอดทน และด้วยความเมตตา

    อย่างไรก็ตาม ขอให้ระมัดระวังการวิวาทบาดหมาง จนถึงขั้นผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย นั่นจัดเป็นภัยใหญ่หลวง ที่จะทำลายทั้งตนเองและส่วนรวมให้ย่อยยับไปได้ในที่สุด

    ถ้าท่านทั้งหลายมีสติระลึกรู้อยู่ในความสามัคคีเสมอ อาตมภาพก็ขอรับประกัน ด้วยธรรมะของพระพุทธองค์ว่า ภัยร้ายหรือความเสื่อมจะไม่มีวันบังเกิดขึ้นกับหมู่คณะ ท่านจะประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป”



    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903230
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 ตุลาคม 2020

แชร์หน้านี้

Loading...