สัญญากับสติต่างกันอย่างยิ่ง (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 15 กันยายน 2018.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,917
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,021
    paragraph___203.jpg

    สัญญาความจำต้องประกอบด้วยสติ

    สัญญา คือความจำ เป็นอนัตตา คือไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการ

    ปรารถนาให้จำไว้ก็ไม่จำ

    ปรารถนาให้ลืมก็ไม่ลืม

    ปรารถนาไม่ให้จำก็จำ

    ปรารถนาไม่ให้ลืมก็ลืม

    และความจำที่เป็นสัญญา ก็เป็นความจำที่ตรงไปตรงมาทั้งชิ้นทั้งเรื่อง ดังนั้น สัญญาจึงต้องประกอบพร้อมด้วยสติ เพราะสติเป็นความระลึกได้ที่ประกอบด้วยเหตุและผล สติไม่ได้เป็นความจำแบบสัญญา

    “สัญญา” กับ “สติ” ต่างกันอย่างยิ่ง

    ความจำคือสัญญานั้น แม้จะตั้งใจรักษาไว้ก็อาจรักษาไว้ไม่ได้ ต้องลืม แต่สติความระลึกได้นั้น เมื่อสติตั้งไว้ รู้เรื่องพร้อมกับรู้เหตุรู้ผล เมื่อมีสติระลึกได้ก็จะระลึกได้พร้อมทั้งเหตุทั้งผลทั้งปวง

    สัญญาความจำกับสติความระลึกได้มีความแตกต่างกันที่สำคัญอย่างยิ่ง ในเรื่องเดียวกัน สัญญาอาจเป็นคุณ แต่ก็อาจเป็นโทษ ส่วนสติเป็นแต่คุณไม่เป็นโทษ ความพยายามมีสติระลึกรู้ จึงเป็นความถูกต้อง และเป็นไปได้อย่างยิ่งกว่าพยายามจดจำด้วยสัญญา

    ความจำอันเป็นสัญญานั้นมีผิด เพราะมีลืมและมีโทษเพราะไม่ประกอบพร้อมด้วยเหตุผลความรู้ถูกรู้ผิด โทษของสัญญาคือความไม่สงบแห่งจิตแตกต่างกับความไม่ลืมมีสติระลึกได้ ซึ่งประกอบด้วยพร้อมด้วยเหตุผล ความรู้ถูกรู้ผิดอันเป็นปัญญา

    และปัญญานั้นไม่มีโทษ มีแต่คุณ มีแต่นำไปสู่ความสงบแห่งทุกข์ ความสงบแห่งจิต และจิตยิ่งสงบเพียงใด ยิ่งตั้งมั่นเพียงใด ปัญญายิ่งสว่างรุ่งโรจน์มีพลังเพียงนั้น

    : ตนอันเป็นที่รักยิ่งของตน

    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7797
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...