ไม่เอาฟืนไปดับไฟ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Toutou, 1 กรกฎาคม 2005.

  1. Toutou

    Toutou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    1,455
    ค่าพลัง:
    +8,107
    ผู้ใต้บังคับบัญชามาพูดกับเราไม่ดี พูดคำเท็จ ทำให้เราเข้าใจผิด แล้วผลเสียก็ตกอยู่กับตัวเค้าเอง เค้าได้รับผลกรรมนั้นแล้ว ไม่ได้สมน้ำหน้าเขา สงสารเขามากกว่า

    ตอนนี้เค้าเข้ามานอบน้อมเหมือนเดิม แต่เราไม่ไว้ใจเค้าแล้ว เหมือนเข้าหน้ากันไม่ติด ทำงานด้วยค่อนข้างอึดอัด

    ก็ไม่ได้เรียกมาต่อว่าอะไร ทำนองไม่เอาฟืนไปดับไฟ เพราะถือว่าเรื่องมันผ่านไปแล้ว

    ไม่รู้ว่าทำถูกหรือปล่าว การปกครองลูกน้องนี่ก็ลำบากเหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2005
  2. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    เรื่องโกหกที่ว่านั้นสร้างความเสียหายกับตัวเรา ผู้อื่น หรือองค์กร มากน้อยแค่ไหน?

    ถ้าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็อย่าไปถือสาหาความ ยิ่งเขาละอายสำนึกผิดแล้วก็ให้อภัยเสีย และแสร้งทำเป็นเหมือนไม่มีอะไร (ใจวางอุเบคขา แต่การแสดงออกเป็นตัวของเราปกติ)

    ถ้าสร้างความเสียหายมาก ต้องอบรม ตำหนิ หรือลงโทษ ตามระดับชั้นความรุนแรง ใจให้อภัยวางอุเบคขา เมตตาสงสารแต่ก็ต้องให้บทเรียนแก่เขา เพื่อว่าจะได้ไม่เป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีต่อไป นี่คือหลักธรมการปกครองคนข้อหนึ่ง
     
  3. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    เวลาเกิดปัญหา ..อันดับแรก เรามักจะมองความผิดของผู้อื่นก่อน
    เพราะมองเห็นง่ายกว่า หากเราอยากพัฒนาตนเองไปด้วย
    ควรพิจารณาตัวเราก่อน ..ว่า..เรามีส่วนในความผิดด้วยหรือไม่
    หาให้ละเอียดที่สุด ก่อนกล่าวโทษผู้อื่น เพราะมันอาจเหมือน
    เส้นผมบังภูเขา
     
  4. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    เวลาเกิดปัญหา ..อันดับแรก เรามักจะมองความผิดของผู้อื่นก่อน
    เพราะมองเห็นง่ายกว่า หากเราอยากพัฒนาตนเองไปด้วย
    ควรพิจารณาตัวเราก่อน ..ว่า..เรามีส่วนในความผิดด้วยหรือไม่
    หาให้ละเอียดที่สุด ก่อนกล่าวโทษผู้อื่น เพราะมันอาจเหมือน
    เส้นผมบังภูเขา
    เท่าที่เรามองเห็น นิดหน่อย คือ เมื่อเราเป็นผู้บังคับบัญชา
    ต้องหนักแน่น และมีเหตุผล อย่าเชื่อใครง่ายๆ เพียงเพราะ
    คิดว่า น่าเชื่อ... หากเราพลาดท่าไป มันอาจส่งผลเสียหาย
    มากมาย และกระทบกระเทือนส่วนต่างๆ ได้

    อย่าอึดอัดเลยค่ะ ถ้าเขาสำนึกผิด แล้วพยายามแก้ตัวใหม่
    ลองให้อภัย และให้โอกาสเขาทำตัวดีขึ้น เพียงแต่เมื่อเรา
    รู้แล้วว่า เขาคนนั้น เป็นอย่างไร เราก็ต้องหนักแน่นขึ้น
    และมีความระวังในการหาเหตุผล ให้มากขึ้น แต่ไม่ใช่
    เขาจะพูดอะไร แล้วเราไม่ฟัง ไม่เชื่อเลย ก็ต้องว่ากันไป
    ตามเหตุ ตามผล ไม่ทึกทักเอาเอง หากเขาหลงผิดพลาดไป
    ครั้งนั้น การให้โอกาส ถือว่า เราได้ทำทานแบบหนึ่ง
    หากนิสัยเค้าเป็นคนที่ไม่ไหวจริงๆ ความจริงก็จะปรากฏ
    เพราะสิ่งเหล่านี้ ปิดกันไม่มิดหรอกค่ะ หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง
    แล้วเขาก็จะถูกสังคมลงโทษเอง (เพื่อนๆที่ทำงานไงค่ะ)
     
  5. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151



    คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร [โรงเรียน-แต่น่าจะปรับใช้ได้ครับ]

    ตามที่กำหนดไว้สำหรับอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาครบทุกข้อ ดังนี้

    1. การมีความละอายในการทำความชั่ว ทำความสุจริตทั้งปวง (หิริ) และความเกรงกลัวหรือสะดุ้งกลัวต่อความชั่ว (โอตัปปะ) ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่เดือดร้อนสับสนวุ่นวาย (ธรรมคุ้มครองโลก หรือ ธรรมโลกบาล)

    2. การมีความอดทน รู้จักอดกลั้นต่อความยากลำบากของงาน ต่ออุปสรรคทั้งหลาย ตลอดทั้งความเข้าใจผิด และความไม่สุจริตใจต่าง ๆ ที่คนอื่นมีต่อตน (ขันติ) และมีความสงบเสงี่ยม ความอ่อนน้อมถ่อมตน (โสรัจจะ) ( ธรรม ทำให้งาม)

    3. มีสติสัมปชัญญะเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนสม่ำเสมอ ไม่มีการลืมตัว หรือละเลยต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของตน (เป็นการยึดมั่นในธรรมที่มีอุปการะมากหรือธรรมที่เกื้อกูลในกิจ หรือในการทำความดีทุกอย่าง)

    4. รู้จักอุปการะ คือ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น นึกถึงประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้งพร้อมที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่คนอื่น ในงานในหน้าที่ และความรับผิดชอบของตน ไม่ถืออคติหรือความลำเอียงใด ๆ ในการปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงานต่อศิษย์ หรือนักเรียนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะมีความรักใคร่ชอบพอกัน ไม่ชอบ ไม่พอใจ มีความรู้หรือเขลา หรือมีอามิสสินจ้าง หรือเกรงกลัวภัยต่าง ๆ อย่างใด
    5. มีคุณธรรมประจำตน ในการที่จะทำงานในหน้าที่ของตนให้สำเร็จ (อิทธิบาท) 4 ประการ คือ มีความพอใจและเอาใจใส่การงานในหน้าที่ของตน (ฉันทะ) มีความพากเพียรในการประกอบการงานในหน้าที่ (วิริยะ) เอาใจฝักใฝ่ในการงานไม่ทอดทิ้ง (จิตตะ) และหมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผลและวิธีการที่จะทำให้การงานเจริญก้าวหน้า อยู่เสมอ (วิมังสา)
    6. มีคุณสมบัติอันประเสริฐ (พรหมวิหาร) 4 ประการ คือ มีความเมตตา ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข มีความกรุณาสงสาร คิดหาทางให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ มีมุทิตาปราบปลื้มในความสำเร็จ ความก้าวหน้าของบุคคลอื่น และมีอุเบกขา ความวางเฉย เห็นอกเห็นใจแก่ผู้ที่ได้รับความทุกข์

    7. มีคุณธรรมที่เป็นเครื่องผูกน้ำใจผู้อื่น และบุคคลทั่วไป (สังคหวัตถุ) 4 ประการอยู่เป็นประจำ คือ ให้ปันสิ่งของแก่บุคคลที่ควรให้ปัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น ตามสมควรแก่กรณี (ทาน) มีวาจาอ่อนหวาน สุภาพเรียบร้อย (ปิยวาจา) ประพฤติตนเป็นคุณประโยชน์ (อัตถจริยา) และเป็นคนไม่ถือตัว ไม่ถือยศศักดิ์ เข้ากันได้กับผู้ร่วมงานทุกคน ตามความเหมาะสมกับฐานะหน้าที่ของตน (สมานัตตตา)

    8. หมั่นศึกษาหาความรู้รอบตัว ให้มีความรอบรู้ เพื่อเป็นผู้ที่ทันต่อเหตุการณ์ บุคคลและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหน้าที่การงาน (พาหุสัจจะ)

    9. ประพฤติตนให้ห่างจากอบายมุข หรือทางแห่งความเสื่อมต่าง ๆ ไม่กระทำตนเป็นคนเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น ผู้ร่วมงาน หรือนักเรียนนักศึกษา มีความจริงใจต่อผู้ร่วมงานทุกคน ไม่เป็นคนที่มีเล่ห์ หรือเชื่อถือไม่ได้

    หน้าที่สำคัญของผู้บริหาร คือ การเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาผู้อื่น หัวหน้าสถานศึกษาจะต้องสร้างหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่ คนงานภารโรง ในสถานศึกษา ลดลั่นลงไป หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าหมวดวิชา หัวหน้าคณะวิชา หรือหัวหน้าภาควิชา ก็ต้องทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา ครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ในส่วนของตน หลักการในการปกครองบังคับบัญชาที่เป็นการจูงใจโน้มนำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา นักเรียน เคารพทำตาม หรือร่วมงานอย่างมีประสิทธิภาพ มี 3 วิธี และผู้ปกครองบังคับบัญชาจะต้องเลือกใช้ให้หมาะกับผู้อยู่ในปกครองให้ถูกต้องถูกโอกาสด้วย คือ
    1. นิคคหวิธี คือ ปกครองด้วยวิธีคู่ขนาบ บังคับบัญชา แบบรักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี

    2. ปัคคหวิธี คือ ปกครองด้วยการยกย่องส่งเสริมให้ทำความดี ให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน หรือศึกษาเล่าเรียน ใครทำดีอะไร ทำอะไรสำเร็จเป็นพิเศษ ก็ยกย่องชมเชยให้ปรากฏ

    3. ทิฏฐานุคติวิธี คือ ปกครองโดยการทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี สอนให้คนอื่นทำอะไรอย่างไร ตนเองต้องปฏิบัติตามนั้นด้วย

    ในสังคมไทยปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการสถานศึกษา หรือหน่วยงานย่อย แค่ไหนอย่างไร ผู้บริหารมักถูกมองในแง่อคติ ในการปกครองบังคับบัญชา เช่น ในการแต่งตั้งให้มีตำแหน่งสูงขึ้น การพิจารณาความดีความชอบ การไว้เนื้อเชื่อใจให้ทำงานที่สำคัญ ๆ มักจะกล่าวหาว่าผู้บริหารมักจะถือเอาประโยชน์และอามิสเป็นที่ตั้ง เช่น มีคำพังเพยว่า
     
  6. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <CENTER>พรหมวิหาร ๔




    </CENTER>
    คือ ธรรมสำหรับเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตใจที่ดี มี ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้


    ๑. เมตตา ความรักที่จะให้เป็นสุข ตรงกันข้ามกับ ความเกลียดที่จะให้เป็นทุกข์ เมตตาเป็นเครื่องปลูกอัธยาศัย เอื้ออารี ทำให้มีความหนักแน่นในอารมณ์ ไม่ร้อนวู่วาม เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ไม่เป็นศัตรู ไม่เบียดเบียน ใคร แม้สัตว์เล็กเพียงไหน ให้เดือดร้อนทรมานด้วยความเกลียด โกรธ หรือสนุกก็ตาม

    ๒. กรุณา ความสงสารจะช่วยให้พ้นทุกข์ ตรงกันข้าม กับความเบียดเบียน เป็นเครื่อง ปลูกอัธยาศัยเผื่อแผ่เจือจาน ช่วยผู้ทีประสบทุกข์ยากต่าง ๆ กรุณานี้เป็นพระคุณสำคัญข้อ หนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของ พระมหากษัตริย์ และเป็นคุณข้อ สำคัญของท่านผู้มีคุณทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น

    ๓. มุทิตา ความพลอยยินดีในความได้ดีของผู้อื่น ตรงกันข้ามกับความริษยาในความดี ของเขา เป็นเครื่องปลูก อัธยาศัยส่งเสริมความดี ความสุข ความเจริญ ของกันและกัน

    ๔. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ในเวลาที่ควรวางใจ ดังนั้น เช่น ในเวลาที่ผู้อื่น ถึงความวิบัติ ก็วางใจเป็นกลาง ไม่ดีใจว่าศัตรูถึงความวิบัติ ไม่เสียใจว่าคนที่รัก ถึงความวิบัติ ด้วยพิจารณาในทางกรรมว่า ทุก ๆ คนมีกรรมเป็นของตน ต้องเป็นทายาท รับผลของกรรมที่ตนได้ทำไว้เอง ความเพ่งเล็ง ถึงกรรมเป็นสำคัญดังนี้ จนวางใจลง ในกรรมได้ ย่อมเป็นเหตุถอนความเพ่งเล็งบุคคลเป็นสำคัญ นี้แหละเรียกว่า อุเบกขา เป็นเหตุปลูกอัธยาศัยให้เพ่งเล็งถึงความผิดถูกชั่วดีเป็นข้อสำคัญ ทำให้เป็นคนมีใจ ยุติธรรมในเรื่องทั่ว ๆ ไปด้วย


    ธรรม ๔ ข้อนี้ ควรอบรมให้มีในจิตใจด้วยวิธีคิดแผ่ใจ ประกอบด้วยเมตตา เป็นต้น ออกไปในบุคคลและสัตว์ทั้งหลาย โดยเจาะจง และโดยไม่เจาะจงคือทั่วไป เมื่อหัดคิดอยู่บ่อย ๆ จิตใจก็จะอยู่กับธรรมเหล่านี้บ่อยเข้าแทนความเกลียด โกรธ เป็นต้น ที่ตรงกันข้าม จนถึงเป็นอัธยาศัยขึ้น ก็จะมีความสุขมาก

    ...
    อริยสัจ ไตรลักษณ์ และนิพพาน
     
  7. Toutou

    Toutou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    1,455
    ค่าพลัง:
    +8,107
    ขอบคุณคำแนะนำของทุกท่านมากๆค่ะ คิดว่าจะวางอุเบกขาแล้วค่ะ เก็บไปคิดก็ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ปล่าวๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...