อยากทราบว่าไทยมีการยกย่องม้าสำคัญเหมือนดังกรณีช้างเผือกสำคัญหรือไม่ครับ

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย มุ่งเต็มใจ, 2 มีนาคม 2011.

  1. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ไม่ทราบว่าทางราชการไทยมีมาตรฐานกระบวนการการค้นหาม้าสำคัญตามตำราม้ามงคลโบราณ เช่นช้างมงคลหรือไม่ครับ?

    ถ้ายังไม่มี จะเป็นการสมควรให้มีกระบวนการมาตรฐานเพื่อตรวจสอบค้นหาเพื่อยกย่องค้นหาม้าแก้วคู่บารมีองค์พระมหากษัตริย์ เป็นสง่าราศรีหรือสิริมงคลของชาติสืบไป (ถ้ามี)หรือไม่ประการใดครับ

    ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยขมาด้วยครับ
     
  2. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]

    คำไวพจน์ของม้า
    กัณฐัศ กัณฐัศว์ ดุรด ดุรงค์ ดุรงค์ ดุรงคี พาชี พาห พ่าห์ มโนมัย ม้าเทศ ม้าต้น หย(หะ - ยะ) หัย (ไห) สินธพ อัศว อัส อัสสะ อัสดร อาชา อาชาไนย อุปการ

    e - book
     
  3. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ด้วยเดชะอานิสงค์ผลบุญกุศลที่พระองค์ได้ทรงสั่งสมสุจริตธรรมความประพฤติดีงามไว้ในอดีตชาติแต่ปางก่อนเป็นอันมาก หากมาอำนวยผลให้ในคราวนี้ พอจุติจากพรหมโลกแล้ว พระองค์ก็ได้สืบปฏิสนธิถือกำเนิดในราชตระกูล ณ ธัญญวดีมหานคร เมื่อถึงศุภวารดิถีวันที่จะเฉลิมพระนามนั้น จึงประชุมพระบรมวงศ์ได้พร้อมกันขนานพระนามถวายว่า สมเด็จพระสาครราชกุมาร ครั้นเจริญวัยวัฒนาการนานมา เมื่อสมเด็จพระชนกาธิบดีดับขันธ์สวรรคตแล้ว ก็ได้ดำรงสิริราชสมบัติสืบกษัตริย์ขัตติยวงศ์โดยทศพิธราชธรรมต่อมาทรงพระอุตสาหะปฏิบัติในจักรพรรดิวัตรที่เหล่าราชปุโรหิตจารย์กำหนดถวายต่างๆ อย่างครบถ้วน แต่ที่พิเศษก็คือว่า เมื่อถึงวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำแล้ว สมเด็จพระสาครจักรพรรดิภูมิย่อมเสด็จเข้าที่สรง ทรงชำระสระสนานพระองค์ให้สะอาดแล้ว ก็ทรงพระภูษาโขมพัสตร์พื้นขาวคู่อุโบสถวิเศษ เสด็จขึ้นสถิตอยู่เบื้องบนพระมหาปราสาททรงพระอาวัชชนะนึกถึงอุโบสถศีลที่พระองค์สมาทานเสมอมามิได้ขาด
    ลำดับนั้น ด้วยเดชะอำนาจผลแห่งพระราชกุศลที่พระองค์ทรงรักษาอุโบสถศีลเป็นประธาน จึงบันดาลให้สัตตรัตนะอุบัติเกิดขึ้น คือ
    1.ทิพยรัตนะจักรแก้ว บังเกิดแต่เบื้องปุริมทิศแห่งมหาสมุทรงามบริสุทธิ์พร้อมด้วยพันแห่งกำกงอลงกต ย่อมมีมหิทธิประสิทธิสามารถจะให้สำเร็จตามความประสงค์ทุกปราการ
    2.พญาคชสารหัศดินทร์รัตนสาร คือ ช้างแก้วตัวประเสริฐ บังเกิดมีมาแต่อุโบสถตระกูลอันยิ่งใหญ่
    3.พญาอัศดรรัตนะมัย คือ ม้าแก้วสินธพชาติตัวประเสริฐบังเกิดมีแต่พลาหกตระกูลอาชาไนย
    4.ดวงจินดารัตนะมณี คือ แก้วมณีอันช่วงโชติรัศมีบังเกิดมีมาแต่บรรพคีรี
    5.ดรุณรัตนะนารี คือ นางแก้วที่เกิดคู่สำหรับบรมกษัตริย์ ซึ่งเทพเจ้าจัดสรรนำมาแต่อุตตรกุรุทวีป
    6.คหบดีรัตนะ คือ ขุนคลังแก้วผู้ประเสริฐคู่บารมี
    7.ปรินายกรัตนะ คือ พระองค์ทรงมีพระบวรดนัยเชษฐวโรรสดำรงตำแหน่งที่ปรินายกรัตนะขุนพลแก้วบริหารราชกิจให้ชาวประชาผาสุกอยู่เป็นนิตย์
    สมเด็จพระเจ้าสาครราชจักรพรรดิทรงประกอบด้วยรัตนะทั้ง 7 ประการ ครบถ้วนบริบูรณ์ เสวยมไหศูนย์ราชสมบัติโดยราชธรรมประเพณี ทรงมีพระเดชานุภาพแผ่ไปทั่วพิภพจบสกลพื้นปฐพี มีสาครสมุทรทั้งสี่กั้นเป็นขอบเขต ทรงเสวยจักรพรรดิสุขอยู่แสนจะสำราญ

    การปรารถนาพุทธภูมิ
     
  4. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    (๑) ม้าในพระพุทธศาสนา <SUP></SUP>


    [​IMG]
    เนื่องจากความเป็นผู้ที่ประทับ(ใจใน?)สัตว์ชนิดหนึ่ง คือ "ม้า" เพราะถ้าไม่มี "ม้า" ในวันนั้น "อาจจะ" ไม่มีพระพุทธศาสนาในวันนี้ ม้าที่ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงคือ "เจ้าม้ากัณฑกะ" ซึ่งเป็น "ม้าแก้ว" ที่เป็นสัตว์คู่บุญบารมีของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยทำหน้าที่สำคัญในการเป็น "พาหนะที่นำเจ้าชายสิทธัตถะข้ามฝั่งแห่งความทุกข์ไปสู่ฝั่งแห่งความสุขที่แท้จริง"
    ถึงกระนั้น ในพระไตรปิฏกได้กล่าวถึง "ม้า" เอาหลายแห่ง โดยเฉพาะเนื้อหาที่อุปมาอุปมัยที่เกี่้ยวกับม้ามีจำนวนมาก ซึ่งมีเนื้อหาที่ดีและมีคุณค่า แต่ด้วยเหตุที่ "ผู้เขียนกำลังรอจังหวะดีๆ ที่จะนำเรื่องราวดังกล่าวออกมาเป็นบทความเรื่อง "คุณค่าและความสำคัญของม้าในพระพุทธศาสนา" ในโอกาสนี้ ขอนำเนื้อหาบางส่วนมา "นำเสนอบางส่วนเพื่อค่อยๆ ขยายพื้นที่เอาไว้ก่อน" เพื่อแบ่งปันกับ "สมาคมคนชอบม้า" ที่ไม่เคยไปสนามม้านางเลิ้ง

    ความแตกต่างระหว่าง "ม้าอาชาไนย" กับ "ม้ากระจอก"
    ไ่ม่ว่าในกาลใด สถานที่ใด ขณะใด สนามรบใด หรือเวลาใด ม้าอาชาไนยก็เร่งความเร็ว ส่วน "ม้ากระจอก" ย่อมล้าหลัง
    ขุ.เอกก. 27/24/10 (เล่ม/ข้อ/หน้า)
    ผู้มีปัญญาดี เป็นผู้ไม่ประมาท ในเมื่อผู้อื่นประมาท เป็นผู้ตื่นอยู่โดยมาก ในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งคนมีปัญญาทรามไปไกล เหมือนม้าฝีเท้าจัด ละทิ้งม้าที่หมดแรง (ม้ากระจอก)ไว้ ฉะนั้น
    ขุ.ธ. 25/29/33 (เล่ม/ข้อ/หน้า)
    ม้าสินธพชาติอาชาไนย ที่ถูกยิงด้วยลูกศร แม้นอนตะแคงอยู่ ก็ยังประเสริฐกว่า "ม้ากระจอก"
    ขุ.เอกก. 27/23/10 (เล่ม/ข้อ/หน้า)

    ม้าอาชาไนย... กายเคลื่อนไหว ใจสงบนิ่ง
    ๑. ม้าอาชาไนยจะเป็นม้าที่ได้รับการฝึกพัฒนาและพัฒนามาเป็นอย่างดี ให้เหมาะแก่ภาระงาน และหน้าที่ที่จะต้องทำทั้งต่อพระราชา หรือใครที่จะต้องไปสัมพันธ์ด้วย
    ๒. ผลจากการฝึก ม้าอาชาไนยจะกลายเป็น "ม้าสติ" คือมีสติและรู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนกลายเป็นม้าที่ไม่ประมาท ทำหน้าที่อย่างขยันหมั่นเพียร อดทนต่อการทำงาน และรักษาความเสมอต้นเสมอปลายในการวิ่ง
    ๓. ผลจากการทำหน้าที่ดังกล่าว จึงทำให้ม้าอาชาไนยเป็นม้าที่ (๑) ปราดเปรียว แคล่วคล่องว่องไว (๒) การติดต่อประสานงานเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่ติดขัด (๓) ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง (๔) มีธรรมฉันทะ และความทะเยอทะยาน (๕) มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง
    ๔. ม้าอาชาไนย เป็นม้าที่คู่ควรกับพระราชา นักปกครอง นักรบ หรือนักสู้ที่ยิ่งใหญ่ เคียงคู่กับเหล่าเทพบุตร เทพธิดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    หมวดหมู่บันทึก: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนาคำสำคัญ: ม้ากัณฑกะม้าในพระพุทธศาสนาม้าอาชาไนย
    สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน

    สร้าง: 27 มกราคม 2553 14:39 แก้ไข: 27 มกราคม 2553 23:22

    ที่มาครับ
    ธรรมหรรษา - "ม้า" ให้คุณค่าอะไรแก่เรา - (๑) ม้าในพระพุทธศาสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2011
  5. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  6. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ตำราดูลักษณะสัตว์
    โดย ปถพีรดี
    ฉบับที่ 2597 ปีที่ 50 ประจำวัน อังคาร ที่ 27 กรกฎาคม 2547


    Untitled Document

    ในอดีตคนไทยดำรงชีวิตใกล้ชิดกับสัตว์จำนวนมาก ทั้งสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ สัตว์บางชนิดมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ จนถึงมีคตินิยมว่า เป็นสัตว์คู่พระบุญญาบารมีของพระมหากษัตริย์พระประมุขของประเทศ เช่น ช้าง ม้า ทั้งนี้ เพราะช้างและม้าเป็นสัตว์พาหนะทั้งในการศึกสงคราม และในการสัญจรคมนาคม จึงเป็นพลังของชาติบ้านเมือง ดังมีคติเรียกช้าง ม้าคู่พระบารมีของพระจักรพรรดิราชว่า ช้างแก้ว ม้าแก้ว รวมอยู่ในจำนวน “รัตนะ” ต่างๆคู่พระบารมี คือ ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว นอกจากนี้สัตว์เลี้ยง เช่น แมว นกเขา ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของคนไทยมาแต่โบราณ ก็มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเป็นอันมาก

    ด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏว่า บรรพบุรุษของไทยได้ศึกษาค้นคว้าสร้างสรรค์วิทยาการไว้เป็น ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการพิจารณาคุณลักษณะของสัตว์ต่างๆ เพื่อเลือกสรรสำหรับใช้งานหรือเลี้ยง ให้เป็นคุณปราศจากโทษ ภูมิปัญญาดังกล่าว เกิดจากความช่างสังเกต ช่างศึกษา ประมวลความรู้แบบเก็บสถิติ จนเป็นความเชี่ยวชาญ และจัดทำเป็นตำราเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับลักษณะอันเป็นคุณ และลักษณะอันเป็นโทษของสัตว์ต่างๆ ตำราจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเหล่านี้ นับเป็นมรดกวิทยาการอันล้ำค่าของคนไทย เพราะประกอบไปด้วยความรู้ทั้งด้านสัตวศาสตร์ ศิลปกรรม และวิถีทางดำรงชีวิตแบบไทยในหลายระดับ ตำราเหล่านี้นอกจากจะมีบทบรรยายให้ความรู้แล้ว ยังมีภาพเขียนสีบอกสีจริงที่แสดงคุณและโทษของสัตว์ประกอบไว้ด้วย เช่น

    ๑. ตำราช้าง หรือตำราคชศาสตร์ แบ่งพงศ์หรือตระกูลช้างเป็น ๔ ตระกูล ได้แก่

    อิศวรพงศ์ เป็นช้างวรรณะกษัตริย์ ผิวละเอียดเกลี้ยง สีผิวเสมอกันตลอดตัว หน้าใหญ่ น้ำเต้ากลม โขมดสูง งวงเรียวใหญ่ไปหาเล็ก งาทั้งสองข้างใหญ่งอนขึ้นเสมอกัน ปากรีรูปเหมือนพวยสังข์ ช่อม่วงยาว ใบหูอ่อน คอกลม อกใหญ่ เท้าใหญ่ เป็นต้น

    พรหมพงศ์ เป็นช้างวรรณะพรามหณ์ เนื้อผิวหนังละเอียด ขนเส้นเรียบอ่อนละเอียด หน้าใหญ่ น้ำเต้าแฝด โขมดสูง งวงเรียวรัดแลดูงดงามยาวใหญ่สมส่วน เป็นต้น

    วิษณุพงศ์ เป็นช้างวรรณะแพทย์ ผิวเนื้อหนา ขนเกรียน หน้าคาง คอ นัยน์ตาและอกใหญ่ งวงยาว หางยาว หลังราบ เป็นต้น

    อัคนิพงศ์ เป็นช้างวรรณะศูทร ผิวหนังกระด้าง ขนหยาบ หน้าเป็นกระแดง ปากแดง หน้างวงแดง สีผิวไม่ดำสนิท ตะเกียบหูห่าง หางสั้นเขิน นัยน์ตาสีน้ำผึ้ง เป็นต้น

    ๒. ตำราม้า ม้าถือเป็นสัตว์มงคล ม้าที่มีลักษณะดีเรียกว่า “ม้ามงคล” ส่วนม้าโทษหรือม้าร้าย เรียกว่า ม้าโหด

    ม้ามงคล แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือ

    ม้าทิพย์ ๔ มีกำลังดุจช้างเอราวัณ ไปมาได้รวดเร็วราวกับเหาะ มีสีกายต่างกัน ได้แก่ สีเหมือนเขาไกรลาศ สีขาวเหมือนแก้วมณี สีแดงเหมือนแก้วประพาฬ และสีทอง

    ม้าพลาหกมงคล ๒ มีฤทธิ์เดชมาก ตัวหนึ่งกายสีขาว หัวดำ อีกตัวหนึ่งปาก และเท้าแดงเหมือนพลอยปัทมราช

    ม้าสินธพ ๘ มีกำลังฤทธิเดชและผิวกายแตกต่างกันแต่ละตัว

    ม้าพลาหก ๑๔ สีกาย ปาก ผม หาง เท้า ต่างๆกัน บางตัวมีกำลังแกล้วกล้าในการศึก บางตัวเป็นม้าสำหรับพ่อค้าวานิช และบางตัวก็มีคุณลักษณะเหมาะกับการเป็นม้าทรงของธิดาท้าวพระยา

    ๓. ตำรานกเขาชวา กล่าวถึงลักษณะนกเขาชวาดี และนกเขาชวาชั่ว คนโบราณเมื่อจะนำนกเขาชวามาเลี้ยงไว้ จะคัดนกเขาชวาดี เพื่อเป็นสิริมงคล มีโชคลาภ ร่ำรวย ไม่มีเสนียดจัญไร ไม่มีโจรผู้ร้ายมาเบียดเบียน มีความสุขความเจริญ

    ตำรากล่าวถึงลักษณะนกเขาชวาที่ดี คือ ตัวขาวผ่อง ปากแดง ตีนแดงดุจกุ้งต้ม เลี้ยงไว้เป็นสิริมงคล ถ้าเลี้ยงไว้เหมือนได้เพชร มีคุณในการป้องกันอุปัทว์จัญไร

    นกเขาที่ส่งเสียงขัน ดัง กูรู เลี้ยงไว้มีคุณในการทำไร่ทำนา น้ำที่นกชนิดนี้กินเหลือนั้น หากนำไปรดข้าวปลูกก่อนนำไปหว่าน ข้าวจะงามดี

    นกเขาชวาที่ขันดัง บัวรูโป เป็นนกให้คุณแก่เจ้าของผู้เลี้ยง จะอายุยืน ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน ฯลฯ

    ๔. ตำราแมว แมวดี หรือแมวที่ให้คุณแก่ผู้เลี้ยง มี ๑๗-๒๒ ชนิด ประกอบด้วย

    วิลาศ ขนกายสีดำ แต้มด่าง สีขาวที่หน้าผาก หูสองข้าง เท้าทั้งสี่มีแนวสีขาวยาวตลอดหลังไปจนสุดปลายทาง และจากราวคอไปตามใต้ท้อง

    นิลรัตน์ สีดำปลอดทั้งขน กาย ฟัน ตา เล็บ และลิ้น มีหางยาวขนาดเท่าช่วงลำตัว

    ศุภลักษณ์ หรือ ทองแดง มีขนกาย เล็บ ลิ้น สีทองแดง และดวงตาสีใส เป็นประกาย บ้างว่าตาเป็นสีทับทิม และหนวดสีขาว

    เก้าแต้ม หรือ นพ ขนกายสีขาว มีแต้มด่างสีดำ ๙ แห่ง ที่ หัว คอ ไหล่ สองขาหน้าสอง ต้นขาหลังสอง และโคนหางนัยน์ตางามใส่สีเขียว เสียงร้องดังกังวาน บางเล่มเรียกว่า “แมวเทศ”

    มาเลศ หรือ ดอกเลา มีขนกายสีขาวมักเหมือนสีของดอกเลา หรือเปรียบได้กับสีเมฆฝน เล็บ และหนวดสีขาว ดวงตาสีขาวใส เสียงร้องไพเราะ

    แซมเศวตร หรือ ศรีปรอท มีขนกายและสีตาเหมือนสีปรอท

    รัตนกำพล ขนกายสีขาว เหมือนสำลี มีสีดำคาดรอบกลางลำตัว ดวงตาเป็นสีเหลือง

    วิเชียรมาศ หรือ แก้วมงคล หรือ แก้ว กายสีขาวมีด่างสีดำ แต้มแปดแห่งที่ปาก หูทั้งสอง เท้าทั้งสี่ และหางดวงตาสีเขียว

    กรอบแว่น หรือ อานม้า มีพื้นกายสีขาว เช่นเดียวกับแมวรัตนกำพล และวิเชียรมาศ แต่ที่เด่นคือ มีสีดำรอบดวงตาและลายดำ ลักษณะเหมือนอานม้าตรงกลางหลัง นัยน์ตาสีเหลือง

    ปัศเศวตร หรือ ปัตตกอด กายสีดำ มีริ้วสีขาวจากปลายจมูก พาดยาวตลอดหลังไปจนสุดปลายทาง นัยน์ตาสีเหลืองเหมือนพลอยบุษราคัม

    นิลจักร หรือ มหามงคล หรือ มงคล สีกายดำ มีด่างขาวรอบคอ ตาและหนวดเป็นสีขาว

    มุลิลา ขนกายดำตลอด เว้นใบหูทั้งสองข้างเป็นสีขาว ตามีสีเหลืองเหมือนสีดอกเบญมาศ

    กระจอก กายดำปลอด รอบปากเป็นวงสีขาว คือ “คางด่างขาว” ดวงตาสีเหลืองเหมือนสีดอกเบญจมาศ

    โสงหเสพย หรือ โสงเสพ ขนกายสีดำ มีด่างสีขาวขอบปาก คอ จมูก นัยน์ตาสีเหลืองเป็นประกาย

    การเวก หรือ กาเวค กายดำปลอด มีรอบแต้มสีขาวที่จมูก ดวงตาสีทอง และหนวดสีขาว

    โกนจา หรือ ร่องมด ตัวสีดำ มีร่องสีขาวจากใต้คางยาวตลอดไปตามท้องจนสุดทวาร นัยน์ตาสีเหลืองเหมือนสีดอกบวบ

    จตุบท ขนกายดำปลอด เท้าทั้งสี่เป็นสีขาว นัยน์ตาสีเหลืองงามเลื่อม

    (ข้อมูล : กรมศิลปากร-อนุทิน ภูมิปัญญาไทย, ๒๕๔๗, เกษียร มะปะโม ตำราดูสัตว์จากเอกสารโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ : เรียบเรียงโดย ไพโรจน์ เกษแม่นกิจ)
     
  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ตำราม้า ม้าที่มีลักษณะดีเรียกว่า “ม้ามงคล”

    ๒. ตำราม้า ม้าถือเป็นสัตว์มงคล ม้าที่มีลักษณะดีเรียกว่า “ม้ามงคล” ส่วนม้าโทษหรือม้าร้าย เรียกว่า ม้าโหด
    http://palungjit.org/threads/อยากทร...หมือนดังกรณีช้างเผือกสำคัญหรือไม่ครับ.282046/

    ม้ามงคล แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือ

    ม้าทิพย์ ๔ มีกำลังดุจช้างเอราวัณ ไปมาได้รวดเร็วราวกับเหาะ มีสีกายต่างกัน ได้แก่ สีเหมือนเขาไกรลาศ สีขาวเหมือนแก้วมณี สีแดงเหมือนแก้วประพาฬ และสีทอง

    ม้าพลาหกมงคล ๒ มีฤทธิ์เดชมาก ตัวหนึ่งกายสีขาว หัวดำ อีกตัวหนึ่งปาก และเท้าแดงเหมือนพลอยปัทมราช

    ม้าสินธพ ๘ มีกำลังฤทธิเดชและผิวกายแตกต่างกันแต่ละตัว

    ม้าพลาหก ๑๔ สีกาย ปาก ผม หาง เท้า ต่างๆกัน บางตัวมีกำลังแกล้วกล้าในการศึก บางตัวเป็นม้าสำหรับพ่อค้าวานิช และบางตัวก็มีคุณลักษณะเหมาะกับการเป็นม้าทรงของธิดาท้าวพระยา
     
  8. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
     

แชร์หน้านี้

Loading...