เปิดกฎหมาย คุณแม่ลาคลอดได้กี่วัน ได้เงินเดือนไหม มีคำตอบ

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย RinradaMB, 19 สิงหาคม 2022.

  1. RinradaMB

    RinradaMB สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2022
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +2
    เปิดสิทธิและผลประโยชน์ของคุณแม่ลาคลอด มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
    ด้วยผู้หญิงยุคใหม่เป็นสาย Working Woman กันแบบเต็มตัว แม้ถึงเวลามีครอบครัวก็ยังคงต้องหาเงินนอกบ้านตลอด จนช่วงที่ตั้งครรภ์และใกล้ถึงกำหนดคลอดเต็มทีมักมีคำถามตามมาว่า ลาคลอดได้กี่วัน? ลาคลอดได้เงินเดือนไหม? การใช้สิทธิ์ต่าง ๆ เป็นอย่างไรบ้าง จึงขอหยิบยกข้อมูลน่าสนใจซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายลาคลอดมาฝากคุณแม่ทุกคน รวมถึงคุณพ่อที่ต้องช่วยดูแลด้วย

    กฎหมายลาคลอดในต่างประเทศที่น่าสนใจ
    ขอพาคุณแม่ทั้งหลายมาศึกษาข้อมูลน่าสนใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับกฎหมายลาคลอดในต่างประเทศ ซึ่งหลายประเทศก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก เช่น ประเทศฟินแลนด์ ทั้งพ่อและแม่สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรในช่วงแรกเกิดและยังคงได้รับเงินเดือนตามปกติสูงสุดถึง 7 เดือน ซึ่งในฝ่ายหญิงที่ตั้งครรภ์ยังลาเพิ่มได้อีก 1 เดือนด้วย แต่ถ้าเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว – พ่อเลี้ยงเดี่ยวจะได้รับวันลาสูงสุด 14 เดือน เลยทีเดียว

    การลาคลอดในไทย ลาได้กี่วัน? คำถามที่คุณแม่ต้องการคำตอบ
    คำถามที่ว่า ลาคลอดได้กี่วัน? ปัจจุบันสิทธิสำหรับคุณแม่ลาคลอดบุตรประกันสังคมและข้าราชการจะอยู่ที่ 98 วัน (จากเดิมที่หลายคนเข้าใจผิดว่า 90 วัน) ซึ่งเป็นการปรับให้ตามกฎหมายลาคลอดของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อความเหมาะสม ทั้งนี้สามารถนับรวมในระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งต้องมีการเดินทางไปตรวจครรภ์กับทางสถานพยาบาลด้วย และในกรณีที่ช่วงระหว่าง 98 วันที่ลาคลอดแล้วไปตรงกับวันหยุดงาน, วันหยุดนักขัตฤกษ์ (หยุดตามประเพณีบริษัท), วันหยุดพักร้อน, วันหยุดประจำปี ฯลฯ ก็ไม่ต้องนับรวมเป็นวันลาคลอดด้วย

    ผลประโยชน์สวัสดิการสำหรับคุณแม่ลาคลอดบุตร
    เมื่อคุณแม่รู้กันแล้วว่าลาคลอดบุตรได้กี่วัน คราวนี้มาถึงเรื่องผลประโยชน์ด้านเงิน ๆ ทอง ๆ เกี่ยวกับสวัสดิการที่ต้องได้รับตามกฎหมายลาคลอด ซึ่งขอแบ่งออกเป็นคนทำงานในบริษัทเอกชนและข้าราชการ ดังนี้

    1. คุณแม่ทำงานในบริษัทเอกชน

    • สวัสดิการจากบริษัท พนักงานจะไม่ได้รับเงินเดือนระยะเวลา 3 เดือน ที่ลาคลอด (98 วัน) แต่จะได้เป็นสิทธิ์ค่าชดเชยในระยะเวลา 45 วัน แทน เช่น เมื่อเฉลี่ยเงินเดือนออกมาเป็นรายวันรับอยู่วันละ 1,000 บาท (เงินเดือน 30,000 บาท) ก็จะได้รับค่าชดเชยรวม 45,000 บาท เป็นต้น
    • สวัสดิการจากประกันสังคม ทั้งผู้ประกันตนมาตรา 33 (พนักงานบริษัท) และมาตรา 39 (อาชีพอิสระ) สามารถเบิกค่าคลอดทั้งคลอดธรรมชาติและการผ่าตัดรวม 15,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง หากไม่ใช่โรงพยาบาลที่ลงทะเบียนกับประกันสังคมต้องสำรองจ่ายแล้วจึงทำเรื่องเบิกภายหลัง
    สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในสิทธิ์ประกันสังคมยังมีเงินช่วยเหลือหลังคลอด เป็นเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท จนถึงอายุ 6 ปี และในช่วงระหว่างตรวจครรภ์-ฝากครรภ์ก่อนคลอดยังมีสิทธิ์รับเงินรวม 1,500 บาท ซึ่งจะเบิกก่อนหรือหลังคลอดก็ได้

    2. คุณแม่ทำงานราชการ

    ทางด้านคุณแม่ที่ทำงานราชการ จะสามารถใช้สิทธิ์การเบิกค่าคลอดได้ตามเกณฑ์ที่หน่วยงานนั้น ๆ กำหนด (ส่วนใหญ่ต้องเป็นโรงพยาบาลของภาครัฐ) และมีสิทธิ์รับเงินเดือนตามปกติไม่เกิน 90 วัน

    นี่คือข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายลาคลอดและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่คุณแม่ทุกคนควรรู้ไม่ว่าจะทำงานในภาครัฐหรือเอกชนก็ตาม เพื่อสร้างความสบายใจแม้ต้องหยุดงานก็สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทองใด ๆ ทั้งสิ้น



    ที่มา
     

แชร์หน้านี้

Loading...