เรื่องเด่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กับพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Komodo, 2 เมษายน 2015.

  1. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อันเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองและพสกนิกรชาวไทยนั้น นอกจากจะทรงพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญมาเป็นระยะเวลายาวนานสม่ำเสมอ และมีมากมายหลายประการ เกินที่จะเชื่อได้ว่ามีสุภาพสตรีผู้ใดที่มีวัยเดียวกับพระองค์ท่านทำได้เช่นนี้ ยังมีประเด็นที่ควรมหัศจรรย์ชื่นชมในพระบารมีอีกด้านหนึ่ง คือ พระราชกรณียกิจเหล่านั้นมีความแตกต่างกันอย่างห่างไกลในสาขาวิทยาการ เช่นทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับดินและน้ำด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูง ทรงพระอุตสาหะติดตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเกษตรกรรม เช่น การเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ พร้อม ๆ กันนั้นก็ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอักษร ศาสตร์และศิปวัฒนธรรม ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์จำนวนมาก และที่มหาชนชาวไทยได้ชื่นชมในพระราชอัจฉริยะ เมื่อยามทรงบรรเลงดนตรีไทย ณ สาธารณสถานอยู่บ่อยครั้ง

    ความชื่นชมยินดี ความจงรักภักดี และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของประชาชนชาวไทยที่มีแด่ สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี นั้น เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจและเปี่ยมล้นไปในหัวใจ เมื่อได้เห็นภาพพระราชกรณียกิจที่เสด็จพระราชดำเนินตาม เสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยมเยียนประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดาร พระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญพระราชพิธี พิธีทางศาสนาและสังคม ที่มีผู้เชิญเสด็จพระราชดำเนินไปให้เป็นขวัญ และกำลังใจแก่ประชาชน จนบางครั้งถึงกับทรงพระประชวรก็มี และมีความภูมิใจยิ่งของมหาชนชาวไทยก็คือพระบารมีนั้นมิได้มีเฉพาะภายในประเทศได้แผ่ไพศาลไปยังแดนไกลถึงต่างประเทศ การเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศแต่ละครั้งได้ทรงเป็นผู้นำแทนเกียรติศักดิ์ของประเทศออกสู่สายตาโลกทรงนำไมตรีจิต มิตรภาพความเข้าใจอันดีของชาวไทยไปมอบแก่ประชาชนของมิตรประเทศ การเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้งต้องทรงเตรียมพระองค์อย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทรงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานที่ และบุคคลสำคัญที่จะต้องทรงไปพบปะ ทรงเตรียมสุนทรพจน์ ทรงเตรียมของขวัญที่จะพระราช ทานตอบแทน และจากนั้นก็จะทรงเข้าสู่กำหนดการณ์ของการเยี่ยมเยียนอันเหน็ดเหนื่อยยิ่ง การพระราชดำเนินต่างประเทศจึงมิใช่การทัศนาจรหา ความเพลิดเพลิน ความสำราญ เช่น สามัญชน แต่เป็นการทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการของชาติ และก็ทรงทำ ด้ด้วยความเรียบร้อยสวัสดีทุกครั้งด้วย

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ และมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพุทธมามกะและเป็นเอกอัครบรมาราชูปถัมภก ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพระบรมวงศ์ที่จะต้องโดยเสด็จบำเพ็ญพระองค์เป็น พุทธมามกะที่เคร่งครัด แต่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มิได้ทรงถือแต่เพียงว่าเป็นหน้าที่เท่านั้น หากแต่ทรงยึดมั่นในพระรัตนตรัยด้วยพระราชศรัทธาและพระปัญญาบารมีโดยแท้จริง ทั้งนี้ก็ต้องถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่ทรงอบรมสั่งสอนพระราชโอรสพระราชธิดาทุกพระองค์ ให้ใกล้กับพระบวรพุทธศาสนาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เช่น การให้โดยเสด็จพระราชดำเนินไปร่วมงานบำเพ็ญพระราชกุศลอยู่เป็นนิตย์ หรือการให้ทรงสวดมนต์สรรเสริญคุณพระรัตนตรัยก่อนทรงพระบรรทม และเมื่อพระราชโอรสพระราชธิดาเจริญวัยขึ้น ก็ทรงศึกษาหาความรู้ในพระพุทธศาสนา สุขุมคัมภีรภาพเจริญงอกงามขึ้นตามลำดับพระสติปัญญา

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาพระพุทธศาสนาตั้ง แต่ทรงศึกษาในระดับมัธยมที่โรงเรียนจิตรลดา ดัง จะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์บทความสั้น ๆ ๓ ย่อหน้าเรื่อง "นตถิ ปญญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี" ในย่อหน้าสุดท้ายดังนี้

    "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญาที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งที่ดีมีประโยชน์และถูกต้องได้ ผู้ที่ยังปฏิบัติสิ่งที่ดีมีประโยชน์และนึกคิดสิ่งต่างๆ ไม่ได้ก็เปรียบเสมือนผู้ที่ไม่มีแสงสว่าง นับว่าเป็นผู้ที่อยู่ในความมืด แม้แสงแดดจะแผดเผาจัดจ้าสักแค่ไหนก็ยังเปรียบเทียบกับแสงปัญญาไม่ได้ เพราะแสงแดดไม่สว่างพอที่จะทำให้คนเรารอบรู้เห็นแจ้งสิ่งต่าง ๆ ได้ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธสุภาษิตที่ว่า 'นตถิ ปญญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี' นั้นเป็นความจริงอย่างที่สุด"

    พระราชนิพนธ์เรื่องดังกล่าวทรงไว้เมื่อ พ .ศ. ๒๕๑๓ ต่อมาเมื่อทรงเข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วต้องทรงศึกษาภาษาบาลี และเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามากขึ้น จึงมีพระราชนิพนธ์เป็นรายงานส่งอาจารย์บ้าง พระราชนิพนธ์ส่งไปพิมพ์ในวารสารของคณะบ้าง เช่น ศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร ( ๒๕๑๖) พระจูฬปันถกเถระทรงแปลจากต้นฉบับภาษาบาลีในพระคัมภีย์ธมมปทฏฐกถา (๒๕๑๗ ) ศาสนากับการปกครองระบอบประชาธิปไตย (๒๕๑๗) ในประสบการณ์ (๒๕๒o)ทรรศนะธรรม (๒๕๒๑) และพระราชนิพนธ์ที่เคยพิมพ์แพร่หลายพอสมควรดังนั้นคือ พุทธศาสนาสุภาษิต คำโครง

    ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp8/sirindhorn/pratep11.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2015
  2. boy thanawat

    boy thanawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +288
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
     
  3. tharaphut

    tharaphut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,721
    ค่าพลัง:
    +5,211
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...