เรื่องเด่น หนุนคณะพุทธศาสตร์”มจร” ทำวิจัยพญานาคกับพระพุทธศาสนาลุ่มน้ำโขง 5 แผ่นดิน

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 2 มีนาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    0b893e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98ce0b8a1e0b888e0b8a3-e0b897.jpg
    สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 สนับสนุนคณะพุทธศาสตร์ “มจร” ทำวิจัยพญานาคกับพระพุทธศาสนาลุ่มน้ำโขง 5 แผ่นดิน

    เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2563 ที่บริษัทไทยนครพัฒนา จำกัด สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 จัดงานลงนาม MOU และสัญญาการทำวิจัยร่วมกันกับคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เรื่อง”อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในภูมิภาคลุ่มนำ้โขง 5 แผ่นดิน” โดยการสนับสนุนของมูลนิธิวีระภุชงค์ และเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล และแผ่ส่วนบุญกุศลให้กับพญานาคในลุ่มนำ้โขง 5 แผ่นดิน โดยมีนายวินัย นางนวลละออ วีระภุชงค์ นางทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ รองประธานมูลนิธิวีรภุชงค์ นายชัช ชลวร ประธานชมรมโพธิคยา 980 นายอภัย จันทนจุลกะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รองประธาน ชมรมโพธิคยา 980 นายสุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการฯ ดร.ณัทธีร์ ศรีดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการลงนาม MOU ในครั้งนี้มี พระเมธีวรญาณ (สายเพชร วชิรเมธี ป.ธ.9,ดร.) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรวิหาร(ท่าพระจันทร์) นายชัช ชลวร นายสุภชัย วีระภุชงค์ นางทิพย์วรรณ วีระภุชงค์และดร.ณัทธร์ ศรีดี ร่วมลงนาม

    นอกจากนี้ยังมีผู้ร่วมฟังแถลงข่าวอาทินายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา นายสุรพล มณีพงษ์ อดีตเอกอัครทูตประจำกระทรวงต่างประเทศ นายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิกาคโพธิคยา ร่วมงาน

    พระเมธีวรญาณ กล่าวว่าในการทำวิจัยครั้งนี้ได้พูดคุยกับนายสุภชัยและกรรมการของสถาบันโพธคยา 980 อยู่หลายครั้งหลังจากไปที่ไปงานธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน ที่ผ่านมาก็มองเห็นว่าเส้นทางที่เราไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับพญานาคก็เลยอยากทำให้เป็นหลักเป็นฐาน พญานาคมีบทบาทปกป้องพระพุทธศาสนา แม้ว่าพระพุทธองค์จะปรินิพพานไปแล้ว พญานาคก็ยังปกป้องพระพุทธศาสนาให้ดำรงคมาถึงปัจจุบัน ทางเราอยากให้เห็นมุมมองของพระพุทธศาสนาในหลากหลายมิติโดยเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้เลยเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค เพราะมีอิทธิพลมาจากอดีต ฉะนั้นดการมาทำวิจัยเกี่ยวกับพญานาคไม่ได้หมายความว่าจะยกพญานาคเป็นสรณะหรือเป็นที่เพิ่งอันสูงสุดเหนือกว่าพระรัตน์ตรัยไม่ใช่ในลักษณะอย่างนั้นแต่เราพยายามยกย่องแด่ผู้มีคุณประโยชน์ต่อการดูแลพระพุทธศาสนา ยอมเสียสละถึงขนาดนั้น

    การลงนาม MOU ครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในส่วนของการทำวิจัย ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของพญานาค สถานะบทบาทของพญานาค มีส่วนในการทำนุบำรุงปกป้องพระพุทธศาสนา

    ด้านนายชัย กล่าวว่าเรื่องตำนานของพญานาค ซึ่งจะมีการจัดทำประวัติศาสตร์เรื่องของพญานาคเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการทำวิจัย ขอให้การวิจัยครั้งนี้ประสบความสำเร็จ

    นางทิพย์วรรณ กล่าวว่า มูลนิธิฯของเราคำว่าวีระหมายถึงความกล้าหาญที่ยืนยาว ภุชงค์หมายถึงพญานาค วีรภุชงค์ ก็คือความกล้าหาญที่ยืนยาว ซึ่งบังเอิญมาสอดคล้องกับงานวิจัยเรื่องพญานาคพอดี ทางมูลนิธิฯก็จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อให้พระพุทธศาสนาสืบทอดต่อไป ต้องขอขอบคุณพระอาจารย์สายเพชร ที่รับเป็นประธานในงานวิจัยเรื่องพญานาคและขอบคุณท่านดร.ณัทธร์ ศรีดี ที่รับทำวิจัยเช่นกัน

    นายสุภชัย กล่าวว่าการลงนามครั้งนี้สืบเนื่องมาจากงานธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง ทั้งสองครั้งที่ผ่านมา ก็มีการปริกษากันถึงประวัติเรื่องของความเชื่อของพระพุทธศาสนา เพื่อทำวิจัยร่วมกับ มจร คณะพุทธศาสน เรื่องพญานาค ที่ยังไม่มีการรวบรวมเป็นประวัติศาสตร์ พญานาคปกป้อพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังได้ขอความร่วมมือจะพระสังฆราชทั้ง 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขงขอความเมตตาจากท่านเหล่านั้นในการรวบรวมความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคก็คิดว่างานวิจัยครั้งนี้ก็จะใช้เวลา 6-8 เดือน
    ผมเชื่อว่างานวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่อย่างเป็นทางการที่ได้รับความมือจากคณะสงฆ์ทุกประเทศ การจัดระบบความเชื่อเรื่องพญานาค มันเป็นความเชื่อในวิถึพุทธที่เป็นกุศล เพราะฉะนั้นตรงนี่น่าจะเป็นจุดเชื่อมโยงของพุทธบริษัทสี่ในลุ่มแม่น้ำโขง มีความลึกซึ้งในอีกระดับหนึ่งว่าเราเป็นพี่น้องกันมา ซึ่งประเทศใน อดีตเราอาจไมมีพรหมแดนเหมือนในปัจจุบัน ก็อยากให้ความเชื่อตรงนี้จารีตประเพณี ได้คงอยู่ต่อไปคู่กับพระพุทธศาสนา 2500 ปีพุทธกาล

    ด้านดร.ณัทธีร์ กล่าวว่าพญานาคมีความสำคัญอย่างไร จากเหตุข้างต้นที่ทางสถาบันโพธิคยา 980 มีความสนใจเรื่องพญานาคแต่ไม่ได้ไว้เฉพาะตัว แต่อยากจะให้ความสนใจเรื่องพญานาคออกมาในรูปของงานวิจัย ซึ่งก็ได้กราบกับท่านเจ้าคุณสายเพชร ก็ไม่มีใครปฏิเสธที่จะทำงานวิจัยนี้ก็จะพัฒนาร่วมกันจนถึงบันนี้มีการปรึกษาหารือกันมากว่า สามเดือนแล้ว การทำงานวิจัยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับพญานาค ในประเทศไทยในอนาคตอาจมีงานวิจัยในประเทศเพื่อนบ้านต่อไป

    และจะเป็นประโยชน์ในวงกว้าง และเป็นประโยชน์ทั้งในระดับชาติ ปัจจุบันเป็นข้อถกเถียงในระดับหนึ่งว่าพญานาคเป็นความเชื่อที่เป็นตำนาน ความเชื่อที่เป็นปรำปรา หรือความเชื่อที่มันงมงาย เพราะฉะนั้นเพื่อที่จะตอบโจทก์ เราก็ให้มันเป็นไปในรูปแบบเชิงวิชาการ เนื่องจากพญานาคเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นทั้งบุคคล และเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งที่ปกป้องพระพุทธศาสนา

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/education/182331
     
  2. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 จับมือกับคณะพุทธศาสตร์ มจร. โดยการสนับสนุนของมูลนิธิวีระภุชงค์ ทำวิจัยเรื่อง “อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 5 แผ่นดิน” ที่มีต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี พร้อมผลักดันเป็นมรดกโลก

    เมื่อตอนสายวันที่ 2 มีนาคม 2563 สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) โดยการสนับสนุนของมูลนิธิวีระภุชงค์ ได้จัดแถลงข่าวและพิธีลงนามสัญญา กับ คณะพุทธศาสตร์ มจร. ในการทำวิจัยเรื่อง “อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 5 แผ่นดิน” ที่ห้องประชุม บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด อ.เมืองนนทบุรี มีนายวินัย วีระภุชงค์ ประธานมูลนิธิวีระภุชงค์ เป็นประธานในพิธี ผู้เข้าร่วมพิธี ได้แก่ พระเมธีวรญาณ(เจ้าคุณสายเพชร) ประธานโครงการวิจัย ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคลาวิชชาลัย 980 นายชัช ชลวร ประธานชมรมโพธิคยา 980 น.ส.ทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุชงค์ และ รศ.ดร.ณัทธีร์ ศรีดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะพุทธศาสตร์ มจร.

    e0b8ade0b8b4e0b897e0b898e0b8b4e0b89ee0b8a5e0b89ee0b88de0b8b2e0b899e0b8b2e0b884e0b980e0b881e0b8b5.jpg
    ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ กล่าวว่า สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 จัดตั้งขึ้น 12 ปีแล้ว ที่วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหารประเทศอินเดีย โดยคณะผู้ร่วมอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา เพื่อร่วมสืบทอดพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งน้อมนำแนวคิด “พุทธพลิกสุวรรณภูมิ” จากสมเด็จพระสังฆราชและพระผู้ใหญ่ในแผ่นดินลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, สปป.ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และเมียนมา มาจัดโครงการ ”ธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน ลุ่มน้ำโขง” สานต่อธุดงค์ธรรมยาตราแผ่นดินลุ่มแม่น้ำโขงที่ไม่ได้จัดมานานนับ 1 พันปี ต่อจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จัดครั้งที่ 1 เร่ิมจากทางภาคเหนือของไทยไปยังอีก 4 ประเทศ และจัดครั้งที่ 2 เมื่อปีที่แล้ว เริ่มที่วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ข้ามไปประเทศเมียนมา ผ่านเวียดนาม สปป.ลาว กลับเข้าไทยทางด้านอีสานใต้ ผ่าน จ.อุดรธานี และไปปิดที่ จ.เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา

    “การจัดธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน ลุ่มน้ำโขง ได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระสังฆราชและผู้นำประเทศทั้ง 5 ประเทศ ทั้ง 2 ครั้ง ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากประเทศอินเดีย มาปลูกในแผ่นดินลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ ครั้งแรก 18 ต้น ครั้งที่สอง 14 ต้น รวม 32 ต้น พร้อมปักธงฉัพพรรณรังสีบนแผ่นดินลุ่มแม่น้ำโขงอีกครั้ง ต่อเนื่องมาจาก 2,200-2,300 ปี โดยเฉพาะการจัดครั้งที่สอง ผ่านเส้นทางที่มีความเชื่อและศรัทธาพญานาค ซึ่งมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา จึงได้มีแนวคิดร่วมกันจัดทำประวัติตำนานของพญานาคในพระพุทธศาสนา ตามศรัทธาความเชื่อของชาวพุทธ 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขงที่มีพ่อองค์เดียวกันคือพระพุทธเจ้า และแม่คนเดียวกันคือแม่น้ำโขง จึงเป็นที่มาของโครงการน้ี” นายสุภชัยกล่าว

    b8ade0b8b4e0b897e0b898e0b8b4e0b89ee0b8a5e0b89ee0b88de0b8b2e0b899e0b8b2e0b884e0b980e0b881e0b8b5-1.jpg
    พระเมธีวรญาณ(เจ้าคุณสายเพชร) ประธานโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า ได้มีการหารือกับกรรมการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย และกรรมการจัดธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน มองเห็นว่ามีการเผยแพร่เกี่ยวกับพญานาคในลุ่มแม่น้ำโขง และมีการทำสารคดีความเชื่อว่าพญานาคค่อนข้างมีอิทธิพลต่อสังคมไทย หากมองในสมัยพุทธกาลพญานาคจะคอยปกปักรักษาพระพุทธศาสนามาตลอด แม้พระโพธิสัตว์ยังเสวยพระชาติหนึ่งเป็นพญานาค และยังมีเรื่องราวของพญานาคเฝ้าฐานที่ประทับของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 ฐาน จนมาถึงยุคต่างๆ การสร้างพระธาตุรวมทั้งในประเทศไทย มีความเชื่อว่ามีพญานาคคอยปกปักรักษา เป็นมุมมองความเชื่อในหลายมิติ ส่งผลคุณูปการและอิทธิพลต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี จากความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อๆ กันมา จึงเห็นควรวิจัยให้ถ่องแท้และเกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา รวมถึงวิถีชีวิตคนในลุ่มน้ำโขง

    ด้านนายชัช ชลวร ประธานชมรมโพธิคยา 980 ซึ่งเป็นคณะทำงานของสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 กล่าวว่า ชมรมฯ มีความตั้งใจส่งเสริมพระพุทธศาสนา ที่สืบทอดมายาวนานกว่า 2,500 ปี โดยเฉพาะในดินแดนลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศที่ต้องสืบทอดต่อไป ตนเองเป็นศิษย์เก่าลูกนาคาวัดบวรนิเวศ ไม่คาดคิดว่าวันนี้จะได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการทำวิจัยเรื่องพญานาค ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเพื่อสืบสานให้คนรุ่นหลังได้ทราบ และขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมสนับสนุน

    ส่วน น.ส.ทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุชงค์ กล่าวว่า มูลนิธิฯให้การสนับสนุนสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามา 12 ปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างย่ิงชื่อ “วีระ” แปลว่า ความกล้าหาญที่ดีงาม และ “ภุชงค์” แปลว่า พญานาค รวมแปลว่า พญานาคที่มีความกล้าหาญที่ดีงาม จึงเป็นพลังในการสนับสนุนพระพุทธศาสนา

    ส่วน รศ.ดร.ณัทธีร์ ศรีดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ คณะพุทธศาสตร์ มจร. กล่าวถึงการทำวิจัยว่า ได้เตรียมการวางแนวทางวิจัยมา 3 เดือนแล้ว วางแผนงานวิจัยเร่ิมจากอิทธิพลความเชื่อ และตำนานของแต่ละประเทศในลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ จะมี 5 งานวิจัยบทเรียน จากนั้นนำมาถอดแบบความรู้ออกมาป็น 1 งานวิจัย และสรุปอีก 1 งานวิจัย “เราต้องศึกษาตำนาน และอิทธิพลความเชื่อ นำไปสู่วิธีแนวปฏิบัติว่าปฏิบัติแล้วเกิดผลดีอย่างไร กำหนดเวลาวิจัย 6-8 เดือน ใช้คนทำวิจัย 18 คน และพระกับผู้เชี่ยวชาญผู้ตรวจสอบอีก 5 คน แต่มาคิดแล้วเห็นว่า งานที่วิจัยเรื่องพญานาคที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ไม่อยากให้อยู่แค่ 5 ประเทศ มองว่าจะมีแนวทางขับเคลื่อนให้พญานาคเป็นมรดกโลกได้อย่างไร เราก็จะทำเต็มที่” รศ.ดร.ณัทธีร์ กล่าว

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/news/local/1784928
     

แชร์หน้านี้

Loading...