ในหลวง ร.9 : 9 พระบรมราโชวาทและพระดำรัสที่ประดับไว้ในใจไทย

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 13 ตุลาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    -e0b8a3-9-9-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b8a3e0b8b2e0b982e0b88ae0b8a7e0b8b2e0b897e0b981.jpg
    Getty Images
    ในหลวง ร.9 : 9 พระบรมราโชวาทและพระดำรัสที่ประดับไว้ในใจไทย

    ครบรอบ 2 ปี แห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวันนี้ (13 ต.ค.) บีบีซีไทยขออัญเชิญ 9 พระบรมราโชวาทและพระดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานในวาระต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมไปตั้งแต่ การทำความดี การศึกษา การธำรงวัฒนธรรม จนไปถึงการบริหารบ้านเมือง เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ยังคงประทับอยู่ในใจของคนไทยทั้งปวง
    1) การทำความดี


    “การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”

    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    25 กรกฎาคม 2506

    2) การมีสัจจะ


    “ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด”

    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    10 กรกฎาคม 2540

    3) เสรีภาพ


    “การมีเสรีภาพนั้น เป็นของที่ดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้ จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังตามความรับผิดชอบมิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนร่วมด้วย”

    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

    9 กรกฎาคม 2514

    4) การศึกษาพัฒนาชาติ


    “ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชน แต่ละคนเป็นสำคัญ ผลการศึกษาอบรมในวันนี้จะเป็นเครื่องกำหนดของชาติในวันข้างหน้า ท่านทั้งหลายจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อท่านออกไปเป็นครู ท่านต้องพยายามทำหน้าที่ของท่านให้สำเร็จโดยสมบูรณ์”

    พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร

    2 ธันวาคม 2508

    0b8a3-9-9-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b8a3e0b8b2e0b982e0b88ae0b8a7e0b8b2e0b897e0b981-1.jpg

    Getty Images
    0b8a3-9-9-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b8a3e0b8b2e0b982e0b88ae0b8a7e0b8b2e0b897e0b981-2.jpg

    [​IMG] [​IMG]
    Getty Images
    5) การส่งเสริมการศึกษาศิลปะและวิทยาศาสตร์


    “การศึกษาด้านศิลปะวัฒนธรรมเป็นการศึกษาที่สำคัญ และควรจะดำเนินควบคู่กันไปกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เพราะความเจริญของบุคคล ตลอดจนถึงความเจริญของประเทศและของโลกโดยส่วนรวมด้วยนั้นมีทั้งทางวัตถุและจิตใจ ความเจริญทั้งสองทางนี้ จะต้องมีประกอบกัน เกื้อกูลและส่งเสริมกันพร้อมมูล จึงจะเกิดความเจริญที่แท้จริงได้ ประเทศทั้งหลายจึงต่างพยายามส่งเสริมการศึกษาด้านศิลปะวัฒนธรรมนี้ พร้อมกันไปกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์”

    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    10 กรกฎาคม 2535

    6) หลักเศรษฐกิจพอเพียง


    “เศรษฐกิจพอเพียง…จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้…”

    พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2541

    0b8a3-9-9-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b8a3e0b8b2e0b982e0b88ae0b8a7e0b8b2e0b897e0b981-3.jpg

    Getty Images
    7) การส่งเสริมคนดี


    “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช้การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”

    พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี

    11 ธันวาคม 2512

    0b8a3-9-9-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b8a3e0b8b2e0b982e0b88ae0b8a7e0b8b2e0b897e0b981-4.jpg

    Getty Images
    8) ความสามัคคี


    “ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้อง สองประการนี้ คือคุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้าน เมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน”

    พระราชดำรัสเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2532

    9) การมีน้ำใจนักกีฬา


    “การกีฬานั้น นอกจากจะให้ความสนุกสนานและความสมบูรณ์แก่ร่างกายแล้วยังให้ผลดีทางจิตใจได้อย่างมากมาย นักกีฬาที่ได้รับการฝึกหัดอบรมอย่างดีแล้วย่อมมีใจแน่วแน่ ตัดสินใจได้รวดเร็ว มีความเพียรพยายามไม่ท้อถอย และมีความหนักแน่นรู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย ผู้มีใจเป็นนักกีฬา จึงเป็นผู้ที่มีประโยชน์ต่อสังคม และน่าคบหาสมาคมด้วยอย่างยิ่ง”

    พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดการแข่งขันกรีฑาประจำปี 2507 ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ กรมพลศึกษา 27 พ.ย. 2507

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_1683371
     

แชร์หน้านี้

Loading...