สุดยอดคาถาศักดิ์สิทธิ์ ‘ขยัน-พอเพียง’ ‘แก้จน’อย่าง‘ยั่งยืน’

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 4 สิงหาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <big><big><!--Topic-->สุดยอดคาถาศักดิ์สิทธิ์ ‘ขยัน-พอเพียง’ ‘แก้จน’อย่าง‘ยั่งยืน’ </big></big> <!--MsgIDBody=0-->สถานการณ์ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อาจจะมีปัญหา และหลังเลือกตั้งครั้งใหม่ก็ยังไม่รู้ว่าจะอย่างไร แต่กระนั้นหน่วยงานรัฐที่รับนโยบาย “แก้ไขปัญหาความยากจน” ให้กับประชาชน ซึ่งก็รวมถึงกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ก็ยังคงดำเนินโครงการนี้อยู่ โดยยึดหลักการเข้าถึง และสองฝ่ายร่วมมือกัน

    ครัวเรือนยากจนต้องพร้อมที่จะร่วมมือกับภาครัฐ...

    และต้องใส่ใจการแก้ปัญหาความยากจนของตนเอง...

    กับ การดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในส่วนของกรมการพัฒนาชุมชนนี้ มีการตั้งเป้าไว้ที่ 74,435 หมู่บ้านทั่วประเทศ โดยจะพยายามทำให้ประชาชนในครัวเรือนมีรายได้มากกว่า 1,230 บาทต่อคน ต่อเดือน หรือมีรายได้เฉลี่ย 20,000 บาทต่อคนต่อปี ภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้เริ่มเดินเครื่องตั้งแต่ปี 2549-2551 และใช้งบประมาณในการดำเนินการกว่า 398 ล้านบาท

    “ขณะนี้การ ปฏิบัติการแก้จนแบบเข้าถึงทุกครัวเรือนในหลายพื้นที่พบว่ามีความก้าว หน้า”...อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ ระบุ พร้อมทั้งเผยว่า...ล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการติดตามการปฏิบัติ การแก้จนในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งได้ดำเนินการกับครัวเรือนกว่า 3,000 ครัวเรือน โดยการ “สนับสนุนกิจกรรมเพิ่มรายได้” ให้ครัวเรือนยากจน ปรับวิถีการดำรงชีวิต และสนับสนุนการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ เน้นให้ครัวเรือนยากจนมีการดำรงชีวิตตามแนวพระราชดำริ “ยึดหลักเศรษฐกิจ พอเพียง”

    “สำหรับเป้าหมายระยะที่ 1 ในปี 2549 นี้ ตั้งไว้ว่าครัวเรือนยากจนทั่วประเทศต้องได้รับการแก้ปัญหาแบบเข้าถึงจำนวน 1 ล้านครัวเรือน และสามารถยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน 463,154 ครัวเรือน ส่วนปีถัดไปคาดหวังว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และในปีสุดท้าย ปี 2551 จะทำซ้ำในพื้นที่ทั้งหมด”...อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนกล่าว

    หากโครงการสัมฤทธิผลตามเป้า...ก็ย่อมเป็นเรื่องดี

    ทั้ง นี้ โครงการดังกล่าวนอกจากเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องแล้ว กลไกสำคัญอีกกลไกหนึ่งก็คือประชาชนที่อาสาทำหน้าที่เป็น “ชุดปฏิบัติการแก้จน” ภายในชุมชนของตนเอง ซึ่ง วิชาญ พันธุเวช เลขากองทุนหมู่บ้านโค้งดารา หมู่ 6 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ก็เป็นหนึ่งในชุดปฏิบัติการอาสา

    วิชาญบอกว่า...ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบ ในพื้นที่ ต.หนองขาม คือ ปัญหาเรื่องของที่ดินทำกิน รวมไปถึงปัญหาสังคม ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการแก้ปัญหาไปแล้ว แต่ก็ยังเหลืออีกจำนวนหนึ่งที่ยังรอรับการแก้ไข ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ชุดอาสาปฏิบัติการแก้จนมีจำนวนน้อย และก็ต้องประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวไปด้วย

    อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงทุกครัวเรือนโดยเจ้าหน้าที่อาสา ก็ทำให้ได้สัมผัสกับครัวเรือนยากจนอย่างใกล้ชิด ทำให้ทราบสาเหตุปัญหาความยากจนที่แท้จริงของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด รวมไปถึงการแนะนำให้ทำ “บัญชีครัวเรือน” เพื่อที่จะได้ทราบและควบคุมรายรับ- รายจ่ายในแต่ละเดือนของตนเองได้

    “บางครัวเรือนมีทักษะในการ ประกอบอาชีพ แต่ขาดการสนับสนุน จึงไม่สามารถหาทางออกจากความยากจนของตนเองได้ แต่เมื่อได้รับการช่วยเหลือและได้รับคำแนะนำก็ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก เดิมและสามารถพึ่งตนเองในระยะยาวได้”...เจ้าหน้าที่ชุดอาสาปฏิบัติการแก้จน รายนี้กล่าว

    พร้อมทั้งยกตัวอย่างว่า...กรณีของครอบครัว สมาน อู่วิเชียร อายุ 65 ปี ชาวบ้านหมู่บ้านโค้งดารา ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แต่เดิมนอกจากนายสมานเองแล้วก็ยังมีภรรยาช่วยทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเสริมไป ด้วย แต่จำนวนรายได้ที่เข้ามาก็ยังไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่ต้องเลี้ยง 4 ชีวิตในครอบครัว

    ตัวนายสมานเองนั้นมีทักษะในการทำไม้กวาดทาง มะพร้าว ดังนั้นนอกจากรับจ้างทั่วไปแล้วก็ใช้เวลาว่างจากการทำงานผลิตไม้กวาดขาย เพื่อหารายได้เสริม แต่ด้วยทุนรอนที่มีน้อย ซื้อวัสดุมาผลิตไม้กวาดได้ไม่มาก แต่ละเดือนผลิตและขายได้เพียง 20-30 อัน ๆ ละ 20 บาท รายได้เสริมที่ได้เข้ามาจึงยังไม่พอเลี้ยงครอบครัวอยู่ดี

    “จาก การเข้าไปช่วยเหลือ จัดหาเงินทุนหมุนเวียนให้กู้ยืมโดยปลอดดอกเบี้ย พร้อมจัดหาแหล่งจำหน่ายไม้กวาดให้ ปัจจุบันครอบครัวนี้ก็เริ่มมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”...วิชาญระบุ

    ขณะ ที่นายสมานเองก็บอกว่า...เมื่อมีเงินทุนหมุนเวียนมาซื้อวัสดุในการทำมากขึ้น และมีแหล่งจำหน่ายไม้กวาดมากขึ้นกว่าเดิมที่ทำขายแค่ในหมู่บ้าน นอกจากจะทำให้ครอบครัวตนเองมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นแล้ว ตอนนี้ ก็มีแผนที่จะรวมกลุ่มชาวบ้านในชุมชนเพื่อร่วมกันผลิตไม้กวาดจำหน่ายเป็น สินค้าชุมชนหรือสินค้าโอทอปด้วย

    “มีกำลังใจขึ้นมาก และการรวมกลุ่มก็ทำให้ชุมชนมีกิจกรรมร่วมกัน มีความสามัคคีและเข้มแข็งมากขึ้น ก็จะรวมกลุ่มให้ได้มากที่สุด คนแก่ที่อยู่บ้านเฉย ๆ ก็ให้มารวมกลุ่มกันหารายได้เสริมให้ครอบครัว”...ลุงสมาน กล่าว

    “แก้ปัญหาความยากจน” ภาครัฐยังดำเนินการอยู่

    แต่จะให้ได้ผล...ประชาชนเองก็ต้องสู้-ต้อง “ขยัน”

    และที่สำคัญต้องน้อมนำหลัก “พอเพียง” มาใช้

    ทำได้...ถึงจะไม่รวยก็ “มีกิน-มีใช้อย่างยั่งยืน”.

    "เดลินิวส์" <!--MsgFile=0-->

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td><td rowspan="2" bgcolor="#000000" valign="top"><table bgcolor="#204080" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td width="10">[SIZE=-3] [/SIZE]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...