คุณคิดเห็นอย่างไรกับแนวคิดของโอโชว่า "ศาสนาคือกรงขัง"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย นรมิตร, 18 กรกฎาคม 2011.

?
  1. ค่อนข้างเชื่อ

    0 vote(s)
    0.0%
  2. ไม่เชื่อเลย

    0 vote(s)
    0.0%
  3. กลางๆ ยังตัดสินใจไม่ได้

    0 vote(s)
    0.0%
  1. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571
    ศาสนา คือกรงขัง หรือไม่
    ตอบเองส่วนตัว ว่า ไม่ใช่กรง แต่เป็นแนวทางให้เลือกปฏิบัติ
    เพื่อคนหมู่มากจะได้ไม่มีเรื่องเดือดร้อน

    คุณจะเปลี่ยน ศาสนาไปเรื่อยๆ ก็ได้ เขาก็ไม่ว่า
    สุดท้าย ไม่เอาเลยก็ได้
    ไม่มีการบังคับให้นับถือศาสนา ( ประเทศไทย ที่อื่นไม่รู้ )
    ไม่เอาศาสนาเลย ก็ไม่มีใครว่าอะไร หากไม่ไปทำให้ใครเดือดร้อน
    เพราะไม่งั้น จะโดนกฏหมาย ซึ่งอันนี้ บังคับ

    เด็กๆบางคน กิเลสน้อย อยู่ในศาสนาอะไรก็แล้วแต่ เขาไม่รู้สึกว่าศาสนาคือกรงขัง ไม่อึดอัด เด็กๆ ยังไม่รับรู้เรื่อง กาม

    ผู้ใหญ่ กิเลสเยอะ ความโลภ ความเสี้ยน (กาม) มันเยอะ พอมองเห็นข้อห้ามของศาสนา เลยอึดอัด
    ทั้งๆที่มันก็ ข้อห้ามเดียวกันศาสนา เดียวกัน แท้ๆ


    กินปลาดิบมากๆ ระวังพยาธิ จะขึ้นหัว !
     
  2. Army56

    Army56 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,098
    ค่าพลัง:
    +1,862
    โอโช วิพากษ์พระพุทธเจ้าว่าอย่างไร

    อยากอ่านครับ

    จะได้พิจารณาดู
     
  3. อหิงสะกะ

    อหิงสะกะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +82
    ศาสนาไม่ใช่กรงขังซะหน่อย

    ศาสนาก็คือแนวปฎิบัติเพื่อนำเราไปสู่ความดี

    ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกเท่านั้น"

    ท่านไม่ได้บังคับเราให้ทำ





    แต่เดี๋ยวถามก่อน นิรมิตร เป็นร่างอวตารของใครหรือป่าว?

    มีอะไรคล้ายๆกันหลายอย่างนะเนี่ย






    สุดท้ายนี้ก็แล้วแต่ใครจะคิดอย่างไร แต่เราเชื่อว่าศาสนาไม่ใช่กรงขังแน่นอน

    ฟันธง!!!!
     
  4. guaregod

    guaregod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +1,009
    ผมว่าศาสนาคือถนน ที่มีคนสร้างมาให้เราเดิน มันก็แล้วแต่เราว่าจะเดินในเส้นทางนั้นหรือเปล่าก็ขึ้นอยู่กับเรา ในโลกมีถนนให้เลือกเยอะไปหมด / ผมมองคนที่มองศาสนาเป็นกรงขัง มองได้สองแนวคือ คนๆนั้นไม่มีความคิดหรือคิดไม่เป็น หรือ ไม่ก็คนในศาสนานั้นมองคนอื่นในแง่ลบ คือมีแต่คนที่มองว่าการทำที่ผิดไปจากที่ตัวทำแล้ว ก็คือสิ่งไม่ดี
     
  5. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ นรมิตร [​IMG]
    โอโช มองว่าศาสนาเป็นกรงขัง
    เขายอมรับสัจธรรมอันเป็นสากล
    แต่มองว่าศาสนาเป็นกรงขวางกั้น
    สัจธรรม ทำให้คุณไม่รู้แจ้งสัจธรรม
    </td> </tr> </tbody></table>
    "ศาสนาเป็นกรงขัง"

    นำมาจากหนังสือเล่มไหนหรือคะ ช่วยแนะนำด้วย
    ดิฉันอาจจะยังไม่ได้อ่านเล่มนั้น หรืออ่านผ่านตาไป
    อย่างเล่ม "ปัญญาญาณ" ก็ยังไม่เคยอ่านเลย

    **************************************************

    เจ้าของกระทู้ไปไหนคะ?...ตั้งใจคุยด้วยนะเนี่ย :d
    ถ้าแวะเข้ามา อย่าลืมมาแลกเปลี่ยนความเห็นกันนะคะ
     
  6. ภูมินที

    ภูมินที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +289
    สรุปว่าโอโชใช้SEXเป็นเครื่องล่อให้คนยึดติดกับบ่วงแห่งกาม
     
  7. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    อย่างประเภทสอนให้ยุ่งกับเมียคนอื่น ชอบตีท้ายครัวชาวบ้าน
    ฟรีเซ็กส์แบบไม่รับผิดชอบ อิสระเสรีเสียจนไม่มีหิริโอตัปปะ
    ถ้าเป็นเช่นนั้น ดิฉันก็ไม่เห็นด้วยเหมือนกัน
    เพราะจริงๆแล้ว ความมีอิสระมาพร้อมกับความรับผิดชอบเสมอ
    ตัวเขาเองก็กล่าวไว้ในหนังสือ...

    รู้มาแต่ว่าเขาเป็นประเภท Sex Guru แต่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเขาจะสอนคนให้มั่วกาม แต่ก็อดแปลกใจและสงสัยไม่ได้ว่าเขาสอนให้คนมั่วกามจริงหรือ?

    ถ้าเป็นแค่ Sex Guru ก็พอเข้าใจได้นะ เพราะเขาเป็นแค่คนธรรมดาคนหนึ่ง เพียงแต่มีความรอบรู้และมีวิธีคิดที่น่าสนใจ ไม่ได้ตั้งตัวเป็นศาสดา ไม่เห็นเขาโจมตีศาสนาใดศาสนาหนึ่งนะ เพียงแต่ถ่ายทอดความคิดความเห็นของตนเองแบบตรงไปตรงมา

    ดิฉันว่า..คนฟังหรือที่เราเรียกว่าสาวกก็มีหลายแบบนะ
    แบบที่ใช้สติปัญญาพิจารณาก็จะแยกของดีออกไปได้ ของไม่ดีก็ทิ้งไป
    แต่ถ้าฟังแบบขาดสติก็คงกลายเป็นสาวกซอมบี้ สั่งซ้ายหัน-ขวาหันได้
    หรือ ถ้าไม่ใช่ฟังแบบไร้สติ ก็อาจจะตีความเพื่อให้เข้ากับความต้องการส่วนลึกของตนเอง หรือตีความเพื่อให้ถูกกับจริตของตนนั่นแหละ
    เป็นไปได้หลายแบบ...
     
  8. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    เท่าที่อ่าน ก็ดีนะคะ ให้การยกย่อง ให้เกียรติ
    แต่ osho เน้นเรื่องการสร้างความเข้าใจด้วยตนเอง ไม่ใช่แค่เปิดตำราเดินตามอย่างเดียว (ดิฉันว่า ก็เหมือนกาลามสูตรของพระพุทธเจ้า)

    เอาไว้จะพยายามพิมพ์มาให้อ่านค่ะ ยาวทีเดียว
    อาจจะย่อมาเป็นบางส่วนนะ ขอติดไว้ก่อน

    ไอ้ที่เห็นโพสต์ไว้ยาวๆนั่น ก็ค้นหามาจากที่อื่นแหละค่ะ
    อาศัยตัด ปะ แปะ จากบุคคลที่กรุณาพิมพ์ไว้แบ่งปันแล้ว
     
  9. ไร้คตินิยม

    ไร้คตินิยม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +8
    ผมมีความเห็นว่า หากเรามีใจเป็นกลาง ไม่อิงศาสนา ไม่มีคตินิยม
    คุณจะเข้าใจได้แจ่มแจ้งมาก เพราะคนที่รจนาได้ขนาดนี้
    ถือว่าเป็นบรมครูที่รังสรรค์ได้งดงามเลยทีเดียว
    รออ่านอยู่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กรกฎาคม 2011
  10. cosmiccell

    cosmiccell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +253
    ขอบคุณครับ ที่นำข้อมูลมาแบ่งปัน

    หากเราไม่สามารถรวมพลังงานในร่างกายให้เป็นหนึ่งได้ เราจะไม่สามารถบรรลุ หรือเข้าใจสิ่งใดๆได้เลย เพราะพลังงานที่ใช้ในการคิดรู้มีไม่เพียงพอ

    sex ในทัศนะของ osho ที่กล่าวข้างต้น คือ การแลกเปลี่ยน การแปลงพลังงาน ให้กลายเป็นพลังงานของจิตวิญญาณ

    หากท่านเคยมองต้นไม้ โดยไม่มีความคิดปรุงแต่งใดๆ และรวมเป็นหนึ่งกับต้นไม้ ท่านก็จะสามารถสัมผัสพลังงานของต้นไม้ ที่มีความสงบเย็นได้ นั่นคือ การแลกเปลี่ยนทางพลังงาน คือ ทัศนะของคำว่า sex ในความหมายของ osho

    แต่หากนำมาใช้กับคน เราจะปรุงแต่งกันทันทีว่า เป็นสิ่งผิด เพราะเราจะมีคำว่า จริยธรรม บรรทัดฐานทางสังคม มองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความผิดบาปตั้งแต่กำเนิด นั่นเพราะเรามองทุกอย่างเป็นตัวตน เป็นอัตตา

    ซึ่งผู้ที่ยังไม่เข้าใจ นำมาใช้ ก็จะหยิบเพียงบางส่วน กลายเป็นผู้เสพติด sex ไปโดยปริยาย และนำมาทฤษฎีมาอ้าง เพื่อสนองกิเลสส่วนตน

    การสอนเรื่องการแปลงพลังงาน ในเชิงตันตระ จึงกระทำกันในกลุ่มเล็กๆ ที่มีความเข้าใจตรงกันเท่านั้น

    หากมอง sex ว่า คือ พลังงานรูปหนึ่ง ผู้ที่มีปัญญาในสมัยก่อน จะฝึกฝนในการแปลงพลังงานดังกล่าว เป็น พลังงานทางจิตวิญญาณ เพื่อให้เกิดปัญญาในการคิดรู้ ที่จะสลัดจิตของตนให้หลุดพ้นออกจากสมมติ (ดังนั้นจึงไม่ได้หมายถึง จะมีคู่ หรือไม่มีคู่ เพราะมันคือ กระบวนการในการแปลงพลังงาน)

    คือ การรวมพลังงานทั้งมวลในกาย ในใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว รวมทั้งพลังงาน sex ด้วย

    นักบวช ก็คือ ผู้ที่อิ่มจากกาม อยู่เหนือความขัดแย้งทางจิตใจ และร่างกายสามารถแปลงพลังงานทั้งมวลในกายและใจ เป็นพลังงานทางจิตวิญญาณ เพื่อใช้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป

    คือผู้ที่ก้าวพ้นความขัดแย้ง เงื่อนไขทางจิตใจได้แล้ว

    จึงไม่ได้จำกัดว่า จะอยู่ในศาสนา หรือไม่อยู่ในศาสนา

    เพราะผู้ที่ทำได้ ก็คือ ผู้ที่เข้าถึงศาสนา
     
  11. ไร้คตินิยม

    ไร้คตินิยม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +8
    โมทนา สาธุ
    ผู้ก้าวข้ามขอบแห่งจิตใจ
    ย่อมไม่ข้องเกี่ยวกับศาสนา คตินิยม เชื้อชาติ และรูปลักษณ์
    ดั่งถนนหลายสาย ย่อมบรรจบที่เดียวกัน
     
  12. suriyanvajra

    suriyanvajra Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    281
    ค่าพลัง:
    +67
    คุณคิดเห็นอย่างไรกับแนวคิดของโอโชว่า "ศาสนาคือกรงขัง"
    เห็นคำถามแล้วอยากจะให้กำลังใจคนถามเลยแวะมาโพสต์จ้า

    หากเรามี "คำจำกัดความที่ตายตัว" สำหรับศาสนา
    ศาสนาก็คือ "กรงขัง" สำหรับตัวเรา
    แต่อาจไม่ใช่ "กรงขัง" สำหรับผู้อื่น

    หากเราไม่มี "คำจำกัดความที่ตายตัว" สำหรับศาสนา
    คำว่า "กรงขัง" ก็ย่อมไม่มีคำจำกัดความเช่นกัน
    เมื่อนั้นศาสนาย่อม "ไม่ใช่กรงขัง" และก็ "เป็นกรงขัง" ไปได้พร้อมกันในตัว
    เหตุเพราะไม่มี "คำจำกัดความที่ตายตัว" สำหรับ "กรงขัง" จ้า
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ถ้า คิดว่า อยู่ เหนือ กามคุณ(รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) ด้วยการกดข่ม คงไม่ใช่ ถ้าอยูเหนือ ด้วย ปัญญาญาน อันนี้ใช่ ไม่มีการเก็บ กด และ ตัณหาอยากอีก มีแต่ความสงบ กามคุณ เข้ามาทางอายตนภายใน หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ลองแยกประสาทดูทีละอย่าง จะพบว่ากามคุณ ไม่ได้เลอเลิศอะไรเลย
     
  14. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    คุณ ZmarTAlkeR ...ตามที่รับปากไว้ค่ะ

    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ZmarTAlkeR [​IMG]
    โอโช วิพากษ์พระพุทธเจ้าว่าอย่างไร

    อยากอ่านครับ

    จะได้พิจารณาดู
    </td> </tr> </tbody></table>
    เท่าที่อ่าน ก็ดีนะคะ ให้การยกย่อง ให้เกียรติ
    แต่ osho เน้นเรื่องการสร้างความเข้าใจด้วยตนเอง ไม่ใช่แค่เปิดตำราเดินตามอย่างเดียว (ดิฉันว่า ก็เหมือนกาลามสูตรของพระพุทธเจ้า)

    เอาไว้จะพยายามพิมพ์มาให้อ่านค่ะ ยาวทีเดียว
    อาจจะย่อมาเป็นบางส่วนนะ ขอติดไว้ก่อน

    ไอ้ที่เห็นโพสต์ไว้ยาวๆนั่น ก็ค้นหามาจากที่อื่นแหละค่ะ
    อาศัยตัด ปะ แปะ จากบุคคลที่กรุณาพิมพ์ไว้แบ่งปันแล้ว

    **************************************************

    คุรุวิพากษ์คุรุ : OSHO
    โตมร ศุขปรีชา แปลและเรียบเรียง


    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]พระพุทธเจ้า...[/FONT]
    [FONT=&quot]ทรงเป็นองค์พระศาสดาของพระพุทธศาสนา[/FONT]
    [FONT=&quot]เดิมคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงสละชีวิตทางโลกเมื่อพระชนม์ 30 พรรษา และออกผนวช ได้อุทิศพระองค์เพื่อแสวงหาการรู้แจ้งด้วยวิธีการต่างๆ[/FONT] [FONT=&quot]รวมทั้งการบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วย ในที่สุดก็ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ทรงสั่งสอนศิษย์ด้วยเรื่องของความจริงสูงสุดอย่าง [/FONT]“[FONT=&quot]อริยสัจ 4[/FONT][FONT=&quot]” และเสด็จปรินิพพาน[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าทรงเป็นตัวแทนแก่นธรรมของศาสนา ท่านไม่ใช่ผู้ก่อตั้งพุทธศาสนา พุทธศาสนาเป็นเพียงผลพลอยได้ ท่านคือจุดเริ่มต้นของศาสนาที่แตกต่างอย่างยิ่งจากศาสนาอื่นในโลก ท่านคือผู้ก่อตั้งศาสนาที่ไร้รูปรอยของศาสนา ท่านมิได้ก่อร่างศาสนา ทว่าก่อกำเนิดแก่นแท้แห่งศาสนา และนี่คือความเปลี่ยนแปลงพลิกแผ่นดินยิ่งใหญ่ในความสำนึกรู้ของมนุษยชาติ-ก่อนพระพุทธเจ้า มีศาสนาหลายศาสนา ทว่าล้วนไม่มีแก่นแห่งศาสนาอันบริสุทธิ์ มนุษย์ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะ แต่กับพระพุทธเจ้า มนุษย์ได้เข้าสู่ยุคแห่งการเติบโต จริงอยู่ว่าไม่ใช่มนุษย์ทุกคนจะบรรลุสิ่งนั้นได้ ทว่าพระพุทธเจ้าได้แผ้วถางหนทาง พระพุทธเจ้าได้เปิดประตูที่ไร้ประตู[/FONT]

    [FONT=&quot]ต้องใช้เวลานานกว่ามนุษย์จะเข้าใจคำสอนอันลึกล้ำเช่นนั้นได้ คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นลึกซึ้งที่สุดเท่าที่เคยมีมา ไม่มีใครเคยทำสิ่งที่พระพุทธเจ้าทำมาก่อน ไม่มีใครอีกแล้วที่เป็นตัวแทนกลิ่นหอมบริสุทธิ์ ศาสดาแห่งศาสนาอื่น อริยบุคคลอื่น ล้วนแล้วแต่ประนีประนอมกับสาวกของตน แต่พระพุทธเจ้าไม่ประนีประนอม ท่านจึงยังคงความบริสุทธิ์ไว้ได้ ท่านไม่สนใจว่าคุณจะเข้าใจได้ไหม ท่านสนใจเพียงแต่ว่าความจริงคืออะไร ท่านกล่าวถึงความจริงโดยไม่กังวลสนใจเลยว่าคุณจะเข้าใจหรือไม่[/FONT]

    [FONT=&quot]ในด้านหนึ่งดูเหมือนโหดร้าย แต่อีกด้านหนึ่ง นี่คือความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ เราต้องพูดถึงความจริงอย่างที่ความจริงเป็น เมื่อใดก็ตามที่เราประนีประนอม เมื่อใดก็ตามที่เรานำความจริงมาสู่ระดับการรับรู้สามัญธรรมดาของผู้คน ความจริงก็ได้สูญเสียจิตวิญญาณของมันไป มันจะกลายเป็นเรื่องผิวเปลือก กลายเป็นสิ่งที่ตาย เราไม่อาจนำความจริงมาสู่ระดับของมนุษย์ได้ แต่มนุษย์นั้นต่างหากที่ต้องนำตนขึ้นสู่ระดับของความจริง นี่คืองานอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าเริ่มวิถีทางจิตวิญญาณที่ทั้งไม่ต้องเคี่ยวกรำทรมานตัว และไม่เป็นลัทธิที่ต้องผ่านการคิด นั่นคือปรากฎการณ์ที่หาได้ยากยิ่ง วิถีทางจิตวิญญาณแบบพื้นๆ พบเห็นได้ทั่วไปนั้นมักต้องเคี่ยวกรำ ขึ้นอยู่กับการสะกดกลั้นเป็นทุกรกิริยา แต่มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงผู้คน มันเพียงแต่บดขยี้พวกเขา มันไม่ได้ปลดปล่อยผู้คน แต่กลับกักขังเป็นทาส เป็นเรื่องกดขี่น่ารังเกียจ พึงระลึกไว้ว่า พระพุทธเจ้าไม่ใช้วิธีเคี่ยวกรำ ถ้าคุณพบพระในพุทธศาสนาที่เคี่ยวกรำทรมานตน พวกเขาก็ไม่เข้าใจพระพุทธเจ้าเลย แต่ได้นำเอาวิธีการของตนเองมาปนเปื้อนคำสอนของพระองค์[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้ายังไม่มีแบบอย่างในอุดมคติด้วย พระองค์ไม่ได้ให้อุดมคติใดๆ เพราะอุดมคติทั้งปวงเป็นเรื่องของความคิด และหากเป็นเรื่องของความคิด มันก็ไม่อาจพาคุณข้ามพ้นความคิดไปได้ ไม่มีอุดมคติใดเป็นสะพานเชื่อมไปให้พ้นจากความคิดได้ เราต้องละวางอุดมคติทั้งหลายลง มีเพียงเท่านั้นจึงจะละวางความคิดไปได้[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าไม่ทรงเชื่อในแบบอย่างแห่งความดีเลอเลิศในอุดมคติใดๆ ด้วย เพราะทุกอุดมคติล้วนสร้างความเครียดและความขัดแย้งให้มนุษย์ มันแบ่งแยก สร้างทุกข์ คุณเป็นอย่างหนึ่ง แต่แบบอย่างในอุดมคติอยากให้คุณเป็นอีกอย่าง ในระหว่างสองขั้วนี้ คุณจะถูกดึงจนฉีกขาดจากกัน แบบอย่างในอุดมคติทำให้คนทุกข์ทรมานหลอนประสาท ยิ่งมีแบบอย่างมากเท่าไหร่ คนก็ยิ่งเป็นโรคจิตเภทมากเท่านั้น ตัวตนของพวกเขาจะแยกเป็นเสี่ยง มีเพียงการสำนึกรู้ที่ไม่ผ่านการคิดเท่านั้นที่ป้องกันสิ่งนี้ได้ ถ้าตัวตนของเราแยกเป็นเสี่ยง คุณจะมีความสุขได้อย่างไร คุณจะนิ่งเงียบ จะรู้จักสันติหรือความสงบนิ่งได้อย่างไร[/FONT]

    [FONT=&quot]คนที่ใฝ่หาแบบอย่างในอุดมคติจะต้องต่อสู้กับตัวเองเรื่อยไป ทุกขณะล้วนมีแต่ความขัดแย้ง เขามีชีวิตอยู่ในความขัดแย้ง เขามีชีวิตอยู่ในความสับสน เพราะเขาไม่อาจตัดสินได้ว่าตัวเขาเองนั้น แท้จริงเป็นใคร เป็นภาพในอุดมคติหรือเป็นความจริง เขาไม่อาจไว้ใจตัวเองได้ เขาจะหวาดกลัวตัวเอง สูญเสียความเชื่อมั่น และเมื่อคนคนหนึ่งสูญเสียความเชื่อมั่น เขาก็สูญเสียความปิติยินดีทั้งปวง และเขาก็พร้อมจะเป็นทาสของใครก็ได้ พระรูปไหนก็ได้ นักการเมืองคนไหนก็ได้ แล้วเขาก็จะพร้อมติดกับดัก[/FONT]

    [FONT=&quot]ทำไมผู้คนถึงได้ยอมเป็นศิษย์ ทำไมผู้คนถึงติดกับ ทำไมพวกเขาถึงตกหลุมพรางของโจเซฟ สตาลิน หรืออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หรือ เหมาเซตุง เกิดอะไรขึ้นตั้งแต่ต้น พวกเขาถูกสั่นคลอน ความสับสนในอุดมคติได้สั่นสะเทือนพวกเขาจากรากลึก แล้วพวกเขาก็ไม่อาจยืนด้วยตัวเอง ไม่รู้อีกแล้วว่าตัวเองเป็นใคร พวกเขาต้องการใครบางคนมาบอกว่าพวกเขาเป็นสิ่งนี้สิ่งนั้น พวกเขาต้องการให้ใครมอบอัตลักษณ์ให้ตัวเอง แต่พวกเขาลืมตัวตนและธรรมชาติของตัวเองไป[/FONT]

    [FONT=&quot]อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กับ โจเซฟ สตาลิน และเหมาเซตุง จะปรากฏขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าหากมนุษย์ไม่ละทิ้งความคิดในอุดมคติทั้งหมด พึงระลึกไว้ว่า เมื่อข้าพเจ้าพูดถึงอุดมคติ ข้าพเจ้าหมายถึงทุกๆ อุดมคติ ข้าพเจ้าไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างอุดมคติอันสูงส่งกับอุดมคติที่ไม่สูงส่งนัก ทุกอุดมคติล้วนอันตราย ที่จริงแล้ว อุดมคติอันสูงส่งยิ่งอันตรายกว่า เนื่องเพราะมันมีอำนาจเย้ายวนกว่า เชื้อชวนกว่า ทว่าอุดมคติเช่นนี้ก็คือเชื้อโรค เป็นทั้งเชื้อและโรค เนื่องจากคุณกลายเป็นสองเสี่ยง คือตัวแบบอย่างในอุดมคติที่ต้องไปให้ถึงกับตัวคุณ ตัว [/FONT]‘[FONT=&quot]คุณ[/FONT]’ [FONT=&quot]ที่คุณเป็นจะถูกประณาม และ [/FONT]‘[FONT=&quot]คุณ[/FONT]’ [FONT=&quot]ที่คุณเป็นไม่ได้รับการยกย่อง แล้วคุณก็จะทุกข์ทรมาน ไม่ช้าไม่นานคุณก็จะเป็นโรคประสาท โรคจิต หรืออะไรสักอย่าง[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าได้มอบวิถีชีวิตแบบที่ไม่ต้องทรมานตนและไม่ต้องมีแบบอย่างในอุดมคติให้เรา นั่นคือเหตุผลที่พระองค์ไม่พูดถึงพระเจ้า ไม่พูดถึงสวรรค์ ไม่พูดถึงอนาคตใดๆ พระองค์ไม่ได้มอบอะไรให้คุณไว้ยึดเหนี่ยว แต่ทรงพรากทุกสิ่งไปจากคุณ พระองค์ทรงพรากสิ่งต่างๆ ไปเรื่อยๆ และท้ายที่สุดก็ทรงพรากไปแม้กระทั่งความคิดเรื่องตัวกู หรืออีโก้ ทิ้งไว้เพียงความว่างอันพิสุทธิ์ และนี่คือเรื่องที่ยากมาก[/FONT]

    [FONT=&quot]เป็นเรื่องที่ยากมากเพราะเราหลงลืมวิธีให้ไปแล้วอย่างสิ้นเชิง เรารู้เพียงวิธีที่จะรับ เรามีและเป็นเจ้าข้าวเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ฉัน [/FONT]‘[FONT=&quot]มี[/FONT]’ [FONT=&quot]บททดสอบ ฉัน [/FONT]‘[FONT=&quot]มี[/FONT]’ [FONT=&quot]ภรรยา หรือแม้กระทั่งฉัน [/FONT]‘[FONT=&quot]ได้[/FONT]’ [FONT=&quot]งีบหลับตอนบ่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจครอบครองได้ด้วยซ้ำ จะงีบหลับได้ คุณก็ต้องยอมแพ้ต่อความง่วง การงีบหลับเกิดขึ้นเมื่อคุณพ่ายแพ้เท่านั้น แม้แต่ภรรยาหรือสามี คุณก็ยังเป็นเจ้าของเขา คุณไม่เคารพกันเลย[/FONT]! [FONT=&quot]ภรรยาไม่ใช่ทรัพย์สิน คุณมีบ้านได้ แต่จะมีภรรยาหรือสามีได้อย่างไรเล่า ทว่าภาษาของเราก็ส่อแสดงจิตใจของเรา เราไม่รู้วิธีที่จะให้ วิธียอมรับ วิธีปล่อยวาง วิธีปล่อยให้สิ่งต่างๆ เป็นไป[/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าพรากแบบอย่างทั้งหมด อนาคตทั้งหมด และในที่สุด สิ่งสุดท้ายที่พระองค์พรากไป ก็คือสิ่งที่ยากเย็นเหลือเกินในการให้ พระองค์พรากเอาตัวตนของเราไป ทิ้งไว้เพียงความว่างอันพิสุทธิ์ บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา ไว้เท่านั้น ความว่างอันพิสุทธิ์นี้ ทรงเรียกว่านิพพาน นิพพานไม่ใช่หนทาง แต่เป็นเพียงความว่าง เมื่อคุณละวางทุกสิ่งที่คุณสั่งสม เมื่อคุณไม่ใฝ่หาอะไรอีก เมื่อคุณไม่ใช่คนที่ขาดแคลนและดิ้นรนอีกต่อไป แล้วทันใดนั้น ความว่างก็ผุดบังเกิด ทั้งที่มันก็อยู่ตรงนั้นเสมอมา[/FONT]

    [FONT=&quot]ความว่างอยู่ที่นั่น แต่คุณสั่งสมขยะเอาไว้มากเสียจนมองไม่เห็นความว่าง เหมือนบ้านที่เต็มไปด้วยข้าวของ คุณจะมองไม่เห็นพื้นที่ว่าง แล้วที่สุดก็เต็ม ถึงวันที่การย้ายเข้าไปในบ้านเป็นเรื่องยาก จะพำนักในบ้านนั้นก็ยาก เพราะไม่มีพื้นที่เหลือ ทว่าพื้นที่ไม่ได้หายไปไหน ลองคิดดู ลองตรึกตรองดู ที่ว่างไม่ได้หายไปไหนเลย คุณมีเครื่องเรือน โทรทัศน์ วิทยุ เปียโน และสิ่งต่างๆ มากเกินไปต่างหาก แต่ที่ว่างไม่ได้หายไปไหน ลองย้ายเครื่องเรือนออก แล้วที่ว่างก็จะปรากฏ มันอยู่ที่นั่นเสมอมา ซ่อนซุกอยู่ใต้เครื่องเรือน ทว่าไม่เคยถูกทำลายไป ที่ว่างไม่เคยไปจากห้อง ไม่แม้สักชั่วขณะ[/FONT]

    [FONT=&quot]เฉกเช่นความว่างภายในของคุณ นิพพานของคุณ สุญตาของคุณ[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าไม่ได้มอบนิพพานให้เป็นเป้าหมาย แบบอย่างหรืออุดมคติของคุณ พระองค์ปลดปล่อย มิใช่บีบบังคับ พระพุทธเจ้าสอนคุณถึงวิธีมีชีวิตอยู่ ไม่ใช่เป้าหมายใดๆ ไม่ใช่เพื่อให้บรรลุอะไร ทว่าให้มีความสุขอยู่ที่นี่ ณ บัดนี้ พระองค์สอนให้มีชีวิตอยู่อย่างตระหนักรู้ แต่ใช่ว่าสติตระหนักรู้จะพาอะไรมาให้คุณ สติตระหนักรู้ไม่ใช่วิธีการไปสู่อะไร มันคือเป้าหมายในตัวเอง เป็นทั้งวิถีและปลายทาง มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนคุณถึงโลกอื่น นี่คือเรื่องที่ต้องเข้าใจ ผู้คนทั้งโลกและพระล้วนสอนกันถึงโลกอื่น แต่โลกอื่นไม่ใช่โลกอื่นหรอก มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันก็คือรูปแบบเดิมๆ ของโลกใบเดิมที่คุณอาศัยอยู่ตอนนี้ เพียงแต่ดีกว่า คุณจะสร้างโลกอื่นได้จากที่ไหนเล่า ในเมื่อคุณรู้จักแต่โลกใบนี้ คุณปรับปรุง ตกแต่งโลกอื่นให้ดีขึ้นได้[/FONT] [FONT=&quot]สามารถกำจัดสิ่งที่น่าเกลียดออกไป แล้วเอาสิ่งที่คุณคิดว่าสวยงามมาใส่ได้ แต่ก็คือการสร้างขึ้นจากประสบการณ์ในโลกนี้นี่แหละ ดังนั้น โลกสวรรค์ของคุณจึงไม่แตกต่างออกไป มันแตกต่างไม่ได้ มันคือความเชื่อมโยงต่อเนื่อง มันออกมาจากจิตของคุณ เป็นเกมแห่งจินตนาการของคุณ[/FONT]

    [FONT=&quot]ในโลกนั้นอาจมีผู้หญิงสวยๆ แน่นอน สวยกว่าที่เห็นบนโลก จะมีความเริงรมย์แบบเดียวกันในโลกนั้นด้วย อาจจะถาวรกว่า มั่นคงกว่า แต่มันก็คือความเริงรมย์แบบเดียวกับในโลกนี้ อาจมีอาหารดีๆ อร่อยๆ แต่ก็ยังมีอาหาร จะยังมีบ้าน อาจสร้างด้วยทองคำ แต่มันยังเป็นบ้าน คุณก็เพียงแต่ทำสิ่งทั้งหมดซ้ำเดิมอีกครั้ง[/FONT]

    [FONT=&quot]ลองเปิดดูพระคัมภีร์ ดูว่าในนั้นวาดภาพสวรรค์ไว้อย่างไร แล้วคุณก็จะพบโลกใบเดิมที่ดีขึ้น มีการปรับเปลี่ยนตรงนั้นตรงนี้นิดหน่อย แต่มันก็ยังไม่ใช่ [/FONT]‘[FONT=&quot]โลกอื่น[/FONT]’ [FONT=&quot]อยู่ดี นั่นคือเหตุผลที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า ภาวะโลกอื่นในศาสนาอื่นๆ ไม่เป็นโลกอื่นเท่าใดนัก มันคือโลกที่วางอยู่ในอนาคต เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในโลกนี้ อาจไม่มีความทุกข์ ยากไร้ ป่วยไข้ เป็นอัมพาต หรือตาบอดและหูหนวก สิ่งที่คุณไม่ปรารถนาจะไม่ปรากฏขึ้น จะมีแต่สิ่งที่คุณชอบ และมีมากเสียด้วย ทว่าก็ไม่มีอะไรใหม่[/FONT]

    [FONT=&quot]พระคัมภีร์ต่างๆ ล้วนกล่าวถึงสวรรค์ และสวรรค์ทั้งหลายก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากเรื่องเดิมๆ อาจตีพิมพ์ลงบนกระดาษที่ดีขึ้นด้วยหมึกที่ดีขึ้น มีเครื่องพิมพ์ที่ปรับปรุงใหม่ พร้อมภาพประกอบสีสันสดสวยขึ้น แต่เนื้อหาก็ยังเป็นเช่นเดียวกัน มันเป็นอื่นไปไม่ได้[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวถึงภาวะของโลกอื่นหรือโลกอื่นใด พระองค์เพียงแต่สอนคุณว่าจะอยู่ที่นี่ ในโลกใบนี้อย่างไรเท่านั้น วิธีอยู่ที่นี่โดยรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติ เพื่อไม่ให้สิ่งใดมาทำลายความว่างได้ เพื่อให้ความว่างภายในของคุณไม่ถูกปนเปื้อนหรือวางยาพิษ เพื่อให้คุณมีชีวิตอยู่ที่นี่ได้ ทว่าไม่ปนเปื้อน ไม่มีมลพิษ เพื่อให้คุณอยู่ในโลก แต่สภาวะของโลกไม่อยู่ในคุณ[/FONT]

    [FONT=&quot]จิตวิญญาณแบบที่มีโลกอื่นเป็นเป้าหมายมักจะกดขี่ ทำลายล้าง ชอบความรุนแรง หรือพูดสั้นๆ ก็คือเจ็บป่วย แต่จิตวิญญาณแบบพระพุทธเจ้ามีรสชาติที่แตกต่างออกไป นั่นคือรสชาติที่ไม่มีแบบอย่างในอุดมคติ รสชาติที่ไม่มีอนาคต รสชาติที่ไม่มี [/FONT]‘[FONT=&quot]โลกอื่น[/FONT]’ [FONT=&quot]เป็นดอกไม้ของที่นี่ เดี๋ยวนี้ ไม่ร้องขอสิ่งใด แต่ได้ให้ทุกสิ่งไปแล้ว เพียงแต่รู้ตัวอยู่เสมอ เราก็จะเห็น ได้ยิน และเป็นอยู่ได้มากกว่า[/FONT]

    [FONT=&quot]จงจำไว้ว่า คุณนั้นดำรงอยู่เฉกเช่นเดียวกับความรู้ตัวของคุณ หากคุณอยากดำรงอยู่ยิ่งขึ้น ก็ยิ่งต้องมีสติมากขึ้น การระลึกรู้คือส่วนหนึ่งของการเป็นอยู่ ถ้าไร้สติก็เท่ากับพรากชีวิตออกไป เวลาคุณเมามาย คุณสูญเสียการดำรงอยู่ เมื่อนอนหลับอุตุ คุณก็สูญเสียการดำรงอยู่ คุณไม่เคยรู้สึกหรือ เมื่อตื่นตัว คุณจะรู้สึกถึงการดำรงอยู่อันกล้าแข็งจนเกือบจำต้องได้ เมื่อคุณไร้สติ ปล่อยให้ถูกลากไป หรือง่วงงุน สำนึกแห่งการดำรงอยู่ของคุณจะน้อยลง มันเป็นสัดส่วนเดียวกับความรู้ตัวเสมอ[/FONT]

    [FONT=&quot]ดังนั้น คำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าก็คือการมีสติระลึกรู้ ไม่มีอื่น ขอเพียงแต่ระลึกรู้ เพราะสตินั้นชิดใกล้กับการดำรงอยู่ การระลึกรู้จึงสร้างตัวคุณขึ้น มันสร้างคุณคนหนึ่งขึ้นให้แตกต่างจากคุณอีกคนหนึ่งที่คุณเป็น คนที่คุณไม่อาจจินตนาการได้ เป็นคุณคนหนึ่งที่ซึ่ง [/FONT]‘[FONT=&quot]ตัวกู[/FONT]’ [FONT=&quot]ได้หายไป ที่ซึ่งไร้ความคิดว่าตัวตนดำรงอยู่ ไม่มีสิ่งใดให้นิยามคุณได้...เป็นความว่างอันพิสุทธิ์ ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความว่างอันไร้ขอบเขต[/FONT]

    [FONT=&quot]คำว่านิพพานนั้นเป็นคำที่มีความหมายด้านลบ โดยตัวอักษรแล้ว หมายถึง [/FONT]‘[FONT=&quot]เป่าเทียนให้ดับ[/FONT]’

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าใช้คำนี้สำหรับภาวะปรมัตถ์แห่งการระลึกรู้ พระองค์คงได้เลือกคำที่มีความหมายเชิงบวกมาบ้างแล้ว ในอินเดีย มีคำที่มีความหมายบวกหลายคำ โมกษะ หมายถึงเสรีภาพ อิสรภาพ ไกวัลย์ หมายถึงการอยู่ลำพัง อยู่ลำพังอย่างสัมบูรณ์ พราหมณภาวะ หมายถึงประสบการณ์แห่งปรมัตถ์ แต่พระองค์กลับเลือกคำแปลกประหลาด ซึ่งไม่เคยใช้ในบริบททางจิตวิญญาณเลย [/FONT]‘[FONT=&quot]เป่าเทียนให้ดับ[/FONT]’ [FONT=&quot]คุณจะเชื่อมโยงคำนี้เข้ากับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณได้อย่างไรกัน[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัสว่า สิ่งที่เรียกกันว่าตัวตนของคุณไม่ใช่อะไรอื่น นอกเสียจากเปลวไฟ มันถูกจุดให้เร่าร้อนด้วยแรงปรารถนาของคุณ เมื่อแรงปรารถนานั้นหายไป เทียนก็หายไปด้วย เปลวไฟจึงไม่มีที่ให้เผาไหม้ต่อไป มันจึงหายสาบสูญไปเช่นกัน หายไปสู่จักรวาลอันไพศาล ไม่หลงเหลือร่องรอยเอาไว้ คุณจะหามันไม่พบอีก มันอยู่ที่นั่นเอง ทว่าก็ได้จากไปชั่วนิรันดร์ จากการเป็นตัวตนใดๆ จากข้อจำกัดใดๆ[/FONT]

    [FONT=&quot]นั่นคือเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกคำว่านิพพานแทนที่จะเป็นการตระหนักรู้ เนื่องจากการตระหนักรู้ก็ยังมีอาตมภาพขั้นสูงอยู่นั่นก็คือคุณเป็นคนที่ตระหนักรู้ เป็นการดำรงอยู่ที่อิสระ ทรงปัญญา เจิดจ้า ได้ค้นพบ ทว่าตัวคุณก็ยังคงอยู่[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัสว่า [/FONT]‘[FONT=&quot]ตัวคุณ[/FONT]’ [FONT=&quot]จะสูญหายไป ใครจะค้นพบได้เล่า ตัวตนของคุณแตกสลายออก คุณเป็นเพียงการประกอบรวมของธาตุ แล้วแต่ละธาตุก็ได้กลับสู่ถิ่นกำเนิดของมัน ไม่เหลืออัตลักษณ์ของปัจเจกอีก ใช่ คุณจะดำรงอยู่เยี่ยงเดียวกับจักรวาล...[/FONT]

    [FONT=&quot]ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงหลีกเลี่ยงคำที่มีความหมายบวก ทรงรู้แนวโน้มของมนุษย์ดี คำที่มีความหมายเชิงบวกทั้งหลายล้วนส่งเสริมความรู้สึกถึงตัวกู แต่คำที่มีความหมายลบเป็นอย่างนั้นไม่ได้ นั่นคือเหตุผลที่คำนี้ไม่แปดเปื้อน คุณไม่อาจทำให้อะไรที่ไม่แปดเปื้อนเกิดมลทินได้ ผู้คนกริ่งเกรงที่ใช้คำนี้ ลึกลงไปภายในล้วนยำเกรง...นิพพาน พระพุทธเจ้าทรงถูกถามนับพันครั้ง [/FONT]“[FONT=&quot]คำว่านิพพานของพระองค์ไม่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น ไม่ทำให้เราเกิดความปรารถนาจะบรรลุถึง คำว่าความจริงสูงสุด การตรัสรู้ การตระหนักในพระเจ้า เหล่านี้ล้วนสร้างความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ แต่คำของพระองค์ไม่สร้างแรงปรารถนาเลย[/FONT]”

    [FONT=&quot]และพระพุทธเจ้าทรงตรัสครั้งแล้วครั้งเล่า [/FONT]“[FONT=&quot]นั่นคือความงามของถ้อยคำ คำเหล่านั้นทั้งหมดที่สร้างแรงปรารถนาในตัวท่านจะไม่ช่วยอะไรท่าน เพราะตัวความปรารถนาเองก็คือรากแห่งความทุกข์ของท่าน การครอบครองบางสิ่งสร้างความเครียด นิพพานทำให้คุณปลอดพ้นจากความเครียด ไม่มีอะไรต้องปรารถนาอีก ตรงกันข้าม ท่านจะต้องตระเตรียมตัวเองให้ยอมรับการแตกดับ ในการแตกดับนั้น ท่านไม่อาจครอบครองตัวตน นี่คือเหตุที่คำนี้ยังคงไม่แปดเปื้อน[/FONT]”

    [FONT=&quot]ไม่มีคำอื่นที่ไม่แปดเปื้อน ความหมายเชิงลบของมันคือเหตุผล และมีเพียงศาสดาผู้ยิ่งใหญ่เท่านั้นที่สามารถมอบสิ่งนี้ให้แก่มวลมนุษยชาติ สิ่งที่คุณไม่อาจทำให้แปดเปื้อนได้ แม้คุณจะจงใจอยากทำก็ตาม ยี่สิบห้าศตวรรษแล้ว...แต่ก็ไม่มีทาง นิพพานจะทำให้คุณดับสลาย แต่คุณไม่อาจทำอะไรกับนิพพานได้[/FONT]

    [FONT=&quot]แน่นอน นี่คือคำที่บริสุทธิ์ที่สุด กระทั่งเสียงของถ้อยคำ ไม่ว่าคุณจะเข้าใจความหมายหรือไม่ก็ตาม ก็ยังเป็นเสียงที่ปลอบโยน ให้ความนิ่งสงบอยู่ลึกๆ ซึ่งคำอื่นๆ เช่น การตระหนักรู้ถึงพระเจ้า ความสัมบูรณ์ ภาวะปรมัตถ์ ล้วนไม่ให้ความรู้สึกสงบเช่นนี้ เวลาได้ยินคำว่า นิพพาน ดูราวกับว่าเวลาได้หยุดยั้งลง ราวกับไม่มีแห่งหนใดที่ต้องไปอีก ในชั่วขณะเช่นนี้ คุณอาจหลอมละลาย แตกดับ สลายไป โดยไม่ทิ้งร่องรอยใดไว้เบื้องหลังอีกเลย[/FONT]

    [FONT=&quot](จบช่วงที่ 1)[/FONT]
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ในทัศนะของเรานะ กรงขังก็คือทิฏฐิของเราเอง ถ้าเราก้าวข้ามเรื่องทิฏฐิไปได้

    เราก็จะเข้าใจความจริงของสัจธรรมในทุกเรื่องที่เราเข้าไปสัมผัส

    ทิฏฐิในทางพุทธเรา ก็มีเรื่อง ทิฏฐิ62 อ่านได้ตามลิ้งค์แนบ http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y2469279/Y2469279.html

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->

    ทิฐิ (อ่านว่า ทิดถิ) แปลว่า ความเห็น ความคิดเห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ทัศนะ ในวงวัดนิยมเขียนจามรูปศัพท์เดิมว่า ทิฏฐิ

    เวลาที่เราอ่านหรือฟังอะไร เราก็เก็บไว้เป็นทิฏฐิหมด แต่ถ้าเราเข้าใจเรื่องใดๆตามจริงเช่นชิมมะนาวรู้รสมะนาวตามจริง อันนี้ไม่ได้เป็นทิฏฐิแระ เรียกว่ารู้สัจธรรมของรสมะนาว แต่ถ้าเราไม่เคยชิมรสมะนาวแต่เคยอ่านเรื่องการบรรยายรสมะนาวมา เราจะมีทิฏฐิเรื่องรสมะนาวเก็บไว้ในใจ พอมีคนชิมรสมะนาวเขามาบอกแต่ไม่ตรงกับทิฏฐิที่เราฝังไว้ในใจถ้ายึดแต่สิ่งที่อยู่ในทิฏฐิของเรา เราก็อาจจะไม่ยอมรับรสมะนาวที่คนชิมมาจริงๆแล้วมาบอกก็ได้ เพราะแยกแยะ ความจริงของทิฏฐิและเรื่องจริงของคนอื่นไม่ออก ถ้ามีใจเปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากทิฏฐิของเราได้ ก็จะเรียนรู้ความจริงได้หลายมุมมอง และทำให้เข้าใจเรื่องทิฏฐิ ความคิดเห็นที่ต่างกัน จนกระทั่งเข้าใจเรื่องความจริง เรื่องทิฏฐิ เรื่องความคิดความเห็น ก็จะเข้าใจความจริงในเรื่องต่างๆได้เอง มันต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการ ละวางทิฏฐิส่วนตน เพื่อเป็นอิสระจากความคิดเห็นให้ได้ก่อน ถึงจะมองเห็นความจริงแบบเป็นกลางๆไม่มีทิฏฐิมาเจือปน ก็จะเข้าใจเรื่องกรงขังทางความคิด การเป็นอิสระจากทิฏฐิและกรงขังได้เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2011
  16. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ในทัศนะของดิฉัน กรงขังทางจิตวิญญาณ คือ ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งสมมติ

    สิ่งสมมติอาจไม่ใช่กรงขังโดยตัวของมันเอง และอาจเรียกได้ว่าสิ่งสมมติคือสภาวะที่ทำให้เรามีประสบการณ์ของ 'ความเป็น' หรือ 'มีชีวิต' แบบเป็นรูปธรรม
    แต่เมื่อใจเราหลงไปยึดติดจนกลายเป็นความผูกพันกับสิ่งเหล่านั้นแล้ว มันก็กลับกลายเป็นเหมือนกรงขังทางจิตวิญญาณดีๆ นี่เอง

    แต่เป็นกรงที่ประตูไม่เคยปิดไว้ มันถูกเปิดไว้ตลอดเวลา
    ไม่มีใครที่ขังเรา เราต่างหากที่ยินยอมและพอใจที่จะขังตัวเอง
    ขังตัวเองด้วยความไม่รู้ตัว ขังตัวเองด้วยความยึดติด หลงยึดมั่นถือมั่นในสิ่งสมมติต่างๆ จนกลายเป็นความผูกพัน
    เมื่อความผูกพันบังเกิด เรามีความสุขและเพลิดเพลินกับการอยู่ในกรง
    ทั้งที่ส่วนลึกแล้ว จิตวิญญาณของเราใฝ่หาอิสรภาพ

    เป็นเรื่องง่ายที่สุด แต่กลับยากที่สุดของมนุษย์ด้วยเช่นกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2011
  17. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    'ความเห็น' เป็นเรื่องส่วนตนจริงๆ
    ต้องมีประสบการณ์หรือรู้สึกด้วยตนเองจึงจะเข้าใจ

    และบางครั้ง การที่เราหยิบยืมคำพูดของคนอื่นมาใช้ เพราะเขาอธิบายได้ดีกว่าเรา ให้ความกระจ่างไ้ด้มากกว่าเรา แต่โดยแก่นแห่งความรู้สึกแล้วอาจไม่ต่างกัน
     
  18. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    google เลยท่าน มีอธิบายเยอะแยะไปหมด

    แต่โดยส่วนตัว ใครเห็นและเข้าใจธรรมที่องค์พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และเผยแพร่ หรือใครที่เข้าถึงแก่นแห่งธรรมด้วยการระลึกรู้ของตนเอง ก็เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แต่แก่นธรรมโดยแท้แล้วจะไม่แตกต่าง ไม่ขัดแย้งกัน จะกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน

    เว็บนี้เขาให้ความหมายใช้ได้รึเปล่าอ่ะ?
    phudthoผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม

    ผู้รู้แจ้ง ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน :

    ผู้รู้คือ รู้สิ่งที่ควรรู้ รู้จักตนเอง รู้จักโลก รู้จักธรรม คือรู้จักอริยะสัจ๔ รู้จักทุกข์ รู้จักสมุทัย รู้จักนิโรธ รู้จักมรรค

    ผู้ตื่นคือตื่นจากความหลับ ความโง่งมงาย ความหลอกลวงที่โลกครอบงำ

    ผู้เบิกบานคือ ความไม่หดหู่ไม่เหี่ยวแห้ง ไม่ซึมเศร้าไม่ท้อแท้ มีแต่สดใสชื่นบาน และเข้มแข็ง
     
  19. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ZmarTAlkeR พอดีว่างอยู่ค่ะ เลยพิมพ์เพิ่มเติมมาแปะไว้ให้

    คุรุวิพากษ์คุรุ : OSHO
    โตมร ศุขปรีชา แปลและเรียบเรียง

    พระพุทธเจ้า (ต่อ)

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ[/FONT][FONT=&quot] โหราจารย์ที่ยิ่งใหญ่กล่าวกับพระองค์ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เรากริ่งเกรงที่จะกล่าว ทว่าท่านต้องตระหนักว่า ทารกน้อยนี้จะเติบโตขึ้นเป็นจักรวาทิน[/FONT]” [FONT=&quot]คำว่า จักรวาทิน หมายถึงกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่เรืองอำนาจทั่วโลก [/FONT]“[FONT=&quot]หรืออาจกลายเป็นขอทานที่สิ้นไร้ไม่มีอะไรเลย[/FONT]”[FONT=&quot] เป็นสองขั้วสุดโต่ง...[/FONT]

    [FONT=&quot]กษัตริย์ทรงมีอายุแล้ว และนี่คือพระโอรสองค์เดียวของพระองค์ ประสูติเมื่อพระองค์ชราภาพ พระองค์ทรงถามโหรว่าจะป้องกันพระโอรสไม่ให้กลายเป็นขอทานที่สละทางโลกได้อย่างไร โหรเหล่านั้นไม่มีความรู้เรื่องจิตหรือจิตวิทยา เหล่าโหรอาจรู้เรื่องดวงดาวอันห่างไกล ที่ซึ่งแสงใช้เวลาเดินทางหลายล้านปีแสงกว่าจะมาถึง โลก...ช่างโง่เขลาอะไรอย่างนั้น ที่คนเราจะคิดว่าดวงชะตาของตนกำหนดโดยดวงดาวนับล้านๆ ที่อยู่แสนไกล[/FONT]! [FONT=&quot]มีเหตุผลหนึ่งที่โหราศาสตร์ยังมีความสำคัญ นั่นก็เพราะมันทำให้เราพอใจ ถ้าได้คิดว่าจักรวาลทั้งปวงสนอกสนใจตัวเรา กระทั่งดวงดาวที่อยู่แสนไกลก็ยังพยายามอย่างสุดขีดที่จะส่งผลบางอย่างกับเรา เราไม่ใช่แค่คนธรรมดาไม่ไร้ค่า[/FONT]

    [FONT=&quot]ดวงดาวห่างไกลเหล่านั้นไม่ได้แม้แต่จะสนใจคุณ มันทำไม่ได้ ทว่าตัวกูของคุณก็รู้สึกอิ่มเอมเปรมใจยิ่งนัก โหรใช้สิ่งนี้หาประโยชน์มานับแต่เริ่มมีมนุษย์ แน่นอน พวกเขาหลอกใช้คุณ คุณต้องจ่ายเงินให้ แต่ก็ดูเหมือนคุ้มค่า เพราะพวกเขาล้วนให้ตัวกูอันยิ่งใหญ่แก่คุณ คุณตัวใหญ่ขึ้น สลักสำคัญมากขึ้น ยิ่งกว่าดวงดาวที่ใหญ่ที่สุดบนท้องฟ้า เพราะดวงดาวพวกนั้นก็ยังหมุนรอบตัวคุณ[/FONT]!

    [FONT=&quot]แต่โหราจารย์เหล่านั้นไม่ได้ฉลาดแม้เพียงเทียบเท่าซิกมุนด์ ฟรอยด์ พวกเขาทูลกษัตริย์ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]หากพระองค์ไม่ต้องการให้พระโอรสสละทางโลก ก็ทรงต้องตระเตรียมบางอย่าง[/FONT]”

    [FONT=&quot]ในอินเดีย มีฤดูกาลที่แยกขาดจากกันชัดเจนปีละ 3 ฤดู นับตั้งแต่มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ สิ่งนี้ได้เปลี่ยนไป แต่ก่อนนั้น ทุกๆปีในวันเดียวกัน ฝนจะตก และในวันเดียวกัน ฝนจะหยุดตก ในวันเดียวกันของทุกปี ฤดูหนาวจะมาถึง แล้วอีก 4 เดือนในวันเดียวกันก็จะหมดฤดูหนาว เป็นเรื่องแน่นอนชัดเจนเช่นนี้นานหลายศตวรรษ บัดนี้ไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว แต่ในสมัยของพระพุทธเจ้าทรงมีพระราชวัง 3 แห่ง แต่ละแห่งสำหรับแต่ละฤดู ในฤดูร้อนเป็นพระราชวังบนเนินเขา ซึ่งเย็น งดงาม และเขียวชอุ่ม มีการดูแลอย่างถี่ถ้วนเพื่อมิให้พระพุทธเจ้าต้องทรงเดือดเนื้อร้อนใจกับโลกภายนอก ส่วนในฤดูหนาว ในพระราชวังก็จะอบอุ่นสบาย[/FONT]

    [FONT=&quot]โหราจารย์ทูลกษัตริย์ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ต้องทรงให้พระโอรสแวดล้อมด้วยสาวสวยตั้งแต่ต้น เพราะเมื่อพระองค์เติบโตเป็นหนุ่มแล้ว ก็จะทรงมีสาวงามทั่วทั้งแผ่นดิน[/FONT]” [FONT=&quot]พวกเขาลงลึกไปในรายละเอียดแม้กระทั่งว่าพระโอรสต้องไม่ควรเห็นคนชรา เพราะการเห็นคนชราจะสร้างคำถามให้เกิดขึ้นว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นี่คือความเป็นไปของทุกๆ คนกระนั้นหรือ[/FONT]” [FONT=&quot]ต้องไม่ให้พระโอรสทอดพระเนตรเห็นคนตาย เก็บงำพระองค์ไว้ไม่ให้ตระหนักถึงความจริงแห่งชีวิต รักษาพระองค์ไว้ในดินแดนแห่งความฝัน ข้อเสนอนี้ก็คือ เมื่อทรงมีทุกสิ่งแล้ว เหตุไฉนจึงละทิ้งไปเสียเล่า[/FONT]

    [FONT=&quot]แพทย์ที่เก่งกาจที่สุดของแผ่นดินต้องคอยดูแลพระโอรส กระทั่งคนสวนในอุทยาน ก็ถูกสั่งว่าอย่าให้พระพุทธเจ้าเห็นดอกไม้โรยราหรือใบไม้เปลี่ยนสี-ในค่ำคืน ทุกสิ่งที่สำแดงถึงความตายต้องถูกย้ายออกไปให้หมด พระองค์พึงเห็นเฉพาะดอกไม้อ่อนๆ ผลิบาน งดงาม เห็นเพียงใบไม้เขียวที่เขียวอยู่เสมอ[/FONT]

    [FONT=&quot]กษัตริย์สามารถจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ ทรงทำทุกสิ่ง แล้วทุกสิ่งก็ตอบโต้กลับ โหรเขลาเหล่านั้นไม่คิดถึงความจริงง่ายๆ อย่างหนึ่ง นั่นคือ หากคุณให้ทุกสิ่งกับใคร เก็บเขาไว้ไม่ให้ตระหนักถึงสิ่งน่ารังเกียจที่อยู่รายรอบ ไม่ช้าเขาก็จะเบื่อ ไม่ช้าเขาก็จะเริ่มคิด [/FONT]“[FONT=&quot]แค่นี้หรือ แล้วพรุ่งนี้ก็จะเป็นเช่นนี้อีก แล้ววันถัดจากพรุ่งนี้ก็จะเป็นเช่นเดิม อะไรคือเป้าหมาย[/FONT]” [FONT=&quot]เขาจะเริ่มเบื่อหน่าย และสิ่งนั้นก็เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าทรงเริ่มเบื่อกับความงามไม่แปรเปลี่ยนของหญิงสาว ความงามไม่แปรเปลี่ยนของดอกไม้ แล้วจะทรงเป็นเช่นนั้นต่อไปได้อีกนานแค่ไหน โหรเหล่านั้นคือเหตุผลที่พระพุทธเจ้าสละราชบัลลังก์ หากพระองค์ได้รับอนุญาตให้มีชีวิตอยู่เช่นคนธรรมดา บางทีก็อาจไม่มีพระพุทธเจ้า ในทางหนึ่ง โหรเหล่านั้นได้สร้างคุณยิ่งใหญ่ให้มวลมนุษยชาติโดยไม่รู้ตัว[/FONT]

    [FONT=&quot]เรื่องเล่านี้งดงามยิ่ง เคยมีงานฉลองประจำปีในเมืองหลวง และปกติแล้ว เจ้าชายที่จะได้เป็นกษัตริย์ก็ต้องไปร่วมเพื่อเปิดงาน งานนั้นยาวนานสองสามสัปดาห์ มีทุกสิ่ง ทั้งการแข่งขันกรีฑา การแสดงทุกอย่าง พระพุทธเจ้าทรงเข้าร่วมงานฉลองแห่งความเยาว์วัยนี้ในพระชันษาที่ 29 ของพระองค์ ระหว่างทางไปงาน มีการดูแลอย่างถี่ถ้วน แต่สรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ก็มีวิธีเข้าถึงเราจนได้ เราไม่อาจคงอยู่ในหลุมศพปิดล้อมสนิทได้ เว้นแต่เราจะตาย ถ้าคุณยังมีชีวิตอยู่ ก็มีรอยแตกบางแห่ง ที่ซึ่งการดำรงอยู่ของชีวิตจะแทรกซ้อนซอนเข้ามาทำให้คุณตระหนักถึงความจริงได้ โหรและกษัตริย์ไม่อาจชาญฉลาดไปกว่าสรรพสิ่งได้[/FONT]

    [FONT=&quot]มีการระแวดระวังทุกอย่างระหว่างทางจากพระราชวังไปยังสถานที่จัดงาน ต้องไม่มีคนแก่ ไม่มีการแห่ศพ ไม่มีสิ่งใดที่อาจสร้างคำถามให้พระพุทธเจ้า แต่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงความจริงได้นานนัก ขณะที่รถม้ากำลังจะถึงสถานที่จัดงาน พระพุทธเจ้าก็ทอดพระเนตรเห็นชายชราคนหนึ่ง ชายนั้นหูหนวก และไม่ได้ยินว่าในวันนั้นเขาจะผ่านถนนเส้นนี้ไม่ได้ ต้องอยู่แต่ในบ้าน หรือไม่ก็ไปที่อื่น เขาหูหนวกไม่ได้ยิน จึงออกมานอกบ้านตามปกติ เขากำลังจะไปซื้อของที่ตลาด[/FONT]

    [FONT=&quot]เป็นครั้งแรกใน 29 พรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นชายชราที่อีกไม่นานก็จะตาย ทรงถามสารถีว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นั่นอะไรกัน ชายคนนั้นเป็นอะไร ฉันไม่เคยเห็นอะไรอย่างนี้มาก่อน[/FONT]!”

    [FONT=&quot]สารถีรักพระพุทธเจ้าราวกับเป็นบุตรของตนเอง เขาไม่อาจโกหกได้ เขากล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]แม้จะฝ่าฝืนคำสั่งของพระบิดาพระองค์ แต่ข้าพเจ้าก็ไม่อาจโกหกพระองค์ได้ พระองค์ได้รับการปกป้องไม่ให้เห็นคนชรา ทุกๆคนจะชราลง ข้าพเจ้าเองก็จะแก่เฒ่า นี่คือวิถีชีวิต[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัสถามทันทีว่า [/FONT]“[FONT=&quot]แล้วฉันก็จะแก่ชราลงวันหนึ่งด้วย เหมือนชายผู้นั้นใช่ไหม[/FONT]”

    [FONT=&quot]สารถีกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ข้าพเจ้าต้องกล่าวความจริงกับพระองค์ ข้าพเจ้าไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับข้าพเจ้าเลย แต่นี่คือกฏของธรรมชาติ ไม่อาจทำอะไรได้ จากเด็ก เราจะกลายเป็นหนุ่ม แล้วจากหนุ่ม เราก็จะกลายเป็นคนแก่ในวันหนึ่งเช่นกัน[/FONT]”

    [FONT=&quot]และแล้ว ตอนนั้นเอง ก็มีคนตาย เราห้ามความตายไม่ได้ สั่งความตายไม่ได้ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ห้ามมาปรากฏบนถนนสายนี้ จงไปที่อื่น[/FONT]” [FONT=&quot]ความตายไม่ได้อยู่ในเงื้อมมือของคุณ ใครบางคนตาย มีคนร้องไห้และศพคนตายก็อยู่ตรงนั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัสถาม [/FONT]“[FONT=&quot]เกิดอะไรขึ้น ทำไมคนถึงร้องไห้[/FONT]” [FONT=&quot]พระองค์ไม่เคยเห็นใครมีน้ำตา ไม่เคยเห็นใครตาย จึงทรงถาม [/FONT]“[FONT=&quot]เกิดอะไรขึ้นกับชายคนนี้ เขาไม่แม้กระทั่งจะหายใจ[/FONT]”

    [FONT=&quot]สารถีกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]นี่คือขั้นตอนที่สอง ขั้นแรก พระองค์ทรงเห็นคนชรา ไม่ช้าความตายก็จะมาสู่เขา และมันมาสู่ชายผู้นี้[/FONT]”

    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัสถาม [/FONT]“[FONT=&quot]ฉันจะต้องตายในวันหนึ่งด้วยใช่ไหม[/FONT]”

    [FONT=&quot]สารถีนั้น แม้กริ่งเกรงกษัตริย์ แต่เขาก็คงเป็นชายที่มีจริยธรรม จึงกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ความจริงก็คือความจริง ไม่มีใครปฏิเสธได้ พระบิดาของพระองค์ก็จะสวรรคต ข้าพเจ้าก็จะตาย พระองค์เองก็จะสวรรคตด้วย ความตายเริ่มต้นขึ้นในวันที่เราเกิด หลังจากเกิดขึ้นมาแล้ว ไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงความตาย[/FONT]”

    [FONT=&quot]แล้วตอนนั้นเอง พวกเขาก็ผ่านสันยาสีคนหนึ่ง สันยาสีคือผู้จาริกแสวงหา โหรเคยทูลกษัตริย์ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ไม่ควรให้พระโอรสติดต่อกับสันยาสีใดๆ เพราะคนเหล่านี้เป็นผู้สละทุกสิ่ง เป็นคนที่สอนว่า โลกนี้เป็นมายา ความปรารถนาทั้งหลายไม่ได้พาเราไปไหน การมีชีวิตอยู่เป็นแค่ความสูญเปล่า และความตายก็กรายใกล้เข้ามาทุกขณะ พึงหลีกเลี่ยงสันยาสี[/FONT]” [FONT=&quot]และตลอดพระชนม์ชีพ 29 พรรษา พระพุทธเจ้าก็ไม่เคยล่วงรู้ว่า มีคนที่พยายามจะแสวงหาบางสิ่งนอกเหนือจากชีวิตและความตาย[/FONT]

    [FONT=&quot]สันยาสีที่ใส่เสื้อผ้าสีแดงผู้นี้แลดูแปลกตาอย่างยิ่งสำหรับพระองค์ พระองค์ไม่เคยเห็นสันยาสีเลยตลอดพระชนม์ชีพ 29 พรรษา ด้วยความสงสัย จึงตรัสถาม [/FONT]“[FONT=&quot]แล้วชายผู้นั้นเล่า ฉันเคยเห็นคน แต่ไม่เคยมีใครใส่เสื้อคลุมตัวโคร่งอย่างนั้น ทั้งยังมีกะลาอยู่ในมือ ชายคนนี้เป็นใคร[/FONT]”

    [FONT=&quot]สารถีกล่าวว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ชายผู้นี้เข้าใจว่า ความงามจะเปลี่ยนเป็นน่าเกลียด ความเยาว์วัยจะเปลี่ยนเป็นเฒ่าชรา ชีวิตจะกลายเป็นความตาย และเขาพยายามจะแสวงหา ว่ามีอะไรนิรันดร์ไหม มีบางสิ่งไหมที่จะไม่เยาว์วัย เฒ่าชรา ตาย หรือป่วยไข้ เขาคือสันยาสี ผู้สละแล้วซึ่งโลก เขาเป็นผู้แสวงหาความจริง[/FONT]”

    [FONT=&quot]ใกล้จะถึงปะรำพิธีแล้ว แต่พระพุทธเจ้าตรัสกับสารถีว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ชักรถกลับเถิด ฉันจะไม่ไปยังงานฉลองความเยาว์วัยแล้ว หากที่สุดความเยาว์วัยกลายเป็นแก่ เจ็บ ตาย และจะเกิดขึ้นกับฉันด้วย ฉันก็ได้สูญเสีย 29 ปีไปอย่างไร้ประโยชน์ ฉันมีชีวิตอยู่ในความฝัน ฉันไม่ได้อ่อนเยาว์อีกต่อไป และฉันก็ไม่สนใจจะเป็นเจ้าชายอีก คืนนี้ ฉันจะละทิ้งทุกสิ่งแล้วออกไปแสวงหาความจริง[/FONT]”

    [FONT=&quot]สิ่งที่โหรแนะกษัตริย์เอาไว้ดูเหมือนเป็นสามัญสำนึก...แต่สามัญสำนึกเป็นเพียงเรื่องผิวเผิน พวกเขาพลาดเรื่องธรรมดาๆ ไป นั่นก็คือ เราไม่อาจเก็บคนคนหนึ่งไว้ตลอดชีวิตไม่ให้เขาตระหนักถึงความจริงได้ จะดีกว่า หากปล่อยให้เขารู้เสียตั้งแต่ต้น ไม่อย่างนั้นก็จะเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ในชีวิต และนั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้น ในคืนนั้นเอง พระพุทธเจ้าทรงหนีออกจากพระราชวังที่มีพร้อมทุกสิ่ง[/FONT]

    [FONT=&quot](จบส่วนที่ 2)[/FONT]
     
  20. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    น้อยมากที่จะพลาดหนังสือของท่าน"โอโช" โดยเฉพาะ"หลุด" พลาดไม่ได้แน่นอน วางอคติลง อ่านด้วยหัวใจ แล้วจะได้อะไรมากกว่าที่คิด ไม่มีอะไรแย้งหลักคำสอนของพระพุทธองค์ในความรู้สึกส่วนตัว
     

แชร์หน้านี้

Loading...