บทความให้กำลังใจ(น้อมใจรับสัจธรรม)

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 8 พฤษภาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    การเมืองร้อนรุ่ม แต่ใจสงบเย็น
    พระไพศาล วิสาโล
    ทุกวันนี้ผู้คนสนใจการเมืองมากเกินไป เราติดตามข่าวสารวันละหลายชั่วโมง แต่แล้วกลับปล่อยวางไม่ได้ ใคร ๆ ก็ชอบบ่นว่าข่าวการเมืองทำให้เครียด แต่ยิ่งเครียดก็ยิ่งติดตามข่าวไม่ยอมห่าง จนถูกข่าวสารครอบงำชีวิตจิตใจไปโดยไม่รู้ตัว หลายคนดูข่าวไปก็สบถด่าไป ท่าทางมีความทุกข์มากกับสิ่งที่เห็น แต่ก็ไม่ยอมเลิกดูเสียที ราวกับว่าข่าวสารบ้านเมืองกลายเป็นนายเราไปแล้ว

    เราลืมไปแล้วหรือว่าข่าวสารบ้านเมืองเป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิต ชีวิตเรายังมีอีกหลายอย่างที่ควรสนใจ ดังนั้นเราจึงควรรู้จักปล่อยวางข่าวสารบ้านเมืองบ้าง เพื่อเอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์ รวมทั้งมีเวลาสำหรับตามลมหายใจบ้าง ลองหายใจเข้า-ออกด้วยความรู้สึกตัวหายใจเข้าลึก ๆ ก็รู้ตัว หายใจออกยาว ๆ ก็รู้ตัว หรือไม่ก็หาเวลาว่างไปอยู่กับธรรมชาติบ้าง มีเวลาชื่นชมต้นไม้ในสวนหลังบ้านหรือริมถนน อย่ามัวแต่หมกมุ่นครุ่นคิดกับเรื่องการเมืองจนลืมชื่นชมสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่รอบตัว

    นอกจากวางการเมืองเอาไว้ข้างตัวชั่วคราวแล้ว ควรละวางความไม่พอใจต่อผู้คน โดยเฉพาะคนที่คิดแตกต่างจากเรา ใครจะไม่เห็นด้วยกับเรา ก็เป็นเรื่องของเขา อย่าไปเก็บเอามาเป็นอารมณ์ ในบรรยากาศที่ร้อนรุ่มแบบนี้ มี ๓ อย่างที่เราควรทำ คือ คือ “มองไกล ใจกว้าง วางได้”

    “มองไกล” คือมองย้อนไปในอดีตว่าคนที่คิดต่างจากเราเวลานี้ แต่ก่อนเขาก็เป็นเพื่อนเรา เคยคิดเห็นตรงกับเราหลายอย่าง และอาจเคยร่วมงานกันมามากมาย นอกจากมองย้อนหลังแล้วก็ควรมองไปข้างหน้าให้ไกล ๆ ด้วยว่า เรายังต้องอยู่ร่วมกับคนเหล่านี้ไปอีกนาน หากผิดใจกันแล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขต่อไปได้อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นถึงแม้วันนี้เราจะเห็นต่างกัน แต่วันพรุ่งนี้คงจะมีหลายเรื่องที่เรากับเขาเห็นพ้องต้องกัน และคงได้ทำงานร่วมกันอีก ทุกอย่างไม่ได้จบสิ้นแค่วันนี้

    “ใจกว้าง” คือยอมรับว่าความแตกต่างเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครที่เห็นเหมือนกับเราในทุกเรื่อง แม้แต่คนที่เรารักและรักเราก็ยังคิดเห็นต่างจากเราในบางเรื่องบางเวลา ถ้าเราไม่พอใจคนที่คิดต่างจากเรา เราก็ต้องไม่พอใจคนทั้งโลก รวมทั้งไม่พอใจตัวเองด้วย เพราะตัวเราเองเมื่อวานก็ยังคิดต่างจากตัวเองในวันนี้ หรือแม้แต่ขณะนี้เราเองก็อาจมีความคิดเห็น ๒ อย่างขัดแย้งกัน (เช่น เสาร์อาทิตย์นี้ใจหนึ่งก็อยากไปวัดแต่อีกใจหนึ่งก็อยากไปเที่ยวต่างจังหวัด) ใจกว้างยังรวมถึงการตระหนักว่ามีแค่บางเรื่องเท่านั้นที่เรากับเขาคิดต่างกัน แต่เมื่อมองให้กว้างก็จะพบว่ามีมากมายหลายเรื่องที่เขาคิดเหมือนเรา รวมทั้งมีความเหมือนกันอีกหลายอย่าง เช่น อยากเห็นบ้านเมืองมีความสงบ ไม่ชอบคอร์รัปชั่น สงสารเมื่อเห็นคนประสบภัยสึนามิ

    “วางได้” ก็คือการรู้จักปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ออกไปจากจิตใจ อะไรก็ตาม หากแบกเอาไว้ย่อมทำให้หนักใจและเป็นทุกข์ แม้แต่ลูก พ่อแม่ หรือคนรัก หากเราครุ่นคิดถึงเขาตลอดเวลาเราก็จะกังวลจนนอนไม่หลับ ขนาดแบกคนที่เรารักยังทำให้ทุกข์ขนาดนี้ นับประสาอะไรกับการแบกยึดคนที่เราไม่ชอบ ที่น่าแปลกก็คือยิ่งไม่ชอบใคร ก็ยิ่งคิดถึงคนนั้น ใจจะจดจ่อหรือไวต่อเรื่องราวของคนนั้นเป็นพิเศษ ทำให้ยิ่งติดยึดเข้าไปใหญ่ แต่ถ้าเรามีสติ เราก็จะปล่อยวางเขาออกไปจากใจ และอยู่อย่างมีความสุขได้

    ปล่อยวางไม่ได้แปลว่าไม่รับผิดชอบ แต่หมายถึงการรู้จักเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ อย่างถูกเวลาถูกโอกาส เช่น เวลาทำงานก็ทำอย่างตั้งใจ แต่เมื่อเลิกงาน ก็วางมันลงได้ เวลาจะนอนก็ไม่เอางานการมาครุ่นคิดให้รกสมอง ในทำนองเดียวกัน เราควรมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ข่าวสารบ้านเมืองจึงต้องติดตาม แต่อย่าจดจ่อจนหน้าดำคร่ำเครียด หรือกลายเป็นเสพติด จนวางไม่ได้ ปล่อยให้มันเข้ามาครองจิตครองใจ หรือแย่งเวลาและความสุขไปจากเราจนหมด เดี๋ยวนี้หลายคนไม่มีเวลาอยู่กับลูก ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว เพราะเอาแต่เฝ้าดูโทรทัศน์ติดตามข่าวสาร การทำเช่นนี้เป็นการทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ตัว และกำลังทำร้ายครอบครัวไปพร้อมๆ กัน ยิ่งกว่านั้นยังอาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ถ้าทำด้วยความเครียด เต็มไปด้วยความโกรธเกลียด เราก็มีส่วนทำให้บ้านเมืองร้อนรุ่มตามไปด้วย

    บ้านเมืองตอนนี้มีบรรยากาศราวกับอบอวลด้วยไอน้ำมัน พร้อมจะลุกเป็นไฟ เราอย่าเป็นคนหนึ่งที่ไปจุดไฟทำให้บรรยากาศร้อนแรงขึ้น ถ้าเราช่วยกันทำใจของตนให้สงบเย็น ทำให้คนในครอบครัวสงบเย็น ทำให้พ่อแม่พี่น้องของเราสงบเย็น เราก็อาจช่วยบ้านเมืองของเราได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

    ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจไม่ดี การเมืองน่าวิตก แต่อย่าลืมว่าคนเราไม่ได้มีเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง เราไม่ใช่เป็นสัตว์เศรษฐกิจหรือสัตว์การเมือง เรายังมีชีวิตส่วนตัว ยังมีชีวิตครอบครัว ยังมีชีวิตอีกหลายด้าน มีภาระหน้าที่อีกหลายส่วน รวมทั้งการฝึกฝนพัฒนาจิตใจ จึงควรใช้เวลาที่มีอยู่สำหรับการทำหน้าที่อื่น ๆ รวมทั้งทำใจให้สงบเย็นบ้าง จะได้รับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจตอนนี้ เราต้องยอมรับว่านี้คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว อย่าไปปฏิเสธมัน ยิ่งปฏิเสธก็ยิ่งเป็นทุกข์

    สิ่งที่ต้องทำในยามนี้เป็นอย่างแรกก็ต้องยอมรับความจริง จากนั้นก็ต้องปรับตัว เช่น ปรับการใช้ชีวิต ใช้จ่ายให้น้อยลง ทำงานหนักขึ้น ประการสุดท้ายคือ ต้องปรับใจด้วย คืออย่าปล่อยใจไปพึ่งพาวัตถุมาก อย่าให้ใจไปพึ่งพิงเงินทองมาก สาเหตุที่เราพากันพึ่งพาวัตถุก็เพราะเราต้องการหาความสุขจากวัตถุ แต่ความสุขไม่ได้เกิดจากวัตถุอย่างเดียว ความสุขเกิดจากจิตใจได้ด้วย ถ้าสามารถหาความสงบสุขจากจิตใจได้ เราจะพึ่งพาเงินทองหรือวัตถุน้อยลง นี้คือสิ่งที่ธรรมะช่วยเราได้ ธรรมะเป็นกุญแจไขไปสู่ความสงบเย็นภายใน เป็นสุขที่ไม่อิงกับอามิส คือ สุขแท้อันประเสริฐ เรียกว่า นิรามิสสุข

    ชีวิตของฆราวาสเปรียบเหมือนชีวิตที่เดินอยู่ในที่โล่ง ต้องเจอแดดเจอฝน ถ้าไม่มีอะไรปกป้องคุ้มกัน เจอแดดก็ร้อน เจอฝนก็เปียก แต่ถ้าเรามีร่ม ถึงฝนตกแดดออกก็ไม่เป็นไร ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่เราต้องการคือร่มที่ปกป้องจิตใจไม่ให้ร้อนไปตามสิ่งแวดล้อม ไม่ให้ถูกกระทบจากสิ่งรอบตัว แดดจะร้อนอย่างไรแต่ใจสงบ ฝนจะตกอย่างไรแต่ใจปลอดโปร่ง ผู้คนจะร้อนรุ่มอย่างไร แต่ใจเย็นสบาย

    ใจต้องมีสิ่งปกป้องคือธรรมะ ร่างกายไม่เปียกเพราะว่ามีร่ม ใจไม่ทุกข์ ไม่ขึ้นไม่ลง ไม่ฟูไม่แฟบ ก็เพราะมีธรรมะเป็นเครื่องรักษาใจ เราจึงควรช่วยกันน้อมนำธรรมะมาปกป้องจิตใจ เพื่อให้ชีวิตเกิดความสงบสุข ใช่แต่เท่านั้นธรรมะยังช่วยให้ความสงบเย็นภายในใจเราแผ่กระจายไปยังคนรอบตัว ทั้งลูกหลาน พ่อแม่ คนรัก ตลอดจนเพื่อนร่วมงาน และกระจายไปถึงผู้คนในสังคมได้ด้วย
    :- https://visalo.org/article/sukjai255205.htm
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    lptohwatpraduchimpree.jpg
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    obstacle.jpg
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    pinkblossom.jpg
    ทำชีวิตให้หายวุ่น
    พระไพศาล วิสาโล
    เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็บ่นว่า “วุ่น” มากขึ้น หาเวลาว่างได้น้อยลง โดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อแม่ในกรุงเทพ ฯ ต้องตื่นแต่เช้ามืดเพื่อพาลูกไปโรงเรียน หลายคนต้องกินข้าวบนรถ จะได้ไม่ต้องเจอกับจราจรที่ใกล้จลาจล ช่วงที่อยู่สำนักงานก็มีงานเต็มมือ กว่าจะกลับบ้านก็ค่ำมืด แล้วยังต้องทำอะไรอีกหลายอย่าง กว่าจะเข้านอนก็เกือบเที่ยงคืน เวลาแต่ละวันผ่านไปอย่างรวดเร็ว โดยมีอีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้ทำ เช่น พูดคุยกับลูก ดูแลต้นไม้ ออกกำลังกาย ฯลฯ

    นึกดูก็น่าแปลกที่ผู้คนนับวันจะมีเวลาว่างน้อยลง ทั้ง ๆ ที่มีเทคโนโลยีช่วยประหยัดเวลามากมาย อาทิ หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า รถยนต์ และอาหารสำเร็จรูป ทั้งหมดนี้ไม่เพียงช่วยให้ภารกิจแต่ละอย่างเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วเท่านั้น หากยังช่วยให้เราสามารถทำหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน เช่น แปรงฟัน ซักผ้า หุงข้าว อุ่นอาหาร และฟังวิทยุ ในเวลาเดียวกัน แต่แล้วทำไมเราจึงกลับวุ่นกว่าเดิม และมีแนวโน้มว่าจะวุ่นมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย ขณะที่ชาวบ้านในชนบท ซึ่งไม่ค่อยมีเทคโนโลยีเหล่านี้ กลับมีเวลาว่างมากกว่าเรา ทั้ง ๆ ที่กิจวัตรแต่ละอย่างใช้เวลามากกว่า แค่หุงข้าวอย่างเดียวก็ใช้เวลาร่วม ๒๐ นาที

    มักมีคำอธิบายว่าสาเหตุที่คนสมัยนี้มีเวลาว่างน้อยลง เพราะต้องแข่งขันกันทำมาหากินมากขึ้น นอกจากข้าวของจะแพงขึ้นแล้ว ผู้คนก็มากขึ้นด้วย จำนวนคนแข่งขันที่มีมากขึ้นก็เป็นสาเหตุเดียวกับที่ทำให้เด็กสมัยนี้ต้องเรียนหนังสือมากขึ้น เสาร์อาทิตย์ก็ไม่เว้น จะทำอะไรก็ต้องเสียเวลาไปกับการรอคอยเพราะหลายคนมีเป้าหมายเดียวกับเรา เช่น เข้าคิวซื้อของ หรือติดไฟแดงบนท้องถนน

    อย่างไรก็ตามนั่นคงไม่ใช่สาเหตุเดียว เพราะถึงแม้จะอยู่บ้าน ไม่ต้องออกไปแข่งขันกับใคร เพราะเป็นวันหยุด เราก็ยังวุ่นอยู่ดี แม้จะน้อยกว่าวันธรรมดาหรือยามที่ต้องออกไปนอกบ้านก็ตาม น่าคิดว่าอะไรทำให้เราวุ่นทั้ง ๆ ที่ไม่ได้แข่งขันกับใคร

    บ่อยครั้งสิ่งที่ทำให้เราวุ่นนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาชีพการงานเลย แต่เป็นเรื่องการเสพการบริโภคมากกว่า เดี๋ยวนี้เรามีสิ่งเสพสิ่งบริโภคมากมาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องบริโภคทางปากเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการบริโภคทางตาและทางหูด้วย คงยากที่จะปฏิเสธว่า โทรทัศน์ ดีวีดี ซีดี นับวันจะแย่งชิงเวลาของเรา(และครอบครัว) ไปมากขึ้นทุกที และเดี๋ยวนี้ถ้าไม่พูดถึงโทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต ก็เท่ากับมองข้ามตัวการสำคัญไป จำเพาะวัยรุ่นไทยวันหนึ่ง ๆ เสียเวลาไปกับโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต รวมแล้วประมาณ ๕ ชั่วโมง ผู้ใหญ่แม้จะใช้เวลาน้อยกว่า แต่ก็เสียเวลาไปกับเทคโนโลยีเหล่านี้มากขึ้นทุกที

    นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่พยายามแย่งชิงเวลาจากผู้คน อาทิ การช็อปปิ้งหรือเที่ยวห้าง การดูหนังฟังคอนเสิร์ต กิจกรรมเหล่านี้ได้พัฒนาเทคนิคการดึงดูดใจจนยากที่จะปฏิเสธได้หากเผลอเข้าไปเฉียดกราย กิจกรรมเหล่านี้และเทคโนโลยี (ซึ่งมีชื่อไพเราะว่า “สารสนเทศ”)มีส่วนไม่น้อยในการทำให้คนสมัยนี้ดูเหมือนจะวุ่นมากขึ้น ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องรีบทำให้เสร็จไว ๆ จะได้มีเวลาสำหรับการเสพผ่านกิจกรรมและเทคโนโลยีดังกล่าว บางครั้งก็ต้องยอมอดหลับอดนอน ถ้าไม่เชื่อก็คอยสังเกตพฤติกรรมของผู้คนในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก (ซึ่งจะมาถึงในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมนี้) ว่าจะเป็นอย่างที่กล่าวไหม

    คนยากคนจนโดยเฉพาะในชนบท ไม่มีปัญญาซื้อเทคโนโลยีหรือทำกิจกรรมดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจที่เขามีเวลาว่างมากกว่าคนในเมือง นอกจากมีเวลาอยู่กับลูกหลาน สนทนากับเพื่อนบ้าน ทำบุญที่วัดแล้ว ยังมีเวลานอนมากกว่าด้วย มองในแง่นี้ก็จะเห็นได้ว่าความว่างหรือวุ่นนั้นเกี่ยวข้องกับฐานะทางเศรษฐกิจด้วย คือยิ่งมีเงินมาก ก็ยิ่งวุ่นมากขึ้น

    จริงอยู่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความวุ่นเพราะต้องทำงานตัวเป็นเกลียว ย่อมทำให้มีเงินมากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็เป็นจริงด้วยเช่นกัน คือเมื่อมีเงินมากขึ้น ก็มีแนวโน้มจะวุ่นมากขึ้น เพราะมีสิ่งเสพสิ่งบริโภคให้เลือกมากมาย ถ้าเก็บเงินไว้ไม่ใช้เลย ก็ดูกระไรอยู่ แต่ทันทีที่ลงมือใช้หรือลงมือบริโภค ก็หมายถึงการเสียเวลาไปกับมัน ยิ่งบริโภคมากก็ยิ่งเสียเวลามาก เวลาว่างจึงมีน้อยลงเป็นลำดับ นี้แหละคือปัญหาของคนมีเงิน คือยิ่งมีเงิน ก็ยิ่งรู้สึกว่ามีเวลาน้อยลง ดังนั้นเมื่อทำอะไรจึงมีแนวโน้มที่จะรีบเร่งให้เสร็จไว ๆ ก็เลยยิ่งรู้สึกวุ่นมากขึ้น

    มองให้ดีจะพบว่าความวุ่นมักเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งโดยการหากิจกรรมหรือสิ่งเสพต่าง ๆ มาทำให้วุ่น และโดยการเร่งรีบทำสิ่งต่าง ๆ จนเกิดความรู้สึกวุ่นขึ้นมา ประการหลังนี้ถูกตอกย้ำให้เป็นหนักขึ้นเมื่อมีทัศนคติว่า “เวลาเป็นเงินเป็นทอง” หรือ “เวลาเป็นของมีค่า” คนมีเงินจะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากทัศนคติดังกล่าว ดังนั้นจึงคอยไม่เป็นและเร่งรีบจนเป็นนิสัย หนักกว่านั้นก็คือจะไม่ยอมเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่ “เป็นเงินเป็นทอง” จึงทนไม่ได้กับการนั่งเล่น เดินเล่น ปลูกต้นไม้ บางคนแม้แต่จะพูดคุยกับลูกเมีย ก็ไม่มีเวลาให้เพราะกลัวว่าจะเสียเวลาทำมาหากิน (แม้แต่เด็ก ๆ ก็ติดทัศนคติแบบนี้มากขึ้นทุกที เด็กคนหนึ่งเมื่อถูกถามว่าทำไมไม่คุยกับพ่อบ้าง คำตอบก็คือ “คุยแล้วไม่ได้คะแนน ก็เลยไม่รู้จะคุยทำไม) คนที่คิดแบบนี้จึงชอบหมกมุ่นกับงาน หรือไม่ก็หางานมาทำตลอดเวลา หรือทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ถ้าหยุดหรือมีเวลาว่างเมื่อไรก็จะไม่สบายใจหรือรู้สึกผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ชีวิตจะไม่วุ่นได้อย่างไร

    ชีวิตจะหายวุ่นและมีเวลาว่างมากขึ้น จึงอยู่ที่ตัวเราเป็นสำคัญ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานที่ผู้คนแวดล้อม หรือแม้แต่อาชีพการงาน (การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่าคนอเมริกันในปัจจุบันใช้เวลากับการทำมาหากินน้อยลงเมื่อเทียบกับ ๔ ทศวรรษที่แล้ว แต่กลับรู้สึกวุ่นมากกว่า) ดังนั้นถ้าอยากให้ชีวิตวุ่นน้อยลง อย่างแรกที่ทำได้เลยคือลืมไปเสียบ้างว่า “เวลาเป็นเงินเป็นทอง” ถึงแม้สิ่งที่ทำจะไม่ให้ผลงอกเงยเป็นเงินทอง ก็ควรทำด้วยความใส่ใจ ไม่เร่งรีบ พึงตระหนักว่า “ปัจจุบันเป็นเวลาประเสริฐสุด” คือทำทุกอย่างในปัจจุบันให้ดีที่สุด แม้จะเป็นแค่การล้างมือ อาบน้ำ หรือถูฟัน เงินทองนั้นสำคัญก็จริงอยู่ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือความสุขใจอันเกิดจากจิตที่ผ่อนคลาย เป็นสมาธิ อย่าลืมว่ามีเงินมากเท่าไรก็ซื้อความสุขใจไม่ได้ การมีเวลาให้ใจได้อยู่นิ่ง ๆ และผ่อนคลาย เช่น ทำสวน เดินเล่น ทำโยคะ หรือนั่งสมาธิ เป็นการทำให้เวลามีค่ายิ่งกว่าเงินทองเสียอีก

    ควบคู่กันไปก็คือการทำให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ การทำหลายอย่างพร้อมกันนอกจากจะทำไม่ได้ดีสักอย่างแล้ว ยังทำให้จิตเป็นสมาธิได้ยาก การแบ่งความใส่ใจให้แก่หลายสิ่งในเวลาเดียวกัน ทำให้เกิดความรู้สึกเครียดและวุ่นได้ง่าย ถึงเวลาจะพักจิตให้สงบก็ทำไม่ได้ จึงกลายเป็นโรคนอนไม่หลับ

    ประการต่อมาคือใช้ชีวิตให้เรียบง่ายมากขึ้น มีทรัพย์สมบัติให้น้อยลง เพราะยิ่งมีสมบัติมาก ก็ยิ่งต้องเสียเวลาไปกับสิ่งเหล่านั้น จนแทบไม่มีเวลาว่างให้กับตนเองและครอบครัว จะทำเช่นนั้นได้ต้องมีภูมิคุ้มกันกระแสบริโภคนิยม ที่หมั่นโฆษณาให้เราซื้อสินค้าสารพัดไม่หยุดหย่อน อีกทั้งผลิตสิ่งใหม่ ๆ มาดึงดูดใจเราเสมอ ถ้ายังใจไม่ถึงพอที่จะแจกจ่ายทรัพย์สมบัติที่มีมากมายให้แก่คนอื่น ๆ ก็ควรลดการซื้อข้าวของเข้าบ้าน และทำใจให้เป็นสุขกับสมบัติที่มีอยู่

    มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า คนที่ชอบบ่นว่าวุ่นเหลือเกินนั้น ปัญหาที่แท้จริงของเขาก็คือมีเงินมากเกินไป เงินนั้นทำให้เรามีทางเลือกมากก็จริง แต่ทางเลือกที่มีมากมายก็อาจทำให้เราเสียเวลาในการเลือก และถ้าไม่เลือกเลย แต่เอาทุกทาง ก็ยิ่งเสียเวลามากขึ้น ดังนั้นเงินจึงสร้างภาระให้แก่เราในเวลาเดียวกัน คำตอบคงไม่ได้อยู่ที่การทิ้งเงินไปให้หมด แต่อยู่ที่การมีท่าทีที่ถูกต้องต่อเงิน คือใช้เงินให้เป็นประโยชน์ ขณะเดียวกันก็รู้เท่าทันว่ามันเป็นโทษอย่างไร ไม่ลุ่มหลงติดยึดจนเป็นทาสมัน

    การทำชีวิตให้เป็นอิสระเหนือเงินคือกุญแจสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้เรามีจิตที่ว่างมากขึ้น วุ่นน้อยลง แม้รอบตัวจะยุ่งเหยิงก็ตาม
    :- https://visalo.org/article/sukjai254906.htm
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    colorsky.jpg
    เติมความว่างให้จิตบ้าง

    พระไพศาล วิสาโล

    ไม่มีวันไหนที่เราจะเว้นว่างจากความคิด ความคิดติดตามเราไปทุกหนทุกแห่ง จึงนับว่าใกล้ชิดสนิทกับเรายิ่งกว่าเงาเสียอีก เพราะแม้แต่ยามค่ำคืนเดือนมืด ความคิดก็มิได้หายไปไหน ถึงตาจะมองอะไรไม่เห็น หูไม่ได้ยิน จมูกไม่ได้กลิ่น แต่ความคิดก็ยังคอยช่วย เราคาดเดาว่า มีสิงสาราสัตว์หรือภยันตรายอยู่รอบตัวเราหรือไม่

    แต่ถ้าจะบอกว่าความคิดเป็นทาสที่ซื่อสัตย์ของเรา ก็คงไม่ได้ บ่อยครั้งความคิดแทนที่จะคอยติดตามเรา กลับชักลากเราไปไหนต่อ ไหนตามใจมันจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ เราเครียดก็เพราะห้ามความคิดไม่ได้มิใช่หรือ รู้ทั้งรู้ว่าความโกรธนั้นไม่ดี แต่ใจก็ คอยคิดแต่เรื่องที่ทำให้เราโกรธอยู่นั่นแหล่ะ ยิ่งคิดก็ยิ่งโกรธ และยิ่งโกรธก็ยิ่งคิด สลัดความคิดไปไม่ได้สักที ราวกับว่าเจ้าตัวความคิดคอยบัญชาเราให้เวียนกลับไปหาเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่ามันจะพอใจ แต่มันก็ไม่เคยพอใจสักที ต่อเมื่อเจอฤทธิ์ยานอนหลับนั่นแหล่ะ จึงสงบลงได้

    ถ้าชีวิตนี้ เรามีอำนาจที่จะควบคุมอะไรได้สักอย่างหนึ่ง เราคงอยากมีอำนาจควบคุมความคิดกันทั้งนั้น แต่เป็นเพราะควบคุมความคิดไม่ได้ เราจึงอยู่อย่างสุขๆ ทุกข์ๆ ขึ้นๆ ลงๆ หาความสงบใจไม่ได้ อยู่ว่างเมื่อไร เป็นต้องกระสับกระส่ายเมื่อนั้น คนสมัยนี้ พอถึงวันเสาร์วันอาทิตย์ต้องหาเรื่องออกไปช็อปปิ้ง เพื่อ "ความสบายใจ" ด้วยเหตุนี้เองศูนย์การค้าจึง กลายเป็นวัดสมัยใหม่ของคนยุคนี้ไปแล้วอย่างเต็มภาคภูมิ แต่เราจะขลุกอยู่ในศูนย์การค้าได้นานสักเท่าใดกัน พอเบื่อแล้วก็ต้องแล่นไปที่อื่นต่อ อย่างน้อยไปเที่ยวบ้านเพื่อนก็ยังดี โรงหนังก็ยังได้ แต่แล้วในที่สุดก็ต้องกลับบ้าน เพื่อจะต้องมาเจอความหงุดหงิดงุ่นง่านเพราะไม่รู้จะทำอะไรดี เลยต้องเอาเวลาว่างมา"ฆ่า" ด้วยการเฝ้าหน้าจอโทรทัศน์ หรือไม่ก็หาเรื่องคุยโทรศัพท์กับเพื่อนคนโน้นคนนี้ แต่ทั้งหมดนี้อาจจะเชย หรือดูเป็นเด็กๆไปแล้วก็ได้ สู้ไปเที่ยวเธคเที่ยวผับไม่ได้

    แต่ไม่ว่าจะหาเรื่องหลบไปไหนต่อไหน ในที่สุดเราก็ต้องกลับมาอยู่กับตัวเองจนได้ ทีนี้แหล่ะเจ้าตัวความคิดก็จะมาก่อกวนเราอีก พาเราลู่ถูลู่กังไปกับอารมณ์ร้อยแปด เรื่องสุขนั้นน้อย เรื่องทุกข์สิมากและแล้วเราก็ต้องหาเรื่องหนีจากตัวเอง หลบจากความคิด ไปขลุกอยู่กับอะไรก็ได้ที่ทำให้เราลืมตัวเอง หรือสะกดความฟุ้งซ่านให้สงบลง

    ความคิดนั้นเราปรุงมันขึ้นมาเอง แต่แล้วเราก็กลับพาตัวเข้าไปอยู่ในอำนาจของมัน ทั้งๆที่อาจจะรู้อยู่แก่ใจว่า ความคิดทำให้เราทุกข์ได้ไม่น้อย แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะต้องคอยพึ่งมัน จะขึ้นรถลงเรือ จะกินจะนอน ก็ต้องอาศัยความคิดมาช่วยกำกับ เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหูแล้ว ก็ยังไม่แน่ใจ ต้องเอาความคิดมาสำรวจตรวจสอบอีก เราอยู่กับความคิดจนกระทั่งไม่แน่ใจว่า เมื่อใดที่จิตว่างจากความคิดแล้ว เราจะอยู่อย่างไร คงจะรู้สึกเวิ้งว้างล่องลอย ไร้ที่ยึดเกาะปานนั้นเลยทีเดียว

    ความคิดนั้นมีคุณอย่างไร? เห็นได้ไม่ยาก แต่ขณะเดียวกันมันก็มีโทษด้วย และโทษของความคิดเกิดขึ้นได้ สาเหตุสำคัญก็เพราะเราคิดมากเกินไป การคิดในทุกเรื่องนั้นยังพอทำเนา (แม้ว่าในความเป็นจริง มีเรื่องที่เราไม่ค่อยได้คิดเท่าไร) แต่การคิดในแทบทุกที่ทุกเวลานี้สิเป็นตัวปัญหา เรามักไม่ตระหนักว่าการคิดเรื่อยเปื่อยเป็นการสร้างอำนาจให้แก่ความคิดในทางที่ผิด ยิ่งปล่อยใจไปตามความคิดมากเท่าไร ความคิดก็ยิ่งเติบใหญ่มีพลังมากเท่านั้น จนในที่สุดเราคุมมันไม่อยู่ เปรียบดังกองไฟที่เราปล่อยให้ลามไปเรื่อยๆ ทีแรกอาจเป็นเพียงแค่สะเก็ดไป แต่ถ้าได้เชื้อไม่หยุด ไม่ช้าก็เร็วมันก็จะกลายเป็นกองเพลิงท่วมหัวเกินกว่าจะดับได้

    วันแล้ววันเล่าที่เราเติมเชื้อเติมฟืน ให้แก่ความคิดโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวด้วยการคิดอย่างเรื่อยเปื่อย แต่ที่หนักกว่านั้นก็คือการหลงเข้าใจไปว่า ยิ่งคิดยิ่งดี อยู่ว่างเมื่อไรจะต้องหาเรื่องคิด เพราะถือว่าเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ยุคนี้เป็นยุคที่เน้นประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าอะไรก็ตาม จะปล่อยไว้ "เปล่าๆ" ไม่ได้ ถือว่าไร้ประโยชน์ เพราะฉะนั้นถ้ามีป่า ก็ต้องตัดเอาไม้มาขาย หรือไม่ก็ถางเตียนเพื่อ"พัฒนา"ที่ดิน ในทำนองเดียวกัน สมองหรือจิตใจจะปล่อยไว้เปล่าๆหาได้ไม่ ระหว่างที่อาบน้ำ ถูฟัน กินข้าว นั่งรถ ฯลฯ จะต้องคิดเรื่องงานเรื่องการ วางแผนสารพัดไปด้วย ถึงจะเรียกว่าเป็นการใช้เวลาให้เป็น "ประโยชน์" หรือที่สมัยใหม่เรียกว่า การบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่หารู้ไม่ว่านี่เป็นการสร้างนิสัยที่บั่นทอนตนเอง เครื่องยนต์ยิ่งเร่งเท่าไร นอกจากจะเสื่อมเร็วแล้ว ยังหยุดยากอีกด้วย เป็นเพราะเหตุนี้มิใช่หรือคนจำนวนไม่น้อยจึงต้องพึ่งยานอนหลับ เพราะหยุดความคิดไม่ได้

    จิตที่มีประสิทธิภาพมิได้หมายถึงจิตที่อัดแน่นไป ด้วยความคิดหรือมีเรื่องครุ่นคิดเต็มไปหมด ตรงกันข้ามจิตที่ทรงประสิทธิภาพคือจิตที่รู้จักว่างจากความคิดด้วย การใช้จิตแต่เพียงด้านเดียว คือด้านที่เอาแต่คิดกลับจะเป็นการบั่นทอนคุณภาพจิตเสียด้วยซ้ำ เรามักเห็นประโยชน์แต่ความมี ความเต็ม ดังนั้นเราจึงมักหาเรื่องคิดเพื่อจิตจะได้เต็ม ไม่โหรงเหรง แต่ประโยชน์ของความว่าง เรากลับมองไม่เห็น ทั้งๆที่ความว่างสำคัญพอๆกับความเต็ม ลองนึกถึงบ้านที่มีข้าวของอัดแน่นเต็มไปหมด จะน่าอยู่หรือไม่ เก้าอี้จะมีประโยชน์ต่อเมื่อมันว่าง เช่นเดียวกับหน้าต่าง ล้อรถ แม้แต่เสียงดนตรี ถ้าตัวโน้ตเรียงติดต่อกันเป็นพืด ไม่เว้นจังหวะหรือช่องว่างเลย จะไพเราะอะไร

    เราควรรู้จักทำจิตให้ว่างจากความคิดบ้าง ความสงบใจเป็นประโยชน์ข้อหนึ่งที่แลเห็นได้ไม่ยาก แต่ความสงบใจกินได้เมื่อไหร่? ในยุคบริโภคนิยม คำถามแบนี้เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว เพราะเรื่องกินมีความสำคัญสำหรับคนสมัยนี้ยิ่งกว่าอะไรอื่น จนกระทั่งอุดมคติก็โยนทิ้งไปแล้ว ด้วยเหตุนี้เราจึงเชิดชูความคิดกัน เพราะอย่างน้อยก็ใช้ทำมาหากินได้

    แต่เรามักจะไม่ตระหนักว่า จิตที่ไม่รู้จักว่างจากความคิดเลยนั้นมีขีดจำกัดมากในการคิดและแก้ปัญหา ความคิดจะมีประสิทิภาพได้ต่อเมื่อจิตรู้จักว่างจากความคิดด้วย ทั้งนี้เพราะการว่างจากความคิดเป็นสิ่งสำคัญที่จะมาช่วยเสริมความคิดให้มีพลัง ถ้าเราเอาแต่คิด จิตก็เหนื่อย แต่เมื่อหยุดคิดเสียบ้าง จิตก็ได้พักและพร้อมที่จะคิดได้อย่างเต็มที่

    การคิดยืดยาวเป็นสายไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ในทางตรงข้ามบ่อยครั้งเราจะพบว่าเมื่อหยุดคิดไปสักระยะหนึ่ง พอจิตผ่อนคลายความคิดดีๆ ก็จะผุดขึ้นมาเองดังฟองอากาศ โดยที่เราไม่ต้องเสียแรงไปคิดให้เหนื่อยยาก อาร์คีมีดิสค้นพบกฏแห่งความหนาแน่นของวัตถุอย่างไม่นึกฝันก็ตอนกำลังหย่อนตัวลงอ่างอาบน้ำ เช่นเดียวกับที่นิวตันเกิดปัญญาสว่างวาบในเรื่องแรงโน้มถ่วงขณะนั่งเอกเขนกใต้ต้นแอปเปิ้ล ท่านพุทธทาสเอง ก็เกิดความรู้ความคิดแปลกๆ ใหม่ๆ ระหว่างที่จิตมีสมาธิกับการเดินบิณฑบาต คุณสมบัติของจิตในการรู้เองโดยไม่ต้องคิด หรือเกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่โดยไม่ตั้งใจ เรียกว่าญาณทัศน์ หรือ intuition เราอาจไม่ใช่คนพิเศษที่ทรงความสามารถดังบุคคลที่เอ่ยนามมานี้ แต่ในชีวิตประจำวันของเรา หากสังเกต ก็อาจพบว่าได้เคยประสบกับภาวะดังกล่ามาแล้วไม่มากก็น้อย

    การทำจิตให้ว่างจากความคิด ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมความคิดของเราให้สามารถคิดได้ดีขึ้นเท่านั้น หากยังสามารถนำเราให้เข้าถึงไม่ได้อีกด้วย พรมแดนของความคิดนั้นกว้างใหญ่ไพศาลสุดจักรวาล แต่ก็ยังมีขอบเขตจำกัด ไม่ว่าเราจะครุ่นคิดเพียงใด ก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะอันลุ่มลึกในทางจิตวิญญาณได้ ความสุขล้ำในภาวะสมาธิเป็นอย่างไร ความคิดไม่อาจช่วยให้เราเข้าใจได้ แม้แต่สัจธรรมหรือความจริง ความคิดก็พาเราเข้าถึง ได้เพียงระดับสามัญที่เรียกว่าสมมติสัจจะเท่านั้น แต่จิตที่ว่างจากความคิดสามารถพาเราไปได้ไม่มีขอบเขต และนำเราให้เข้าถึงทั้งความสุขและความจริงขั้นสูงสุดอันได้แก่วิมุติและปรมัตถสัจจะ

    เราอาจเป็นคนมักน้อย ไม่นึกหวังว่าชีวิตจะไปได้ไกลถึงขั้นนั้นแต่อย่าง น้อยเราก็คงต้องการบางสิ่งบางอย่างที่จะมารั้งมาคานความคิดบ้าง มิให้ความคิดแล่นไปไกลสุดโต่งหรือกลายเป็นเจ้าตัวร้ายที่คุมไม่อยู่ ถ้าเช่นนั้นก็ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะมาถ่วงความคิดได้เท่ากับการว่างจากความคิด ยามใดที่เราหยุดคิด ความคิดก็ไม่มีเชื้อฟืนที่จะหล่อเลี้ยง มันจึงอ่อนแรงไปโดยปริยาย และอาจดับมอดในที่สุด กาลเวลาสามารถดับความโกรธความร้อนรนได้ก็เพราะเหตุนี้

    แต่บ่อยครั้งเราก็รอไม่ได้ว่าเมื่อไรความคิดจะจาง คลายไปเองจึงมีความจำเป็นที่จะต้องฝึกจิตให้รู้จักว่างจากความคิดบ้าง ว่ากันที่จริงแล้ว ความคิดนั้น การจะเข้าไปหยุดมันเป็นเรื่องยาก เราอาจจะกดมันไว้ แต่มันก็จะพลุ่งพล่านอยู่ลึกๆ และไม่ช้าไม่นานก็จะระเบิดออกมา แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราทำได้ก็คือ น้อมจิตมาอยู่กับความรู้สึก ความรู้สึกนั้นมิได้หมายความเพียงแค่ความรู้ร้อนรู้หนาว สุขๆ ทุกข์ๆ หากกินความรวมถึงการสัมผัสรับรู้ด้วยใจ โดยไม่ต้องอาสัยความคิด การเอาจิตแนบกับเสียงเพลงอันไพเราะ ซึมซับรับรู้ความงามของธรรมชาติและภาพศิลป์ เป็นวิธีการช่วยจิตให้ว่างจากความคิดอย่างง่ายๆ ที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว

    น่าเสียดายที่ ชีวิตประจำวันไม่เอื้อให้เรามีเวลาอยู่กับเสียงเพลงและทิวทัศน์ได้นานนัก แต่ถึงอย่างไรเราก็มีเวลาหายใจมิใช่หรือ การน้อมจิตให้แนบ กับลมหายใจเข้าออกทุกขณะเป็นวิธีฝึกจิตให้ว่างจากความคิดที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ต้ารู้สึกว่าลมหายใจเป็นสิ่งละเอียดอ่อนเกินไปจนยากที่จิตจะอิงแอบได้อย่างต่อเนื่อง ก็อย่าเพิ่งท้อใจ เพราะเรายังมีความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่พึ่งของจิตได้ นั่นก็คือความรู้สึกตัว หรือที่พระเรียกว่าความรู้ตัวทั่วพร้อม ความรู้ตัวทั่วพร้อมช่วยให้เรามีเวลามากมายที่จะว่างจากความคิด เพียงแต่น้อมใจให้อยู่กับการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นกิจวัตรประจำวันหรือการงาน เมื่อใจแนบอยู่กับสิ่งนั้น ความรู้ตัวทั่วพร้อมก็เกิดขึ้นทันที ในยามนี้ ความรู้สึกตัวจะชัดเจน ไม่คลุมเครือเลือนรางดังแต่ก่อน เพราะความฟุ้งซ่านไม่อาจหันเหจิตใจออกจากอิริยาบถหรือการกระทำนั้นๆได้อย่างเคย

    น้ำเสียนั้น เราไม่จำต้องวิดให้เหนื่อยดอก เพียงแต่ปล่อยน้ำดีให้เข้ามาเท่านั้น น้ำเสียก็ถูกไล่ไปเอง ฉันใดก็ฉันนั้น ความรู้สึกตัวจะช่วยกันความคิดให้ออกไปจากจิต เพื่อจิตจะได้พักและสัมผัสกับมิติใหม่ๆ บ้าง
    ไม่ว่าจะอาบน้ำ ถูฟัน กินข้าว ล้างจาน ล้วนเป็นเวลาอัน สำคัญยิ่งสำหรับการฝึกจิตให้ว่างจากความคิด ทุกวันนี้เราคิดมากเกินไปแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอให้ใจได้สัมผัสกับความว่างบ้าง อย่างน้อยว่างจากความคิดสักครั้งคราวก็ยังดี
    :- https://visalo.org/article/sukjai001.htm
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    pinklotus.jpg
    พรแห่งชีวิต : ความสุขของมนุษย์ที่แท้
    พระไพศาล วิสาโล
    คนเรา ถ้าสามารถเรียกร้องอะไรได้จากชีวิต เพียงแค่ขอให้กินง่าย ถ่ายคล่อง นอนสบาย เท่านี้ชีวิตก็เป็นสุขแล้ว

    พูดอย่างนี้ หลายคนคงต่อว่าในใจว่า..."อะไรกัน ขอเพียงเท่านี้เองเหรอ..." ถ้าขออะไรได้ ใครต่อใครคงขอให้ร่ำรวย เจริญด้วยยศศักดิ์ อำนาจและชื่อเสียง ได้เป็นดาราที่เรียกเสียงกรี๊ดกร๊าดจากแฟนๆไม่หยุดหย่อน หรือไม่ก็เป็นรัฐมนตรีมีระดับที่สูงทั้งไอคิวและไอเดีย อย่างน้อยๆก็ขอให้มีแฟนสวย เจ้าบ่าวหล่อ อะไรทำนองนั้น(และที่ลืมไม่ได้อย่างเด็ดขาดก็คือขอให้ค่าเงินบาทและราคาหุ้นพุ่งกระฉูด)

    การกินง่าย ถ่ายคล่อง นอนสบายดูเหมือนจะเป็นสิ่งพื้น ๆ ประเภทหญ้าปากคอก ไม่มีค่าไม่มีราคา จะใช้หากินหรือเอาไปอวดใครก็ไม่ได้ ตั้งแต่เล็กจนโตก็กินง่ายถ่ายคล่องอยู่แล้ว จะไปน่าสนใจอะไร

    แต่ของที่เป็นหญ้าปากคอกนี่แหละ สำคัญนักแล ลองกลั้นลมหายใจสักนาทีดู ก็จะรู้ว่าอากาศนั้นมีความหมายเพียงใดต่อชีวิต ถึงจะเป็นเซียนหุ้นฝีมือล้ำเลิศเพียงใด ในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างทุกวันนี้ ย่อมประจักษ์แก่ใจว่า ถ้าคืนไหนสามารถหลับได้เต็มตา ก็นับว่าโชคดีทีเดียว

    แม้ในยามเงินตราไหลสะพัด ก็ใช่ว่าการนอนหลับสนิทจะเป็นเรื่องที่ทำกันได้ง่าย ๆ คนเป็นอันมาก ทำงานตักตวงเงินจนเป็นเศรษฐีเงินล้าน แต่พบว่าสิ่งหนึ่งที่สูญเสียไปคือ ความสามารถที่จะนอนหลับสนิท ตอนเป็นเด็ก การหลับนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่พอโตขึ้น ของง่ายก็กลับเป็นเรื่องยากไป

    การนอน การกิน การถ่าย ไม่มีราคาค่างวดอะไรก็จริง แต่ก็เพราะไม่มีราคาค่างวดนี่แหละ ถึงได้เป็นปัญหาสำหรับคนยุคนี้นักธุรกิจถึงจะมีเงินร้อยล้านพันล้าน ก็ไม่สามารถเอาเงินซื้อสภาวะกินง่ายถ่ายคล่อง นอนสบายได้ ทุกวันนี้ปัญหาพื้นๆแบบนี้ ไม่ได้เป็นเฉพาะกับเจ้าของเบนซ์คันหรูเท่านั้น แม้กระทั่งเจ้าอีแตีกอีต๋อยก็เจอ"โรคสมัยใหม่"แบบนี้มากขึ้นทุกที

    น่าแปลกไหมที่มนุษย์แม้จะส่งคนไปโลกพระจันทร์ แปลงเพศ เปลี่ยนยีนได้ แต่กลับไม่สามารถเอาชนะโรคนอนไม่หลับได้เลย...ยานอนหลับที่วางขายกันเกลื่อนนั้น แก้ปัญหาได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว และที่จริงก็เพียงแต่ทำให้หลับ (ที่จริงต้องเรียกว่า "หมดสติ") แต่หาทำให้สบายไม่ ตื่นขึ้นมาก็ยังรู้สึกงัวเงีย สมองตื้อ ยังไม่ต้องพูดถึงผลข้างเคียงที่ติดตามมา แม้กระนั้น ยานอนหลับก็ยังติดอันดับขายดีทั่วประเทศ(และทั่วโลก)

    ที่จริงไม่ใช่แต่ยานอนหลับเท่านั้น ยาถ่ายก็ขายดีเช่นเดียวกัน คนสมัยนี้มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายทั้งนั้น แต่ครั้นจะพึ่งยาถ่ายทุกวี่ทุกวัน สุขภาพก็มีแต่จะแย่ลง สมัยนี้ใครที่ไม่มีปัญหาการถ่าย นับได้ว่ามีโชคอันประเสริฐ เพราะไม่เพียงแต่จะปลอดจากโรคท้องผูก ริดสีดวงทวาร แผลลำไส้ใหญ่เท่านั้น หากยังมีหวังแคล้วคลาดจากโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งลำไส้อีกด้วย

    เดี๋ยวนี้เรารู้แล้วว่าการหลับง่ายถ่ายคล่องนั้นซื้อหาไม่ได้และไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ จะเป็นที่พึ่งพาอาศัยได้อย่างแท้จริง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น หมั่นออกกำลังกาย และกินอาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ เช่นข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ก็ช่วยได้มาก

    แต่การกินง่ายนี่สิ ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าใดนัก ใช่ว่ามีลิ้นแล้วจะกินอะไรเป็นอร่อยไปหมดก็หาไม่ การกินของง่าย ๆ พื้น ๆ แล้วยังรู้สึกอร่อยนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับจิตใจค่อนข้างมาก ลำพังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายอย่างที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้นเห็นจะไม่พอ แม้จะเปลี่ยนมากินผักมาก ๆ ก็ยังอยากปรุงแต่งให้อร่อย มีสีสันรูปลักษณ์น่ากิน แล้วก็ต้องเปลี่ยนเมนูบ่อย ๆ ด้วย เพราะขืนกินสูตรเดียวกันทุกวี่ทุกวันก็แย่เหมือนกัน

    ทั้ง ๆ ที่การกินง่ายไม่ใช่เรื่องง่าย แต่น่าสังเกตว่า เวลาไปถามรัฐมนตรีหรือนักธุรกิจพันล้านมักจะได้คำตอบตรงกันว่า ชอบกินราดหน้าบ้าง ก๋วยเตี๋ยวเป็ดบ้าง ดูใคร ๆ ก็ชอบแสดงตัวว่าชอบกินอะไรง่าย ๆ แต่เวลาประชุมพรรค หรือเลี้ยงฉลองกัน เป็นไฉนจึงชอบจัดตามโรงแรมดัง และสั่งอาหารหรูเริ่ดทุกครั้งไปก็ไม่รู้

    การกินง่าย ๆ ให้อร่อยนั้นไม่ได้อยู่ที่ลิ้นมากเท่ากับที่ใจ ถ้าใจไปให้คุณค่ากับอาหารราคาแพงคิดว่าอาหารอร่อยต้องกินตามโรงแรม หรือกินเพราะต้องการแสดงความโก้เก๋อวดบารมีเสียแล้ว กินผีดผัก แกงจืดจะไปมีรสชาติอะไร แม้แต่กล้วยแขกก็ไม่คู่ควรกับลิ้นของตัวเท่ากับเค้กช็อกโกแลต

    จะรู้จักรสชาติอาหารพื้น ๆ ได้ ก็ต่อเมื่อถอดหัวโขน เปลื้องเหรียญตรา และปีนลงมาจากหอคอยงาช้าง แต่จะดีกว่านี้ ถ้าหากปรับใจให้ตระหนักว่า ความอร่อยของอาหารนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่ามันกระตุ้นลิ้นได้มากเพียงใด อาหารที่มีรสจัดจ้าน ไม่ว่าหวาน เปรี้ยว เผ็ด ชนิดออกนอกหน้าโจ่งแจ้ง ไม่ใช่อาหารอร่อยเสมอไปรสชาติเรียบ ๆ ก็เป็นเสน่ห์ของอาหารอย่างหนึ่งเหมือนกัน แถมยังเป็นเสน่ห์ที่มีคุณค่ากว่ารสจัดจ้าน เพราะไม่เพียงแต่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพเท่านั้น หากยังมีผลกล่อมเกลาจิตใจให้สงบด้วย ความสงบนี่แหละช่วยให้บังเกิดความสุขความรื่นรมย์ในขณะกินอาหาร โดยไม่ต้องมีเสียงเพลงจากนักร้องมาช่วยกล่อมเลยอย่าลืมว่า ความสุขไม่ได้เกิดจากการเร้าจิตกระตุ้นใจเท่านั้น ความสงบก็เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขด้วยเช่นกัน ทั้งยังเป็นสุขที่ประณีตและประเสริฐกว่าเสียด้วย

    คงเห็นแล้วว่า การรู้จักกินง่าย ๆ จะว่าเป็นเรื่องหญ้าปากคอกก็ได้ (เด็กที่ไหน ๆ กินกล้วยแขกก็รู้สึกอร่อย ตราบใดที่ยังไม่ถูกอิทธิพลโฆษณาแฮมเบอร์เกอร์ครอบงำ) จะว่าไม่ใช่หญ้าปากคอกก็ได้ เพราะต้องอาศัยคุณภาพจิตระดับหนึ่งด้วย ว่าไปแล้ว แม้แต่การนอนง่ายถ่ายคล่องก็เกี่ยวข้องกับจิตใจเช่นกัน ถ้าหงุดหงิดคิดมาก ท้องก็ผูกเป็นเรื่องธรรมดา หากเจ็บช้ำน้ำใจ อึดอัดขัดเคืองใคร ก็พลอยทำให้นอนไม่หลับกระสับกระส่ายทั้งคืน ถึงหลับได้ก็ฝันฟุ้งจนเหนื่อย ตื่นขึ้นมาก็ยังรู้สึกว่านอนไม่พอ ง่วงเหงาหาวนอนทั้งวัน

    ถ้าอยากนอนง่ายถ่ายคล่องจริง ๆ ก็ต้องรู้จักปล่อยวางให้เป็นด้วย นั่นหมายความว่าต้องฝึกใจให้คิดเป็นเรื่อง ๆ คิดเป็นที่เป็นทาง ไม่ใช่คิดแบบ "เรี่ยราด" คนที่ปล่อยใจคิดไปเรื่อย ๆ สุดแท้แต่อารมณ์ความรู้สึกจะพาไป ง่ายที่จะเป็นคนครุ่นคิดติดยึดกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง เก็บเอาเรื่องเล็กน้อยในสำนักงานมาเป็นอารมณ์ติดค้าง แม้กระทั่งเวลากลับมาบ้าน บางเรื่องแม้จะดูเป็นเรื่องสำคัญ แต่ถ้าหมกมุ่นครุ่นคิดกับมัน ไม่รู้จักปล่อยวางเสียบ้าง มันก็จะเข้ามาครอบงำเรา กลายเป็นใหญ่เหนือเรา คราวนี้ถึงอยากจะวาง มันก็ไม่ยอมให้เราวาง มีแต่จะบังคับให้จิตของเรา ครุ่นคิดปรุงแต่งไปตามที่มันกำหนดทั้งวี่ทั้งวัน กระทั่งเวลานอนก็นอนไม่ได้ เพราะสลัดมันไปไม่สำเร็จ ปลิงที่ว่าเหนียวหนึบ ยังสู้ความครุ่นคิดกังวลใจไม่ได้

    ลองฝึกใจให้คิดเป็นเรื่อง ๆ ถึงเวลากินใจก็อยู่กับการกิน ถึงเวลาล้างจานใจก็อยู่กับการล้างจาน ถึงเวลาคุยใจก็อยู่กับการคุย ไม่พึงปล่อยใจไปกับเรื่องอื่นคนสมัยนี้มักเข้าใจไปว่าการคิดไปด้วยกินไปด้วยเป็นการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งเวลาหายากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนเก่ง ล้ำหน้าคนอื่น หารู้ไม่ว่านั่นคือการบั่นทอนคุณภาพชีวิตอย่างร้ายแรง นอกจากจะทำให้จิตไม่มีสมาธิกับงานใด ๆ แม้แต่งานเดียวแล้วยังทำให้ขาดสติคิดเรี่ยราดหรือฟุ้งซ่านได้ง่าย กลายเป็นคนเจ้ากังวล จมกับความเครียด ใครที่กินอาหารด้วยจิตแบบนี้ ก็เตรียมยารักษาโรคกระเพาะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือยาแก้ท้องผูกไว้ได้เลย มิหนำซ้ำ ถึงจะกินอาหารฮ่องเต้วิเศษปานใด ก็ไม่มีวันรู้สึกอร่อยไปได้ ตรงกันข้ามกับคนที่มีจิตใจผ่องใส โปร่งโล่ง กินอะไรก็อร่อยทั้งนั้น แม้จะเป็นข้าวแกงธรรมดา

    การกินง่าย ถ่ายคล่อง หลับสบายจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ พื้น ๆ อย่างที่เข้าใจถ้าอยากจะมั่งมีศรีสุขก็อย่าลืมตั้งจิตคิดถึงเรื่องนี้ด้วย อย่าสนใจเพียงแค่ทรัพย์สินเงินทองเท่านั้น ส่วนคนที่มุ่งดับทุกข์ดับกิเลส ก็อย่าเพิ่งดูแคลนการกินง่ายถ่ายคล่องว่าเป็นเรื่องโลกย์ ๆ เพราะแท้ที่จริงแล้ว นี่เป็นเรื่องที่แยกไม่ออกจากการฝึกฝนจิตใจหรือการปฏิบัติธรรมเลยทีเดียว ถึงที่สุดแล้ว การกินง่ายถ่ายคล่อง หลับสบายนั้นเป็นเครื่องบ่งชี้สภาวธรรมที่สำคัญประการหนึ่งทีเดียว จางจื๊อ ปราชญ์จีนโบราณได้พูดถึงผู้บรรลุธรรมขั้นสูงว่า ...

    มนุษย์ที่แท้ในสมัยโบราณนั้น...
    นอนโดยไม่ฝัน
    ตื่นโดยไม่วิตก
    กินอาหารง่าย ๆ
    หายใจลึก ๆ

    คนที่ถึงจุดสุดยอดในทางธรรมไม่ใช่คนที่เหาะเหินเดินอากาศหรือหายตัวได้ หากแต่(เป็นคนที่)มีชีวิตอยู่อย่างสามัญ เป็นความสามัญที่ไม่ธรรมดาเลย

    ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้เงินทองจะร่อยหรอ ข้าวของจะแพง แต่ถ้าหากยังกินง่าย ถ่ายคล่อง หลับสบาย ก็ควรพึงพอใจได้แล้ว

    เพราะฉะนั้นวันนี้ เห็นจะไม่มีอะไรเหมาะสมเท่ากับคำอวยพรว่า... ขอให้ทุกท่าน กินง่าย ถ่ายคล่อง หลับสบายทุกวันวาร เทอญ.
    :- https://visalo.org/article/sukjai_PonHangCV.htm
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    lpleethavaro.jpg
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    หลวงพ่อวิชัย15.jpg
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    carefulyourear.jpg
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    lpchakunnadham.jpg
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    triyoy.jpg
    การส่งจิตออกนอก เป็นตัวการแห่งความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ใจ หรือการสร้างความทุกข์ให้แก่ชีวิตของตน จึงประมาทไม่ได้เรื่องการส่งจิตออกนอก ทำอย่างไรเราจะไม่เผลอส่งจิตออกนอก ก็ต้องมี “สติ” สติช่วยพาจิตมาอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับงานที่เราทำ ดึงจิตกลับมาดูตัวเอง หันมาเห็นความโกรธ ความเกลียด ความพยาบาท รวมทั้งความอิจฉาริษยา ที่กำลังสะสมอยู่ในใจ เมื่อเห็นแล้วการปล่อยวางก็จะเกิดขึ้นตามมา ทำให้จิตโปร่งเบา ไม่ทุกข์ หลวงปู่ดูลย์จึงว่า “จิตเห็นจิต” คือ มรรค

    พระไพศาล วิสาโล
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    pinkfloweronthelake.png
    เปลี่ยนความคิดพิชิตความเศร้า
    ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์

    ความคิด, อารมณ์, ความเศร้า, และโรคซึมเศร้า

    ถ้าเราเดินสวนกับเพื่อนคนหนึ่งแล้วเขาไม่ทักเราเราอาจเกิดความรู้สึกได้ต่างๆกันไปแล้วแต่ว่าเราคิดถึงเรื่องนี้ว่าอย่างไร ถ้าเราคิดว่าเพื่อนไม่ทักเราเพราะว่าเรามันคงไม่ดีพอ ไม่อยู่ในสายตา ไม่สำคัญ ผู้คนเขาคงไม่อยากเสียเวลามาคบหาเรา! เราก็จะมานั่งเศร้าซึม ท้อแท้ใจ แต่ถ้าเราคิดว่าเพื่อนคนนี้นิสัยไม่ดี ไม่มีมารยาท เราก็จะรู้สึกโกรธ แต่ถ้าเราคิดว่าเขาคงกำลังรีบร้อนไม่ทันเห็นเราเราก็คงจะรู้สึกเฉยๆไม่เดือดร้อนใจอะไร
    นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงว่าเมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นเราอาจเกิดความรู้สึกได้หลายแบบ โดยที่เราจะรู้สึกอย่างไรขึ้นกับว่าเราคิดอย่างไรกับเรื่องนั้น
    คนที่ซึมเศร้าง่ายมักคิดถึงเรื่องต่างๆ ในทางที่เลวร้ายกว่าความเป็นจริง วิธีคิดแบบนี้เป็นสิ่งที่สั่งสมมาจากประสบการณ์ในอดีตจนเกิดเป็นแนวโน้มหรือ “นิสัย” ในการคิดแบบหนึ่งทำให้ต้องรู้สึกเศร้าโดยไม่จำเป็นบ่อยๆ
    ความคิดดังกล่าวนี้เกิดขึ้นรวดเร็วมากและเรามักเชื่อว่าสิ่งที่เราคิดนั้นเป็นความจริง แต่เราสามารถแก้ไข “นิสัย” ในการคิดได้และเมื่อความคิดเปลี่ยนอารมณ์ของเราก็จะเปลี่ยน

    หัดจับความคิดที่ผุดขึ้นมา

    เมื่อไรก็ตามที่เรารู้สึกซึมเศร้าท้อแท้ใจให้หยุดสักประเดี๋ยวแล้วลองนึกดูว่าตะกี้เกิดอะไรขึ้น เช่นเจ้านายดุเอา ลูกค้าปฏิเสธไม่ซื้อของ เห็นเด็กคนหนึ่งถูกเพื่อนรังแกเห็นผู้ชายผู้หญิงเดินด้วยกัน หรือการนึกถึงเรื่องเก่าๆ
    ให้สังเกตุว่าพอเกิดสิ่งนั่นขึ้นแล้วเราเกิดความคิดอะไรผุดขึ้นมา? เช่นอาจเกิดความคิดผุดขึ้นมาในสมองว่า “เราทำผิดอีกแล้ว“ “เรามันคนไม่มีอะไรดี” “ใครๆเขาคงจะมองว่าเราโง่” “ใครๆ เขาก็ไม่อยากคบเรา” “ทำไมคนอื่นเขามีความสุขหวานชื่นกันแต่ตัวเรามีแต่ความอ้าวว้างเปล่าเปลี่ยว” ฯลฯ การคอยจับความคิดที่ผุดขึ้นมานี้ไม่ใช่สิ่งที่เราทำกันตามปกติดังนั้นในช่วงแรกๆอาจรู้สึกว่ามันไม่ค่อยง่ายเท่าไรแต่เมื่อเราหัดทำและเริ่มคุ้นเคยเราจะทำได้เร็วขึ้น

    ความคิดที่ผุดขึ้นมานั้น “แม่น” แค่ไหน?
    เมื่อเราจับความคิดที่ผุดขึ้นมาและทำให้เราเศร้าได้แล้วให้ลองพิจารณาว่าความคิดอันนั้นมันถูกหรือผิดอย่างไร ความคิดอันนั้นอาจจะ “ถูก” ก็ได้ ให้พยายามหาคำตอบว่ามันน่าจะ “ถูก” เพราะอะไร เหตุผลที่นำมาสนับสนุนว่าความคิดนี้ “ถูก” อาจมีได้หลายอย่างเช่น คนตะกี้อาจจะคิดว่าเราโง่จริงๆ เพราะดูเขาเบื่อๆเวลาคุยกับเรา หรือ วันก่อนเราก็โดนเพื่อนๆโห่เอาและมีคนพูดว่าเราถามคำถามอะไรโง่ๆ
    ขั้นต่อไปคือลองพิจารณาว่าความคิดอันนั้นมันอาจจะไม่ค่อยถูกเท่าไรก็ได้เพราะอะไรบ้าง เช่น อาจจะมีบางคนคิดว่าเราโง่แต่คงไม่ทุกคนหรอกและคงเป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะคิดเหมือนกันไปหมด
    สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือถ้าเราคิดได้ว่าความคิดที่ผุดขึ้นมานั้นมันไม่จริงหรือไม่ค่อยแม่นเท่าไรอารมณ์ของเราจะดีขึ้นทันทีอย่างน้อยก็ชั่วขณะหนึ่งจนกว่าเราจะเผลอไปคิดแบบเดิมอีกซึ่งเราก็ต้องมาทบทวนความคิดใหม่อีก เมื่อเราฝึกการตรวจสอบความคิดแบบนี้จนชำนาญขึ้นเราก็จะไม่ค่อยต้องรู้สึกซึมเศร้าโดยไม่จำเป็นบ่อยนัก

    แล้วถ้าเกิดคิดได้ว่ามันไม่เลวร้ายจริงแต่อารมณ์ก็ยังไม่ดีขึ้นล่ะ?
    เหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นได้และมักเกิดจากการตอบไม่ตรงกับใจ คือตัวเราเองอาจจะไม่เชื่อคำตอบที่เราคิดออกมาว่าความคิดที่ผุดขึ้นมานั้นจริงหรือไม่จริงเพราะอะไร หรืออาจเป็นเพราะเชื่อ “แต่…..” คือมีความคิดในแง่ร้ายบางอย่างผุดขึ้นมาหักล้างมัน ดังนั้นถ้าคิดได้ว่าความคิดเดิมไม่แม่นแล้วก็ยังไม่ดีขึ้นให้ลองคิดดูใหม่ ถ้ามี “แต่…” ก็ให้ทำแบบเดียวกับ “แต่…” อันนั้นคือ “แต่…” อาจจะจริงเพราะ… หรืออาจจะไม่จริงเพราะ…

    แล้วถ้าคิดออกมาแล้วมันจริงล่ะ?
    เราไม่ได้พยายามโน้มน้าวให้ใครๆ พยายามมองโลกในแง่ดีเอาไว้ก่อนแต่เราอยากให้ทุกคนฝึกการมองโลกให้แม่นขึ้น หลายๆ ครั้งความคิดที่ทำให้เรารู้สึกเศร้าซึมอาจจะแม่นก็ได้ เพื่อนๆ มองว่าเราโง่จริงๆ เพื่อนๆมองว่าเราไม่มีความสามารถ ไม่สำคัญ เวลาเดินสวนกันก็ไม่ทักเราซึ่งเป็นความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีเลย สิ่งที่เราทำได้ก็คือ “คิด” ต่อ โดยมีแนวคิดได้ 2 ทางคือ

    ถ้ามันเป็นอย่างนั้นขึ้นมาจริงๆ แล้วจะเป็นอะไรไป?
    ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วเราจะทำอย่างไร?

    ถ้ามันเป็นอย่างนั้นขึ้นมาจริงๆแล้วจะเป็นอะไรไป?
    ถ้าเราคิดทบทวนดูแล้วเราก็ยังเชื่ออยู่ว่าสิ่งที่เราคิดนั้น “จริง” เราอาจจะลองคิดต่อไปว่าถ้ามัน “จริง” แล้วจะเป็นอะไรไป?
    เราอาจจะตอบตัวเองว่าถ้าเพื่อนไม่อยากคบเรา เราก็คงจะไม่มีเพื่อน ซึ่งฟังๆ ดูก็น่าเห็นใจ ให้ถามตัวเองต่อไปว่าถ้าไม่มีเพื่อนจริงๆ แล้วมันจะเป็นอะไรไป?
    เราอาจจะตอบว่าเราก็คงจะเหงา ก็น่าเห็นใจจริงๆนะครับ แต่ให้ถามตัวเองต่อไปอีกว่าถ้าเราเหงาจริงๆแล้วมันจะเป็นอะไรไป?
    ถามตัวเองและตอบคำถามแบบนี้ไปเรื่อยๆ ในที่สุดเรามักจะพบว่าจริงๆแล้วมันก็ไม่ได้เลวร้ายมากนัก เช่น การที่เราไม่ใช่คนสำคัญในหมู่เพื่อนและเพื่อนๆ มักจะมองข้ามเรานั้นอย่างมากก็มีเพื่อนน้อยลง ซึ่งเราก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ สามารถเรียนจบทำงานได้แม้ว่า connection หรือเส้นสายจะน้อยไปสักหน่อยแต่ก็ไม่ถึงกับจะหาความเจริญก้าวหน้าไม่ได้ การที่เราพบคำตอบแบบนี้จะทำให้อารมณ์ของเราดีขึ้นทันที
    แต่ถ้าเมื่อถามตัวเองแล้วพบว่าสำหรับเราแล้วเรื่องนี้ยังมีความสำคัญมีความหมายมากอยู่ดี ให้พิจารณาขั้นตอนถัดไป

    ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วเราจะทำอย่างไร?
    หลักมีอยู่ว่า “ทุกปัญหามีทางออกเสมอ” ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ไม่ว่าปัญหาจะเลวร้ายเพียงใด มีทางออกเสมอและก็มักจะมีหลายทางออกด้วย เช่นคนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ก็มีทางออกตั้งหลายทางเช่นเรียนมหาวิทยาลัยเปิดหรือมหาวิทยาลัยเอกชน รอสอบใหม่ปีหน้า หางานทำ หาอะไรเรียนเล่นๆไปก่อน หรือแม้แต่อยู่บ้านเฉยๆนั่งกินนอนกินไปสักปี แต่คนที่กำลังอยู่ในอารมณ์ซึมเศร้าจะคิดอะไรไม่ออก มองไม่เห็นทางออกทางอื่นนอกจากตายดีกว่า
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (ต่อ)
    หลักข้อต่อไปก็คือ “ทุกทางออกจะทั้งข้อดีและข้อเสีย” ไม่มีทางใดที่มีแต่ข้อดี ในขณะเดียวกันก็ไม่มีทางใดที่มีแต่ข้อเสีย เข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ก็ไปเรียนมหาวิทยาลัยเปิดก็ได้ ข้อดีก็คือได้ที่เรียนข้อเสียก็คืออาจจะต้องขวยขวายช่วยตัวเองในการเรียนมากหน่อยหรือสำหรับคนที่ยึดติดกับ “ยี่ห้อ” ก็อาจรู้สึกต่ำต้อยกว่าเพื่อนฝูงหรือรู้สึกเสียหน้าไปหน่อย การเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนอาจทำให้รู้สึก “ยืด” ขึ้นมานิดหนึ่งแต่ก็ต้องจ่ายเพิ่มมากกว่ากันอีกมาก แม้แต่การ “ตายดีกว่า” ก็มีข้อดี เพราะตายแล้วไม่ต้องรับรู้อะไร แต่ก็มีข้อเสียมากมายอย่างที่เราก็ทราบกัน ดังนั้นทุกทางออกมีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งนั้น
    ข้อดีอย่างเดียวกันสำหรับคนๆ หนึ่งอาจมีความหมายมากแต่สำหรับอีกคนหนึ่งอาจไม่ค่อยสำคัญนัก ในทำนองเดียวกันข้อเสียอย่างเดียวกันสำหรับคนๆหนึ่งก็อาจเลวร้ายมากแต่สำหรับอีกคนหนึ่งเขาอาจจะรู้สึกเฉยๆ ไม่ค่อยเดือดร้อนมากนัก
    ในคนๆ เดียวกันในขณะหนึ่งเรื่องบางเรื่องอาจจะสำคัญมากแต่ในอีกเวลาหนึ่งอาจจะไม่ค่อยสำคัญก็ได้ดังนั้นเมื่อคิดได้ว่าเราน่าจะเลือกทางออกทางไหนดีแล้วถ้ายังไม่รีบมากให้ชลอเรื่องไว้ก่อนอย่าเพิ่งลงมือทำ อีก 2-3 วันลองกลับมาคิดเรื่องเดิมใหม่เพราะเมื่ออารมณ์เปลี่ยนไปน้ำหนักของความสำคัญของข้อดีและข้อเสียแต่ละข้อจะเปลี่ยนไปทางออกที่เราจะเลือกก็จะเปลี่ยนไป แต่เมื่อเราคิดใหม่หลายๆ ครั้งสิ่งที่เราจะเลือกจะเริ่มไม่ค่อยเปลี่ยนและน่าจะเป็นทางออกที่สมเหตุผลและตรงกับใจของเราที่สุด

    สรุป

    ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นเราจะรู้สึกอย่างไรขึ้นกับว่าเราคิดถึงเรื่องนั้นว่าอย่างไร คนที่ซึมเศร้าง่ายมักมีแนวโน้มที่จะคิดถึงเรื่องต่างๆ ในแง่ร้ายทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่จำเป็นอยู่บ่อยๆ
    เราสามารถแก้ไขความคิดของเราได้โดยพิจารณาความคิดที่เกิดขึ้นว่ามีส่วนถูกหรือไม่ถูกอย่างไร ถ้าเราพบว่าความคิดนั้นไม่ค่อยถูกนักอารมณ์เศร้าของเราจะดีขึ้นทันที
    แต่ถ้าเราคิดแล้วพบว่าความคิดนั้นถูกต้องสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเลวร้ายจริงเราสามารถคิดต่อไปได้ 2 แนวทางคือ

    - แล้วมันจะเป็นอะไรไป บ่อยครั้งเรามักจะพบว่าสิ่งที่เรากังวลนั้นมันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
    - แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง เป็นการหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น ทุกปัญหามีทางออก แต่ทุกทางออกจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เลือกทางออกที่สำหรับเราแล้วมีข้อดีมากที่สุดและข้อเสียน้อยที่สุด

    ขอบคุณข้อมูลจาก : //www.ramamental.com/medicalstudent/generalpsyc/changeyourthinking/
    :--https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=kitpooh22&month=06-2013&date=26&group=37&gblog=25
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    2birds.jpg
    วิถีสู่ชีวิตที่ดีงาม
    พระไพศาล วิสาโล
    ในทัศนะของชาวพุทธ จุดมุ่งหมายของชีวิตสามารถสรุปด้วยประโยคสั้นๆ ของท่านอาจารย์พุทธทาสที่ว่า “ชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่สงบเย็น และเป็นประโยชน์” ข้อความนี้กินความหมายครบถ้วนมาก

    “สงบเย็น” หมายถึง จิตใจที่ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความรุ่มร้อน เพราะไม่ถูกกิเลสรบกวน รังควาน ยิ่งปลอดจากกิเลสได้ยิ่งดี เพราะความรุ่มร้อนในจิตใจเกิดขึ้นได้เพราะมีกิเลสมารบกวน ทำให้จิตใจไม่มีความสงบเย็น ไม่มีความสุข แน่นอนว่าทุกชีวิตต้องการความสุข แต่ความสุขมีหลายชนิด หลายระดับ หลายประเภท แล้วสุขอะไรที่ประเสริฐสุด พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” และความสงบสูงสุดก็คือ นิพพาน แต่หากยังไปไม่ถึงขั้นนั้น อย่างน้อยก็ควรดูแลรักษาใจไม่ให้กิเลสมารบกวน ไม่ปล่อยให้ความโลภ โกรธ หลงมารังควานจิตใจ

    “สงบเย็น” เช่นนี้ ทำให้ความเห็นแก่ตัวลดลง จึงบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นได้มากมาย ยิ่งบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นมากเท่าใด ชีวิตก็ยิ่งมีคุณค่ามากเท่านั้น แต่จะบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นได้มากก็ต่อเมื่อเราเข้าถึงความสงบเย็นในจิตใจ “สงบเย็น” นั้นหมายถึงประโยชน์ตน ส่วนคำว่า “เป็นประโยชน์” หมายถึง ประโยชน์ท่าน

    พุทธศาสนามองว่าชีวิตที่ดีคือ ชีวิตที่ถึงพร้อมทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ถ้าเกิดประโยชน์ตน คือจิตใจสงบเย็น แต่ไม่ได้ก่อประโยชน์ท่านเลย ยังไม่ถือว่าเป็นชีวิตที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ในทางตรงข้ามแม้ทำประโยชน์ท่าน แต่ไม่เกิดประโยชน์ตน คือทำเพื่อผู้อื่น ช่วยเหลือเกื้อกูลส่วนรวม แต่จิตใจตัวเองรุ่มร้อน ไม่มีความสุข เช่น ไปออกโรงทาน ช่วยเหลือผู้คน แต่จิตใจหงุดหงิด รำคาญ จนถึงขั้นทะเลาะเบาะแว้งกับคนรอบข้าง อย่างนี้ก็ไม่ถูก ต้องถึงพร้อมทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน โดยประโยชน์ตนที่ประเสริฐที่สุด คือ ความสงบเย็น และประโยชน์ตนสูงสุดก็คือ นิพพาน

    ในทัศนะของพุทธศาสนา ประโยชน์ตนจะถึงพร้อมจนกระทั่งสัมผัสกับความสงบเย็นได้ก็เพราะปัญญา เมื่อปัญญาถึงพร้อม เห็นแจ้งในสัจธรรม รู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่มีอะไรที่จะยึดมั่น ถือมั่นได้ ก็ปล่อยวาง เมื่อไม่ยึดติด ถือมั่นในสิ่งใดว่าเป็นตัวเป็นตน กิเลสก็ไม่มีที่ตั้ง ความทุกข์ โดยเฉพาะความทุกข์ใจก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะความทุกข์ใจนั้น ถึงที่สุดแล้วเกิดจากความยึดติดถือมั่นในตัวตน รวมทั้ง ยึดอยากให้เที่ยง อยากให้สุข อยากให้เป็นของเรา หรืออยู่ในอำนาจของเรา ปัญญาที่ถึงพร้อมจะนำไปสู่ความสงบเย็น และเมื่อไม่มีความยึดติดถือมั่นในตัวตน ความเห็นแก่ตัวไม่มี ความกรุณาก็จะเจริญงอกงาม นำไปสู่การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างเต็มที่และอย่างแท้จริง

    ฉะนั้น “สงบเย็นและเป็นประโยชน์” ในด้านหนึ่ง หมายถึง การถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน และอีกด้านหนึ่งหมายถึง การถึงพร้อมทั้งปัญญาและกรุณา พระพุทธเจ้าทรงเป็นแบบอย่างของผู้ที่ถึงพร้อมทั้งปัญญาและกรุณา ดังที่เราทราบดีว่าพุทธคุณหรือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้ามี ๒ ประการ คือ พระปัญญาคุณ และพระกรุณาคุณ ส่วนพระวิสุทธิคุณนั้นเพิ่มมาทีหลัง ในเมื่อชาวพุทธมีพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ปณิธานสูงสุดของชาวพุทธจึงได้แก่การเจริญรอยตามพระองค์ นั่นคือการพัฒนาตนให้ถึงพร้อมทั้งปัญญาและกรุณา เมื่อปัญญาถึงพร้อมก็เกิดความสงบเย็น และเมื่อความกรุณาถึงพร้อมการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นย่อมเกิดขึ้นตามมา คำว่า “สงบเย็นและเป็นประโยชน์” จึงกินใจความสำคัญของพุทธศาสนา โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงอุดมคติของชีวิต

    เมื่อเราเห็นชัดว่าจุดมุ่งหมายของชีวิตคือ ความสงบเย็น และประโยชน์ คราวนี้เราก็มาสู่การออกแบบชีวิต ชีวิตของคนเรามีอยู่ ๓ ส่วนใหญ่ๆ คือ กาย ใจ และ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และสิ่งอื่น “ผู้อื่น”หมายถึงคนในครอบครัว พ่อแม่ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง ไปจนถึงเพื่อนมนุษย์หรือสังคมส่วนรวม นอกจากความสัมพันธ์กับคนแล้ว เรายังมีความสัมพันธ์กับสิ่งของ ปัจจัยสี่ วัตถุสิ่งเสพ เพราะเราทุกคนต้องมี แม้กระทั่งพระเองยังต้องมีบริขาร ๘ “สิ่งอื่น” ยังรวมไปถึงสรรพสัตว์ รวมไปถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เมื่อเราจะวางแผนชีวิตก็ต้องทำให้ ๓ ส่วนนี้ เจริญงอกงามอย่างสมดุลกัน คือสมดุลกันทั้งกาย ใจ และความสัมพันธ์

    ชีวิตที่สงบเย็น และเป็นประโยชน์จะเกิดขึ้นได้ ต้องพัฒนา ๓ ส่วนนี้ให้เจริญงอกงาม จะเห็นได้ชัดว่าถ้าเราพัฒนากาย กับใจให้ดี จะเกิด “สงบเย็น” ได้ง่ายขึ้น และถ้าเราพัฒนาความสัมพันธ์ ก็จะทำให้ “ประโยชน์” หรือ การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้คนและสิ่งแวดล้อม เป็นไปด้วยดี

    เมื่อเรารู้ว่าชีวิตของเราควรเป็นไปเพื่อความสงบเย็นและเป็นประโยชน์ เราต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้ง ๓ ส่วนนี้ วิธีการดังกล่าวพุทธศาสนาเรียกว่า “ไตรสิกขา” หรือ ศีล สมาธิ และปัญญา โดยเราควรจัดเวลาให้กับการพัฒนาดังกล่าว อย่างครบถ้วนและได้สมดุล แต่ปัญหาของคนส่วนใหญ่ก็คือ ทั้งๆ ที่รู้ว่าดี แต่พอถึงเวลาจะลงมือปฏิบัติ หลายคนมักบอกว่าไม่มีเวลา ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม

    คำว่า “ไม่มีเวลา” เป็นปัญหาใหญ่ของคนยุคนี้ ส่วนหนึ่งเป็นข้ออ้าง อีกส่วนหนึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะเราไม่รู้จักจัดลำดับความสำคัญ เวลาส่วนใหญ่ของเรามักจะหมดไปกับสิ่งที่เร่งด่วน หรือมีเส้นตาย มีกำหนดเสร็จที่แน่นอน เช่น งานการ พรุ่งนี้ต้องเสร็จ อาทิตย์หน้าต้องส่งงาน

    สิ่งที่เร่งด่วนนั้นมี ๒ ประเภท คือ ๑.ด่วนและสำคัญ กับ ๒.ด่วนแต่ไม่สำคัญ ด่วนและสำคัญ เช่น งานที่ต้องทำให้เสร็จพรุ่งนี้ หรือ ป่วยหนักต้องรีบไปหาหมอวันนี้ ส่วนด่วนแต่ไม่สำคัญ เช่น คืนนี้มีมิดไนท์เซลที่ห้างดัง ต้องไป หรือ คืนนี้มีประกวดนางงามจักรวาล มีการถ่ายทอดตอนสุดท้ายของละครบุพเพสันนิวาส ต้องดู อย่างอื่นเอาไว้ก่อน บางครั้งก็เป็นงานสังคม เช่น งานเลี้ยงมะรืนนี้ เราหมดเวลาส่วนใหญ่ไปกับสิ่งที่ด่วน ทั้งที่สำคัญและไม่สำคัญ

    ส่วนสิ่งที่ไม่ด่วนแต่สำคัญคืออะไร ได้แก่ การฝึกฝนจิตใจ ทำสมาธิ หรือจิตภาวนาและปัญญาภาวนา รวมทั้งการให้เวลากับครอบครัว เช่น เยี่ยมเยียนพ่อแม่ สนทนากับลูก การออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้ แม้รู้อยู่ว่าสำคัญ แต่หลายคนชอบผัดผ่อนว่า ทำวันหลังก็ได้ เอาไว้ก่อน สุดท้ายก็ไม่ได้ทำเพราะไม่มีเวลา หรือหมดโอกาสเสียแล้ว เช่น อยากจะมีเวลาให้พ่อแม่แต่ผลัดไปเรื่อย จนท่านจากไป หรือรู้ว่าควรปฏิบัติธรรมแต่ก็ผลัดไปเรื่อย จนล้มป่วย เลยไม่สามารถทำอย่างที่คิดได้ เป็นเช่นนี้กันมาก

    มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เรารู้ว่าสำคัญ แต่ก็ไม่ได้ทำ เพราะอะไร? เพราะงานด่วนเอาเวลาไป? ที่จริงมันไม่ได้เอาเวลาไป แต่เป็นเพราะเราจัดเวลาไม่เป็น ฉะนั้น ถ้าเราตระหนักว่าสาเหตุที่แท้อยู่ที่เราจัดเวลาไม่เป็น ก็ควรมาแก้ที่ตรงนี้ คือจัดเวลาให้กับสิ่งที่สำคัญแม้ไม่ด่วนได้ ไม่ใช่ปล่อยเวลาให้หมดไปกับสิ่งที่ด่วน ทั้งสำคัญและไม่สำคัญ จนไม่เหลือสำหรับอย่างอื่น แต่จะจัดเวลาให้กับสิ่งเหล่านี้ได้ถูกต้องเหมาะสมและครบถ้วน ก็ต้องรู้จักจัดลำดับความสำคัญให้ดี เช่น อะไรที่สำคัญมาก ควรมาก่อน และให้เวลามาก ๆ อะไรที่สำคัญน้อย หรือไม่สำคัญ ควรมาทีหลัง หรือให้เวลาน้อยกว่า

    สิ่งที่สำคัญแม้ไม่ด่วน ได้แก่ จิตภาวนา ปัญญาภาวนา หรือศีลภาวนา รวมไปถึงกายภาวนา เช่น การออกกำลังกาย มันไม่ใช่งานเร่งด่วน ผัดผ่อนได้ก็จริง แต่เราก็อย่าเอาแต่ผัดผ่อน ควรหาโอกาสทำทุกวันหรือทุกอาทิตย์ แม้นิดหน่อยก็อย่างดี เช่น กำหนดว่าเราจะเจริญสติ ทำสมาธิ ทุกวัน เมื่อตื่นเช้าหรือก่อนนอน วันละ ๑๐ นาทีหรือครึ่งชั่วโมง ขณะเดียวกันก็จะให้เวลากับการออกกำลังกาย เช่น วิ่ง หรือ โยคะ ทุกวัน ๆ ละครึ่งชั่วโมง เช้าหรือเย็น ก็แล้วแต่ รวมทั้งจัดเวลาไว้สำหรับคนในครอบครัวทุกวันหรือทุกเสาร์-อาทิตย์ เช่น กินอาหารด้วยกัน หรือไปเยี่ยมเยียนพ่อแม่ นอกจากนั้นควรจัดเวลาให้กับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม รวมทั้งการทำงานเพื่อส่วนรวม ช่วยเหลือผู้อื่น หรือการทำบุญด้วย ทั้งหมดนี้เรียกรวม ๆ ว่า สิ่งที่ไม่ด่วนแต่สำคัญ
    พูดง่าย ๆ คือ ทำตารางประจำวันและประจำอาทิตย์ ว่า จะทำอะไร ช่วงไหน นานเท่าใด โดยให้ครอบคลุมทั้ง สิ่งที่ด่วนและสำคัญ สิ่งที่ด่วนแต่ไม่สำคัญ รวมทั้งสิ่งที่ไม่ด่วนแต่สำคัญ ดังที่กล่าวมา และมีเวลาเหลือบ้างสำหรับสิ่งที่ไม่ด่วนและไม่สำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งชูรสหรือสิ่งที่เป็นสีสันของชีวิต

    ถ้ารู้จักบริหารเวลา และลำดับความสำคัญของสิ่งต่าง ๆในชีวิตได้อย่างถูกต้อง ชีวิตที่สงบเย็นและเป็นประโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เราได้ไม่ยาก
    :- https://visalo.org/article/dhammamata14_1.html
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    practicedhamma.gif
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    changeyourselffirst.jpg
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    dhammamata13_1.jpg
    เยียวยาด้วยรักและการให้อภัย
    พระไพศาล วิสาโล
    ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เมื่อหลายปีก่อน มีเด็กชายคนหนึ่งอายุ ๑๑ ขวบ เป็นโรคปวดหัวเรื้อรังมาตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย พ่อแม่พาไปรักษาที่โน่นที่นี่ก็ไม่ดีขึ้น รู้ว่าที่ไหนมีทางที่จะเยียวยารักษาได้ก็ไป หมดเงินไปมากกับการรักษาลูกคนนี้ จนกระทั่งต้องขายที่ขายนา เด็กก็ยังไม่หาย ตอนหลังอาการก็ลุกลาม ปวดหัวจนอาเจียน ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน พ่อแม่จึงพาลูกมาโรงพยาบาล หมอสั่งสแกนสมอง ปรากฏว่าไม่พบอะไรที่ผิดปกติ หมอแปลกใจมาก จึงตัดสินใจส่งเด็กคนนี้ไปพบจิตแพทย์

    พยาบาลคนหนึ่งเห็นเหตุการณ์ รู้สึกกังวล เพราะรู้ว่าถ้าเด็กไปพบจิตแพทย์ จิตแพทย์คงจะให้ยา ซึ่งคงทำให้เด็กมีอาการย่ำแย่มากขึ้น เช่น เบลอจนเรียนหนังสือไม่ได้ พยาบาลคนนี้เคยเห็นผลที่เกิดขึ้นกับคนไข้ที่ได้รับการรักษาแบบนี้แล้ว จึงโทรศัพท์ไปขอให้เพื่อนพยาบาลอีกแผนกหนึ่งมาช่วยดูหน่อย พยาบาลคนนี้ชื่อเกื้อจิตร แขรัมย์ เธอดูแลแผนกที่ชื่อว่า สมาธิบำบัด

    เกื้อจิตรก็รีบมา พอมาถึงก็คุยกับแม่ของเด็ก แม่มีความวิตกกังวลมาก เอาแต่พูดว่า ลูกฉันจะหายไหม เกื้อจิตรต้องปลอบให้ใจเย็น ๆ แล้วซักถามว่า มีลูกกี่คน แม่ตอบว่ามีลูก ๔ คน ผู้หญิง ๓ คน ผู้ชาย ๑ คน คนโตเรียนมหาวิทยาลัย เรียนเก่ง คนที่ ๒ เรียนอยู่ชั้น ม.๕ ก็เรียนเก่งเหมือนกัน คนที่ ๓ คือเด็กคนที่ป่วยอยู่ คนที่ ๔ อายุ ๘ ขวบ เรียนอยู่ชั้น ป.๒ เกื้อจิตรถามว่ามีลูก ๔ คนรักเท่ากันไหม แม่บอกว่ารักเท่ากัน เกื้อจิตรก็เลยถามต่อว่า แล้วด่าเท่ากันหรือเปล่า แม่ก็ตอบว่า “ไม่เท่ากัน ฉันด่าเจ้าคนป่วยนี้แหละมากที่สุด ทั้งด่าทั้งตี” แม่เด็กยังพูดต่อว่า “มันดื้อค่ะ มีวันหนึ่งฉันด่ามัน ไล่มัน มึงไปพ้น ๆ กู”

    เกื้อจิตรถามว่า ที่บอกว่ารักลูกเท่ากัน แล้วเคยบอกรักลูกคนนี้ไหม
    แม่เด็กตอบว่า “ไม่เคยสักที ไม่เคยบอกรักลูก....มีแต่ด่ากับตี” เธอยังเล่าต่อว่า “ลูกชายคนนี้โง่มาก ไปโรงเรียนครูก็ด่าว่าควาย ทำไมแกไม่เก่งเหมือนพี่เหมือนน้องแกบ้าง”
    เกื้อจิตรเลยถามแม่เด็กว่า มีพี่น้องกี่คน เธอตอบว่า ๕ คน เกื้อจิตรถามว่า พ่อแม่เธอรักลูกเท่ากันไหม มาถึงตรงนี้แม่เด็กก็ร้องไห้ แล้วยอมรับว่า พ่อแม่ไม่ค่อยรักเธอเท่าไหร่ ชอบดุด่าเธอ ถึงตรงนี้เธอก็ได้คิดว่า เธอทำกับลูกชายคนนี้เหมือนกับที่พ่อแม่ของเธอทำกับเธอตอนเด็ก ๆ

    เกื้อจิตรจึงบอกว่า ฉันมียาวิเศษ ที่จะช่วยให้ลูกหายได้ แล้วเธอก็แนะนำว่า ให้กลับไปกอดลูก แล้วบอกว่าแม่รักลูกนะ รวมทั้งบอกตายายที่บ้านด้วยว่า ให้ทำอย่างเดียวกัน เท่านั้นไม่พอเกื้อจิตรยังแนะนำให้ไปบอกครูที่โรงเรียนว่า อย่าดุด่าหรือตีเด็กคนนี้อีก “ไปบอกเลยว่าหมอเกื้อโรงพยาบาลบุรีรัมย์สั่งมา ถ้าไม่กล้าพูด เดี๋ยวฉันจะไปพูดให้”

    หนึ่งเดือนหลังจากนั้นเกื้อจิตรไปที่บ้านของเด็ก ปรากฏว่าเด็กหายปวดหัว อาการตาพร่า มองภาพซ้อนหายไปเป็นปลิดทิ้ง ผ่านไปเกือบ ๑๐ ปีแล้ว เด็กคนนี้ตอนนี้เป็นหนุ่ม รูปร่างสูงใหญ่ ไม่มีอาการปวดหัวอีกเลย แสดงว่าที่ปวดหัวเพราะมีปัญหาที่ใจ สมองไม่ได้เป็นอะไร แต่ว่าใจเป็น คือขาดความรัก ถูกแม่ด่าว่าเป็นประจำ ยิ่งเขาเรียนไม่ค่อยเก่ง ไม่เหมือนพี่น้อง ก็ยิ่งถูกด่าว่าเข้าไปใหญ่ เกิดการเปรียบเทียบ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกว่าตัวเองแย่

    เด็กอายุ ๗ ขวบ ก็มีอาการแบบนี้แล้ว เป็นเรื่องน่าคิด ถ้ามีอาการตอนเป็นวัยรุ่นก็ยังเข้าใจได้ แสดงว่าเด็ก ๗ ขวบก็รู้สึกอ่อนไหวกับคำดุด่า จนมีอาการปวดหัว คงถูกกระทำเป็นประจำ อาจจะโดนกระทำมาตั้งแต่อายุน้อยกว่านั้น ไม่น่าเชื่อนะ หมอรักษามาหลายปีไม่หาย แต่พอได้รับความรักจากแม่ ซึ่งแสดงออกด้วยการบอกรัก และการกอด รวมทั้งมีคนรอบข้างให้ความร่วมมือด้วย เด็กก็ดีขึ้นอย่างเห็นผลทันที

    เห็นได้ชัดว่าความรักสามารถเยียวยาได้ ไม่ใช่แค่เยียวยาจิตใจ แต่เยียวยาร่างกายด้วย ส่วนคนที่ขาดความรักตั้งแต่เด็ก ก็น่าสงสาร ป่วยมานานโดยที่คนอื่นแม้กระทั่งพ่อแม่ไม่รู้เลยว่าเกิดจากอะไร แล้วถ้าต้องขาดความรักไปจนตาย ชีวิตจะทุกข์ทรมานแค่ไหน

    มีวัยรุ่นคนหนึ่งอายุประมาณ ๑๗ ปี กำพร้าพ่อแม่ ตั้งแต่อายุ ๒ ขวบ พ่อแม่ตายเพราะเอดส์ อยู่กับยาย ยายเลี้ยงเด็กคนนี้มาจนโต ยายยากจนมาก มีอาชีพหาของเก่าหรือคุ้ยขยะขาย พออายุ ๑๗ ปีก็เป็นมะเร็งที่กระดูกแล้วลามไปที่สมอง ตอนที่มะเร็งยังลามไม่ถึงสมอง ทางโรงพยาบาลบุรีรัมย์จะให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เด็กหนุ่มก็ไม่ยอมไป ทีแรกก็อ้างว่าไม่มีเงิน ต้องช่วยยายหาเงิน ภายหลังโรงพยาบาลก็ส่งตัวเขาไป โดยออกค่าใช้จ่ายให้

    ปรากฏว่า ๓ วันต่อมาโรงพยาบาลมหาราชฯ แจ้งให้โรงพยาบาลบุรีรัมย์มารับเขากลับได้แล้ว เพราะว่าเขาไม่ให้ความร่วมมือ เอาแต่ร้องว่าจะกลับบ้านท่าเดียว จะกลับไปหายาย เขารักยายมาก ห่วงยาย กลับมาที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ อาการแย่ลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่ระยะสุดท้าย มะเร็งลามไปที่สมองและลูกอัณฑะ พยาบาลคุยกับยายก็ทราบว่า เขามีน้องอีกคนหนึ่ง น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน แต่ไม่เคยได้พบเจอกันเลย เพราะน้องไปอยู่กับย่า พยาบาลจึงไปตามหา เพราะว่าเขาใกล้เสียชีวิตแล้ว อยากให้ได้พบน้อง มีโอกาสมาดูใจ

    น้องสาวอายุ ๑๕ ปี แม้จะไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้าพี่ชายมาก่อน แต่พอมาเยี่ยมก็เอาเงินมาให้ ซื้อนมกล่องมาให้ ๑ ห่อ คนป่วยเห็นก็ดีใจมาก นม ๑ ห่อนี้เขาไม่กินเลย เก็บไว้ที่หัวเตียง บางทีก็เอามาลูบ มาคลำ เพราะว่าไม่เคยได้ของขวัญจากใคร ไม่เคยมีใครมาเยี่ยมนอกจากยาย

    ทุกวันยายมาเยี่ยมก็เดินมาจากบ้าน แล้วกินข้าวถาดเดียวกับหลาน เพราะจนมาก ช่วงหลัง ๆ หมอต้องให้มอร์ฟีนทุก ๓ ชั่วโมง เพราะเขาปวดมาก จนกระทั่งวันหนึ่งพยาบาลจะมาให้มอร์ฟีน เขาจึงพูดว่า “หมอครับ ยาแก้ปวดมอร์ฟีนใช่ไหมครับ ผมไม่ปวด ผมไม่เอาได้ไหมครับ ฉีดแล้วมันไม่มีประโยชน์” ว่าแล้วเขาก็พูดต่อ “ผมขอนิดเดียวได้ไหมครับ”

    ว่าแล้วเขาก็เอื้อมมือไปจับแขนพยาบาลไว้แน่น พยาบาลก็ใจดี ยืนนิ่งให้เขาจับ

    เด็กหนุ่มคนนี้จับแขนพยาบาลโดยไม่พูดอะไรเลยถึงครึ่งชั่วโมง พยาบาลก็ให้จับ นานเป็นครึ่งชั่วโมง โดยไม่ได้พูดไม่ได้คุยอะไรกันเลย จนกระทั่งเพื่อนพยาบาลอีกคนหนึ่งเห็น แล้วก็พูดว่า ไม่มีงานทำหรือไง ไปยืนให้มันจับแขนอยู่ได้ ต้องฉีดยาคนไข้อีกมากมาย แต่พยาบาลคนนั้นเข้าใจความรู้สึกของคนป่วย จึงยืนนิ่งให้เขาจับแขนต่อไป ฝ่ายคนป่วยเมื่อได้ยินอย่างนั้น เลยพูดว่า “หมอครับ พอแล้วครับ ชีวิตผมต้องการแค่นี้แหละครับ หมอไปทำงานเถอะครับ ผมเข้าใจดี” ว่าแล้วเขาก็ปล่อยมือ ตีหนึ่งคืนนั้นเขาก็จากไป

    วาระสุดท้ายของเด็กหนุ่มคนนี้ต้องการแค่นี้ คือจับแขนพยาบาล แล้วเขาก็เจาะจงพยาบาลคนนี้ เขาคงสังเกตเวลาพยาบาลคนอื่นมาพลิกตัว มาฉีดยา มาให้ยา ก็ทำไปตามหน้าที่ แต่พยาบาลคนนี้มีท่าทีใส่ใจคนป่วย ทำด้วยความอ่อนโยน เขารู้สึกประทับใจในน้ำใจของพยาบาลคนนี้ จึงปรารถนาจะได้สัมผัสเธอก่อนตาย เป็นความปรารถนาที่จะได้รับความรัก ความใส่ใจ ในวาระสุดท้ายของชีวิต ทั้งชีวิตอาจจะไม่เคยได้รับการสวมกอด หรือการสัมผัสด้วยความอ่อนโยนมาก่อน ยายเองก็คงจะไม่ได้ทำอย่างนั้นกับเขา เขาจึงขาดความรักมาตั้งแต่เล็ก ความรักของยายคงไม่พอเพียง เพราะว่ายายต้องทำมาหากิน

    คนเราบางครั้ง เมื่อจะตายมีสิ่งเดียวที่ปรารถนา คือการได้รับความรักมาเติมเต็ม เพียงแค่ใครคนหนึ่งมีเมตตายอมให้เขาจับแขน เขาก็มีความสุขแล้ว แล้วเขาก็ตายอย่างสงบ ทั้งที่มีทุกขเวทนาสูงจากโรคมะเร็ง

    ทั้งสองเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าความรักเป็นสิ่งสำคัญมาก คนเราถ้าพร่องความรักก็จะทุกข์ทั้งใจ ทุกข์ทั้งกาย แต่หากได้รับความรัก ความทุกข์กายและความทุกข์ใจก็บรรเทาได้ บางครั้งแม้เยียวยากายไม่ได้เพราะโรคที่เป็นอยู่มันหนัก แต่ความรักก็เยียวยาใจได้ อย่างน้อยก็ในวาระสุดท้าย

    พวกเราหลายคนเป็นครู ควรตระหนักถึงความสำคัญหรือคุณค่าของความรัก ว่าความรักนั้นสำคัญไม่น้อยไปกว่าวิชาความรู้ สำคัญไม่น้อยไปกว่าข้าวปลาอาหาร พ่อแม่หลายคนมีเงินทองให้ลูก แต่ว่าสิ่งที่ทำน้อยไปคือการให้ความรัก มาโรงเรียนเขาก็ต้องการความรัก เขาไม่ได้แค่ต้องการวิชาความรู้อย่างเดียว วิชาความรู้อาจจะไปเติมเต็มที่สมอง แต่ว่าจิตใจก็ต้องการความรักมาเติมเต็มด้วย ถ้าขาดความรักก็อาจจะมีอาการผิดปกติ ไม่ใช่อาการทางกาย เช่น ความเจ็บป่วยเท่านั้น อาจจะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น ก้าวร้าว หรือทำตัวน่าระอา ใครที่มีพฤติกรรมแบบนี้อาจเป็นเพราะขาดความรักก็ได้

    บางทีการขาดความรักอาจจะเกิดขึ้นกับเราเองก็ได้ หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองพร่องหรือขาดสิ่งนี้ บางทีก็ไม่เข้าใจว่าทำไมมีอาการแบบนี้ เช่น ขี้อิจฉา ก้าวร้าว หงุดหงิด เครียด จนเป็นโรคนั้นโรคนี้ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ถ้าเราขาดความรัก เราก็สามารถเติมเต็มความรักให้กับตัวเองได้เหมือนกัน ไม่ต้องรอคอยหรือคาดหวังความรักจากคนอื่น เพราะว่าเขาอาจจะไม่รู้ หนทางหนึ่งที่จะเติมเต็มความรักให้ตัวเราคือการให้ความรักกับผู้อื่น ซึ่งมันจะย้อนกลับมาช่วยเติมเต็มความรักให้กับจิตใจของเราด้วย

    เช่นเดียวกับความสุข ถ้าเราอยากได้ความสุข เราต้องเริ่มด้วยการให้ความสุขแก่ผู้อื่น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข” ถ้าเป็นการให้ที่จริงใจ ด้วยใจบริสุทธิ์ ความสุขที่ให้เขาก็จะกลับมาสู่จิตใจของเรา ความรักก็เหมือนกัน เมื่อเราให้ความรักแก่ผู้อื่นด้วยความจริงใจ เราก็ได้ความรักมาเติมเต็มจิตใจ และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้องคอยดูตัวเองด้วยว่านอกจากพร่องความรักแล้ว เรามีความโกรธความเกลียดล้นเกินหรือเปล่า พร่องความรักก็แย่แล้ว แต่ถ้ามีความโกรธความเกลียดล้นเกิน ก็ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ เพราะความโกรธความเกลียดอาจจะทำร้ายจิตใจมากยิ่งกว่าการพร่องความรักก็ได้ มันไม่ได้แค่ทำร้ายจิตใจ บางทียังทำให้ร่างกายย่ำแย่ด้วย

    มีผู้หญิงคนหนึ่งอายุ ๒๐ กว่า มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี แต่เธอมีปัญหา ปวดหัว ปวดท้องเรื้อรัง ความดันขึ้นเป็นประจำ ไปหาหมอกี่ครั้งก็ไม่หาย หมอก็แปลกใจเพราะว่าร่างกายเธอไม่มีอะไรผิดปกติ แต่กลับมีอาการทางกายออกมา หมอเกือบจะถอดใจแล้ว จนกระทั่งวันหนึ่งหมอบอกว่า อยากให้คุณช่วยเล่าประวัติของคุณให้ฟังหน่อย เธอเล่าว่าเธอเป็นเด็กกำพร้าตั้งแต่เล็ก อยู่ในการดูแลของพี่สาว ๒ คน เวลาพูดถึงพี่สาวเธอจะมีอาการโกรธ เพียงเท่านี้หมอก็รู้ว่าคนไข้ป่วยเพราะอะไร จึงแนะนำให้เธอให้อภัยพี่สาว

    คนไข้ไม่พอใจ แทนที่หมอจะให้ยา กลับมาแนะนำให้เธอให้อภัย เธอจึงไม่มาหาหมออีกเลย หลังจากนั้นหนึ่งปี หมอก็ได้จดหมายจากคนไข้คนนี้ เธอบอกว่า ตอนนี้เธอหายป่วยแล้ว เพราะว่าทำตามที่หมอแนะนำ คือให้อภัยพี่สาว พอเธอให้อภัยพี่สาว อาการปวดหัวปวดท้องเรื้อรังก็หายเลย แสดงว่าความเจ็บป่วยของเธอเกิดจากความโกรธ ความเกลียด

    การให้อภัยเป็นยาขนานเอก อาตมาเรียกว่าเป็น “ยาสามัญประจำใจ” เพราะว่าถ้ามีและใช้อยู่เนือง ๆ มันจะช่วยให้จิตใจเป็นปกติ โดยเฉพาะในยามที่มีความโกรธความเกลียดมาเผาลนหรือกรีดแทงใจ คนเราถ้าไม่รู้จักให้อภัยก็น่าสงสาร เพราะว่าความโกรธความเกลียดจะล้นเกินในจิตใจ

    การให้อภัยเป็นยาสามัญประจำใจที่ขาดไม่ได้ ถึงแม้การให้อภัยคนที่ทำร้ายเรา จะเป็นเรื่องยาก แต่การมีชีวิตอยู่โดยมีความโกรธความเกลียดล้นเกินในจิตใจ กลับเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า

    ชีวิตที่เต็มไปด้วยความโกรธความเกลียดเป็นชีวิตที่อยู่ยาก หลายคนยอมให้อภัย เพราะพวกเขาพบว่าเขาอยู่ต่อไปไม่ได้ถ้ายังมีความโกรธความเกลียดอยู่ พอให้อภัยจิตใจก็โปร่งโล่ง เบาสบาย หลายคนถึงกับบอกว่า ถ้ารู้แบบนี้ก็ทำไปนานแล้ว การให้อภัยมันดีกับตัวเราเอง ผู้ซึ่งถูกความโกรธความเกลียดเล่นงาน เวลาเรามีความโกรธความเกลียด มันเหมือนกับว่าเรามีแผลที่ใจ เมื่อเรามีแผลที่ใจ เราก็ต้องรู้จักเยียวยารักษาตัวเอง

    แต่แปลกที่คนจำนวนมากไม่ยอมเยียวยาจิตใจตัวเองด้วยการให้อภัย ชอบหาข้ออ้างต่าง ๆ นานา เช่น เขายังไม่มาขอโทษฉัน ฉันจะให้อภัยได้อย่างไร ต้องมาขอโทษฉันก่อน ฉันถึงจะให้อภัย คนที่พูดแบบนี้ ก็ไม่ต่างจากชายคนหนึ่ง ซึ่งขณะเดินข้ามทางม้าลาย ปรากฏว่าโดนรถพุ่งชน กระดูกหัก แขนหัก รถคันนั้นแทนที่จะหยุดช่วย กลับขับหนีไป

    หลังจากนั้นไม่นานก็มีรถพยาบาลมารับ แต่แทนที่จะขึ้นรถพยาบาล เขากลับปฏิเสธ ให้เหตุผลว่าฉันจะไปโรงพยาบาลก็ต่อเมื่อไอ้ตีนผีคนนั้นมาขอโทษฉัน ถ้าเขาไม่มาขอโทษ ฉันก็จะไม่ไปโรงพยาบาล

    ถามว่าผู้ชายคนนี้โง่หรือฉลาด ถ้าเป็นเรา ไม่ว่าตีนผีจะมาขอโทษเราหรือไม่ เราก็ต้องรีบไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลก่อน เราทำอย่างนั้นเวลามีแผลที่กาย แต่เวลามีแผลที่ใจ เรากลับทำตรงข้าม คือเราจะไม่ยอมเยียวยาใจตนเอง จนกว่าคนที่ทำให้เราเจ็บปวดจะมาขอโทษเรา หรือมาสารภาพผิดกับเรา อย่างนี้เรียกว่าไม่ฉลาด

    เขาจะมาขอโทษเราหรือไม่เป็นเรื่องของเขา แต่หน้าที่ของเราคือเยียวยาตัวเอง ถ้าจิตใจมีแผลเพราะความโกรธความเกลียดก็ต้องรีบเยียวยา แล้วจะเยียวยาด้วยอะไร ถ้าไม่ใช่การให้อภัย คนที่ไม่ยอมให้อภัยผู้อื่น เรียกได้ว่าไม่รักตัวเอง แถมยังไม่ฉลาดอีกต่างหาก แต่ถ้าเรารักตัวเองและมีปัญญา ก็รู้ว่าต้องเยียวยาตัวเองก่อน ถ้าจิตใจเจ็บปวดเพราะถูกความโกรธความเกลียดเผาลนก็ต้องใช้ยาที่มีอานุภาพมาก คือการให้อภัย

    ถ้าเรารู้จักให้อภัย เราก็จะกลับมามีชีวิตที่เป็นปกติได้ จากที่เคยเครียดจิตใจก็คลี่คลาย โปร่งโล่ง เป็นจุดเริ่มต้นให้เราสามารถรักคนอื่นได้มากขึ้น เมื่อเรารักคนอื่นได้มากขึ้น ความรักก็จะมาเติมเต็มในใจเราเอง ไม่ต้องรอให้ใครมาเติมความรักให้เรา แต่ถ้าได้ก็ยิ่งดี ซึ่งเป็นสิ่งที่คนรอบข้างควรจะทำด้วย

    พวกเราบางคนเป็นพ่อแม่ บางคนเป็นครู ถ้าเราสังเกตก็อาจพบว่าคนที่อยู่ใกล้ ๆ เรา ไม่ว่าจะเป็น ลูกหรือลูกศิษย์ เขาขาดสิ่งนี้มานานแล้ว เราช่วยเขาได้ด้วยการให้ความรักแก่เขา นี้เป็นคุณประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสุดท้ายผลดีจะไม่ได้เกิดกับคนรอบตัวเราเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับเราด้วย
    :- https://visalo.org/article/dhammamata13_1.html
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    donotyield.jpg
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    Bahnna.jpg
    ขอบคุณความทุกข์
    พระไพศาล วิสาโล
    องคุลิมาลนั้นเป็นมหาโจร แต่เมื่อบวชเป็นภิกษุก็มีความอ่อนน้อมถ่อมตนและใฝ่ธรรม เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าว่าให้รู้จักแสวงหากัลยาณมิตร พระองคุลิมาลน้อมรับคำสอนดังกล่าว จึงได้ไปรู้จักกับพระรูปหนึ่งชื่อพระนันทิยะ ระหว่างที่สนทนากันพระองคุลิมาลได้ถามพระนันทิยะว่า พระพุทธองค์ทรงสอนอะไรบ้าง

    พระนันทิยะตอบว่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้ปล่อยให้วางทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และท่ามกลาง ไม่ยึดติดในอดีต อนาคต และปัจจุบัน อารมณ์ใดที่พอใจหรือไม่น่าพอใจก็ให้วางเอาไว้ พบอารมณ์ที่พอใจที่เรียกว่าอิฏฐารมณ์ก็ไม่ยินดี พบอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจที่เรียกว่าอนิฏฐารมณ์ก็ไม่ยินร้าย ใครเขาด่าว่าอะไรก็กองคำด่าว่าไว้ตรงนั้น ไม่ต้องพาติดตัวไปด้วย เมื่อวางแล้วใจก็เป็นปกติไม่ทุกข์ ตอนท้ายท่านได้กล่าวว่า “ผู้ที่รู้จักถือเอาประโยชน์ทั้งจากอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญว่าเป็นบัณฑิต”

    เวลาที่มีผัสสะมากระทบกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย ไม่ว่าจะเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ โดยเฉพาะอนิฏฐารมณ์ ถ้าเกี่ยวข้องกับมันไม่เป็น ก็จะเกิดทุกข์ใจ ดังนั้นอย่างแรกที่เราควรทำก็คือ รู้จักรักษาใจไม่ให้ทุกข์ ถ้าเราเผลอปล่อยใจให้ทุกข์ ก็ถือว่าไม่ได้ทำหน้าที่ที่พึงมีต่อจิตใจของตัวเอง คนที่บอกว่ารักตัวเอง แต่พอมีเหตุการณ์มากระทบ ก็ปล่อยใจให้ทุกข์ระทม โศกเศร้าเสียใจ อย่างนั้นถือว่าไม่รักตัวเอง

    เมื่อรักษาใจให้ปกติแล้ว ขั้นต่อไปคือต้องรู้จักหาประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย คุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวพุทธคือรู้จักหาประโยชน์จากสิ่งต่างๆ ไม่ว่าดีหรือร้าย หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ เคยกล่าวว่า "นักภาวนาต้องรู้จักฉวยโอกาส" ฉวยโอกาสในที่นี้หมายความว่า ใช้ทุกโอกาสและทุกอย่างที่เกิดขึ้นเพื่อการปฏิบัติธรรมหรือพัฒนาจิตใจ เช่น ไม่ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน ก็ภาวนาอยู่เสมอ รวมทั้งไม่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นก็ใช้สิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์แก่การภาวนาหรือพัฒนาจิตใจ แม้จะเป็นสิ่งที่ย่ำแย่ก็ตาม

    คนส่วนใหญ่พอเจอเหตุร้ายหรือสิ่งที่ไม่น่าพอใจ คืออนิฏฐารมณ์ ก็เป็นทุกข์เลย แบบนี้เรียกว่าขาดทุน บางคนขาดทุนสองต่อสามต่อ เช่น เมื่อเงินหาย ใจก็เสีย สุขภาพก็แย่ เลยเสียงานด้วย พอหงุดหงิดก็ระบายอารมณ์ใส่คนรอบข้างก็เสียสัมพันธภาพอีก เรียกว่าขาดทุนหลายต่อเลย แต่คนที่ฉลาดหรือนักปฏิบัติจะไม่ขาดทุน อย่างน้อยต้องเสมอตัวก่อน คือใจเป็นปกติไม่ทุกข์ แล้วทำให้ดีกว่านั้นก็คือได้กำไร ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเราแม้จะแย่เพียงใดก็มีประโยชน์ทั้งนั้นถ้ารู้จักมอง การรู้จักมอง เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

    การรักษาใจให้ปกติ รักษาใจไม่ให้ทุกข์ทำได้หลายวิธี เช่น มีสติ เมื่อมีสติ สติจะช่วยรักษาใจไม่ให้ยินดียินร้าย ไม่ให้ฟูหรือแฟบ เมื่อเกิดอารมณ์อกุศลขึ้นมา ใจก็ไม่เข้าไปเป็น ไม่เข้าไปยึดอารมณ์นั้น มีความโกรธเกิดขึ้นก็เห็น แต่ไม่เข้าไปเป็น เห็นความโกรธแต่ไม่เป็นผู้โกรธ เหมือนเรายืนมองกองไฟ กองไฟจะร้อนแค่ไหน แต่หากเรายืนดูอยู่ห่างๆ ก็จะไม่รู้สึกร้อน การถอยออกมาเป็นผู้ดูทำให้กายไม่ร้อน ใจก็เช่นกัน เมื่อถอยออกมาเป็นผู้ดู ใจก็ไม่ทุกข์ ใจเป็นปกติได้

    อีกวิธีที่ทำให้ใจไม่ทุกข์คือ ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาโลก เป็นธรรมดาที่ทุกชีวิตต้องประสบ หรือยอมรับว่ามันเกิดขึ้นแล้ว ตีโพยตีพายไปก็ไม่เกิดประโยชน์ การมองแง่ดีเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น เพราะเห็นข้อดีของมัน จึงไม่ปฏิเสธไม่ผลักไส หรือไม่ก็เพราะเห็นว่าจะเกิดโทษตามมาถ้าไม่ยอมรับหรือปฏิเสธผลักไส

    เหล่านี้เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้เรายอมรับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะย่ำแย่แค่ไหน ใจก็ไม่เป็นทุกข์ สามารถทรงตัวเป็นปกติได้ อย่างนี้เรียกว่าเสมอตัว แต่เราสามารถทำได้มากกว่านั้น คือหากำไรจากสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย เช่น เงินหาย โทรศัพท์หาย พอมีสติ ก็มีปัญญาเห็นว่า มันเป็นเรื่องธรรมดา จากนั้นก็มองต่อไปว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรจากเหตุการณ์นี้บ้าง ก็พบว่ามันเป็นแบบฝึกหัดให้เรารู้จักปล่อยวาง มันสอนธรรมว่าไม่มีอะไรสักอย่างที่จีรังยั่งยืน ไม่มีอะไรสักอย่างที่เป็นของเราอย่างแท้จริง ถ้าเรามองอย่างนี้ก็ได้กำไร การรู้จักหาประโยชน์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ช่วยทำให้ใจเป็นปกติได้มากขึ้น

    มีชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อจอห์น โรเจอส์ อายุประมาณ ๖๐ปี วันหนึ่งขณะกำลังจูงหมาเดินเล่น จู่ๆ ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งเข้ามากระแทกหลังจนล้มลง ทีแรกเขานึกว่าเพื่อนมาหยอกเล่น ปรากฏว่าไม่ใช่ ผู้หญิงคนนั้นเขาไม่รู้จักเลย จากนั้นผู้หญิงแปลกหน้าก็เอามีดจ้วงแทงตามลำตัว แขน ขา รวมทั้งหมดประมาณ ๔๐ แผล เสร็จแล้วก็หนีไป ปล่อยให้ชายผู้นั้นนอนจมกองเลือด โชคดีที่มีคนเห็นเหตุการณ์ พาส่งโรงพยาบาลได้ทัน เขาจึงรอดตาย เขามารู้ภายหลังว่าก่อนหน้านั้น ๑๐ วันมีคนตายเพราะฝีมือผู้หญิงคนนั้นไปแล้วสามราย และบาดเจ็บสาหัสสองราย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตัวเขา ทั้งหมดนี้ไม่เคยรู้จักหรือมีเรื่องโกรธแค้นกับเธอเลยเลย

    ต่อมาผู้หญิงคนนั้นถูกจับได้ มีนักข่าวไปสัมภาษณ์ชายผู้นี้ว่า มีอะไรอยากจะบอกผู้หญิงคนนี้ไหม เขาตอบว่า "ผมอยากถามว่าทำไมเธอต้องทำอย่างนี้ ช่วยบอกผมด้วย” น้ำเสียงของเขาไม่บ่งบอกถึงความโกรธแค้นเลย

    นักข่าวถามต่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนแปลงบ้างหรือเปล่า เขาตอบว่า “ผมได้คิดว่าวันหนึ่งผมตื่นขึ้นมาแต่เช้า แล้วอาจโดนรถเมล์แล่นทับตายก็ได้ เราไม่รู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิต ฉะนั้นพยายามทำสิ่งที่ดีสุดทุกวันดีกว่า "

    จอห์น โรเจอส์เป็นตัวอย่างของคนที่เมื่อประสบเหตุร้ายแล้ว เขาสามารถรักษาใจให้ไม่ทุกข์ได้ คนส่วนใหญ่หากเจอเหตุการณ์แบบนี้ ถ้าไม่โกรธแค้นก็จะตีอกชกหัวว่า "ทำไมถึงต้องเป็นฉัน" หรืออาจจะคิดว่า "ทำไมซวยเหลือเกิน ทำบาปทำกรรมอะไรไว้จึงเคราะห์ร้ายอย่างนี้" การคิดอย่างนี้จะยิ่งซ้ำเติมจิตใจให้ย่ำแย่ลง แต่ชายผู้นี้ไม่มีความรู้สึกแบบนั้นเลย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเขาให้อภัยผู้หญิงคนนั้น

    ใช่แต่เท่านั้น เขายังรู้จักหาประโยชน์จากเหตุการณ์นี้ กล่าวคือ ใช้เป็นเครื่องเตือนใจให้ไม่ประมาทกับชีวิต และทำให้ได้คิดว่าต้องทำวันนี้ให้ดีที่สุด หรือทำสิ่งที่ดีที่สุดตั้งแต่วันนี้ ซึ่งตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอนเรื่องความไม่ประมาทว่า "ความเพียรเป็นสิ่งที่ต้องทำวันนี้ ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้"

    แม้ชาวอังกฤษคนนี้จะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ แต่ท่าทีของเขาสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายแค่ไหนก็ตาม ล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าเรารู้จักมองหรือเปล่า

    ความเจ็บป่วยก็เช่นกันมีประโยชน์หากรู้จักมอง มันสามารถสอนธรรมให้แก่เรา ว่าชีวิตนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตน เวลาที่เราสบายดี เราไม่เคยคิดว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยความเจ็บป่วย หรือเป็นรังของโรค เราไม่เคยตระหนักว่าร่างกายเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา พอเจ็บป่วยถึงรู้ว่า ร่างกายไม่ได้อยู่ในอำนาจบงการของเราเลย สั่งให้หายเจ็บป่วยก็ทำไม่ได้ บางทีแค่จะยกมือก็ยังยกไม่ขึ้น

    ท่านอาจารย์พุทธทาสบอกว่า “ความเจ็บป่วยมาเตือนให้เราฉลาด” กล่าวคือฉลาดในเรื่องไตรลักษณ์ แต่คนบางคนเจอความเจ็บป่วยก็ยังดื้อด้าน ไม่เปิดรับธรรมที่ความเจ็บป่วยมาสอน อย่างนี้จะขาดทุนมาก นอกจากจะไม่ได้ธรรมมาเป็นกำไรแล้ว ยังต้องเจ็บป่วยทั้งกายและใจอีกด้วย

    เมื่อเจอความทุกข์ ก็ให้ทุกข์แค่กาย หรือเสียแค่ทรัพย์ แต่อย่าปล่อยให้ใจเป็นทุกข์ด้วย เมื่อตั้งสติได้แล้วก็ลองใคร่ครวญดี ๆ จะพบว่ามันมีประโยชน์ไม่น้อย ถึงตอนนั้นเราคงอดไม่ได้ที่จะขอบคุณความทุกข์
    :-https://visalo.org/article/5000s10_2.html
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    don'twait.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...