2010ปีแห่ง'สงครามเงินตรา'ระดับโลก

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 30 ธันวาคม 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>2010ปีแห่ง'สงครามเงินตรา'ระดับโลก</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>30 ธันวาคม 2553 05:22 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>เอเอฟพี - “สงครามเงินตรา” หรือถ้าพูดกันตามเนื้อผ้าให้มากขึ้นหน่อย ก็ได้แก่ความตึงเครียดทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสหรัฐฯกับจีน แล้วสอดแซมด้วยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตของสกุลเงินยูโร เหล่านี้คือลักษณะโดดเด่นของตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในปี 2010 ขณะเดียวกัน มันก็เป็นสิ่งที่เน้นย้ำให้เห็นถึงช่องว่างที่ถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างพวกเศรษฐกิจพัฒนาแล้วที่กำลังลำบากย่ำแย่ กับพวกเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่โตเร็วซึ่งกำลังเด่นผงาดขึ้นทุกที

    “เรากำลังอยู่ในท่ามกลางสงครามเงินตราระหว่างประเทศ เป็นการแข่งขันกันลดค่าเงินตรากันอย่างทั่วหน้า” กุยโด มานเตกา รัฐมนตรีคลังบราซิลกล่าวสรุปเอาไว้เช่นนี้ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

    แม้มีนักวิเคราะห์ไม่น้อยโต้แย้งว่ามันยังไม่ได้ไปไกลถึงขั้นนั้น แต่วลีนี้ก็เป็นที่จับใจผู้คน มันจึงกลายเป็นวลีที่ถูกใช้กันแพร่หลาย เพื่อบรรยายถึงความแตกต่างที่กำลังเพิ่มขึ้นระหว่างพวกผู้นำของประเทศใหญ่ที่ส่งออกเป็นปริมาณมากๆ อย่างเช่น จีน, เยอรมนี, และญี่ปุ่น กับเหล่าประเทศที่ต้องการทำอะไรเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้ เป็นต้นว่า สหรัฐฯ และชาติยูโรโซน

    พิจารณากันในบริบทดังกล่าว การตัดสินครั้งสำคัญที่สุดของปีนี้ ย่อมหนีไม่พ้นการที่ธนาคารกลางของจีนยอมปล่อยให้เงินหยวนที่ตรึงค่าไว้กับดอลลาร์อเมริกัน สามารถลอยตัวได้เพิ่มมากขึ้น โดยเป็นมติที่ออกมาไม่นานนักก่อนหน้าการประชุมซัมมิตกลุ่มจี-20 ที่นครโทรอนโต ประเทศแคนาดา ในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ที่ตามมายังคงไม่สามารถคลี่คลายความตึงเครียดได้

    มันไม่ช่วยบรรเทาความร้อนแรงในถ้อยคำโวหารของพวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งกำลังตั้งท่าอยากเปิดศึกสู้กับนโยบายด้านเงินตราของจีน ทั้งนี้พวกเขากล่าวหาปักกิ่งว่าประคองค่าเงินหยวนให้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้ได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้า จนทำให้ชาวอเมริกันต้องสูญเสียตำแหน่งงานจำนวนมาก

    “มีแต่จะต้องออกกฎหมายชนิดแรงๆ เท่านั้นจึงจะสามารถทำให้ฝ่ายจีนยอมเปลี่ยนแปลง และจะหยุดยั้งไม่ให้ตำแหน่งงานและความมั่งคั่งไหลทะลักออกไปจากอเมริกาได้” ชัค ชูเมอร์ วุฒิสมาชิกสังกัดพรรคเดโมแครตจากมลรัฐนิวยอร์ก ระบุ เขาเป็นหัวเรือใหญ่ที่กำลังผลักดันให้รัฐสภาผ่านกฎหมายที่จะลงโทษคว่ำบาตรสินค้าจีนโดยอ้างเหตุผลเรื่องการกดค่าเงินหยวน

    แต่จีนซึ่งมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับปีละ 10% ได้ออกมาประท้วงต่อต้านแรงกดดันจากต่างประเทศเช่นนี้

    “นโยบายด้านเงินตราของจีนมีความเสมอต้นเสมอปลายและมีความรับผิดชอบ” ประธานาธิบดีหูจิ่นเทาของจีนประกาศ

    ขณะที่นายกรัฐมนตรี เวินเจียเป่า ยกเหตุผลว่า ถ้าปล่อยให้เงินหยวนปรับขึ้นอย่างแรงๆ แล้ว วิสาหกิจส่งออกของจีนจำนวนมากก็จะล้มละลาย คนงานมากมายจะตกงาน จนเป็นเรื่องลำบากที่สังคมจีนจะยังรักษาเสถียรภาพเอาไว้ได้

    ในช่วงระยะเวลาร่วมๆ 6 เดือนหลังมานี้ เงินหยวนเมื่อเทียบดอลลาร์แม้ปรับค่าสูงขึ้นบ้างแต่ก็อยู่ในระดับน้อยกว่า 2.5% กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) บอกว่า เงินตราของจีนยังคง “มีค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมาก”

    และยิ่งดอลลาร์เองก็กำลังอ่อนค่าลงหากเทียบกับสกุลเงินตราอื่นๆ ดังนั้นเงินหยวนจึงปวกเปียกลงมาราว 3%ทีเดียวเมื่อเทียบกับยูโร และประมาณ 5%ถ้าเทียบกับเงินเยน

    หากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้คือสงครามเงินตราจริงๆ ฝ่ายยุโรปและฝ่ายญี่ปุ่นก็คิดว่าพวกเขานั่นแหละคือเหยื่อของสงคราม

    ในเขตยูโรโซน หลายประเทศที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่จบสิ้น เป็นต้นว่า กรีซ และไอร์แลนด์ กำลังต้องเจ็บปวดจากการที่พวกเขาต้องใช้สกุลเงินยูโรเฉกเช่นเดียวกับเยอรมนี ที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวสดใส

    ปี 2010 จึงเกิดการอภิปรายถกเถียงกันอย่างร้อนแรงในเรื่องที่ว่า ยังจะสามารถรักษาสหภาพเงินตราของยุโรปเอาไว้ต่อไปได้หรือไม่

    ในอีกด้านหนึ่ง โลกเราในช่วงร่วมๆ 40 ปีมานี้ อยู่ในสภาพที่เงินดอลลาร์มีฐานะครอบงำ ขณะเดียวกันก็มีการอยู่เคียงคู่กันของหลายสกุลเงินตราที่ลอยตัวอย่างเสรีในตลาด และอีกหลายสกุลเงินตราซึ่งบริหารจัดการโดยแบงก์ชาติของรัฐนั้นๆ

    ทว่าระบบเช่นนี้ดูเหมือนจะเดินมาจนสุดขีดจำกัดของมันเสียแล้ว

    นักเศรษฐศาสตร์ฝรั่งเศส ปาทริก อาร์ตุน อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง “Uncontrollable Liquidity” (สภาพคล่องที่ไม่อาจควบคุมได้) ของเขาว่า ระบบเงินตราเช่นนี้กำลังผลักดันให้ประเทศต่างๆ ผลิตเงินขึ้นมาอย่างล้นเกิน

    เขาเขียนเอาไว้ว่า สหรัฐฯนั้นสนุกสนานกับการมีอภิสิทธิ์ที่จะออกเงินตราได้อย่างไม่ต้องบันยะบันยัง

    ในสภาพเช่นนี้ แบงก์ชาติของประเทศต่างๆ ถูกบังคับให้ต้องกดค่าเงินของตนไม่ให้แข็งขึ้น ด้วยวิธีซื้อหาดอลลาร์มา นำเอาดอลลาร์มาเป็นทุนสำรอง แล้วก็นำทุนสำรองนี้มาลงทุนใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่คือการเข้าซื้อพันธบัตรคลังสหรัฐฯ

    แต่ระบบนี้ดูไม่อาจยืนยาวไปได้อีกนานนักแล้ว จนกระทั่งฝ่ายสหรัฐฯเองก็มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้

    “ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ระบบเงินตราระหว่างประเทศนั้นมีข้อบกพร่องผิดพลาดในเชิงโครงสร้าง” เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ยอมรับเช่นนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    -----------
    Around the World - Manager Online - 2010������'ʧ������Թ���'�дѺ�š
     

แชร์หน้านี้

Loading...