ใส่เสื้อผ้าหนาๆ ไว้ โลกกำลังร้อน!?! โดย เกษียร เตชะพีระ <STYLE> P { margin: 0px; } </STYLE> <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE> ผมอยากเชิญชวนท่านผู้อ่านลองพิจารณาข้อมูลภูมิอากาศในรอบปี ค.ศ.2010 ที่ผ่านมาต่อไปนี้ดู: - พม่า : หน้าร้อนที่ผ่านมา อุณหภูมิในพม่าขึ้นสูงถึง 46.6 องศาเซลเชียส จีน : ภาคใต้ของจีนน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มเนื่องจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายสัปดาห์ บางท้องที่ในมณฑลเสฉวนเกิดน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบกว่า 150 ปี ญี่ปุ่น : หน้าร้อนญี่ปุ่นปีที่แล้วร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์นับแต่หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นเคยเก็บรวบรวมข้อมูลเริ่มจากปี ค.ศ.1898 เป็นต้นมา, ร้อนกว่าสถิติร้อนที่สุดของญี่ปุ่นครั้งก่อนในปี ค.ศ.1994, ในกรุงโตเกียว อุณหภูมิขึ้นสูงถึง 37 องศาเซลเชียส ปากีสถาน : อุณหภูมิหน้าร้อนขึ้นสูงถึง 53.6 องศาเซลเชียส ทำลายสถิติร้อนที่สุดในทวีปเอเชีย พายุฝนยังตกกระหน่ำทำให้น้ำท่วมพื้นที่ราว 1 ใน 5 ของประเทศ ชาวปากีสถาน 20 ล้านคนเดือดร้อนสาหัส ไนเจอร์ : แรกทีเดียวประสบภัยแล้งซึ่งอาจก่อทุพภิกขภัยกว้างขวาง แต่แล้วก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ตามมา ทำให้ชาวไนเจอร์แสนคนไร้ที่อยู่อาศัย รัสเซีย : กรุงมอสโกซึ่งแต่ไหนแต่ไรไม่เคยร้อนถึง 37.7 องศาเซลเชียสมาก่อนเลย ปรากฏว่าหน้าร้อนเดือนกรกฎาคมศกก่อน อุณหภูมิในมอสโกขึ้นไปแตะเพดาน 37.7 องศาเซลเชียส ถึง 5 ครั้ง หากเทียบสถิติอุณหภูมิมอสโกนับแต่ปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา เหตุที่เกิดขึ้นนับว่าหาได้ยากพอๆ กับเรื่องราวที่แสนปีจะมีสักครั้ง คลื่นความร้อนที่รัสเซียไม่เคยประสบมาก่อนในรอบ 130 ปี ยังทำให้ไฟป่าปะทุไหม้ลามหลายพันแห่งทั่วประเทศชาวรัสเซียเสียชีวิตไป 15,000 คน เหตุเหล่านี้ส่งผลสะเทือนไปทั่วโลกในสภาพที่รัสเซียต้องหยุดส่งออกข้าวสาลีเนื่องจากผลผลิตเสียหายเพราะอากาศร้อนผิดปกติราว 30% <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD> ค่าอุณหภูมิพื้นผิวโลกผิดปกติเป็นองศาเซลเชียส (a) ม.ค.-พ.ย.2010 (b) พ.ย.2010 </TD></TR></TBODY></TABLE> ยุโรป : หิมะตกหนักและพายุหิมะทำให้การเดินทางโดยเครื่องบินโกลาหลวุ่นวายไปทั่วทวีป สหรัฐอเมริกา : เกิดพายุฝนหนักตกกระหน่ำในหลายมลรัฐทางภาคตะวันออกของสหรัฐ เริ่มจากมลรัฐนิวอิงแลนด์ในเดือนมีนาคม, ตามมาด้วยฝนตกสูงถึง 13 นิ้วในชั่ว 2 วัน เมื่อเดือนพฤษภาคมในมลรัฐเทนเนสซี ส่งผลให้น้ำท่วมใหญ่เมืองแนชวิลล์จมอยู่ใต้น้ำโดยพื้นฐานมีผู้เสียชีวิต 30 คน ต้องอพยพหนีอุทกภัยอีกหลายพัน ถือเป็นเหตุการณ์หาได้ยากประเภทพันปีมีหนในมลรัฐนี้และก่อภัยพิบัติร้ายแรงแก่เทนเนสซีชนิดที่ยากจะหากรณีอื่นใดเทียบได้นอกจากสงครามกลางเมืองเหนือ-ใต้ของอเมริกาเมื่อเกือบ 150 ปีก่อน, จากนั้นฝนก็ตกหนักเป็นประวัติการณ์ในเมืองโอคลาโฮมา ซิตี้ในเดือนมิถุนายน, และพายุฝนกระหน่ำมลรัฐนอร์ทแคโรไลนาติดชายฝั่งในเดือนตุลาคม ในขอบเขตทั่วประเทศ นี่เป็นฤดูร้อนที่สุดอันดับ 4 ของสหรัฐ โดยรวมศูนย์แถบพื้นที่ติดมหาสมุทรแอตแลนติกตอนกลาง เช่นเขตเมืองหลวงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่แล้วสภาพภูมิอากาศก็สวิงกลับไปกลับมาระหว่างร้อนตับแทบแตกกับพายุหิมะตกหนัก ลมโกรกแรง อากาศหนาวจัดอีกในช่วงปลายปี เมืองใหญ่น้อยหลายร้อยแห่งทางฝั่งตะวันออกถูกถล่มด้วยพายุหิมะใหญ่หลังคริสต์มาส หลายแห่งหิมะตกหนากว่า 2 ฟุต ลมแรงถึง 80 ไมล์ต่อชั่วโมง มลรัฐ 6 แห่งต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เที่ยวบิน รถไฟ รถโดยสารหลายพันเที่ยวต้องยกเลิก ที่นิวยอร์ก หิมะตกกองพะเนินเทินทึกอากาศหนาวยะเยียบไม่ทันไร ปรากฏว่ากลับตาลปัตรอุ่นขึ้นเป็น 10 องศาเซลเชียส ช่วงวันสุกดิบก่อนขึ้นปีใหม่!?! <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD> ดัชนีอุณหภูมิแผ่นดิน-มหาสมุทรของโลก แสดงค่าอุณหภูมิผิดปกติเป็นองศาเซลเชียส ค.ศ.1880-ปัจจุบัน (a) ค่าเฉลี่ยรายปีและราย 5 ปี (b) ค่าเฉลี่ย 60 เดือน และ 132 เดือน </TD></TR></TBODY></TABLE> ความผันผวนแปรปรวนสวิงสุดโต่งของภูมิอากาศในอเมริกา จะเห็นได้จากสถิติเปรียบเทียบระหว่างท้องที่ทั่วประเทศ ซึ่งรายงานว่ามีอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ กับท้องที่ซึ่งรายงานว่ามีอุณหภูมิต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบปีที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีที่ร้อนเป็นประวัติการณ์ 4,100 แห่ง ขณะที่หนาวเป็นประวัติการณ์ 1,500 แห่ง คิดเป็นอัตราส่วนร้อนสุดต่อหนาวสุดราว 2.5:1 ประเทศไทย, อินโดนีเซีย, อินเดีย, เวเนซุเอลา ฯลฯ : ฝนตกหนัก โคลนถล่มและเกิดน้ำท่วมกว้างขวาง มีผู้เสียชีวิตหลายพัน บ้านช่องทรัพย์สินเสียหายวอดวายนับล้านครอบครัว 18 ประเทศทั่วโลก : คิดเป็นเนื้อที่ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลกต่างรายงานว่ามีอุณหภูมิร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปีเดียวกัน ขณะที่หน้าพายุเฮอร์ริเคนของมหาสมุทรแอตแลนติกก็มีพายุชุกชุม ส่วนมหาสมุทรแปซิฟิกก็เปลี่ยนจากภาวะกระแสน้ำอุ่นเอลนิโญ่ (El Nino) ไปเป็นภาวะกระแสน้ำเย็นลานีญ่า (La Nina) แทน โลก : องค์การนาซา (NASA - National Aeronautics and Space Administration) ของรัฐบาลสหรัฐรายงานเมื่อศุกร์ที่ 10 ธันวาคมศกก่อนว่าปีอุตุนิยมวิทยาที่ผ่านมา (นับจากธันวาคม ค.ศ.2009- พฤศจิกายน ค.ศ.2010) เป็นปีที่ร้อนที่สุดในรอบ 131 ปีเท่าที่องค์การนาซาเคยเก็บสถิติมา ที่น่าวิตกก็คือมันเป็นปีร้อนที่สุดทั้งๆ ที่มี 2 ปัจจัยคอยช่วยผ่อนคลายประทังให้โลกเย็นไว้ ได้แก่ 1) โลกกำลังอยู่ในช่วงความรับอาบรังสีจากดวงอาทิตย์ต่ำ (lower solar irradiance) ซึ่งช่วยให้ภูมิอากาศโลกเย็นลง และ 2) ยังมีปรากฏการณ์กระแสน้ำเย็นลานีญ่าซึ่งช่วยกดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำไว้นับแต่ปลายหน้าร้อนปีที่แล้วเป็นต้นมาด้วย ข่าวนี้ทำให้ ดอกเตอร์ เจมส์ ฮันเส็น ผู้อำนวยการ Goddard Institute for Space Studies และยอดนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศแห่งองค์การนาซา ชี้ไว้ในบทความที่เขียนร่วมกับเพื่อนร่วมงาน 3 คน ว่า : "อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในปี ค.ศ.2010 มีความหมายสำคัญเป็นพิเศษเพราะมันเกิดขึ้นในระหว่างที่ความรับอาบรังสีจากดวงอาทิตย์ต่ำสุดเมื่อเร็วๆ นี้กำลังส่งผลผ่อนคลายโลกให้เย็นลงที่สุด" สรุป : ภัยพิบัติธรรมชาติในรอบปี ค.ศ.2010 ที่ผ่านมาคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปประมาณ 260,000 คน (ในจำนวนนี้มี 21,000 รายที่เสียชีวิตเนื่องจากภูมิอากาศโดยตรง) มากกว่ายอดผู้เสียชีวิตจากภัยก่อการร้าย 40 ปีที่ผ่านมารวมกัน (ไม่ถึง 115,000 คน), มันทำลายเศรษฐกิจโลกเสียหายไปทั้งสิ้นราว 222 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (มูลค่ามากกว่าเศรษฐกิจของฮ่องกงทั้งเกาะ), บัญชีหัวข้อข่าวภัยพิบัติธรรมชาติรายวันตลอดปีที่แล้วซึ่งสำนักข่าวเอพีประมวลขึ้นยาวเหยียดถึง 64 หน้ากระดาษพิมพ์! คำถาม : แล้วอากาศสวิงสุดโต่ง (extreme weather) ที่คร่าชีวิตผู้คนไปเรือนหมื่นเรือนแสนเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อนและภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (global warming & climate change) อย่างไร? ----------- มติชนออนไลน์ ใส่เสื้อผ้าหนาๆ ไว้ โลกกำลังร้อน!?! : มติชนออนไลน์
′จากโลกร้อนสู่อากาศแปรปรวนสุดโต่ง′ โดย เกษียร เตชะพีระ <STYLE> P { margin: 0px; } </STYLE> <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD> ดร. พอล เอพสไตน์ รองผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมโลกแห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด </TD></TR></TBODY></TABLE>ผมทิ้งคำถามไว้ท้ายสัปดาห์ก่อนว่า : แล้วอากาศแปรปรวนสุดโต่ง (extreme weather) ที่คร่าชีวิตผู้คนไปนับแสนในปีร้อนที่สุดของโลกเมื่อปีที่แล้ว เกี่ยวพันเชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อนและภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (global warming & climate change) อย่างไร? ดอกเตอร์ พอล เอพสไตน์ รองผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมโลกแห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ผู้เพิ่งร่วมเขียนหนังสือ Changing Planet, Changing Health: How the Climate Crisis Threatens Our Health and What We Can Do about It (กำหนดออกโดย University of California Press ในเดือน เม.ย. ศกนี้) ช่วยอธิบายกลไกกระบวนการซึ่งภาวะโลกร้อน (global warming) นำไปสู่ ? อากาศแปรปรวนสุดโต่ง (extreme weather) ว่า: ปมเงื่อนพื้นฐานของภาวะโลกร้อนและภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (ซึ่งก็คืออากาศมีแบบแผนที่ทั้งร้อนขึ้นและผันแปรไปพร้อมกัน) ก็คือความจริงที่ยังไม่มีใครพูดถึงกันนักว่าในรอบ 50 ปีหลังนี้ ห้วงมหาสมุทรได้ดูดซับความร้อนไว้ถึง 22 เท่าของบรรยากาศโลก! ความร้อนที่ก่อตัวสั่งสมสูงเป็นพิเศษในท้องมหาสมุทรรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาส่งผลต่อเนื่อง 2 ประการคือ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD> ความผันแปรของอุณหภูมิพื้นผิวของโลกในรอบ 2 หมื่นปี โดยที่ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิพื้นผิวโลกรอบ 1 หมื่นปีหลังนี้ = 15 องศาเซลเชียส โปรดสังเกตเส้นกราฟความผันแปรของอุณหภูมิที่กำลังเชิดสูงขึ้นในปัจจุบัน </TD></TR></TBODY></TABLE> น้ำมหาสมุทรที่อุ่นขึ้นระเหยกลายเป็นไอน้ำด้วยอัตราเร่งสูงขึ้น ส่งผลให้ฝนตกหนัก บรรยากาศโลกที่อุ่นขึ้นยังโอบอุ้มไอน้ำไว้มากขึ้นด้วย กล่าวคือถ้าบรรยากาศร้อนขึ้น 1 องศาเซลเชียส มันจะอุ้มไอน้ำเพิ่มขึ้น 7% ในความหมายนี้ ห้วงมหาสมุทรของโลกจึงเสมือนหนึ่งเครื่องจักรที่เพิ่มพูนแรงขับดันจากภาวะโลกร้อนในชั้นบรรยากาศ ผ่านกลไกกระบวนการ 1) และ 2) ข้างต้น ส่งผลให้วงจรอุทกวิทยา (the hydrological cycle หรือวงจรน้ำของโลก) เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล จนกระทั่งแบบแผนอากาศผันผวนแปรปรวนในที่สุด บางที่ก็แล้งหนัก, บางที่กลับฝนตกไม่ลืมหูลืมตาอย่างไม่เคยเจอมาก่อน, และบางที่ก็หิมะตกหนา เป็นต้น พอเขียนเป็นสมการเหตุผลเชื่อมโยงได้ดังนี้: กลไกกระบวนการที่เกิดขึ้น: [ภาวะโลกร้อน --> มหาสมุทรอุ่นขึ้น --> 1) & 2) --> อากาศแปรปรวนสุดโต่ง] บางคนอาจสงสัยว่าจะบอกว่าโลกร้อนได้ยังไงในเมื่อหลายแห่งหลายที่ของโลกอากาศหนาวจัดเสียจนกระทั่งหิมะตกในที่ไม่เคยตกมาก่อนด้วยซ้ำ? แบบนี้มันจะมิใช่เกิดภาวะโลกเย็น (global cooling) ดอกหรือ? ดร.เอพสไตน์แจกแจงว่า จะหยิบยกเอาเหตุการณ์หรือกรณีอันใดอันหนึ่งเพียงอันเดียวมาวินิจฉัยฟันธงว่า โลกร้อนขึ้นหรือไม่นั้น มิได้ ประเด็นคือปรากฏการณ์ต่างๆ นานาที่เราประสบเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่าง [ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง] กับ [การเปลี่ยนแปรทางธรรมชาติ] ส่งผลให้แบบแผนอากาศของโลกแปรปรวนรวนเรไปหมด โดยผ่านผลกระทบสืบเนื่องจากท้องมหาสมุทรและแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุม ฉะนั้น จึงมิควรจดจ่ออยู่แต่กับเหตุการณ์หรือกรณีเฉพาะเรื่องเฉพาะรายแล้วด่วนสรุปโดยไม่จัดวางมันลงบนแบบแผนอากาศโดยรวม เขายกกรณีตัวอย่างของพลวัตที่ขับเคลื่อนอากาศแปรปรวนปัจจุบันมาสาธกว่า ภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และในทะเลอาร์กติกละลายมากเสียจนกระทั่งมันกลายเป็นแผ่นเกล็ดน้ำแข็งเย็นยะเยียบแผ่ไปทั่วมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและก่อเกิดระบบความกดอากาศสูงขึ้นมา (ตามหลักที่ว่าอากาศร้อนย่อมลอยตัวขึ้นสูง ทำให้แรงกดอากาศต่ำ, ส่วนอากาศเย็นย่อมจมลงล่าง ทำให้แรงกดอากาศสูง) ภาวะความกดอากาศสูงในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือนี้ยืนนานเป็นประวัติการณ์ถึง 15 เดือนและก่อให้เกิดลมแรง อากาศหนาวจัดแผ่กระจายทั่วทวีปยุโรป จนไปจรดกับระบบความกดอากาศต่ำเหนือภูมิภาคตะวันออกกลางซึ่งร้อนระอุ การที่ภาวะโลกร้อนเหนือเกาะกรีนแลนด์และทะเลอาร์กติกตอนต้น โอละพ่อกลายสภาพมาเป็นอากาศหนาวจัดในยุโรปได้ โดยผ่านกลไกผลกระทบอันยอกย้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือนี้ สะท้อนให้เห็นพลวัตอันซับซ้อนพลิกผันของแบบแผนอากาศแปรปรวนสุดโต่งในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ไม่อาจมองปรากฏการณ์หนึ่งๆ อย่างฉาบฉวยผิวเผินหยาบง่ายตื้นเขินแล้วสรุปรวบรัดเพราะหนาวหิมะจนตัวสั่นว่า "โลกมันกำลังเย็นลงต่างหาก!" ได้ ดร.เอพสไตน์สรุปตามธรรมเนียมวิทยาศาสตร์ว่า ไม่ว่าจะพิจารณาโดย : 1) แบบจำลอง : [ภาวะโลกร้อน --> มหาสมุทรอุ่นขึ้น --> 1) & 2) --> อากาศแปรปรวนสุดโต่ง] ซึ่งบัดนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในบรรดางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 2) ข้อมูล : แสดงชัดว่ามหาสมุทรอุ่นขึ้น, ฝนตกหนักขึ้น, ภาวะแห้งแล้งเพิ่มขึ้น 3) หลักการขั้นมูลฐาน : ที่ว่าก๊าซเรือนกระจก - อันเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล 80% และการตัดไม้ทำลายป่าอีกราว 20% - เป็นตัวกักความร้อนไว้ในชั้นบรรยากาศโลก ล้วนบ่งชี้ว่าภาวะโลกร้อนเป็นตัวการทำให้อากาศแปรปรวนสุดโต่ง ไม่ว่าหิมะตก ฝนหนักน้ำท่วม ภัยแล้ง อากาศร้อนจัดหรือหนาวจัดก็ตาม ---------------- มติชนออนไลน์ ′จากโลกร้อนสู่อากาศแปรปรวนสุดโต่ง′ : มติชนออนไลน์
<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>พื้นที่น้ำแข็งสะท้อนพลังงานแดดลดลง 0.45 วัตต์กระตุ้นโลกร้อนขึ้นอีก</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>20 มกราคม 2554 10:14 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12></TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle></TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภูมิประเทศที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งในกรีนแลนด์เมื่อ 17 มี.ค.10 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)</TD></TR></TBODY></TABLE> <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1></TD></TR></TBODY></TABLE> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif></TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>เผยผลการศึกษาการหดของพื้นที่น้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมซีกโลกทางเหนือ สะท้อนพลังงานแดดกลับสู่อวกาศได้น้อยกว่าเมื่อก่อน 0.45 วัตต์ กลายเป็นอีกปัจจัยของภาวะโลกร้อน และทุกองศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้นหมายถึงการสะท้อนพลังงานที่ลดลง 0.3-1.1 วัตต์ จากรายงานของรอยเตอร์ระบุว่า ข้อมูลดาวเทียมบ่งชี้ว่าน้ำแข็ง ธารน้ำแข็งและหิมะในแถบอาร์กติกและน้ำแข็งของกรีนแลนด์ สะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์กลับสู่อวกาศได้น้อยลง ตามข้อมูลที่รวบรวมระหว่างปี 1979-2008 ซึ่งการลดลงของพื้นที่สีขาวซึ่งช่วยปกป้องแสงแดดนี้ได้เพิ่มพื้นที่ของน้ำและพื้นดิน ซึ่งทั้งคู่มีสีที่เข้มกว่าและดูดกลืนความร้อนได้มากกว่าพื้นที่ขาวด้วย จากการศึกษาประมาณว่า น้ำแข็งและหิมะในซีกโลกเหนือขณะนี้ได้สะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศด้านบนเพียงตารางเมตรละ 3.3 วัตต์ ซึ่งลดลงจากช่วงปลายทศวรรษ 1970 ประมาณตารางเมตรละ 0.45 วัตต์ “ปรากฏการณ์ความเย็นถูกลดลง และได้เพิ่มปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่ดาวเคราะห์ของเราดูดกลืนมากขึ้น ซึ่งค่าการลดลงของการสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์นี้มากกว่าในแบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่มีอยู่ในปัจจุบัน” มาร์ก แฟลนเนอร์ (Mark Flanner) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) และเป็นหัวหน้าคณะในการศึกษาครั้งนี้กล่าว ซึ่งได้เผยแพร่ผลงานในวารสารเนเจอร์จีโอไซน์ (Nature Geoscience) แฟลนเนอร์กล่าวถึงบทสรุปของการศึกษาว่า บริเวณไครโอสเฟียร์ (cryosphere) หรือบริเวณที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง และหิมะนั้นมีผลกระทบต่อความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากกว่าที่เคยเข้าใจด้วย ทั้งนี้ ยิ่งมีพื้นดินและน้ำที่รับแสงแดดมากเท่าไร การดูดซับความร้อนยิ่งเร่งการละลายของหิมะและน้ำแข็งมากขึ้น และน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกที่ลดลงในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้เป็นไปในทิศทางที่คณะนักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศของสหประชาชาติกล่าวโทษว่า เป็นผลกระทบหลักๆ จากก๊าซเรือนกระจกที่มนุษยชาติได้เผาผลาญพลังงานฟอสซิลในโรงงาน โรงไฟฟ้าและรถยนต์ นอกจากนี้หลายๆ การศึกษายังชี้ว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะหายไปหมดในช่วงฤดูร้อนของศตวรรษนี้ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวจะทำลายวัฒนธรรมการล่าของชนพื้นเมือง และคุกคามหมีขั้วโลกกับสัตว์ชนิดอื่นๆ ตลอดจนการเพิ่มปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอีกด้วย อย่างไรก็ดี แฟลนเนอร์กล่าวว่าเป็นไปไม่ได้ ที่จะวาดข้อสรุปจากการศึกษาครั้งนี้ถึงอัตราการละลายของน้ำแข็งในอนาคต เพราะเป็นการศึกษาบนข้อมูลย้อนหลังกลับไปเพียง 30 ปีเท่านั้น และยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมาที่ทำลายสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในปัจจัยอื่นนั้นรวมถึงเมฆที่จะมีมากขึ้นบนโลกที่ร้อนขึ้นและจะกลายเป็นหลังคาสีขาวที่สะท้อนแสงอาทิตย์ออกไป หรืออาจจะมีไอน้ำที่ดักจับความร้อนมากขึ้นในชั้นบรรยากาศ การศึกษาในครั้งนี้ประมาณว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส หมายถึงน้ำแข็งและหิมะในซีกโลกเหนือลดการสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์สู่อวกาศลงตารางเมตรละ 0.3-1.1 วัตต์ และในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาอุณหภูมิในซีกโลกเหนือได้เพิ่มขึ้นแล้วประมาณ 0.75 องศาเซลเซียส แต่ทีมวิจัยไม่ได้ศึกษาในส่วนของซีกโลกใต้ที่ทวีปแอนตาร์กติกาที่มีปริมาณน้ำแข็งมากกว่า และยังหนาวจัดกว่า อีกทั้งแสดงสัญลักษณ์ของผลกระทบจากโลกร้อนน้อยกว่าด้วย “โดยภาพรวมระดับโลก ดาวเคราะห์ของเราดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปีในอัตราประมาณ 240 วัตต์ต่อตารางเมตร และโลกอาจเข้มขึ้นแล้วดูดกลืนพลังงานอีก 3.3 วัตต์เมื่อไม่มีพื้นที่น้ำแข็งในซีกโลกเหนือ” แฟลนเนอร์กล่าว. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE> http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000007476
<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รู้ไหมว่า … 2010 คือปีที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากที่สุด</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>24 มกราคม 2554 16:40 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12></TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle></TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่ชายฝั่งเริ่มละลายร่นเข้าไปเรื่อยๆ </TD></TR></TBODY></TABLE> <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle></TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>แผ่นน้ำแข็งที่กำลังจะแยกจากกัน มีธารน้ำแข็งแทรกเข้ามาระหว่างกลาง</TD></TR></TBODY></TABLE> <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1></TD></TR></TBODY></TABLE> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif></TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ปี 2010 ที่ผ่านมา หลายคนคงคุ้นหูกับคำว่า “ร้อนที่สุด” “หนาวที่สุด” และอะไรที่สุดๆ อีกมากมายในด้านสภาพภูมิอากาศโลก และหนึ่งในนั้นคือ “แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลายมากที่สุด” เท่าที่มีการบันทึกมา หลังจากที่สหประชาชาติออกมาสรุปว่าปี 2010 เป็นปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ไปแล้วนั้น ก็มีผลวิจัยตามมาติดๆ ว่า แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกที่กรีนแลนด์ละลายมากเป็น 2 เท่าของค่าเฉลี่ยประจำปี โดยแซงหน้าสถิติที่สูงสุดในรอบ 30 ปี ที่บันทึกไว้เมื่อปี 2007 ไปแล้ว การละลายของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก นอกจากจะหมายถึงเกราะกำบังแสงอาทิตย์ที่หดน้อยลงแล้ว ยังหมายถึงปริมาณน้ำในผืนโลกที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ถ้าละลายไปทั้งหมด จะเพิ่มระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นถึง 7 เมตรจากชายฝั่ง นั่นส่งผลให้เมืองชายฝั่งจมหายไปกับน้ำทะเลได้เลย ที่สำคัญ นักวิทยาศาสาตร์คาดการณ์ไว้แล้วว่า ถ้าแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายประมาณ103-250 กิกะตันต่อปี เมื่อสิ้นศตวรรษ คือเมื่อก้าวเข้าสู่ช่วง ค.ศ.3000 แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์จะเพิ่มปริมาณน้ำให้โลก โดยจะทำให้ทะเลสูงขึ้นอีกประมาณ 50 เซ็นติเมตร ทว่า การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกในปัจจุบันกลับมีอัตราเร่งมากกว่านั้น และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นทุกๆ 1 เมตร จะทำให้เกาะแก่ง และปากแม่น้ำต่างๆ ค่อยๆ ร่นจมหายไป. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE> Science - Manager Online - ��������� � 2010 ��ͻշ�������秢����š������ҡ����ش
หิมะตกหนักทางภาคเหนือของพม่า หิมะที่กำลังตกหนักตรงบริเวณหุบเขาปันวา ในรัฐคะฉิ่น ใกล้กับชายแดนจีน กำลังส่งผลกระทบให้อาคารบ้านเรือน รวมถึงสำนักงานศุลกากรของทางการพม่าพังเสียหายหลายหลัง และทำให้การเดินทางสัญจรไปมาเป็นไปอย่างยากลำบาก ภาพอาคารเสียหายจากหิมะตก บริเวณหุบเขาปันวา รัฐคะฉิ่น “เราไม่เคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน หิมะตกอย่างกับฝนตกหนัก นั่นจึงทำให้อาคารหลายหลังพังเสียหายลงมา แม้จะยังไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ แต่ก็มีการกั้นไม่ให้ประชาชนเดินทางเข้าออกตรงบริเวณที่เกิดเหตุแล้ว” ชาวบ้านในพื้นที่กล่าว ขณะที่การเดินทางสัญจรไปมาในเมืองชีพวย เมืองที่อยู่ถัดไปก็เป็นไปอย่างทุลักทุเลเช่นกัน เนื่องจากตามถนนเต็มไปด้วยหิมะและลูกเห็บ มีรายงานเช่นกันว่า ผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากในเมืองบ่าหม่อเกิดอาการช็อก เป็นเพราะอุณหภูมิที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้านนายทุน ลิน จากกรมอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาในย่างกุ้งรายงานเมื่อต้นเดือนนี้ว่า มวลอากาศเย็นจะปกคลุมทางตอนเหนือของรัฐคะฉิ่นอย่างต่อเนื่องระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม โดยอุณหภูมิในพื้นที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ขึ้นอยู่กับความเร็วลมและทิศทางลมจากพื้นที่สูงในประเทศจีน มีรายงานเช่นเดียวกันว่า นับตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้วถึงเดือนมกราคม พื้นที่สูงทางภาคตะวันตก ภาคเหนือและภาคตะวันออกของพม่ามีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง โดยในเมืองฮักคา เมืองมินดาด ในรัฐชิน เมืองหลอยแหลมและเมืองป๋างโหลง ทางใต้ของรัฐฉานพบว่ามีอุณหภูมิติดลบในตอนกลางคืนด้วยเช่นกัน -------------- หิมะตกหนักทางภาคเหนือของพม่า<!-- google_ad_section_end -->