เรื่องเด่น สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ อกสังฆาฏิฐานสิงห์ เปรียบเทียบตำหนิ มวลสาร และธรรมชาติความเก่า

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Chailai65, 24 มิถุนายน 2017.

  1. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ อกสังฆาฏิ ฐานสิงห์ เปรียบเทียบตำหนิ เนื้อหามวลสาร และธรรมชาติความเก่า

    ?temp_hash=5201e8716cbab732ac113ae1b1de2983.jpg

    ขั้นแรกขอให้ศึกษาคลิปของอ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณที่ได้ถ่ายทอดความรู้ในการพิจารณาดูสมเด็จ วัดระฆัง ดังนี้
    พื้นฐานการดูสมเด็จ วัดระฆังและเบญจภาคี ->


    มวลสารศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จ วัดระฆัง ->


    การดูธรรมชาติความเก่าของสมเด็จแท้ เทียม->


    ในคลิปมีตัวอย่างสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ อกสังฆาฏิ ฐานสิงห์ ด้วย
    p7170826-32-png.png
    p7170826-33-png.png
    p7170826-35-png.png

    เปรียบเทียบพิมพ์ทรงปรกโพธิ์กับคลิปของอ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ
    ?temp_hash=76f318b40018ebb614f7eef616864bc8.jpg

    คลิปสอนดูสมเด็จ วัดระฆัง อ.กิตติ ธรรมจรัส
    ->

    p7170826-31-png.png

    เปรียบเทียบพิมพ์ทรงปรกโพธิ์กับคลิปของอ.กิตติ ธรรมจรัส
    ?temp_hash=76f318b40018ebb614f7eef616864bc8.jpg

    ตำหนิพิมพ์ทรงของสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ในตำราเรียนรู้พระเครื่องมรดกล้ำค่า เบญจภาคี
    ?temp_hash=38be023d61dbc32489c92d9f7579a622.jpg

    ?temp_hash=3201b5fdfde7a9d4277890292787aa0f.jpg
    เปรียบเทียบพิมพ์ทรงปรกโพธิ์กับตำราเรียนรู้พระเครื่องมรดกล้ำค่า เบญจภาคี
    ?temp_hash=76f318b40018ebb614f7eef616864bc8.jpg

    เปรียบเทียบตำหนิกันแล้วต่อไปเป็นมิติการดูด้านข้างบ้าง เส้นซุ้มและซอกแขนจะมีการหดตัวทำให้เส้นซุ้มหดตัวม้วนเข้าไปใต้เส้นซุ้มคล้ายเส้นขนมจีน และซอกแขนหดตัวลึกเข้าไปใต้แขน

    p9200046-01-01-jpg.jpg

    การตัดตอกด้านข้างจะมีการหดตัวตามธรรมชาติ ของเก๊ยังทำได้ไม่ธรรมชาติ
    p9200050-01-01-jpg.jpg
    p9200052-01-01-jpg.jpg

    มวลสารสำคัญและมวลสารบังคับ
    1.ผงกฤตยาคม ได้แก่ ผงอิทธิเจ,ผงปัถมัง,ผงตรีนิสิงเห,ผงมหาราช,ผงพุทธคุณ
    ในการทำผงกฤตยาคมนั้นตามตำราและบันทึกโบราณล้วนได้กล่าวไว้ว่า เป็นผงที่ประกอบด้วยวัตถุมงคลแลของขลังต่างๆรวมกันได้17ชนิด คือ ดินโป่ง7โป่ง,ดินตีนท่า7ท่า,ดินหลักเมือง7หลัก,ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุ โบสถ,ขี้ไคลเสมา,ขี้ไคลประตูวัง,ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก,ดอกกาหลง,ยอดสวาท,ยอดรักซ้ อน,ราชพฤษ์(ใบหรือดอกชัยพฤษ์),พลูร่วมใจ,พูลสองหาง,กระแจะตะนาว(กระแจะที่ปรุงด้วยเครื่องหอม),ดินสอ(ดินขาว),น้ำบ่อ7รส
    นำส่วนผสมทั้งหมดมาบดตำรวมกันและพรมน้ำมนต์แล้วปั้นเป็นก้อนแท่งดินสอ เสร็จแล้วจึงนำไปเขียนสูตรเลขยันต์แล้วลบเก็บผงที่ได้แยกไว้ ผงที่ได้แต่อย่างเกิดจากการเขียนสูตรยันต์ต่างกัน ซึ่งสามารถแยกพุทธคุณและอานุภาพได้ ดังต่อไปนี้
    ผงอิทธิเจ เกิดจากการท่องมนต์และเขียนสูตรยันต์ มูลกัจจายนะ มีอานุภาพทางด้านเมตตามหานิยม
    ผงปัถมัง เกิดจากการท่องมนต์และเขียนสูตรยันต์ พระพุทธปริต แล้วจึงเขียนเลขยันต์ต่างๆ(ยันต์รูปองค์พระ ยันต์ย่อมุม 3"4"5"7มุม)ตามลงไปด้วย มีอานุภาพด้านอยู่ยงคงกะพัน จังงังล่องหนหายตัว
    ผงมหาราช เกิดจากการเอาผงปัถมังมาปั้นเป็นแท่งดินสอ แล้วเขียนยันต์(ตามสูตรมหาราช 108จบ) มีอานุภาพเป็นมหาอำนาจ
    ศัตรูเกรงกลัว มีอำนาจในการปกครองผู้คนหมู่มาก
    ผงตรีนิสิงเห(ผงมหาเสน่ห์) และ ผงพุทธคุณ(แคล้วคลาดมหานิยม)เกิดจากการเขียนเลขยันต์ตามสูตรเหมือนผงวิเศษอื่นๆข้างต้น มีอานุภาพและพุทธานุภาพที่คล้ายกับผงวิเศษอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น

    มวลสารหลักในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
    1. ปูนเปลือกหอย สุก/ดิบ
    2.ปูนเพชร (ปูนที่ใช้ในการสร้างถ้วยชามกังไสของคนจีนและเครื่องเบญจรงค์ของไทย)
    3.หินอ่อน (หินศิลาธิคุณ)
    4.ดินหลักเมือง
    5.ดินสอพอง
    6.แป้งข้าวเหนียว
    7.ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถวัดระฆัง
    8.ผงใบลานเผา
    9.น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อยเคี่ยว
    10.กล้วยน้ำว้า ,กล้วยหอมจันทร์
    11.ข้าวสุกที่เหลือจากการบิณฑบาต,ภัตตาหารที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตฉันเหลือ (เลือกเอาเฉพาะที่สามารถตากแดดได้แล้วนำมาบด)
    12.ยางมะตูม
    13.น้ำมันตังอิ๊ว
    14.เกสรดอกไม้บูชาพระ (ดอกมะลิ,ดอกบัวสัตตบุรุษคือดกบัว7ชนิดได้แก่ บัวหลวง บัวขาว บัวแดง บัวขาบ บัวผัน บัวเผื่อน บัวขม นำมาตากแดด)
    15.ว่านมงคล
    16.เกสรดอกไม้108ชนิด
    17.เศษพระซุมกอและพระลีลาเขย่ง กำแพงเพขร
    18.ผงตะไบเงินตะไบทอง
    19.ทรายแก้ว

    screenshot_2016-12-16-13-59-43-20-png.png

    บริเวณแขนขวาขององค์พระมีร่องรอยการถอดพิมพ์เขยื้อนเล็กน้อย ทำให้แขนขวาดูเหมือนโค้ง แต่ถ้าสังเกตจากภาพจะเห็นแนวแขนขวาของแม่พิมพ์ตรงลงมาไม่ได้โค้งตามการเขยื้อน เนื้อปูนเก่าอายุมากกว่า140ปี เกิดการหดตัว เส้นซุ้มต่างๆมีการหดตัว บางส่วนมุดเข้าไปใต้เซ้นซุ้มคล้ายเส้นขนมจีน บางส่วนดันขึ้นเป็นสันทำให้พระดูลึกชัด ส่วนผสมของน้ำมันตังอิ้วค่อยๆระเหยๆไปเหลือคราบน้ำมันตังอิ้วแห้งตามซอกแขนและร่องซุ้ม เนื้อพระหดตัวเป็นแนวรากผักชีและเป็นหลุมคล้ายผิวพระจันทร์
    screenshot_2016-12-13-21-37-55-52-png.png

    มวลสารบางส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ก็จะย่อยสลายกลายเป็นหลุมลึก เนื้อปูนเก่าและเนื้อปูนใหม่ที่ผสมกันแยกตัว เนื้อปูนเก่าดันตัวขึ้นมาเป็นเนื้อสีขาวอยู่เหนือเนื้อปูนใหม่
    screenshot_2016-12-16-14-38-13-93-png.png

    ด้านหลังมีรอยพรุนของเข็มเล็กๆและมีรอยหนอนด้นให้เห็นทั่วไป
    screenshot_20170604-212929-png.png

    ภาพขยายรอยตอกตัดด้านข้าง จะเห็นรอยครูดของก้อนมวลสารจากการตอกตัดและการหดตัวด้านข้างเป็นธรรมชาติของพระเก่า ซึ่งพระเก๊ยังไม่สามารถทำได้ใกล้เคียง
    screenshot_2016-12-16-16-40-45-97-png.png

    สุดท้ายนี้เป็นภาพขยายบริเวณอกสังฆาฏิ ธรรมชาติของเกสรดอกไม้ต่างๆที่ผสมในองค์พระ จะมีความเก่าตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการดูว่าเนื้อสมเด็จเก่าจริงหรือไม่
    มวลสารต่างๆบางส่วนที่ผสมในเนื้อพระจะมีความเล็กมากต้องใช้กล้องที่มีความละเอียดสูงๆถึงจะเห็นชัด

    หวังว่าเพื่อนสมาชิกจะได้ประโยชน์ในการศึกษามวลสารต่างๆของสมเด็จวัดระฆังไม่มากก็น้อยครับ
    screenshot_20170604-191320-01-png.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2021
  2. sritrang

    sritrang เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    6,151
    ค่าพลัง:
    +1,622
    พระสมเด็จวัดระฆังมีพิมพ์พระคะแนนไหมครับ
     
  3. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ผมไม่ทราบว่าพระสมเด็จวัดระฆังมีพิมพ์พระคะแนนหรือไม่ แต่สมเด็จวัดระฆังมีพิมพ์พิเศษอื่นๆนอกจากพิมพ์นิยม5พิมพ์แน่นอน ดังนั้นหากจะสะสมพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พิเศษอื่นๆขอให้พิจารณาจากมวลสารและธรรมชาติความเก่าเป็นสำคัญที่สุด และต้องอาศัยประสบการณ์ในการดูสมเด็จแท้บ่อยๆครับ
     
  4. sritrang

    sritrang เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    6,151
    ค่าพลัง:
    +1,622
    ขอบคุณครับ
     
  5. 0นิรนาม0

    0นิรนาม0 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    340
    ค่าพลัง:
    +3,450
    ความเก่าน่ะได้
    แต่กลัวเรื่องเก๊เก่าน่ะสิ
    เก๊สมัยสมเด็จมรณะใหม่ๆ
    ยังไงอายุก็ได้อยู่แล้ว
    คล้ายๆ พระเสริมน่ะ
    แท้แต่ไม่ได้เสก
     
  6. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ถูกต้องครับ สมเด็จวัดระฆังมีปลอมมาตั้งแต่สมเด็จโตมรณะภาพไม่นาน ดังนั้นต้องพิจารณาหลายด้านพร้อมๆกันทั้ง พิมพ์ทรง(30%), มวลสารต่างๆ(30%) และธรรมชาติความเก่า(40%)ประกอบกัน เปอร์เซนต์รวมยิ่งมากโอกาสแท้ยิ่งมาก สำหรับผมเมื่อตรวจสอบทั้งพิมพ์ มวลสาร และธรรมชาติความเก่าเรียบร้อยแล้ว ผมจะให้ผู้ที่มีสัมผัสพุทธคุณได้ตรวจสอบเป็นขั้นตอนสุดท้าย หากมีพุทธคุณสูงจะเลี่ยมทองไว้บูชา
     
  7. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    หลักการดู ธรรมชาติความเก่าของสมเด็จวัดระฆัง 4ย 4ห 4น 4ม 4จ

    หลักการศึกษา พระสมเด้จวัดระฆัง ในการตรวจสอบโดยยึดหลักทางวิทยาศาสตร์ และ ความเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นหลักการศึกษาเบื้องต้น ก่อนการศึกษาพิมพ์ทรงเมื่อเราได้รับพระสมเด็จ มาให้ศึกษา สิ่งแรก ที่ต้องศึกษา ก็คือ การยึดหลัก 4 ย

    1. ยแรก (ยุบ) คุณสมบัติเบื้องต้นต้องมี เนื้อยุบ ให้เห็นการยุบตัว ของเนื้อพระสมเด็จ อาจจะเป็น เพราะ เมื่ออายุนาน100 กว่าปี สารอินทรีย์ ที่ผสมอยู่ในเนื้อพระมีการสลายตามธรรมชาติ ย่อมมีการยุบตัวลงไปเนื้อพระ หรือ มี ก้อนผงพุทธคุณ มีการหดตัวเล็กลง ก็เกิดการยุบตัวได้เหมือนกัน
    ?temp_hash=20050c0e0adce32798fc66a1ca30f3de.png

    2. ย สอง (แยก) ลักษณะของผิวพระ ให้เห็นการปริแยก ชัดเจนแบบธรรมชาติส่วนใหญ่ รอยปริแยก จะมีให้เห็น บริเวณด้านหลัง พระยิ่งใกล้ บริเวณ ขอบของพระสมเด็จ บริเวณเส้นซุ้มหรือ ตาม วงแขน หรือด้านหน้า ตาม ขอบของพระสมเด็จจะนำเสนอภาพให้ชม ต่อไป

    รอยปริแยกบริเวณด้านหลัง
    ?temp_hash=1f16fd27bcecfa63bd17f3be89630717.png

    รอยปริแยกตามขอบบริเวณเส้นซุ้ม
    ?temp_hash=1f16fd27bcecfa63bd17f3be89630717.png
    รอยปริแยกบริเวณวงแขน

    ?temp_hash=20050c0e0adce32798fc66a1ca30f3de.png

    3. ย สาม (ย่น) พื้นผิวพระสมเด็จ มี ลักษณะเป็นรอยย่น แบบหนังไก่ หรือ ฟูๆๆ ผิวลักษณะนี้ จะมีการเกิดปฎิกิริยาตามธรรมชาติ เนื้อพระสมเด็จ ค่อนข้างละเอียด และ เปียกขณะสร้าง และ มีการหดตัว และแห้งไม่สม่ำเสมอ บางองค์ จะมีลักษณะ รอยย่นฟูมาก จนทำให้รูปร่างขององค์พระเลือนไป พระเก๊ ถือว่า ทำได้ยากนะครับ ซึ่งถือเป็นการดู จุดตาย ของพระสมเด็จ สูตรวัดระฆังทีเดียว ส่วนที่เรียกว่า รอยย่นสังขยานั้นอาจพบ พระสมเด็จบางองค์ ที่ด้านหลัง เมื่อดูแว่นขยายแล้ว จะเหมือน พื้นผิวขนมสังขยา ลักษณะเกิดจาก ผิวเปียกในขณะพิมพ์ อันเป็นเหตุให้ความแน่นของผิว ขาดความสม่ำเสมอในส่วนผสมของมวลสาร เมื่อแห้ง จึงยุบหดตัวไม่เท่ากัน ริ้วคลื่น จึงปรากฎคล้ายสังขยา
    ?temp_hash=20050c0e0adce32798fc66a1ca30f3de.png

    4. ย ที่4 (ขยุกขยิก) พระสมเด็จวัดระฆัง ทุกองค์ ต้องมี ริ้วรอยขยุกขยิกไม่ว่า เส้นสายต่างๆๆ ที่ประกอบกันเป็นองค์พระ ตลอดทั้งแนวเส้นจะไม่เป็นเส้นคมชัดสวยงาม จะต้องมีริ้วรอยธรรมชาติ ที่เป็นริ้วรอยขยุกขยิก เส้นต่างๆเหล่านี้ ไม่ว่า เส้นซุ้ม พระเกศ วงแขนทั้ง2 ข้าง พระเพลา ตลอดจนเส้นบังคับพิมพ์

    รอยขยุกขยิกของเส้นซุ้ม

    ?temp_hash=20050c0e0adce32798fc66a1ca30f3de.png

    การยึดหลัก 4 ห
    1. ห แรก (แห้ง) พระสมเด็จเมื่อดูภาพรวมแล้ว จะเห็นว่า มีสภาพธรรมชาติ แห้ง พระสมเด็จจะต้องไม่สด หรือ เปียก ชื้นแฉะ เป็นอันขาด แบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องไปศึกษาเรื่องพิมพ์ ให้เสียเวลา พระสมเด็จอายุ 140 ปีขึ้นไป อายุของมวลสารที่มีปูนเปลือกหอยเป็นหลัก มวลสารผงพุทธคุณทั้งหลาย ที่ทำจากดินสอพองสีขาว เกสรดอกไม้ เมื่อผสมกันเป็นเนื้อเดียวกัน ต้องเห็นสภาพแห้ง ตามอายุพระ การดูว่า สภาพแห้งธรรมชาติ สังเกตได้อย่างไร โดยดูจากพื้นผิวพระสมเด็จ จะแห้ง บางครั้งจะมีลายแตกเล็กๆๆ เต็มไปหมด และบริเวณซอก มุม พระสมเด็จ เช่นซอกรักแร้ มุมฐานพระ หรือ บริเวณตามองค์พระ และ พระสมเด็จบางองค์ ที่ผ่านการลงรักดำ จะเห็นได้ชัดเจนว่า รัก ต้องแห้งสนิท และ มีการหลุดร่อน
    ?temp_hash=4a61616a5c4675975c7d10b309745315.png

    2. ห สอง (ห่าง) พระสมเด็จวัดระฆังส่วนใหญ่ จะมี ผงหรือ ก้อนมวลสาร ซึ่งมีขนาดเล็ก ใหญ่ ไม่แน่นอน แม้กระทั่งรูปร่าง ก็ไม่แน่นอน แต่สีวรรณะของมวลสาร ควรมีสีขาวอมน้ำตาล ไม่ขาวใหม่ และที่สำคัญก้อนมวลสารเหล่านี้ ต้องมี ความห่างกับ เนื้อพระสมเด็จพอสมควร บางก้อนจะมีการหดตัว และ ยุบตัวเป็นหลุมเห็นได้ชัดเจน ส่วนตำแหน่งไม่แน่นอน มีให้เห็นทั้งด้านหน้าและหลังพรสมเด็จ
    ?temp_hash=4a61616a5c4675975c7d10b309745315.png

    3. ห สาม (ห่อ) พระสมเด็จวัดระฆัง ต้องมีคุณลักษณะพิเศษ ในเรื่องของการ ม้วนตัว หรือห่อตัวอย่างเห็นได้ชัด และ ที่จะสังเกตได้ชัดเจน เป็นบริเวณเส้นซุ้ม เส้นซุ้มจะมีลักษณะ หด ห่อตัว ม้วนตัวโค้งไปมา ไม่แน่นอน คล้ายๆเส้นขนมจีน
    ?temp_hash=4a61616a5c4675975c7d10b309745315.png

    4. ห สี่ (เหี่ยว) การศึกษา พื้นผิวบนเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง จะต้องเห็น รอยเหี่ยว ริ้วรอยธรรมชาติ ถ้าไม่เห็นเลย ก็จะทำให้การพิจารณา ตัดสินใจง่ายขึ้นว่าไม่ใช่พระแท้
    ?temp_hash=4a61616a5c4675975c7d10b309745315.png

    การยึดหลัก 4 น
    1. น แรก (หนึกนุ่ม) พระสมเด็จวัดระฆัง ต้องมีคุณสมบัติ เนื้อหนึกนุ่ม ทุกองค์ มิฉะนั้นแล้วถือว่าไม่ผ่าน ตามสูตรวัดระฆัง การที่เนื้อมีความหนึกนุ่ม เนื่องจาก การใช้ปูนเปลือกหอย ผสมกับน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง เป็นปูนเพชร และที่สำคัญ การนำกระดาษว่าวที่หลวงปู่โต ได้ลงอักขระไว้ มาผสมกับปูนเพชร ซึ่งอาจจะมีข้าวเหนียวที่ทำให้หนึกนุ่มมากขึ้น และ ที่สำคัญ คราบน้ำปูนขาวบริเวณผิวพระ เป็นตัวสำคัญเมื่อผสมกับ น้ำตาล กระดาษว่าว ทำให้พระสมเด็จวัดระฆัง มีคุณสมบัติพิเศษ คือ หนึกนุ่ม แต่มีบางนักวิชาการ กล่าวว่า ผงศิลาธิคุณ เป็นตัวประสานที่ทำให้พระสมเด็จไม่แตกง่าย และยังมีความแกร่งเพิ่มอีกรวมทั้งเพิ่มความหนึกนุ่ม ซึ่งเป็น มวลสารพิเศษ ที่ไม่มีในพระสมเด็จอื่นๆ
    ?temp_hash=4a61616a5c4675975c7d10b309745315.jpg

    2. น สอง (รักน้ำเกลี้ยง) พระสมเด็จวัดระฆัง มักนิยมลงรักน้ำเกลี้ยง ซึ่งนิยมทาผิวพระสมเด็จ ไม่ให้เสียหายชำรุด และ จะนิยมลงรัก ปิดทอง หรือ ชาด หรือ สมุก หรือ เทือก เพื่อความสวยงาม ยิ่ง ลงรักดำ มักจะปิดทองไปด้วย การสร้างพระสมเด็จเพื่อถวาย ข้าราชบริพารในวัง เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือ ถวายพระมหากษัตริย์ เนื่องในโอกาสำคัญ เช่น การสวรรคตของรัชกาลที่ 4 หรือ การขึ้นครองราชย์ ของรัชกาลที่4 และ 5 มักจะมีการปิดทองไปด้วย การทารักน้ำเกลี้ยง เป็นการรักษาผิวพระสมเด็จ เมื่อรักดำหลุดร่อน ไป ก็จะคงสภาพของรักน้ำเกลี้ยงให้เห็นตามผิวพระสมเด็จจะมีสีน้ำตาลอ่อนๆ แต่บางองค์ ที่มีการลงชาด แดงจากจีน สภาพผิวพระสมเด็จ จะมีสีแดงลูกหว้าแดงอมม่วง
    screenshot_20170702-052838-png.png

    3. น สาม (น้ำหนัก) มีนักวิชาการได้แย้งข้อมูล ในเรื่องนี้กันมากมาย แม้กระทั่ง พระธรรมถาวรช่วง ศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่โต เคยบอกว่า พระสมเด็จแห้ง จะมีน้ำหนักเบากว่าปกติ อันนี้ เข้าใจว่า ถ้าเป็นพระสมเด็จที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งาน แต่เมื่อไร พระสมเด็จ ที่ผ่านการใช้งาน ห้อยคอ สภาพความชื้น เหงื่อ ก็มีโอกาสถูกดูดซับด้วยเหงื่อ มากขึ้น ทำให้ พระสมเด็จ มีความหนึกนุ่ม และ มีน้ำหนักมากขึ้น

    4. น สี่ (น้ำมันตั้งอิ้ว) การศึกษาพระสมเด็จ วัดระฆัง ถือว่า การศึกษา สภาพของน้ำมันตั้งอิ้ว เป็นเรื่องสำคัญ และ เป็นจุดที่จะศึกษาว่า พระสมเด็จ มีสภาพอายุนานเก่าแก่ เมื่อได้เปรียบเทียบกับสภาพของน้ำมันตั้งอิ้ว ได้เลย การศึกษาสภาพธรรมชาติของน้ำมันตั้งอิ้ว เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นประสบการณ์ของผู้ที่สะสมและศึกษาพระสมเด็จ ต้องเรียนรู้ และ ได้เห็นสภาพจริงๆ ตาต้องคมจำแม่น ด้วยสภาพธรรมชาติของพระสมเด็จ ที่ผ่านความร้อนอบอ้าวของอากาศ ประสานกับความชื้น ตลอดระยะเวลาเป็นเวลา 140 ปีขึ้นไป ย่อมมีอะไร ที่จะบ่งบอกถึงสภาพของน้ำมันตั้งอิ้ว ที่ถึงอายุ อย่างเช่น คราบน้ำมันตั้งอิ้ว รอยจั้มของน้ำมันตั้งอิ้ว หลุมบ่อของน้ำมันตั้งอิ้ว การซึมลึกของน้ำมันตั้งอิ้ว การตกผลึกของน้ำมันตั้งอิ้ว และ การไหลเยิมฉ่ำของน้ำมันตั้งอิ้ว และ สีวรรณะน้ำมันตั้งอิ้ว
    ?temp_hash=4a61616a5c4675975c7d10b309745315.png

    การยึดหลัก 4 จ
    1. จ แรก จุดดำ พระสมเด็จวัดระฆังที่มีสูตรตายตัว เนื่องจากเนื้อมวลสารหลักของพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นเนื้อปูนเปลือกหอย ซึ่งเข้าใจว่า หลวงปู่โต ได้ นำมาจาก ลพบุรี ตอนที่ ท่าน ไปถวายผ้าป่า กราบไหว้พระพุทธบาท เป็นประจำทุกปี ปูนขาวเปลือกหอยเกิดจาการนำเปลือกหอยมาเผาด้วยไม้ฟืนที่อุณภูมิสูงดังนั้นย่อมมีขี้เถาสีดำผสมอยู่ในปูนขาวซึ่งเป็นจุดดำ อยู่ในปูนขาวมากมาย นอกจากนี้ มีการนำใบลานลงอักขระและเขียนยันต์ มาเผา หรือแม้กระทั่งแม่พิมพ์ไม้แก่นเก่าๆนำมาเผาแล้วผสมกับปูนขาวอีกครั้ง
    screenshot_20170701-230134-png.png

    2. จ สอง จุดแดง เข้าใจว่าเป็นการ นำพระกำแพงซุ้มกอ หรืออิฐแดง จากเมืองกำแพงเพชร คราวที่หลวงปู่โตได้เดินทางไปเยี่ยมโยมแม่ หรือธุดงค์ไปตามภาคเหนือ และได้นำมาบดจดละเอียดแล้วคลุกเคล้ากับปูนเพชร
    screenshot_20170701-230134-png.png

    3. จ สาม จุดน้ำตาล หลวงปู่โต ได้นำเกสรดอกไม้ เกสรดอกบัว เมล็ดกล้วย ว่าน108 มาเป็นมวลสารในการ สร้างพระสมเด็จเวลาส่องพระสมเด็จให้ละเอียดจะเห็นเป็นเม็ด หรือจุดสีน้ำตาลมากมาย
    ?temp_hash=4a61616a5c4675975c7d10b309745315.png

    4. จ สี่ จุด ขาวใส/ขาวขุ่น ในเนื้อพระสมเด็จมักจะเห็น ก้อน หรือ ผงมวลสาร สีขาวใส และ สีขาวขุ่นอมน้ำตาล ส่วนใหญ่แล้วปูนเพชร ที่ นำปูนขาวเปลือกหอยมาผสมกับน้ำตาล และโขกตำในครกซึ่ง ตำแล้วจะไม่ละเอียดนัก ก็จะเห็นเม็ดหรือก้อนสีขาวใส ซึ่งเป็นเศษเปลือกหอย ส่วนก้อนหรือผงขาวขุ่นอมน้ำตาล เข้าใจว่าเป็นผงพุทธคุณ ผงวิเศษทั้ง5 ของหลวงปู่โต ซึ่งทำจากดินสอพองจากลพบุรีเช่นกัน ที่นำมาผสมกับปูนเพชร ซึ่งก็จะมีลักษณะเป็นก้อนหรือผงเล็กๆอยู่ตามเนื้อพระสมเด็จ เมื่อระยะแรกๆจะมีสีขาวขุ่น พอระยะเวลานานเป็น 100กว่าปี สีขาวขุ่นก็จะแปรสภาพเป็น สีขาวอมน้ำตาล และ จะมีสภาพหดตัวฝังเป็นหลุมอยู่ในเนื้อพระสมเด็จอยู่ห่างๆจากเนื้อพระสมเด็จ
    screenshot_20170701-230134-png.png

    การยึดหลัก 4 ม
    1. ม แรก ไม่กระด้าง พระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์ ต้องมีความหนึกนุ่ม และ แห้งเหี่ยว ยุบ แยก ย่อ ย่น แต่ผิวพระต้องดูแล้วไม่ตึงและ กระด้าง บางครั้งสีวรรณะของผิวและเนื้อพระดูจืดๆ ไม่ธรรมชาติ
    p7170826-3-jpg.jpg

    2. ม สอง ไม่ตัดขอบพระตรง เนื่องจากสมัยก่อน การแกะพระสมเด็จออกจากแม่พิมพ์ จะต้องมีการตัดกรอบพระสมเด็จให้สวยงามโดยการตัดด้วยไม้ตอก ดังนั้นขอบด้านข้างของพระสมเด็จทุกด้านจะไม่เรียบตรง เหมือนกับการปั้มพระสมเด็จจากโรงงาน ด้านข้างของพระสมเด็จ จะมีลักษณะไม่เรียบ มีรอยขรุขระ ไม่เรียบของมวลสาร บางครั้งจะสังเกตเห็นเป็นหลุมของเนื้อพระสมเด็จชัดเจน
    ?temp_hash=2fd7706d4df2733addb92a7d59729033.png

    3. ม สาม ไม่แตกระแหง พระสมเด็จวัดระฆังส่วนใหญ่ ต้องไม่มี การแตกระแหง แบบทุ่งนาที่แห้งเกรียมแบบนั้น การมีเส้นแตกระแหงใหญ่ ดูเหมือนการนำพระสมเด็จไปให้ความร้อน ด้วยเตาอบเป็นการเร่งให้แห้งแบบผิดธรรมชาติอย่างชัดเจน
    screenshot_20170701-234129-png.png

    4. ม สี่ คราบแป้งไม่ขาว อมเทา คราบแป้งถือว่า เป็นเรื่องที่ คลาสิกมาก ในการศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังสูตรที่น่าเป็นจุดตายเลยก็ว่าได้ ถ้าหากไม่นำพระสมเด็จอายุกว่า 140 ปี มาล้างเสียก่อน คำถามมีอยู่ว่า คราบแป้งมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยหลักการแล้ว เวลาพิมพ์พระสมเด็จตอนแรกสภาพพระจะมีเนื้อเปียก และ บริเวณผิวพระจะมีคราบน้ำปูนใสปรากฏให้เห็น เมื่อนานวันเข้า คราบดังกล่าวจะแห้งตัวแล้วกลับกลายเป็นคราบแป้ง ถึงแม้ว่าบางองค์จะไม่มีคราบปูนน้ำใสบนผิว ในกรณีเนื้อพระไม่เปียก แต่ก็จะมีการทำปฎิกิริยาทางเคมี กับ อากาศ ทำให้เกิดการคลาย คราบแป้งออกมาบนผิวพระผ่านรูเนื้อพระสมเด็จ ซึ่งพระสมเด็จจะมีรูพรุน ฟองอากาศ หรือที่เรียกว่า ตามด ให้เห็นมากมาย และจะปรากฏคราบแป้งให้เห็น เป็นรอยตามซอก ขอบพระ บางนักวิชาการ บอกว่า เป็นแป้งโรยพิมพ์บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ จะเห็นเฉพาะด้านหน้า โดยด้านหลังจะไม่มีการโรยแป้งโรยพิมพ์แต่อย่างไร แต่ถ้าเราได้ศึกษากันให้ถ่องแท้ พระสมเด้จวัดระฆัง ด้านหลังจะเห็นคราบแป้งได้เหมือนกัน ดังนั้น การที่บอกว่า เป็นแป้งโรยพิมพ์ อาจจะไม่ใช่ก็ได้ และ ที่สำคัญ ลักษณะคราบแป้ง หรือ บางครั้งเรียกว่า คราบแคลเซียม จะมีสีไม่ขาวเลยทีเดียว จะออกสีขาวอมเทาซะส่วนใหญ่ ถ้าพระสมเด็จองค์ไหน เห็นเป็นแป้งขาวๆๆจำนวนมากๆ น่าจะผิดปกติ ไม่ธรรมชาติ ถือว่า ตีเป็นพระเก๊ได้เลย และ คราบแป้งจะต้องเกาะติดบนผิวค่อนข้างแน่น ขูดลอกออกค่อนข้างยาก
    ?temp_hash=2fd7706d4df2733addb92a7d59729033.png

    การให้คะแนน พระสมเด็จวัดระฆัง 5 ข้อใหญ่ 4 ข้อย่อย รวม 20 ข้อ ให้ คะแนน ข้อละ 5 คะแนน รวม100 คะแนน จะทำให้การศึกษา พระสมเด็จ ทางวิทยาศาสตร์ จะได้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2017
  8. พงษ์666

    พงษ์666 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +27
  9. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    สมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ยังมีพิมพ์ทรงไม่ใช่หลายจุด เช่นทรงฐานชั้นล่าง, ช่องว่างระหว่างฐานชั้นล่างและกรอบซุ้มด้านล่างห่าง, ลักษณะฐานชั้น1กว้างแต่ไม่หนา,ไม่เห็นเท้าซ้ายอยู่ใต้แข้งขวา,อื่นๆอีกหลายจุดครับ
     
  10. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    วัสดุที่ไช้ในการสร้างพระสมเด็จ
    พระสมเด็จของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จโตฯ ที่ได้สร้างขึ้นนั้น ท่านได้ผสมด้วยผงวิเศษถึง 5 อย่างด้วยกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วกล่าวกันว่า อานุภาพของผงวิเศษ 5 อย่างนี้มีคุณานุภาพมากมายนักสุดที่จะพรรณนาดังเช่น

    1. ดินสอมหาชัย
    ท่านได้เก็บรวบรวมมาจากการศึกษาอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ อันได้แก่การเขียนพระเวทย์อันศักดิ์สิทธิ์ จากพระตำหรับคัมภีร์พุทธาคม อันได้แก่ ผงปัตถะมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห ซึ่ยากยิ่งนักที่บุคคลทั้งหลายจะทำได้สำเร็จ อานุภาพก่อให้เกิดลาภผลต่าง ๆ แก่ท่านผู้ที่ได้นำไปใช้ ผงวิเศษ 5 อย่างนี้มีคุณวิเศษที่สุดยากที่จะหาได้ง่ายนัก

    2. ข้าวสุก
    ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จโตฯ ได้มาจากการบิณฑบาตและได้นำมาผสมกับผงวิเศษของท่านในการสร้างพระสมเด็จ โดยท่านแบ่งออกเป็นสี่ส่วน คือ 1. สำหรับท่านฉัน 2. แบ่งให้ลูกศิษย์ 3.ให้ทานแก่นก กา 4. ที่เหลือนำมาผสมในการสร้างพระเครื่อง

    3. กล้วยน้ำ (กล้วยหอมจันทร์)
    ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ท่านเอาทั้งเปลือกและเนื้อมาบดตำให้ละเอียดแล้วนำมาผสมในการสร้างพระเครื่อง

    4. ผงเกสรดอกไม้
    ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จโต จะถือเอานิมิตอะไรก็เหลือทราบแต่เท่าที่ทราบก็คือท่านได้เดินตามรอยอย่างของโบราณาจารย์ทั้งสิ้น

    5. ปูนขาว
    ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จโต มิใช้ปูนขาวทาผนัง แต่ท่านได้นำเอาเปลือกหอยตามชายทะเลและที่ชาวบ้านบริโภคเนื้อทิ้งเปลือกไว้ท่านได้นำมาเผา แล้วนำมาบดตำจนละเอียดเป็นผงแป้ง ใช้เป็นวัสดุส่วนสำคัญที่ต้องการปริมาณมากในการผสมพระสมเด็จ ส่วนน้ำมันตั้งอิ๋วมีส่วนผสม กับน้ำพุทธมนต์เพื่อการหล่อหลอมตัวเกี่ยวของเนื้อพระให้ให้ยึดแน่น ไม่เปราะหักแตกง่าย จะเห็นได้ว่าพระสมเด็จ ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยผงวิเศษต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ จึงมีคุณานุภาพมากมายยิ่งนัก เพราะเหตุนี้จึงเป็นที่ต้องการของมหาชนยิ่งนัก ทำให้เกิดการทำพระปลอมแปลง เลียนแบบ มาหลอกแลกเปลี่ยนชื้อขายกันมากมาย จึงขอให้ระวัง

    ลักษณะเนื้อของพระสมเด็จ
    เนื้อพระสมเด็จ หลักใหญ่แล้วมีอยู่ ๒แบบ คือ "เนื้อแกร่ง" และ "เนื้อหนึกนุ่ม" นอกจากนั้นแล้วยังแบ่งการพิจารณาออกเป็นหลายรายการ ดังนี้คือ ความละเอียด ปรกติเนื้อพระสมเด็จ จะมีลักษณะค่อนข้างละเอียดเพราะเป็นเนื้อปูน ต่างกับพระดินเผาประเภทอื่น ๆ ส่วนเนื้อหยาบก็มีปรากฏบ้างเหมือนกันแต่ส่วนมากจะเป็นหย่อม ๆ ของเนื้อ และมวลสารของเนื้อ เหล่านี้ทำให้เกิดความซึ้งตายิ่งนักความนุ่ม เป็นคุณลักษณะของเนื้อที่สึกได้จากการพิจารณาด้วยนัยน์ตาเป็นส่วนใหญ่ และอาจใช้นิ้วมือสัมผัสก็ได้เช่นกัน เนื้อที่มีความนุ่มมากๆ มองดูจะเห็นความนุ่มของเนื้อไม่กระด้างนัยน์ตา นุ่มมือเล็กน้อย ลองสัมผัสมือดูก็จะรู้สึกถึงความนุ่มได้

    ซึ่งทั้งนี้ มิใช่ว่าพระสมเด็จที่สร้างออกมาจะมีการไปอยู่เรื่อยๆก็หาไม่แต่ทว่าที่สำคัญ ก็คือแบบพิมพ์ที่มาตรฐาน (จำแบบพิมพ์ของจริงไว้ให้แม่น) แต่พระนอกพิมพ์ถ้าไม่แม่นจริงควรหลีกเลี่ยงให้ไกล เพราะเท่ากับเป็นการหนีพระเก้ให้มากขึ้นดดยปลอดภัยโยขอให้ท่านจำแบบพิมพ์-เนื้อที่มาตรฐาน (ขอให้ดูพระสมเด็จฯแท้ๆจำให้ขึ้นใจ) เพื่อท่านจะได้พระสมเด็จแท้ไว้บูชา

    1. ความละเอียด
    โดยปกติเนื้อพระสมเด็จ จะมีลักษณะค่อนข้างละเอียดเพราะเป็นเนื้อปูนเปลือกหอยเผาแล้วนำมาตำจนละเอียด ส่วนเนื้อหยาบก็มีบ้างเหมือนกันความนุ่ม เป็นคุณลักษณะของเนื้อที่รู้สึกได้จากนัยตา หรือใช้นิ้วมือสัมผัสก็สามารถรู้ได้ไม่ระคายกระด้างมือ ความจริงโครงสร้างภายไนของเนื้อ ย่อมมีความแข็งแกร่งแฝงอยู่เป็นอันมากเสมอ แต่จะมีความนุ่มเฉพาะบริเวณผิว ๆ เท่านั้น และความนุ่มนี้จะตรงกันข้ามกับความกระด้าง

    2. ความแกร่ง
    ลักษณะของความแกร่งที่เกิดจากมวลสารของปูนเปลือกหอยซึ่งจับตัวกันแข็งแกร่ง แต่มิได้หมายถีงความกระด้าง ทั้งนี้ของจริง ๆ นั้นในขณะที่เนื้อมีความแกร่ง แต่ผิวของเนื้อก็คงแขวงไปด้วยความนุ่มนวลนั่นเองและผิวมองคล้ายกับผิวของกระเบื้องกังใส

    3. ความหนึก
    เป็นคุณสมบัติของความนุ่มความแกร่งน้ำหนักก็เป็นคุณสมบัติสำคัญของแท้ ส่วนของไม่แท้นั้นจะปราศจากความหนึกเพราะเนื้อพระยังไม่เก่าพอ ข้อสำคัญจะต้องหัดดูความเก่าให้แม่น แล้วท่านปลอดภัยกับพระปลอมที่ระบาดอยู่ทั่วไป

    4. ความฉ่ำ
    เป็นลักษณะที่ควบคู่กับความนุ่มเกิดจากเนื้อมีความนุ่มและเงาสว่าง แต่เนื้อประเภทแกร่งก็มีความฉ่ำเช่นเดียวกัน ถ้าเกิดเงากระจ่างเพราะถูกใช้มาพอสมควร

    5. ความซึ้ง
    เกิดจากเกิดจากมวลสารของเนื้อ อันผสมด้วยวัสดูซึ่งมีวรรณะต่างๆกันทำให้เกิดความซึ้งต่างๆกัน ทำให้เกิดความซึ้งภายในเนื้อพระขึ้นเช่นวรรณะหม่น ๆ ของผงวิเศษและผงเกษรดอกไม้ต่างๆซึ่งมีวรรณะหม่นๆ ย่อมตัดกับเนื้อนวลๆของกล้วยผสมกับปูนเปลือกหอย และวรรณะขาวนวลของแป้งโรยพิมพ์เป็นต้น ความซึ้ง เกิดจากมวลสารของเนื้ออันผสมด้วยวัสดุซึ่งมีวรรณะต่างๆกันทำให้เกิดวรรณะหม่น ๆ ของผงวิเศษและ เกษรดอกไม้ต่าง ๆ ซึ่งมีวรรณะหม่น ๆ ย่อมตัดกับเนื้อนวล ๆ ของก้วยผสมด้วยเนื้อปูน และวรรณะขาวนวลของแป้งโรยพิมพ์ ดังนี้เป็นต้น

    6. การแตกลายงา
    เกิดจากการที่เนื้อถูกลงรักน้ำเกลี้ยงตอนทำเสร็จใหม่ ๆ และเนื้อพระยังไม่แห้งสนิทดีเมื่อรักล่อนออกก็จะแตกลายงาอย่างละเอียด ของเนื้อด้านหน้า และด้านหลังจะไม่แตกลายงา ล่องรอยการแตกลายงาจะต้องมีสีของรักติดฝังอยู่ในรอยลายงานั้นเสมอ เนื้อที่แตกลายงานั้นส่วนมากจะเป็นเนื้อแกร่งแต่ถ้าเป็นพระประเภทเนื้อหนึกนุ่ม ก็จะไม่แตกลายงาหรือจะมีก็แค่เพียงรอยตื้น ๆ ในบริเวณส่วนน้อยเท่านั้นแต่ถ้าเป็นเนื้อที่แห้งสนิทดีแล้วก็จะไม่แตกรายงาเช่นเดียวกันการแตกลายสังคะโลก เป็นการแตกลายที่ละเอียดและตื้นกว่าลายงาและส่วนมากจะแตกทางด้านหน้า ด้านหลังมีบ้างเหมือนกันเป็นส่วนน้อยและเป็นลายตื้น ๆ การแตกลายงาชนิดนี้มิได้เกิดจากการทารักแต่เป็นการเกิดปฎิกิริยาของปูนเมื่อแข็งตัวความแห้งตัวและความแข็งตัวของเนื้อพระไม่เท่ากันจึงแตกรานขึ้นมาและจะเกิดกับเนื้อประเภคแกร่งเท่านั้นคาบแป้งโรย คือคาบผิวนวล ๆ ที่เกิดจากพระที่ไม่ค่อยได้ใช้หรือเกิดจากการเอาพระสรงน้ำแล้วผึ่งให้ผิวแห้งเกิดได้ทั้งเนื้อแกร่งและเนื้อนุ่ม

    7. ทรายเงินทรายทอง
    เป็นอนุภาคอันละเอียดผสมผสารอยู่ในเนื้อพระเป็นส่วนน้อยแต่สำหรับบางองค์ ก็จะบังเกิดอยู่ตามผิวถ้าใช้แว่นขยายส่องดูอย่างละเอียดโดยเฉพาะจะมีมากสำหรับเนื้อแกร่ง หรือเนื้อหนึกแกร่ง
     
  11. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    เนื่องในวันมาฆบูชา จึงขอแชร์รูปสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ ที่ผมถ่ายความละเอียดสูงเทียบเท่ากับใช้กล้องส่องพระขนาด50x ซึ่งจะเห็นมวลสารต่างๆที่เล็กระดับอณูได้ชัดเจน เพื่อเป็นวิทยาทานให้สมาชิกได้ศึกษาการดูมวลสารและธรรมชาติความเก่าของสมเด็จวัดระฆังครับ

    ภาพตัวอย่างมวลสารเกษรดอกไม้ ผงพุทธคุณ เม็ดพระธาตุ เม็ดข้าวสุก ชิ้นส่วนของพระกำแพงพระซุ้มกอ และส่วนผสมต่างๆในสมเด็จวัดระฆัง

    ?temp_hash=be15ad183217c7df88bedd3c095c4b81.png

    ?temp_hash=be15ad183217c7df88bedd3c095c4b81.png

    ?temp_hash=be15ad183217c7df88bedd3c095c4b81.png

    ?temp_hash=be15ad183217c7df88bedd3c095c4b81.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2018
  12. sritrang

    sritrang เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    6,151
    ค่าพลัง:
    +1,622
    ขอบคุณครับ ตามหามาตลอด
     
  13. annny853

    annny853 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2018
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณมากเลยค่ะ พี่ชาย ก็ชอบดูพระมากๆ เด๊ยวจะเอาไปให้พี่ดูซะแล้ว
     
  14. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    วันนี้เอาคลิปเรื่องเล่าชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสีมาที่ได้รับจากการจัดพิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์ตำรวจ คุณไชย เอี่ยมประเสริฐ เจ้าของสำนักพิมพ์อักษรประเสริฐ ผู้มีศรัทธาในสมเด็จเป็นอันมากได้รับจัดพิมพ์เกียรติประวัติ ของสมเด็จเสนอแด่ประชาชน
    โดย: “ฉันทิชัย”
    เล่ม๑ ปี ๒๔๙๕
    ?temp_hash=15cb0b20557f3aad8af6049a2ff8f4ca.jpg

    เล่ม๒
    ?temp_hash=454d314ed6e12ea1957b1511bab0599e.jpg
    ได้ประโยชน์และความรู้มากๆ สามารถเข้าไปดูทั้ง25ตอนเต็มๆได้ที่นี่

    https://www.youtube.com/playlist?list=PLjxkLKiqeAhgUZOb5j98Pyq1WsgbZCdcy

    จาก25ตอน ผมขอเลือกตอนที่เกี่ยวกับกับการสร้างพระสมเด็จมาให้ดู5ตอน

    ตอน5 อภินิหารสมเด็จ


    ตอน6 สมเด็จทรงไกเซอร์


    ตอน11 คติการสร้างพระสมเด็จ


    ตอน14 ผงวิเศษสร้างพระสมเด็จ


    ตอน25 พระคาถาชินะบัญชร


    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญกับคณะผู้จัดทำคลิปเล่าเรื่องนี้ด้วยครับ

    จากคลิป25ตอนที่ถอดจากหนังสือพระสมเด็จที่ผู้เขียนได้บรรยายสนามพระเครื่องที่ท้องสนามหลวงเมื่อประมาณ50-60ปีที่แล้ว สมัยนั้นพระสมเด็จที่นิยมกันที่สร้างโดยสมเด็จพุฒาจราย์โตมีด้วยกัน 4วัดได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พระสมเด็จเกศไชโย และพระสมเด็จกรุวัดอินทรวิหาร และสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์เป็นพิมพ์ที่หายากและแพงกว่าพิมพ์อื่นๆในสมัยนั้น แต่ปัจจุบันสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์กำลังจะเป็นตำนานในวงการพระเครื่องไปแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p_1718826.jpg
      p_1718826.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.8 KB
      เปิดดู:
      278
    • iz.jpg
      iz.jpg
      ขนาดไฟล์:
      253.9 KB
      เปิดดู:
      300
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2019
  15. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    วันแม่หยุดยาว3วัน มีเวลาเปิดตลับพระสมเด็จหยิบพระมาส่อง มาถ่ายรูป ด้วยความละเอียดสูงขนาด50ล้านพิกเซล หากถ่ายรูปเต็มองค์เมื่อขยายภาพจะเท่ากับการใช้กล้องส่องพระ50X หากถ่ายองค์องค์ขยายภาพจะเท่ากับการใช้กล้องส่องพระ100X สามารถนำถ่ายภาพที่ได้มาใช้ศึกษามวลสารต่างๆและธรรมชาติความเก่าของพระเนื้อปูนเปลือกหอยอายุ150ปีได้

    ?temp_hash=f214602789b79bedf256e46fe47aa689.jpg

    ภาพถ่ายด้านบนเมื่อขยายส่วนพระเศียรองค์พระ10X จะเห็นผงพุทธคุณ, เม็ดแร่, ผงก้านธูปและเกสรที่มีการหดตัวตามการเวลา รอยแยกและรอยหดตัวต่างๆจะมีร่องรอยประสานตัวของเนื้อปูน และจะเริ่มเห็นผลึกแคลไซล์ปรากฏให้เห็นชัดขึ้นด้วยกำลังขยาย50X
    ?temp_hash=f214602789b79bedf256e46fe47aa689.jpg

    ขยายภาพส่วนพระเศียรขึ้นเป็น50X จะเห็นเนื้อปูนมีผลึกแคลไซล์สะท้อนแสงชัดเจนเล็กน้อย
    ?temp_hash=f214602789b79bedf256e46fe47aa689.jpg

    ขยายภาพส่วนพระเศียรขึ้นเป็น100X จะเห็นเนื้อปูนมีผลึกแคลไซล์สะท้อนแสงชัดเจน
    ?temp_hash=3ac72af4dbe62753a738f00ba31fda8b.jpg

    ขยายภาพส่วนพระอุระและสังฆาฏิ 10X เม็ดมวลสารต่างๆและการหดตัว โดยเฉพาะจุดแดงมวลสารที่ต้องมีในสมเด็จวัดระฆัง
    ?temp_hash=74a1088dd33670e10806e84f8acb9edd.jpg

    ขยายภาพส่วนพระอุระเป็น50X
    ?temp_hash=74a1088dd33670e10806e84f8acb9edd.jpg

    ขยายภาพส่วนพระอุระเป็น100X ผลึกแคลไซล์ปรากฏตามผิวพระและสะท้อนแสงชัดเจน
    ?temp_hash=ea2d3ff9f195bf96bed08178e6715fae.jpg

    ขยายภาพส่วนฐานพระช่วงกลาง10X
    ?temp_hash=d2c0845982651ab4879d588b9c713dee.jpg

    ขยายภาพส่วนฐานพระช่วงกลางติดเส้นซุ้มด้านล่าง50X เริ่มเห็นผลึกแคลไซล์สะท้อนแสง
    ?temp_hash=d2c0845982651ab4879d588b9c713dee.jpg

    ขยายภาพส่วนฐานพระชั้นล่าง100X จะเห็นผลึกแคลไซล์สะท้อนแสงชัดเจนมากขึ้น
    ?temp_hash=c69421fd91c43b7c9859cb47bc277918.jpg
    ขยายภาพส่วนฐานพระและเส้นซุ้มด้านซ้ายมือเรา10X
    ?temp_hash=c4989ad287a72e51a5922aea30b22f29.jpg

    ขยายภาพส่วนฐานพระด้านซ้ายมือเรา50X
    ?temp_hash=c4989ad287a72e51a5922aea30b22f29.jpg

    ขยายภาพมวลสารผนังอยู่ระหว่างฐานพระและเส้นซุ้มด้านซ้ายมือเรา100X เห็นมวลสารเกสรต่างๆ
    ?temp_hash=7337d1f7d2f7d4b14bdaf2e4f37f7d5b.jpg

    ขยายภาพส่วนฐานพระและเส้นซุ้มด้านขวามือเรา10X
    ?temp_hash=81ca8a7de650e64097a85f62d612f0c3.jpg

    ขยายภาพส่วนฐานพระด้านขวามือเรา50X
    ?temp_hash=81ca8a7de650e64097a85f62d612f0c3.jpg


    ขยายภาพมวลสารผนังอยู่ระหว่างฐานพระและเส้นซุ้มด้านขวามือเรา100X เห็นมวลสารเกสรต่างๆบริเวณรอยแยก
    ?temp_hash=f747f00f51478742a4d4cec1e7d21a49.jpg

    พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ องค์นี้ มีเนื้อเช่นเดียวกับเนื้อเกสรดอกไม้ คือมีเนื้อละเอียดขาวขุ่น เหมือนสีงาช้าง เนื้อแบบนี้นี่แหล่ะ ที่เรียกว่า เนื้อเกสรดอกไม้ มิได้หมายความว่า เป็นเนื้อที่สร้างจากผงเกสรดอกไม้ล้วนๆ หากมีความหมายเพียงว่า เป็นเนื้อที่ประกอบด้วยอนุภาคมวลสาร อันละเอียดนุ่มนวลต่างๆ อุปมาดั่งเกสรบุปผชาตินานาพรรณ
    และเป็นเนื้อที่ปรากฏเฉพาะของวัดระฆัง เท่านั้น

    ?temp_hash=0b1d7fec4dc631ef58a2d621062a7a42.jpg

    ?temp_hash=0b1d7fec4dc631ef58a2d621062a7a42.jpg

    ?temp_hash=0b1d7fec4dc631ef58a2d621062a7a42.jpg

    ?temp_hash=0b1d7fec4dc631ef58a2d621062a7a42.jpg
    มวลสารต่างๆ เช่นเม็ดทรายแก้วลักษณะเม็ดใส เศษพระซุ้มกอ พระกำแพงและการเกิดผลึกแคลไซล์ที่งอกมาตามอายุของพระเนื้อปูนเปลือกหอยทำให้พระสมเด็จวัดระฆังจึงมีความหนึก จะหนึกนุ่มและหนึกแกร่งขึ้นอยู่กับส่วนผสมของมวลสาร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2019
  16. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    70
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    เอาคลิปดีๆของคุณ panasit olp มาฝาก เป็นการใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการดูเนื้อปูนดิบ เนื้อปูนสุกและเนื้อปูนขาว และการแปรสภาพเนื้อปูนตามกาลเวลาของพระสมเด็จ ซึ่งสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ดีมาก เพื่อนๆลองฟังและหากสนใจคลิปต่างๆช่วยกันแชร์และ subscribe เพื่อติดตามกันได้ครับ

    • วิทยาศาสตร์เบื้องต้นในการดูพระสมเด็จ


    • คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีปูนของพระสมเด็จ

    • เนื้อปูนสุกและการพิจารณาฝ้าขาวของพระสมเด็จ

    • หลักการเลือกดูพระสมเด็จ
     

แชร์หน้านี้

Loading...