ศาสนกิจ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 7 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ศาสนกิจ<O:p</O:p

    ผู้เขียน สมบูรณ์ จอจันทร์
    บทความ ชาวพุทธควรรู้
    นิตยสารโลกลี้ลับ
    <O:p</O:p
    พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งนิยมใช้กันปฏิบัติกันในปัจจุบันนี้ ส่วนมากเจือด้วยลัทธิพราหมณ์ คือ พุทธ กับ พราหมณ์ ปะปนคละกันไป จะแยกออกจาก<O:p</O:p
    กันได้ยาก เนื่องจากพุทธศาสนิกชนนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายร้อยปีแล้ว ถึงแม้จะมีลัทธิพราหมณ์แทรกอยู่ก็ตาม เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือวัฒนธรรมศีลธรรมแล้ว ก็เป็นอันใช้ได้ตลอดมา<O:p</O:p

    ศาสนกิจของชาวพุทธ หมายถึง การปฏิบัติตนเกี่ยวกับระเบียบประเพณีทางพุทธศาสนา ที่นิยมปฏิบัติกันเป็นประจำ <O:p</O:p
    ระเบียบประเพณีนี้ เราเป็นชาวพุทธควรจะรู้และจดจำไว้ปฏิบัติสืบต่อไป เมื่อได้ไปพบงานศาสนกิจที่จำเป็น จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบประเพณีของชาวพุทธ เพื่อยึดเป็นหลักปฏิบัติต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การนิมนต์พระ<O:p</O:p

    ผู้ประสงค์จะทำบุญควรนิมนต์พระไว้ก่อนวันงาน ยิ่งเนิ่นๆ ได้เป็นดี เผื่อพระจะไม่ว่าง ถ้านิมนต์เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยจะดีมาก<O:p></O:p>
    งานพิธีเกี่ยวกับฤกษ์ ต้องบอกเวลาฤกษ์ให้พระท่านทราบ จะได้ไม่ขลุกขลักเรื่องเวลา ซึ่งทำให้เสียฤกษ์ได้ อาจทำให้เจ้าภาพเองต้องเสียใจหรือกังวลใจภายหลังอย่างใดอย่างหนึ่งได้<O:p</O:p
    การนิมนต์พระ ห้ามระบุชื่อภัตตาหารที่จะถวายพระเป็นอันขาด เพราะผิดวินัย<O:p</O:p
    ทานที่จะให้มี ๒ อย่าง<O:p</O:p

    . บุคลิกทาน ให้เจาะจงผู้รับ<O:p</O:p
    . สังฆทาน ให้โดยไม่เจาะจงผู้รับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การจัดอาสนะ<O:p</O:p

    อาสนะสำหรับพระที่นั่งนั้น จะใช้เสื่อ พรม หรือผ้าขาวอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่จะสะดวก แต่ต้องจัดให้สูงกว่าฆารวาส ที่พระสงฆ์นั่งต้องอยู่ด้านซ้ายของพระพุทธรูปเสมอไป<O:p</O:p
    นอกจากอาสนะแล้ว ยังมีพานหมาก พลู บุหรี่ ขันน้ำ กระโถน (ปัจจุบันไม่นิยมหมาก พลู บุหรี่)<O:p</O:p
    ที่เห็นมาส่วนมากแล้วจะเป็นลูกอมต่างๆ ถวายแทนหมาก พลู บุหรี่ ของเหล่านี้ ควรตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์ ส่วนกระโถนพระท่านจะยกไว้ข้างหลังเอง ไม่ต้องประเคน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การจัดโต๊ะบูชา<O:p</O:p

    โต๊ะบูชานั้น ใช้โต๊ะหมู่ ๕ หมู่ ๗ หรือหมู่ ๙ ถ้าไม่มีโต๊ะหมู่จะใช้โต๊ะอย่างอื่นที่เหมาะสมแทนก็ได้ <O:p</O:p
    เมื่อไม่สามารถจะหาโต๊ะหมู่และเครื่องตั้งบูชาได้ครบ ก็พึงจัดหาเท่าที่หาได้ คือ พระพุทธรูป ๑ องค์ ตั้งไว้ที่โต๊ะตัวสูง ผินหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ ถ้าสถานที่ไม่อำนวย ก็ให้ตั้งผินหน้าไปทางที่เหมาะสม <O:p</O:p
    การที่นิยมตั้งพระพุทธรูปผินหน้าไปทางทิศตะวันออกนั้น นิยมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะพระองค์ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก รวมไปถึงตั้งหิ้งพระบูชาที่บ้าน หรือตามสถานที่ราชการทั่วไป ก็นิยมปฏิบัติตามในทิศดังกล่าวนี้ ถือกันว่าผินหน้าไปทางทิศอื่นหรือทิศตรงกันข้าม จะไม่เป็นมงคลทำนองนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ด้ายสายสิญจน์<O:p</O:p

    ด้ายสายสิญจน์ไม่ควรใช้ด้ายหลอด ควรใช้ด้ายดิบจับเก้าเส้น จึงจะน่าดูและถูกต้อง และด้ายสายสิญจน์ควรใช้เฉพาะงานมงคล<O:p</O:p
    บ้านที่ทำงานมงคล จะต้องโยงด้ายสายสิญจน์ไว้บริเวณรอบบ้าน ควรจัดหาด้ายสายสิญจน์ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง อย่ายืมของผู้อื่น การยืมของผู้อื่นมาโยงไว้รอบบ้านตน พองานเสร็จไม่รื้อออกส่งเขาน่ากระไรอยู่<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วิธีโยงด้ายสายสิญจน์<O:p</O:p

    ให้ตั้งต้นที่พระพุทธรูป เวียนมาทางขวามือ (แบบเลข ๑ ไทย) โยงออกไปรอบบ้านหรือรั้วบ้านแล้ววนกลับเข้ามาตรงเสาเรือนเข้าสู่ที่บูชา แล้ววงรอบฐานพระพุทธรูป โยงรอบบาตรหรือขันน้ำมนต์กลุ่มด้ายสายสิญจน์ที่เหลือวางไว้บนพาน ตั้งไว้ในที่อันควร<O:p</O:p
    เวลาวางด้ายสายสิญจน์ พึงพยายามสำรวมจิตรำลึกถึง คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ ขออำนาจช่วยปกปักรักษาปัดเป่าสรรพภยันตราย และให้เกิดความสุข ความเจริญด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ตลอดกาล<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อย่าข้ามด้ายสายสิญจน์<O:p</O:p

    สายสิญจน์ที่โยงมาจากพระพุทธรูปแล้วถือว่าเป็นของสูง ไม่ควรเดินข้ามหรือยกสิ่งหนึ่งสิ่งใดข้าม ถ้าข้ามถือว่าเป็นการดูถูกพระพุทธเจ้า คือ เท่ากับเดินข้ามหรือยกข้ามพระเศียรของพระองค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    บาตรน้ำมนต์<O:p</O:p

    บาตรน้ำมนต์ใช้บาตรดินหรือขันสัมฤทธิ์ ถ้าไม่มีจะใช้ขันทองเหลืองก็ได้แล้วแต่จะหาได้ใส่น้ำพอควร และของใส่บาตรน้ำมนต์ตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าในพิธี แต่อย่าให้ห่างนัก เพราะพระจะจับเทียนไม่ถึงเวลาทำน้ำมนต์ และขันน้ำมนต์ต้อง ประเคนพระด้วย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เทียนสำหรับทำน้ำมนต์<O:p</O:p

    เทียนที่จะทำน้ำมนต์ ควรใช้เทียนขี้ผึ้งแท้อย่างดี หนัก ๑ บาท ติดไว้ที่ปากบาตรหรือที่ปากขันที่จะทำน้ำมนต์ เพื่อสะดวกแก่พระท่านเวลาจะจับทำน้ำมนต์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ของใส่บาตรน้ำมนต์<O:p</O:p

    สิ่งของที่นำมาใส่บาตรน้ำมนต์ คือ ๑. ผิวมะกรูด ๒. ฝักส้มป่อย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ของที่ใช้มัดประพรมน้ำมนต์<O:p</O:p

    . ใบมะตูม. ใบสันพร้าหอม<O:p</O:p
    . ใบเงิน. ใบทอง<O:p</O:p
    . ใบนาก. หญ้าแพรก<O:p</O:p
    . แฝก. หญ้าคา<O:p</O:p
    ใน ๘ อย่างนี้ ถ้าหาได้ครบเป็นการดียิ่ง ถ้าหาไม่ได้หรือไม่ครบก็ใช้เท่าที่หาได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การจุดธูปเทียนที่บูชา<O:p</O:p

    คนจุดธูปเทียนกับคนอาราธนาศีลต้องเป็นคนละคนกัน ไม่ใช่คนคนเดียวกันกับที่จุดธูปเทียนแล้วมาอาราธนาศีล พึงปฏิบัติดังนี้<O:p</O:p
    ผู้ถือเทียนชนวนให้เชิญผู้เป็นประธานในพิธีมาจุดธูปเทียน เมื่อถึงที่บูชาแล้ว ผู้ถือเทียนชนวนพึงยืนหรือนั่งอยู่ทางด้านขวามือของผู้จุด หรือแล้วแต่สถานที่
    <O:p</O:p
    การส่งเทียนชนวน<O:p</O:p

    เมื่อส่งเทียนชนวนแล้วต้องรอรับเทียนก่อน อย่าเพิ่งกลับ ในเมื่อจุดธูปเทียนยังไม่เสร็จ และเวลากลับอย่าเดินผ่านหน้าผู้จุดธูปเทียน เว้นแต่สถานที่จำกัด เดินทางอื่นไม่ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้จุดเทียน<O:p</O:p

    ผู้จุดเทียนเมื่อจุดเสร็จแล้วพึงกราบพระ ๓ ครั้ง ตรงที่จัดไว้สำหรับกราบ และควรกราบด้วยแบบเบญจางคประดิษฐ์ ทั้ง ๕ คือ ๑. เข่าทั้งสองจรดพื้นดิน ๒. ฝ่ามือทั้งสองราบอยู่ที่พื้น ๓. หน้าผากจรดพื้นเวลากราบลง รวมเป็น ๕ ( เข่า ๒ ฝ่ามือ ๒ หน้าผาก ๑) และ เวลากราบระวังอย่าให้ส่วนตะโพกสูงโด่งขึ้น ดูน่าเกลียดและไม่ทอดตัวลงไปเหมือนจะนอน กราบให้เป็นจังหวะพอดูงาม อย่าให้ช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อกราบเสร็จแล้วพึงกลับมานั่งที่เดิม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อาราธนาศีล<O:p</O:p

    เมื่อจุดธูปเทียนและมานั่งที่เดิมแล้ว ผู้มีหน้าที่อาราธนาศีลเริ่มอาราธนาทันที เมื่อพระให้ศีลจบ ก็ให้อาราธนาพระปริตรต่อไป

    จุดเทียนบาตรน้ำมนต์<O:p</O:p
    ตอนพระกำลังสวดมนต์ ให้ผู้ที่เป็นประธานนั่งอยู่ใกล้ๆ บาตรน้ำมนต์ พอพระสวดถึงบท
     
  2. วสวัต

    วสวัต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    238
    ค่าพลัง:
    +2,079
    อนุโมทนานะครับ ที่บริษัทกำลังจะทำบุญปีใหม่อยู่เลยครับ
    คราวนี้คงทำได้ถูกนะครับ
     
  3. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    23,006
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,021

    ฟัง clip ข้างบนนี้ก็ได้เช่นกันครับ อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...