เรื่องเด่น เผยพิรุธฝ้าขาว “ตู้พระธรรม” ศิลปะ 300 ปี ใกล้เสื่อมสลายจริงหรือ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 18 ธันวาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    “สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนของสีรักจากปกติ ที่เห็นว่าเป็นสีขาวไม่ใช่ มันเป็นสีเทาแล้วเกิดเหมือนจุดสีขาว ยางรักเก่าที่เราเห็นเป็นจุดดำๆ ที่จริงถ้ามองด้วยกล้องจุลทรรรศ์จะเห็นว่าเป็นลักษณะจุดๆ พอเยอะขึ้นจากเป็นสีดำล้วนก็จะเป็นลักษณะที่เป็นสีฝ้าขาว” นายเสน่ห์ชี้แจง

    อากาศ อุณหภูมิ จุดซ้ำเติม “ตู้พระธรรม” เสื่อมสภาพ

    การแปรเปลี่ยนสภาพของ “ยางรัก” บนตู้พระธรรมยังมีสาเหตุด้านอื่นด้วย ซึ่งอาจารย์สนั่น รัตนะ ภาคีสมาชิกสาขาจิตรกรรม สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เปิดเผยข้อมูลกับทีมข่าวเฉพาะกิจฯ ทุกปีที่มาดู “ตู้พระธรรม” เห็นการเสื่อมชำรุดตามสภาพเวลาทุกปี บางครั้งมาแต่ไม่พบตู้พระธรรม เพราะมีการนำไปจัดแสดงโชว์ความวิจิตรงดงามยังต่างประเทศ เคลื่อนย้ายโดยห่อตู้พระธรรมขนไปทางเรือ ใช้เวลาไปกลับเป็นปี ซึ่งสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมจะเป็นการเร่งให้ตู้พระธรรมเสื่อมสภาพตามกาลเวลาง่ายขึ้น

    อากาศเป็นตัวส่งเสริมให้ตู้พระธรรมเสื่อมสภาพอย่างไรนั้น นายเสน่ห์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ กรมศิลปากร อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ในการเคลื่อนย้ายตู้พระธรรมออกต่างสถานที่จะมีการนำตู้พระธรรมใส่ในกล่องที่มีการป้องกันความชื้นได้ดีระดับหนึ่ง ซึ่งตู้พระธรรมค่อยๆ เปลี่ยนสภาพมาตั้งแต่อดีตแล้ว เมื่อต้องเจอสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมก็ยิ่งทำให้ยางรักค่อยๆ เสื่อมสภาพ แต่จะไม่เสื่อมสภาพให้เห็นชัดเจนทันทีทันใด โดยเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า ตู้พระธรรมนำไปโชว์อียิปต์ซึ่งมีความชื้นต่ำ ความชื้นที่แทรกตัวอยู่ในชั้นของวัตถุจึงออกมาทำให้เกิดการหดตัว โก่งงอ ส่งผลให้เสื่อมสภาพ

    0b8a3e0b8b8e0b898e0b89de0b989e0b8b2e0b882e0b8b2e0b8a7-e0b895e0b8b9e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b898.jpg

    นอกจากนี้การนำกระจกมาครอบ “ตู้พระธรรม” ก็เป็นอีกช่องทางทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของยางรักด้วยเช่นกัน ในประเด็นนี้นายสิปปวิชญ์อธิบายกับทีมข่าวเฉพาะกิจฯ ว่า เมื่อก่อนตู้พระธรรมอยู่ที่โล่ง ทำให้อากาศถ่ายเทได้มากกว่าการที่ตู้อยู่ในกระจก เมื่อทางพิพิธภัณฑ์ฯ มีการเปิดปิดแอร์และไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิอย่างแน่นอนยังเป็นการส่งผลให้ตู้พระธรรมเสื่อมสภาพ ซึ่งการตั้งอยู่ข้างนอกนั้นก็เกิดฝ้าขาวขึ้นเหมือนกัน แต่ฝ้าขาวไม่ได้มีเยอะมากมายเหมือนตอนนี้ที่อยู่ในตู้กระจก

    การจัดการ “ฝ้าขาว” เลื่อนลอย จุดบอดหนุน “ตู้ธรรมะ” เสื่อมสภาพ

    จากตู้พระธรรมที่เกิดฝ้าขาวทางทีมข่าวฯ ได้เข้าไปชื่นชมตู้พระธรรมช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ที่ตึกถาวรวัตถุ เป็นประเภทที่ใกล้เคียงกับตู้พระธรรมช่างวัดเซิงหวายสมัยอยุธยา มีการจัดเรียงตั้งไว้ที่บนพื้นเท่านั้นไม่ได้มีกระจกครอบเหมือนอย่างที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และพบว่าไม่มีฝ้าขาวเกิดขึ้น

    ซึ่งนายสิปปวิชญ์ นักวิชาการที่มีประสบการณ์ด้านการทำความสะอาดตู้พระธรรมลายรดน้ำ อธิบายว่า รักนั้นเป็นเพียงตัวผสานยึดทองกับพื้นไม้เท่านั้น เมื่อเวลาตัดเส้นรดน้ำไปจะทำให้ออกเป็นลายทอง ยางรักจึงเป็นแค่ส่วนประกอบกรรมวิธีของลายรดน้ำ สำหรับการดูแล คือ ทำความสะอาดเบื้องต้นด้วยการเช็ดด้วยน้ำ ส่วนวิธีของตนเองใช้เพียงฟองน้ำเนื้อละเอียดลูบน้ำแล้วเช็ดเพียงเท่านี้

    8a3e0b8b8e0b898e0b89de0b989e0b8b2e0b882e0b8b2e0b8a7-e0b895e0b8b9e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b898-1.jpg

    ซึ่งการดูแลรักษาจะสวนทางกับผู้อำนวยการกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ กรมศิลปากร ที่บอกกับทีมข่าวเฉพาะกิจฯ ว่า ฝ้าขาวที่เกิดขึ้นตอนนี้ยังไม่มีวิธีที่จะแก้ไข ส่วนใหญ่จะทำความสะอาดทางกายภาพคือการปัดและการเช็ด การดูดฝ้าขาวตอนนี้ยังไม่มีการทดลองทำ หากใช้น้ำในการทำความสะอาดนั้นมีความเห็นว่าเมื่อใช้น้ำ รักจะดูดน้ำเข้าไปในตัว ซึ่งจะเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมเท่าไร เพราะจะทำให้เกิดฝ้าขาวได้ วิธีนำฝ้าขาวออกที่จะไม่เป็นการทำลายพิพิธภัณฑ์ฯ กำลังหาวิธีที่เหมาะสม

    “พิพิธภัณฑ์ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการสำรวจการศึกษาปัจจัยที่ทำให้ยางรักเสื่อมสภาพว่าเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง ตอนนี้มีความพยายามศึกษาอยู่” ผู้อำนวยการกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์กล่าว

    “ตู้พระธรรม” ของวิเศษ ไร้สิ่งล้ำค่าอื่น “เทียบ”

    อย่างไรก็ดี นายสิปปวิชญ์ นักวิชาการอิสระ ฝากถึงพิพิธภัณฑ์ แนะควรให้มีการรักษาปรับปรุงที่เป็นกิจลักษณะสักที ที่ผ่านมามีผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์มาบริหารหลายรายแล้ว แต่ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตู้พระธรรมอย่างชัดเจน กระทั่งปัจจุบันเกิดลักษณะ “ฝ้าขาว” ซึ่งตู้พระธรรม ถือเป็นมรดกชิ้นเอกของประเทศไทย เป็นตู้สำคัญจากสมัยอยุธยา คนในวงการศิลปะต่างยกย่องให้ตู้พระธรรมชิ้นนี้เป็นชิ้นเอกของตู้พระธรรมลายรดน้ำ ไม่ว่าจะด้วยเทคนิคการเขียนลวดลายการผสมผสานลายธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็นของวิเศษที่ตู้พระธรรมชิ้นอื่นไม่สามารถเทียบได้

    “ความวิจิตรงดงามแล้วแต่คนจะมอง แต่ว่าในแง่ของงานศิลปะคือว่า การเขียนลวดลายที่มันพลิ้วไหวเหมือนเปลวไฟผสานไปกับรูปสัตว์หิมพาน การวางองค์ประกอบของใบไม้ มีนกเกาะมีกระรอกเกาะมันสุดจะพรรณนา…” นักวิชาการอิสระกล่าวทิ้งท้าย

    8a3e0b8b8e0b898e0b89de0b989e0b8b2e0b882e0b8b2e0b8a7-e0b895e0b8b9e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b898-2.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/scoop/1727060
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...