เรื่องเด่น “ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” ย้อนตำนานประเพณีที่สระบุรี

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 12 กรกฎาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    0b895e0b8a3e0b894e0b8ade0b881e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8a3e0b8a9e0b8b2-e0b8a2e0b989.jpg

    (บรรยากาศวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ปีที่ผ่านมา)

    ในวันเข้าพรรษาทุกๆ ปี เทศบาลเมืองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จะจัดงาน “ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษาและถวายเทียนพระราชทาน” ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นประเพณีเที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นสระบุรี ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา และถือเป็นประเพณีที่สำคัญที่อยู่คู่กับวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารมาช้านาน พี่น้องประชาชนชาวพระพุทธบาทและพื้นที่ใกล้เคียงจะถือเอาวันเข้าพรรษาของทุกปี ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันตักบาตรดอกเข้าพรรษามาโดยตลอด เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น กระทั่งมาเป็นประเพณีของจังหวัดสระบุรี และปัจจุบันเป็นประเพณีระดับประเทศ ได้ชื่อว่า “เป็นประเพณีหนึ่งเดียวในโลก”

    895e0b8a3e0b894e0b8ade0b881e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8a3e0b8a9e0b8b2-e0b8a2e0b989-1.jpg

    (เทศบาลเมืองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ชวนคนไทยร่วมตักบาตรดอกเข้าพรรษา)

    นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เปิดเผยว่า ความเป็นมาของการตักบาตรดอกเข้าพรรษานั้น มีแจ้งในพุทธตำนานว่า นายมาลาการ เป็นผู้ทำหน้าที่นำดอกมะลิสดไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งเมืองราชคฤห์เป็นประจำทุกวัน มาวันหนึ่งขณะที่นายมาลาการออกไปเก็บดอกมะลิอยู่ในสวน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์กำลังเสด็จออกบิณฑบาตผ่านมา นายมาลาการเห็นดังนั้นจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธองค์ ได้นำดอกมะลิ 8 กำมือไปถวาย พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวพระศาสดาเสด็จออกบิณฑบาตมาถึงใกล้ๆ พระราชวังจนนายมาลาการได้พบ และถวายดอกมะลิบูชา พระองค์จึงเสด็จไปถวายบังคมต่อพระศาสดา แล้วตามเสด็จพระศาสดาไปด้วยความเลื่อมใสศรัทธา พระเจ้าพิมพิสารเลยบำเหน็จรางวัลความดีความชอบและพระราชทานสิ่งของทั้งปวงให้กับนายมาลาการ

    895e0b8a3e0b894e0b8ade0b881e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8a3e0b8a9e0b8b2-e0b8a2e0b989-2.jpg

    (ภาพบรรยากาศตักบาตรดอกเข้าพรรษา)

    นับแต่นั้นมา นายมาลาการก็อยู่อย่างร่มเย็นปราศจากทุกข์ใดๆ ทั้งปวง ด้วยอานิสงส์ของการนำดอกมะลิบูชาแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแทนการตักบาตร จากอานิสงส์ดังกล่าวแต่ครั้งพุทธกาล ชาวพุทธทั่วไปจึงถือเป็นประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประจำทุกปี จนกระทั่งถึงปัจจุบันเกิดเป็นประเพณี “ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” ที่ชาวบ้านหาเก็บดอกไม้ใกล้ตัวที่ชื่อว่าดอกเข้าพรรษา หรือหงส์เหิน มาทำบุญตักบาตร

    895e0b8a3e0b894e0b8ade0b881e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8a3e0b8a9e0b8b2-e0b8a2e0b989-3.jpg

    (โฉมหน้าของดอกเข้าพรรษาที่จะออกดอกเฉพาะช่วงวันเข้าพรรษา)

    ผู้ว่าฯ เล่าอีกว่า สำหรับดอกเข้าพรรษา หรือหงส์เหิน เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ดอกเมืองร้อน เกิดในป่าร้อนชื้น พบในประเทศไทย, เมียนมาและเวียดนาม ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่หรือตามชายป่า มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น มีความเชื่อว่า เมื่อนำมาตักบาตรจะได้บุญกุศลแรง และสีของกลีบประดับมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีขาว และสีม่วง ซึ่งแต่ละสีมีความเชื่อต่างกัน เช่น สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา สีเหลือง หมายถึง สีแห่งพระสงฆ์ สีม่วง เป็นสีที่หายากที่สุด และชาวอำเภอพระพุทธบาทเชื่อว่าการใส่บาตรด้วยดอกสีม่วงจะได้บุญกุศลมากที่สุด ซึ่งเมื่อพระสงฆ์ได้รับบิณฑบาตแล้วก็จะนำไปสักการะรอยพระพุทธบาท อันจะส่งผลบุญให้ผู้ทำบุญตักบาตรได้ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    895e0b8a3e0b894e0b8ade0b881e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8a3e0b8a9e0b8b2-e0b8a2e0b989-4.jpg

    (ขบวน “ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษาและถวายเทียนพระราชทาน” ปีที่ผ่านมา)

    ดอกเข้าพรรษา 1 ปีจะออกดอกเพียงครั้งเดียวเฉพาะในช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษาเท่านั้น ในท้องที่อำเภอพระพุทธบาทพบว่ามี 2 สกุล ได้แก่ สกุลกระเจียว มีดอกสีขาวหรือขาวอมชมพู และสกุลหงส์เหิน เมื่อถึงวันเข้าพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวอำเภอพระพุทธบาทจะพากันไปเก็บดอกเข้าพรรษาตามไหล่เขาโพธิลังกา หรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวง และเขาพุในเขตอำเภอพระพุทธบาท นำมาจัดรวมกับธูปเทียนเพื่อตักบาตรถวายพระ ซึ่งที่จังหวัดสระบุรีได้จัดพิธีตักบาตรดอกเข้าพรรษาและถวายเทียนพระราชทาน ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง และเป็นสถานที่ประดิษฐาน “รอยพระพุทธบาท” อันศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพบูชา ซึ่งมีความเชื่อในคติชาวลังกาว่า พระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ 5 แห่ง และรอยพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธบาทฯ นี้เป็น 1 ใน 5 แห่ง ต่อมารอยพระพุทธบาทนี้ถูกค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม

    895e0b8a3e0b894e0b8ade0b881e0b980e0b882e0b989e0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8a3e0b8a9e0b8b2-e0b8a2e0b989-5.jpg

    (บรรยากาศ “ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษาและถวายเทียนพระราชทาน” ปีที่ผ่านมา)

    นายชนัตถ์ นันทปัญญา ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดงานฯ หนึ่งในคณะกรรมการการจัดงานประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษาฯ กล่าวว่า สำหรับประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษาฯ ในปีนี้มีการจัดขึ้นระหว่างช่วงวันที่ 14-17 ก.ค. นอกจากพุทธศาสนิกชนจะได้สร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่กับการถวายดอกเข้าพรรษาแด่ภิกษุสงฆ์แล้ว ยังได้ตื่นตาตื่นใจกับขบวนรถต่างๆ อาทิ ขบวนพยุหยาตรา และขบวนแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์, ขบวนพสกนิกรไทย เทิดไท้องค์ราชัน เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และที่ขาดไม่ได้คือความงามของดอกเข้าพรรษาที่บานสะพรั่งทั่วทั้งบริเวณวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตั้งแต่เช้าตรู่จนกระทั่งตะวันเคลื่อนคล้อยลอยลงต่ำหลังมณฑปพระพุทธบาทและลับทิวเขาสุวรรณบรรพตไป เป็นการได้มาย้อนตำนานและสืบสานประเพณีเก่าแก่ที่มีแห่งเดียวในโลกอย่างประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา และผู้ใดที่มาเยี่ยมชมและร่วมทำบุญด้วยกัน ก็จะได้รับของที่ระลึกเป็นพระพุทธรูปจำลอง พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสี่มุมเมือง มีอยู่ 4 องค์ ถูกจัดสร้างขึ้นตามความเชื่อและโบราณประเพณีของบ้านเมืองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่จะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องขอบขัณฑสีมาทั้งสี่ทิศ
    โดยการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศนั้น เป็นการสร้างพระพุทธรูปแบบ ‘จตุรพุทธปราการ’ กล่าวคือเป็นการนำเอาวัดหรือพระพุทธรูปเป็นปราการทั้งสี่ด้าน เพื่อปกป้องภยันตรายจากอริราชศัตรู ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เสริมสร้างดวงชะตาแก่บ้านเมืองและคุ้มครองพสกนิกรทั้งมวลให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข.

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thaipost.net/main/detail/40733
     

แชร์หน้านี้

Loading...