เรื่องเด่น สงครามโรค! สวด “รตนสูตร” ไล่โควิด-19?

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 มีนาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    b8a3e0b8b2e0b8a1e0b982e0b8a3e0b884-e0b8aae0b8a7e0b894-e0b8a3e0b895e0b899e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3.jpg

    คนข้างวัด / อุทัย บุญเย็น

    ในห้วง 2-3 สัปดาห์แล้ว ที่โลกผจญภัย “สงครามโรค” อย่างหนัก คือ การเผชิญกับโรคระบาดไวรัสที่เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น (มณฑลหูเป่ย) ประเทศจีน หรือโรค coronavirus ซึ่งต่อมาเรียกว่า “โควิด-19” นั่นแหละ

    โรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดหนักอยู่ขณะนี้ เห็นจะเทียบได้กับ “สงครามโลก” ทีเดียว เพราะก่อผลกระทบเสียหายถึงทรัพย์สินและชีวิตมนุษย์ไปมากมายไปทั้งโลก

    มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า 100 ปี มีโรคระบาดใหญ่เกิดขึ้นในโลกครั้งหนึ่ง เขาว่า การเกิดโรคระบาดเป็นการทำความสะอาด (Clean sweep) โลกนั่นเอง ระยะ 100 ปี ที่ว่านั่นคือ

    “ค.ศ.1720 (พ.ศ.2263) เกิดกาฬโรค

    ค.ศ.1820 (พ.ศ.2363) เกิดอหิวาตกโรค

    ค.ศ.1920 (พ.ศ.2463) เกิดไข้หวัดใหญ่

    ค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) เกิดโรคโควิด-19 (Corona virus)”

    แต่เท่าที่อ่านพบในคัมภีร์ (ทางพุทธศาสนา) โรคระบาดเกิดมาเป็นระยะๆ (เราเรียกว่า “โรคห่า”) แม้แต่ในนิทานชาดก ซึ่งแสดงเรื่องราวก่อนสมัยพุทธกาล ก็กล่าวถึงโรคระบาด วิธีหนีตายจากโรคระบาดใช้คำว่า “ทำลายฝาบ้าน” หนีกันไม่คิดชีวิตทีเดียวแหละ

    เข้าใจว่า เมื่อก่อน โรคระบาดเกิดขึ้นในแต่ละเมือง จบในเมืองนั้นๆ ไม่ลามไปไกลเหมือนสมัยปัจจุบัน การที่โรคระบาดไม่ลามไปไกลถึงเมืองอื่นๆ คิดว่าเป็นเพราะการเดินทางสมัยก่อนไม่รวดเร็วอย่างทุกวันนี้

    ทุกวันนี้ โลกเข้าสู่ยุค “โลกาภิวัตน์” หรือ Globalization การคมนาคม ทั้งการสัญจร ทั้งการสื่อสาร (ส่งข่าว) ถึงกัน มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น จนทำให้โลกทั้งโลกแคบเข้า หนทางที่เคยไกล ก็ใกล้เข้ามา วันเวลาก็สั้นเข้า ระยะห่างระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ(ระหว่างภูมิภาค) เคยใช้เวลาในการเดินทางถึงกันเป็นหลายวัน เป็นเดือน หรือเป็นหลายเดือน ก็ถึงกันเร็วขึ้น เคยเดินทางด้วยเรือข้ามทะเล ก็เดินทางด้วยเครื่องบิน ไม่ช้าไม่นานก็ถึงกัน เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น โรคระบาดก็โลกาภิวัตน์ด้วย คือ แพร่ไปถึงต่างถิ่นต่างแดนต่างทวีปเร็วขึ้น

    อันที่จริง โรคโควิด-19 ควรจะหมดฤทธิ์ในเมืองอู่ฮั่นนั่นแหละ แต่เมื่อโควิด-19 ต้องไปกับมนุษย์ (ไปกับลมหายใจของมนุษย์) โควิด-19 ก็เลยเดินทางได้รวดเร็วและได้ไกลสมกับเป็นโรคระบาดโลกาภิวัตน์นั่นเอง

    โรคระบาดในสมัยโบราณก็คงเหมือนกับโรคระบาดในสมัยปัจจุบันนั่นแหละ แต่โรคระบาดในสมัยปัจจุบันน่ากลัวกว่า เพราะการสื่อสารถึงกันมีมากขึ้นด้วยเป็นยุคข่าวสาร มี “การเมือง” ทั้งในแต่ละประเทศและระหว่างประเทศผสมโรง ทำให้โรคระบาดมีความน่ากลัวอีกเท่าตัว (เป็นอย่างน้อย) อย่างที่มีข่าวว่าโรคโคโรนาไวรัส (Covid-19) เป็นอาวุธชีวภาพจากประเทศจีนนั่นแหละ โรคระบาดในสมัยปัจจุบัน จึงน่ากลัวไม่แพ้สงครามโลกที่ทำร้ายกันด้วยอาวุธ

    สงครามโลกที่ทำร้ายกันด้วยอาวุธ (ปรมาณู) ครั้งที่ 2 ผมเกิดไม่ทัน ได้ฟังแต่คำบอกเล่า คิดว่าน่ากลัวกว่า “สงครามโรค” ที่กำลังปะทุอยู่เวลานี้ เพราะในสงครามโลก ไม่รู้ว่าลูกระเบิดจะปลิวมาเมื่อไรและจากทิศทางไหน บ้านเมืองเคยมีแสงไฟส่องสว่างก็ต้องปิดไฟ (แม้แต่ไฟฉายก็ใช้ไม่ได้) มานึกดู ก็คิดว่า สงครามโลกน่ากลัวกว่าสงครามโรค เพียงแต่ว่า (เท่าที่ได้เห็นจากภาพข่าว) ความรักและความตายในสงครามโรคโควิด-19 ไม่อาจจะแสดงออกได้อย่างปกติ คือคนที่ตายเพราะโควิด-19 เป็นที่น่าสะพรึงกลัว และน่ารังเกียจ(น่าเกลียดน่ากลัว) อย่างยิ่ง แม้แต่สำหรับคนที่เคยรักใคร่ใกล้ชิดกัน การแสดงความห่วงใยต่อกันอย่างปกติทำไม่ได้ เมื่อได้เห็นโลงศพชาวอิตาลีที่ตายเพราะโรคระบาด ซึ่งขนย้ายไปเผาเป็นทิวแถวก็นึกถึงศพที่ทิ้งเกลื่อนกลาดรอบเมืองเวสาลีในสมัยพุทธกาล คิดว่าคงมีสภาพเหมือนกัน เพียงแต่ว่า ข้างศพชาวอิตาลี(หรือชาวอิตาเลียน) ไม่มีผู้คนอยู่ใกล้เลย เพราะกลัวเชื้อโรคจากศพ ส่วนที่กองศพของชาวเมืองเวสาลีนั้นเชื่อกันว่า มี “อมนุษย์” (หรือวิญญาณของผู้ตาย) รายล้อมเต็มไปหมด

    ที่กองศพ ณ เมืองเวสาลีครั้งนั้น เนื่องจากพระพุทธเจ้า (และภิกษุสงฆ์) เป็นที่เคารพเลื่อมใสของ(ทั้ง) แคว้นราชคฤห์และแคว้น วัชชี จึงมีการนิมนต์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์หลายรูป (ใช้คำว่า 500 รูป) ไปทำพิธีมงคลขับไล่ “อมนุษย์” ให้หนีออกจากเมือง

    แต่ดูจากเนื้อหาในรตนสูตร (ภาษาไทยใช้คำว่า “รัตนสูตร”) แล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้ “ขับไล่” อมนุษย์หรือวิญญาณแต่อย่างใด กลับมีแต่การแสดงเมตตาต่ออมนุษย์ทั้งหลาย ให้พระอานนท์เรียนเอาและนำไปตั้งจิตแผ่เมตตารอบเมืองเวสาลี ให้อมนุษย์ทั้งหลายฟัง วันนี้จึงขอแสดงเนื้อหาในรตนสูตร ทั้งที่เป็นภาษาบาลี (ที่พระสงฆ์สมัยปัจจุบันใช้สวดในงานพิธีต่างๆ) และคำแปล(เป็นภาษาไทย) ดังนี้

    บทที่ 1

    ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ ภุมมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข

    สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ อโทปิ สกฺกจฺจ

    สุณนฺตุ ภาสิตํ ฯ

    แปลว่า

    “ภูต (วิญญาณที่เกิดเป็นชีวิตแล้ว) ทั้งหลายเหล่าใด

    ไม่ว่าจะอยู่บนพื้นดิน หรืออยู่ในอากาศ (อวกาศ) ก็ขอให้

    ตาย ณ ที่นี้ ขอให้ภูตทั้งหมดจงมีน้ำใจดี

    ฟังคำกล่าว (ในรตนสูตร) ด้วยความเคารพ”

    (คำว่า “ภูต” (ในรตนสูตรนี้) หมายถึงสัตว์โลกในปรโลก ซึ่งเป็นชีวิตหนึ่ง แปลจากคำว่า “ภูตานิ” ส่วนอมนุษย์(ภูต) ที่อยู่บนพื้นดิน แปลจากคำว่า “ภุมมานิ” (ซึ่งไทยเราถือว่าเป็นพระภูมิเจ้าที่นั่นกระมัง) และอมนุษย์ที่อยู่ในอากาศ แปลจากคำว่า “อนฺตลิกฺเข คำว่า อนฺตลิกฺเข นี้ มักจะแปลกันว่าในท้องฟ้า แต่ความจริง รวมไปถึง “อวกาศ” ด้วย)

    บทที่ 2

    ตสฺมา หิ ภูตานิ สาเมถ สพฺเพ เมตฺตํ กโรถ

    มานุสิยา บชายฺ

    ทิวา จ รตฺโต จ นรนฺติ เย พลึ ตสฺมา หิ เน

    รกฺขถ อปฺปมตฺตา ฯ

    แปลว่า

    “ฉะนั้น ภูตทั้งหลายเอย ขอท่านจงฟัง ขอให้ท่านเป็นมิตรกับชาวมนุษย์ หมู่มนุษย์ที่นำเครื่องพลีกรรม

    (สิ่งของและอาหารที่นำมาทำบุญ) แก่พวกท่าน ทั้งในกลางวัน

    และกลางคืน ท่านทั้งหลายจงปกป้องคุ้มครองพวกมนุษย์

    เหล่านั้น อย่าได้ประมาท (อย่าลืม)”

    บทที่ 3

    ยํ กิญจิ วิตฺตํ อิธ วา ทุรํ วา สคฺเคสุ วา ยํ

    รตนํ ปณีตํ นโน สมฺ อตฺถิ ตถาคเตน อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ ฯ

    แปลว่า

    “ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรัตนะ (ของมีค่า) อัน

    ดีงามสูงส่ง ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือในสวรรค์

    ชั้นใดๆก็ตาม ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะ (หมายถึง

    พระพุทธเจ้า) ไม่มีเลย ด้วยสัจจะ (สัจจวาจา) นี้ขอความสวัสดี (ความปลอดภัย) จงเกิดมี”

    (ตั้งแต่พระคาถาบทที่ 3 ถึงบทที่ 14 กล่าวถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นรัตนะอย่างไร คือมีคุณค่าอย่างไร ขอแสดงรวม (พร้อมทั้งคำแปล) ดังนี้)

    บทที่ 4

    ขยํ วิราคํ อมตํ ปณีตํ ยทชฺฌคา สกฺยมุนี

    สมานิโต

    น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ

    ปณีตํ

    เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

    แปลว่า

    “พระธรรม (คำสอนของพระพุทธเจ้า) อันเป็นที่สิ้นกิเลส

    สิ้นราคะ เป็นอมตะ มีคุณค่าสูงส่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้มี

    จิตเป็นสมาธิทรงบรรลุแล้ว ไม่มีคำสอนใดๆ เสมอเหมือน

    ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดี จงเกิดมี”

    บทที่ 5

    ยมฺพุทฺธเสฏฺโร ปริวณฺณยี สุจึ สมาธิมานนฺตริกญฺญมา

    หุ

    สมาธินา เตน สโม น วิชชติ อิทมฺปิ ธมฺเม

    รตนํ ปณีตํ

    เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

    แปลว่า

    “สมาธิ อันพระพุทธเจ้าทางสรรเสริญว่าเป็นสิ่งอันบริสุทธิ์หมดจดที่เรียกกันว่า อานันตริกสมาธิ ไม่มี

    สมาธิชนิดใดๆ เสมอเหมือน ด้วยสัจวาจานี้ ขอ

    ความสวัสดี จงเกิดมี”

    (“อานันตริกสมาธิ” หรือ “อนนฺติริกสมาธิ” หรือ “อนนฺตริย สมาธิ” หมายถึงสมาธิเพื่อการตรัสรู้ เพื่อสิ้นกิเลส เป็นสมาธิเพื่อวิปัสสนา (เพื่อพิจารณาเห็นแล้วในทุกข์) เป็นสมาธิที่พระพุทธเจ้า ทรงยกย่องว่า ยอดเยี่ยมกว่าสมาธิ อื่นใด)

    ตั้งแต่พระคาถาบทที่ 6 ถึงบทที่ 14 กล่าวถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ขอแสดงทั้งพระคาถาภาษาบาลีและคำแปล รวมกัน ตามลำดับ ดังนี้

    บทที่ 6

    เย ปุคฺคลา อฏฺฐสตํ ปสตฺถา จตฺตาริ เอตานิ ยุคานิ

    โหนฺติ

    เต ทกฺขิเณยยา สุคตสฺส สาวกา เอเตสุ ทินฺนานิ

    มหปฺปผานิ

    อิทมฺปิ สงเฆ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ

    โหตุฯ

    แปลว่า

    “พระอริยบุคคล 8 จำพวก ที่สัตบุรุษทั้งหลายยกย่องเชิด

    ชู ท่านเหล่านั้นเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า คู่ควรแก่การ

    ทำบุญให้ทาน ทานที่ท่านถวายแก่พระอริยสาวก มีอานิสงส์มาก

    ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดี จงเกิดมี”

    (โปรดสังเกตว่า พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญแก่พระสาวก(พระสงฆ์)

    อย่างไร ในพระคาถา “รตนสูตร” นี้ ทรงแนะนำให้ทำบุญกับพระสงฆ์ แทนที่จะเป็นพระองค์เอง)

    พระคาถาใน “รตนสูตร” ที่พระสงฆ์นิยมนำมาสวดในพิธีต่างๆ (และจะสวดตามคำนิมนต์ของรัฐบาลครั้งนี้) ยังไม่จบครับ ขอแสดงให้เห็นเนื้อหาของรตนสูตรต่อในฉบับหน้าครับ

    ขอขอบคุณที่มา
    https://siamrath.co.th/n/142324
     

แชร์หน้านี้

Loading...