36.เดินเล่นดูเมือง ชมเอื้องเวียงเหนือ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 4 มกราคม 2011.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๓๖

    เดินเล่นดูเมือง ชมเอื้องเวียงเหนือ

    ปีนี้คิดว่าจะไม่ได้ไปสูดอากาศที่ภาคเหนือ แต่เหมือนเมื่อโชคช่วยให้ได้ไปโดยไม่คาดฝัน โอกาสก่อนสามปีผ่านมาล่วงลุกัน ได้ไปเยือนครบครันทั้งสามปี
    เขียนไปเขียนมาจะเป็นกลอนซะงั้น กว่าจะเริ่มเขียนกระทู้ได้ก็ขึ้นปีใหม่แล้ว คงยังไม่เก่าเกินไปพึ่งผ่านมาแค่สองอาทิตย์


    ก็เป็นการเดินทางไปเหมือนกับคราวกระทู้หอมกลิ่นอุบล ยลดวงจำปา คือไปเป็นคณะใหญ่ ๓ คันรถบัส V.I.P กำหนดการคือไปเมืองพิษณุโลก เชียงราย เชียงใหม่และลำปาง ส่วนรายละเอียดว่าไปที่ไหนบ้าง ตอนนี้ยังไม่บอก กลัวไม่มีใครอ่าน(บังคับให้อ่านไปเรื่อยๆ อิ อิ)

    วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ รถออกจากรุงเทพมหานครเวลาประมาณ ๐๖.๐๐ น. มุ่งหน้าสู่จังหวัดพิษณุโลกโดยเส้นทางสายเอเชียถึงเวลาประมาณ ๑๒.๐๐ น. แวะพักทานข้าวที่โรงแรมในตัวเมืองพิษณุโลก พอทานข้าวเสร็จก็เดินทางสู่วัดจันทร์ตะวันออกเพื่อไปดูงานหัตถกรรมของชุมชน ที่นี่ ได้รับการต้อนรับจากผู้นำชุมชนและชาวบ้านอย่างอบอุ่น

    a.jpg


    วัดจันทร์ตะวันออก เป็นพระอารามอยู่ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจและยาวนาน ทางวัดฯ เน้นไปทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ตั้งแต่มัธยมตอนต้นจนถึงมัธยมตอนปลาย อีกทั้งยังเป็นวัดที่จัดอบรมนักเรียนและนิสิต ในรูปแบบธรรมนิเทศบรรยายธรรม รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ

    วัดจันทร์ตะวันออก ตั้งอยู่เลขที่ ๘๑ ถนนสังฆบูชา หมู่ที่ ๓ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๑ งาน ๙๗ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน ที่ดินเลขที่ ๑๑ - ๑๓ ทิศตะวันออกติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน และมีที่เดินเลขที่ ๑๓ ทิศตะวันตก ติดต่อกับแม่น้ำน่านและมีที่ดินเลขที่ ๑๑ – ๑๕ ตามโฉนดเลขที่ ๒๒๑๖๒-๘๑๗-๒๓๒๙-๒๓๒๘

    a.jpg

    พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านทางฝั่งตะวันออก อาคารเสนาสนะต่างๆมีอุโบสถกว่าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๔ ศาลาการเปรียญกว้าง ๒๖ เมตร ยาว ๔๒ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๔๖ หอสวดมนต์กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สร้าง พ.ศ.๒๔๗๖ มีกุฎีสงฆ์จำนวน ๑๓ หลัง เป็นอาคารไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถ ขนาดพระเพลากว้าง ๒ ศอกคืบ เนื้อทองเหลือง พระประจำวัน ๗ องค์ ที่ศาลาการเปรียญมี พระประธานขนาดพระเพลากว้าง ๑ ศอกคืบ และรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาส

    a.jpg


    วัดจันทร์ตะวันออก สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๒๗๖ เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านจึงได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งพัง ทางวัดได้ย้ายสถานที่สร้างเสนาสนะมาแล้วถึง ๓ ครั้ง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร การศึกษาที่วัดนี้ได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลีนับว่าเจริญรุ่งเรืองวัดหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้เปิดสอนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นต้นมา สำหรับภิกษุอยู่จำพรรษามีปีละประมาณ ๒๐ รูป สามเณร ประมาณ ๑๐๐ รูป

    จากคำบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวว่าในอดีตสมัยกรุงธนบุรี วัดจันทร์ตะวันออกแห่งนี้เคยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกองทัพไทย ในระหว่างปี ๒๓๑๗ – ๒๓๑๘ พระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จยกทัพหลวงขึ้นไป ณ ค่ายมั่นใกล้วัดจันทร์ตะวันออก ดำรัสให้กองทัพของพระยายมราช พระยานครราชสีมา พระยาพิชัยสงคราม ยกไปช่วยพระยานครสวรรค์ซึ่งตั้งค่ายในการป้องกันเมืองพิษณุโลก โอบประชิตค่ายพม่า ณ วัดจันทร์ตะวันออกแล้วให้กองทัพพระยาธรรมายกหนุนขึ้นไปช่วยพระยามณเฑียรซึ่งไปตั้งค่ายประชิตโอบหลังค่ายพม่า โดยทัพพม่ามีอะแซวุ่นกี้เป็นแม่ทัพ.....


    ..........................................

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1304467/[/MUSIC]

    ...........................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ระหว่างนี้สร้อยฟ้ามาลาและเพื่อนๆ บางคนปลีกตัวออกจากกลุ่ม มาถ่ายรูปด้านนอกวัด ก็มองไปเห็นวัดจันทร์ตะวันตกอยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำ ก็เลยเดินไปเก็บภาพมาอีกเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเมื่อคราวก่อน สร้อยฟ้ามาลาได้เลยมากราบพระอาจารย์อุบาลี อตุโล คราวมากับคณะของพี่เตอร์และคุณเทพออรฤทธิ์เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้วซึ่งใช้ชื่อกระทู้ว่า ทริปเหนือสุดแดนสยาม

    วัดจันทร์ตะวันตก
    หมู่ ๗ ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๐๐๐
    จากการบอกเล่าของผู้แก่ผู้เฒ่าเล่าให้ฟังว่าตำบลวัดจันทร์ มีวัดเก่าแก่อยู่ ๓ วัด ที่เรียกว่าวัดจันทร์ เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของวัดนั้น มีต้นจันทร์ขึ้นมากจึงตั้งชื่อตามสภาพที่มีต้นจันทร์นั้นว่า “ตำบลวัดจันทร์” มีบ้านเรือนตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำน่านจึงเรียกชื่อตามวัดที่ตั้งว่า วัดจันทร์ตะวันออกและวัดจันทร์ตะวันตก

    ชุมชนวัดจันทร์ตะวันตก จะก่อตั้งเกิดขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดแต่พอจะทราบได้จากบันทึกและคำบอกกล่าวเล่าต่อ ๆ กันมาพอจะสรุปเป็นสังเขปได้ ดังนี้นับถอยหลังจากปีปัจจุบันไปอีกประมาณ ๑๕๓ ปี เดิมที่ตั้งของหมู่บ้านแห่งนี้ เป็นป่าดงในอดีตมีวัดรังเงิน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มาก ผู้รู้เล่าขานกันมาว่า วัดรังเงินสร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กับการสร้างเมืองพิษณุโลก ประชากรที่อาศัยอยู่รอบ ๆ วัด เป็นลาวอพยพมาจากเวียงจันทน์ ต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้เผาผลาญบ้านเรือนของผู้อุปถัมภ์วัดที่อยู่รอบ ๆ หายหมด ชาวบ้านไม่สามารถดับไฟได้เพราะในหมู่บ้านมีแต่บ่อน้ำที่ขุดใช้เองทำให้มีน้ำไม่เพียงพอ

    เหตุการณ์ที่เกิดเพลิงไหม้ครั้งนั้นได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก เนื่องจากหมู่บ้านอยู่ห่างไกลจากแม่น้ำน่าน จึงร่วมกันคิดขึ้นมาว่าควรจะหาสถานที่ตั้งวัดติดกับแม่น้ำ นายเทศ นางทองคำมีจิตศรัทธาได้มอบที่ดินของตนให้กับวัดจำนวน ๑๖ ไร่ ๓ งาน เมื่อดำเนินการก่อสร้างวัดแล้วเสร็จ นิมนต์หลวงพ่อเสือที่อยู่วัดรังเงินมาอยู่ที่วัดสร้างใหม่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันนี้และได้ตั้งชื่อว่าวัดจันทร์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ เหตุผลที่ตั้งชื่อว่าวัดจันทร์นั้นเพราะว่าในวัดมีตันจันทร์ใหญ่อยู่ ๑ ต้น และมีต้นจันทร์เล็ก ๆ อีกหลายต้นขึ้นอยู่ในวัด ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นใช้ศาลาของวัดเป็นโรงเรียน และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนจากวัดฯ มาตั้งอยู่ที่วัดรังเงิน ซึ่งร้างว่างเปล่าอยู่นานแล้วและใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันตกมิตรภาพที่ ๗๓” อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนวัดจันทร์ตะวันตก ได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น ๑ หลัง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๐ สำนักสงฆ์แห่งนี้จึงได้รับนามว่า วัดจันทร์ตะวันตก โดยสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา

    [​IMG]

    ประวัติพระอาจารย์อุบาลี อตุโล
    พระอาจารย์อุบาลี อตุโล เดิมชื่อ ลี เป็นบุตร นายทน ชะใบรัมย์ และนางมาก ชะใบรัมย์ เกิดที่บ้านดงกระทิง (ปัจจุบันเป็นกิ่งอำเภอบ้านด่าน) ตำบลโนนขวาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา รวม ๙ คน ตามลำดับดังนี้
    นายเสาร์ ชะใบรัมย์ (ถึงแก่กรรม)
    นางสาวอ่อนสา ชะใบรัมย์
    พระอาจารย์อุบาลี อตุโล
    นายทองสุข ชะใบรัมย์
    นายสมุทร ชะใบรัมย์
    นายแก้ว ชะใบรัมย์(ถึงแก่กรรม)
    นายสวัสดิ์ ชะใบรัมย์ (ถึงแก่กรรม)
    นายพัด ชะใบรัมย์
    นายสมาน ชะใบรัมย์

    ชีวิตในวัยเด็ก
    โยมแม่ของพระอาจารย์อุบาลีเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า มีลูกทั้งหมด ๙ คน ก่อนตั้งครรภ์ลูกคนที่ ๓ คือพระอาจารย์อุบาลี ได้ฝันว่ามีคนนำพระมาใส่ในมือและได้รับไว้ เมื่อลูกคนที่ ๓ เกิดมาได้ตั้งชื่อว่า “ลี” เด็กชายลี มีนิสัยการกินที่แปลกกว่าทุกคนในบ้าน คือ เป็นเด็กที่ไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่มาตั้งแต่วัยเด็ก และมีลักษณะนิสัยเรียบร้อยไม่เคยสร้างปัญหาให้กับพ่อแม่ ชอบวิ่งเล่นตามประสาเด็กไปไหนมาไหนมักจะไปกับตายายเป็นประจำ ไม่ว่าจะไปกลางนาหรือไปเลี้ยงควายตามทุ่ง เมื่อถึงวัย ๗ ปี เป็นวัยที่ควรต้องเรียนหนังสือพ่อแม่ได้ส่งเขาเรียนหนังสือในโรงเรียนอยู่ใกล้บ้าน คือโรงเรียนบ้านดงกระทิง เรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ พออายุได้ ๑๑ ปี เกิดล้มป่วยลงมีอาการท้องอืดและขาทั้ง ๒ ข้างไม่มีแรง จนในที่สุดเดินไม่ได้ ความยากจนไม่มีเงินรักษาลูกกับหมอสมัยใหม่ โยมแม่ก็ได้แต่พยายามหาหมอบ้านมารักษาหลายรายแต่ก็ไม่หาย หมอบ้านบางคนบอกว่าจะต้องเสียชีวิตในเวลาอีกไม่นานนัก เพราะในสมัยนั้นเด็กที่เป็นโรคนี้จะรักษาไม่หายและต้องตายทุกราย

    บวชสามเณร
    พระอาจารย์อุบาลี ได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ในช่วงเวลาที่ท่านเจ็บป่วยอยู่นั้นท่านไปไหนมาไหนไม่ได้ ทุก ๆ วัน ก็ได้แต่นั่งมองเหม่อลอยอยู่แต่บนบ้าน อยู่มาวันหนึ่งมีพระสงฆ์เดินผ่านบ้านมาให้เห็น ในใจของท่านซึ่งตอนนั้นก็ยังเป็นเด็กอยู่ก็นึกขึ้นมาว่า ถ้ามีใครมารักษาอาการโรคที่เป็นอยู่และทำให้เดินได้เป็นปกติ จะบวชเป็นพระไปตลอดชีวิต ในช่วงเวลานั้น ความที่เป็นเด็กก็ยังไม่เข้าใจในเรื่องการบวชพระแต่อย่างใด แต่ในใจกลับนึกขึ้นมาเอง เหมือนคล้ายกับว่าเป็นการกล่าวสัจจะอธิษฐานในใจ และก็พอจำได้ว่าเวลาผ่านไปไม่นานนัก มีหมอยาคนหนึ่งมาที่บ้านแต่งกายใส่กางเกงสีขาวเสื้อสีขาว ท่านก็นึกว่าแม่ให้มารักษาเหมือนที่เคยให้หมอยาคนอื่นมารักษา แต่ก็ยังไม่หายจากอาการเจ็บป่วย ด้วยความที่อยากหาย จึงไม่ขัดข้องให้หมอยาคนดังกล่าวทำการรักษา หมอยาได้ใช้สมุนไพรต่าง ๆ บดเข้าด้วยกันและโปะลงที่ขา ๒ ข้าง ก่อนกลับหมอยาคนนั้นได้พูดสั่งไว้ว่า “เมื่อหายแล้วอย่าลืมที่ตั้งใจไว้นะ และอีก ๒๐ ปี จะมาหาอีก” ภายหลังหมอยากลับไปแล้ว จึงได้รู้จากโยมแม่ซึ่งเพิ่งกลับมาจากนาว่าไม่ได้บอกให้หมอยาคนนั้นมารักษา ไม่รู้ว่าหมอยานั้นมาจากที่ไหนและรู้ถึงความตั้งใจของท่านที่จะบวชเป็นพระไปตลอดชีวิตหากมีใครรักษาให้อาการเจ็บป่วยหายไปได้อย่างไร ต่อมาอาการโรคภัยต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ก็เริ่มทุเลาลง อาการท้องอืดก็หายไป ขาก็เริ่มมีเรี่ยวแรงและเดินได้ในที่สุดอย่างมีปาฏิหาริย์ พระอาจารย์อุบาลีจึงได้เล่าให้โยมพ่อโยมแม่ฟังถึงเรื่องที่ตั้งใจไว้ เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี โยมพ่อโยมแม่ก็สนับสนุนให้ทำตามที่ได้ตั้งใจไว้ โดยจัดให้บวชเป็นสามเณรที่วัดตะโค้ง บ้านดงกระทิง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นมา

    ในปีแรกของการบวชเณรก็ได้อยู่ที่วัดตะโค้ง เรียนธรรมะเบื้องต้น ปฏิบัติหน้าที่ของสามเณรที่พึงมีต่อสงฆ์อย่างไม่ขาดตกบกพร่องเป็นที่เมตตาของพระสงฆ์ในวัดตะโค้ง ต่อมามีพระสงฆ์ที่เคยมาวัดจันทร์ตะวันตกชักชวนให้มาเที่ยวเมืองพิษณุโลก พระอาจารย์ก็มิได้ปฏิเสธแต่ก็ได้บอกว่าอยากให้พาไป “ เมืองโอฆะบุรี” พระสงฆ์บอกว่าไม่รู้จัก และไม่มีเมืองชื่อ “ โอฆะบุรี” พระอาจารย์อุบาลีเล่าว่าเหตุที่อยากไปเมืองโอฆะบุรี เนื่องจากในช่วงที่เป็นสามเณร ได้ฝันเห็นเมืองนี้บ่อย ๆ จึงสงสัยว่าเมือง “ โอฆะบุรี” จริง ๆ จะเป็นอย่างไร บวชเป็นสามเณรเวลาผ่านไป ๑ ปี ตรงกับปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้เดินทางมาจังหวัดพิษณุโลก เพื่อศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติม โดยเข้าพักอาศัยอยู่ในวัดจันทร์ตะวันตกกับพระอธิการปิ่น อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทร์ตะวันตก ในกุฏิหลังปัจจุบัน เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมจึงได้ทราบภายหลังว่า เมืองพิษณุโลก เป็นกลุ่มเมืองโบราณ ๓ เมือง คือ พิจิตร กำแพงเพชร และพิษณุโลก มีชื่อรวมกันว่า “ เมืองโอฆะบุรี”

    สามเณรเป็นพระสงฆ์
    เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดจันทร์ตะวันตก ซึ่งในช่วงเวลาเป็นสามเณร โยมพ่อขอให้สึกอยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่อาจทำตามที่โยมพ่อขอได้ จนกระทั่งอายุครบบวชโยมพ่อจึงให้กลับไปบวชที่บ้านเกิดที่วัดตะโค้ง บ้านดงกระทิง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายหลังบวชเป็นพระก็ได้ลาโยมพ่อโยมแม่กลับมาที่วัดจันทร์ตะวันตก เล่าเรียนธรรมะจนสอบได้นักธรรม ตรี โท เอก โดยมีครูที่สอนให้ความรู้นำไปสอบ คือ พระอธิการปิ่นให้ความรู้นักธรรมตรี พระอาจารย์ฉะอ้อน ให้ความรู้นักธรรมโท และพระอาจารย์ชุบ ให้ความรู้นักธรรมเอก นอกจากเรียนทางด้านธรรมะพระอาจารย์อุบาลี ยังได้มุ่งเน้นและมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม โดยการนั่งสมาธิมาจนถึงทุกวันนี้ อย่างเคร่งครัดมิได้ขาด มีพระครูหลวงปู่โลกเทพอุดร เป็นครูบาอาจารย์สอนการปฏิบัติ ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดได้บอกญาติโยมว่า ท่านปฏิบัติธรรมถึงขั้นมีการเข้านิโรธสมาบัติมาแล้วเป็นเวลามากกว่า ๑๐ ปี โดยมิได้บอกหรือแจ้งให้ใครรู้เรื่องนี้มาก่อน

    ทำนุบำรุงพระศาสนา
    นับตั้งแต่เป็นสามเณรจนเป็นพระสงฆ์ในปัจจุบันพระอาจารย์อุบาลี นอกจากจะปฏิบัติภารกิจของการเป็นสามเณรและพระสงฆ์และมุ่งปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอมาแล้ว พระอาจารย์ยังช่วยเหลืองานด้านศาสนกิจของวัดจันทร์ตะวันตกมาโดยตลอด เป็นพระสงฆ์ที่เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนช่วยเหลือเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันพัฒนาวัดจันทร์ตะวันตก และมีผลงานที่เกิดจากศรัทธาของลูกศิษย์และญาติโยมที่มีต่อพระอาจารย์อุบาลี ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อพัฒนาวัดหลายประการ อาทิ การปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในวัด โดยการถมที่ดินปรับพื้นที่ในวัดให้สูงเสมอกันและสร้างถนนคอนกรีตเชื่อมต่อทั่วกันภายในบริเวณวัด การซ่อมบำรุงกุฏิพระสงฆ์ที่ทรุดโทรม สร้างห้องน้ำ ห้องส้วม สำหรับพระสงฆ์และญาติโยม ปรับปรุงหอระฆัง สร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติสำหรับปฏิบัติธรรม สร้างซุ้มประตูวัด สร้างกำแพงวัด และเป็นประธานในการจัดสร้างมหาวิหารสมเด็จองค์ปฐม และหล่อสมเด็จองค์ปฐม หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๙ นิ้ว ทดแทนศาลาหลังเดิมที่มีอายุการใช้งานมานานแล้ว พระอาจารย์อุบาลี ได้นำว่าน ๑๐๘ ที่ท่านสะสมมาหลายปีมาเป็นมวลสารในการสร้างพระรอดนิรมิส มี ๓ สี สีดำ สีใบตองแห้ง และสีเนื้อมันปู โดยท่านได้อธิษฐานจิต ในวันที่ท่านออกจากนิโรธสมาบัติในปี ๒๕๕๐ จึงนับได้ว่าพระอาจารย์อุบาลี เป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และยังได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างถาวรวัตถุให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่ไทย เป็นผู้นำญาติโยมในการปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ ทุกวันศุกร์และวันพระ ณ กุฏิปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ วัดจันทร์ตะวันตก

    [​IMG]

    [​IMG]

    เมื่อได้เวลาพอสมควรแล้ว คณะของเราก็ได้เดินทางมุ่งหน้าสู่จังหวัดเชียงราย เข้าเช็คอิน เวลาประมาณ สองทุ่มกว่าๆ อากาศเย็นๆ ยังไม่ถึงกับหนาว แต่ถ้าสวมเสื้อยืดธรรมดาก็คงไม่ไหว พอเข้าห้องพักได้ไม่นาน เพื่อนโทรมาตามให้ไปร่วมกิจกรรมกลุ่ม คืนนี้มีกิจกรรมกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ แต่ว่ากลัวผิดศีลและวิชาคณิตคิดในใจไม่เก่ง ก็เลยขอตัว นอนดีกว่า........

    .....................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5697_1a.jpg
      IMG_5697_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      328.5 KB
      เปิดดู:
      3,055
    • IMG_5708_1a.jpg
      IMG_5708_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      364.7 KB
      เปิดดู:
      2,025
    • IMG_5723_1a.jpg
      IMG_5723_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      479.7 KB
      เปิดดู:
      2,015
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๓
    Morning Call หกโมงเช้า อยากนอนต่อจัง เพราะเมื่อคืนนอนไม่ค่อยหลับ ผิดที่ วันนี้ตอนเช้าอากาศเย็น ควันออกปาก ทานอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จแล้ว ประมาณแปดโมงเช้าคณะของเรามุ่งหน้าสู่ พระตำหนักดอยตุง

    [​IMG]
    อาหารเช้า

    ที่นี่สร้อยฟ้ามาลา เคยมาแล้วเมื่อประมาณ ๖ ถึง ๗ ปีก่อน ตอนนั้นมางานกฐินที่จังหวัดเชียงราย แต่วัดอะไรจำไม่ได้แล้ว ที่นี่ไกด์บอกว่าจะพาไปชมพระตำหนัก แต่ถ้าใครไม่ขึ้นก็จะไปชมสวนแทนก็ได้ ให้เวลาเดินประมาณ ๑ ชั่วโมง สร้อยฟ้าฯ ก็เลยต้องตัดสินใจว่าจะขึ้นพระตำหนักหรือจะเดินชมสวน เพราะถ้าขึ้นพระตำหนัก ก็ลงมาชมสวนไม่ทัน คิดไปคิดมาเดินชมสวนดีกว่า.....

    [​IMG]

    ดอยตุง อยู่เหนือจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ ๔๕ กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวยาวอยู่ทางด้านซ้ายของเส้นทางที่มุ่งไปอำเภอแม่สาย แต่เดิมเป็นเทือกเขาหัวโล้นที่ถูกชาวเขาตัดทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร จนกระทั่งสมเด็จย่าได้เสด็จมายังดอยตุงและทรงมีพระราชดำรัสว่า ฉันจะปลูกป่าดอยตุง หลังจากนั้นในปี ๒๕๓๐ รัฐบาลได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นโดยปลูกป่าคืนความสมบูรณ์กลับคืนสู่ธรรมชาติ ได้ดึงชาวเขาเข้ามาทำงานในโครงการปลูกป่าดอยตุง แต่ก่อนนั้นเส้นทางขึ้นดอยตุงเป็นเส้นทางลอยฟ้า คือเมื่อนั่งรถบนถนนดอยตุงแล้วมองลงมาก็จะเห็นวิวโล่งๆ ไม่มีต้นไม้มาบดบังทัศนียภาพ แต่ในปัจจุบันนี้ดอยตุงกลับคืนสภาพเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งเมื่อนั่งรถไปตามเส้นทางขึ้นดอยตุงจะเห็นแต่ต้นไม้แน่นขนัดนั่นล้วนเป็นป่าปลูกทั้งสิ้น หลังจากโครงการปลูกป่าแล้วเสร็จจึงได้มีการสร้างพระตำหนักดอยตุง และมีโครงการอีกหลายๆ โครงการตามมาเพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น

    [​IMG]

    จากเทือกเขาหัวโล้นกลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดของเชียงราย แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวดอยตุงเป็นจำนวนมาก แหล่งท่องเที่ยวบนดอยตุงที่นักท่องเที่ยวขึ้นไปเยี่ยมชมได้แก่ สวนแม่ฟ้าหลวง พระตำหนักดอยตุง พระธาตุดอยตุง สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง ดอยช้างมูบ

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระตำหนักดอยตุง
    เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จย่า ปลูกแบบง่ายๆ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระตำหนักสร้างด้วยไม้ทั้งหลังโดยมีโครงเหล็กอยู่ภายใน ไม้ในการสร้างเป็นไม้ลังใส่สินค้าที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ทูลเกล้าถวายสมเด็จย่า เมื่อสร้างออกมาแล้วสวยงามยิ่งนัก รูปแบบการสร้างเป็นการผสมผสานสถาปัตยกรรมล้านนากับบ้านพื้นเมืองสวิตเซอร์แลนด์ ที่เพดานห้องโถงทำเป็นเพดานดาว บริเวณด้านหลังพระตำหนักมีระเบียงยื่นออกไป เมื่อยืนที่ระเบียงจะเห็นทัศนียภาพของดอยตุงที่สวยงาม บริเวณขอบระเบียงมีกระบะปลูกไม้ดอกที่มีสีสันสวยงาม พระตำหนักเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยจะต้องมีมัคคุเทศก์ของพระตำหนักเป็นผู้นำเยี่ยมชม

    [​IMG]

    [​IMG]

    สวนแม่ฟ้าหลวง
    ตั้งอยู่บนพื้นที่เดิมของหมู่บ้านอาข่าป่ากล้วย มีคนอาศัยอยู่ ๖๒ ครอบครัว ในอดีตหมู่บ้านนี้ เป็นเส้นทางลำเลียงสำคัญและเป็นที่พักของกองคาราวานฝิ่น น้ำยาทำเฮโรอีน และอาวุธสงคราม ประกอบกับที่ตั้งมีลักษณะเป็นหุบลึกลงไป บ้านเรือนอยู่อย่างแออัด ขยายไม่ได้ จึงมีปัญหาเรื่องการดูแลความสะอาด ขยะ และน้ำเสีย ทางโครงการพัฒนาดอยตุงฯ จึงขอให้หมู่บ้านย้ายไปอยู่ที่ใหม่ห่างจากที่เดิมราว ๕๐๐ เมตร แต่ตั้งอยู่บนเนินเขา กว้างขวาง และสวยงาม มีระบบประปาและไฟฟ้าเข้าถึง มีถนนลาดยางตัดผ่าน จึงเป็นที่พอใจของชาวบ้าน และในบริเวณหมู่บ้านเดิมก็สร้างสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว บนเนื้อที่ราว ๓๐ ไร่ ตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ที่ต้องการให้คนไทยที่ไม่มีโอกาสไปต่างประเทศ ได้เห็นไม้ดอกเมืองหนาวที่สวนแห่งนี้ กลางสวนมีงานประติมากรรม ของนางมิเซียม ยิบอินซอยโดยสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงพระราชทานชื่อว่า "ความต่อเนื่อง" (Continuity) สื่อถึงการทำงานใดๆ จะสำเร็จได้ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง


    [​IMG]

    ไม้ดอก ไม้ประดับที่นำมาตกแต่ง ปลูกและเลี้ยงดูโดยชาวบ้านในโครงการฯ เป็นการพัฒนาทักษะฝีมือทางการเกษตร และสร้างงานให้ชาวบ้านมีรายได้ที่ดี สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว และยังเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นำรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม มาสู่พื้นที่ปีละหลายล้านบาท

    [​IMG]

    ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ สวนแม่ฟ้าหลวง ได้รับรางวัล พาตา โกลด์ อวอร์ด (PATA Gold Award) ประเภทรางวัลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเอเชีย-แปซิฟิก

    เป็นที่น่าเสียดาย ได้เดินแค่ชั่วโมงเดียวเอง ต้องรีบเดิน เลยเจออุบัติเหตุไปลื่นเกือบล้มตรงลานหินโชคยังดีที่ใช้มือยันพื้นได้ทันไม่งั้นคงล้มทั้งตัวเลย อายจัง....

    ...........................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5733_1a.jpg
      IMG_5733_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      355.3 KB
      เปิดดู:
      1,938
    • IMG_5749_1a.jpg
      IMG_5749_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      464.3 KB
      เปิดดู:
      1,923
    • IMG_5766_1a.jpg
      IMG_5766_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      306.4 KB
      เปิดดู:
      2,373
    • IMG_5772_1a.jpg
      IMG_5772_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      545.7 KB
      เปิดดู:
      2,096
    • IMG_5797_1a.jpg
      IMG_5797_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      517.5 KB
      เปิดดู:
      2,303
    • IMG_5801_1a.jpg
      IMG_5801_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      602 KB
      เปิดดู:
      1,852
    • IMG_5803_1a.jpg
      IMG_5803_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      555.3 KB
      เปิดดู:
      1,815
    • IMG_5827_1a.jpg
      IMG_5827_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      2,313
    • IMG_5839_1a.jpg
      IMG_5839_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      437.1 KB
      เปิดดู:
      1,915
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    หลังจากรีบชมสวนแม่ฟ้าหลวงเสร็จแล้ว ก็ลงจากดอยตุง มุ่งหน้าสู่แม่สาย เพื่อละลายทรัพย์ กระตุ้นเศรษฐกิจไม่รู้ว่าเศรษฐกิจไทยหรือเศรษฐกิจพม่า ก่อนจะเดินจับจ่ายใช้สอย ก็ไปทานอาหารเที่ยงที่โรงแรมแถวๆ แม่สาย ทางไกด์ให้เวลาเดินช็อปถึงบ่ายสี่โมงเย็น ให้เวลาเยอะจัง เพราะว่าคนส่วนใหญ่ข้ามไปฝั่งพม่า แต่สร้อยฟ้าฯ กับเพื่อนๆ ไม่ได้ข้ามไปด้วยเพราะเคยข้ามไปแล้วรู้สึกไม่ปลอดภัย เดินฝั่งบ้านเราสบายใจกว่า

    [​IMG]

    แม่สาย เป็นอำเภอเหนือสุดของจังหวัดเชียงรายและเหนือสุดของประเทศไทย ทิศเหนือจรดแม่น้ำสายซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ทิศตะวันออกติดกับอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทิศใต้ติดกับอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และประเทศพม่า โดยมีด่านชายแดนไทย-พม่าเรียกว่า "ด่านแม่สาย" สามารถผ่านด่านข้ามไปยังจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่าได้โดยมีแม่น้ำสายเป็นพรมแดนทางธรรมชาติ การคมนาคมจากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอแม่สายโดยทางหลวงหมายเลข ๑ (พหลโยธิน ตอนเชียงราย-แม่สาย) ระยะทางหกสิบสาม กิโลเมตร

    [​IMG]

    อำเภอแม่สาย แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอแยกจาก อำเภอแม่จัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๓ มีตำบลแปดตำบลและหมู่บ้านเก้าสิบสองหมู่บ้านขึ้นตรงกับจังหวัดเชียงราย

    ชาวไทยและชาวพม่าเดินทางไปมาหาสู่ค้าขายกันโดยเสรี นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมเดินทางไปยังตลาดแม่สายและท่าขี้เหล็กของพม่า เพื่อซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าราคาถูก เช่น สบู่สุมนไพร เครื่องทองเหลือง ตะกร้า การข้ามไปท่าขี้เหล็ก นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทาง เขตประเทศพม่าได้ทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๖.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. โดยใช้บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ ค่าบริการคนละ ๓๐ บาท ค่าผ่านแดนเข้าพม่า ๑๐ บาท สินค้าที่ไม่อนุญาตให้ซื้อเข้าไทย ได้แก่ สินค้าจากากสัตว์ป่า สุรา บุหรี่ต่างประเทศและซีดีลามกอนาจาร หากซื้อมาเพื่อการค้าต้องเสียภาษีนำเข้าให้ถูกต้อง

    [​IMG]

    ประวัติ
    ตลาดแม่สายเป็นตลาดการค้าชายแดนที่มีชื่อเสียงมานานหลายสิบปี เนื่องจากชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยจะเข้ามาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ จากฝั่งไทยอย่างคึกคัก นักท่องเที่ยวสามารถเดินข้ามไปท่องเที่ยวท่าขี้เหล็กได้โดยไม่ต้องออกหนังสือผ่านแดน ภายหลังเกิดการรบพุ่งระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย และกลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างสองประเทศ จึงมีการปิดด่านอยู่เนือง ๆ แต่ก็มีการเจรจาจนสถานการณ์คลี่คลายไปด้วยดี อย่างไรก็ตามปัญหาชนกลุ่มน้อย ยาเสพติด ทำให้การผ่านแดนต้องเป็นไปอย่างเข้มงวด คนไทยจึงต้องทำหนังสือผ่านแดนหากต้องการไปท่องเที่ยวที่ท่าขี้เหล็ก

    [​IMG]


    ...................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5925_1a.jpg
      IMG_5925_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      331.3 KB
      เปิดดู:
      2,109
    • IMG_6001_1a.jpg
      IMG_6001_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      318.5 KB
      เปิดดู:
      2,412
    • IMG_6002_1a.jpg
      IMG_6002_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      566.6 KB
      เปิดดู:
      1,928
    • IMG_6007_1a.jpg
      IMG_6007_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      317.6 KB
      เปิดดู:
      1,805
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    จากการเดินดูของไปเรื่อยๆ หลายคนเริ่มได้ของติดไม้ติดมือ ส่วนมากพวกเราจะซื้อกระเป๋ากัน มีของกระจุกกระจิกและเสื้อผ้าบ้างตามประสา ในตลาดแม่สายนี้ถ้าเดินลึกเข้าไปในซอย จะพบกับวัดพระธาตุดอยเวา ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๑ ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (ตั้งอยู่บนดอยริมฝั่งแม่น้ำสาย) เป็นวัดที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระธาตุดอยเวา ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศ ยังมีรูปปูนปั้นแมงป่องช้าง (แมงเวา) ตัวขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณลานกว้างทางด้านเหนือขององค์พระธาตุ มีอนุสาวรีย์ของ พระนเรศวรมหาราช พระสุพรรณกัลยา และพระเอกาทศรสประดิษฐานอยู่เคียงข้างกัน โดยอนุสาวรีย์ทั้ง ๓ พระองค์สร้างขึ้นตามความตั้งใจของหลวงปู่โง่น โสรโย แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จังหวัดพิจิตร รวมทั้งมีปราสาทไพชยนต์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประกาศถึงคุณงามความดี และเพื่อสักการะพระอินทร์ (องค์อัมรินทราธิราช) ซึ่งร่วมสร้างกันหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน คหบดีของอำเภอแม่สาย

    [​IMG]

    พระธาตุดอยเวา
    สร้างในรัชสมัยขุนควักเวา หรือพระองค์เวา รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์(เชียงแสนโบราณ) สร้างพระเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุไว้บนดอยนี้ปีที่สร้างเท่าที่เห็นมีทั้งปี พ.ศ.๒๙๖ บ้าง ปี พ.ศ. ๓๖๔ บ้างก็ว่าเป็นปี พ.ศ.๒๓๖๔ ซึ่งถ้าเชื่อว่าเป็นพระธาตุที่มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง ที่เชื่อว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๔๕๔ ก็ต้องสร้างหลังจากปีนี้ และน่าจะต้องสร้างก่อนปี พ.ศ.๑๘๐๕ เพราะเป็นปีที่พระเจ้าเม็งรายมาสร้างเมืองเชียงรายแล้ว โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา เวา ภาษาล้านนาแปลว่า แมงป่อง เมื่อล่วงเวลามานาน พระเจดีย์ชำรุดหักพังตามอายุไข และมีผู้บูรณะขึ้นอีกหลายครั้งหลายหน ครั้งสุดท้าย เหลือซากพระเจดีย์เพียงฐานชั้นล่าง สูงพ้นดินประมาณ ๒ เมตร และถูกขุดเป็นโพรงลึก นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๕ พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๔ และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ ๒๐กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๘ โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง

    [​IMG]

    [​IMG]

    ปัจจุบันมีประเพณีนมัสการพระธาตุในทุกๆปี โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เหนือ (ตรงกับเดือน ๓ ใต้ คือ วันมาฆบูชา) และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันสงกรานต์ ของทุกปี

    ...............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5947_1a.jpg
      IMG_5947_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      227 KB
      เปิดดู:
      1,804
    • IMG_5934_1a.jpg
      IMG_5934_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      455.5 KB
      เปิดดู:
      1,810
    • IMG_5940_1a.jpg
      IMG_5940_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      464.7 KB
      เปิดดู:
      1,768
    • IMG_5943_1a.jpg
      IMG_5943_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      335.5 KB
      เปิดดู:
      1,890
    • IMG_5957_1a.jpg
      IMG_5957_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      485.9 KB
      เปิดดู:
      1,844
    • IMG_5969_1a.jpg
      IMG_5969_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      280.9 KB
      เปิดดู:
      1,841
    • IMG_5964_1a.jpg
      IMG_5964_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      393.9 KB
      เปิดดู:
      1,840
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    หลังจากที่ละลายทรัพย์กันพอสมควร ต่างคนก็เริ่มทะยอยมาที่รถบัสทั้งสามคัน เพื่อที่จะกลับที่พัก ซึ่งตอนหัวค่ำ ทางโรงแรมได้จัดให้มี กาดมั่ว ไว้หน้าโรงแรมเพื่อบริการลูกค้าที่มาพัก เป็นลักษณะบุฟเฟ่เล็ก ในส่วนคณะที่ไปกันค่ำคืนนี้มีการปาร์ตี้และร้องเพลงบนเวที ที่ลานของโรงแรม ตอนนี้อากาศเย็นแล้วน้ำค้างเริ่มจะแรง สร้อยฟ้าฯ กับเพื่อนๆ ก็ไปนั่งทานอาหารค่ำกัน พอทานอิ่มต่างคนเริ่มทะยอยหนีออกจากงานเพื่อจะไปลั้ลลาในตัวเมืองเชียงราย ก็ได้ พี่รปภ.ของโรงแรมช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องจัดหารถไปส่งและรับกลับ โดยที่ตั้งใจจะไปกันแห่งแรกก็คือ


    [​IMG]

    อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช
    พ่อขุนเม็งรายเป็นโอรสของพญาลาวเม็งแห่งราชวงศ์ลัวะ จังคราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติเมื่อ วันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน เอกศกจุลศักราช ๖๐๑ ตรงกับพุทธศักราช ๑๗๘๒ หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ ๑ ปี พระองค์ทรงสร้างเมืองเชียงรายเป็นเมืองหลวงแทนหิรัญนครเงินยาง และเสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๘๕๔ รวมพระชนมายุได้ ๗๒ พรรษา พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๐๕ ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์มังราย และรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจนเจริญรุ่งเรืองจวบจนปัจจุบัน

    อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ประดิษฐานอยู่บริเวณห้าแยกพ่อขุน อำเภอเมืองเชียงราย โดยประชาชนชาวเชียงรายร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๘๐,๐๐๐ บาท เพื่อน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณของพ่อขุนเม็งราย ปั้นโดย นายปกรณ์ เล็กฮอนลักษณะของอนุสาวรีย์คือ เป็นพระรูปของพระองค์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดเท่าครึ่ง ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ล้านนาโบราณ ประทับยืนบนฐานสูงประมาณ ๓ เมตร ทรงถือดาบด้วยพระหัตถ์ซ้ายแนบกับพระเพลา ทรงสวมาลัยพระกร ทรงสวมธำมรงค์ที่พระหัตถ์ขวาตรงนิ้วนางและนิ้วก้อย ที่พระหัตถ์ซ้ายตรงนิ้วชี้ และทรงฉลองพระบาท ปัจจุบันมีตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติประดับอยู่ทางด้านหลังอนุสาวรีย์ด้วย และที่ตรงฐานใต้พระบรมรูปมีคำจารึกว่า "พ่อขุนเม็งรายมหาราช พ.ศ. ๑๗๘๒ - ๑๘๖๐ ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองแรกเมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๕ ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาไทยให้เป็นปึกแผ่น และทรงสร้างความสามัคคีระหว่างชนชาติไทย "

    [​IMG]

    ตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติ
    เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งนับว่าเป็นวาระอันมงคลยิ่ง พสกนิกรชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่าได้รวมใจกันเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันหาที่สุดมิได้ ต่อพสกนิกรชาวเชียงรายและชาวไทย จึงพร้อมใจกันจัดสร้างตุงทองคำเพื่อน้อมเกล้าน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ตุง และตุงหลวงจำนวน ๑ ตุง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสจังหวัดเชียงรายสถาปนาได้ ๗๓๗ ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของนายวิจารณ์ ไชยนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากประชาชนชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี ผืนที่ ๒ ออกแบบโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตุงหลวง ออกแบบโดย นายกนก วิศวกุล ผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี จังมีความหมายและเกิดรูปแบบดังต่อไปนี้

    ตุงผืนที่ ๑
    ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี
    รูปแบบตุง มีลักษณะเป็น จลนะภาพ คือการแสดงออกถึงพลังแห่งการเคลื่อนไหว อิสระเบ่งบานในการรังสรรค์ที่มิได้ยึดรูปแบบดั้งเดิม หากแต่ยังไว้ซึ่งศักยภาพในด้านเนื้อหา ปรัชญาศรัทธา และสัญลักษณ์อันเปี่ยมด้วยความหมายของกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ โดยใช้รูปแบบของนารายณ์ทรงครุฑ อันเป็นพระราชลัญจกรของรามาวตาร พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระราม รูปพระนารายณ์สี่กรทรงตรี คธา จักร และสังข์ ประทับยืนบนครุฑ ช้างเอราวัณสามเศียร หมายถึง สวรรค์ชั้นดุสิต ที่สถิตของพระอินทร์ และพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ อยู่บนฐานปัทม์ ดอกบัวเสี้ยงเดือนรูปปิ่นพระศิวะ และกระต่ายแทนปีพระราชสมภพ และเป็นสัญลักษณ์ของ ศศิธรประภามณฑลของพระอิศวร ตามปกิรนัมตรีมูรติ จิตรกรแทนหกรอบพระชันษา โดยใช้ชื่อสัตว์หิมพานต์ทั้งหก อันมีช้างเอราวัณ ครุฑ นาค นรสิงห์ คชสีห์ และกระต่าย นับได้ว่าเป็นงานรังสฤษฎ์ที่สมบูรณ์ด้วยรูปแบบ เปี่ยมด้วยความหมาย ทรงพลังและเข้มขลังด้วยศรัทธาความรัก

    ตุงผืนที่ ๒
    ออกแบบโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
    เป็นตุงแห่งความจงรักภักดีของชาวเชียงรายและปวงประชาไทย น้อมเกล้าถวายบูชาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แสดงออกด้วยรูปแบบที่บ่งบอกถึง “จากแผ่นดิน - สู่แผ่นฟ้า”
    ดิน หมายถึง รูปทรงล่างสุดของตุง ที่มีสัญลักษณ์รูปช่างอันเป็นตราประจำจังหวัดเชียงรายโอบอุ้มขึ้นไปสู่รูปทรงที่ปรากฏเป็นภาพประชาชนชาวเชียงรายถวายเครื่องสูง เพื่อน้อมถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในบรรยากาศของขุนเขาดอยนางนอน และองค์พระธาตุดอยตุง เหนือจากดอยตุงเป็นภาพพญาครุฑ อันเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์พระมหากษัตริย์ หลังของพญาครุฑเป็นรัศมีที่โอบอุ้มมี ๑๐ องค์ หมายถึง การปกครองด้วยทศพิธราชธรรม เหนือพญาครุฑเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ มีเปลวกนกที่หมายถึงพระเมตตา รองรับพญานาค ซึ่งหมายถึงพระบารมีที่ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน ดอกบัว และแสดงถึงทรงเป็นนักปฎิบัติธรรมแตกฉานในพระธรรมอย่างลึกซึ้ง บนสุดเป็นตราสัญลักษณ์ ๖ รอบ ล้อมด้วยเปลวกนกที่โพยพุ่งไปสู่ความสว่าง คือ พระนิพพาน

    ตุงผืนที่ ๓
    ออกแบบโดย นายกนก วิศวะกุล
    ภาพโดยรวมของตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ แสดงออกถึงพลังแห่งความสงบนิ่งและมั่นคงพลังแห่งความจงรักภักดี พลังแห่งความเคารพศรัทธายิ่ง ของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ที่น้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องจากตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ นี้ จะได้จัดสร้างไว้ที่จังหวัดเชียงรายในโอกาสข้างหน้า เพื่อร่วมฉลองเมืองเชียงรายที่สถาปนามาได้ ๗๓๗ ปี ดังนั้น รูปแบบด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักภูมิทัศน์ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างสงบ มั่นคงและสง่างาม


    ...........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC05375_1a.jpg
      DSC05375_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      410.3 KB
      เปิดดู:
      1,740
    • DSC05382_1a.jpg
      DSC05382_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      441.7 KB
      เปิดดู:
      2,098
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    กราบสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์แล้ว ก็ขึ้นรถไป เชียงรายไนท์บาซาร์ กันต่อ

    ตลาดไนท์บาซาร์ Chiangrai Night Bazaar
    ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน ใกล้สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย หรือลานกลางเวียง เป็นที่จำหน่ายของที่ระลึกฝีมือชาวเขาและคนพื้นบ้านทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ กระเป๋าหลากแบบของชาวเขา ผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ผ้าม่าน ผ้าลายปักฝีมือชาวเขาที่ชาวเขาจะนำมาจำหน่ายกันเองในราคาที่ไม่แพงนัก มีจำหน่ายของตกแต่งบ้านที่ทำจากไม้ มีสินค้าจากการทำด้วยมือหรือแฮนด์เมดกำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติซึ่งเป็นการสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากฝีมือชาวบ้าน มีลานเบียร์ ร้านอาหารและการแสดงซึ่งมีอยู่ ๒ เวทีคือ เวทีสำหรับการแสดงของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย คือการแสดงรำไทย และสะล้อ ซอ ซึง ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีพื้นบ้าน เป็นการอนุรักษ์ศิลปะแบบล้านนา ตลาดไนท์บาซาร์เชียงรายเริ่มขายประมาณเวลา ๑๙.๐๐ น. – ๒๓.๐๐ น. ทุกวัน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    ตอนนี้เวลาสี่ทุ่มกว่าแล้ว เดินได้หนึ่งรอบของตลาด มีอาการเมื่อยมากเพราะเดินทั้งวัน ปวดขาไปหมดเลย อากาศหนาวแล้วหล่ะ กลับโรงแรมที่พักดีกว่า พอถึงห้องก็อาบน้ำ แล้วก็นอน แต่นอนไม่หลับ เนื่องจากมีการย้ายฐานปฏิบัติการกิจกรรมกลุ่มสาระคณิตศาสตร์มาที่ห้องข้างๆ ที่สร้อยฟ้าฯพัก แล้วกิจกรรมนี้เสียงดังมากลอดเข้ามาในห้องจนนอนไม่หลับ เที่ยงคืนแล้วเลยถึงตีสอง กิจกรรมถึงเลิก ถึงได้ข่มตาหลับ...........


    ..................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC05383_1a.jpg
      DSC05383_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      421.4 KB
      เปิดดู:
      1,640
    • DSC05387_1a.jpg
      DSC05387_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      393.9 KB
      เปิดดู:
      1,923
    • DSC05392_1a.jpg
      DSC05392_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      396.5 KB
      เปิดดู:
      1,654
    • DSC05395_1a.jpg
      DSC05395_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      463.6 KB
      เปิดดู:
      1,596
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ขอโพสต์ไว้แค่นี้ก่อน พรุ่งนี้จะมาโม้ต่อนะ.... ^_^

     
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
    Morning Call ตอนตีห้า ไม่อยากตื่นเลย นอนได้กี่ชั่วโมงเนี่ยะ วันนี้ต้องตื่นเร็วเพราะต้องเดินทางสู่จังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันหน้าโรงแรมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกนิดหน่อย วันนี้ควันออกปากอีกแล้วอากาศเย็นกว่าเมื่อวาน ตอนเช้านี้มีการแทรกโปรแกรมเข้ามาหนึ่งโปรแกรมคือไปชมดอกไม้ที่เทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม ครั้งที่ ๗ ริมแม่น้ำกก ก่อนจะเข้าถึงบริเวณงานเหลือบไปเห็นป้ายวัดอุณหภูมิบอกว่าขณะนี้อากาศประมาณ ๑๓.๙ องศา ก็เย็นค่อนหนาวแต่ยังน้อยกว่าตอนไป ปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม ครั้งที่ ๗
    งานเทศกาลนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายร่วมกับกองประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม กำหนดจัดงานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม ครั้งที่ ๗ ระหว่างวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๔ บริเวณสวนไม้งามริมกก เชิงสะพานเฉลิมพระเกียรติ ๑ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ก็น่าจะเป็นการโชคดีเพราะเป็นวันแรกของการจัดงานและเป็นวันที่กำหนดการต้องเดินทางออกจากเชียงรายก็ได้ดูดอกไม้และการจัดสวนสวยๆ เชียงรายเป็นจังหวัดเหนือสุดของประเทศที่ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำการปลูกดอกไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอก ไม้ประดับที่มีความสวยงามแปลกตา ทั้งสีสันและชนิดพันธุ์ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ จึงทำให้จังหวัดเชียงรายได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองแห่งดอกไม้งามมาโดยตลอด การจัดงานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งามครั้งที่ ๗ จึงจัดขึ้นเพื่อให้งานนี้เป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของจังหวัดเชียงรายและเพื่อเป็นการยกระดับการจัดงานให้ทัดเทียมกับการจัดงานในระดับประเทศ เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมร่วมเฉลิมฉลองสมโภชเมืองเชียงราย ๗๕๐ ปี ในปี ๒๕๕๕ นี้ โดยในงานจัดอุทยานไม้ดอกเมืองหนาว ด้วยดอกทิวลิป ดอกลิลลี่หลากหลายสี ยังมีการจัดประกวดนางสาวถิ่นไทยงามเนื่องในวาระครบรอบ ๖๐ ปี การจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น โดยมีพิธีเปิดงานในวันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ จัดให้มีขบวนแห่รถบุปผาชาติ พร้อมสาวงามเข้าประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม และพิธีเปิดงานอย่างตื่นตาตื่นใจ

    [​IMG]

    [​IMG]


    กิจกรรม
    ชมขบวนแห่รถบุปผชาติ การประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม การประกวดกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ การจัดสวนหย่อม ตลาดนัดสินค้าเกษตร ชมการแสดงไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิด การตกแต่งสวนอย่างสวยงามด้วยไม้ดอกเมืองหนาวนานาชนิด อาทิ ทิวลิป รักเร่ บีโกเนีย ฯลฯ และชมนิทรรศการทางวิชาการด้านการเกษตร

    [​IMG]


    .................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6126_1a.jpg
      IMG_6126_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      650.1 KB
      เปิดดู:
      1,585
    • IMG_6033_1a.jpg
      IMG_6033_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      644.5 KB
      เปิดดู:
      1,617
    • IMG_6034_1a.jpg
      IMG_6034_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      537.8 KB
      เปิดดู:
      3,943
    • IMG_6038_1a.jpg
      IMG_6038_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      429.5 KB
      เปิดดู:
      3,859
    • IMG_6057_1a.jpg
      IMG_6057_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      334 KB
      เปิดดู:
      2,666
    • IMG_6079_1a.jpg
      IMG_6079_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      535.8 KB
      เปิดดู:
      1,558
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ได้เวลาอันควร คนครบแล้วก็เดินทางต่อไปยังวัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งวัดแห่งนี้ สร้อยฟ้าฯเคยมาแล้ว ๒ ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่สาม และเคยลงข้อมูลไว้แล้วในกระทู้ ทริปเหนือสุดแดนสยาม มาคราวนี้จะขอลงคำพูดของอาจารย์เฉลิมชัยไว้หน่อยหนึ่ง

    [​IMG]

    ผมใฝ่ฝันที่จะสร้างวัด (อุโบสถ) สักหลังก่อนตาย สาเหตุเพราะผมเป็นชาวพุทธแท้ ผมเป็นจิตรกร หลังจากที่ผมได้ทำบุญครั้งใหญ่ ปี ๒๕๒๗ ด้วยการเดินทางไปเขียนจิตรกรรมฝาผนังถวายเป็นพุทธบูชาที่วัดพุทธปทีป ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา ๔ ปี ผมหมดเงินที่เคยสะสมมา ผมเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่

    ปี ๒๕๓๑ ผมกลับไปที่บ้านเกิดของผม เพื่อกราบหลวงพ่อและถวายรูปพิมพ์ผลงานวัดพุทธปทีปให้ท่าน วัดบ้านผมทรุดโทรมมาก หลวงพ่อสมภารสุขภาพไม่ดีและชราภาพมาก อุโบสถหลังเล็กๆ ที่ผมเคยจำความได้ เคยเห็นพ่อผมกับเพื่อน ๆ ท่านในหมู่บ้าน ชักไม้ด้วยช้างมาร่วมกันสร้างวัด ผมเคยเห็นหลวงพ่อ ตายาย พ่อแม่ และพี่น้องชาวบ้านเดินทางไปอาราธนาหลวงพ่อศิลาดำใส่เกวียนออกมาจากป่า

    [​IMG]

    ผมเข้าไปในโบสถ์ที่ใชัสังฆกรรมไม่ได้ด้วยเหตุเพราะชำรุดมาก และกลายเป็นที่อยู่ของค้างคาวฝูงใหญ่ ผมตั้งอธิษฐานจิต ถ้าชีวิตผมพร้อมเมื่อไหร่ ผมจะกลับมาสร้างโบสถ์ใหม่ให้ได้ เวลา ๑๐ ปี ผ่านไปด้วยกุศลจิต ชีวิตผมและครอบครัวประสบความสำเร็จทุกอย่างพร้อมแล้ว

    ผมกลับไปบ้านเกิดดำเนินการร่วมกับหลวงพ่อสมภาร เริ่มร่างรูปอุโบสถหลังใหม่ตามจิตนาการของท่าน เพื่อให้ท่านได้มีส่วนร่วม ดังนั้น โครงสร้างลักษณะสถาปัตยกรรมในปีแรกจึงเป็นแบบตามใจหลวงพ่อสมภาร
    ใน ๒ ปีต่อมา ผมได้มาเริ่มต่อเติมเพิ่มสถาปัตยกรรมให้สง่าแปลกตาขึ้น โดยเพิ่มบันไดด้านข้างขึ้น ประดับเปลวพระรัศมี ทั้ง ๔ แบบ และขุดสระสร้างสะพานข้ามเข้าสู่อุโบสถ พร้อมกับงานตกแต่งในเรื่องของลวดลายปูนปั้นประดับกระจกภายนอก เขียนแบบและหาช่างพื้นบ้านและแม่บ้านในหมู่บ้านมาฝึกสอนปั้นและประดับกระจกทั้งหมด ๑๐ คน

    [​IMG]

    ผมได้เริ่มงานมาถึงบัดนี้ ปี ๒๕๔๓ ๓ ปีแล้วครับ คาดว่า จะใช้เวลาอีก ๗ ปี ถึงจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ทั้งลวดลายปูนปั้นภายนอกและจิตรกรรมฝาผนังภายใน ผมต้องหาเงินปีละประมาณล้านถึงสองล้านบาทเพื่อสร้างสรรค์ผลงานชิ้นสุดท้ายของชีวิตผมให้ดีที่สุด เท่าที่ฝีมือและสติปัญญาผมมีอยู่
    วัดร่องขุ่นจะเป็นศิลป์สมบัติของคนไทยทุกคนและสุดท้ายวัดร่องขุ่นอาจเป็นศิลป์สมบัติอีกแห่งหนึ่งที่มีคุณค่าแก่โลกมนุษย์ในอนาคตก็ได้ แต่ทุกสิ่งไม่สำคัญเท่ากับบุญกุศลที่ผมและท่านผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านอุทิศถวายเพื่อเป็นทิพยสถานและพระนิพพานเป็นที่สุด
    กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ร่วมสร้างมหากุศลกับ
    ๐ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ๐

    “ผมสร้างวัดไม่เคยเรี่ยไรเงินด้วยกฐินผ้าป่า ผมต้องการปัจจัยที่มาจากความบริสุทธิ์ใจของชาวพุทธ ที่ทำบุญเพื่อถวายพระพุทธเจ้า เพื่อพระศาสนาและพุทธศิลป์ของชาติ จริง ๆไม่ใช่ทำบุญเพื่อคิดช่วยผม”

    [​IMG]


    .................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6146_1a.jpg
      IMG_6146_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      360.8 KB
      เปิดดู:
      2,415
    • IMG_6160_1a.jpg
      IMG_6160_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      978.3 KB
      เปิดดู:
      1,878
    • IMG_6165_1a.jpg
      IMG_6165_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      456.9 KB
      เปิดดู:
      3,815
    • IMG_6177_1a.jpg
      IMG_6177_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      429.6 KB
      เปิดดู:
      1,759
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2015
  11. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ผมก็ขึ้นเหนือ
    ดูจากรูปข้างบน---ปีใหม่ปีนี้คนไม่มากอย่างที่คิด
    ปีก่อนๆที่วัดร่องขุ่นรถแน่นจนจอดไม่ได้ เลี้ยวเข้าแล้ว เลี้ยววนออกเลย

    ผมหลบฝูงชนไปเที่ยวที่แปลกๆ
     
  12. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    อยากไปแอ่วเมืองเหนือเหมือนกันนะ ไม่ได้ไปมานานแล้ว
    อิจฉาจริง ๆ คนได้ไปเที่ยวเนี่ย[​IMG][​IMG][​IMG]
     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837

    ใครบอก
    คนเยอะจะตาย กว่าจะหาช่วงคนเดินน้อยๆ ได้ยากเลย
    พอเจอจังหวะก็กดมาเลยนี่แหล่ะ.... ^^
     
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837

    หุ หุ ยั่วพี่ติ๋งให้อิจฉา ....^^
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    แต่เวลาที่ชมวัดร่องขุ่นนี้มีไม่มากนักเพราะเนื่องจากมีโปรแกรมแทรกดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว จึงไม่ค่อยได้เก็บภาพมาสักเท่าไหร่ จากวัดร่องขุ่น พวกเรามุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ระหว่างทางที่เข้าสู้ดอยสะเก็ด จะผ่านน้ำผุร้อนแม่ขะจาน

    [​IMG]
    ที่จริง น้ำพุร้อนมีความสูงกว่านี้มาก

    น้ำพุร้อนแม่ขะจาน
    ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย น้ำพุร้อนแม่ขะจานเป็นจุดพักรถระหว่างทางจาก เชียงใหม่ไปสู่เชียงราย หรือจากเชียงใหม่ไปสู่พะเยา น้ำพุร้อนแม่ขะจานแต่เดิมมีอยู่แค่ฝั่งเดียว ก็คือฝั่งขวามือหากมาทางเชียงใหม่ หรือฝั่งซ้ายมือถ้ามาจากเชียงราย พะเยา ภายในมีบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ ที่มีอุณหภูมิสูงถึง ๙๐ องศาเซียลเซียส ซึ่งสามารถต้มไข่ได้เลย

    น้ำพุร้อนแม่ขะจานเป็นบ้อน้ำร้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่า ผู้แก่ของหมู่บ้านโป่งน้ำร้อนเล่าว่า เมื่อก่อนบริเวณนี้ยังไม่มีหมู่บ้าน เป็นป่าดงดิบ เมื่อก่อนเรียกว่าโป่งดิน มีสัตว์ทั้งน้อย ทั้งใหญ่ ลงมากินดินโป่งเป็นประจำ และบริเวณน้ำพุร้อนก็ยังเป็นทางผ่านระหว่างพ่อค้าจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย โดยมีม้าและวัวเป็นพาหนะ เป็นเส้นทางเดินไปตามไหล่เขา และถือเป็นจุดพักแรมค้างคืน เพราะพื้นเป็นลานกว้าง ทำเลสะดวก และมีบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติ

    [​IMG]

    หากเดินทางไปเที่ยวเชียงราย หรือขากลับเชียงใหม่ ไม่ควรพลาดที่จะแวะพักทั้งคนและรถ เพื่อสัมผัสกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ “น้ำพุร้อนแม่ขะจาน” ซึ่งอยู่บริเวณ กม.๖๔ - ๖๕ บนเส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย ในอดีตถ้าขับรถมาจากเชียงใหม่เราจะเห็นน้ำพุร้อนทางด้านขวามือ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเก่าแก่ของแม่ขะจาน แต่ปัจจุบันมีการปรับปรุงและขยายพื้นที่ทางด้านซ้ายด้วย ซึ่งสถานที่ใหม่นั้นสวยงามและกว้างขวาง มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านจำหน่ายสินค้า OTOP เครื่องประดับ ไม้แกะสลัก และของที่ระลึก ไว้บริการนักท่องเที่ยว แต่ถ้าได้แวะมาแล้ว ก็ควรเดินเที่ยวทั้งสองฝั่ง เพราะจะได้บรรยากาศที่แตกต่างกัน ฝั่งซ้ายดูใหม่และทันสมัย แต่ฝั่งขวานั้นจะได้ใกล้ชิดธรรมชาติ เพราะพื้นที่อยู่ติดกับเชิงเขา กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดก็คือ การต้มไข่ ซึ่งมีทั้งไข่ไก่และไข่นกกระทา ต้มในบริเวณบ่อต้มไข่ที่จัดไว้ให้ ด้วยความร้อนราว ๘๐ องศาเซลเซียส จะสามารถทำให้ไข่สุกได้ภายใน ๓ นาทีนอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับนั่งแช่เท้า เพื่อความผ่อนคลายจากการเดินทางอันแสนเมื่อยล้า หรือจะใช้บริการอาบน้ำแร่ก็ได้

    [​IMG]

    ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า “น้ำพุร้อน” เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีน้ำร้อนไหลขึ้นมาจากใต้ดิน แสดงให้เห็นว่าภายในโลกยังคงมีความร้อนอยู่ ปัจจุบันพบแหล่งน้ำพุร้อน ๑๑๒ แหล่ง กระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้ วัดอุณหภูมิน้ำร้อนที่ผิวดินอยู่ในช่วง ๔๐ – ๑๐๐ องศาเซลเซียส โดยทั่วไปเรารู้จักน้ำพุร้อนเนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่ามหัศจรรย์ แต่น้ำพุร้อนยังสามารถนำมาพัฒนาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า ด้านอุตสาหกรรม และการเกษตรกรรมอีกด้วย




    ตรงนี้ได้มีโอกาสนั่งแช่เท้าในน้ำแร่ ทำให้หายเมื่อยขาจากการเดินไปได้มากทีเดียว นั่งแช่ได้สักพักเรียกให้ขึ้นรถอีกแล้ว กำลังสบายเลย


    ..................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6208_1a.jpg
      IMG_6208_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      349.5 KB
      เปิดดู:
      1,460
    • IMG_6192_1a.jpg
      IMG_6192_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      511.7 KB
      เปิดดู:
      1,412
    • IMG_6205_1a.jpg
      IMG_6205_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      558.1 KB
      เปิดดู:
      1,420
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    จากนี้ไปก็จะเข้าสู่เชียงใหม่แล้ว เดินทางถึงจังหวัดเชียงใหม่ประมาณบ่ายสองเกือบบ่ายสาม ทานอาหารเสร็จ รีบเก็บข้าวของขึ้นห้องพัก แล้วก็รีบทำกิจส่วนตัวลงมาที่ร็อบบี้ รวมตัวกันไปทานมื้อค่ำตอนสองทุ่มคืนนี้มีเลี้ยง “ขันโตก” ประเพณีการเลี้ยงขันโตก เป็นประเพณีของชาวเหนือที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมา ตั้งแต่โบราณ การเลี้ยงแขกโดยการกินข้าวขันโตก ซึ่งอาจมีหลายชื่อทีใช้เรียก ขานกัน เช่น กิ๋นข้าวแลงขันโตก หรือเรียกสั้นๆ ว่า ประเพณี ขันโตก หรือสะโตก

    “ขันโตก”
    เป็นวัฒนธรรมในการรับประทานอาหารแบบหนึ่งของชาวภาคเหนือ เป็นรูปแบบการรับประทานโดยการ นั่งบนพื้นเรือนและมีการแสดงพื้นบ้านของชาวเหนือ เพื่อใช้ในการต้อนรับแขกคนสำคัญ โดย จัดสำรับอาหารใส่ในภาชนะรอง ที่เรียกว่า “ขันโตก” หรือ “โตก”

    “ขันโตก” หรือ “โตก”
    เป็นภาษาดั้งเดิมของชาวเหนือ หมายถึงภาชนะสำหรับวางรอง สำรับอาหาร บางที่เรียก "สะโตก" มีรูปร่างทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางโดยประมาณ ๓๐ เซนติเมตรขึ้นไป ความสูงประมาณ ๑ ฟุต มีทั้งที่ทำจากไม้ และหวาย ขันโตกสำหรับ เจ้านายฝ่ายเหนือหรือคหบดีก็จะดัดแปลงให้หรูหราตามแต่ฐานะ บ้างก็ใช้เงินทำหรือ "ทองกาไหล่"หรือไม่ก็ลงรัก ปิดทอง


    ขันโตก มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือ โดยที่สมาชิกในครอบครัวหรือแขกที่มาบ้าน จะนั่งล้อมวงกันรับประทานอาหาร นอกจากจะใช้วางถ้วยกับข้าวแล้ว ยังใช้โตกเป็นภาชนะ สำหรับใส่เข้าของอย่างอื่นด้วย โดยเปลี่ยนชื่อเรียกตามสิ่งของที่ใส่

    ในสมัยก่อน ชาวเหนือนิยมรับประทานอาหารกับพื้น เมื่อแม่บ้านทำกับข้าว เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะยกออกมาตั้งโตก โดยในขันโตกนั้นจะมีกับข้าวพร้อม และเมื่อรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้วก็ยก ไปเก็บทั้งโตก เป็นการประหยัดเวลา ในการจัดและเก็บ ถือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวเหนือที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งการเลี้ยงขันโตกก็ยังได้รับความนิยมและใช้เลี้ยงรับรองผู้มาเยือนอยู่เสมอๆ

    [​IMG]
    มีอยู่รูปเดียว...

    จุดมุ่งหมายของการกินข้าว แบบขันโตกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้มีการพัฒนา มาจากสมัยก่อน โดยถือว่านอกจากจะ เพื่อเป็นการเลี้ยงรับรองแขกที่มาเยือน ให้หรูหรา สมเกียรติ และเพื่อให้เกิดความอบอุ่นประทับใจใน การต้อนรับแล้วยัง ได้มีการประยุกต์ เอาวิธีการเลี้ยงดูแขกให้มีความหมายลึกซึ้งยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่ม สีสันของการจัดงาน ให้ยิ่งใหญ่ดูวิจิตรพิสดาร เพียบพร้อมไปด้วย บรรยากาศของ เมืองเหนือจริงๆ โดย ประดับประดาเวทีด้วย ดอกไม้ต้นไม้ให้ดูผสมผสานและดู กลมกลืนกันไป การตระเตรียมขั้นตอนการดำเนินงานเลี้ ยงขันโตก เพื่อให้พิธีการ หรูหรา ประณีต และงดงาม เหล่านี้เป็นการสร้างบรรยากาศเลี้ยงรับรองแขกเหรื่อ เพื่อให้ประทับใจ และถือเป็นการให้ ความยกย่องแขกทั้งสิ้น

    จะเห็นว่า การกินข้าวขันโตกของชาวเหนือนั้น นอกจากจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อ แสดงน้ำใจในการต้อนรับแขก และเป็นการให้เกียรติแก่ผู้มาเยือนแล้วในปัจจุบัน ก็ยังได้มีจุดมุ่งหมายที่แฝงอยู่หลายประการ เช่น บาง ท้องถิ่นก็ได้จัดงานเลี้ยง ขันโตก เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี ในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อฟื้นฟูการแต่งกายแบบพื้นเมือง เพื่อการทำอาหารพื้นเมืองเพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยว ให้ชาวบ้านมีรายได้มีงานทำด้วย บางแห่งก็มีการจัดงาน เลี้ยงขันโตก เพื่อหารายได้สำหรับสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น

    งานจะเริ่มจากการร่วมแรงร่วมใจกันตระเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ ตลอด ไปจนสถานที่ โดยจะประดับเวที ฉาก และการแสดงบนเวที สำหรับสถานที่นิยม จัดในที่กลางแจ้ง เช่น สนามหญ้าต่างๆ แล้วนำเสื่อมาปู ส่วนมากเป็นเสื่อยาวๆ จะนั่งกันประมาณ ๕ ถึง ๖ คน มีขันโตกตั้งอยู่ตรงกลาง ในขันโตกส่วนมากก็จะมี อาหารประมาณ ๕ อย่าง ตัวอย่างเช่น แกงอ่อม แคบหมู แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ชิ้นปิ้ง ผักสด และที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าวเหนียว หรือที่ชาวเหนือเรียกกันว่า ข้าวนึ่ง ข้าวนึ่งของชาวเหนือ นั้นจะต้องอาศัยทักษะและ ความรู้ในการทำพอสมควร คือ เริ่มจากนำข้าวไปแช่น้ำ เรียกว่า การหม่าข้าวไว้ ๑ คืน ในหม้อข้าวหม่า (หม้อที่ ใช้สำหรับแช่ข้าวเหนียว) ซึ่งก่อนที่จะทำการนึ่งต้องซาวข้าวด้วยการใช้ ซ้าหวด (คือ ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่สำหรับ ใส่ข้าวเหนียวเอาไปล้างน้ำให้สะอาดก่อน ที่จะนำไปนึ่ง) การนึ่งจะต้องใช้ไหข้าวมีฝาปิดมิดชิดให้ข้าวสุกดีขึ้น แล้วยกลงมา นำไปวางในภาชนะที่เรียกว่า กั๊วะข้าว หรือถาด ต้องคอยคนให้ไอน้ำในข้าวระเหย ออกไปบ้าง และคอยระวังไม่ให้ข้าวแฉะ ข้าวแข็ง หรือสุกไม่ทั่วกัน เมื่อข้าวสุก ได้ที่แล้ว ก็นำข้าวไปใส่ กระติ๊บบ้าง หรือที่ทางเหนือเรียกว่า แอ๊บ หรือก่องข้าว ซึ่งนิยมสานด้วย

    สำหรับงานเลี้ยงข้าวขันโตก จะมีกระติ๊บข้าวนึ่งที่มีขนาดใหญ่อีกกระติ๊บหนึ่ง เรียกว่า กระติ๊บหลวง มีลักษณะเหมือนกระติ๊บทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่มาก อาจต้อง ใช้คนหามเข้าขบวนแห่นำขบวน ขันโตก โดยมีขบวนสาวงามช่างฟ้อนนำขบวน ขันโตกเข้ามาในงาน ผสมกับเสียงดนตรี และเสียงโห่ร้องเพื่อแสดงความยินดี เมื่อสาวงามช่างฟ้อนมาถึงงานเลี้ยงแล้ว ก็จะนำกระติ๊บหลวงไปวางไว้กลางงาน และนำข้าวนึ่ง ในกระติ๊บหลวง ออกแบ่งใส่กระติ๊บเล็กๆ แจกจ่ายไปตามโตกต่างๆ จนทั่วบริเวณงาน ซึ่งมีโตกกับข้าวเตรียมไว้ก่อนแล้ว

    การนั่งรับประทานอาหารในงานขันโตก จะนั่งกับพื้นบนสาดเติ้ม (เสื่อไผ่สาน) หรือจะนั่ง รับประทานขันโตกบนพื้นไม้ที่ยกพื้นขึ้นมาในระดับเวทีก็ได้

    ผู้ที่มาร่วมงานทุกคนจะแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองของชาวเหนือ ผู้ชายสวมเสื้อ ม่อฮ่อม มีผ้า ขาวม้าคาดเอว มีพวงมาลัยดอกมะลิคล้องคอ ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าถุง ยาวถึงตาตุ่ม สวมเสื้อแขนกระบอก ทัดดอกไม้ที่หู หรือคล้องพวงมาลัยดอกมะลิ

    นอกจากอาหารคาวแล้ว ยังมีอาหารหวาน ที่นิยมเลี้ยงกันในงานขันโตก เช่น ขนมปาด ข้าวแตน ข้าวควบ มีน้ำต้นคนโท ขันน้ำสำหรับล้างมือก่อนหยิบข้าวนึ่ง มีกระโถนใส่เศษอาหาร และเมี่ยง บุหรี่ไว้สำหรับ แขกเหรื่อที่มาร่วมงาน บุหรี่ที่ใช้ คือ บุหรี่ขี้โย เป็นบุหรี่ยาเส้น นำมามวนใบตอง ชาวบ้านนิยมสูบกันทั่วไป เมี่ยง คือ ใบชานำมาหมักให้ได้ที่ใช้อมกับเกลือ มีรสเปรี้ยว เรียกน้ำลายทำให้ชุ่มคอ

    สำหรับบรรยากาศที่น่าประทับใจของงาน คือ จะให้แสงสว่างบนเวทีจากไฟ ตะเกียง หรือแสงเทียน บนโตกมีการจุดเทียน ๒ - ๓ เล่ม ให้พอมองเห็นหน้ากัน บนเวทีมีการตกแต่งประดับประดาให้เข้าบรรยากาศเมืองเหนือ และมีวงดนตรีอยู่ที่ มุมหนึ่งของเวที ในขณะที่แขกเหรื่อกำลังรับประทานอาหารก็มีการบรรเลงดนตรี ขับกล่อมตลอดเวลาสลับกับการแสดงบนเวที และส่วนมากนิยมนำเอาศิลปะการ ฟ้อนรำแบบชาวเหนือมาแสดงบนเวที สลับกับการแสดงดนตรีพื้นเมือง เช่น ชุดการแสดงฟ้อนสาวไหม ฟ้อนตาว (ฟ้อนดาบ) ฟ้อนเทียน

    การจัดงานประเพณีกินข้าวแลง ที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้มีการนำเอาศิลปะ วัฒนธรรมของ ชาวเหนือเข้ามาผสมผสานเพื่อให้มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น เช่น จัดให้ มีการประกวดโคมลอย การประกวดจิบอกไฟ (จุดบอกไฟ) หรือจุดพลุในเวลา กลางคืนให้ดูสวยงาม เพิ่มสีสันให้แก่งานอย่างมาก

    งานประเพณีต้อนรับแขกชาวเหนือ เป็นงานประเพณีที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ ของชาวไทยภาคเหนือ เป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตั้งแต่ดั้งเดิมที่สืบมา จนถึงทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศ ในการต้อนรับให้อบอุ่น และสร้าง ความประทับใจแก่ผู้มาเยือน ยากที่จะลืมเลือน

    งานนี้สร้อยฟ้าฯ ไม่ได้ถ่ายรูปการแสดงบนเวทีมาให้ชมกัน เนื่องจากนั่งทานอาหารอยู่ไกลเวที แล้วแสงสว่างไม่พอ จึงทำให้ถ่ายรูปไม่ได้ ถ้าจะให้ถ่ายรูปได้ต้องไปอยู่ติดขอบเวที มองดูแล้วก็ไม่ใช่ที่เพราะมีผู้ใหญ่อยู่ เลยได้แต่ดูการแสดงไกลๆ แต่ชุดการแสดงสวยมาก ขอบอก ตอนนี้อากาศหนาวแล้ว ไม่ใช่อากาศเย็น

    ...........................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6231_1a.jpg
      IMG_6231_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      426.1 KB
      เปิดดู:
      1,407
    • IMG_6226_1a.jpg
      IMG_6226_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      327 KB
      เปิดดู:
      1,443
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    สามทุ่มนิดๆ หลังจากที่ทาน ขันโตก เสร็จ ไกด์ก็พาไปปล่อยที่ถนนคนเดิน ถนนวัวลาย แต่แปลกใจหน่อยนึง คราวนี้ไม่ค่อยมีใครลงเดินซื้อของ มีแต่เพื่อนๆ และสร้อยฟ้าฯ เดินไม่กี่คน นอกนั้นส่วนมากกลับโรงแรมกันหมด สงสัยคงไปร่วมกิจกรรมกลุ่มกันอีกแล้ว

    [​IMG]

    ถนนคนเดินวัวลาย เชียงใหม่
    ถนนคนเดินอีกสายของจังหวัดเชียงใหม่ที่จะมีกันในช่วงเย็นค่ำของทุกเสาร์ คือที่ถนนวัวลาย ปากถนนสายนี้จะอยู่ตรงประตูเชียงใหม่ (ประตูเมืองด้านทิศใต้) เป็นถนนที่แยกออกจากถนนที่วิ่งรอบคูเมืองที่อยู่ด้านนอก ที่เป็นถนนวนขวาสังเกตว่าพอถึงประตูเชียงใหม่ แล้วมีถนนแยกซ้ายเฉียง ๆ เข้าไป นั่นคือถนนวัวลาย

    นับแต่อดีตกาลที่ผ่านมาหลายร้อยปี ชุมชนย่านถนนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่สร้างชื่อเสียงให้ กับเมืองเชียงใหม่มาจนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สร้างงาน และสร้างอาชีพให้กับชุมชนในวันนี้กำลังจะสูญหายไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เสียงตอกขันเงินที่เคยได้ยินมาตลอดนับแต่โบราณเริ่มแผ่วเบาลงทุกขณะ ด้วยเหตุนี้คนในชุมชนถนนวัวลายจึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของ ล้านนาเอาไว้ จะเห็นว่าย่านวัวลายเป็นย่านที่มีชื่อเสียงเรื่องของเครื่องเงิน เพราะเป็นถิ่นที่อยู่ของช่างเครื่องเงินที่เดิมเคยอยู่ที่รัฐฉาน ที่ตอนหลังอพยพโยกย้ายมาตั้งรกรากกันที่นี่

    [​IMG]

    ถนนวัวลายจัดเป็นลักษณะกิจกรรมถนนคนเดิน การรวมตัวซื้อขายสินค้า และอาหารทางวัฒนธรรมล้านนา แต่เน้นหนักไปในสินค้าที่เป็นเครื่องเงินล้านนา ทุกวันจะมีการแสดงโชวร์บนเวทีเกี่ยวกับ วัฒนธรรมล้านนา บนเสน่ห์ถนนวัวลายทั้งแถบ ยาวกว่า ๓ กิโลเมตร ปิดถนนเฉพาะวันเสาร์เท่านั้น ของขายเยอะแยะมากมายตั้งแต่ของใช้ยันของกิน ทั้งกินเล่น และกินจริงๆ ไครมาเชียงใหม่ ไม่ควรพลาดอีกเช่นกัน หรือคนเชียงใหม่เอง ว่างๆ ไม่รู้จะไปไหนก็แวะมาเดินเล่นได้ เปิดเวลา ๑๖.๐๐ น.- ๒๓.๐๐ น.


    [​IMG]

    งานนี้ พี่ที่ไปด้วยกันพาเดินไปแล้วก็เดินวกกลับ ถ้าข้อมูลจากข้างต้นบอกว่าร่วม ๓ กิโลเมตร นี่พวกเราเดินประมาณ ๖ กิโลเมตรเลยนะ แต่เนื่องจากของขายเยอะ เลยทำให้เพลิดเพลินต่อการเดิน ก็ได้ของซื้อติดไม้ติดมือมานิดหน่อย แต่เดินกันไปเดินกันมา หลงไปกันคนละทิศละทางและจากการสื่อสารจุดนัดพบเข้าใจกันผิดว่าจะมาเจอกันตรงหัวถนน ต่างคนต่างเดินไปที่หัวถนนทางเข้า กับหัวถนนทางออก ผลก็คือไม่เจอกัน ก็เลยโทรศัพท์บอกว่างั้นแยกกันกลับโรงแรมก็แล้วกัน ในกลุ่มของสร้อยฟ้าฯ เหลืออยู่ ๖ คน พี่ในกลุ่มเสนอว่านั่งรถตุ๊กตุ๊กกลับกันเหมา ๑๐๐ บาท ตอนนี้ไม่คิดอะไรแล้วเพราะปวดขามาก เดินไม่ไหว ขึ้นก็ขึ้น เบียดกันเข้าไป คนขับก็เลยให้สร้อยฟ้าฯ ไปนั่งคู่กับคนขับเพราะตัวเล็ก จากถนนคนเดินไปถึงโรงแรมไกลพอสมควร อากาศที่เย็นยะเยือกกับรถที่เปิดรับลม ลมก็เลยมาปะทะเต็มๆ นั่งไปสั่นไป กลับมาถึงโรงแรมห้าทุ่มกว่าๆ อาบน้ำแทบไม่ไหว คืนนี้นึกว่าจะมีเสียงดังมาจากกิจกรรมคณิตศาสตร์อีก ปรากฎว่าไม่มีแฮะ ไม่รู้ว่าย้ายฐานไปห้องไหน ไม่รู้หล่ะ นอนดีกว่า ง่วงมาก ตอนเดินที่ถนนก็ขะยี้ตาแล้วขะยี้ตาอีก ตาจะปิดให้ได้เลย........


    ......................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6237_1a.jpg
      IMG_6237_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      378.8 KB
      เปิดดู:
      1,474
    • IMG_6239_1a.jpg
      IMG_6239_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      380.9 KB
      เปิดดู:
      1,452
    • IMG_6243_1a.jpg
      IMG_6243_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      387.7 KB
      เปิดดู:
      1,323
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  18. urai ay

    urai ay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    6,670
    ค่าพลัง:
    +13,551
    รูปสวยมากเลยอ่ะ อยากไปวัดร่องขุน
    ไปเชียงราย-เชียงใหม่สองครั้งแต่นานมาแล้ว
    ยังไปไม่ถึงวัดร่องขุนสักครั้งเลย
    แง่ะ ข้อมูลเยอะจนต้องแบ่งไว้อ่านวันหลัง อิอิ อิอิ
     
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837

    จ้า ค่อยๆ อ่านนะ แต่อย่าถึงกับหลับคาหน้าจอหล่ะ....^^
     
  20. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    [​IMG]


    ไข่ต้มน้ำพุร้อน ... อร่อยไหม คุณสร้อย ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...